ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง วาระแห่งชาติในสายตาประชาชน
ที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่เร่งแก้ไข กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,809 ตัวอย่าง
ซึ่งดำเนินโครงการวันที่ 12 - 13 กันยายน 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองเป็น
ประจำทุกสัปดาห์
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่กำลังให้ความสนใจต่อประวัติและผลงานของแกนนำพรรคพลังประชาชนที่มีโอกาสจะ
เป็นนายกรัฐมนตรีแตกต่างกันไป (เมื่อตอบได้มากกว่า 1 คน) พบว่า ร้อยละ 58.6 สนใจนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ร้อยละ 51.2 สนใจนายสมชาย
วงศ์สวัสดิ์ และร้อยละ 48.3 สนใจนายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ในขณะที่ร้อยละ 41.5 ไม่สนใจใครเลย
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจยังพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.7 ไม่คิดจะแสดงตนคัดค้านแกนนำพรรคพลังประชาชนในการเป็น
นายกรัฐมนตรีคนต่อไป กรณีพรรคพลังประชาชนเสนอคนหนึ่งคนใดในแกนนำทั้งสาม โดยให้เหตุผลเพราะ ความถูกต้อง เป็นประชาธิปไตย อยากเห็น
ความสงบสุขของบ้านเมือง ไม่อยากให้ประเทศชาติเสียหาย และไม่ชอบความวุ่นวาย เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 19.7 คิดว่าจะคัดค้าน และที่เหลือ
ร้อยละ 11.6 ไม่มีความเห็น
เมื่อถามถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.6 ระบุความซื่อสัตย์สุจริต รองลงมาคือร้อย
ละ 72.7 ระบุสามารถแก้ปัญหา (บริหาร) ความขัดแย้งได้ดี ร้อยละ 70.9 ระบุรักชาติและประชาชนอย่างเท่าเทียมไม่แบ่งแยก ร้อยละ 70.5 ระบุ
รวดเร็วฉับไวแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ร้อยละ 69.1 ระบุมีจริยธรรมทางการเมือง ร้อยละ 67.3 ระบุมีความโอบอ้อมอารี ร้อยละ
64.4 ระบุมีความอดทน อดกลั้น ร้อยละ 57.9 ระบุเสียสละ และเพียงร้อยละ 20.2 ระบุมีฐานะร่ำรวย
ประเด็นที่สำคัญคือ เมื่อถามถึงวาระแห่งชาติที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่เร่งแก้ไข ผลสำรวจพบว่า ปัญหาความแตกแยกของคนใน
ชาติ (ความรักความสามัคคีของคนในชาติ) กลายเป็นวาระแห่งชาติที่เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 51.0 ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 มาอยู่ที่ร้อยละ
84.7 ในเดือนกันยายน ปีนี้ อันดับสองได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้องของประชาชน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 75.4 ในเดือนมกราคม 2551 มาอยู่ที่
ร้อยละ 78.2 ในเดือนกันยายน และที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 45.5 ในเดือนมกราคม 2551 มาอยู่ที่ร้อยละ
74.1 ในการสำรวจครั้งล่าสุด อันดับรองๆ ลงไปคือ ปัญหายาเสพติด ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหาด้านการท่องเที่ยว ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน ปัญหาชายแดนของประเทศ ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ค่อยได้รับความสนใจจากประชาชนที่จะยกให้เป็นวาระ
แห่งชาติ เพราะพบเพียงร้อยละ 20.9 ในเดือนมกราคม 2551 และร้อยละ 17.8 ในการสำรวจครั้งล่าสุด
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.5 อยากให้เร่งรณรงค์เอกลักษณ์และคุณลักษณ์พึงประสงค์ของความเป็นคนไทยในเรื่องความ
รักความสามัคคีของคนในชาติ มากที่สุด รองลงมาคือ ร้อยละ 81.9 ระบุเรื่องความรักชาติ ร้อยละ 77.6 ระบุความเอื้ออาทร เกื้อกูล มีน้ำใจต่อกัน
ร้อยละ 73.1 ระบุการให้อภัยต่อกัน ร้อยละ 70.6 ระบุความมีสติสัมปชัญญะ รู้จักยับยั้งชั่งใจ ร้อยละ 64.5 ระบุความมีวินัย ร้อยละ 63.1 ระบุความ
อดทน อดกลั้น ร้อยละ 50.4 ระบุอุดมการณ์ต่อต้านทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 48.9 ระบุจิตอาสา และร้อยละ 23.5 ระบุอื่นๆ เช่น ความประหยัด ความ
รับผิดชอบ ความพอเพียง และจริยธรรม เป็นต้น
