ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ
เรื่อง ชาวต่างประเทศมองประเทศไทยอย่างไร หลังเกิดเหตุปะทะกันรุนแรงและการประกาศภาวะฉุกเฉิน กรณีศึกษาตัวอย่างนักธุรกิจ นักลงทุนและนัก
ท่องเที่ยวต่างชาติ จำนวนทั้งสิ้น 532 ราย ดำเนินการระหว่างวันที่ 2 — 5 กันยายน 2551
ผลสำรวจพบว่า ผู้ที่ถูกศึกษาเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 54.3 ระบุเป็นหญิง และร้อยละ 45.7 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 6.0 อายุต่ำ
กว่า 20 ปี ร้อยละ 66.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 19.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 5.4 อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 2.9
อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 20.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 46.8 ระบุจบปริญญาตรี และร้อยละ 32.6 ระบุจบสูงกว่าปริญญา
ตรี ในขณะที่ตัวอย่าง ร้อยละ 74.6 ระบุเป็นชาวยุโรป ร้อยละ 11.7 ระบุเป็นชาวอเมริกัน ร้อยละ 6.2 ระบุเป็นชาวเอเชีย และร้อยละ 7.5 ระบุ
อื่น ๆ เช่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น
ผลสำรวจพบด้วยว่า ชาวต่างประเทศส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.2 เดินทางมาเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรก ในขณะที่ร้อยละ 29.8 เคย
เดินทางมาประเทศไทยตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป โดยร้อยละ 54.0 ได้พักอาศัยในประเทศไทยไม่เกิน 7 วันที่ผ่านมา แต่ร้อยละ 46.0 ได้พักอาศัยอยู่
ประเทศไทยมากกว่า 7 วันขึ้นไปแล้ว
ที่น่าพิจารณาคือ ชาวต่างประเทศรับทราบความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับ รัฐบาล เพิ่มขึ้น
จากร้อยละ 38.5 ในช่วงก่อนเกิดเหตุปะทะกันรุนแรง มาอยู่ที่ร้อยละ 88.7 ในช่วงหลังเกิดเหตุปะทะกันและประกาศภาวะฉุกเฉิน ซึ่งเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อย
ละ 50.2 ของตัวอย่างทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ชาวต่างประเทศที่ทราบข่าวขัดแย้งกันส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.3 คิดว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ปกติธรรมดาในระบอบ
ประชาธิปไตย แต่จำนวนมากหรือร้อยละ 40.7 คิดว่าไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดา
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประมาณครึ่งหรือร้อยละ 49.5 ได้รับผลกระทบหลังจากเหตุปะทะกันรุนแรงของประชาชนคนไทย ในขณะที่ร้อยละ 50.5
ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบร้อยละ 32.6 ได้รับผลกระทบเล็กน้อย ร้อยละ 32.0 ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น ร้อยละ
23.8 เดินทางไม่สะดวก อาทิ สายการบิน รถไฟหยุดเดินรถ และร้อยละ 11.6 ต้องปรับเปลี่ยนแผนในการเดินทาง
นอกจากนี้ เมื่อวัดความพึงพอใจจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ความพึงพอใจของชาวต่างประเทศลดต่ำลงในวงจำกัด 3 ด้าน คือ
ด้านสถานการณ์การเมืองได้รับผลกระทบทำให้ชาวต่างประเทศพอใจลดต่ำลงสุดจาก 6.27 มาอยู่ที่ 4.96 ด้านสภาวะเศรษฐกิจลดลงจาก 6.59 มาอยู่
