ที่มาของโครงการ
ในขณะที่สถานการณ์การเมืองอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อว่าจะไปในทิศทางใด สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้เคยทำสำรวจความคิดเห็นของผู้ใหญ่ที่
มีสิทธิเลือกตั้งเกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมาแล้ว สำหรับการวิจัยครั้งนี้ กลุ่มเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ
ของชีวิตกำลังมีอารมณ์ ความรู้สึก และความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองอย่างไรบ้างจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษา สำนักวิจัยเอแบคโพลล์จึงได้จัดส่ง
อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกของเด็กและเยาวชนต่อสถานการณ์การเมืองภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเรื่อง
การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
3. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของเด็กและเยาวชนต่อการทำงานขององค์กรอิสระ/หน่วยงานราชการต่างๆ และ
ประเด็นสำคัญทางการเมืองอื่นๆ
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “อารมณ์ ความรู้สึก และความคิดเห็นของ
เด็กและเยาวชนต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้: กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 14 — 17 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนิน
โครงการสำรวจ ในวันที่ 10 - 11 พฤษภาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ เด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 14 — 17 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,034 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/-ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.2 ระบุเป็นชาย
ทั้งหมดอายุระหว่าง 14 — 17 ปี พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “อารมณ์ ความรู้สึก และความ
คิดเห็นของเด็กและเยาวชนต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้: กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 14 — 17 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”
จำนวนทั้งสิ้น 1,034 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ในวันที่ 10 - 11 พฤษภาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจพบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.9 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำในช่วง 30 วันที่ผ่านมา โดยจำแนกเป็นร้อย
ละ 21.6 ติดตาม 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 17.9 ติดตาม 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 42.4 ติดตามทุกวันหรือเกือบทุกวัน ในขณะที่ร้อย
ละ 10.9 ติดตามน้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 7.2 ไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อสอบถามถึงอารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.2 ของกลุ่มเด็กและ
เยาวชนที่ถูกศึกษาเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ ในขณะที่ ร้อยละ 70.4 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมืองไม่แตกต่างไปจากความรู้สึก
ของผู้ใหญ่ ร้อยละ 38.1 เครียดเรื่องปัญหาการเมือง และร้อยละ 84.1 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความเชื่อมั่นของเด็กและเยาวชนต่อองค์กรอิสระและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเมืองขณะนี้ พบ
ว่า เด็กและเยาวชนให้ความเชื่อมั่นต่อศาลทั้งสามศาลเช่นเดียวกันกับผู้ใหญ่ แต่จะมีสัดส่วนสูงกว่าจำนวนผู้ใหญ่ที่เชื่อมั่นต่อศาลต่างๆ ทั้งสามศาล โดยพบ
ว่าร้อยละ 74.3 ของเด็กและเยาวชนระบุเชื่อมั่นต่อศาลปกครอง ในขณะที่กลุ่มผู้ใหญ่มีผู้ที่ระบุเชื่อมั่นคิดเป็นร้อยละ 69.3 นอกจากนี้ยังพบว่าส่วน
ใหญ่หรือร้อยละ 75.6 ของเด็กและเยาวชนระบุเชื่อมั่นต่อศาลฎีกา ในขณะที่ผู้ใหญ่ที่ระบุเชื่อมั่นนั้นคิดเป็นร้อยละ 69.6 และพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 74.9 ของเด็กและเยาวชนระบุเชื่อมั่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ผู้ใหญ่ที่ระบุเชื่อมั่นมีอยู่ร้อยละ 68.4 ตามลำดับ