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ในสถานการณ์การเมืองล่าสุด ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.9 เริ่มมีความหวังที่จะก้าวต่อไปข้าง
หน้า อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 37.1 มีความกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศ
ดร.นพดล กล่าวว่า ภายใต้สถานการณ์การเมืองล่าสุด ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มมีความหวังและเรียกหาบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งนายก
รัฐมนตรีและรัฐบาลชุดใหม่ที่สามารถเร่งกอบกู้สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศได้ โดยคุณสมบัติสำคัญได้แก่ เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต แก้ปัญหาความขัด
แย้งได้ดี รักชาติและประชาชนอย่างเท่าเทียม และรวดเร็วฉับไวในการแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน นอกจากนี้ วาระแห่งชาติอันดับแรกๆ ในใจ
ของคนไทย คือ ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชน ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหายาเสพติด และปัญหา
คอรัปชั่น ผลสำรวจยังพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีแนวคิดที่จะคัดค้านหรือต่อต้านบุคคลหนึ่งบุคคลใดในสามแกนนำของพรรคพลังประชาชนที่ถูกศึกษาครั้ง
นี้ แต่สนใจต่อประวัติและผลงานของนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เพิ่มเติม
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สถานการณ์การเมืองได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตปกติของประชาชนและทำให้ปัญหาต่างๆ กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น
หลายด้าน และหลังจากได้ทำวิจัยโพลล์การเมืองที่ผ่านมา มีความเห็นว่า นายกรัฐมนตรีคนใหม่และคณะรัฐมนตรีน่าจะเป็นกลุ่มบุคคลที่สังคมยอมรับ
อย่างกว้างขวาง อย่าได้ด่างพร้อย ไม่มีตำหนิว่าเอื้อต่อกลุ่มนายทุนที่ใช้รัฐบาลเป็นเครื่องมือในการหาผลประโยชน์ และนายกรัฐมนตรีคนใหม่ไม่ควรยึด
ติดเชิงอำนาจ แต่น่าจะเร่งเข้าถึงกลุ่มขัดแย้งต่างๆ ได้อย่างถึงตัว ด้วยความประนีประนอม อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ยึดมั่นถือมั่นกับตัวตนและฐานะ
บรรดาศักดิ์ต่างๆ เพราะประชาชนส่วนใหญ่เริ่มมีความหวังขึ้นบ้างแล้ว จึงไม่ควรมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมาทำลายความหวังและความสุขของสาธารณชนคนไทย
ทั้งประเทศ ส่วนความขัดแย้งทางอุดมการณ์ที่ฝ่ายพันธมิตรฯ และฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลต่างก็เชื่อมั่นว่า การเคลื่อนไหวของตนเองเป็นไปเพื่อประโยชน์ของ
ประเทศชาติและประชาธิปไตยที่ดีกว่า จึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจและอยู่ร่วมกันให้ได้โดยไม่เกิดความรุนแรงขึ้นในสังคม ถ้ามีวันใดที่กลุ่ม
พันธมิตรฯ และฝ่ายรัฐบาลปรับความเข้าใจจับมือกันได้ วันนั้นคงทำให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า ปิติยินดีปลาบปลื้มใจจนน้ำตาไหลโดยทั่วกัน
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อวาระแห่งชาติ และการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และประเด็นสำคัญทางการเมือง
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง วาระแห่งชาติในสายตาประชาชนที่ต้องการ
ให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่เร่งแก้ไข กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,809 ตัวอย่าง ซึ่ง
ดำเนินโครงการวันที่ 12 - 13 กันยายน 2551 กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจาก
การทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,809 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อน
จากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การ
สัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 63 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.4 เป็นชาย
