ที่มาของโครงการ
ถึงแม้ว่าจะเหลือเวลาอีกเพียง 6 วันก็จะถึงวันเลือกตั้ง ส.ส.ตามที่ กกต. ประกาศไว้ หากแต่สถานการณ์ทางการเมืองก็ยังไม่มีทีท่า
ว่าจะสามารถหาทางออกที่เป็นข้อยุติของปัญหาได้ ซึ่งสถานการณ์ต่างๆ ดังกล่าวนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน และสร้าง
ความสับสนให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกตั้ง ส.ส.ที่จะมาถึงในวันที่ 2 เมษายนนี้ เพราะในขณะที่รัฐบาลได้
พยายามรณรงค์ให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน โดยได้มีการเสนอแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติภายหลังการเลือกตั้ง
แต่อีกด้านหนึ่งนั้น กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็มีการเคลื่อนย้ายกลุ่มผู้ชุมนุมไปยังสถานที่ต่างๆ และยังคงยืนยันในข้อเรียกร้องนายก
รัฐมนตรีพระราชทานต่อไปอย่างไม่ลดละ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน ตลอดจนความคิดเห็นต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุก
ฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่
และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองที่กำลังเกิดขึ้น
3. เพื่อสำรวจความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งของประชาชนในวันที่ 2 เมษายน 2549
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้องนำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “การเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมไม่สนับสนุนนายก
รัฐมนตรีกับความตั้งใจของประชาชนในการเลือกตั้ง: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจในวันที่ 27 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,116 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 3.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 25.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และ ร้อยละ 3.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.4 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 19.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 11.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.5 ระบุเป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.0 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
และ ร้อยละ 2.1 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “การเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมไม่สนับสนุนนายก
รัฐมนตรีกับความตั้งใจของประชาชนในการเลือกตั้ง” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,116 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 27 มีนาคม 2549
ดร.นพดล กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.7 ยังคงติดตามข่าวการเมืองทุกวันหรือเกือบทุกวัน ร้อยละ 14.7 ระบุติดตาม
3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 11.7 ระบุติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 3.9 ระบุไม่ได้ติดตามเลย อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่คิดว่า
สถานการณ์การเมืองขณะนี้อยู่ในขั้นวิกฤตแล้วมีจำนวนไม่แตกต่างกับกลุ่มประชาชนที่คิดว่ายังไม่วิกฤตคือร้อยละ 41.9 กับร้อยละ 42.1 ในขณะที่ร้อยละ
16.0 ไม่มีความเห็น
“ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ การใช้ยุทธวิธีเคลื่อนไหวแบบดาวกระจายของกลุ่มผู้ชุมนุมไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีดูจะไม่ได้รับการสนับสนุนจาก
สาธารณชนในภาพรวม ซึ่งผลสำรวจล่าสุดพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.1 ระบุไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนย้ายกลุ่มผู้ชุมนุมไปตามจุดต่างๆ
