ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง โค้งแรกเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ
กทม. : ใครนำใครตาม กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 2,074 ตัวอย่าง ระยะเวลาดำเนิน
โครงการระหว่าง วันที่ 3 — 4 กันยายน 2551
ประชาชนคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.8 กำลังประสบปัญหาจราจรติดขัด รองลงมาคือร้อยละ 71.1 กำลังประสบปัญหาแหล่ง
มั่วสุมของเด็กและเยาวชน ร้อยละ 70.0 กำลังประสบปัญหายาเสพติด ร้อยละ 68.9 กำลังประสบปัญหามลพิษทางอากาศ น้ำ ร้อยละ 67.0 กำลัง
ประสบปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 64.2 กำลังประสบปัญหาการชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่างๆ ร้อยละ 57.6 กำลังประสบปัญหา
ด้านการประกอบอาชีพ ร้อยละ 53.9 กำลังประสบปัญหาขยะเน่าเหม็น ร้อยละ 52.2 กำลังประสบปัญหาภัยน้ำท่วมขัง ร้อยละ 51.8 กำลังประสบ
ปัญหาป้ายโฆษณาที่เยอะเกินไปไม่ปลอดภัย ร้อยละ 50.4 กำลังประสบปัญหาความไม่เป็นระเบียบของหาบเร่ แผงลอย การขายของข้างทาง ร้อยละ
38.5 กำลังประสบปัญหาจัดสรรที่ดิน ที่พักอาศัย ร้อยละ 36.1 กำลังประสบปัญหาสถานบันเทิงในชุมชน และร้อยละ 35.5 กำลังประสบปัญหาไฟฟ้า น้ำ
ประปา โทรศัพท์และสาธารณูปโภคต่างๆ
เมื่อถามถึงวันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พบว่า ประชาชนคนกรุงเทพฯ รับทราบวันเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 10.0 ใน
เดือนสิงหาคมมาอยู่ที่ร้อยละ 39.0 ในการสำรวจครั้งล่าสุด อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ยังไม่ทราบวันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่มีอยู่ร้อยละ 61.0 ของ
ตัวอย่างทั้งหมด และเมื่อถามถึงความตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.9 ตอบว่าจะไป ในขณะที่ร้อยละ 11.9 จะไม่ไปและ
ร้อยละ 20.2 ยังไม่แน่ใจ
ที่น่าสนใจคือ เมื่อ ม.ล.ณัฎฐกรณ์ เทวกุล (คุณปลื้ม) ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. และหลังเปิดการรับสมัคร พบการเปลี่ยนแปลง
ในสัดส่วนของคนที่ตั้งใจจะเลือกผู้สมัครคนอื่นๆ ดังนี้
คนกรุงเทพฯ ที่ถูกศึกษาและคาดว่าจะเลือกนายอภิรักษ์ เพราะวิสัยทัศน์ดี เห็นผลงานที่ผ่านมา มีผลงานเป็นรูปธรรม ตั้งใจทำงาน ขยัน
สุภาพ เป็นคนดี ซื่อสัตย์ มีประสบการณ์ ทำให้ กทม. เป็นเมืองน่าท่องเที่ยว และเป็นเพราะเลือกพรรค เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40.2 ในเดือนสิงหาคม
มาอยู่ที่ร้อยละ 45.9 ในการสำรวจล่าสุด
คนที่ตั้งใจจะเลือกนายชูวิทย์ เพราะ ดูเด็ดขาดดี ตั้งใจดี เป็นนักธุรกิจ ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ทำจริง กล้าชน กล้าเปลี่ยนแปลง เป็น
ทางเลือกใหม่ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 15.1 และคนที่ตั้งใจจะเลือก ดร.เกรียงศักดิ์ เพราะ แนวทางคิดใหม่ เปลี่ยนมุมมอง มีความ
รู้ความสามารถ บริหารประเทศได้ เป็นประชาธิปไตย ดูสุขุม รอบคอบ เพิ่มขึ้นจะร้อยละ 5.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 9.6 ในขณะที่คนที่ตั้งใจจะเลือกนายประ
ภัสร์ อยู่ที่ร้อยละ 4.4 และคนอื่นๆ อยู่ที่ร้อยละ 4.4 เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจในการสำรวจครั้งนี้ยังอยู่ที่ร้อยละ 20.6
เมื่อจำแนกออกตามเพศ พบว่า ตัวอย่างที่เป็นหญิงมีสัดส่วนของผู้ตั้งใจจะเลือกนายอภิรักษ์อยู่ร้อยละ 49.1 ซึ่งมากกว่าตัวอย่างที่เป็นชายที่
มีอยู่ร้อยละ 42.6 แต่ที่น่าสังเกตคือ ตัวอย่างที่ตั้งใจจะเลือกนายชูวิทย์ ยังคงเป็นชายคือร้อยละ 19.0 ซึ่งมากกว่าตัวอย่างคนกรุงเทพฯ ที่เป็นหญิงและ
ตั้งใจจะเลือกนายชูวิทย์ที่มีอยู่ร้อยละ 11.4
เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า นายอภิรักษ์ได้รับการสนับสนุนเพิ่มสูงขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนในกลุ่มช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปีจากร้อยละ
44.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 56.2 ในกลุ่มช่วงอายุ 20 — 29 ปีเช่นกันเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 41.6 มาอยู่ที่ร้อยละ 52.7 เช่นเดียวกับช่วงอายุ 30 — 39 ปี
เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 39.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 47.8 ตามลำดับ เช่นเดียวกับ นายชูวิทย์ ที่มีคนในทุกกลุ่มช่วงอายุสนับสนุนเพิ่มสูงขึ้น เช่นในกลุ่มคนอายุต่ำ
กว่า 20 ปีสนับสนุนนายชูวิทย์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 21.5 ในกลุ่มคนอายุ 20 — 29 ปีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.8 มาอยู่ที่ร้อยละ
13.6 และในกลุ่มคนอายุ 30 — 39 ปีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 17.7 เป็นต้น
เช่นเดียวกันที่เมื่อจำแนกตามกลุ่มอาชีพและรายได้ ที่พบว่า นายอภิรักษ์ได้รับการสนับสนุนเพิ่มสูงขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อน โดยเฉพาะใน
กลุ่มข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจที่เพิ่มจากร้อยละ 19.5 เป็นร้อยละ 36.0 พนักงานเอกชนเพิ่มจาก ร้อยละ 39.0 มาเป็นร้อยละ 47.6 กลุ่ม
ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขายเพิ่มจากร้อยละ 41.2 มาเป็น ร้อยละ 48.5 เป็นต้น ในขณะที่เมื่อจำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือนนั้นพบว่า ในกลุ่มที่มี
รายได้มากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป เพิ่มจากร้อยละ 37.8 มาอยู่ที่ ร้อยละ 51.2