ที่ 5.91 และด้านความเป็นธรรมในสังคมลดลงจาก 6.02 มาอยู่ที่ 5.57
อย่างไรก็ตาม ด้านอื่นๆ อีก 9 ด้าน พบว่า ชาวต่างประเทศยังคงพึงพอใจต่อประเทศไทย เช่น พอใจต่อประชาชนคนไทยเพิ่มจาก
8.00 มาอยู่ที่ 8.20 ด้านวัฒนธรรมไทย เพิ่มจาก 7.86 มาอยู่ที่ 8.12 ด้านอาหารไทยเพิ่มจาก 8.00 มาอยู่ที่ 8.16 ด้านสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มจาก
7.14 มาอยู่ที่ 7.43 ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพิ่มขึ้นจาก 7.28 มาอยู่ที่ 7.32 ด้านการบริการของด่านตรวจคนเข้าเมืองเพิ่มจาก
7.13 มาอยู่ที่ 7.25 ด้านสภาพแวดล้อมเพิ่มขึ้นจาก 6.85 มาอยู่ที่ 6.90 ด้านระบบขนส่งมวลชนเพิ่มจาก 6.72 มาอยู่ที่ 6.87 และด้านความปลอดภัย
ในอาหารเพิ่มขึ้นจาก 6.91 มาอยู่ที่ 6.92 ในการสำรวจครั้งล่าสุด
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงความสุขมวลรวมของชาวต่างประเทศในประเทศไทย เปรียบเทียบก่อนและหลังเกิดเหตุปะทะรุนแรงและ
ประกาศภาวะฉุกเฉิน พบว่า ความสุขมวลรวมของชาวต่างประเทศกลับไม่แตกต่างคือ จาก 8.02 มาอยู่ที่ 8.06
และเมื่อถามว่าจะกลับมาเที่ยวประเทศไทยอีกหรือไม่ พบว่า ชาวต่างประเทศส่วนใหญ่ยังคงตอบว่าจะกลับมาอีกคือร้อยละ 96.7 ก่อนเกิด
เหตุปะทะ และร้อยละ 97.0 หลังเหตุปะทะและประกาศภาวะฉุกเฉินระบุว่าจะกลับมาอีก และเมื่อถามว่าจะชักชวนคนอื่นๆ ในประเทศมาเที่ยวเมือง
ไทยอีกหรือไม่ พบว่า ร้อยละ 97.6 ก่อนเกิดเหตุปะทะ และเกือบร้อยละร้อยหรือร้อยละ 98.9 ระบุจะยังคงชักชวนคนอื่นๆ ในประเทศกลับมาเที่ยว
ประเทศไทยอีก
อย่างไรก็ตาม ถ้าพวกเขาอยู่ประเทศไทยแล้วไม่มีความสุข ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะเดินทางไปคือ ร้อยละ 52.7
ระบุจะไปประเทศเวียดนาม ร้อยละ 40.8 ระบุประเทศลาว ร้อยละ 37.3 ระบุประเทศกัมพูชา ร้อยละ 30.8 ระบุประเทศมาเลเซีย ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า หลายคนอาจคิดว่า หลังเกิดเหตุปะทะกันของคนไทยและการประกาศภาวะฉุกเฉินแล้ว ชาวต่างประเทศจะมอง
ประเทศไทยในทางลบต่อประชาชนคนไทยและด้านอื่นๆ ของประเทศไทยทั้งหมด แต่ผลวิจัยครั้งนี้กลับพบว่าชาวต่างประเทศยังคงพอใจระดับสูงต่อ
ประชาชนคนไทย ต่ออาหารไทย วัฒนธรรมไทย สถานที่ท่องเที่ยว และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น แต่ที่มีความพอใจลดวูบต่ำลงหลังเกิด
เหตุปะทะกันของคนไทยได้จำกัดวงเฉพาะ 3 ด้านเท่านั้น คือ ด้านการเมือง สภาวะเศรษฐกิจ และกระบวนการยุติธรรมทางสังคม เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็
น่าจะเป็นเพราะชาวต่างประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่อาจมีประสบการณ์พบเจอเหตุขัดแย้งรุนแรงมาหลายประเทศ และเล็งเห็นว่าการเคลื่อนไหวทางการ
เมืองของประชาชนคนไทยน่าจะสามารถจบลงได้ด้วยสันติวิธี เพราะปัญหาการปะทะกันระหว่างประชาชนที่เกิดขึ้นนั้นชาวต่างประเทศที่ถูกศึกษาในงาน
วิจัยครั้งนี้ได้บอกกับผู้วิจัยว่ามันได้เกิดขึ้นเฉพาะจุด เฉพาะพื้นที่และจบไปแล้ว ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและการท่องเที่ยว จึงต้องเร่ง
รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ชาวต่างประเทศเกิดความมั่นใจในสถานการณ์ความขัดแย้งที่จะไม่รุนแรงบานปลายเกิดขึ้นอีก
“ถ้าประชาชนคนไทยมองปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นแบบเหมารวม (Stereotype) และมีอคติ (Bias)ต่อกัน ผลที่ตามมาก็คือ ความแตกแยก
และมองไม่เห็นทางออกที่สันติวิธีได้ จึงน่าจะมองแบบเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกันว่า การเคลื่อนไหวของแต่ละกลุ่มต่างก็มีอุดมการณ์เชื่อว่าจะทำให้
ประเทศไทยและระบอบประชาธิปไตยดีขึ้น คนไทยทุกคนจึงน่าจะนำเอกลักษณ์ที่ดีของคนไทยเรื่องความรักความสามัคคี เกื้อกูลกัน ให้อภัยต่อกัน มีเมตตา
ต่อกัน อดทนอดกลั้นรอเวลาที่กระบวนการยุติธรรมกำลังทำหน้าที่คลี่คลายสถานการณ์ต่างๆ อยู่และร่วมกันหาทางออกอย่างสันติให้จงได้ เพื่อทำให้ความ
สุขมวลรวมของคนไทยและชาวต่างประเทศพุ่งสูงขึ้นไปพร้อมๆ กันอีกครั้ง” ดร.นพดล กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกของชาวต่างชาติที่มีต่อประเทศไทย
2. เพื่อสำรวจระดับความสุขของชาวต่างชาติในช่วงที่พักอาศัยในประเทศไทยหลังจากมีการประกาศภาวะฉุกเฉิน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองไทยหลังจากมีการประกาศภาวะฉุกเฉิน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ชาวต่างประเทศ
มองประเทศไทยอย่างไร หลังเกิดเหตุปะทะกันรุนแรงและการประกาศภาวะฉุกเฉิน กรณีศึกษาตัวอย่างนักธุรกิจ นักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2-5 กันยายน พ.ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่ม
ประชากรเป้าหมาย คือ ชาวต่างชาติที่เดินทางมาพักอาศัยในประเทศไทย โดยมีเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง
(Purposive Sampling) ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 532 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการ
เก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบ
ประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย พนักงานเก็บข้อมูลและประมวลผลรวมทั้งสิ้น 85 คน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมาเยือนประเทศไทย
ลำดับที่ การมาเยือนประเทศไทย ค่าร้อยละ
1 ครั้งนี้เป็นครั้งแรก 70.2
2 ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป 29.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาที่พักอาศัยในประเทศไทย
ลำดับที่ ระยะเวลาที่พักอาศัยในประเทศไทย ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 7 วัน 54.0
2 มากกว่า 7 วันขึ้นไป 46.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ว่ามีความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง
“กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” และ “รัฐบาลไทย” จำแนกตามช่วง ก่อน — หลังประกาศภาวะฉุกเฉิน
ลำดับที่ การรับรู้ของตัวอย่าง ก่อนประกาศ หลังประกาศ ส่วนต่าง
1 ทราบเกี่ยวกับความขัดแย้ง 38.5 88.7 +50.2
2 ไม่ทราบ 61.5 11.3 -50.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ
ที่ทำเนียบรัฐบาลเป็นการเคลื่อนไหวที่ปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย 59.3
2 คิดว่าไม่เป็น 40.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในประเทศไทยหลังเกิดเหตุปะทะรุนแรง
ลำดับที่ ผลกระทบต่อชาวต่างประเทศ ค่าร้อยละ
1 ได้รับผลกระทบ 49.5
