ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อ
บรรยากาศการเมืองขณะนี้และความนิยมต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ เปรียบเทียบกับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัด
ทั่วประเทศ” จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 4,195 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 18 — 25 พฤศจิกายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการ
สำรวจมีดังนี้
ประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 70 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำ เมื่อสอบถามถึงอารมณ์ความรู้สึกต่อบรรยากาศการเมืองระหว่าง
เดือนมีนาคมกับเดือนพฤจิกายน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.6 เห็นว่าการเมืองยังคงเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ แต่ประเด็นที่น่าสนใจ
คือ ประชาชนจำนวนมากลดความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ทางการเมืองจากร้อยละ 69.9 ในเดือนมีนาคมที่มีวิกฤตการเมืองเหลือร้อยละ 30.8 ในเดือน
พฤศจิกายนหลังการยึดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณ สำหรับความเครียดของประชาชนเรื่องการเมืองลดลงจากร้อยละ 43.2 ในเดือนมีนาคม เหลือร้อยละ
23.3 ในเดือนพฤศจิกายน ความขัดแย้งกับคนในครอบครัวเรื่องการเมืองลดลงจากร้อยละ 14.1 ในเดือนมีนาคมเหลือร้อยละ 5.4 ในเดือน
พฤศจิกายน ความขัดแย้งกับเพื่อนบ้านเรื่องการเมืองลดลงจากร้อยละ 16.2 เหลือร้อยละ 3.9 และความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานเรื่องการเมืองลดลง
จากร้อยละ 17.2 เหลือร้อยละ 3.5 ในการสำรวจล่าสุด
เมื่อสอบถามความรู้สึกของประชาชนต่อบรรยากาศทางการเมืองเปรียบเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ
73.4 รู้สึกว่าบรรยากาศทางการเมืองดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 16.6 รู้สึกว่าเหมือนเดิม และร้อยละ 10.0 รู้สึกว่าแย่ลง ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วน
ใหญ่ในทุกภูมิภาคของประเทศรู้สึกว่าบรรยากาศทางการเมืองขณะนี้ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา คือร้อยละ 78.7 ของคนภาคใต้ รองลงมา
คือภาคกลางร้อยละ 77.6 ภาคเหนือร้อยละ 70.9 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 64.7 และกรุงเทพมหานครร้อยละ 62.0 ประเด็นที่น่าสนใจคือ
แม้แต่ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.1 ของตัวอย่างที่เป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยยังรู้สึก
ว่าบรรยากาศทางการเมืองขณะนี้ดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 72.3 ของผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยรู้สึกว่าบรรยากาศขณะนี้ดีขึ้น
เมื่อสอบถามความเห็นต่อรัฐบาลในแนวทางการแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.4 เห็นด้วยกับ
แนวทางของรัฐบาลในขณะนี้ ขณะที่ร้อยละ 10.9 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 14.7 ไม่มีความเห็น เมื่อสอบถามว่ารู้สึกอย่างไรต่อรัฐบาล พล.อ.สุ
รยุทธ์ จุลานนท์ ระหว่างการอาสามาทำงานด้วยความเสียสละกับมีวัตถุประสงค์สืบทอดอำนาจหาผลประโยชน์ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
71.3 รู้สึกว่ารัฐบาลชุดนี้อาสามาทำงานด้วยความเสียสละ ในขณะที่ร้อยละ 8.6 เท่านั้นที่รู้สึกว่ารัฐบาลนี้เข้ามาเพื่อสืบทอดอำนาจและผลประโยชน์ ที่
เหลือร้อยละ 20.1 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.3 คิดว่าข่าวการปรากฎตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ตามประเทศต่างๆ รอบ
ประเทศไทยจะมีผลทำให้บรรยากาศการเมืองภายในประเทศแย่ลง ในขณะที่ร้อยละ 6.5 ไม่คิดว่ามีผล และร้อยละ 26.2 ไม่มีความเห็น เมื่อสอบถาม
ความคิดเห็นต่อการตัดสินใจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระหว่างน่าจะกลับมาทำงานการเมืองต่อกับเลิกยุ่งกับการเมือง ผลสำรวจพบว่า เกินกว่าครึ่ง
หนึ่งหรือร้อยละ 62.7 คิดว่าควรเลิกยุ่งกับการเมือง ร้อยละ 8.1 เท่านั้นที่คิดว่าควรกลับมาทำงานการเมืองต่อ และร้อยละ 29.2 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงความนิยมสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ เปรียบเทียบกับ พล.อ.สุรยุทธ์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.5 ให้ความ
นิยมสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในขณะที่ร้อยละ 15.8 นิยม พ.ต.ท.ทักษิณ และร้อยละ 13.7 ไม่ระบุ ตามลำดับ เมื่อนำวิเคราะห์แนวโน้ม
ความนิยมของ พ.ต.ท.ทักษิณ และพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ พบว่า แนวโน้มความนิยมของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ลดต่ำสุดในรอบ 6 ปีที่เคยทำ
สำรวจมา ขณะที่แนวโน้มความนิยมของประชาชนต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ กลับเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าการสำรวจช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยได้รับแรง
สนับสนุนจากประชาชนในภาคใต้ร้อยละ 81.9 ภาคกลางร้อยละ 68.6 กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 69.8 และแม้แต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็สนับสนุน
เกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 57.2 ในขณะที่คนในภาคเหนือสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ร้อยละ 48.8
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้พอสรุปได้สองประเด็นสำคัญใหญ่ๆ คือ
1) ยิ่งมีข่าวการเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ดูเหมือนพยายามใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่จะไม่ให้ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายลืม แต่
อาจกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาชนมองว่าข่าวการเคลื่อนไหวเหล่านั้นทำให้บรรยากาศการเมืองปั่นป่วน เพราะประชาชนคนไทยส่วนใหญ่รักความ
สงบกลัวการเคลื่อนไหวชุมนุมยิ่งกว่ากฎอัยการศึกเสียด้วยซ้ำ จึงอาจส่งผลทำให้ความนิยมศรัทธาของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ตกต่ำลง อันที่จริง
เรื่องปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเชิงนโยบายอาจถูกประชาชนจำนวนมากมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ดังนั้นถ้าต้องการรักษาเรตติ้งของตนเองน่าจะนำเงินส่วนตัวที่
มีอยู่มหาศาลช่วยเหลือบริจาคให้ประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วมและที่กำลังเป็นหนี้สินอยู่หรือตั้งเป็นมูลนิธิช่วยเหลือประชาชน อาจได้ผลดีกว่าอาศัยกลยุทธ์
ทางการตลาดและจิตวิทยาการเมืองเช่นทุกวันนี้เพียงอย่างเดียว
2) กระแสนิยมสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ สวิงกลับมาสูงขึ้นน่าจะมีปัจจัยสำคัญหลายประการเช่น ประชาชนอาจเริ่มเห็นว่าพล.อ.สุ
รยุทธ์ มีความจริงใจ ซื่อสัตย์สุจริต และทุ่มเททำงานหนักอย่างเสียสละเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตสำคัญของประเทศมากมาย มากกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เห็นภาพ
ของการช็อปปิ้ง ตีกอล์ฟ หาความสุขท่องเที่ยวต่างประเทศไปเรื่อยๆ ประชาชนส่วนใหญ่จึงเริ่มเข้าใจเห็นใจและเทคะแนนนิยมสนับสนุนนายกรัฐมนตรีคน
ปัจจุบันมากกว่า
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม พล.อ.สุรยุทธ์ คณะรัฐมนตรี และกลไกลต่างๆ ของรัฐ ยังคงต้องทำงานอย่างหนักต่อเนื่องเพื่อ
รักษาเสถียรภาพทางการเมืองและแรงสนับสนุนจากประชาชนขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะจากรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลควรเร่งแก้ปัญหาระดับ
ชุมชนให้ทั่วถึงและเท่าเทียม นโยบายทางสังคมหลายด้านควรได้รับการนำไปสู่ภาคปฏิบัติอย่างเด่นชัดมากขึ้น เช่น การเยียวยาประชาชนผู้เดือดร้อนจาก
ภัยพิบัติและจากนโยบายหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ การจัดระเบียบสังคม การคุ้มครองรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชน การแก้ปัญหาความยากจน การแก้ปัญหา
ยาเสพติด การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นและการรีดไถประชาชนหรือผู้ประกอบการธุรกิจ เป็นต้น รัฐบาลควรแสดงท่าทีที่ชัดเจนว่ากล้าตัดสินใจปฏิรูปสังคม
ทั้งระบบโดยไม่คำนึงถึงแรงเสียดทานและอำนาจต่อรองจากกลุ่มผู้แสวงหาผลประโยชน์บนสภาพสึกกร่อนของคุณภาพประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ
รายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับบรรยากาศทางการเมืองในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความนิยมต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เปรียบเทียบกับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อบรรยากาศการเมืองขณะนี้