แต่เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ดร.เกรียงศักดิ์ ได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนที่มีการศึกษาสูง โดยพบว่า ร้อยละ 8.7 ใน
กลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 11.0 ในกลุ่มคนมีการศึกษาปริญญาตรี และร้อยละ 17.6 ในกลุ่มคนมีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีที่คาดว่า
จะเลือกดร.เกรียงศักดิ์
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงการออกมาแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.6 เห็นว่าควรแสดง
วิสัยทัศน์ ในขณะที่ร้อยละ 10.4 เห็นว่าไม่ควรแสดงวิสัยทัศน์ โดยรายชื่อผู้สมัครที่ควรมาแสดงวิสัยทัศน์กับนายอภิรักษ์ อดีตผู้ว่าฯ กทม. ผลสำรวจพบ
ว่า คนกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.9 อยากเห็นนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ กับนายอภิรักษ์ ในขณะที่รองลงไปคือร้อยละ 25.7 อยากเห็น ดร.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กับนายอภิรักษ์ ตามลำดับ
ส่วนประเด็นที่ควรนำมาเร่งแก้ไขและดีเบต กันคือ อันดับแรกหรือร้อยละ 27.1 ได้แก่ปัญหาจราจรติดขัด อันดับสอง หรือร้อยละ 14.5
ได้แก่ภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพ จะช่วยคนกรุงเทพฯ ได้อย่างไร อันดับที่สามหรือร้อยละ 10.1 คือปัญหายาเสพติด และรองๆ ลง
ไป ได้แก่ ปัญหาการเมือง การชุมนุมประท้วง มลพิษต่างๆ ขยะ ความสะอาดเรียบร้อย น้ำท่วมขัง ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แหล่งมั่วสุม
ของเด็กและเยาวชน จัดระเบียบสังคม สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม และหาบเร่แผงลอย เป็นต้น
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจสภาพปัญหาในการดำรงชีวิตในกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อสำรวจคะแนนนิยมที่มีต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง โค้งแรกเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. ใครนำ ใครตาม กรณี
ศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3 - 4 กันยายน พ.ศ. 2551 ประเภทของการสำรวจ
วิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน เขตกรุงเทพมหานคร เทคนิควิธี
การสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำ
มะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,074 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนด
ขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลัง
จากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะ
ผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 120 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.5 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.9 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.4 ระบุอายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 25.2 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 24.3 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 22.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 72.7 ระบุจบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 24.8 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 2.5 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 36.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.6 ระบุเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 10.4 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 7.9 อื่นๆ อาทิ แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ รวมถึงผู้ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีปัญหาการใช้ชีวิตในที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ ปัญหาการใช้ชีวิตในที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร ร้อยละ
1 ปัญหาจราจรติดขัด 72.8
2 แหล่งมั่วสุมของเด็กและเยาวชน 71.1
3 ยาเสพติด 70.0
4 มลพิษทางอากาศ น้ำ 68.9
5 ความไม่ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน 67.0
6 ปัญหาการชุมนุม ประท้วงของกลุ่มต่างๆ 64.2
7 ปัญหาด้านการประกอบอาชีพ 57.6
8 ขยะเน่าเหม็น 53.9
9 ภัยน้ำท่วมขัง 52.2
10 ป้ายโฆษณาที่เยอะเกินไป ไม่ปลอดภัย 51.8
11 ความไม่เป็นระเบียบของหาบเร่ แผงลอย การขายของข้างทาง 50.4
12 ปัญหาจัดสรรที่ดิน ที่พักอาศัย 38.5
13 สถานบันเทิงในเขตที่พักอาศัย 36.1
14 ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ สาธารณูปโภคต่างๆ 35.5
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ การรับทราบวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 21 สิงหาคม 5 กันยายน
1 ทราบว่าเป็นวันที่ 5 ตุลาคม 2551 10.0 39.0
2 ไม่ทราบ 90.0 61.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ ความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ค่าร้อยละ
1 ไป 67.9
2 ไม่ไป 11.9
3 ไม่แน่ 20.2
รวมทั้งสิ้น 100. 0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลที่คาดว่าจะเลือกให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ บุคคลที่คาดว่าจะเลือกให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 21 สิงหาคม 5 กันยายน
1 เลือก นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เพราะ..วิสัยทัศน์ดี เห็นผลงานที่ผ่านมา มีผลงาน
เป็นรูปธรรม ตั้งใจทำงาน ขยัน สุภาพ เป็นคนดี ซื่อสัตย์ไม่โกงกิน ทำให้ กทม.