เช่น ห้างสรรพสินค้าบนถนนสีลมและถนนสุขุมวิท และผลสำรวจยังพบอีกว่าประชาชนเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 56.3 ไม่สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มเรียก
ร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก นั่นอาจกล่าวได้ว่า ยิ่งกลุ่มพันธมิตรเคลื่อนย้ายกลุ่มผู้ชุมนุม ยิ่งจะทำให้เสียแนวร่วมของสาธารณชนในการสนับสนุน
เจตนารมณ์สำคัญเพื่อปฏิรูปการเมือง” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า แนวโน้มความคิดเห็นและอารมณ์ของสาธารณชนในการสนับสนุนเป้าหมายของกลุ่ม
พันธมิตรลดต่ำลงแตกต่างกับการชุมนุมในบริเวณจำกัดที่ส่งผลทำให้กลุ่มพลังเงียบผู้ไม่แสดงตนในที่แจ้งอยู่เคียงข้างกลุ่มพันธมิตร และดูเหมือนว่าเกือบจะ
สำเร็จแล้วที่จะได้ใจและเสียงสนับสนุนของสาธารณชน แต่เมื่อเปรียบรูปแบบเป็นดาวกระจายส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ที่มีความเดือดร้อนอันดับแรกเป็นเรื่องปัญหาจราจรอยู่แล้ว อารมณ์และความคิดเห็นของคนกรุงฯ จึงถดถอยไปจากฐานการสนับสนุนกลุ่มพันธมิตร
“ถ้าสังเกตให้ดีว่าเส้นทางที่กลุ่มพันธมิตรฯ เคลื่อนย้ายเป็นเส้นทางของกลุ่มคนชั้นกลางขึ้นไปสัญจรไปมา ผ่านที่ทำงาน สถานศึกษา โรง
พยาบาล และห้างสรรพสินค้า คนกลุ่มนี้เดิมทีเกินกว่าครึ่งที่สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรซึ่งถือว่าเป็นฐานกำลังสำคัญของการชุมนุม ไม่ใช่กลุ่มคนระดับรากฐาน
ส่วนใหญ่ของสังคม การเคลื่อนย้ายที่ไปกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันของพวกเขาจึงทำให้เกิดความเครียดและไม่พอใจต่อกลุ่มพันธมิตรมากขึ้นไปอีกโดย
เฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจครั้งนี้จึงสะท้อนตัวชี้วัดหลายตัวไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับเป้าหมายหลายประการของการเคลื่อนไหว
ทางการเมืองโดยแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ อาทิ แนวโน้มของความตั้งใจของประชาชนที่จะไปเลือกตั้งอย่างแน่นอนสูงขึ้นจากร้อยละ 41.4 ในวันที่ 25
มีนาคม มาอยู่ที่ 64.8 ในการสำรวจครั้งล่าสุด โดยจะไปเลือกพรรคที่ชอบร้อยละ 40 กว่าในขณะที่แนวโน้มของกลุ่มคนที่จะงดการลงคะแนนลดต่ำลง
จากร้อยละ 25.6 เหลือร้อยละ 22.6
“ยิ่งพิจารณาแนวโน้มความคิดเห็นของสาธารณชนกรณีนายกรัฐมนตรีควรลาออก และความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ยิ่งจะเห็น
ความชัดเจนว่าแนวโน้มต่อการเรียกร้องประเด็นสำคัญทั้งสองเหล่านี้ลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัดเจนในการสำรวจครั้งล่าสุด ซึ่งไม่ได้เป็นไปในทิศทางที่กลุ่ม
ผู้ชุมนุมโดยแกนนำพันธมิตรฯ ตั้งเป้าหมายเอาไว้ ดังนั้นกลุ่มพันธมิตรฯ คงต้องปรับยุทธวิธีให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ควบคู่ไป
กับการตอกย้ำจุดยืนในการเคลื่อนไหวทางการเมือง ถ้าจะจัดรูปแบบดาวกระจายควรทำคล้ายๆ เวทีในพื้นที่จำกัดแล้วทำกิจกรรมรณรงค์ที่มีสีสันดึงดูดใจ
ให้ความบันเทิงไปพร้อมๆ กับเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่อยู่บนพื้นฐานของความสงบเรียบร้อย ก็จะสอดคล้องกับบรรยากาศของความ
ตึงเครียดและวิถีชีวิตของคนเมืองหลวง เสียงสนับสนุนน่าจะกลับมาเหมือนเดิมหรืออาจจะมากกว่าก็ได้” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สำหรับแนวคิดเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ การประกาศภาวะฉุกเฉิน และการเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบกรณี
ศาลปกครองสูงสุดเพิกถอน 2 พระราชกฤษฎีกาการแปรรูป กฟผ. นั้น ผลสำรวจครั้งนี้ พบว่า ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 37.2 คิดว่า
แนวคิดเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติเป็นเกมการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 22.1 คิดว่าเป็นความจริงใจในการปฏิรูปการเมือง และร้อยละ 40.7 ไม่มี