2 ไม่ได้รับผลกระทบ 50.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลกระทบที่ได้รับจากการเหตุปะทะรุนแรงระหว่างประชาชนคนไทย
(เฉพาะตัวอย่างที่ได้รับผลกระทบ)
ลำดับที่ ผลกระทบที่ได้รับจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน ค่าร้อยละ
1 มีผลกระทบบ้างเล็กน้อย 32.6
2 ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น ขณะที่พักอาศัยในประเทศไทย 32.0
3 เดินทางไม่สะดวกมากขึ้น อาทิ ระงับเที่ยวบิน รถไฟหยุดการเดินทาง 23.8
4 ต้องปรับเปลี่ยนแผนในการเดินทาง หรือท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย 11.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยของระดับความพอใจเกี่ยวกับปัจจัยด้านต่างๆ ของประเทศไทย
เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน เปรียบเทียบระหว่างก่อน — หลังเหตุปะทะกันและประกาศภาวะฉุกเฉิน
ลำดับที่ ปัจจัยด้านต่างๆ ของประเทศไทย ก่อนประกาศ หลังเหตุปะทะ(เฉพาะผู้ทราบข่าว) ส่วนต่าง
1 ประชาชนคนไทย 8.00 8.20 +0.20
2 วัฒนธรรมไทย 7.86 8.12 +0.26
3 อาหารไทย 8.00 8.16 +0.16
4 สถานที่ท่องเที่ยว 7.14 7.43 +0.29
5 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 7.28 7.32 +0.04
6 การบริการของด่านตรวจคนเข้าเมือง 7.13 7.25 +0.12
7 สภาพแวดล้อม 6.85 6.90 +0.05
8 ระบบขนส่งมวลชน 6.72 6.87 +0.15
9 ความปลอดภัยในอาหาร 6.91 6.92 +0.01
10 สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ 6.59 5.91 -0.68
11 กระบวนการยุติธรรมทางสังคม 6.02 5.57 -0.45
12 สถานการณ์ด้านการเมือง 6.27 4.96 -1.31
ตารางที่ 8 แสดงค่าคะแนนความสุขโดยรวมเฉลี่ยในช่วงที่พักอาศัยในเมืองไทย จำแนกตามช่วงเวลาก่อน
และหลังประกาศภาวะฉุกเฉิน เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน
สถานการณ์การเมือง ค่าความสุขเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแปลผล
ก่อนประกาศภาวะฉุกเฉิน 8.02 0 10 1.344 มีความสุขมาก
หลังประกาศภาวะฉุกเฉิน 8.06 1 10 1.369 มีความสุขมาก
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจในการเดินทางมาเที่ยวเมืองไทยอีกครั้ง
จำแนกตามช่วงเวลาก่อนและหลังประกาศภาวะฉุกเฉิน
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ก่อนประกาศภาวะฉุกเฉิน หลังประกาศภาวะฉุกเฉิน
1 กลับมาเที่ยวอีกครั้ง 96.7 97.0
2 ไม่มาเที่ยวอีก 3.3 3.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะชักชวน/แนะนำคนอื่นให้มาเที่ยวเมืองไทย
จำแนกตามช่วงเวลาก่อนและหลังประกาศภาวะฉุกเฉิน
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ก่อนประกาศภาวะฉุกเฉิน หลังประกาศภาวะฉุกเฉิน
1 ตั้งใจที่จะชักชวน/แนะนำ 97.6 98.9
2 ไม่ชักชวน/แนะนำ 2.4 1.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งใจจะไปพักอาศัยหรือ
ท่องเที่ยว ถ้าตัวอย่างไม่มีความสุขช่วงที่พักอาศัยในเมืองไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งใจจะไปถ้าอยู่เมืองไทยไม่ได้ ค่าร้อยละ
1 ประเทศเวียดนาม 52.7
2 ประเทศลาว 40.8
3 ประเทศกัมพูชา 37.3
4 ประเทศมาเลเซีย 30.8
5 ประเทศอินโดนีเซีย 24.9
6 ประเทศสิงคโปร์ 12.4
7 ประเทศบรูไน 7.1
8 ประเทศฟิลิปปินส์ 4.1
9 ประเทศพม่า 3.6