เป็นเมืองน่าท่องเที่ยว ไม่มีใครเหมาะสมเทียบเท่า สานต่อนโยบาย เลือกพรรค/สังกัด
พรรคการเมืองประสบการณ์ 40.2 45.9
2 เลือก นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เพราะ....ดูเด็ดขาดดี ตั้งใจดี เป็นนักธุรกิจ ทันสมัย
ทันเหตุการณ์ ทำจริง กล้าชน กล้าเปลี่ยนแปลง เป็นทางเลือกใหม่ 11.3 15.1
3 เลือก ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
เพราะ..แนวทางคิดใหม่ เปลี่ยนมุมมอง เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ บริหารประเทศได้
มีความเป็นประชาธิปไตย และดูสุขุม รอบคอบ 5.1 9.6
4 เลือก นายประภัสร์ จงสงวน เพราะ..เชี่ยวชาญเรื่องรถไฟฟ้าใต้ดิน ชอบความมุมานะ เป็นต้น - 4.4
5 อื่นๆ อาทิ นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล /นางลีนา จังจรรจา /มล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล /
นายปลอดประสพ สุรัสวดี 20.8* 4.4
6 ยังไม่ตัดสินใจ 22.6 20.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
* ค่าร้อยละเฉพาะ มล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล /นายปลอดประสพ สุรัสวดี
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผู้สมัครที่คาดว่าจะเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. ในโค้งแรกของการเลือกตั้ง จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ รายชื่อผู้สมัคร ชาย หญิง
ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย.
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 37.1 42.6 43.0 49.1
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 15.1 19.0 7.9 11.4
3 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 4.5 9.2 5.6 10.0
4 นายประภัสร์ จงสงวน - 5.5 - 3.5
5 อื่นๆ เช่น นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล นางลีนา จังจรรจา /
มล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล /นายปลอดประสพ สุรัสวดี 19.8* 4.1 21.8* 4.8
6 ยังไม่ตัดสินใจ 23.5 19.6 21.7 21.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผู้สมัครที่คาดว่าจะเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. ในโค้งแรกของการเลือกตั้งจำแนกตามช่วงอายุ
รายชื่อผู้สมัคร ต่ำกว่า 20 ปี 20 — 29 ปี 30 — 39 ปี 40 — 49 ปี 50 ปีขึ้นไป
ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย.
1. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 44.2 56.2 41.6 52.7 39.2 47.8 38.8 40.6 38.5 40.1
2. นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 15.4 21.5 10.8 13.6 11.8 17.7 11.0 15.3 8.9 11.5
3. ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 5.9 3.3 4.0 9.7 5.7 10.7 5.6 10.8 4.7 8.9
4. นายประภัสร์ จงสงวน - 2.5 - 1.1 - 3.6 - 5.6 - 7.8
อื่นๆ เช่น นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล นางลีนา จังจรรจา /
มล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล/ นายปลอดประสพ สุรัสวดี 18.8* 2.5 21.3* 4.7 19.7* 3.0 23.6* 4.3 20.3* 3.5
6. ยังไม่ตัดสินใจ 15.7 14.0 22.3 18.2 23.6 17.2 21.0 23.4 27.6 28.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผู้สมัครที่คาดว่าจะเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. ในโค้งแรกของการเลือกตั้งจำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ รายชื่อผู้สมัคร ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี
ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย.
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 41.5 44.9 37.0 47.5 28.2 47.1
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 11.0 15.3 12.2 14.8 12.8 13.7
3 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 5.4 8.7 4.2 11.0 3.0 17.6
4 นายประภัสร์ จงสงวน - 3.9 - 6.4 - 2.0
5 อื่นๆ เช่น นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล นางลีนา จังจรรจา /
มล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล /นายปลอดประสพ สุรัสวดี 19.9* 4.6 24.3* 4.0 17.6* 2.0
6 ยังไม่ตัดสินใจ 22.2 22.6 22.3 16.3 38.4 17.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผู้สมัครที่คาดว่าจะเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. ในโค้งแรกของการเลือกตั้ง จำแนกตามกลุ่มอาชีพ
รายชื่อผู้สมัคร ข้าราชการ/ พนักงานเอกชน ธุรกิจส่วนตัว/ นักเรียน/ เกษตรกร/ แม่บ้าน/
รัฐวิสาหกิจ ค้าขาย นักศึกษา รับจ้างทั่วไป เกษียณอายุ
ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย.
1. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 19.5 36.0 39.0 47.6 41.2 48.5 46.3 50.6 42.1 47.6 37.4 38.1
2. นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 11.4 12.6 11.3 15.2 9.9 15.9 12.9 17.1 12.0 17.5 7.9 9.4
3. ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 5.7 12.6 6.3 11.5 5.0 9.1 3.8 7.1 4.3 7.6 6.8 14.4
4. นายประภัสร์ จงสงวน - 11.2 - 4.2 - 4.1 - 1.2 - 2.5 - 6.5
อื่นๆ เช่น นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล นางลีนา จังจรรจา /
มล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล /นายปลอดประสพ สุรัสวดี 23.9* 4.7 20.8* 4.7 20.1* 3.7 20.2* 3.5 22.4* 5.4 26.3* 4.3
6. ยังไม่ตัดสินใจ 39.5 22.9 22.6 16.8 23.8 18.7 16.8 20.5 19.2 19.4 21.6 27.3
รวมทั้งสิ้น 100 100 100 100 100 100 100 100 100 100 100 100
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผู้สมัครที่คาดว่าจะเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. ในโค้งแรกของการเลือกตั้ง จำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
รายชื่อผู้สมัคร ต่ำกว่า 5,000 5,001-10,000 10,001-15,000 15,001-20,000 มากกว่า 20,000
ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย.
1. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 45.3 42.7 42.6 47.4 36.6 45.7 34.2 44.6 37.8 51.2
2. นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 11.1 16.9 11.4 13.8 11.1 18.6 9.2 14.9 13.5 15.9
3. ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 5.3 7.1 4.7 8.5 4.4 15.2 5.9 13.1 4.1 7.1
4. นายประภัสร์ จงสงวน - 4.1 - 2.9 - 3.8 - 8.9 - 6.7
อื่นๆ เช่น นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล นางลีนา จังจรรจา
/มล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล /นายปลอดประสพ สุรัสวดี 19.2* 4.9 19.1* 5.9 25.2* 3.8 29.4* 0.6 23.0* 3.6
6. ยังไม่ตัดสินใจ 19.1 24.3 22.2 21.5 22.7 12.9 21.3 17.9 21.6 15.5
รวมทั้งสิ้น 100 100 100 100 100 100 100 100 100 100
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการออกมาแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรแสดงวิสัยทัศน์ 89.6
2 ไม่ควรแสดงวิสัยทัศน์ 10.4
รวมทั้งสิ้น 100. 0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผู้สมัครที่อยากให้ออกมาแสดงวิสัยทัศน์ แข่งขันกับ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
ลำดับที่ รายชื่อผู้สมัครที่อยากให้ดีเบต กับนายอภิรักษ์ ค่าร้อยละ
1 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 61.9
2 ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 25.7
3 นายประภัสร์ จงสงวน 7.7
4 นางลีน่า จังจรรจา 3.5
5 นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล 1.0
6 นายกิตติศักดิ์ ถิรวิศิษฐ์ 0.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาของกรุงเทพมหานครที่ควรเร่งแก้ไข และนำมาดีเบต (ถ่วงน้ำหนัก)
ลำดับที่ ปัญหาของกรุงเทพมหานครที่ควรเร่งแก้ไข และนำมา ดีเบต ค่าถ่วงน้ำหนัก
1 การจราจรติดขัด 27.1
2 ภาวะเศรษฐกิจ/ปัญหาปากท้อง/ความเป็นอยู่ค่าครองชีพ/ราคาสินค้า 14.5
3 ยาเสพติด 10.1
4 การเมือง/การชุมนุมประท้วง/พื้นที่ของการชุมนุม 6.7
5 มลพิษต่างๆ 6.0
6 ขยะ/ความสะอาดเรียบร้อย 5.7
7 น้ำท่วม น้ำขัง 5.5
8 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3.2
9 กำจัดแหล่งมัวสุ่มของเด็กวัยรุ่น 3.0
10 จัดระเบียบสังคม/วิสัยทัศน์ของสังคม 2.5
11 สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม/สถานที่ต่างๆ ไม่ค่อยเป็นระเบียบ 2.3
12 หาบเร่แผงลอย 2.2
13 การแออัดของประชากร 1.9
14 การศึกษา 1.8
15 น้ำเน่า/น้ำเสีย 1.2
16 อื่นๆ อาทิ การว่างงาน การสร้างรถไฟใต้ดิน การขึ้นราคาค่าโดยสาร
การคอรัปชั่น ลูกจ้างกทม. เป็นต้น 6.3
รวมทั้งสิ้น 100. 0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
กทม. : ใครนำใครตาม กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 2,074 ตัวอย่าง ระยะเวลาดำเนิน
โครงการระหว่าง วันที่ 3 — 4 กันยายน 2551
ประชาชนคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.8 กำลังประสบปัญหาจราจรติดขัด รองลงมาคือร้อยละ 71.1 กำลังประสบปัญหาแหล่ง
มั่วสุมของเด็กและเยาวชน ร้อยละ 70.0 กำลังประสบปัญหายาเสพติด ร้อยละ 68.9 กำลังประสบปัญหามลพิษทางอากาศ น้ำ ร้อยละ 67.0 กำลัง
ประสบปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 64.2 กำลังประสบปัญหาการชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่างๆ ร้อยละ 57.6 กำลังประสบปัญหา
ด้านการประกอบอาชีพ ร้อยละ 53.9 กำลังประสบปัญหาขยะเน่าเหม็น ร้อยละ 52.2 กำลังประสบปัญหาภัยน้ำท่วมขัง ร้อยละ 51.8 กำลังประสบ
ปัญหาป้ายโฆษณาที่เยอะเกินไปไม่ปลอดภัย ร้อยละ 50.4 กำลังประสบปัญหาความไม่เป็นระเบียบของหาบเร่ แผงลอย การขายของข้างทาง ร้อยละ