ร้อยละ 49.6 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 27.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 22.1 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และ ร้อยละ 19.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 21.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 30.8 ระบุอาชีพเกษตรกรรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.3 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.2 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.3 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 3.8 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 60.7
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 21.2
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 12.0
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 4.1
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสนใจต่อประวัติและผลงานของแกนนำพรรคพลังประชาชนที่มีโอกาสจะเป็นนายกรัฐมนตรี
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แกนนำพรรคพลังประชาชน ร้อยละ
1 สนใจประวัติและผลงานของ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ 58.6
2 สนใจ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 51.2
3 สนใจ นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี 48.3
4 ไม่สนใจใครเลย 41.5
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นที่จะออกมาแสดงตนคัดค้าน แกนนำพรรคพลังประชาชนในการเป็นนายกรัฐมนตรี
คนต่อไป (กรณีพรรคพลังประชาชนเสนอคนหนึ่งคนใดในแกนนำทั้งสาม)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 คิดว่าจะคัดค้าน 19.7
2 ไม่คัดค้าน เพราะ ความถูกต้อง เป็นประชาธิปไตย อยากเห็นความสงบสุขในบ้านเมือง
ไม่อยากให้ประเทศชาติเสียหาย และไม่ชอบความวุ่นวาย เป็นต้น 68.7
3 ไม่มีความเห็น 11.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 ซื่อสัตย์สุจริต 77.6
2 แก้ปัญหา (บริหาร) ความขัดแย้งได้ดี 72.7
3 รักชาติและประชาชนอย่างเท่าเทียม ไม่แบ่งแยก 70.9
4 รวดเร็วฉับไวแก้ปัญหาเดือดร้อนประชาชน 70.5
5 มีจริยธรรมทางการเมือง 69.1
6 มีความโอบอ้อมอารี 67.3
7 มีความอดทน อดกลั้น 64.4
8 เสียสละ 57.9
9 มีฐานะร่ำรวย 20.2
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ วาระแห่งชาติที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่เร่งแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วาระแห่งชาติ มกราคม 51 กันยายน 51
1 ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ (ความรักความสามัคคีของคนในชาติ) 51.0 84.7
2 ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้อง 75.4 78.2
3 ภัยพิบัติธรรมชาติ (ปัญหาภาวะโลกร้อน) 45.5 74.1
4 ปัญหายาเสพติด 68.3 73.0
5 ปัญหาคอรัปชั่น 64.3 69.9
6 ปัญหาด้านการท่องเที่ยว - 65.7
7 ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ 65.2 63.8
8 ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน 53.6 61.8
9 ปัญหาชายแดนของประเทศ - 58.4
10 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 20.9 17.8
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เอกลักษณ์และคุณลักษณะพึงประสงค์ของความเป็นคนไทยที่อยากให้เร่งรณรงค์
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เอกลักษณ์ / คุณลักษณะพึงประสงค์ของคนไทย ร้อยละ
1 ความรักความสามัคคีของคนในชาติ 88.5
2 ความรักชาติ 81.9
3 ความเอื้ออาทร เกื้อกูล มีน้ำใจต่อกัน 77.6
4 การให้อภัย 73.1
5 ความมีสติสัมปชัญญะ รู้จักยับยั้งชั่งใจ 70.6
6 ความมีวินัย 64.5
7 ความอดทน อดกลั้น 63.1
8 อุดมการณ์ต่อต้านทุจริตคอรัปชั่น 50.4
9 จิตอาสา 48.9
10 อื่นๆ เช่น ความประหยัด ความรับผิดชอบ ความพอเพียง และจริยธรรม เป็นต้น 23.5
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความหวัง ความกลัวของคนไทยในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
ลำดับที่ ความหวัง ความกลัวของคนไทย ร้อยละ
1 มีความหวังที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า 62.9