ความเห็น สำหรับการประกาศภาวะฉุกเฉินนั้น ผลสำรวจพบว่าประชาชนเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.2 ไม่สนับสนุนถึงไม่สนับสนุนเลย ในขณะที่ร้อยละ
19.0 สนับสนุนถึงสนับสนุนอย่างยิ่ง และร้อยละ 27.8 ไม่มีความเห็น เมื่อสอบถามถึงการเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบกรณีศาลปกครองสูงสุดเพิก
ถอน 2 พระราชกฤษฎีกาแปรรูป กฟผ.นั้น ผลสำรวจพบว่าร้อยละ 31.3 ระบุต้องรับผิดชอบ ในขณะที่ร้อยละ 16.0 ระบุไม่ต้องรับผิดชอบ
และร้อยละ 52.7 ไม่มีความคิดเห็น
“ผลกระทบจากการเคลื่อนย้ายกลุ่มผู้ชุมนุมแบบดาวกระจาย อาจส่งผลทำให้แนวร่วมจากกลุ่มคนชั้นกลางขึ้นไป ในเป้าหมายสำคัญของการ
เคลื่อนไหวโดยกลุ่มพันธมิตรฯลดลง ดังนั้นกลุ่มพันธมิตรฯ จำเป็นต้องปรับรูปแบบของการเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อดึงสาธารณชนที่เป็นพลังเงียบไม่
แสดงตนในที่แจ้งกลับคืนมา ในขณะที่รัฐบาลควรทำงานอย่างหนักเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเรื่องปากท้องของประชาชน และไม่ตอบโต้ที่เป็นการยั่วยุ
ให้เกิดความโกรธแค้นและแตกแยกในสังคม การเปลี่ยนแปลงการเมืองเพื่อการปฏิรูปรอบใหม่ จึงน่าจะเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ควบคู่ไปกับ
ความชอบธรรมและความโปร่งใสในการปกครอง เพราะการเมืองภาคประชาชนเข้มแข็งตามระบอบประชาธิปไตย” ดร.นพดล กล่าวสรุป
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 69.7
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 14.7
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 11.7
4 ไม่ได้ติดตามเลย 3.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้ ร้อยละ
1 อยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว 41.9
2 ยังไม่วิกฤต 42.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 16.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นในการสนับสนุนการชุมนุมเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 สนับสนุน 19.9
2 ไม่สนับสนุน 56.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 23.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีกลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อนย้ายการชุมนุมไปตาม
ห้างสรรพสินค้าต่างๆ บนถนนสีลมและสุขุมวิท
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 เห็นด้วย 13.0
2 ไม่เห็นด้วย 71.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 15.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้รับทราบต่อวันเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 2 เมษายน
ลำดับที่ การรับรู้รับทราบต่อวันเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 2 เมษายน ร้อยละ
1 ทราบ 96.2
2 ไม่ทราบ 3.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
ความตั้งใจของตัวอย่าง 1 มี.ค. 49 18 มี.ค. 49 21 มี.ค. 49 25 มี.ค. 49 27 มี.ค. 49
1.ไปแน่นอน 57.3 47.8 65.2 41.4 64.8
2.ไม่ไป 18.0 15.1 18.8 15.0 11.6
3.ไม่แน่ใจ 24.7 37.1 16.0 43.6 23.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการลงคะแนน ถ้าหากว่าไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ วิธีการลงคะแนน ถ้าหากว่าไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 25 มี.ค.49ค่าร้อยละ 27 มี.ค.49ค่าร้อยละ
1 เลือกพรรคที่ตั้งใจจะเลือก 46.0 41.3
2 งดลงคะแนน 25.6 22.6
3 ยังไม่ได้ตัดสินใจ 28.4 36.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการลาออกของนายกรัฐมนตรีในขณะนี้
ความคิดเห็น 2 ก.พ.49 4 ก.พ.49 8 ก.พ.49 1 มี.ค.49 6 มี.ค.49
1.ควรลาออก 15.5 14.6 14.2 39.1 48.2