ที่น่าเป็นห่วงคือ กกต. ปปช. และวุฒิสภา ยังคงได้รับความเชื่อมั่นจากเด็กและเยาวชนในสัดส่วนที่ต่ำและไม่แตกต่างไปจากความรู้สึกนึก
คิดของผู้ใหญ่ทั่วไปที่เคยสำรวจพบในการวิจัยครั้งล่าสุด กล่าวคือ เด็กและเยาวชนร้อยละ 30.6 ระบุเชื่อมั่นต่อ กกต. ร้อยละ 40.2 ระบุเชื่อมั่น
ต่อ ปปช. และร้อยละ 28.5 ระบุเชื่อมั่นต่อวุฒิสภา
เมื่อถามเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับความเข้าใจต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549
นั้น ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.3 ระบุเข้าใจในคำวินิจฉัยดังกล่าว โดยเข้าใจว่า การจัดการเลือกตั้งมีปัญหา/ขัดรัฐธรรมนูญ/หัน
คูหาผิดทิศ และการลงคะแนนไม่เป็นความลับ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 21.7 ระบุไม่เข้าใจ เพราะสับสน ไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย ไม่ชอบยุ่งเรื่อง
แบบนี้ และไม่ติดตามข่าว เป็นต้น
ประเด็นที่น่าสนใจคือ เด็กและเยาวชนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.9 คิดว่าจะลาออกถ้าเป็นกรรมการการเลือกตั้ง ภายหลังศาลรัฐ
ธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมาเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.2 รู้สึกสับสนต่อบทบาท
ความเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ใหญ่ในสังคมการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 17.4 ไม่รู้สึกสับสนอะไร และร้อยละ 19.4 ไม่มีความเห็น
สำหรับความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.5 คิดว่าจะไปเลือกตั้งถ้ามีสิทธิเลือก
ตั้ง เพราะต้องการใช้สิทธิ เป็นพลเมืองที่ดี และอยากลองครั้งแรก ในขณะที่ร้อยละ 7.6 คิดว่าจะไม่ไปโดยมีเหตุผลว่า เพราะเบื่อการเมือง ไม่
ชอบวุ่นวาย เลือกตั้งไปก็เท่านั้น เลือกตั้งไปแล้วก็มาทะเลาะกัน และเบื่อการหลอกลวงของผู้ใหญ่ และร้อยละ 14.9 ไม่แน่ใจจะไปหรือไม่ ทั้งนี้เมื่อ
สอบถามต่อไปว่า ถ้าไปเลือกตั้งจะไปเลือกพรรคการเมืองใด ผลสำรวจพบว่า จำนวนมากหรือร้อยละ 46.0 ระบุยังไม่ตัดสินใจ แต่ร้อยละ 36.2 จะ
เลือกพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 12.1 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 5.7 จะเลือกพรรคอื่นๆ เช่น พรรคชาติไทย พรรคมหาชน พรรคของ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง พรรคประชากรไทย และพรรคของนายเสนาะ เทียนทอง เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า เด็กและเยาวชนกลุ่มนี้มีอารมณ์ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองหลายประเด็นที่ไม่แตก
ต่างไปจากผู้ใหญ่มากนัก แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ พวกเขาเหล่านี้ส่วนใหญ่กำลังรับรู้รับทราบข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อมวลชนและคนรอบข้างถึง
ความวุ่นวายต่างๆ ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ที่น่าสนใจคือ เด็กและเยาวชนกลุ่มนี้มีความเชื่อมั่นต่อการทำงานของศาลต่างๆ ในสัดส่วนที่สูงกว่าผลสำรวจ
ทึ่เคยพบในกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีสิทธิเลือกตั้ง
“สิ่งที่น่าประทับใจคือ การแสดงออกถึงสปิริตหรือจิตสำนึกของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ต่อความรับผิดชอบหลังจากเข้าใจคำวินิจฉัยของศาลรัฐ
ธรรมนูญก็คิดว่าจะลาออกเพื่อเปิดทางให้คนอื่นๆ ในสังคมที่ได้รับความเชื่อถือสูงจากประชาชนเข้ามาทำหน้าที่แทนเพื่อดึงความเชื่อมั่นกลับคืนมาและน่าจะ
ทำให้สังคมเข้าสู่สภาวะปกติสุขได้ ยิ่งไปกว่านั้น เด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ยังได้สะท้อนอะไรออกมาอีกหลายอย่างที่เป็นข้อเตือนใจให้ผู้ใหญ่นำไปใคร่ครวญ
ได้อย่างดี เพราะพวกเขาเหล่านั้นกำลังสับสนต่อการเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ใหญ่ในสังคม แต่พวกเขาส่วนใหญ่ก็ตั้งใจว่าถ้ามีสิทธิเลือกตั้งก็จะไปใช้สิทธิ
ในขณะที่บางส่วนกลับคิดว่าจะไม่ไปเพราะเบื่อการเมือง เบื่อความวุ่นวาย และคิดว่าเลือกตั้งไปก็มาทะเลาะกันอีก เป็นต้น” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 42.4
