ที่มาของโครงการ
เมื่อกล่าวถึงข่าวคราวของคนในวงการบันเทิงตามหน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆ จะพบว่า ภาพแอบถ่ายบุคคลในวงการบันเทิงเป็นที่สนใจติดตาม
ของประชาชนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นภาพหลุด ภาพคู่รักดารา ภาพลับเฉพาะ ภาพส่วนบุคคล ก่อให้เกิดอาชีพใหม่ตามมา คือ ช่างภาพอิสระ หรือที่เรารู้จัก
กันทั่วไปว่า “ปาปารัสซี่” ซึ่งยังคงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่าละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสอบถามความคิดเห็นของ
ประชาชนต่อการแอบถ่ายภาพดาราของปาปารัสซี่ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลัก
วิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการแอบถ่ายภาพบุคคลในวงการบันเทิง
2. เพื่อสำรวจความรู้สึกต่างๆ กับบุคคลวงการบันเทิงถูกแอบถ่ายภาพหลุดส่วนบุคคล
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรเมื่อปาปารัสซี่แอบถ่าย
ภาพดารา: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ตั้งแต่วันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,184 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.6 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.4 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 11.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 33.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 13.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 75.6 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.5 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 16.3 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา
ร้อยะ 21.7 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.4 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษีบณอายุ
ร้อยละ 6.7 ระบุอาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน ไม่ได้ประกอบอาชีพใด
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรเมื่อปาปารัสซี่แอบถ่ายภาพดารา” ใน
ครั้งนี้ได้ทำการสำรวจกับประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,184 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการ
สำรวจระหว่างวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างเกี่ยวกับการดูภาพที่ได้จากการแอบถ่ายบุคคลในวงการบันเทิง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 24.4 ระบุชอบ
ดู ร้อยละ 37.7 ระบุไม่ชอบดู และร้อยละ 37.9 ระบุเฉยๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อการแอบถ่าย
ภาพบุคคลในวงการบันเทิงกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล นั้นพบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 76.3 ระบุเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ใน
ขณะที่ร้อยละ 5.9 ระบุไม่ละเมิด และร้อยละ 17.8 ไม่ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการห้ามแอบถ่ายภาพบุคคลใน
วงการบันเทิง นั้นพบว่า ร้อยละ 57.2 ระบุควรมีการห้าม ร้อยละ 15.0 ระบุไม่ควร และร้อยละ 27.8 ระบุไม่มีความเห็น
เมื่อผู้วิจัยสอบถามถึงจรรยาบรรณของนักข่าว/สื่อสารมวลชนในการนำเสนอภาพได้จากการแอบถ่ายภาพบุคคลในวงการบันเทิง พบว่า
ตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 58.8 ระบุว่าไม่มีจรรยาบรรณ มีเพียงร้อยละ 9.8 เท่านั้นที่ระบุว่ามีจรรยาบรรณ และร้อยละ 31.4 ระบุว่าไม่
มีความเห็น นอกจากนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 80.2 ระบุว่าการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับบุคคลในวงการบันเทิงในปัจจุบันเชื่อถือไม่ได้ ในขณะที่
ร้อยละ 19.8 ระบุว่าเชื่อถือได้
ตัวอย่างมากกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 63.5 รู้สึกเห็นใจบุคคลในวงการบันเทิง กรณีถูกแอบถ่ายภาพหลุดส่วนบุคคล มีเพียง ร้อยละ 11.2 ที่
ระบุว่าไม่รู้สึกเห็นใจ และร้อยละ 25.3 ระบุไม่มีความเห็น และตัวอย่างมากกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 62.6 ระบุว่าสมควรเรียกร้องค่าเสียหาย หากถูก
แอบถ่ายภาพหลุดส่วนบุคคลแล้วนำไปเผยแพร่
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการชอบดูภาพแอบถ่ายบุคคลในวงการบันเทิง
ลำดับที่ การชอบดูภาพที่ได้จากการแอบถ่ายบุคคลในวงการบันเทิง ค่าร้อยละ
1 ชอบดู 24.4
2 ไม่ชอบดู 37.7
3 เฉยๆ 37.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแอบถ่ายภาพบุคคลในวงการบันเทิงกับการละเมิด
สิทธิส่วนบุคคล
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล 76.3
2 ไม่ละเมิด 5.9
3 ไม่มีความเห็น 17.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการห้ามแอบถ่ายภาพบุคคลในวงการบันเทิง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรมีการห้าม 57.2
2 ไม่ควร 15.0
3 ไม่มีความเห็น 27.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อจรรยาบรรณของนักข่าว/สื่อสารมวลชนในการนำเสนอ
ภาพที่ได้จากการแอบถ่ายภาพบุคคลในวงการบันเทิง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มีจรรยาบรรณ 9.8
2 ไม่มีจรรยาบรรณ 58.8
3 ไม่มีความเห็น 31.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความน่าเชื่อถือในการนำเสนอข่าวเกี่ยวบุคคลในวงการบันเทิงในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อถือได้ 19.8
2 เชื่อถือไม่ได้ 80.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีบุคคลในวงการบันเทิงถูกแอบถ่ายภาพหลุดส่วนบุคคล
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 รู้สึกเห็นใจ 63.5
2 ไม่รู้สึกเห็นใจ 11.2
3 ไม่มีความเห็น 25.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีหากบุคคลในวงการบันเทิงจะฟ้องร้องค่าเสียหายหาก
ถูกแอบถ่ายภาพหลุดส่วนบุคคลและนำไปเผยแพร่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 สมควรฟ้องร้องค่าเสียหาย 62.6
2 ไม่สมควรฟ้องร้อง 8.3
