ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความเชื่อมั่นของสาธารณชนต่อ
การปกครองแบบประชาธิปไตยในท่ามกลางสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมือง กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น
2,005 ราย ระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่าง 1 — 6 กันยายน 2551
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ที่ถูกศึกษาหรือร้อยละ 74.3 ติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำทุกวันหรือเกือบทุกวัน และเมื่อ
สอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย แม้มีความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองในปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.9 เชื่อมั่น
มาก ในขณะที่ร้อยละ 12.0 เชื่อมั่นปานกลาง และร้อยละ 22.1 เชื่อมั่นน้อย
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงการเตรียมรับปัญหาขัดแย้งที่อาจรุนแรงเพิ่มขึ้นด้วยการกักเก็บอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 88.0 ไม่มีการเตรียมตัวอะไร ในขณะที่ร้อยละ 12.0 ได้เตรียมเอาไว้แล้ว
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจที่ค้นพบเช่นนี้ อาจเป็นไปได้อย่างน้อย 3 สาเหตุคือ สาเหตุแรก คือ ประชาชนยังคงเชื่อมั่นว่าสถานการณ์
การเมืองต่างๆ จะสามารถคลี่คลายลงไปได้ตามระบอบประชาธิปไตยอย่างสันติและสงบสุข สาเหตุที่สอง คือ คนไทยอาจมีปัญหาเรื่องกำลังซื้อในช่วง
สภาวะเศรษฐกิจถดถอยในขณะนี้ และสาเหตุที่สาม คือ เป็นไปได้ว่า ที่คนไทยยังไม่เตรียมตัวอะไรเพราะเป็นลักษณะปกติของคนไทยที่ไม่ค่อยตระเตรียม
วางแผนอะไรล่วงหน้า ถ้าสถานการณ์เลวร้ายต่างๆ ยังไม่เกิด
ที่น่าสนใจคือ ผลสำรวจพบว่า ระยะเวลาเฉลี่ย ที่ประชาชนได้อธิษฐานภาวนาขอให้ปัญหาขัดแย้งทางการเมืองได้ข้อยุติอยู่ที่ 18.40 วัน
หรือประมาณสองสัปดาห์ข้างหน้า โดยจะเห็นได้ว่าประชาชนได้ไตร่ตรองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าคงจะไม่สามารถยุติลงได้ในระยะเวลาเพียงวันหรือสอง
วันนี้
นอกจากนี้ ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ หลายคนอาจเห็นได้ว่า ฝ่ายรัฐบาลก็มักจะอ้างว่ามีเสียงสนับสนุนจากคนส่วนใหญ่ และฝ่ายไม่สนับสนุน
รัฐบาลก็อาจอ้างเสียงคนส่วนใหญ่ แต่ผลสำรวจในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เป็นเมืองหลวงของประเทศและเป็นพื้นที่ที่เกิดความขัดแย้ง พบว่า คนส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 59.9 ขออยู่ตรงกลาง หรือเป็นพลังเงียบ ในขณะที่ กลุ่มสนับสนุนรัฐบาลมีอยู่ร้อยละ 19.6 และกลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลมีอยู่ร้อยละ 20.5
ของตัวอย่างที่ถูกศึกษา ซึ่งในทางสถิติถือว่าไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มสนับสนุนและไม่สนับสนุน และไม่ถือว่าเป็นเสียงของคนส่วนใหญ่ แต่เสียงของคน
ส่วนใหญ่ในช่วงเวลาที่มีเหตุขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองปัจจุบันกลับเป็นกลุ่มประชาชนที่ไม่ต้องการเลือกข้าง
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือ ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันนี้ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ
85.1 ระบุต้องไม่ใช้ความรุนแรง และเป็นประชาธิปไตย ในขณะที่ร้อยละ 8.2 ระบุใช้ทุกวิถีทาง จัดการขั้นเด็ดขาด และร้อยละ 6.7 ไม่มีความเห็น
ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังเชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย ถึงแม้อยู่ท่ามกลางสถานการณ์ที่
ขัดแย้งรุนแรงทางการเมือง และยังไม่มีการตระเตรียมตัวกักเก็บอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือนอะไร อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาเฉลี่ยที่
ประชาชนได้อธิษฐานภาวนาขอให้ปัญหาขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงได้ข้อยุติอยู่ประมาณสองสัปดาห์ข้างหน้า และผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนส่วน
ใหญ่ไม่ต้องการเลือกข้าง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลหรือฝ่ายต่อต้านรัฐบาล จึงเป็นข้อมูลให้สาธารณชนได้พิจารณาไตร่ตรองข้อมูลที่ค้นพบครั้งนี้ตาม
ความเป็นจริง เพื่อไม่อ้างจำนวนของประชาชนไปสร้างความชอบธรรมของฝ่ายตนเองในการใช้อำนาจเข้าทำร้ายกัน
ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า ทางออกที่ดีที่สุดในทรรศนะของสาธารณชนในงานวิจัยครั้งนี้คือ ต้องไม่ใช้ความรุนแรงและต้องเป็น
ประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ทางสำนักวิจัยฯ ได้คอยเฝ้าระวังสำรวจเก็บข้อมูลอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนอย่างใกล้ชิด เพราะหวั่นว่า ความเบื่อ
หน่ายและตรึงเครียดของอารมณ์ในหมู่ประชาชนอาจทำให้ต้องเรียกหาทางออกสุดท้ายที่เหลืออยู่ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและสร้างความเสียหายต่อประเทศ
ในทุกๆ ด้าน
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของสาธารณชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ความเชื่อมั่นของสาธารณชนต่อการปกครองแบบ
ประชาธิปไตยในท่ามกลางสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมือง กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,005 ราย
ระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่าง 1 — 6 กันยายน 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่ม
ประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลาย
ขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,005 ตัวอย่าง ช่วง
ความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบ
รวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุด
ก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 79 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.8 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.3 ระบุอายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 24.1 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 25.2 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 23.6 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.9 ระบุจบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 21.2 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 4.9 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 32.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.5 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.3 ระบุเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 9.2 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 8.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ18.1 อื่นๆ อาทิ แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ผู้ว่างงาน และไม่ระบุ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ของพฤติกรรมติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชน ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/ เกือบทุกวัน 74.3
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 16.3
3 ไม่เกิน 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 9.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย แม้มีความขัดแย้ง
รุนแรงทางการเมืองในปัจจุบัน
ลำดับที่ ระดับความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่นมาก 65.9
2 ปานกลาง 12.0
3 น้อย 22.1
รวมทั้งสิ้น 100. 0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การกักเก็บอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ เตรียมรับปัญหาขัดแย้งที่อาจ
รุนแรงเพิ่มขึ้น
ลำดับที่ การเตรียมตัว ค่าร้อยละ
1 ไม่มีการเตรียมตัวอะไร 88.0
2 ได้เตรียมตัวแล้ว 12.0
รวมทั้งสิ้น 100. 0
ตารางที่ 4 แสดงค่าเฉลี่ยของระยะเวลา ที่ตัวอย่างได้อธิษฐานภาวนาขอให้ปัญหาขัดแย้งทางการเมืองได้ข้อยุติ
ระยะเวลาเฉลี่ย(วัน) จำนวนวันต่ำสุด จำนวนวันสูงสุด ค่าเบี่ยงเบน แปลผล
18.40 วัน 1 90 18.447 ประมาณสองสัปดาห์ข้างหน้า
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จุดยืนทางการเมืองล่าสุดในปัจจุบัน
ลำดับที่ จุดยืนทางการเมืองล่าสุดในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนรัฐบาล 19.6
2 ไม่สนับสนุนรัฐบาล 20.5
3 ขออยู่ตรงกลาง (พลังเงียบ) 59.9
รวมทั้งสิ้น 100. 0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน
ลำดับที่ ทางออกที่ดีที่สุด ร้อยละ
1 ไม่ใช้ความรุนแรง เป็นประชาธิปไตย 85.1
2 ใช้ทุกวิถีทาง จัดการขั้นเด็ดขาด 8.2