38.5 กำลังประสบปัญหาจัดสรรที่ดิน ที่พักอาศัย ร้อยละ 36.1 กำลังประสบปัญหาสถานบันเทิงในชุมชน และร้อยละ 35.5 กำลังประสบปัญหาไฟฟ้า น้ำ
ประปา โทรศัพท์และสาธารณูปโภคต่างๆ
เมื่อถามถึงวันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พบว่า ประชาชนคนกรุงเทพฯ รับทราบวันเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 10.0 ใน
เดือนสิงหาคมมาอยู่ที่ร้อยละ 39.0 ในการสำรวจครั้งล่าสุด อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ยังไม่ทราบวันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่มีอยู่ร้อยละ 61.0 ของ
ตัวอย่างทั้งหมด และเมื่อถามถึงความตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.9 ตอบว่าจะไป ในขณะที่ร้อยละ 11.9 จะไม่ไปและ
ร้อยละ 20.2 ยังไม่แน่ใจ
ที่น่าสนใจคือ เมื่อ ม.ล.ณัฎฐกรณ์ เทวกุล (คุณปลื้ม) ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. และหลังเปิดการรับสมัคร พบการเปลี่ยนแปลง
ในสัดส่วนของคนที่ตั้งใจจะเลือกผู้สมัครคนอื่นๆ ดังนี้
คนกรุงเทพฯ ที่ถูกศึกษาและคาดว่าจะเลือกนายอภิรักษ์ เพราะวิสัยทัศน์ดี เห็นผลงานที่ผ่านมา มีผลงานเป็นรูปธรรม ตั้งใจทำงาน ขยัน
สุภาพ เป็นคนดี ซื่อสัตย์ มีประสบการณ์ ทำให้ กทม. เป็นเมืองน่าท่องเที่ยว และเป็นเพราะเลือกพรรค เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40.2 ในเดือนสิงหาคม
มาอยู่ที่ร้อยละ 45.9 ในการสำรวจล่าสุด
คนที่ตั้งใจจะเลือกนายชูวิทย์ เพราะ ดูเด็ดขาดดี ตั้งใจดี เป็นนักธุรกิจ ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ทำจริง กล้าชน กล้าเปลี่ยนแปลง เป็น
ทางเลือกใหม่ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 15.1 และคนที่ตั้งใจจะเลือก ดร.เกรียงศักดิ์ เพราะ แนวทางคิดใหม่ เปลี่ยนมุมมอง มีความ
รู้ความสามารถ บริหารประเทศได้ เป็นประชาธิปไตย ดูสุขุม รอบคอบ เพิ่มขึ้นจะร้อยละ 5.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 9.6 ในขณะที่คนที่ตั้งใจจะเลือกนายประ
ภัสร์ อยู่ที่ร้อยละ 4.4 และคนอื่นๆ อยู่ที่ร้อยละ 4.4 เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจในการสำรวจครั้งนี้ยังอยู่ที่ร้อยละ 20.6
เมื่อจำแนกออกตามเพศ พบว่า ตัวอย่างที่เป็นหญิงมีสัดส่วนของผู้ตั้งใจจะเลือกนายอภิรักษ์อยู่ร้อยละ 49.1 ซึ่งมากกว่าตัวอย่างที่เป็นชายที่
มีอยู่ร้อยละ 42.6 แต่ที่น่าสังเกตคือ ตัวอย่างที่ตั้งใจจะเลือกนายชูวิทย์ ยังคงเป็นชายคือร้อยละ 19.0 ซึ่งมากกว่าตัวอย่างคนกรุงเทพฯ ที่เป็นหญิงและ
ตั้งใจจะเลือกนายชูวิทย์ที่มีอยู่ร้อยละ 11.4
เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า นายอภิรักษ์ได้รับการสนับสนุนเพิ่มสูงขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนในกลุ่มช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปีจากร้อยละ
44.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 56.2 ในกลุ่มช่วงอายุ 20 — 29 ปีเช่นกันเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 41.6 มาอยู่ที่ร้อยละ 52.7 เช่นเดียวกับช่วงอายุ 30 — 39 ปี
เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 39.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 47.8 ตามลำดับ เช่นเดียวกับ นายชูวิทย์ ที่มีคนในทุกกลุ่มช่วงอายุสนับสนุนเพิ่มสูงขึ้น เช่นในกลุ่มคนอายุต่ำ
กว่า 20 ปีสนับสนุนนายชูวิทย์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 21.5 ในกลุ่มคนอายุ 20 — 29 ปีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.8 มาอยู่ที่ร้อยละ
13.6 และในกลุ่มคนอายุ 30 — 39 ปีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 17.7 เป็นต้น
เช่นเดียวกันที่เมื่อจำแนกตามกลุ่มอาชีพและรายได้ ที่พบว่า นายอภิรักษ์ได้รับการสนับสนุนเพิ่มสูงขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อน โดยเฉพาะใน
กลุ่มข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจที่เพิ่มจากร้อยละ 19.5 เป็นร้อยละ 36.0 พนักงานเอกชนเพิ่มจาก ร้อยละ 39.0 มาเป็นร้อยละ 47.6 กลุ่ม
ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขายเพิ่มจากร้อยละ 41.2 มาเป็น ร้อยละ 48.5 เป็นต้น ในขณะที่เมื่อจำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือนนั้นพบว่า ในกลุ่มที่มี
รายได้มากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป เพิ่มจากร้อยละ 37.8 มาอยู่ที่ ร้อยละ 51.2
แต่เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ดร.เกรียงศักดิ์ ได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนที่มีการศึกษาสูง โดยพบว่า ร้อยละ 8.7 ใน
กลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 11.0 ในกลุ่มคนมีการศึกษาปริญญาตรี และร้อยละ 17.6 ในกลุ่มคนมีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีที่คาดว่า
จะเลือกดร.เกรียงศักดิ์
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงการออกมาแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.6 เห็นว่าควรแสดง