2.ไม่ควรลาออก 49.2 47.0 66.2 42.8 35.5
3.ไม่มีความเห็น 35.3 38.4 19.6 18.1 16.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคิดเห็น 14มี.ค.49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค. 49 27 มี.ค. 49
1.ควรลาออก 36.4 31.7 28.1 27.2 25.8
2.ไม่ควรลาออก 40.5 45.9 47.2 41.6 41.9
3.ไม่มีความเห็น 23.1 22.4 24.7 31.2 32.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี
ความเห็นของตัวอย่าง 1 มี.ค.49ร้อยละ 6 มี.ค. 49ร้อยละ 20 มี.ค.49ร้อยละ 22 มี.ค.49ร้อยละ 25 มี.ค.49ร้อยละ 27 มี.ค.49ร้อยละ
1.เห็นด้วย 38.5 46.1 37.0 30.3 27.2 24.1
2.ไม่เห็นด้วย 24.2 20.2 26.0 23.2 34.3 37.8
3.ไม่มีความเห็น 37.3 33.7 37.0 46.5 38.5 38.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อแนวคิดการตั้งรัฐบาลแห่งชาติเป็นเกมการเมืองหรือความจริงใจในการปฏิรูปการเมือง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นเกมการเมือง 37.2
2 คิดว่าเป็นความจริงใจในการปฏิรูปการเมือง 22.1
3 ไม่มีความเห็น 40.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นถ้ารัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นถ้ารัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 4.3
2 สนับสนุน 14.7
3 ไม่สนับสนุน 37.7
4 ไม่สนับสนุนเลย 15.5
5 ไม่มีความเห็น 27.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการออกมารับผิดชอบ
หลังจากศาลปกครองสูงสุดเพิกถอน 2 พระราชกฤษฎีกาการแปรรูป กฟผ.
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ต้องรับผิดชอบ ด้วยการ ลาออกทั้งคณะ/ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริง-
ให้ประชาชนรับทราบ/แก้ไขข้อบกพร่องของการแปรรูป 31.3
2 ไม่ต้องรับผิดชอบ 16.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 52.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ถึงแม้ว่าจะเหลือเวลาอีกเพียง 6 วันก็จะถึงวันเลือกตั้ง ส.ส.ตามที่ กกต. ประกาศไว้ หากแต่สถานการณ์ทางการเมืองก็ยังไม่มีทีท่า
ว่าจะสามารถหาทางออกที่เป็นข้อยุติของปัญหาได้ ซึ่งสถานการณ์ต่างๆ ดังกล่าวนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน และสร้าง
ความสับสนให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกตั้ง ส.ส.ที่จะมาถึงในวันที่ 2 เมษายนนี้ เพราะในขณะที่รัฐบาลได้
พยายามรณรงค์ให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน โดยได้มีการเสนอแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติภายหลังการเลือกตั้ง
แต่อีกด้านหนึ่งนั้น กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็มีการเคลื่อนย้ายกลุ่มผู้ชุมนุมไปยังสถานที่ต่างๆ และยังคงยืนยันในข้อเรียกร้องนายก
รัฐมนตรีพระราชทานต่อไปอย่างไม่ลดละ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน ตลอดจนความคิดเห็นต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุก
ฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่
และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองที่กำลังเกิดขึ้น
3. เพื่อสำรวจความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งของประชาชนในวันที่ 2 เมษายน 2549
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้องนำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “การเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมไม่สนับสนุนนายก