2 มีความกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศ 37.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่เร่งแก้ไข กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,809 ตัวอย่าง
ซึ่งดำเนินโครงการวันที่ 12 - 13 กันยายน 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองเป็น
ประจำทุกสัปดาห์
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่กำลังให้ความสนใจต่อประวัติและผลงานของแกนนำพรรคพลังประชาชนที่มีโอกาสจะ
เป็นนายกรัฐมนตรีแตกต่างกันไป (เมื่อตอบได้มากกว่า 1 คน) พบว่า ร้อยละ 58.6 สนใจนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ร้อยละ 51.2 สนใจนายสมชาย
วงศ์สวัสดิ์ และร้อยละ 48.3 สนใจนายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ในขณะที่ร้อยละ 41.5 ไม่สนใจใครเลย
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจยังพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.7 ไม่คิดจะแสดงตนคัดค้านแกนนำพรรคพลังประชาชนในการเป็น
นายกรัฐมนตรีคนต่อไป กรณีพรรคพลังประชาชนเสนอคนหนึ่งคนใดในแกนนำทั้งสาม โดยให้เหตุผลเพราะ ความถูกต้อง เป็นประชาธิปไตย อยากเห็น
ความสงบสุขของบ้านเมือง ไม่อยากให้ประเทศชาติเสียหาย และไม่ชอบความวุ่นวาย เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 19.7 คิดว่าจะคัดค้าน และที่เหลือ
ร้อยละ 11.6 ไม่มีความเห็น
เมื่อถามถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.6 ระบุความซื่อสัตย์สุจริต รองลงมาคือร้อย
ละ 72.7 ระบุสามารถแก้ปัญหา (บริหาร) ความขัดแย้งได้ดี ร้อยละ 70.9 ระบุรักชาติและประชาชนอย่างเท่าเทียมไม่แบ่งแยก ร้อยละ 70.5 ระบุ
รวดเร็วฉับไวแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ร้อยละ 69.1 ระบุมีจริยธรรมทางการเมือง ร้อยละ 67.3 ระบุมีความโอบอ้อมอารี ร้อยละ
64.4 ระบุมีความอดทน อดกลั้น ร้อยละ 57.9 ระบุเสียสละ และเพียงร้อยละ 20.2 ระบุมีฐานะร่ำรวย
ประเด็นที่สำคัญคือ เมื่อถามถึงวาระแห่งชาติที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่เร่งแก้ไข ผลสำรวจพบว่า ปัญหาความแตกแยกของคนใน
ชาติ (ความรักความสามัคคีของคนในชาติ) กลายเป็นวาระแห่งชาติที่เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 51.0 ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 มาอยู่ที่ร้อยละ
84.7 ในเดือนกันยายน ปีนี้ อันดับสองได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้องของประชาชน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 75.4 ในเดือนมกราคม 2551 มาอยู่ที่
ร้อยละ 78.2 ในเดือนกันยายน และที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 45.5 ในเดือนมกราคม 2551 มาอยู่ที่ร้อยละ
74.1 ในการสำรวจครั้งล่าสุด อันดับรองๆ ลงไปคือ ปัญหายาเสพติด ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหาด้านการท่องเที่ยว ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน ปัญหาชายแดนของประเทศ ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ค่อยได้รับความสนใจจากประชาชนที่จะยกให้เป็นวาระ
แห่งชาติ เพราะพบเพียงร้อยละ 20.9 ในเดือนมกราคม 2551 และร้อยละ 17.8 ในการสำรวจครั้งล่าสุด
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.5 อยากให้เร่งรณรงค์เอกลักษณ์และคุณลักษณ์พึงประสงค์ของความเป็นคนไทยในเรื่องความ
รักความสามัคคีของคนในชาติ มากที่สุด รองลงมาคือ ร้อยละ 81.9 ระบุเรื่องความรักชาติ ร้อยละ 77.6 ระบุความเอื้ออาทร เกื้อกูล มีน้ำใจต่อกัน
ร้อยละ 73.1 ระบุการให้อภัยต่อกัน ร้อยละ 70.6 ระบุความมีสติสัมปชัญญะ รู้จักยับยั้งชั่งใจ ร้อยละ 64.5 ระบุความมีวินัย ร้อยละ 63.1 ระบุความ
อดทน อดกลั้น ร้อยละ 50.4 ระบุอุดมการณ์ต่อต้านทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 48.9 ระบุจิตอาสา และร้อยละ 23.5 ระบุอื่นๆ เช่น ความประหยัด ความ
รับผิดชอบ ความพอเพียง และจริยธรรม เป็นต้น
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ในสถานการณ์การเมืองล่าสุด ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.9 เริ่มมีความหวังที่จะก้าวต่อไปข้าง