วิสัยทัศน์ ในขณะที่ร้อยละ 10.4 เห็นว่าไม่ควรแสดงวิสัยทัศน์ โดยรายชื่อผู้สมัครที่ควรมาแสดงวิสัยทัศน์กับนายอภิรักษ์ อดีตผู้ว่าฯ กทม. ผลสำรวจพบ
ว่า คนกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.9 อยากเห็นนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ กับนายอภิรักษ์ ในขณะที่รองลงไปคือร้อยละ 25.7 อยากเห็น ดร.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กับนายอภิรักษ์ ตามลำดับ
ส่วนประเด็นที่ควรนำมาเร่งแก้ไขและดีเบต กันคือ อันดับแรกหรือร้อยละ 27.1 ได้แก่ปัญหาจราจรติดขัด อันดับสอง หรือร้อยละ 14.5
ได้แก่ภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพ จะช่วยคนกรุงเทพฯ ได้อย่างไร อันดับที่สามหรือร้อยละ 10.1 คือปัญหายาเสพติด และรองๆ ลง
ไป ได้แก่ ปัญหาการเมือง การชุมนุมประท้วง มลพิษต่างๆ ขยะ ความสะอาดเรียบร้อย น้ำท่วมขัง ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แหล่งมั่วสุม
ของเด็กและเยาวชน จัดระเบียบสังคม สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม และหาบเร่แผงลอย เป็นต้น
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจสภาพปัญหาในการดำรงชีวิตในกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อสำรวจคะแนนนิยมที่มีต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง โค้งแรกเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. ใครนำ ใครตาม กรณี
ศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3 - 4 กันยายน พ.ศ. 2551 ประเภทของการสำรวจ
วิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน เขตกรุงเทพมหานคร เทคนิควิธี
การสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำ
มะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,074 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนด
ขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลัง
จากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะ
ผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 120 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.5 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.9 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.4 ระบุอายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 25.2 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 24.3 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 22.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 72.7 ระบุจบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 24.8 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 2.5 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 36.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.6 ระบุเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 10.4 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 7.9 อื่นๆ อาทิ แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ รวมถึงผู้ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีปัญหาการใช้ชีวิตในที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ ปัญหาการใช้ชีวิตในที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร ร้อยละ
1 ปัญหาจราจรติดขัด 72.8
2 แหล่งมั่วสุมของเด็กและเยาวชน 71.1
3 ยาเสพติด 70.0
4 มลพิษทางอากาศ น้ำ 68.9
5 ความไม่ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน 67.0
6 ปัญหาการชุมนุม ประท้วงของกลุ่มต่างๆ 64.2
7 ปัญหาด้านการประกอบอาชีพ 57.6
8 ขยะเน่าเหม็น 53.9
9 ภัยน้ำท่วมขัง 52.2
10 ป้ายโฆษณาที่เยอะเกินไป ไม่ปลอดภัย 51.8
11 ความไม่เป็นระเบียบของหาบเร่ แผงลอย การขายของข้างทาง 50.4
12 ปัญหาจัดสรรที่ดิน ที่พักอาศัย 38.5
13 สถานบันเทิงในเขตที่พักอาศัย 36.1
14 ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ สาธารณูปโภคต่างๆ 35.5
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ การรับทราบวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 21 สิงหาคม 5 กันยายน
1 ทราบว่าเป็นวันที่ 5 ตุลาคม 2551 10.0 39.0
2 ไม่ทราบ 90.0 61.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ ความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ค่าร้อยละ
1 ไป 67.9
2 ไม่ไป 11.9
3 ไม่แน่ 20.2
รวมทั้งสิ้น 100. 0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลที่คาดว่าจะเลือกให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ บุคคลที่คาดว่าจะเลือกให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 21 สิงหาคม 5 กันยายน
1 เลือก นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เพราะ..วิสัยทัศน์ดี เห็นผลงานที่ผ่านมา มีผลงาน
เป็นรูปธรรม ตั้งใจทำงาน ขยัน สุภาพ เป็นคนดี ซื่อสัตย์ไม่โกงกิน ทำให้ กทม.
