ที่มาของโครงการ
ในรอบปี 2548 ที่ผ่านมา การทำงานของกรุงเทพมหานครภายใต้การนำของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ถูกจับ
ตามองจากคอการเมือง สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก อาจเนื่องมาจากผู้บริหารสูงสุดมาจากพรรคตรงข้ามกับพรรครัฐบาล จึงเป็นที่น่า
สนใจว่านโยบายต่างๆ จะประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจได้เพียงใด หรือจะมีเกมการเมืองเข้ามาเป็นอุปสรรคหรือไม่ ยิ่งกว่านั้นการทำงาน
ของกรุงเทพมหานครยังถูกคาดหวังสูง เพราะกรุงเทพฯมีปัญหามากมายที่รอการแก้ไขโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการ จราจร นอกจากนี้ ประชาชนในเมือง
หลวงนับเป็นกลุ่มที่อยู่ใกล้ชิดกับแหล่งข้อมูลข่าวสารมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนในพื้นที่นี้จึงควรเฝ้าจับตาดูผลที่จะกระทบต่อความนิยม
ต่อพรรคการเมืองระดับประเทศด้วย
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
ต่อประเด็นสำคัญต่างๆข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธี
วิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อการทำงานของกรุงเทพมหานคร ในรอบปี 2548
2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อการทำงานของผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร ในรอบปี 2548
3. เพื่อสำรวจความนิยมของประชาชนต่อพรรคการเมืองต่างๆ
4. เพื่อสำรวจข้อเสนอแนะต่อการทำงานของกรุงเทพมหานคร
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “วิจัยประเมินผลงานผู้ว่าฯ กทม. ในช่วงปี 2548
และความนิยมของประชาชนต่อพรรคการเมือง: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่
27 ธันวาคม 2548-1 มกราคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนโดยทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำ สำมะโนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,276 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 50.6 เป็นหญิง ร้อยละ 49.4 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 33.6
อายุ 20-29 ปี ร้อยละ 27.9 อายุ 30-39 ปี ร้อยละ 17.3 อายุ 40-49 ปี ร้อยละ 13.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 7.3 อายุต่ำกว่า 20
ปี ตัวอย่าง ร้อยละ 73.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 25.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.4 สำเร็จการ
ศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ ร้อยละ 31.9 ประกอบอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 22.6 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อย
ละ 20.7 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.8 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 4.7 อาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 9.3 อื่นๆ
อาทิ แม่บ้าน พ่อบ้าน ผู้เกษียณอายุ เกษตรกร ประมง รวมถึงผู้ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “วิจัยประเมินผลงานผู้ว่าฯ กทม. ในช่วงปี 2548 และความ
นิยมของประชาชนต่อพรรคการเมือง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,276 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนิน
โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2548-1 มกราคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
การสำรวจความพึงพอใจต่อการทำงานของกรุงเทพมหานคร จำแนกออกเป็นรายด้านตามภารกิจสำคัญต่างๆ เริ่มจากด้านสถาปัตยกรรม
พบว่าการปรับปรุงอาคารบ้านเรือนให้สะอาดสวยงาม ได้รับความพึงพอใจจากตัวอย่างสูงถึงร้อยละ 75.1 รองลงมาได้แก่ การอนุรักษ์สิ่งก่อสร้าง /
อาคารเก่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โดยได้รับความพึงพอใจคิดเป็นร้อยละ 70.6 และการควบคุมอาคารที่จะสร้างขึ้นใหม่ให้ถูกต้องตามหลักผังเมือง