และความนิยมต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ เปรียบเทียบกับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนิน
โครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 18 — 25 พฤศจิกายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ ตาก พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ หนองบัวลำภู ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร
กระบี่ ชุมพร และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,195 คน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาด
เคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.5 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 47.5 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อย
ละ 6.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.0 อายุระหว่าง 21—30 ปี ร้อยละ 23.4 อายุระหว่าง 31—40 ปี ร้อยละ 22.4 อายุระหว่าง 41—50 ปี
และร้อยละ 28.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 84.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 14.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ
1.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ด้านสถานภาพ ตัวอย่างร้อยละ 25.5 ระบุสถานภาพสมรส ร้อยละ 67.1 ระบุสถานภาพโสด และร้อยละ
7.4 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่างร้อยละ 34.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 30.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไปร้อยละ 11.0 ระบุอาชีพ
พนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 9.1 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 5.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 5.6 เป็นนัก
เรียน/นักศึกษา และร้อยละ 4.2 ระบุว่างงาน นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.4 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล และร้อยละ 30.6 พักอาศัยในเขต
เทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 52.0
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 12.8
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 8.7
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์/ติดตามบ้างเป็นบางสัปดาห์ 21.3
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกต่อบรรยากาศการเมืองระหว่างเดือนมีนาคม กับเดือนพฤศจิกายน
ลำดับที่ อารมณ์ความรู้สึกของประชาชน มีนาคม พฤศจิกายน ส่วนต่าง
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 97.2 89.6 -7.6
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์ทางการเมือง 69.9 30.8 -39.1
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 43.2 23.3 -19.9
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวเรื่องการเมือง 14.1 5.4 -8.7
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านเรื่องการเมือง 16.2 3.9 -12.3
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานเรื่องการเมือง 17.2 3.5 -13.7
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อบรรยากาศทางการเมืองในขณะนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วงต้นปีที่มีการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ (ภาพรวม)
ลำดับที่ ความรู้สึกของประชาชน ค่าร้อยละ
1 บรรยากาศดีขึ้น 73.4
2 เหมือนเดิม 16.6
3 แย่ลง 10.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อบรรยากาศทางการเมืองในขณะนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วงต้นปีที่มีการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ (จำแนกตามภูมิภาค)
ลำดับที่ ความรู้สึกของประชาชน เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 บรรยากาศดีขึ้น 70.9 77.6 64.7 78.7 62.0
2 เหมือนเดิม 19.5 15.4 21.5 16.8 23.6
3 แย่ลง 9.6 7.0 13.8 4.5 14.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อบรรยากาศทางการเมืองในขณะนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วงต้นปีที่มีการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ จำแนกตามการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย
ลำดับที่ ความคิดเห็น เป็นสมาชิกไทยรักไทย ไม่ใช่สมาชิกไทยรักไทย
1 บรรยากาศดีขึ้น 62.1 72.3
2 เหมือนเดิม 23.9 18.4
