ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง อารมณ์ความรู้สึกของประชาชน
ต่อสถานการณ์การเมืองภายหลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิ
เลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี
เชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร พะเยา ขอนแก่น อุบลราชธานี บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ สุราษฎร์ธานี ระนอง และนครศรีธรรมราช
จำนวนทั้งสิ้น 2,975 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการวันที่ 9- 10 กันยายน 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 ทราบข่าว
การวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ กรณี นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในรายการชิมไปบ่นไป ทั้งนี้มากกว่า 2 ใน 3 หรือร้อยละ
70.3 ระบุเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้นภายหลังตุลาการศาลรัฐธรรมมีคำวินิจฉัยดังกล่าว นอกจากนี้ ยังพบว่า ประชาชนร้อยละ 64.0 มี
ความหวังว่าประเทศชาติจะสงบสุขขึ้น
และเมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับภาพลักษณ์ที่ผู้บริหารระดับสูงของประเทศควรมีการปรับปรุงภายหลังมีการวินิจฉัยนั้น
พบว่า ร้อยละ 74.2 ระบุควรมีการปรับปรุงด้านความซื่อสัตย์ ร้อยละ 64.8 ระบุด้านความรับผิดชอบ ร้อยละ 62.9 ระบุด้านความรักชาติ ร้อย
ละ 59.8 ระบุด้านความเสียสละ ร้อยละ 58.6 ระบุด้านจริยธรรมทางการเมือง ร้อยละ 41.3 ระบุความมีวินัย ร้อยละ 41.2 ระบุความอด
ทน ร้อยละ 40.6 ระบุความมีสติสัมปะชัญญะ และร้อยละ 30.0 ระบุความมีจิตอาสา
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนกรณีความตระหนักในการเฝ้าติดตามตรวจสอบพฤติกรรมของนักการเมืองพบ
ว่า ร้อยละ 78.1 ระบุมีความตระหนัก ในขณะที่ร้อยละ 21.9 ระบุไม่มี
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับทางออกของสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ผลการสำรวจพบว่าประชาชนที่ถูกศึกษาประมาณ
สองในสามคือ ร้อยละ 68.1 ระบุต้องการให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในขณะที่ร้อยละ 31.9 ไม่ต้องการ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบค่าร้อยละของ
ความต้องการให้มีการเลือกตั้งใหม่ระหว่างก่อนและหลังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น พบว่า ค่าร้อยละของประชาชนที่ต้องการให้มีการเลือกตั้งใหม่
เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยนั้นอยู่ที่ร้อยละ 57.4 และภายหลังมีคำวินิจฉัยแล้ว อยู่ที่ร้อยละ 68.1 ดังกล่าว
สำหรับทางออกอื่นๆ สำหรับสถานการณ์การเมืองไทยในขณะนี้ พบว่า ร้อยละ 54.2 ระบุต้องการให้พรรคร่วมรัฐบาลประกาศถอนตัวจาก
การร่วมรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 45.8 ระบุไม่ต้องการ และพบว่าร้อยละ 53.6 ระบุต้องการให้รัฐบาลลาออกทั้งคณะ ในขณะที่ร้อยละ 46.4
ระบุไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น ทั้งนี้เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนกรณีบุคคลในพรรคพลังประชาชนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจะดำรงตำแหน่งนายก
รัฐมนตรี หากนายกรัฐมนตรีต้องมาจากพรรคพลังประชาชนนั้น พบว่า ร้อยละ 53.8 ระบุนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ร้อยละ 24.3 ระบุนายสมพงษ์ อมร
วิวัฒน์ และร้อยละ 12.4 ระบุ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ตามลำดับ
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจอารมณ์ ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองภายหลังคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อ
สถานการณ์การเมืองภายหลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 9- 10 กันยายน 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ
(Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี
สุพรรณบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี เชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร พะเยา ขอนแก่น อุบลราชธานี
บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ สุราษฎร์ธานี ระนอง และนครศรีธรรมราช เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลาย
ชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,975 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ
รวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุก
ชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 169 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.6 เป็นหญิง
ร้อยละ 49.4 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 25.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 25.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 23.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 38.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.5 ระบุอาชีพเกษตรกรรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.3 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 3.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 12.1 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวเกี่ยวกับคณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีนายสมัคร สุนทรเวช
นายกรัฐมนตรี ในรายการชิมไปบ่นไป
ลำดับที่ การรับทราบข่าว ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 93.2