หน้า อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 37.1 มีความกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศ
ดร.นพดล กล่าวว่า ภายใต้สถานการณ์การเมืองล่าสุด ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มมีความหวังและเรียกหาบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งนายก
รัฐมนตรีและรัฐบาลชุดใหม่ที่สามารถเร่งกอบกู้สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศได้ โดยคุณสมบัติสำคัญได้แก่ เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต แก้ปัญหาความขัด
แย้งได้ดี รักชาติและประชาชนอย่างเท่าเทียม และรวดเร็วฉับไวในการแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน นอกจากนี้ วาระแห่งชาติอันดับแรกๆ ในใจ
ของคนไทย คือ ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชน ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหายาเสพติด และปัญหา
คอรัปชั่น ผลสำรวจยังพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีแนวคิดที่จะคัดค้านหรือต่อต้านบุคคลหนึ่งบุคคลใดในสามแกนนำของพรรคพลังประชาชนที่ถูกศึกษาครั้ง
นี้ แต่สนใจต่อประวัติและผลงานของนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เพิ่มเติม
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สถานการณ์การเมืองได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตปกติของประชาชนและทำให้ปัญหาต่างๆ กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น
หลายด้าน และหลังจากได้ทำวิจัยโพลล์การเมืองที่ผ่านมา มีความเห็นว่า นายกรัฐมนตรีคนใหม่และคณะรัฐมนตรีน่าจะเป็นกลุ่มบุคคลที่สังคมยอมรับ
อย่างกว้างขวาง อย่าได้ด่างพร้อย ไม่มีตำหนิว่าเอื้อต่อกลุ่มนายทุนที่ใช้รัฐบาลเป็นเครื่องมือในการหาผลประโยชน์ และนายกรัฐมนตรีคนใหม่ไม่ควรยึด
ติดเชิงอำนาจ แต่น่าจะเร่งเข้าถึงกลุ่มขัดแย้งต่างๆ ได้อย่างถึงตัว ด้วยความประนีประนอม อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ยึดมั่นถือมั่นกับตัวตนและฐานะ
บรรดาศักดิ์ต่างๆ เพราะประชาชนส่วนใหญ่เริ่มมีความหวังขึ้นบ้างแล้ว จึงไม่ควรมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมาทำลายความหวังและความสุขของสาธารณชนคนไทย
ทั้งประเทศ ส่วนความขัดแย้งทางอุดมการณ์ที่ฝ่ายพันธมิตรฯ และฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลต่างก็เชื่อมั่นว่า การเคลื่อนไหวของตนเองเป็นไปเพื่อประโยชน์ของ
ประเทศชาติและประชาธิปไตยที่ดีกว่า จึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจและอยู่ร่วมกันให้ได้โดยไม่เกิดความรุนแรงขึ้นในสังคม ถ้ามีวันใดที่กลุ่ม
พันธมิตรฯ และฝ่ายรัฐบาลปรับความเข้าใจจับมือกันได้ วันนั้นคงทำให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า ปิติยินดีปลาบปลื้มใจจนน้ำตาไหลโดยทั่วกัน
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อวาระแห่งชาติ และการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และประเด็นสำคัญทางการเมือง
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง วาระแห่งชาติในสายตาประชาชนที่ต้องการ
ให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่เร่งแก้ไข กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,809 ตัวอย่าง ซึ่ง
ดำเนินโครงการวันที่ 12 - 13 กันยายน 2551 กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจาก
การทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,809 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อน
จากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การ
สัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 63 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.4 เป็นชาย