3 แย่ลง 14.0 9.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อรัฐบาลในแนวทางการแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 74.4
2 ไม่เห็นด้วย 10.9
3 ไม่มีความเห็น 14.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ระหว่างการอาสาเข้ามา
ด้วยความเสียสละกับมีวัตถุประสงค์สืบทอดอำนาจและผลประโยชน์
ลำดับที่ ความรู้สึกของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รู้สึกว่ารัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อาสามาทำงานด้วยความเสียสละ 71.3
2 รู้สึกว่ารัฐบาลชุดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบทอดอำนาจและหาผลประโยชน์ 8.6
3 ไม่มีความเห็น 20.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อกรณีข่าวการปรากฎตัวของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
อดีตนายกรัฐมนตรี ตามประเทศต่างๆ รอบประเทศไทยจะมีผลทำให้บรรยากาศการเมือง
ภายในประเทศแย่ลงหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามีผลทำให้บรรยากาศการเมืองภายในประเทศแย่ลง 67.3
2 ไม่คิดว่ามีผล 6.5
3 ไม่มีความเห็น 26.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการตัดสินใจของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ระหว่าง
น่าจะกลับมาทำงานการเมืองต่อกับเลิกยุ่งกับการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 น่าจะกลับมาทำงานการเมืองต่อ 8.1
2 ควรเลิกยุ่งกับการเมือง 62.7
3 ไม่มีความเห็น 29.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมสนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณ เปรียบเทียบกับ พล.อ.สุรยุทธ์
ลำดับที่ บุคคล ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 15.8
2 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 70.5
3 ไม่ระบุ 13.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ เปรียบเทียบกับ พล.อ.สุรยุทธ์
จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ บุคคล เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 พ.ต.ท.ทักษิณ 14.6 8.2 30.1 2.7 18.5
2 พล.อ.สุรยุทธ์ 48.8 68.6 57.2 81.9 69.8
3 ไม่มีความเห็น 36.6 23.2 12.7 15.4 11.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
บรรยากาศการเมืองขณะนี้และความนิยมต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ เปรียบเทียบกับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัด
ทั่วประเทศ” จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 4,195 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 18 — 25 พฤศจิกายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการ
สำรวจมีดังนี้
ประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 70 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำ เมื่อสอบถามถึงอารมณ์ความรู้สึกต่อบรรยากาศการเมืองระหว่าง
เดือนมีนาคมกับเดือนพฤจิกายน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.6 เห็นว่าการเมืองยังคงเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ แต่ประเด็นที่น่าสนใจ
คือ ประชาชนจำนวนมากลดความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ทางการเมืองจากร้อยละ 69.9 ในเดือนมีนาคมที่มีวิกฤตการเมืองเหลือร้อยละ 30.8 ในเดือน
พฤศจิกายนหลังการยึดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณ สำหรับความเครียดของประชาชนเรื่องการเมืองลดลงจากร้อยละ 43.2 ในเดือนมีนาคม เหลือร้อยละ
23.3 ในเดือนพฤศจิกายน ความขัดแย้งกับคนในครอบครัวเรื่องการเมืองลดลงจากร้อยละ 14.1 ในเดือนมีนาคมเหลือร้อยละ 5.4 ในเดือน
พฤศจิกายน ความขัดแย้งกับเพื่อนบ้านเรื่องการเมืองลดลงจากร้อยละ 16.2 เหลือร้อยละ 3.9 และความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานเรื่องการเมืองลดลง
จากร้อยละ 17.2 เหลือร้อยละ 3.5 ในการสำรวจล่าสุด
เมื่อสอบถามความรู้สึกของประชาชนต่อบรรยากาศทางการเมืองเปรียบเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ
73.4 รู้สึกว่าบรรยากาศทางการเมืองดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 16.6 รู้สึกว่าเหมือนเดิม และร้อยละ 10.0 รู้สึกว่าแย่ลง ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วน
ใหญ่ในทุกภูมิภาคของประเทศรู้สึกว่าบรรยากาศทางการเมืองขณะนี้ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา คือร้อยละ 78.7 ของคนภาคใต้ รองลงมา