ได้รับความพึงพอใจลดหลั่นลงไปที่ร้อยละ 63.1 ส่วนด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าการเพิ่มพื้นที่สีเขียว / สวนสาธารณะ ได้รับความพึงพอใจสูงถึงร้อยละ
77.2 ในขณะที่การรักษาความสะอาด และระบบจัดเก็บขยะ ได้รับความพึงพอใจรองลงมาคิดเป็นร้อยละ 67.3 และ 62.2 ตามลำดับ
ด้านการศึกษา การจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียน และการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนโรงเรียนในสังกัด ได้รับความพึงพอใจสูงถึง
ร้อยละ 75.4 และ 70.8 ตามลำดับ สำหรับการรักษาความปลอดภัย ตัวอย่างส่วนใหญ่พึงพอใจกับการสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยและติดตั้งไฟฟ้าให้สว่างอุ่น
ใจ คิดเป็นร้อยละ 67.7 ซึ่งใกล้เคียงกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ได้รับความพึงพอใจที่ร้อยละ 66.0 ในขณะที่การตรวจสอบควบคุมการก่อ
สร้างและต่อเติมอาคารให้ปลอดภัย ได้รับความพึงพอใจไม่มากนักคิดเป็นร้อยละ 55.2
จากการสำรวจความพึงพอใจด้านคุณภาพชีวิต พบว่าการจัดตั้งและส่งเสริมกิจกรรม เช่น กีฬา ดนตรี ศิลปะ แก่ประชาชน ได้รับความพึง
พอใจจากตัวอย่างเกือบสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 74.1 ส่วนด้านอื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ การให้บริการของศูนย์บริการสาธารณสุขและโรงพยาบาลใน
สังกัด และการจัดสวัสดิการสังคม ให้กับผู้ด้อยโอกาส เช่น คนพิการ เร่ร่อน ได้รับความพึงพอใจที่ร้อยละ 65.3 และ 62.9 ตามลำดับ สำหรับ
ด้านเศรษฐกิจ มีเพียงการอบรมฝึกอาชีพแก่ประชาชนเท่านั้นที่ได้รับความพึงพอใจเกินกว่าครึ่ง คือร้อยละ 66.9 ในขณะที่ด้านมาตรฐานและประสิทธิภาพ
ในการจัดเก็บรายได้ของกทม. และด้านการจัดสรรงบประมาณกระจายสู่พื้นที่ ได้รับความพึงพอใจเพียงร้อยละ 46.8 และ 46.3 ตามลำดับ
ส่วนการสำรวจความพึงพอใจต่อการจราจรซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญนั้น พบว่าโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า BTS ไปฝั่งธนบุรี และ
โครงการจัดแผนที่เส้นทางลัดในกทม. ได้รับความพึงพอใจสูงมากในสัดส่วนไล่เลี่ยกันที่ร้อยละ 73.6 และ 73.5 ตามลำดับ ส่วนโครงการป้ายจราจร
อัจฉริยะ และที่จอดรถแท็กซี่อัจฉริยะได้รับความพึงพอใจไม่มากนัก ที่ร้อยละ 59.5 และ 55.1 ตามลำดับ แต่การแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดไม่ได้รับ
ความพึงพอใจเท่าที่ควร โดยมีสัดส่วนไม่ถึงครึ่งคือร้อยละ 45.2
เมื่อสอบถามความพึงพอใจของตัวอย่างที่มีต่อการทำงานของผู้ว่าฯ กทม. (นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน) ในรอบปี พ.ศ. 2548 พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 47.6 ระบุค่อนข้างพอใจ และร้อยละ 18.5 ระบุพอใจมาก ในทางตรงข้ามร้อยละ 14.2 ระบุไม่ค่อยพอใจ และร้อยละ 7.4 ระบุไม่
พอใจ โดยตัวอย่างที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกทม. ร้อยละ 38.9 ยังไว้วางใจที่จะเลือกนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เข้ามาเป็นผู้ว่าฯ กทม. ในสมัยหน้า
อีก ส่วนที่เหลือร้อยละ 15.6 ระบุว่าไม่เลือกอีก โดยที่ร้อยละ 45.5 ยังไม่ตัดสินใจหรือไม่มีความเห็น
ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างเกี่ยวกับพรรคการเมืองที่ให้ความนิยมนั้นพบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 1 ใน 3 คือร้อยละ 45.7 ระบุนิยม
พรรคไทยรักไทย ในขณะที่ตัวอย่างในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกันมากนัก คือร้อยละ 36.6 ระบุนิยมพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 4.4 ระบุนิยมพรรคอื่นๆ
เช่น พรรคชาติไทย พรรคมหาชน และร้อยละ 13.3 ระบุไม่นิยมพรรคใดเลย
สำหรับการประเมินความพึงพอใจการทำงานโดยรวมของข้าราชการกทม. ในรอบปี 2548 พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.8 ระบุค่อนข้างพอ
ใจ ร้อยละ 12.2 ระบุพอใจมาก โดยให้เหตุผลว่าทำงานดี เต็มที่ ช่วยเหลือให้บริการรวดเร็วทันใจ มีใจรักในการให้บริการแก่ประชาชน ในทาง