3 ไม่มีความเห็น 6.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
การปกครองแบบประชาธิปไตยในท่ามกลางสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมือง กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น
2,005 ราย ระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่าง 1 — 6 กันยายน 2551
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ที่ถูกศึกษาหรือร้อยละ 74.3 ติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำทุกวันหรือเกือบทุกวัน และเมื่อ
สอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย แม้มีความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองในปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.9 เชื่อมั่น
มาก ในขณะที่ร้อยละ 12.0 เชื่อมั่นปานกลาง และร้อยละ 22.1 เชื่อมั่นน้อย
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงการเตรียมรับปัญหาขัดแย้งที่อาจรุนแรงเพิ่มขึ้นด้วยการกักเก็บอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 88.0 ไม่มีการเตรียมตัวอะไร ในขณะที่ร้อยละ 12.0 ได้เตรียมเอาไว้แล้ว
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจที่ค้นพบเช่นนี้ อาจเป็นไปได้อย่างน้อย 3 สาเหตุคือ สาเหตุแรก คือ ประชาชนยังคงเชื่อมั่นว่าสถานการณ์
การเมืองต่างๆ จะสามารถคลี่คลายลงไปได้ตามระบอบประชาธิปไตยอย่างสันติและสงบสุข สาเหตุที่สอง คือ คนไทยอาจมีปัญหาเรื่องกำลังซื้อในช่วง
สภาวะเศรษฐกิจถดถอยในขณะนี้ และสาเหตุที่สาม คือ เป็นไปได้ว่า ที่คนไทยยังไม่เตรียมตัวอะไรเพราะเป็นลักษณะปกติของคนไทยที่ไม่ค่อยตระเตรียม
วางแผนอะไรล่วงหน้า ถ้าสถานการณ์เลวร้ายต่างๆ ยังไม่เกิด
ที่น่าสนใจคือ ผลสำรวจพบว่า ระยะเวลาเฉลี่ย ที่ประชาชนได้อธิษฐานภาวนาขอให้ปัญหาขัดแย้งทางการเมืองได้ข้อยุติอยู่ที่ 18.40 วัน
หรือประมาณสองสัปดาห์ข้างหน้า โดยจะเห็นได้ว่าประชาชนได้ไตร่ตรองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าคงจะไม่สามารถยุติลงได้ในระยะเวลาเพียงวันหรือสอง
วันนี้
นอกจากนี้ ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ หลายคนอาจเห็นได้ว่า ฝ่ายรัฐบาลก็มักจะอ้างว่ามีเสียงสนับสนุนจากคนส่วนใหญ่ และฝ่ายไม่สนับสนุน
รัฐบาลก็อาจอ้างเสียงคนส่วนใหญ่ แต่ผลสำรวจในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เป็นเมืองหลวงของประเทศและเป็นพื้นที่ที่เกิดความขัดแย้ง พบว่า คนส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 59.9 ขออยู่ตรงกลาง หรือเป็นพลังเงียบ ในขณะที่ กลุ่มสนับสนุนรัฐบาลมีอยู่ร้อยละ 19.6 และกลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลมีอยู่ร้อยละ 20.5
ของตัวอย่างที่ถูกศึกษา ซึ่งในทางสถิติถือว่าไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มสนับสนุนและไม่สนับสนุน และไม่ถือว่าเป็นเสียงของคนส่วนใหญ่ แต่เสียงของคน
ส่วนใหญ่ในช่วงเวลาที่มีเหตุขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองปัจจุบันกลับเป็นกลุ่มประชาชนที่ไม่ต้องการเลือกข้าง
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือ ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันนี้ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ
85.1 ระบุต้องไม่ใช้ความรุนแรง และเป็นประชาธิปไตย ในขณะที่ร้อยละ 8.2 ระบุใช้ทุกวิถีทาง จัดการขั้นเด็ดขาด และร้อยละ 6.7 ไม่มีความเห็น
ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังเชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย ถึงแม้อยู่ท่ามกลางสถานการณ์ที่
ขัดแย้งรุนแรงทางการเมือง และยังไม่มีการตระเตรียมตัวกักเก็บอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือนอะไร อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาเฉลี่ยที่
ประชาชนได้อธิษฐานภาวนาขอให้ปัญหาขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงได้ข้อยุติอยู่ประมาณสองสัปดาห์ข้างหน้า และผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนส่วน
ใหญ่ไม่ต้องการเลือกข้าง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลหรือฝ่ายต่อต้านรัฐบาล จึงเป็นข้อมูลให้สาธารณชนได้พิจารณาไตร่ตรองข้อมูลที่ค้นพบครั้งนี้ตาม
ความเป็นจริง เพื่อไม่อ้างจำนวนของประชาชนไปสร้างความชอบธรรมของฝ่ายตนเองในการใช้อำนาจเข้าทำร้ายกัน
ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า ทางออกที่ดีที่สุดในทรรศนะของสาธารณชนในงานวิจัยครั้งนี้คือ ต้องไม่ใช้ความรุนแรงและต้องเป็น
ประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ทางสำนักวิจัยฯ ได้คอยเฝ้าระวังสำรวจเก็บข้อมูลอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนอย่างใกล้ชิด เพราะหวั่นว่า ความเบื่อ
หน่ายและตรึงเครียดของอารมณ์ในหมู่ประชาชนอาจทำให้ต้องเรียกหาทางออกสุดท้ายที่เหลืออยู่ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและสร้างความเสียหายต่อประเทศ
ในทุกๆ ด้าน
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของสาธารณชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ความเชื่อมั่นของสาธารณชนต่อการปกครองแบบ
ประชาธิปไตยในท่ามกลางสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมือง กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,005 ราย
ระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่าง 1 — 6 กันยายน 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่ม
ประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลาย
ขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,005 ตัวอย่าง ช่วง
ความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบ
รวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุด
ก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 79 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.8 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.3 ระบุอายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 24.1 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 25.2 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 23.6 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.9 ระบุจบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 21.2 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 4.9 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 32.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.5 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.3 ระบุเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 9.2 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 8.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ18.1 อื่นๆ อาทิ แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ผู้ว่างงาน และไม่ระบุ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ของพฤติกรรมติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชน ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/ เกือบทุกวัน 74.3
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 16.3
3 ไม่เกิน 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 9.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย แม้มีความขัดแย้ง
รุนแรงทางการเมืองในปัจจุบัน
ลำดับที่ ระดับความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่นมาก 65.9
2 ปานกลาง 12.0
3 น้อย 22.1
รวมทั้งสิ้น 100. 0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การกักเก็บอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ เตรียมรับปัญหาขัดแย้งที่อาจ
รุนแรงเพิ่มขึ้น
ลำดับที่ การเตรียมตัว ค่าร้อยละ
1 ไม่มีการเตรียมตัวอะไร 88.0
2 ได้เตรียมตัวแล้ว 12.0
รวมทั้งสิ้น 100. 0
ตารางที่ 4 แสดงค่าเฉลี่ยของระยะเวลา ที่ตัวอย่างได้อธิษฐานภาวนาขอให้ปัญหาขัดแย้งทางการเมืองได้ข้อยุติ
ระยะเวลาเฉลี่ย(วัน) จำนวนวันต่ำสุด จำนวนวันสูงสุด ค่าเบี่ยงเบน แปลผล
18.40 วัน 1 90 18.447 ประมาณสองสัปดาห์ข้างหน้า
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จุดยืนทางการเมืองล่าสุดในปัจจุบัน
ลำดับที่ จุดยืนทางการเมืองล่าสุดในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนรัฐบาล 19.6
2 ไม่สนับสนุนรัฐบาล 20.5
3 ขออยู่ตรงกลาง (พลังเงียบ) 59.9
รวมทั้งสิ้น 100. 0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน
ลำดับที่ ทางออกที่ดีที่สุด ร้อยละ
1 ไม่ใช้ความรุนแรง เป็นประชาธิปไตย 85.1
2 ใช้ทุกวิถีทาง จัดการขั้นเด็ดขาด 8.2
3 ไม่มีความเห็น 6.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-