คือภาคกลางร้อยละ 77.6 ภาคเหนือร้อยละ 70.9 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 64.7 และกรุงเทพมหานครร้อยละ 62.0 ประเด็นที่น่าสนใจคือ
แม้แต่ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.1 ของตัวอย่างที่เป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยยังรู้สึก
ว่าบรรยากาศทางการเมืองขณะนี้ดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 72.3 ของผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยรู้สึกว่าบรรยากาศขณะนี้ดีขึ้น
เมื่อสอบถามความเห็นต่อรัฐบาลในแนวทางการแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.4 เห็นด้วยกับ
แนวทางของรัฐบาลในขณะนี้ ขณะที่ร้อยละ 10.9 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 14.7 ไม่มีความเห็น เมื่อสอบถามว่ารู้สึกอย่างไรต่อรัฐบาล พล.อ.สุ
รยุทธ์ จุลานนท์ ระหว่างการอาสามาทำงานด้วยความเสียสละกับมีวัตถุประสงค์สืบทอดอำนาจหาผลประโยชน์ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
71.3 รู้สึกว่ารัฐบาลชุดนี้อาสามาทำงานด้วยความเสียสละ ในขณะที่ร้อยละ 8.6 เท่านั้นที่รู้สึกว่ารัฐบาลนี้เข้ามาเพื่อสืบทอดอำนาจและผลประโยชน์ ที่
เหลือร้อยละ 20.1 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.3 คิดว่าข่าวการปรากฎตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ตามประเทศต่างๆ รอบ
ประเทศไทยจะมีผลทำให้บรรยากาศการเมืองภายในประเทศแย่ลง ในขณะที่ร้อยละ 6.5 ไม่คิดว่ามีผล และร้อยละ 26.2 ไม่มีความเห็น เมื่อสอบถาม
ความคิดเห็นต่อการตัดสินใจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระหว่างน่าจะกลับมาทำงานการเมืองต่อกับเลิกยุ่งกับการเมือง ผลสำรวจพบว่า เกินกว่าครึ่ง
หนึ่งหรือร้อยละ 62.7 คิดว่าควรเลิกยุ่งกับการเมือง ร้อยละ 8.1 เท่านั้นที่คิดว่าควรกลับมาทำงานการเมืองต่อ และร้อยละ 29.2 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงความนิยมสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ เปรียบเทียบกับ พล.อ.สุรยุทธ์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.5 ให้ความ
นิยมสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในขณะที่ร้อยละ 15.8 นิยม พ.ต.ท.ทักษิณ และร้อยละ 13.7 ไม่ระบุ ตามลำดับ เมื่อนำวิเคราะห์แนวโน้ม
ความนิยมของ พ.ต.ท.ทักษิณ และพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ พบว่า แนวโน้มความนิยมของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ลดต่ำสุดในรอบ 6 ปีที่เคยทำ
สำรวจมา ขณะที่แนวโน้มความนิยมของประชาชนต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ กลับเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าการสำรวจช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยได้รับแรง
สนับสนุนจากประชาชนในภาคใต้ร้อยละ 81.9 ภาคกลางร้อยละ 68.6 กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 69.8 และแม้แต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็สนับสนุน
เกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 57.2 ในขณะที่คนในภาคเหนือสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ร้อยละ 48.8
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้พอสรุปได้สองประเด็นสำคัญใหญ่ๆ คือ
1) ยิ่งมีข่าวการเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ดูเหมือนพยายามใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่จะไม่ให้ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายลืม แต่
อาจกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาชนมองว่าข่าวการเคลื่อนไหวเหล่านั้นทำให้บรรยากาศการเมืองปั่นป่วน เพราะประชาชนคนไทยส่วนใหญ่รักความ
สงบกลัวการเคลื่อนไหวชุมนุมยิ่งกว่ากฎอัยการศึกเสียด้วยซ้ำ จึงอาจส่งผลทำให้ความนิยมศรัทธาของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ตกต่ำลง อันที่จริง
เรื่องปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเชิงนโยบายอาจถูกประชาชนจำนวนมากมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ดังนั้นถ้าต้องการรักษาเรตติ้งของตนเองน่าจะนำเงินส่วนตัวที่
มีอยู่มหาศาลช่วยเหลือบริจาคให้ประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วมและที่กำลังเป็นหนี้สินอยู่หรือตั้งเป็นมูลนิธิช่วยเหลือประชาชน อาจได้ผลดีกว่าอาศัยกลยุทธ์
ทางการตลาดและจิตวิทยาการเมืองเช่นทุกวันนี้เพียงอย่างเดียว
2) กระแสนิยมสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ สวิงกลับมาสูงขึ้นน่าจะมีปัจจัยสำคัญหลายประการเช่น ประชาชนอาจเริ่มเห็นว่าพล.อ.สุ
รยุทธ์ มีความจริงใจ ซื่อสัตย์สุจริต และทุ่มเททำงานหนักอย่างเสียสละเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตสำคัญของประเทศมากมาย มากกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เห็นภาพ
ของการช็อปปิ้ง ตีกอล์ฟ หาความสุขท่องเที่ยวต่างประเทศไปเรื่อยๆ ประชาชนส่วนใหญ่จึงเริ่มเข้าใจเห็นใจและเทคะแนนนิยมสนับสนุนนายกรัฐมนตรีคน
ปัจจุบันมากกว่า
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม พล.อ.สุรยุทธ์ คณะรัฐมนตรี และกลไกลต่างๆ ของรัฐ ยังคงต้องทำงานอย่างหนักต่อเนื่องเพื่อ
รักษาเสถียรภาพทางการเมืองและแรงสนับสนุนจากประชาชนขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะจากรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลควรเร่งแก้ปัญหาระดับ
ชุมชนให้ทั่วถึงและเท่าเทียม นโยบายทางสังคมหลายด้านควรได้รับการนำไปสู่ภาคปฏิบัติอย่างเด่นชัดมากขึ้น เช่น การเยียวยาประชาชนผู้เดือดร้อนจาก
ภัยพิบัติและจากนโยบายหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ การจัดระเบียบสังคม การคุ้มครองรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชน การแก้ปัญหาความยากจน การแก้ปัญหา
ยาเสพติด การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นและการรีดไถประชาชนหรือผู้ประกอบการธุรกิจ เป็นต้น รัฐบาลควรแสดงท่าทีที่ชัดเจนว่ากล้าตัดสินใจปฏิรูปสังคม
ทั้งระบบโดยไม่คำนึงถึงแรงเสียดทานและอำนาจต่อรองจากกลุ่มผู้แสวงหาผลประโยชน์บนสภาพสึกกร่อนของคุณภาพประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ
รายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับบรรยากาศทางการเมืองในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความนิยมต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เปรียบเทียบกับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อบรรยากาศการเมืองขณะนี้
และความนิยมต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ เปรียบเทียบกับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนิน
โครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 18 — 25 พฤศจิกายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ ตาก พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ หนองบัวลำภู ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร
กระบี่ ชุมพร และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,195 คน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาด
เคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.5 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 47.5 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อย
ละ 6.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.0 อายุระหว่าง 21—30 ปี ร้อยละ 23.4 อายุระหว่าง 31—40 ปี ร้อยละ 22.4 อายุระหว่าง 41—50 ปี
และร้อยละ 28.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 84.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 14.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ
1.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ด้านสถานภาพ ตัวอย่างร้อยละ 25.5 ระบุสถานภาพสมรส ร้อยละ 67.1 ระบุสถานภาพโสด และร้อยละ
7.4 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่างร้อยละ 34.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 30.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไปร้อยละ 11.0 ระบุอาชีพ
พนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 9.1 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 5.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 5.6 เป็นนัก
เรียน/นักศึกษา และร้อยละ 4.2 ระบุว่างงาน นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.4 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล และร้อยละ 30.6 พักอาศัยในเขต
เทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 52.0
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 12.8
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 8.7