ตรงข้ามตัวอย่างร้อยละ 16.7 ระบุไม่ค่อยพอใจ และร้อยละ 4.8 ระบุไม่พอใจ โดยให้เหตุผลว่าทำงานเช้าชามเย็นชาม ล่าช้า ไม่มีผลงาน ไม่มี
ใจรักในการให้บริการ ทำงานไม่โปร่งใส ทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งนี้ตัวอย่างมีข้อเสนอแนะต่อการทำงานของกรุงเทพมหานคร โดยร้อยละ 37.9 ให้เร่ง
แก้ไขปัญหาการจราจร รองลงมาร้อยละ 21.6 ให้เร่งแก้ไขปัญหาขยะ / ความสะอาดของ กทม. และร้อยละ 20.9 ให้แก้ไขปัญหาการทำงานของ
ข้าราชการ กทม. ให้มีความกระตือรือร้นในการทำงาน และมีใจรักในการให้บริการมากขึ้น
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของปี
ใหม่ที่คาดว่าจะเป็นปีแห่งความร้อนแรงทางการเมืองในสนามกรุงเทพมหานครและจังหวัดหัวเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศ เพราะกระแสตอบรับของประชาชน
ต่อพรรคประชาธิปัตย์เริ่มสูงขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนในช่วงกลางเดือนธันวาคมที่มีอยู่ร้อยละ 20 ต้นๆ แต่กลับสูงขึ้นมาเป็นร้อยละ 36.6 ในการ
สำรวจช่วงปลายเดือน สะท้อนให้เห็นว่าพรรคไทยรักไทยกำลังจะเผชิญกับแนวต้านที่มาจากกลุ่มคนที่เคยอยู่กลางๆ แต่กลับไปสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์
อย่างเห็นได้ชัดเจน
“อย่างไรก็ตาม คะแนนความนิยมที่ปรากฏให้เห็นของทั้งสองพรรคตกอยู่ในพื้นที่โซนที่ 3 ซึ่งคะแนนความนิยมต่ำกว่าร้อยละ 50 หมายความ
ว่า นับจากนี้เป็นต้นไป การทำงานทางการเมืองของพรรคใหญ่สองพรรคนี้คงต้องประสบกับแรงเสียดทานพอสมควรไม่ว่าจะพูดหรือทำอะไร ผลที่ตามมาก็
คือ การต่อสู้ทางการเมืองในปี พ.ศ. 2549 นี้อาจจะเป็นไปอย่างดุเดือดอย่างไม่คาดคิด ความหวังจึงอยู่ที่ภาคประชาชนและสื่อมวลชนทำหน้าที่ของตน
เองติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างไม่มีอคติและมีพลังอย่างแท้จริงแล้ว พรรคการเมืองต่างๆ อาจต่อสู้กันไปในเชิงสร้างสรรค์โดยพรรคประ
ชาธิปัตย์อาจใช้จุดแข็งจากความนิยมของประชาชนต่อผู้ว่า กทม.ในการขยายและสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาประชาชน ในขณะที่พรรคไทยรัก
ไทยอาจใช้กลยุทธ์ที่เน้นสู่ภาคปฏิบัติมากขึ้น เช่น การแก้ไขปัญหาความยากจนและปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการทำงานของกรุงเทพมหานครในรอบปี พ.ศ. 2548
การทำงานของกรุงเทพมหานครในรอบปี พ.ศ. 2548 พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
ด้านสถาปัตยกรรม
1. ปรับปรุงอาคารบ้านเรือนให้สะอาดสวยงาม 75.1 17.9 7.0 100.0
2. การอนุรักษ์สิ่งก่อสร้าง / อาคารเก่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ 70.6 14.3 15.1 100.0
3. การควบคุมอาคารที่จะสร้างขึ้นใหม่ให้ถูกต้องตามหลักผังเมือง 63.1 17.7 19.2 100.0
4. การพัฒนาระบบข้อมูลทะเบียนราษฎร์ (เปลี่ยนบ้านเลขที่ใหม่) 54.8 26.4 18.8 100.0
ด้านสิ่งแวดล้อม
1. การเพิ่มพื้นที่สีเขียว / สวนสาธารณะ 77.2 18.0 4.8 100.0
2. ความสะอาด 67.3 27.9 4.8 100.0
3. ระบบจัดเก็บขยะ 62.2 32.7 5.1 100.0
4. การจัดระเบียบหาบเร่ / แผงลอย 59.3 29.1 11.6 100.0
5. การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม 54.4 37.7 7.9 100.0
6. การควบคุมมลพิษต่างๆ 52.1 39.7 8.2 100.0
7. การแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัด 49.5 37.6 12.9 100.0
ด้านการศึกษา
1. การจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียน 75.4 12.7 11.9 100.0
2. การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนโรงเรียนในสังกัด 70.8 15.0 14.2 100.0
ด้านความปลอดภัย
1. การสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยและติดตั้งไฟฟ้าให้สว่างอุ่นใจ 67.7 25.9 6.4 100.0
2. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 66.0 25.2 8.8 100.0
3. การตรวจสอบควบคุมการก่อสร้างและต่อเติมอาคารให้ปลอดภัย 55.2 29.9 14.9 100.0
ด้านคุณภาพชีวิต
1. จัดตั้งและส่งเสริมกิจกรรม เช่น กีฬา ดนตรี ศิลปะ แก่ประชาชน 74.1 17.9 8.0 100.0
