ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อแนวทาง
การเลือกตั้งใหม่ คืนอำนาจให้กับประชาชนในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 26 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่
กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ พะเยา ลำปาง สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี เพชรบุรี ระยอง สุพรรณบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี
กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา มุกดาหาร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุดรธานี อุบลราชธานี ระนอง นครศรีธรรมราช และนราธิวาส จำนวนทั้ง
สิ้น 4,447 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการวันที่ 11-15 กันยายน 2551
ดร.นพดล กล่าวว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงวิกฤตการเมืองของโครงการวิจัยครั้งนี้เป็นโครงการที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก
ประชาชนในพื้นที่จำนวนจังหวัดมากที่สุดโครงการหนึ่ง แม้แต่ประชาชนในพื้นที่สีแดงของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็มีส่วนร่วมตอบแบบสอบถามทางการ
เมืองครั้งนี้ และพบว่า สิ่งที่น่าพิจารณาคือแนวโน้มความคิดเห็นของสาธารณชนต่อแนวทางการเลือกตั้งใหม่คืนอำนาจให้ประชาชนเป็นทางออกของ
สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 57.4 ในช่วงต้นเดือนกันยายน มาอยู่ที่ร้อยละ 69.7 ในการสำรวจครั้งล่าสุด โดยประชาชนที่เห็น
ว่าการเลือกตั้งใหม่เป็นทางออกของปัญหาการเมืองขณะนี้ เพราะ เป็นการรักษาระบอบประชาธิปไตย / ให้ประชาชนทั้งประเทศมีส่วนร่วมตัดสินใจแก้
ปัญหาการเมือง / เป็นทางออกที่ดีกว่าการยึดอำนาจหรือรัฐประหาร / ไม่มีทางออกอื่นที่ดีกว่า และน่าจะทำให้บ้านเมืองสงบสุขได้ เป็นต้น อย่างไรก็
ตาม ประชาชนที่ถูกศึกษาในครั้งนี้ร้อยละ 30.3 ระบุการเลือกตั้งใหม่ไม่ใช่ทางออก เพราะ เลือกตั้งอีกก็มีการซื้อสิทธิขายเสียงกันอีก และเป็นการสิ้น
เปลืองงบประมาณ เป็นต้น
เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของประชาชนต่อทางออกของการเมืองด้วยการเลือกตั้งใหม่ จำแนกออกตามลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
แล้ว พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ ทุกระดับการศึกษา ทุกระดับรายได้ และทุกภูมิภาค ต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่า การเลือก
ตั้งใหม่เป็นทางออกของสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน โดยพบว่า ชายร้อยละ 67.1 และหญิงร้อยละ 72.2 เห็นว่าการเลือกตั้งใหม่เป็นทางออก
เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า คนที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 71.9 คนอายุระหว่าง 20-29 ปีร้อยละ 74.6 คนอายุระหว่าง 30 —
39 ปีร้อยละ 70.3 คนอายุระหว่าง 40 — 49 ปีร้อยละ 65.5 และคนอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปร้อยละ 68.8 ระบุการเลือกตั้งใหม่คือทางออกของการ
เมืองปัจจุบัน
ผลสำรวจพบด้วยว่า กลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีข่าวว่ากำลังมีบทบาทสูงในการเคลื่อนไหวทางการเมืองขณะนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.1
ระบุการเลือกตั้งใหม่คือทางออกของการเมืองขณะนี้ ในขณะเดียวกัน พนักงานบริษัทเอกชนร้อยละ 70.2 และชาวบ้านเกษตรกร ผู้ใช้แรงงานทั่วไป
ร้อยละ 70.9 คนค้าขายทำธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 68.8 กลุ่มแม่บ้าน ผู้เกษียณอายุร้อยละ 68.9 และกลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ
64.6 ต่างก็ระบุตรงกันว่า การเลือกตั้งใหม่คือทางออกของการเมืองปัจจุบัน
นอกจากนี้ ประชาชนในทุกระดับการศึกษาคือ กลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.2 กลุ่มคนที่มีการศึกษาปริญญา
ตรีร้อยละ 67.7 และกลุ่มคนที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 65.6 ระบุการเลือกตั้งใหม่ คือทางออก
เช่นเดียวกับการจำแนกประชาชนตามระดับรายได้ พบว่า คนที่มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 70.7 คนมีรายได้ระหว่าง