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 17.9
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 21.6
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 10.9
5 ไม่ได้ติดตาม 7.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ระหว่าง
ผู้ใหญ่กับกลุ่มเด็กและเยาวชน
ลำดับที่ ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ผู้ใหญ่ 8 พ.ค.49 เด็กและเยาวชน11 พ.ค. 49
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 97.7 98.2
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 73.7 70.4
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 45.2 38.1
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 13.0 7.5
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 18.9 9.9
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 17.1 2.3
7 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 73.9 84.1
ตารางที่ 3 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการทำงานขององค์กรอิสระ/หน่วยงานราชการ
ในการทำหน้าที่ได้อย่างเป็นกลางไม่เลือกปฏิบัติต่อพรรคการเมือง เปรียบเทียบระหว่างผู้ใหญ่กับกลุ่มเด็กและ
เยาวชน
องค์กรอิสระ/ หน่วยงานราชการ ผู้ใหญ่ เชื่อมั่น(ร้อยละ) เด็กและเยาวชน เชื่อมั่น(ร้อยละ)
1. ศาลปกครอง 69.3 74.3
2. ศาลฎีกา 69.6 75.6
3. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 31.3 30.6
4. ศาลรัฐธรรมนูญ 68.4 74.9
5. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) 38.8 40.2
6. วุฒิสภา 31.3 28.5
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างเด็กและเยาวชนที่ระบุ ความเข้าใจต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
เกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความเข้าใจของเด็กและเยาวชนต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 เข้าใจ โดยเข้าใจว่า...การจัดการเลือกตั้งมีปัญหา/ ขัดรัฐธรรมนูญ/ หันคูหาผิดทิศ/ การลงคะแนนไม่เป็นความลับ เป็นต้น 78.3
2 ไม่เข้าใจ เพราะ....สับสน/ ไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย/ ไม่ชอบยุ่งเรื่องแบบนี้/ ไม่ติดตามข่าว เป็นต้น 21.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ถ้าเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง น้องคิดว่า
จะตัดสินใจอย่างไร ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2
เมษายน 2549 (เฉพาะคนที่ตอบว่าเข้าใจคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะลาออก 82.9
2 ไม่คิดว่าจะลาออก 5.8
3 ไม่มีความเห็น 11.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อบทบาทความเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ใหญ่ในสังคมการเมือง
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อบทบาทความเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ใหญ่ในสังคมการเมือง ค่าร้อยละ
1 รู้สึกสับสน 63.2
2 ไม่รู้สึกสับสนอะไร 17.4
3 ไม่มีความเห็น 19.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ถ้ามีสิทธิเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ถ้ามีสิทธิเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะไป เพราะต้องการใช้สิทธิ/ เป็นพลเมืองที่ดี/ อยากลองครั้งแรก 77.5
2 คิดว่าจะไม่ไป เพราะเบื่อการเมือง / ไม่ชอบวุ่นวาย / เลือกตั้งไปก็เท่านั้น /
เลือกตั้งไปแล้วก็มาทะเลาะกัน / เบื่อการหลอกลวงของผู้ใหญ่ 7.6
3 ไม่แน่ใจ 14.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคที่ตั้งใจจะเลือก ในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งใหม่ (ถ้ามีสิทธิไปเลือกตั้ง)
ลำดับที่ พรรคที่ตั้งใจจะเลือก ในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งใหม่ ค่าร้อยละ
1 พรรคไทยรักไทย 36.2
2 พรรคประชาธิปัตย์ 12.1
3 พรรคอื่นๆ ได้แก่ พรรคชาติไทย /พรรคมหาชน/พรรคประชากรไทย/
พรรคของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และพรรคของนายเสนาะ เทียนทอง 5.7