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์/ติดตามบ้างเป็นบางสัปดาห์ 21.3
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกต่อบรรยากาศการเมืองระหว่างเดือนมีนาคม กับเดือนพฤศจิกายน
ลำดับที่ อารมณ์ความรู้สึกของประชาชน มีนาคม พฤศจิกายน ส่วนต่าง
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 97.2 89.6 -7.6
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์ทางการเมือง 69.9 30.8 -39.1
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 43.2 23.3 -19.9
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวเรื่องการเมือง 14.1 5.4 -8.7
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านเรื่องการเมือง 16.2 3.9 -12.3
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานเรื่องการเมือง 17.2 3.5 -13.7
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อบรรยากาศทางการเมืองในขณะนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วงต้นปีที่มีการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ (ภาพรวม)
ลำดับที่ ความรู้สึกของประชาชน ค่าร้อยละ
1 บรรยากาศดีขึ้น 73.4
2 เหมือนเดิม 16.6
3 แย่ลง 10.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อบรรยากาศทางการเมืองในขณะนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วงต้นปีที่มีการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ (จำแนกตามภูมิภาค)
ลำดับที่ ความรู้สึกของประชาชน เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 บรรยากาศดีขึ้น 70.9 77.6 64.7 78.7 62.0
2 เหมือนเดิม 19.5 15.4 21.5 16.8 23.6
3 แย่ลง 9.6 7.0 13.8 4.5 14.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อบรรยากาศทางการเมืองในขณะนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วงต้นปีที่มีการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ จำแนกตามการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย
ลำดับที่ ความคิดเห็น เป็นสมาชิกไทยรักไทย ไม่ใช่สมาชิกไทยรักไทย
1 บรรยากาศดีขึ้น 62.1 72.3
2 เหมือนเดิม 23.9 18.4
3 แย่ลง 14.0 9.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อรัฐบาลในแนวทางการแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 74.4
2 ไม่เห็นด้วย 10.9
3 ไม่มีความเห็น 14.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ระหว่างการอาสาเข้ามา
ด้วยความเสียสละกับมีวัตถุประสงค์สืบทอดอำนาจและผลประโยชน์
ลำดับที่ ความรู้สึกของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รู้สึกว่ารัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อาสามาทำงานด้วยความเสียสละ 71.3
2 รู้สึกว่ารัฐบาลชุดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบทอดอำนาจและหาผลประโยชน์ 8.6
3 ไม่มีความเห็น 20.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อกรณีข่าวการปรากฎตัวของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
อดีตนายกรัฐมนตรี ตามประเทศต่างๆ รอบประเทศไทยจะมีผลทำให้บรรยากาศการเมือง
ภายในประเทศแย่ลงหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามีผลทำให้บรรยากาศการเมืองภายในประเทศแย่ลง 67.3
2 ไม่คิดว่ามีผล 6.5
3 ไม่มีความเห็น 26.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการตัดสินใจของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ระหว่าง
น่าจะกลับมาทำงานการเมืองต่อกับเลิกยุ่งกับการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 น่าจะกลับมาทำงานการเมืองต่อ 8.1
2 ควรเลิกยุ่งกับการเมือง 62.7
3 ไม่มีความเห็น 29.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมสนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณ เปรียบเทียบกับ พล.อ.สุรยุทธ์
ลำดับที่ บุคคล ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 15.8
2 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 70.5
3 ไม่ระบุ 13.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ เปรียบเทียบกับ พล.อ.สุรยุทธ์
จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ บุคคล เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 พ.ต.ท.ทักษิณ 14.6 8.2 30.1 2.7 18.5
2 พล.อ.สุรยุทธ์ 48.8 68.6 57.2 81.9 69.8
3 ไม่มีความเห็น 36.6 23.2 12.7 15.4 11.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-