2 ไม่ทราบข่าว 6.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมภายหลังคณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีมีความผิดและให้พ้นจากตำแหน่ง
ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 70.3
2 ไม่เชื่อมั่น 29.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความหวังว่าประเทศชาติจะสงบสุขภายหลังคณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีมีความผิดและให้พ้นจากตำแหน่ง
ลำดับที่ ความหวังว่าประเทศชาติจะสงบสุข ค่าร้อยละ
1 มีความหวัง 64.0
2 ไม่หวัง 36.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุภาพลักษณ์ที่ผู้บริหารระดับสูงของประเทศเช่นรัฐมนตรี ควรมีการปรับปรุง
ภายหลังการวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ที่ผู้บริหารระดับสูงของประเทศเช่น รัฐมนตรีควรมีการปรับปรุง ค่าร้อยละ
1 ความซื่อสัตย์ 74.2
2 ความรับผิดชอบ 64.8
3 ความรักชาติ 62.9
4 ความเสียสละ 59.8
5 จริยธรรมทางการเมือง 58.6
6 ความมีวินัย 41.3
7 ความอดทน 41.2
8 สติสัมปะชัญญะ 40.6
9 จิตอาสา 30.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตระหนักถึงสิทธิในการเฝ้าติดตามตรวจสอบพฤติกรรมของนักการเมือง
ลำดับที่ ความตระหนักถึงสิทธิในการเฝ้าติดตามตรวจสอบพฤติกรรมของนักการเมือง ค่าร้อยละ
1 มีความตระหนัก 78.1
2 ไม่มี 21.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทางออกของปัญหาการเมืองในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ทางออกของปัญหาการเมืองในขณะนี้ ต้องการ ไม่ต้องการ รวมทั้งสิ้น
1 การเลือกตั้งใหม่ 68.1 31.9 100.0
2 พรรคร่วมรัฐบาลควรประกาศถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาล 54.2 45.8 100.0
3 รัฐบาลควรลาออกทั้งคณะ 53.6 46.4 100.0
ตารางที่ 7 แสดงการเปรีบยเทียบค่าร้อยละของความต้องการให้มีการเลือกตั้งใหม่ระหว่างก่อนและหลังคำวินิจฉัย
ของศาลรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความต้องการให้มีการเลือกตั้งใหม่ ก่อนการวินิจฉัย หลังการวินิจฉัย
1 ต้องการ 57.4 68.1
2 ไม่ต้องการ 42.6 31.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลในพรรคพลังประชาชนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี
หากนายกรัฐมนตรีต้องมาจากพรรคพลังประชาชน
ลำดับที่ บุคคลในพรรคพลังประชาชนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็น- ค่าร้อยละ
นายกรัฐมนตรีหากนายกรัฐมนตรีต้องมาจากพรรคพลังประชาชน
1 นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี 53.8
2 นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ 24.3
3 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 12.4
4 อื่นๆ 9.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ต่อสถานการณ์การเมืองภายหลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิ
เลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี
เชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร พะเยา ขอนแก่น อุบลราชธานี บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ สุราษฎร์ธานี ระนอง และนครศรีธรรมราช
จำนวนทั้งสิ้น 2,975 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการวันที่ 9- 10 กันยายน 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 ทราบข่าว
การวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ กรณี นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในรายการชิมไปบ่นไป ทั้งนี้มากกว่า 2 ใน 3 หรือร้อยละ
70.3 ระบุเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้นภายหลังตุลาการศาลรัฐธรรมมีคำวินิจฉัยดังกล่าว นอกจากนี้ ยังพบว่า ประชาชนร้อยละ 64.0 มี
ความหวังว่าประเทศชาติจะสงบสุขขึ้น
และเมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับภาพลักษณ์ที่ผู้บริหารระดับสูงของประเทศควรมีการปรับปรุงภายหลังมีการวินิจฉัยนั้น
พบว่า ร้อยละ 74.2 ระบุควรมีการปรับปรุงด้านความซื่อสัตย์ ร้อยละ 64.8 ระบุด้านความรับผิดชอบ ร้อยละ 62.9 ระบุด้านความรักชาติ ร้อย
ละ 59.8 ระบุด้านความเสียสละ ร้อยละ 58.6 ระบุด้านจริยธรรมทางการเมือง ร้อยละ 41.3 ระบุความมีวินัย ร้อยละ 41.2 ระบุความอด
ทน ร้อยละ 40.6 ระบุความมีสติสัมปะชัญญะ และร้อยละ 30.0 ระบุความมีจิตอาสา
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนกรณีความตระหนักในการเฝ้าติดตามตรวจสอบพฤติกรรมของนักการเมืองพบ
ว่า ร้อยละ 78.1 ระบุมีความตระหนัก ในขณะที่ร้อยละ 21.9 ระบุไม่มี
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับทางออกของสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ผลการสำรวจพบว่าประชาชนที่ถูกศึกษาประมาณ
สองในสามคือ ร้อยละ 68.1 ระบุต้องการให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในขณะที่ร้อยละ 31.9 ไม่ต้องการ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบค่าร้อยละของ
ความต้องการให้มีการเลือกตั้งใหม่ระหว่างก่อนและหลังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น พบว่า ค่าร้อยละของประชาชนที่ต้องการให้มีการเลือกตั้งใหม่
เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยนั้นอยู่ที่ร้อยละ 57.4 และภายหลังมีคำวินิจฉัยแล้ว อยู่ที่ร้อยละ 68.1 ดังกล่าว
สำหรับทางออกอื่นๆ สำหรับสถานการณ์การเมืองไทยในขณะนี้ พบว่า ร้อยละ 54.2 ระบุต้องการให้พรรคร่วมรัฐบาลประกาศถอนตัวจาก