5,001 — 10,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 70.8 คนมีรายได้ระหว่าง 10,001 — 15,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 72.2 คนมีรายได้ระหว่าง 15,001 —
20,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 65.8 และคนมีรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไปร้อยละ 65.3 ระบุว่าการเลือกตั้งใหม่คือทางออกของการ
เมืองปัจจุบัน
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อจำแนกตามภูมิภาค พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในทุกภูมิภาคเห็นว่า การเลือกตั้งใหม่คือทางออก โดยพบว่า ประชาชนใน
ภาคเหนือร้อยละ 69.2 ภาคกลางร้อยละ 70.1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 65.9 ภาคใต้ร้อยละ 82.0 และคนกรุงเทพมหานครร้อยละ
66.8 ที่มีความเห็นในทิศทางเดียวกัน
ที่น่าสนใจคือ ประชาชนที่มีจุดยืนสองกลุ่มคือ กลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลและกลุ่มพลังเงียบส่วนใหญ่ร้อยละ 78.9 และร้อยละ 74.3 เห็น
พ้องต้องกันว่า การเลือกตั้งคือทางออกของการเมืองขณะนี้ แต่คนที่สนับสนุนรัฐบาล แม้มีสัดส่วนน้อยกว่า แต่ก็ยังเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.9 เห็นว่า
การเลือกตั้งคือทางออก
และที่น่าสนใจมากขึ้นไปอีกคือ เมื่อจำแนกประชาชนออกตามพรรคการเมืองที่ตนเองเคยเลือกในระบบสัดส่วนของ การเลือกตั้งที่ผ่าน
มา พบว่า แม้แต่คนที่เคยเลือกพรรคพลังประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.2 ยังเห็นว่าการเลือกตั้งใหม่คือทางออก โดยมีคนที่เคยเลือกพรรคประชาธิ
ปัตย์ร้อยละ 77.8 และคนที่เคยเลือกพรรคอื่นๆ ร้อยละ 72.4 ต่างก็เห็นไปในทิศทางเดียวกัน
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจทางการเมืองที่ผ่านมาหลายครั้งพบว่า มีลักษณะเป็นแบบ INDECISIVE (อินดิไซ สีฟ) คือไม่อยู่ในสถานะ
ที่เอื้อต่อการตัดสินใจทางการเมืองเพราะประชาชนมีความเห็นแตกต่างในสัดส่วนที่พอๆ กัน เช่นกรณี ให้พรรคร่วมรัฐบาลถอนตัวออกจากการเป็นรัฐบาล
ที่เคยค้นพบว่าเกินกว่าครึ่งเล็กน้อย แต่อีกประมาณครึ่งหนึ่งเห็นว่าไม่ควรถอนตัว และแม้แต่การถามความเห็นว่า ถ้าสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงบาน
ปลาย ควรให้ทหารออกมายึดอำนาจหรือไม่ ซึ่งเคยพบว่า ก่ำกึ่งกันระหว่างคนที่เห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย ทำให้ตัวเลขที่ค้นพบไม่มีนัยทางสถิติแห่งการตัดสิน
ใจ เป็นต้น แต่เมื่อพิจารณาผลสำรวจล่าสุดในประเด็นการเลือกตั้งใหม่กลับพบว่า การเลือกตั้งใหม่เป็นข้อมูลแบบ DECISIVE (ดิไซสีฟ) คือ ตัวเลขชี้
ให้เห็นนัยทางสถิติว่า คนส่วนใหญ่เห็นว่า การเลือกตั้งใหม่เป็นทางออกของสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน เพราะ เป็นการรักษาระบอบประชาธิปไตย ให้
ประชาชนทั้งประเทศมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางการเมืองของประเทศ ดีกว่าการยึดอำนาจหรือรัฐประหารที่อาจสร้างความเสียหายต่อประเทศชาติ และน่า
จะทำให้บ้านเมืองสงบสุขขึ้นได้
“อย่างไรก็ตาม มีข้อห่วงใยจากประชาชนจำนวนมาก เกือบหนึ่งในสาม ที่เป็นห่วงว่าการเลือกตั้งใหม่จะยังคงมีการ ซื้อสิทธิขายเสียง
กันอีก และสิ้นเปลืองงบประมาณ ดังนั้น หากมีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้นจริง ก็น่าจะถือเป็น “วาระแห่งชาติ” อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการระดมทรัพยากรครั้ง
ใหญ่ที่สุดจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศประสานหน่วยงานความมั่นคงเข้าช่วยรณรงค์และหนุนเสริมด้านการบริหารจัดการ
การเลือกตั้งทำให้การเลือกตั้งใหม่มาจากจิตสำนึกที่ถูกต้องของสาธารณชน เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์และเที่ยงธรรมอย่างแท้จริงทุกเขตเลือกตั้ง ผลการ
เลือกตั้งครั้งใหม่น่าจะช่วยกันคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้ได้” ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางการเมืองการเลือกตั้งใหม่คืนอำนาจให้ประชาชนในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อแนวทางการเลือก