เป็นเมืองน่าท่องเที่ยว ไม่มีใครเหมาะสมเทียบเท่า สานต่อนโยบาย เลือกพรรค/สังกัด
พรรคการเมืองประสบการณ์ 40.2 45.9
2 เลือก นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เพราะ....ดูเด็ดขาดดี ตั้งใจดี เป็นนักธุรกิจ ทันสมัย
ทันเหตุการณ์ ทำจริง กล้าชน กล้าเปลี่ยนแปลง เป็นทางเลือกใหม่ 11.3 15.1
3 เลือก ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
เพราะ..แนวทางคิดใหม่ เปลี่ยนมุมมอง เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ บริหารประเทศได้
มีความเป็นประชาธิปไตย และดูสุขุม รอบคอบ 5.1 9.6
4 เลือก นายประภัสร์ จงสงวน เพราะ..เชี่ยวชาญเรื่องรถไฟฟ้าใต้ดิน ชอบความมุมานะ เป็นต้น - 4.4
5 อื่นๆ อาทิ นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล /นางลีนา จังจรรจา /มล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล /
นายปลอดประสพ สุรัสวดี 20.8* 4.4
6 ยังไม่ตัดสินใจ 22.6 20.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
* ค่าร้อยละเฉพาะ มล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล /นายปลอดประสพ สุรัสวดี
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผู้สมัครที่คาดว่าจะเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. ในโค้งแรกของการเลือกตั้ง จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ รายชื่อผู้สมัคร ชาย หญิง
ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย.
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 37.1 42.6 43.0 49.1
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 15.1 19.0 7.9 11.4
3 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 4.5 9.2 5.6 10.0
4 นายประภัสร์ จงสงวน - 5.5 - 3.5
5 อื่นๆ เช่น นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล นางลีนา จังจรรจา /
มล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล /นายปลอดประสพ สุรัสวดี 19.8* 4.1 21.8* 4.8
6 ยังไม่ตัดสินใจ 23.5 19.6 21.7 21.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผู้สมัครที่คาดว่าจะเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. ในโค้งแรกของการเลือกตั้งจำแนกตามช่วงอายุ
รายชื่อผู้สมัคร ต่ำกว่า 20 ปี 20 — 29 ปี 30 — 39 ปี 40 — 49 ปี 50 ปีขึ้นไป
ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย.
1. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 44.2 56.2 41.6 52.7 39.2 47.8 38.8 40.6 38.5 40.1
2. นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 15.4 21.5 10.8 13.6 11.8 17.7 11.0 15.3 8.9 11.5
3. ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 5.9 3.3 4.0 9.7 5.7 10.7 5.6 10.8 4.7 8.9
4. นายประภัสร์ จงสงวน - 2.5 - 1.1 - 3.6 - 5.6 - 7.8
อื่นๆ เช่น นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล นางลีนา จังจรรจา /
มล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล/ นายปลอดประสพ สุรัสวดี 18.8* 2.5 21.3* 4.7 19.7* 3.0 23.6* 4.3 20.3* 3.5
6. ยังไม่ตัดสินใจ 15.7 14.0 22.3 18.2 23.6 17.2 21.0 23.4 27.6 28.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผู้สมัครที่คาดว่าจะเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. ในโค้งแรกของการเลือกตั้งจำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ รายชื่อผู้สมัคร ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี
ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย.
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 41.5 44.9 37.0 47.5 28.2 47.1
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 11.0 15.3 12.2 14.8 12.8 13.7
3 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 5.4 8.7 4.2 11.0 3.0 17.6
4 นายประภัสร์ จงสงวน - 3.9 - 6.4 - 2.0
5 อื่นๆ เช่น นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล นางลีนา จังจรรจา /
มล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล /นายปลอดประสพ สุรัสวดี 19.9* 4.6 24.3* 4.0 17.6* 2.0
6 ยังไม่ตัดสินใจ 22.2 22.6 22.3 16.3 38.4 17.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผู้สมัครที่คาดว่าจะเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. ในโค้งแรกของการเลือกตั้ง จำแนกตามกลุ่มอาชีพ
รายชื่อผู้สมัคร ข้าราชการ/ พนักงานเอกชน ธุรกิจส่วนตัว/ นักเรียน/ เกษตรกร/ แม่บ้าน/
รัฐวิสาหกิจ ค้าขาย นักศึกษา รับจ้างทั่วไป เกษียณอายุ
ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย.
1. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 19.5 36.0 39.0 47.6 41.2 48.5 46.3 50.6 42.1 47.6 37.4 38.1
2. นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 11.4 12.6 11.3 15.2 9.9 15.9 12.9 17.1 12.0 17.5 7.9 9.4
3. ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 5.7 12.6 6.3 11.5 5.0 9.1 3.8 7.1 4.3 7.6 6.8 14.4
4. นายประภัสร์ จงสงวน - 11.2 - 4.2 - 4.1 - 1.2 - 2.5 - 6.5
อื่นๆ เช่น นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล นางลีนา จังจรรจา /
มล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล /นายปลอดประสพ สุรัสวดี 23.9* 4.7 20.8* 4.7 20.1* 3.7 20.2* 3.5 22.4* 5.4 26.3* 4.3
6. ยังไม่ตัดสินใจ 39.5 22.9 22.6 16.8 23.8 18.7 16.8 20.5 19.2 19.4 21.6 27.3
รวมทั้งสิ้น 100 100 100 100 100 100 100 100 100 100 100 100
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผู้สมัครที่คาดว่าจะเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. ในโค้งแรกของการเลือกตั้ง จำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
รายชื่อผู้สมัคร ต่ำกว่า 5,000 5,001-10,000 10,001-15,000 15,001-20,000 มากกว่า 20,000
ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย. ส.ค. ก.ย.
1. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 45.3 42.7 42.6 47.4 36.6 45.7 34.2 44.6 37.8 51.2
2. นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 11.1 16.9 11.4 13.8 11.1 18.6 9.2 14.9 13.5 15.9
3. ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 5.3 7.1 4.7 8.5 4.4 15.2 5.9 13.1 4.1 7.1
4. นายประภัสร์ จงสงวน - 4.1 - 2.9 - 3.8 - 8.9 - 6.7
อื่นๆ เช่น นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล นางลีนา จังจรรจา
/มล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล /นายปลอดประสพ สุรัสวดี 19.2* 4.9 19.1* 5.9 25.2* 3.8 29.4* 0.6 23.0* 3.6
6. ยังไม่ตัดสินใจ 19.1 24.3 22.2 21.5 22.7 12.9 21.3 17.9 21.6 15.5
รวมทั้งสิ้น 100 100 100 100 100 100 100 100 100 100
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการออกมาแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรแสดงวิสัยทัศน์ 89.6
2 ไม่ควรแสดงวิสัยทัศน์ 10.4
รวมทั้งสิ้น 100. 0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผู้สมัครที่อยากให้ออกมาแสดงวิสัยทัศน์ แข่งขันกับ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
ลำดับที่ รายชื่อผู้สมัครที่อยากให้ดีเบต กับนายอภิรักษ์ ค่าร้อยละ
1 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 61.9
2 ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 25.7
3 นายประภัสร์ จงสงวน 7.7
4 นางลีน่า จังจรรจา 3.5
5 นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล 1.0
6 นายกิตติศักดิ์ ถิรวิศิษฐ์ 0.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาของกรุงเทพมหานครที่ควรเร่งแก้ไข และนำมาดีเบต (ถ่วงน้ำหนัก)
ลำดับที่ ปัญหาของกรุงเทพมหานครที่ควรเร่งแก้ไข และนำมา ดีเบต ค่าถ่วงน้ำหนัก
1 การจราจรติดขัด 27.1
2 ภาวะเศรษฐกิจ/ปัญหาปากท้อง/ความเป็นอยู่ค่าครองชีพ/ราคาสินค้า 14.5
3 ยาเสพติด 10.1
4 การเมือง/การชุมนุมประท้วง/พื้นที่ของการชุมนุม 6.7
5 มลพิษต่างๆ 6.0
6 ขยะ/ความสะอาดเรียบร้อย 5.7
7 น้ำท่วม น้ำขัง 5.5
8 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3.2
9 กำจัดแหล่งมัวสุ่มของเด็กวัยรุ่น 3.0
10 จัดระเบียบสังคม/วิสัยทัศน์ของสังคม 2.5
11 สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม/สถานที่ต่างๆ ไม่ค่อยเป็นระเบียบ 2.3
12 หาบเร่แผงลอย 2.2
13 การแออัดของประชากร 1.9
14 การศึกษา 1.8
15 น้ำเน่า/น้ำเสีย 1.2
16 อื่นๆ อาทิ การว่างงาน การสร้างรถไฟใต้ดิน การขึ้นราคาค่าโดยสาร
การคอรัปชั่น ลูกจ้างกทม. เป็นต้น 6.3
รวมทั้งสิ้น 100. 0
--เอแบคโพลล์--
-พห-