การร่วมรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 45.8 ระบุไม่ต้องการ และพบว่าร้อยละ 53.6 ระบุต้องการให้รัฐบาลลาออกทั้งคณะ ในขณะที่ร้อยละ 46.4
ระบุไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น ทั้งนี้เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนกรณีบุคคลในพรรคพลังประชาชนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจะดำรงตำแหน่งนายก
รัฐมนตรี หากนายกรัฐมนตรีต้องมาจากพรรคพลังประชาชนนั้น พบว่า ร้อยละ 53.8 ระบุนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ร้อยละ 24.3 ระบุนายสมพงษ์ อมร
วิวัฒน์ และร้อยละ 12.4 ระบุ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ตามลำดับ
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจอารมณ์ ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองภายหลังคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อ
สถานการณ์การเมืองภายหลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 9- 10 กันยายน 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ
(Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี
สุพรรณบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี เชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร พะเยา ขอนแก่น อุบลราชธานี
บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ สุราษฎร์ธานี ระนอง และนครศรีธรรมราช เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลาย
ชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,975 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ
รวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุก
ชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 169 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.6 เป็นหญิง
ร้อยละ 49.4 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 25.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 25.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 23.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 38.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.5 ระบุอาชีพเกษตรกรรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.3 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 3.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 12.1 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวเกี่ยวกับคณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีนายสมัคร สุนทรเวช
นายกรัฐมนตรี ในรายการชิมไปบ่นไป
ลำดับที่ การรับทราบข่าว ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 93.2
2 ไม่ทราบข่าว 6.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมภายหลังคณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีมีความผิดและให้พ้นจากตำแหน่ง
ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 70.3
2 ไม่เชื่อมั่น 29.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความหวังว่าประเทศชาติจะสงบสุขภายหลังคณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีมีความผิดและให้พ้นจากตำแหน่ง
ลำดับที่ ความหวังว่าประเทศชาติจะสงบสุข ค่าร้อยละ
1 มีความหวัง 64.0
2 ไม่หวัง 36.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุภาพลักษณ์ที่ผู้บริหารระดับสูงของประเทศเช่นรัฐมนตรี ควรมีการปรับปรุง
ภายหลังการวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ที่ผู้บริหารระดับสูงของประเทศเช่น รัฐมนตรีควรมีการปรับปรุง ค่าร้อยละ
1 ความซื่อสัตย์ 74.2
2 ความรับผิดชอบ 64.8
3 ความรักชาติ 62.9
4 ความเสียสละ 59.8
5 จริยธรรมทางการเมือง 58.6
6 ความมีวินัย 41.3
7 ความอดทน 41.2
8 สติสัมปะชัญญะ 40.6
9 จิตอาสา 30.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตระหนักถึงสิทธิในการเฝ้าติดตามตรวจสอบพฤติกรรมของนักการเมือง
ลำดับที่ ความตระหนักถึงสิทธิในการเฝ้าติดตามตรวจสอบพฤติกรรมของนักการเมือง ค่าร้อยละ
1 มีความตระหนัก 78.1
2 ไม่มี 21.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทางออกของปัญหาการเมืองในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ทางออกของปัญหาการเมืองในขณะนี้ ต้องการ ไม่ต้องการ รวมทั้งสิ้น
1 การเลือกตั้งใหม่ 68.1 31.9 100.0
2 พรรคร่วมรัฐบาลควรประกาศถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาล 54.2 45.8 100.0
3 รัฐบาลควรลาออกทั้งคณะ 53.6 46.4 100.0
ตารางที่ 7 แสดงการเปรีบยเทียบค่าร้อยละของความต้องการให้มีการเลือกตั้งใหม่ระหว่างก่อนและหลังคำวินิจฉัย
ของศาลรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความต้องการให้มีการเลือกตั้งใหม่ ก่อนการวินิจฉัย หลังการวินิจฉัย
1 ต้องการ 57.4 68.1
2 ไม่ต้องการ 42.6 31.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลในพรรคพลังประชาชนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี
หากนายกรัฐมนตรีต้องมาจากพรรคพลังประชาชน
ลำดับที่ บุคคลในพรรคพลังประชาชนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็น- ค่าร้อยละ
นายกรัฐมนตรีหากนายกรัฐมนตรีต้องมาจากพรรคพลังประชาชน
1 นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี 53.8
2 นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ 24.3
3 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 12.4
4 อื่นๆ 9.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-