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เรื่อง ชาวต่างประเทศมองประเทศไทยอย่างไร หลังเกิดเหตุปะทะกันรุนแรงและการประกาศภาวะฉุกเฉิน กรณีศึกษาตัวอย่างนักธุรกิจ นักลงทุนและนัก
ท่องเที่ยวต่างชาติ จำนวนทั้งสิ้น 532 ราย ดำเนินการระหว่างวันที่ 2 — 5 กันยายน 2551
ผลสำรวจพบว่า ผู้ที่ถูกศึกษาเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 54.3 ระบุเป็นหญิง และร้อยละ 45.7 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 6.0 อายุต่ำ
กว่า 20 ปี ร้อยละ 66.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 19.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 5.4 อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 2.9
อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 20.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 46.8 ระบุจบปริญญาตรี และร้อยละ 32.6 ระบุจบสูงกว่าปริญญา
ตรี ในขณะที่ตัวอย่าง ร้อยละ 74.6 ระบุเป็นชาวยุโรป ร้อยละ 11.7 ระบุเป็นชาวอเมริกัน ร้อยละ 6.2 ระบุเป็นชาวเอเชีย และร้อยละ 7.5 ระบุ
อื่น ๆ เช่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น
ผลสำรวจพบด้วยว่า ชาวต่างประเทศส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.2 เดินทางมาเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรก ในขณะที่ร้อยละ 29.8 เคย
เดินทางมาประเทศไทยตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป โดยร้อยละ 54.0 ได้พักอาศัยในประเทศไทยไม่เกิน 7 วันที่ผ่านมา แต่ร้อยละ 46.0 ได้พักอาศัยอยู่
ประเทศไทยมากกว่า 7 วันขึ้นไปแล้ว
ที่น่าพิจารณาคือ ชาวต่างประเทศรับทราบความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับ รัฐบาล เพิ่มขึ้น
จากร้อยละ 38.5 ในช่วงก่อนเกิดเหตุปะทะกันรุนแรง มาอยู่ที่ร้อยละ 88.7 ในช่วงหลังเกิดเหตุปะทะกันและประกาศภาวะฉุกเฉิน ซึ่งเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อย
ละ 50.2 ของตัวอย่างทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ชาวต่างประเทศที่ทราบข่าวขัดแย้งกันส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.3 คิดว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ปกติธรรมดาในระบอบ
ประชาธิปไตย แต่จำนวนมากหรือร้อยละ 40.7 คิดว่าไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดา
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประมาณครึ่งหรือร้อยละ 49.5 ได้รับผลกระทบหลังจากเหตุปะทะกันรุนแรงของประชาชนคนไทย ในขณะที่ร้อยละ 50.5
ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบร้อยละ 32.6 ได้รับผลกระทบเล็กน้อย ร้อยละ 32.0 ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น ร้อยละ
23.8 เดินทางไม่สะดวก อาทิ สายการบิน รถไฟหยุดเดินรถ และร้อยละ 11.6 ต้องปรับเปลี่ยนแผนในการเดินทาง
นอกจากนี้ เมื่อวัดความพึงพอใจจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ความพึงพอใจของชาวต่างประเทศลดต่ำลงในวงจำกัด 3 ด้าน คือ
ด้านสถานการณ์การเมืองได้รับผลกระทบทำให้ชาวต่างประเทศพอใจลดต่ำลงสุดจาก 6.27 มาอยู่ที่ 4.96 ด้านสภาวะเศรษฐกิจลดลงจาก 6.59 มาอยู่
ที่ 5.91 และด้านความเป็นธรรมในสังคมลดลงจาก 6.02 มาอยู่ที่ 5.57