4 ยังไม่ตัดสินใจ 46.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในขณะที่สถานการณ์การเมืองอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อว่าจะไปในทิศทางใด สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้เคยทำสำรวจความคิดเห็นของผู้ใหญ่ที่
มีสิทธิเลือกตั้งเกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมาแล้ว สำหรับการวิจัยครั้งนี้ กลุ่มเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ
ของชีวิตกำลังมีอารมณ์ ความรู้สึก และความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองอย่างไรบ้างจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษา สำนักวิจัยเอแบคโพลล์จึงได้จัดส่ง
อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกของเด็กและเยาวชนต่อสถานการณ์การเมืองภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเรื่อง
การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
3. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของเด็กและเยาวชนต่อการทำงานขององค์กรอิสระ/หน่วยงานราชการต่างๆ และ
ประเด็นสำคัญทางการเมืองอื่นๆ
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “อารมณ์ ความรู้สึก และความคิดเห็นของ
เด็กและเยาวชนต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้: กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 14 — 17 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนิน
โครงการสำรวจ ในวันที่ 10 - 11 พฤษภาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ เด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 14 — 17 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,034 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/-ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.2 ระบุเป็นชาย
ทั้งหมดอายุระหว่าง 14 — 17 ปี พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “อารมณ์ ความรู้สึก และความ
คิดเห็นของเด็กและเยาวชนต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้: กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 14 — 17 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”
จำนวนทั้งสิ้น 1,034 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ในวันที่ 10 - 11 พฤษภาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจพบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.9 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำในช่วง 30 วันที่ผ่านมา โดยจำแนกเป็นร้อย
ละ 21.6 ติดตาม 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 17.9 ติดตาม 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 42.4 ติดตามทุกวันหรือเกือบทุกวัน ในขณะที่ร้อย
ละ 10.9 ติดตามน้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 7.2 ไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อสอบถามถึงอารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.2 ของกลุ่มเด็กและ
เยาวชนที่ถูกศึกษาเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ ในขณะที่ ร้อยละ 70.4 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมืองไม่แตกต่างไปจากความรู้สึก
ของผู้ใหญ่ ร้อยละ 38.1 เครียดเรื่องปัญหาการเมือง และร้อยละ 84.1 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความเชื่อมั่นของเด็กและเยาวชนต่อองค์กรอิสระและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเมืองขณะนี้ พบ
ว่า เด็กและเยาวชนให้ความเชื่อมั่นต่อศาลทั้งสามศาลเช่นเดียวกันกับผู้ใหญ่ แต่จะมีสัดส่วนสูงกว่าจำนวนผู้ใหญ่ที่เชื่อมั่นต่อศาลต่างๆ ทั้งสามศาล โดยพบ
ว่าร้อยละ 74.3 ของเด็กและเยาวชนระบุเชื่อมั่นต่อศาลปกครอง ในขณะที่กลุ่มผู้ใหญ่มีผู้ที่ระบุเชื่อมั่นคิดเป็นร้อยละ 69.3 นอกจากนี้ยังพบว่าส่วน
ใหญ่หรือร้อยละ 75.6 ของเด็กและเยาวชนระบุเชื่อมั่นต่อศาลฎีกา ในขณะที่ผู้ใหญ่ที่ระบุเชื่อมั่นนั้นคิดเป็นร้อยละ 69.6 และพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 74.9 ของเด็กและเยาวชนระบุเชื่อมั่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ผู้ใหญ่ที่ระบุเชื่อมั่นมีอยู่ร้อยละ 68.4 ตามลำดับ