2. การให้บริการของศูนย์บริการสาธารณสุขและโรงพยาบาลในสังกัด 65.3 24.4 10.3 100.0
3. การจัดสวัสดิการสังคม ให้กับผู้ด้อยโอกาส เช่น คนพิการ เร่ร่อน 62.9 27.3 9.8 100.0
4. การแก้ปัญหายาเสพติดด้านการบำบัดรักษาโดยกรุงเทพมหานคร 61.7 28.6 9.7 100.0
5. การแก้ไขปัญหายาเสพติดด้านการปราบปรามของตำรวจนครบาล 61.4 31.6 7.0 100.0
6. การป้องกันปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนโดยกรุงเทพมหานคร 55.9 34.1 10.0 100.0
ด้านเศรษฐกิจ
1. การอบรมฝึกอาชีพ แก่ประชาชน 66.9 21.3 11.8 100.0
2. มาตรฐานและประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ของกทม. 46.8 29.3 23.9 100.0
3. การจัดสรรงบประมาณกระจายสู่พื้นที่ 46.3 33.4 20.3 100.0
ด้านการจราจร
1. โครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า BTS ไปฝั่งธนบุรี 73.6 13.0 13.4 100.0
2. โครงการจัดแผนที่เส้นทางลัดในกทม. 73.5 16.0 10.5 100.0
3. ป้ายจราจรอัจฉริยะ 59.5 24.7 15.8 100.0
4. ที่จอดรถแท็กซี่อัจฉริยะ 55.1 26.7 18.2 100.0
5. การแก้ไขปัญหาจราจรติดขัด 45.2 45.8 9.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจในการทำงานของผู้ว่าฯ กทม. (นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน) ในรอบปี พ.ศ.2548
ลำดับที่ ความพึงพอใจในการทำงานของผู้ว่าฯ กทม. ร้อยละ
1 พอใจมาก 18.5
2 ค่อนข้างพอใจ 47.6
3 ไม่ค่อยพอใจ 14.2
4 ไม่พอใจ 7.4
5 ไม่มีความเห็น 12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเลือกนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯ กทม.อีก
หากมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ใหม่ในวันนี้ (เฉพาะตัวอย่างที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.)
ลำดับที่ การเลือกหรือไม่เลือกนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯ กทม. อีก ร้อยละ
1 เลือก 38.9
2 ไม่เลือก 15.6
3 ไม่มีความเห็น 45.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมต่อพรรคการเมือง (เฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร)
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ประชาชนคนกรุงเทพมหานครให้ความนิยม กลางเดือนธันวาคม2548ร้อยละ ปลายเดือนธันวาคม2548ร้อยละ ส่วนต่างร้อยละ
1 พรรคไทยรักไทย 44.9 45.7 0.8
2 พรรคประชาธิปัตย์ 23.3 36.6 13.3
3 พรรคอื่นๆ เช่น พรรคชาติไทย พรรคมหาชน 3.7 4.4 0.7
4 ไม่นิยมพรรคใดเลย 28.1 13.3 - 14.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 5 ความพึงพอใจในการทำงานโดยรวมของข้าราชการ กทม. ในรอบปี 2548
ลำดับที่ ความพึงพอใจในการทำงานโดยรวมของข้าราชการ กทม. ร้อยละ
1 พอใจมาก 12.2
2 ค่อนข้างพอใจ 48.8
3 ไม่ค่อยพอใจ 16.7
4 ไม่พอใจ 4.8
5 ไม่มีความเห็น 17.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
- ตัวอย่างที่พอใจมาก / ค่อนข้างพอใจ ให้เหตุผล เช่น ทำงานดีเต็มที่ ช่วยเหลือให้บริการรวดเร็วทันใจมีใจรักในการให้บริการแก่ประชาชน
- ตัวอย่างที่ไม่พอใจ / ไม่ค่อยพอใจ ให้เหตุผล เช่น ทำงานเช้าชามเย็นชาม ล่าช้า ไม่มีผลงาน ไม่มีใจรักในการให้บริการ ทำงานไม่โปร่งใส ทุจริตคอร์รัปชั่น
ตารางที่ 6 ข้อเสนอแนะต่อการทำงานของกรุงเทพมหานคร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะต่อการทำงานของกรุงเทพมหานคร ร้อยละ
1 เร่งแก้ไขปัญหาการจราจร 37.9
2 เร่งแก้ไขปัญหาขยะ / ความสะอาดของ กทม. 21.6
3 แก้ไขปัญหาในการทำงานของข้าราชการ กทม. ให้มีความกระตือรือร้นในการทำงาน
และมีใจรักในการให้บริการ 20.9
4 เร่งแก้ไขปัญหามลพิษ 13.7
5 เร่งแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตของประชาชน 13.1
6 แก้ไขปัญหายาเสพติด 8.5
7 เร่งจัดระเบียบหาบเร่ / แผงลอย 8.2
8 เร่งแก้ปัญหาขอทาน / คนเร่ร่อน 6.5
9 อื่นๆ เช่น เร่งขยายเส้นทางรถไฟฟ้า, แก้ปัญหาการมั่วสุมของเยาวชน, ปัญหารถซิ่ง,
ปัญหาการคอร์รัปชั่น, แก้ปัญหาการเล่นพรรคเล่นพวกของข้าราชการ กทม. 12.7