อย่างไรก็ตาม ด้านอื่นๆ อีก 9 ด้าน พบว่า ชาวต่างประเทศยังคงพึงพอใจต่อประเทศไทย เช่น พอใจต่อประชาชนคนไทยเพิ่มจาก
8.00 มาอยู่ที่ 8.20 ด้านวัฒนธรรมไทย เพิ่มจาก 7.86 มาอยู่ที่ 8.12 ด้านอาหารไทยเพิ่มจาก 8.00 มาอยู่ที่ 8.16 ด้านสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มจาก
7.14 มาอยู่ที่ 7.43 ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพิ่มขึ้นจาก 7.28 มาอยู่ที่ 7.32 ด้านการบริการของด่านตรวจคนเข้าเมืองเพิ่มจาก
7.13 มาอยู่ที่ 7.25 ด้านสภาพแวดล้อมเพิ่มขึ้นจาก 6.85 มาอยู่ที่ 6.90 ด้านระบบขนส่งมวลชนเพิ่มจาก 6.72 มาอยู่ที่ 6.87 และด้านความปลอดภัย
ในอาหารเพิ่มขึ้นจาก 6.91 มาอยู่ที่ 6.92 ในการสำรวจครั้งล่าสุด
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงความสุขมวลรวมของชาวต่างประเทศในประเทศไทย เปรียบเทียบก่อนและหลังเกิดเหตุปะทะรุนแรงและ
ประกาศภาวะฉุกเฉิน พบว่า ความสุขมวลรวมของชาวต่างประเทศกลับไม่แตกต่างคือ จาก 8.02 มาอยู่ที่ 8.06
และเมื่อถามว่าจะกลับมาเที่ยวประเทศไทยอีกหรือไม่ พบว่า ชาวต่างประเทศส่วนใหญ่ยังคงตอบว่าจะกลับมาอีกคือร้อยละ 96.7 ก่อนเกิด
เหตุปะทะ และร้อยละ 97.0 หลังเหตุปะทะและประกาศภาวะฉุกเฉินระบุว่าจะกลับมาอีก และเมื่อถามว่าจะชักชวนคนอื่นๆ ในประเทศมาเที่ยวเมือง
ไทยอีกหรือไม่ พบว่า ร้อยละ 97.6 ก่อนเกิดเหตุปะทะ และเกือบร้อยละร้อยหรือร้อยละ 98.9 ระบุจะยังคงชักชวนคนอื่นๆ ในประเทศกลับมาเที่ยว
ประเทศไทยอีก
อย่างไรก็ตาม ถ้าพวกเขาอยู่ประเทศไทยแล้วไม่มีความสุข ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะเดินทางไปคือ ร้อยละ 52.7
ระบุจะไปประเทศเวียดนาม ร้อยละ 40.8 ระบุประเทศลาว ร้อยละ 37.3 ระบุประเทศกัมพูชา ร้อยละ 30.8 ระบุประเทศมาเลเซีย ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า หลายคนอาจคิดว่า หลังเกิดเหตุปะทะกันของคนไทยและการประกาศภาวะฉุกเฉินแล้ว ชาวต่างประเทศจะมอง
ประเทศไทยในทางลบต่อประชาชนคนไทยและด้านอื่นๆ ของประเทศไทยทั้งหมด แต่ผลวิจัยครั้งนี้กลับพบว่าชาวต่างประเทศยังคงพอใจระดับสูงต่อ
ประชาชนคนไทย ต่ออาหารไทย วัฒนธรรมไทย สถานที่ท่องเที่ยว และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น แต่ที่มีความพอใจลดวูบต่ำลงหลังเกิด
เหตุปะทะกันของคนไทยได้จำกัดวงเฉพาะ 3 ด้านเท่านั้น คือ ด้านการเมือง สภาวะเศรษฐกิจ และกระบวนการยุติธรรมทางสังคม เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็
น่าจะเป็นเพราะชาวต่างประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่อาจมีประสบการณ์พบเจอเหตุขัดแย้งรุนแรงมาหลายประเทศ และเล็งเห็นว่าการเคลื่อนไหวทางการ
เมืองของประชาชนคนไทยน่าจะสามารถจบลงได้ด้วยสันติวิธี เพราะปัญหาการปะทะกันระหว่างประชาชนที่เกิดขึ้นนั้นชาวต่างประเทศที่ถูกศึกษาในงาน
วิจัยครั้งนี้ได้บอกกับผู้วิจัยว่ามันได้เกิดขึ้นเฉพาะจุด เฉพาะพื้นที่และจบไปแล้ว ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและการท่องเที่ยว จึงต้องเร่ง
รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ชาวต่างประเทศเกิดความมั่นใจในสถานการณ์ความขัดแย้งที่จะไม่รุนแรงบานปลายเกิดขึ้นอีก
“ถ้าประชาชนคนไทยมองปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นแบบเหมารวม (Stereotype) และมีอคติ (Bias)ต่อกัน ผลที่ตามมาก็คือ ความแตกแยก
และมองไม่เห็นทางออกที่สันติวิธีได้ จึงน่าจะมองแบบเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกันว่า การเคลื่อนไหวของแต่ละกลุ่มต่างก็มีอุดมการณ์เชื่อว่าจะทำให้
ประเทศไทยและระบอบประชาธิปไตยดีขึ้น คนไทยทุกคนจึงน่าจะนำเอกลักษณ์ที่ดีของคนไทยเรื่องความรักความสามัคคี เกื้อกูลกัน ให้อภัยต่อกัน มีเมตตา
ต่อกัน อดทนอดกลั้นรอเวลาที่กระบวนการยุติธรรมกำลังทำหน้าที่คลี่คลายสถานการณ์ต่างๆ อยู่และร่วมกันหาทางออกอย่างสันติให้จงได้ เพื่อทำให้ความ
สุขมวลรวมของคนไทยและชาวต่างประเทศพุ่งสูงขึ้นไปพร้อมๆ กันอีกครั้ง” ดร.นพดล กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกของชาวต่างชาติที่มีต่อประเทศไทย
2. เพื่อสำรวจระดับความสุขของชาวต่างชาติในช่วงที่พักอาศัยในประเทศไทยหลังจากมีการประกาศภาวะฉุกเฉิน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองไทยหลังจากมีการประกาศภาวะฉุกเฉิน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ชาวต่างประเทศ
มองประเทศไทยอย่างไร หลังเกิดเหตุปะทะกันรุนแรงและการประกาศภาวะฉุกเฉิน กรณีศึกษาตัวอย่างนักธุรกิจ นักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2-5 กันยายน พ.ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่ม
ประชากรเป้าหมาย คือ ชาวต่างชาติที่เดินทางมาพักอาศัยในประเทศไทย โดยมีเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง
(Purposive Sampling) ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 532 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการ
เก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบ
ประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย พนักงานเก็บข้อมูลและประมวลผลรวมทั้งสิ้น 85 คน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมาเยือนประเทศไทย
ลำดับที่ การมาเยือนประเทศไทย ค่าร้อยละ
1 ครั้งนี้เป็นครั้งแรก 70.2
2 ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป 29.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาที่พักอาศัยในประเทศไทย
ลำดับที่ ระยะเวลาที่พักอาศัยในประเทศไทย ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 7 วัน 54.0
2 มากกว่า 7 วันขึ้นไป 46.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ว่ามีความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง
“กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” และ “รัฐบาลไทย” จำแนกตามช่วง ก่อน — หลังประกาศภาวะฉุกเฉิน
ลำดับที่ การรับรู้ของตัวอย่าง ก่อนประกาศ หลังประกาศ ส่วนต่าง
1 ทราบเกี่ยวกับความขัดแย้ง 38.5 88.7 +50.2
2 ไม่ทราบ 61.5 11.3 -50.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ
ที่ทำเนียบรัฐบาลเป็นการเคลื่อนไหวที่ปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย 59.3
2 คิดว่าไม่เป็น 40.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในประเทศไทยหลังเกิดเหตุปะทะรุนแรง
ลำดับที่ ผลกระทบต่อชาวต่างประเทศ ค่าร้อยละ
1 ได้รับผลกระทบ 49.5