ร้อยละ 49.6 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 27.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 22.1 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และ ร้อยละ 19.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 21.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 30.8 ระบุอาชีพเกษตรกรรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.3 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.2 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.3 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 3.8 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 60.7
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 21.2
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 12.0
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 4.1
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสนใจต่อประวัติและผลงานของแกนนำพรรคพลังประชาชนที่มีโอกาสจะเป็นนายกรัฐมนตรี
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แกนนำพรรคพลังประชาชน ร้อยละ
1 สนใจประวัติและผลงานของ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ 58.6
2 สนใจ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 51.2
3 สนใจ นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี 48.3
4 ไม่สนใจใครเลย 41.5
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นที่จะออกมาแสดงตนคัดค้าน แกนนำพรรคพลังประชาชนในการเป็นนายกรัฐมนตรี
คนต่อไป (กรณีพรรคพลังประชาชนเสนอคนหนึ่งคนใดในแกนนำทั้งสาม)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 คิดว่าจะคัดค้าน 19.7
2 ไม่คัดค้าน เพราะ ความถูกต้อง เป็นประชาธิปไตย อยากเห็นความสงบสุขในบ้านเมือง
ไม่อยากให้ประเทศชาติเสียหาย และไม่ชอบความวุ่นวาย เป็นต้น 68.7
3 ไม่มีความเห็น 11.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 ซื่อสัตย์สุจริต 77.6
2 แก้ปัญหา (บริหาร) ความขัดแย้งได้ดี 72.7
3 รักชาติและประชาชนอย่างเท่าเทียม ไม่แบ่งแยก 70.9
4 รวดเร็วฉับไวแก้ปัญหาเดือดร้อนประชาชน 70.5
5 มีจริยธรรมทางการเมือง 69.1
6 มีความโอบอ้อมอารี 67.3
7 มีความอดทน อดกลั้น 64.4
8 เสียสละ 57.9
9 มีฐานะร่ำรวย 20.2
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ วาระแห่งชาติที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่เร่งแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วาระแห่งชาติ มกราคม 51 กันยายน 51
1 ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ (ความรักความสามัคคีของคนในชาติ) 51.0 84.7
2 ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้อง 75.4 78.2
3 ภัยพิบัติธรรมชาติ (ปัญหาภาวะโลกร้อน) 45.5 74.1
4 ปัญหายาเสพติด 68.3 73.0
5 ปัญหาคอรัปชั่น 64.3 69.9
6 ปัญหาด้านการท่องเที่ยว - 65.7
7 ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ 65.2 63.8
8 ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน 53.6 61.8
9 ปัญหาชายแดนของประเทศ - 58.4
10 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 20.9 17.8
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เอกลักษณ์และคุณลักษณะพึงประสงค์ของความเป็นคนไทยที่อยากให้เร่งรณรงค์
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เอกลักษณ์ / คุณลักษณะพึงประสงค์ของคนไทย ร้อยละ
1 ความรักความสามัคคีของคนในชาติ 88.5
2 ความรักชาติ 81.9
3 ความเอื้ออาทร เกื้อกูล มีน้ำใจต่อกัน 77.6
4 การให้อภัย 73.1
5 ความมีสติสัมปชัญญะ รู้จักยับยั้งชั่งใจ 70.6
6 ความมีวินัย 64.5
7 ความอดทน อดกลั้น 63.1
8 อุดมการณ์ต่อต้านทุจริตคอรัปชั่น 50.4
9 จิตอาสา 48.9
10 อื่นๆ เช่น ความประหยัด ความรับผิดชอบ ความพอเพียง และจริยธรรม เป็นต้น 23.5
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความหวัง ความกลัวของคนไทยในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
ลำดับที่ ความหวัง ความกลัวของคนไทย ร้อยละ
1 มีความหวังที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า 62.9
2 มีความกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศ 37.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-