ตั้งใหม่ คืนอำนาจให้ประชาชนในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 26 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 11-15 กันยายน 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้า
หมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 26 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ พะเยา ลำปาง
สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี เพชรบุรี ระยอง สุพรรณบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา มุกดาหาร ศรีสะเกษ สุรินทร์
อุดรธานี อุบลราชธานี ระนอง นครศรีธรรมราช และนราธิวาส เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น
และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,447 ตัวอย่าง ช่วง
ความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบ
รวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุด
ก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 151 คน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.2 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.8 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.4 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 23.2 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ
ร้อยละ 28.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 22.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 25.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 8.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 5.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 11.9 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.3 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 29.0 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 7.1 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 7.4 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 12.1 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 20.1 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงการเปรีบยเทียบค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกของการเมืองด้วยการเลือกตั้งใหม่
ลำดับที่ เลือกตั้งใหม่คือทางออกของการเมืองขณะนี้ ช่วงต้นเดือนกันยายน 15 กันยายน
1 ใช่ เพราะ เป็นการรักษาระบอบประชาธิปไตย / ให้ประชาชนทั้งประเทศ -
มีส่วนร่วมตัดสินใจแก้ปัญหาการเมือง / ดีกว่าการยึดอำนาจหรือรัฐประหาร /-
ไม่มีทางออกอื่นที่ดีกว่า / และน่าจะทำให้บ้านเมืองสงบสุขได้ เป็นต้น 57.4 69.7
2 ไม่ใช่ เพราะ เลือกตั้งอีกก็ซื้อสิทธิขายเสียงกันอีก / สิ้นเปลืองงบประมาณ เป็นต้น 42.6 30.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกของการเมืองด้วยการเลือกตั้งใหม่ จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ เลือกตั้งใหม่คือทางออกของการเมืองขณะนี้ เพศชาย เพศหญิง
1 ใช่ 67.1 72.2
2 ไม่ใช่ 32.9 27.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกของการเมืองด้วยการเลือกตั้งใหม่จำแนกตามช่วงอายุ
ลำดับที่ เลือกตั้งใหม่คือทางออกของการเมืองขณะนี้ ต่ำกว่า 20 ปี 20-29 ปี 30-39 ปี 40-49 ปี มากกว่า 50 ปีขึ้นไป
1 ใช่ 71.9 74.6 70.3 65.5 68.8
2 ไม่ใช่ 28.1 25.4 29.7 34.5 31.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกของการเมืองด้วยการเลือกตั้งใหม่ จำแนกตามอาชีพ
เลือกตังใหม่คือทางออกของการเมืองขณะนี้ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชน ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย นักเรียน/นักศึกษา เกษตรกร/รับจ้างทั่วไป แม่บ้าน/เกษียณอายุ
1. ใช่ 64.6 70.2 68.8 74.1 70.9 68.9
2. ไม่ใช่ 35.4 29.8 31.2 25.9 29.1 31.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกของการเมืองด้วยการเลือกตั้งใหม่ จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ เลือกตั้งใหม่คือทางออกของการเมือง ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ ป.ตรีค่าร้อยละ สูงกว่าป.ตรีค่าร้อยละ