2 ไม่ได้รับผลกระทบ 50.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลกระทบที่ได้รับจากการเหตุปะทะรุนแรงระหว่างประชาชนคนไทย
(เฉพาะตัวอย่างที่ได้รับผลกระทบ)
ลำดับที่ ผลกระทบที่ได้รับจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน ค่าร้อยละ
1 มีผลกระทบบ้างเล็กน้อย 32.6
2 ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น ขณะที่พักอาศัยในประเทศไทย 32.0
3 เดินทางไม่สะดวกมากขึ้น อาทิ ระงับเที่ยวบิน รถไฟหยุดการเดินทาง 23.8
4 ต้องปรับเปลี่ยนแผนในการเดินทาง หรือท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย 11.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยของระดับความพอใจเกี่ยวกับปัจจัยด้านต่างๆ ของประเทศไทย
เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน เปรียบเทียบระหว่างก่อน — หลังเหตุปะทะกันและประกาศภาวะฉุกเฉิน
ลำดับที่ ปัจจัยด้านต่างๆ ของประเทศไทย ก่อนประกาศ หลังเหตุปะทะ(เฉพาะผู้ทราบข่าว) ส่วนต่าง
1 ประชาชนคนไทย 8.00 8.20 +0.20
2 วัฒนธรรมไทย 7.86 8.12 +0.26
3 อาหารไทย 8.00 8.16 +0.16
4 สถานที่ท่องเที่ยว 7.14 7.43 +0.29
5 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 7.28 7.32 +0.04
6 การบริการของด่านตรวจคนเข้าเมือง 7.13 7.25 +0.12
7 สภาพแวดล้อม 6.85 6.90 +0.05
8 ระบบขนส่งมวลชน 6.72 6.87 +0.15
9 ความปลอดภัยในอาหาร 6.91 6.92 +0.01
10 สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ 6.59 5.91 -0.68
11 กระบวนการยุติธรรมทางสังคม 6.02 5.57 -0.45
12 สถานการณ์ด้านการเมือง 6.27 4.96 -1.31
ตารางที่ 8 แสดงค่าคะแนนความสุขโดยรวมเฉลี่ยในช่วงที่พักอาศัยในเมืองไทย จำแนกตามช่วงเวลาก่อน
และหลังประกาศภาวะฉุกเฉิน เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน
สถานการณ์การเมือง ค่าความสุขเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแปลผล
ก่อนประกาศภาวะฉุกเฉิน 8.02 0 10 1.344 มีความสุขมาก
หลังประกาศภาวะฉุกเฉิน 8.06 1 10 1.369 มีความสุขมาก
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจในการเดินทางมาเที่ยวเมืองไทยอีกครั้ง
จำแนกตามช่วงเวลาก่อนและหลังประกาศภาวะฉุกเฉิน
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ก่อนประกาศภาวะฉุกเฉิน หลังประกาศภาวะฉุกเฉิน
1 กลับมาเที่ยวอีกครั้ง 96.7 97.0
2 ไม่มาเที่ยวอีก 3.3 3.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะชักชวน/แนะนำคนอื่นให้มาเที่ยวเมืองไทย
จำแนกตามช่วงเวลาก่อนและหลังประกาศภาวะฉุกเฉิน
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ก่อนประกาศภาวะฉุกเฉิน หลังประกาศภาวะฉุกเฉิน
1 ตั้งใจที่จะชักชวน/แนะนำ 97.6 98.9
2 ไม่ชักชวน/แนะนำ 2.4 1.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งใจจะไปพักอาศัยหรือ
ท่องเที่ยว ถ้าตัวอย่างไม่มีความสุขช่วงที่พักอาศัยในเมืองไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งใจจะไปถ้าอยู่เมืองไทยไม่ได้ ค่าร้อยละ
1 ประเทศเวียดนาม 52.7
2 ประเทศลาว 40.8
3 ประเทศกัมพูชา 37.3
4 ประเทศมาเลเซีย 30.8
5 ประเทศอินโดนีเซีย 24.9
6 ประเทศสิงคโปร์ 12.4
7 ประเทศบรูไน 7.1
8 ประเทศฟิลิปปินส์ 4.1
9 ประเทศพม่า 3.6
--เอแบคโพลล์--
-พห-