ที่น่าเป็นห่วงคือ กกต. ปปช. และวุฒิสภา ยังคงได้รับความเชื่อมั่นจากเด็กและเยาวชนในสัดส่วนที่ต่ำและไม่แตกต่างไปจากความรู้สึกนึก
คิดของผู้ใหญ่ทั่วไปที่เคยสำรวจพบในการวิจัยครั้งล่าสุด กล่าวคือ เด็กและเยาวชนร้อยละ 30.6 ระบุเชื่อมั่นต่อ กกต. ร้อยละ 40.2 ระบุเชื่อมั่น
ต่อ ปปช. และร้อยละ 28.5 ระบุเชื่อมั่นต่อวุฒิสภา
เมื่อถามเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับความเข้าใจต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549
นั้น ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.3 ระบุเข้าใจในคำวินิจฉัยดังกล่าว โดยเข้าใจว่า การจัดการเลือกตั้งมีปัญหา/ขัดรัฐธรรมนูญ/หัน
คูหาผิดทิศ และการลงคะแนนไม่เป็นความลับ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 21.7 ระบุไม่เข้าใจ เพราะสับสน ไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย ไม่ชอบยุ่งเรื่อง
แบบนี้ และไม่ติดตามข่าว เป็นต้น
ประเด็นที่น่าสนใจคือ เด็กและเยาวชนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.9 คิดว่าจะลาออกถ้าเป็นกรรมการการเลือกตั้ง ภายหลังศาลรัฐ
ธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมาเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.2 รู้สึกสับสนต่อบทบาท
ความเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ใหญ่ในสังคมการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 17.4 ไม่รู้สึกสับสนอะไร และร้อยละ 19.4 ไม่มีความเห็น
สำหรับความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.5 คิดว่าจะไปเลือกตั้งถ้ามีสิทธิเลือก
ตั้ง เพราะต้องการใช้สิทธิ เป็นพลเมืองที่ดี และอยากลองครั้งแรก ในขณะที่ร้อยละ 7.6 คิดว่าจะไม่ไปโดยมีเหตุผลว่า เพราะเบื่อการเมือง ไม่
ชอบวุ่นวาย เลือกตั้งไปก็เท่านั้น เลือกตั้งไปแล้วก็มาทะเลาะกัน และเบื่อการหลอกลวงของผู้ใหญ่ และร้อยละ 14.9 ไม่แน่ใจจะไปหรือไม่ ทั้งนี้เมื่อ
สอบถามต่อไปว่า ถ้าไปเลือกตั้งจะไปเลือกพรรคการเมืองใด ผลสำรวจพบว่า จำนวนมากหรือร้อยละ 46.0 ระบุยังไม่ตัดสินใจ แต่ร้อยละ 36.2 จะ
เลือกพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 12.1 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 5.7 จะเลือกพรรคอื่นๆ เช่น พรรคชาติไทย พรรคมหาชน พรรคของ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง พรรคประชากรไทย และพรรคของนายเสนาะ เทียนทอง เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า เด็กและเยาวชนกลุ่มนี้มีอารมณ์ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองหลายประเด็นที่ไม่แตก
ต่างไปจากผู้ใหญ่มากนัก แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ พวกเขาเหล่านี้ส่วนใหญ่กำลังรับรู้รับทราบข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อมวลชนและคนรอบข้างถึง
ความวุ่นวายต่างๆ ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ที่น่าสนใจคือ เด็กและเยาวชนกลุ่มนี้มีความเชื่อมั่นต่อการทำงานของศาลต่างๆ ในสัดส่วนที่สูงกว่าผลสำรวจ
ทึ่เคยพบในกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีสิทธิเลือกตั้ง
“สิ่งที่น่าประทับใจคือ การแสดงออกถึงสปิริตหรือจิตสำนึกของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ต่อความรับผิดชอบหลังจากเข้าใจคำวินิจฉัยของศาลรัฐ
ธรรมนูญก็คิดว่าจะลาออกเพื่อเปิดทางให้คนอื่นๆ ในสังคมที่ได้รับความเชื่อถือสูงจากประชาชนเข้ามาทำหน้าที่แทนเพื่อดึงความเชื่อมั่นกลับคืนมาและน่าจะ
ทำให้สังคมเข้าสู่สภาวะปกติสุขได้ ยิ่งไปกว่านั้น เด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ยังได้สะท้อนอะไรออกมาอีกหลายอย่างที่เป็นข้อเตือนใจให้ผู้ใหญ่นำไปใคร่ครวญ
ได้อย่างดี เพราะพวกเขาเหล่านั้นกำลังสับสนต่อการเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ใหญ่ในสังคม แต่พวกเขาส่วนใหญ่ก็ตั้งใจว่าถ้ามีสิทธิเลือกตั้งก็จะไปใช้สิทธิ
ในขณะที่บางส่วนกลับคิดว่าจะไม่ไปเพราะเบื่อการเมือง เบื่อความวุ่นวาย และคิดว่าเลือกตั้งไปก็มาทะเลาะกันอีก เป็นต้น” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 42.4