รัฐมนตรีกับความตั้งใจของประชาชนในการเลือกตั้ง: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจในวันที่ 27 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,116 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 3.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 25.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และ ร้อยละ 3.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.4 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 19.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 11.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.5 ระบุเป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.0 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
และ ร้อยละ 2.1 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “การเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมไม่สนับสนุนนายก
รัฐมนตรีกับความตั้งใจของประชาชนในการเลือกตั้ง” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,116 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 27 มีนาคม 2549
ดร.นพดล กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.7 ยังคงติดตามข่าวการเมืองทุกวันหรือเกือบทุกวัน ร้อยละ 14.7 ระบุติดตาม
3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 11.7 ระบุติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 3.9 ระบุไม่ได้ติดตามเลย อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่คิดว่า
สถานการณ์การเมืองขณะนี้อยู่ในขั้นวิกฤตแล้วมีจำนวนไม่แตกต่างกับกลุ่มประชาชนที่คิดว่ายังไม่วิกฤตคือร้อยละ 41.9 กับร้อยละ 42.1 ในขณะที่ร้อยละ
16.0 ไม่มีความเห็น
“ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ การใช้ยุทธวิธีเคลื่อนไหวแบบดาวกระจายของกลุ่มผู้ชุมนุมไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีดูจะไม่ได้รับการสนับสนุนจาก
สาธารณชนในภาพรวม ซึ่งผลสำรวจล่าสุดพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.1 ระบุไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนย้ายกลุ่มผู้ชุมนุมไปตามจุดต่างๆ
เช่น ห้างสรรพสินค้าบนถนนสีลมและถนนสุขุมวิท และผลสำรวจยังพบอีกว่าประชาชนเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 56.3 ไม่สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มเรียก
ร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก นั่นอาจกล่าวได้ว่า ยิ่งกลุ่มพันธมิตรเคลื่อนย้ายกลุ่มผู้ชุมนุม ยิ่งจะทำให้เสียแนวร่วมของสาธารณชนในการสนับสนุน
เจตนารมณ์สำคัญเพื่อปฏิรูปการเมือง” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า แนวโน้มความคิดเห็นและอารมณ์ของสาธารณชนในการสนับสนุนเป้าหมายของกลุ่ม
พันธมิตรลดต่ำลงแตกต่างกับการชุมนุมในบริเวณจำกัดที่ส่งผลทำให้กลุ่มพลังเงียบผู้ไม่แสดงตนในที่แจ้งอยู่เคียงข้างกลุ่มพันธมิตร และดูเหมือนว่าเกือบจะ
สำเร็จแล้วที่จะได้ใจและเสียงสนับสนุนของสาธารณชน แต่เมื่อเปรียบรูปแบบเป็นดาวกระจายส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ที่มีความเดือดร้อนอันดับแรกเป็นเรื่องปัญหาจราจรอยู่แล้ว อารมณ์และความคิดเห็นของคนกรุงฯ จึงถดถอยไปจากฐานการสนับสนุนกลุ่มพันธมิตร
“ถ้าสังเกตให้ดีว่าเส้นทางที่กลุ่มพันธมิตรฯ เคลื่อนย้ายเป็นเส้นทางของกลุ่มคนชั้นกลางขึ้นไปสัญจรไปมา ผ่านที่ทำงาน สถานศึกษา โรง
พยาบาล และห้างสรรพสินค้า คนกลุ่มนี้เดิมทีเกินกว่าครึ่งที่สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรซึ่งถือว่าเป็นฐานกำลังสำคัญของการชุมนุม ไม่ใช่กลุ่มคนระดับรากฐาน
ส่วนใหญ่ของสังคม การเคลื่อนย้ายที่ไปกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันของพวกเขาจึงทำให้เกิดความเครียดและไม่พอใจต่อกลุ่มพันธมิตรมากขึ้นไปอีกโดย
เฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจครั้งนี้จึงสะท้อนตัวชี้วัดหลายตัวไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับเป้าหมายหลายประการของการเคลื่อนไหว
ทางการเมืองโดยแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ อาทิ แนวโน้มของความตั้งใจของประชาชนที่จะไปเลือกตั้งอย่างแน่นอนสูงขึ้นจากร้อยละ 41.4 ในวันที่ 25
มีนาคม มาอยู่ที่ 64.8 ในการสำรวจครั้งล่าสุด โดยจะไปเลือกพรรคที่ชอบร้อยละ 40 กว่าในขณะที่แนวโน้มของกลุ่มคนที่จะงดการลงคะแนนลดต่ำลง
จากร้อยละ 25.6 เหลือร้อยละ 22.6
“ยิ่งพิจารณาแนวโน้มความคิดเห็นของสาธารณชนกรณีนายกรัฐมนตรีควรลาออก และความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ยิ่งจะเห็น
ความชัดเจนว่าแนวโน้มต่อการเรียกร้องประเด็นสำคัญทั้งสองเหล่านี้ลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัดเจนในการสำรวจครั้งล่าสุด ซึ่งไม่ได้เป็นไปในทิศทางที่กลุ่ม
ผู้ชุมนุมโดยแกนนำพันธมิตรฯ ตั้งเป้าหมายเอาไว้ ดังนั้นกลุ่มพันธมิตรฯ คงต้องปรับยุทธวิธีให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ควบคู่ไป
กับการตอกย้ำจุดยืนในการเคลื่อนไหวทางการเมือง ถ้าจะจัดรูปแบบดาวกระจายควรทำคล้ายๆ เวทีในพื้นที่จำกัดแล้วทำกิจกรรมรณรงค์ที่มีสีสันดึงดูดใจ
ให้ความบันเทิงไปพร้อมๆ กับเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่อยู่บนพื้นฐานของความสงบเรียบร้อย ก็จะสอดคล้องกับบรรยากาศของความ
ตึงเครียดและวิถีชีวิตของคนเมืองหลวง เสียงสนับสนุนน่าจะกลับมาเหมือนเดิมหรืออาจจะมากกว่าก็ได้” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สำหรับแนวคิดเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ การประกาศภาวะฉุกเฉิน และการเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบกรณี
ศาลปกครองสูงสุดเพิกถอน 2 พระราชกฤษฎีกาการแปรรูป กฟผ. นั้น ผลสำรวจครั้งนี้ พบว่า ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 37.2 คิดว่า
แนวคิดเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติเป็นเกมการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 22.1 คิดว่าเป็นความจริงใจในการปฏิรูปการเมือง และร้อยละ 40.7 ไม่มี
ความเห็น สำหรับการประกาศภาวะฉุกเฉินนั้น ผลสำรวจพบว่าประชาชนเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.2 ไม่สนับสนุนถึงไม่สนับสนุนเลย ในขณะที่ร้อยละ
19.0 สนับสนุนถึงสนับสนุนอย่างยิ่ง และร้อยละ 27.8 ไม่มีความเห็น เมื่อสอบถามถึงการเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบกรณีศาลปกครองสูงสุดเพิก
ถอน 2 พระราชกฤษฎีกาแปรรูป กฟผ.นั้น ผลสำรวจพบว่าร้อยละ 31.3 ระบุต้องรับผิดชอบ ในขณะที่ร้อยละ 16.0 ระบุไม่ต้องรับผิดชอบ
และร้อยละ 52.7 ไม่มีความคิดเห็น
“ผลกระทบจากการเคลื่อนย้ายกลุ่มผู้ชุมนุมแบบดาวกระจาย อาจส่งผลทำให้แนวร่วมจากกลุ่มคนชั้นกลางขึ้นไป ในเป้าหมายสำคัญของการ
เคลื่อนไหวโดยกลุ่มพันธมิตรฯลดลง ดังนั้นกลุ่มพันธมิตรฯ จำเป็นต้องปรับรูปแบบของการเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อดึงสาธารณชนที่เป็นพลังเงียบไม่
แสดงตนในที่แจ้งกลับคืนมา ในขณะที่รัฐบาลควรทำงานอย่างหนักเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเรื่องปากท้องของประชาชน และไม่ตอบโต้ที่เป็นการยั่วยุ
ให้เกิดความโกรธแค้นและแตกแยกในสังคม การเปลี่ยนแปลงการเมืองเพื่อการปฏิรูปรอบใหม่ จึงน่าจะเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ควบคู่ไปกับ
ความชอบธรรมและความโปร่งใสในการปกครอง เพราะการเมืองภาคประชาชนเข้มแข็งตามระบอบประชาธิปไตย” ดร.นพดล กล่าวสรุป
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 69.7
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 14.7
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 11.7
4 ไม่ได้ติดตามเลย 3.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้ ร้อยละ
1 อยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว 41.9