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในรอบปี 2548 ที่ผ่านมา การทำงานของกรุงเทพมหานครภายใต้การนำของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ถูกจับ
ตามองจากคอการเมือง สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก อาจเนื่องมาจากผู้บริหารสูงสุดมาจากพรรคตรงข้ามกับพรรครัฐบาล จึงเป็นที่น่า
สนใจว่านโยบายต่างๆ จะประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจได้เพียงใด หรือจะมีเกมการเมืองเข้ามาเป็นอุปสรรคหรือไม่ ยิ่งกว่านั้นการทำงาน
ของกรุงเทพมหานครยังถูกคาดหวังสูง เพราะกรุงเทพฯมีปัญหามากมายที่รอการแก้ไขโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการ จราจร นอกจากนี้ ประชาชนในเมือง
หลวงนับเป็นกลุ่มที่อยู่ใกล้ชิดกับแหล่งข้อมูลข่าวสารมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนในพื้นที่นี้จึงควรเฝ้าจับตาดูผลที่จะกระทบต่อความนิยม
ต่อพรรคการเมืองระดับประเทศด้วย
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
ต่อประเด็นสำคัญต่างๆข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธี
วิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อการทำงานของกรุงเทพมหานคร ในรอบปี 2548
2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อการทำงานของผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร ในรอบปี 2548
3. เพื่อสำรวจความนิยมของประชาชนต่อพรรคการเมืองต่างๆ
4. เพื่อสำรวจข้อเสนอแนะต่อการทำงานของกรุงเทพมหานคร
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “วิจัยประเมินผลงานผู้ว่าฯ กทม. ในช่วงปี 2548
และความนิยมของประชาชนต่อพรรคการเมือง: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่
27 ธันวาคม 2548-1 มกราคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนโดยทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำ สำมะโนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,276 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 50.6 เป็นหญิง ร้อยละ 49.4 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 33.6
อายุ 20-29 ปี ร้อยละ 27.9 อายุ 30-39 ปี ร้อยละ 17.3 อายุ 40-49 ปี ร้อยละ 13.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 7.3 อายุต่ำกว่า 20
ปี ตัวอย่าง ร้อยละ 73.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 25.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.4 สำเร็จการ
ศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ ร้อยละ 31.9 ประกอบอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 22.6 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อย
ละ 20.7 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.8 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 4.7 อาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 9.3 อื่นๆ
อาทิ แม่บ้าน พ่อบ้าน ผู้เกษียณอายุ เกษตรกร ประมง รวมถึงผู้ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “วิจัยประเมินผลงานผู้ว่าฯ กทม. ในช่วงปี 2548 และความ
นิยมของประชาชนต่อพรรคการเมือง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,276 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนิน
โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2548-1 มกราคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
การสำรวจความพึงพอใจต่อการทำงานของกรุงเทพมหานคร จำแนกออกเป็นรายด้านตามภารกิจสำคัญต่างๆ เริ่มจากด้านสถาปัตยกรรม
พบว่าการปรับปรุงอาคารบ้านเรือนให้สะอาดสวยงาม ได้รับความพึงพอใจจากตัวอย่างสูงถึงร้อยละ 75.1 รองลงมาได้แก่ การอนุรักษ์สิ่งก่อสร้าง /
อาคารเก่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โดยได้รับความพึงพอใจคิดเป็นร้อยละ 70.6 และการควบคุมอาคารที่จะสร้างขึ้นใหม่ให้ถูกต้องตามหลักผังเมือง