3 ไม่มีความเห็น 29.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เมื่อกล่าวถึงข่าวคราวของคนในวงการบันเทิงตามหน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆ จะพบว่า ภาพแอบถ่ายบุคคลในวงการบันเทิงเป็นที่สนใจติดตาม
ของประชาชนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นภาพหลุด ภาพคู่รักดารา ภาพลับเฉพาะ ภาพส่วนบุคคล ก่อให้เกิดอาชีพใหม่ตามมา คือ ช่างภาพอิสระ หรือที่เรารู้จัก
กันทั่วไปว่า “ปาปารัสซี่” ซึ่งยังคงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่าละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสอบถามความคิดเห็นของ
ประชาชนต่อการแอบถ่ายภาพดาราของปาปารัสซี่ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลัก
วิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการแอบถ่ายภาพบุคคลในวงการบันเทิง
2. เพื่อสำรวจความรู้สึกต่างๆ กับบุคคลวงการบันเทิงถูกแอบถ่ายภาพหลุดส่วนบุคคล
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรเมื่อปาปารัสซี่แอบถ่าย
ภาพดารา: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ตั้งแต่วันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,184 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.6 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.4 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 11.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 33.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 13.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 75.6 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.5 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 16.3 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา
ร้อยะ 21.7 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.4 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษีบณอายุ
ร้อยละ 6.7 ระบุอาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน ไม่ได้ประกอบอาชีพใด
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรเมื่อปาปารัสซี่แอบถ่ายภาพดารา” ใน
ครั้งนี้ได้ทำการสำรวจกับประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,184 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการ
สำรวจระหว่างวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างเกี่ยวกับการดูภาพที่ได้จากการแอบถ่ายบุคคลในวงการบันเทิง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 24.4 ระบุชอบ
ดู ร้อยละ 37.7 ระบุไม่ชอบดู และร้อยละ 37.9 ระบุเฉยๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อการแอบถ่าย
ภาพบุคคลในวงการบันเทิงกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล นั้นพบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 76.3 ระบุเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ใน
ขณะที่ร้อยละ 5.9 ระบุไม่ละเมิด และร้อยละ 17.8 ไม่ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการห้ามแอบถ่ายภาพบุคคลใน
วงการบันเทิง นั้นพบว่า ร้อยละ 57.2 ระบุควรมีการห้าม ร้อยละ 15.0 ระบุไม่ควร และร้อยละ 27.8 ระบุไม่มีความเห็น
เมื่อผู้วิจัยสอบถามถึงจรรยาบรรณของนักข่าว/สื่อสารมวลชนในการนำเสนอภาพได้จากการแอบถ่ายภาพบุคคลในวงการบันเทิง พบว่า
ตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 58.8 ระบุว่าไม่มีจรรยาบรรณ มีเพียงร้อยละ 9.8 เท่านั้นที่ระบุว่ามีจรรยาบรรณ และร้อยละ 31.4 ระบุว่าไม่
มีความเห็น นอกจากนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 80.2 ระบุว่าการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับบุคคลในวงการบันเทิงในปัจจุบันเชื่อถือไม่ได้ ในขณะที่
ร้อยละ 19.8 ระบุว่าเชื่อถือได้
ตัวอย่างมากกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 63.5 รู้สึกเห็นใจบุคคลในวงการบันเทิง กรณีถูกแอบถ่ายภาพหลุดส่วนบุคคล มีเพียง ร้อยละ 11.2 ที่
ระบุว่าไม่รู้สึกเห็นใจ และร้อยละ 25.3 ระบุไม่มีความเห็น และตัวอย่างมากกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 62.6 ระบุว่าสมควรเรียกร้องค่าเสียหาย หากถูก
แอบถ่ายภาพหลุดส่วนบุคคลแล้วนำไปเผยแพร่
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการชอบดูภาพแอบถ่ายบุคคลในวงการบันเทิง
ลำดับที่ การชอบดูภาพที่ได้จากการแอบถ่ายบุคคลในวงการบันเทิง ค่าร้อยละ
1 ชอบดู 24.4
2 ไม่ชอบดู 37.7
3 เฉยๆ 37.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแอบถ่ายภาพบุคคลในวงการบันเทิงกับการละเมิด
สิทธิส่วนบุคคล
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล 76.3
2 ไม่ละเมิด 5.9
3 ไม่มีความเห็น 17.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการห้ามแอบถ่ายภาพบุคคลในวงการบันเทิง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรมีการห้าม 57.2
2 ไม่ควร 15.0
3 ไม่มีความเห็น 27.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อจรรยาบรรณของนักข่าว/สื่อสารมวลชนในการนำเสนอ
ภาพที่ได้จากการแอบถ่ายภาพบุคคลในวงการบันเทิง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มีจรรยาบรรณ 9.8
2 ไม่มีจรรยาบรรณ 58.8
3 ไม่มีความเห็น 31.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความน่าเชื่อถือในการนำเสนอข่าวเกี่ยวบุคคลในวงการบันเทิงในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อถือได้ 19.8
2 เชื่อถือไม่ได้ 80.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีบุคคลในวงการบันเทิงถูกแอบถ่ายภาพหลุดส่วนบุคคล
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 รู้สึกเห็นใจ 63.5
2 ไม่รู้สึกเห็นใจ 11.2
3 ไม่มีความเห็น 25.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีหากบุคคลในวงการบันเทิงจะฟ้องร้องค่าเสียหายหาก
ถูกแอบถ่ายภาพหลุดส่วนบุคคลและนำไปเผยแพร่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 สมควรฟ้องร้องค่าเสียหาย 62.6
2 ไม่สมควรฟ้องร้อง 8.3
3 ไม่มีความเห็น 29.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-