2 ยังไม่วิกฤต 42.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 16.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นในการสนับสนุนการชุมนุมเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 สนับสนุน 19.9
2 ไม่สนับสนุน 56.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 23.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีกลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อนย้ายการชุมนุมไปตาม
ห้างสรรพสินค้าต่างๆ บนถนนสีลมและสุขุมวิท
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 เห็นด้วย 13.0
2 ไม่เห็นด้วย 71.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 15.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้รับทราบต่อวันเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 2 เมษายน
ลำดับที่ การรับรู้รับทราบต่อวันเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 2 เมษายน ร้อยละ
1 ทราบ 96.2
2 ไม่ทราบ 3.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
ความตั้งใจของตัวอย่าง 1 มี.ค. 49 18 มี.ค. 49 21 มี.ค. 49 25 มี.ค. 49 27 มี.ค. 49
1.ไปแน่นอน 57.3 47.8 65.2 41.4 64.8
2.ไม่ไป 18.0 15.1 18.8 15.0 11.6
3.ไม่แน่ใจ 24.7 37.1 16.0 43.6 23.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการลงคะแนน ถ้าหากว่าไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ วิธีการลงคะแนน ถ้าหากว่าไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 25 มี.ค.49ค่าร้อยละ 27 มี.ค.49ค่าร้อยละ
1 เลือกพรรคที่ตั้งใจจะเลือก 46.0 41.3
2 งดลงคะแนน 25.6 22.6
3 ยังไม่ได้ตัดสินใจ 28.4 36.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการลาออกของนายกรัฐมนตรีในขณะนี้
ความคิดเห็น 2 ก.พ.49 4 ก.พ.49 8 ก.พ.49 1 มี.ค.49 6 มี.ค.49
1.ควรลาออก 15.5 14.6 14.2 39.1 48.2
2.ไม่ควรลาออก 49.2 47.0 66.2 42.8 35.5
3.ไม่มีความเห็น 35.3 38.4 19.6 18.1 16.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคิดเห็น 14มี.ค.49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค. 49 27 มี.ค. 49
1.ควรลาออก 36.4 31.7 28.1 27.2 25.8
2.ไม่ควรลาออก 40.5 45.9 47.2 41.6 41.9
3.ไม่มีความเห็น 23.1 22.4 24.7 31.2 32.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี
ความเห็นของตัวอย่าง 1 มี.ค.49ร้อยละ 6 มี.ค. 49ร้อยละ 20 มี.ค.49ร้อยละ 22 มี.ค.49ร้อยละ 25 มี.ค.49ร้อยละ 27 มี.ค.49ร้อยละ
1.เห็นด้วย 38.5 46.1 37.0 30.3 27.2 24.1
2.ไม่เห็นด้วย 24.2 20.2 26.0 23.2 34.3 37.8
3.ไม่มีความเห็น 37.3 33.7 37.0 46.5 38.5 38.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อแนวคิดการตั้งรัฐบาลแห่งชาติเป็นเกมการเมืองหรือความจริงใจในการปฏิรูปการเมือง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นเกมการเมือง 37.2
2 คิดว่าเป็นความจริงใจในการปฏิรูปการเมือง 22.1
3 ไม่มีความเห็น 40.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นถ้ารัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นถ้ารัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 4.3
2 สนับสนุน 14.7
3 ไม่สนับสนุน 37.7
4 ไม่สนับสนุนเลย 15.5
5 ไม่มีความเห็น 27.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการออกมารับผิดชอบ
หลังจากศาลปกครองสูงสุดเพิกถอน 2 พระราชกฤษฎีกาการแปรรูป กฟผ.
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ต้องรับผิดชอบ ด้วยการ ลาออกทั้งคณะ/ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริง-
ให้ประชาชนรับทราบ/แก้ไขข้อบกพร่องของการแปรรูป 31.3
2 ไม่ต้องรับผิดชอบ 16.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 52.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-