ได้รับความพึงพอใจลดหลั่นลงไปที่ร้อยละ 63.1 ส่วนด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าการเพิ่มพื้นที่สีเขียว / สวนสาธารณะ ได้รับความพึงพอใจสูงถึงร้อยละ
77.2 ในขณะที่การรักษาความสะอาด และระบบจัดเก็บขยะ ได้รับความพึงพอใจรองลงมาคิดเป็นร้อยละ 67.3 และ 62.2 ตามลำดับ
ด้านการศึกษา การจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียน และการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนโรงเรียนในสังกัด ได้รับความพึงพอใจสูงถึง
ร้อยละ 75.4 และ 70.8 ตามลำดับ สำหรับการรักษาความปลอดภัย ตัวอย่างส่วนใหญ่พึงพอใจกับการสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยและติดตั้งไฟฟ้าให้สว่างอุ่น
ใจ คิดเป็นร้อยละ 67.7 ซึ่งใกล้เคียงกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ได้รับความพึงพอใจที่ร้อยละ 66.0 ในขณะที่การตรวจสอบควบคุมการก่อ
สร้างและต่อเติมอาคารให้ปลอดภัย ได้รับความพึงพอใจไม่มากนักคิดเป็นร้อยละ 55.2
จากการสำรวจความพึงพอใจด้านคุณภาพชีวิต พบว่าการจัดตั้งและส่งเสริมกิจกรรม เช่น กีฬา ดนตรี ศิลปะ แก่ประชาชน ได้รับความพึง
พอใจจากตัวอย่างเกือบสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 74.1 ส่วนด้านอื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ การให้บริการของศูนย์บริการสาธารณสุขและโรงพยาบาลใน
สังกัด และการจัดสวัสดิการสังคม ให้กับผู้ด้อยโอกาส เช่น คนพิการ เร่ร่อน ได้รับความพึงพอใจที่ร้อยละ 65.3 และ 62.9 ตามลำดับ สำหรับ
ด้านเศรษฐกิจ มีเพียงการอบรมฝึกอาชีพแก่ประชาชนเท่านั้นที่ได้รับความพึงพอใจเกินกว่าครึ่ง คือร้อยละ 66.9 ในขณะที่ด้านมาตรฐานและประสิทธิภาพ
ในการจัดเก็บรายได้ของกทม. และด้านการจัดสรรงบประมาณกระจายสู่พื้นที่ ได้รับความพึงพอใจเพียงร้อยละ 46.8 และ 46.3 ตามลำดับ
ส่วนการสำรวจความพึงพอใจต่อการจราจรซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญนั้น พบว่าโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า BTS ไปฝั่งธนบุรี และ
โครงการจัดแผนที่เส้นทางลัดในกทม. ได้รับความพึงพอใจสูงมากในสัดส่วนไล่เลี่ยกันที่ร้อยละ 73.6 และ 73.5 ตามลำดับ ส่วนโครงการป้ายจราจร
อัจฉริยะ และที่จอดรถแท็กซี่อัจฉริยะได้รับความพึงพอใจไม่มากนัก ที่ร้อยละ 59.5 และ 55.1 ตามลำดับ แต่การแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดไม่ได้รับ
ความพึงพอใจเท่าที่ควร โดยมีสัดส่วนไม่ถึงครึ่งคือร้อยละ 45.2
เมื่อสอบถามความพึงพอใจของตัวอย่างที่มีต่อการทำงานของผู้ว่าฯ กทม. (นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน) ในรอบปี พ.ศ. 2548 พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 47.6 ระบุค่อนข้างพอใจ และร้อยละ 18.5 ระบุพอใจมาก ในทางตรงข้ามร้อยละ 14.2 ระบุไม่ค่อยพอใจ และร้อยละ 7.4 ระบุไม่
พอใจ โดยตัวอย่างที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกทม. ร้อยละ 38.9 ยังไว้วางใจที่จะเลือกนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เข้ามาเป็นผู้ว่าฯ กทม. ในสมัยหน้า
อีก ส่วนที่เหลือร้อยละ 15.6 ระบุว่าไม่เลือกอีก โดยที่ร้อยละ 45.5 ยังไม่ตัดสินใจหรือไม่มีความเห็น
ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างเกี่ยวกับพรรคการเมืองที่ให้ความนิยมนั้นพบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 1 ใน 3 คือร้อยละ 45.7 ระบุนิยม
พรรคไทยรักไทย ในขณะที่ตัวอย่างในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกันมากนัก คือร้อยละ 36.6 ระบุนิยมพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 4.4 ระบุนิยมพรรคอื่นๆ
เช่น พรรคชาติไทย พรรคมหาชน และร้อยละ 13.3 ระบุไม่นิยมพรรคใดเลย
สำหรับการประเมินความพึงพอใจการทำงานโดยรวมของข้าราชการกทม. ในรอบปี 2548 พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.8 ระบุค่อนข้างพอ
ใจ ร้อยละ 12.2 ระบุพอใจมาก โดยให้เหตุผลว่าทำงานดี เต็มที่ ช่วยเหลือให้บริการรวดเร็วทันใจ มีใจรักในการให้บริการแก่ประชาชน ในทาง