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 17.9
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 21.6
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 10.9
5 ไม่ได้ติดตาม 7.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ระหว่าง
ผู้ใหญ่กับกลุ่มเด็กและเยาวชน
ลำดับที่ ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ผู้ใหญ่ 8 พ.ค.49 เด็กและเยาวชน11 พ.ค. 49
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 97.7 98.2
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 73.7 70.4
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 45.2 38.1
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 13.0 7.5
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 18.9 9.9
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 17.1 2.3
7 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 73.9 84.1
ตารางที่ 3 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการทำงานขององค์กรอิสระ/หน่วยงานราชการ
ในการทำหน้าที่ได้อย่างเป็นกลางไม่เลือกปฏิบัติต่อพรรคการเมือง เปรียบเทียบระหว่างผู้ใหญ่กับกลุ่มเด็กและ
เยาวชน
องค์กรอิสระ/ หน่วยงานราชการ ผู้ใหญ่ เชื่อมั่น(ร้อยละ) เด็กและเยาวชน เชื่อมั่น(ร้อยละ)
1. ศาลปกครอง 69.3 74.3
2. ศาลฎีกา 69.6 75.6
3. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 31.3 30.6
4. ศาลรัฐธรรมนูญ 68.4 74.9
5. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) 38.8 40.2
6. วุฒิสภา 31.3 28.5
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างเด็กและเยาวชนที่ระบุ ความเข้าใจต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
เกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความเข้าใจของเด็กและเยาวชนต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 เข้าใจ โดยเข้าใจว่า...การจัดการเลือกตั้งมีปัญหา/ ขัดรัฐธรรมนูญ/ หันคูหาผิดทิศ/ การลงคะแนนไม่เป็นความลับ เป็นต้น 78.3
2 ไม่เข้าใจ เพราะ....สับสน/ ไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย/ ไม่ชอบยุ่งเรื่องแบบนี้/ ไม่ติดตามข่าว เป็นต้น 21.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ถ้าเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง น้องคิดว่า
จะตัดสินใจอย่างไร ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2
เมษายน 2549 (เฉพาะคนที่ตอบว่าเข้าใจคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะลาออก 82.9
2 ไม่คิดว่าจะลาออก 5.8
3 ไม่มีความเห็น 11.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อบทบาทความเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ใหญ่ในสังคมการเมือง
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อบทบาทความเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ใหญ่ในสังคมการเมือง ค่าร้อยละ
1 รู้สึกสับสน 63.2
2 ไม่รู้สึกสับสนอะไร 17.4
3 ไม่มีความเห็น 19.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ถ้ามีสิทธิเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ถ้ามีสิทธิเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะไป เพราะต้องการใช้สิทธิ/ เป็นพลเมืองที่ดี/ อยากลองครั้งแรก 77.5
2 คิดว่าจะไม่ไป เพราะเบื่อการเมือง / ไม่ชอบวุ่นวาย / เลือกตั้งไปก็เท่านั้น /
เลือกตั้งไปแล้วก็มาทะเลาะกัน / เบื่อการหลอกลวงของผู้ใหญ่ 7.6
3 ไม่แน่ใจ 14.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคที่ตั้งใจจะเลือก ในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งใหม่ (ถ้ามีสิทธิไปเลือกตั้ง)
ลำดับที่ พรรคที่ตั้งใจจะเลือก ในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งใหม่ ค่าร้อยละ
1 พรรคไทยรักไทย 36.2
2 พรรคประชาธิปัตย์ 12.1
3 พรรคอื่นๆ ได้แก่ พรรคชาติไทย /พรรคมหาชน/พรรคประชากรไทย/
พรรคของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และพรรคของนายเสนาะ เทียนทอง 5.7
4 ยังไม่ตัดสินใจ 46.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-