ตรงข้ามตัวอย่างร้อยละ 16.7 ระบุไม่ค่อยพอใจ และร้อยละ 4.8 ระบุไม่พอใจ โดยให้เหตุผลว่าทำงานเช้าชามเย็นชาม ล่าช้า ไม่มีผลงาน ไม่มี
ใจรักในการให้บริการ ทำงานไม่โปร่งใส ทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งนี้ตัวอย่างมีข้อเสนอแนะต่อการทำงานของกรุงเทพมหานคร โดยร้อยละ 37.9 ให้เร่ง
แก้ไขปัญหาการจราจร รองลงมาร้อยละ 21.6 ให้เร่งแก้ไขปัญหาขยะ / ความสะอาดของ กทม. และร้อยละ 20.9 ให้แก้ไขปัญหาการทำงานของ
ข้าราชการ กทม. ให้มีความกระตือรือร้นในการทำงาน และมีใจรักในการให้บริการมากขึ้น
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของปี
ใหม่ที่คาดว่าจะเป็นปีแห่งความร้อนแรงทางการเมืองในสนามกรุงเทพมหานครและจังหวัดหัวเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศ เพราะกระแสตอบรับของประชาชน
ต่อพรรคประชาธิปัตย์เริ่มสูงขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนในช่วงกลางเดือนธันวาคมที่มีอยู่ร้อยละ 20 ต้นๆ แต่กลับสูงขึ้นมาเป็นร้อยละ 36.6 ในการ
สำรวจช่วงปลายเดือน สะท้อนให้เห็นว่าพรรคไทยรักไทยกำลังจะเผชิญกับแนวต้านที่มาจากกลุ่มคนที่เคยอยู่กลางๆ แต่กลับไปสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์
อย่างเห็นได้ชัดเจน
“อย่างไรก็ตาม คะแนนความนิยมที่ปรากฏให้เห็นของทั้งสองพรรคตกอยู่ในพื้นที่โซนที่ 3 ซึ่งคะแนนความนิยมต่ำกว่าร้อยละ 50 หมายความ
ว่า นับจากนี้เป็นต้นไป การทำงานทางการเมืองของพรรคใหญ่สองพรรคนี้คงต้องประสบกับแรงเสียดทานพอสมควรไม่ว่าจะพูดหรือทำอะไร ผลที่ตามมาก็
คือ การต่อสู้ทางการเมืองในปี พ.ศ. 2549 นี้อาจจะเป็นไปอย่างดุเดือดอย่างไม่คาดคิด ความหวังจึงอยู่ที่ภาคประชาชนและสื่อมวลชนทำหน้าที่ของตน
เองติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างไม่มีอคติและมีพลังอย่างแท้จริงแล้ว พรรคการเมืองต่างๆ อาจต่อสู้กันไปในเชิงสร้างสรรค์โดยพรรคประ
ชาธิปัตย์อาจใช้จุดแข็งจากความนิยมของประชาชนต่อผู้ว่า กทม.ในการขยายและสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาประชาชน ในขณะที่พรรคไทยรัก
ไทยอาจใช้กลยุทธ์ที่เน้นสู่ภาคปฏิบัติมากขึ้น เช่น การแก้ไขปัญหาความยากจนและปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการทำงานของกรุงเทพมหานครในรอบปี พ.ศ. 2548
การทำงานของกรุงเทพมหานครในรอบปี พ.ศ. 2548 พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
ด้านสถาปัตยกรรม
1. ปรับปรุงอาคารบ้านเรือนให้สะอาดสวยงาม 75.1 17.9 7.0 100.0
2. การอนุรักษ์สิ่งก่อสร้าง / อาคารเก่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ 70.6 14.3 15.1 100.0
3. การควบคุมอาคารที่จะสร้างขึ้นใหม่ให้ถูกต้องตามหลักผังเมือง 63.1 17.7 19.2 100.0
4. การพัฒนาระบบข้อมูลทะเบียนราษฎร์ (เปลี่ยนบ้านเลขที่ใหม่) 54.8 26.4 18.8 100.0
ด้านสิ่งแวดล้อม
1. การเพิ่มพื้นที่สีเขียว / สวนสาธารณะ 77.2 18.0 4.8 100.0
2. ความสะอาด 67.3 27.9 4.8 100.0
3. ระบบจัดเก็บขยะ 62.2 32.7 5.1 100.0
4. การจัดระเบียบหาบเร่ / แผงลอย 59.3 29.1 11.6 100.0
5. การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม 54.4 37.7 7.9 100.0
6. การควบคุมมลพิษต่างๆ 52.1 39.7 8.2 100.0
7. การแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัด 49.5 37.6 12.9 100.0
ด้านการศึกษา
1. การจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียน 75.4 12.7 11.9 100.0
2. การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนโรงเรียนในสังกัด 70.8 15.0 14.2 100.0
ด้านความปลอดภัย
1. การสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยและติดตั้งไฟฟ้าให้สว่างอุ่นใจ 67.7 25.9 6.4 100.0
2. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 66.0 25.2 8.8 100.0
3. การตรวจสอบควบคุมการก่อสร้างและต่อเติมอาคารให้ปลอดภัย 55.2 29.9 14.9 100.0
ด้านคุณภาพชีวิต
1. จัดตั้งและส่งเสริมกิจกรรม เช่น กีฬา ดนตรี ศิลปะ แก่ประชาชน 74.1 17.9 8.0 100.0
2. การให้บริการของศูนย์บริการสาธารณสุขและโรงพยาบาลในสังกัด 65.3 24.4 10.3 100.0
3. การจัดสวัสดิการสังคม ให้กับผู้ด้อยโอกาส เช่น คนพิการ เร่ร่อน 62.9 27.3 9.8 100.0
4. การแก้ปัญหายาเสพติดด้านการบำบัดรักษาโดยกรุงเทพมหานคร 61.7 28.6 9.7 100.0
5. การแก้ไขปัญหายาเสพติดด้านการปราบปรามของตำรวจนครบาล 61.4 31.6 7.0 100.0
6. การป้องกันปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนโดยกรุงเทพมหานคร 55.9 34.1 10.0 100.0
ด้านเศรษฐกิจ
1. การอบรมฝึกอาชีพ แก่ประชาชน 66.9 21.3 11.8 100.0
2. มาตรฐานและประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ของกทม. 46.8 29.3 23.9 100.0
3. การจัดสรรงบประมาณกระจายสู่พื้นที่ 46.3 33.4 20.3 100.0
ด้านการจราจร
1. โครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า BTS ไปฝั่งธนบุรี 73.6 13.0 13.4 100.0
2. โครงการจัดแผนที่เส้นทางลัดในกทม. 73.5 16.0 10.5 100.0
3. ป้ายจราจรอัจฉริยะ 59.5 24.7 15.8 100.0
4. ที่จอดรถแท็กซี่อัจฉริยะ 55.1 26.7 18.2 100.0
5. การแก้ไขปัญหาจราจรติดขัด 45.2 45.8 9.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจในการทำงานของผู้ว่าฯ กทม. (นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน) ในรอบปี พ.ศ.2548
ลำดับที่ ความพึงพอใจในการทำงานของผู้ว่าฯ กทม. ร้อยละ
1 พอใจมาก 18.5
2 ค่อนข้างพอใจ 47.6
3 ไม่ค่อยพอใจ 14.2
4 ไม่พอใจ 7.4
5 ไม่มีความเห็น 12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเลือกนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯ กทม.อีก
หากมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ใหม่ในวันนี้ (เฉพาะตัวอย่างที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.)
ลำดับที่ การเลือกหรือไม่เลือกนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯ กทม. อีก ร้อยละ
1 เลือก 38.9
2 ไม่เลือก 15.6
3 ไม่มีความเห็น 45.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมต่อพรรคการเมือง (เฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร)
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ประชาชนคนกรุงเทพมหานครให้ความนิยม กลางเดือนธันวาคม2548ร้อยละ ปลายเดือนธันวาคม2548ร้อยละ ส่วนต่างร้อยละ
1 พรรคไทยรักไทย 44.9 45.7 0.8
2 พรรคประชาธิปัตย์ 23.3 36.6 13.3
3 พรรคอื่นๆ เช่น พรรคชาติไทย พรรคมหาชน 3.7 4.4 0.7
4 ไม่นิยมพรรคใดเลย 28.1 13.3 - 14.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 5 ความพึงพอใจในการทำงานโดยรวมของข้าราชการ กทม. ในรอบปี 2548
ลำดับที่ ความพึงพอใจในการทำงานโดยรวมของข้าราชการ กทม. ร้อยละ
1 พอใจมาก 12.2
2 ค่อนข้างพอใจ 48.8
3 ไม่ค่อยพอใจ 16.7
4 ไม่พอใจ 4.8
5 ไม่มีความเห็น 17.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
- ตัวอย่างที่พอใจมาก / ค่อนข้างพอใจ ให้เหตุผล เช่น ทำงานดีเต็มที่ ช่วยเหลือให้บริการรวดเร็วทันใจมีใจรักในการให้บริการแก่ประชาชน
- ตัวอย่างที่ไม่พอใจ / ไม่ค่อยพอใจ ให้เหตุผล เช่น ทำงานเช้าชามเย็นชาม ล่าช้า ไม่มีผลงาน ไม่มีใจรักในการให้บริการ ทำงานไม่โปร่งใส ทุจริตคอร์รัปชั่น
ตารางที่ 6 ข้อเสนอแนะต่อการทำงานของกรุงเทพมหานคร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะต่อการทำงานของกรุงเทพมหานคร ร้อยละ
1 เร่งแก้ไขปัญหาการจราจร 37.9
2 เร่งแก้ไขปัญหาขยะ / ความสะอาดของ กทม. 21.6
3 แก้ไขปัญหาในการทำงานของข้าราชการ กทม. ให้มีความกระตือรือร้นในการทำงาน
และมีใจรักในการให้บริการ 20.9
4 เร่งแก้ไขปัญหามลพิษ 13.7
5 เร่งแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตของประชาชน 13.1
6 แก้ไขปัญหายาเสพติด 8.5
7 เร่งจัดระเบียบหาบเร่ / แผงลอย 8.2
8 เร่งแก้ปัญหาขอทาน / คนเร่ร่อน 6.5
9 อื่นๆ เช่น เร่งขยายเส้นทางรถไฟฟ้า, แก้ปัญหาการมั่วสุมของเยาวชน, ปัญหารถซิ่ง,
ปัญหาการคอร์รัปชั่น, แก้ปัญหาการเล่นพรรคเล่นพวกของข้าราชการ กทม. 12.7
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-