1 ใช่ 70.2 67.7 65.6
2 ไม่ใช่ 29.8 32.3 34.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกของการเมืองด้วยการเลือกตั้งใหม่ จำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
ลำดับที่ เลือกตั้งใหม่คือทางออกของการเมืองขณะนี้ ไม่เกิน 5,000 5,001-10,000 10,001-15,000 15,001-20,000 บาท มากกว่า 20,000 บาท
1 ใช่ 70.7 70.8 72.2 65.8 65.3
2 ไม่ใช่ 29.3 29.2 27.8 34.2 34.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกของการเมืองด้วยการเลือกตั้งใหม่ จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ เลือกตั้งใหม่คือทางออกของการเมืองขณะนี้ เหนือ กลาง ตะวันออก เฉียงเหนือ ใต้ กรุงเทพ ฯ
1 ใช่ 69.2 70.1 65.9 82.0 66.8
2 ไม่ใช่ 30.8 29.9 34.1 18.0 33.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกของการเมืองด้วยการเลือกตั้งใหม่ จำแนกตามจุดยืนทางการเมือง
ลำดับที่ เลือกตั้งใหม่คือทางออกของการเมืองขณะนี้ สนับสนุนรัฐบาลค่าร้อยละ ไม่สนับสนุนรัฐบาลค่าร้อยละ พลังเงียบค่าร้อยละ
1 ใช่ 53.9 78.9 74.3
2 ไม่ใช่ 46.1 21.1 25.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกของการเมืองด้วยการเลือกตั้งใหม่ จำแนกตามพรรคการเมือง
ที่เลือก ส.ส.แบบสัดส่วนจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550
ลำดับที่ เลือกตั้งใหม่คือทางออกของการเมืองขณะนี้ ประชาธิปัตย์ พลังประชาชน พรรคอื่นๆ
1 ใช่ 77.8 60.2 72.4
2 ไม่ใช่ 22.2 39.8 27.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
การเลือกตั้งใหม่ คืนอำนาจให้กับประชาชนในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 26 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่
กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ พะเยา ลำปาง สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี เพชรบุรี ระยอง สุพรรณบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี
กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา มุกดาหาร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุดรธานี อุบลราชธานี ระนอง นครศรีธรรมราช และนราธิวาส จำนวนทั้ง
สิ้น 4,447 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการวันที่ 11-15 กันยายน 2551
ดร.นพดล กล่าวว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงวิกฤตการเมืองของโครงการวิจัยครั้งนี้เป็นโครงการที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก
ประชาชนในพื้นที่จำนวนจังหวัดมากที่สุดโครงการหนึ่ง แม้แต่ประชาชนในพื้นที่สีแดงของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็มีส่วนร่วมตอบแบบสอบถามทางการ
เมืองครั้งนี้ และพบว่า สิ่งที่น่าพิจารณาคือแนวโน้มความคิดเห็นของสาธารณชนต่อแนวทางการเลือกตั้งใหม่คืนอำนาจให้ประชาชนเป็นทางออกของ
สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 57.4 ในช่วงต้นเดือนกันยายน มาอยู่ที่ร้อยละ 69.7 ในการสำรวจครั้งล่าสุด โดยประชาชนที่เห็น
ว่าการเลือกตั้งใหม่เป็นทางออกของปัญหาการเมืองขณะนี้ เพราะ เป็นการรักษาระบอบประชาธิปไตย / ให้ประชาชนทั้งประเทศมีส่วนร่วมตัดสินใจแก้
ปัญหาการเมือง / เป็นทางออกที่ดีกว่าการยึดอำนาจหรือรัฐประหาร / ไม่มีทางออกอื่นที่ดีกว่า และน่าจะทำให้บ้านเมืองสงบสุขได้ เป็นต้น อย่างไรก็
ตาม ประชาชนที่ถูกศึกษาในครั้งนี้ร้อยละ 30.3 ระบุการเลือกตั้งใหม่ไม่ใช่ทางออก เพราะ เลือกตั้งอีกก็มีการซื้อสิทธิขายเสียงกันอีก และเป็นการสิ้น
เปลืองงบประมาณ เป็นต้น
เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของประชาชนต่อทางออกของการเมืองด้วยการเลือกตั้งใหม่ จำแนกออกตามลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
แล้ว พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ ทุกระดับการศึกษา ทุกระดับรายได้ และทุกภูมิภาค ต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่า การเลือก
ตั้งใหม่เป็นทางออกของสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน โดยพบว่า ชายร้อยละ 67.1 และหญิงร้อยละ 72.2 เห็นว่าการเลือกตั้งใหม่เป็นทางออก
เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า คนที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 71.9 คนอายุระหว่าง 20-29 ปีร้อยละ 74.6 คนอายุระหว่าง 30 —
39 ปีร้อยละ 70.3 คนอายุระหว่าง 40 — 49 ปีร้อยละ 65.5 และคนอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปร้อยละ 68.8 ระบุการเลือกตั้งใหม่คือทางออกของการ
เมืองปัจจุบัน
ผลสำรวจพบด้วยว่า กลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีข่าวว่ากำลังมีบทบาทสูงในการเคลื่อนไหวทางการเมืองขณะนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.1
ระบุการเลือกตั้งใหม่คือทางออกของการเมืองขณะนี้ ในขณะเดียวกัน พนักงานบริษัทเอกชนร้อยละ 70.2 และชาวบ้านเกษตรกร ผู้ใช้แรงงานทั่วไป
ร้อยละ 70.9 คนค้าขายทำธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 68.8 กลุ่มแม่บ้าน ผู้เกษียณอายุร้อยละ 68.9 และกลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ
64.6 ต่างก็ระบุตรงกันว่า การเลือกตั้งใหม่คือทางออกของการเมืองปัจจุบัน
นอกจากนี้ ประชาชนในทุกระดับการศึกษาคือ กลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.2 กลุ่มคนที่มีการศึกษาปริญญา
ตรีร้อยละ 67.7 และกลุ่มคนที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 65.6 ระบุการเลือกตั้งใหม่ คือทางออก
เช่นเดียวกับการจำแนกประชาชนตามระดับรายได้ พบว่า คนที่มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 70.7 คนมีรายได้ระหว่าง
5,001 — 10,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 70.8 คนมีรายได้ระหว่าง 10,001 — 15,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 72.2 คนมีรายได้ระหว่าง 15,001 —
20,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 65.8 และคนมีรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไปร้อยละ 65.3 ระบุว่าการเลือกตั้งใหม่คือทางออกของการ
เมืองปัจจุบัน
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อจำแนกตามภูมิภาค พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในทุกภูมิภาคเห็นว่า การเลือกตั้งใหม่คือทางออก โดยพบว่า ประชาชนใน
ภาคเหนือร้อยละ 69.2 ภาคกลางร้อยละ 70.1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 65.9 ภาคใต้ร้อยละ 82.0 และคนกรุงเทพมหานครร้อยละ
66.8 ที่มีความเห็นในทิศทางเดียวกัน
ที่น่าสนใจคือ ประชาชนที่มีจุดยืนสองกลุ่มคือ กลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลและกลุ่มพลังเงียบส่วนใหญ่ร้อยละ 78.9 และร้อยละ 74.3 เห็น
พ้องต้องกันว่า การเลือกตั้งคือทางออกของการเมืองขณะนี้ แต่คนที่สนับสนุนรัฐบาล แม้มีสัดส่วนน้อยกว่า แต่ก็ยังเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.9 เห็นว่า
การเลือกตั้งคือทางออก
และที่น่าสนใจมากขึ้นไปอีกคือ เมื่อจำแนกประชาชนออกตามพรรคการเมืองที่ตนเองเคยเลือกในระบบสัดส่วนของ การเลือกตั้งที่ผ่าน
มา พบว่า แม้แต่คนที่เคยเลือกพรรคพลังประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.2 ยังเห็นว่าการเลือกตั้งใหม่คือทางออก โดยมีคนที่เคยเลือกพรรคประชาธิ
ปัตย์ร้อยละ 77.8 และคนที่เคยเลือกพรรคอื่นๆ ร้อยละ 72.4 ต่างก็เห็นไปในทิศทางเดียวกัน
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจทางการเมืองที่ผ่านมาหลายครั้งพบว่า มีลักษณะเป็นแบบ INDECISIVE (อินดิไซ สีฟ) คือไม่อยู่ในสถานะ
ที่เอื้อต่อการตัดสินใจทางการเมืองเพราะประชาชนมีความเห็นแตกต่างในสัดส่วนที่พอๆ กัน เช่นกรณี ให้พรรคร่วมรัฐบาลถอนตัวออกจากการเป็นรัฐบาล
ที่เคยค้นพบว่าเกินกว่าครึ่งเล็กน้อย แต่อีกประมาณครึ่งหนึ่งเห็นว่าไม่ควรถอนตัว และแม้แต่การถามความเห็นว่า ถ้าสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงบาน
ปลาย ควรให้ทหารออกมายึดอำนาจหรือไม่ ซึ่งเคยพบว่า ก่ำกึ่งกันระหว่างคนที่เห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย ทำให้ตัวเลขที่ค้นพบไม่มีนัยทางสถิติแห่งการตัดสิน
ใจ เป็นต้น แต่เมื่อพิจารณาผลสำรวจล่าสุดในประเด็นการเลือกตั้งใหม่กลับพบว่า การเลือกตั้งใหม่เป็นข้อมูลแบบ DECISIVE (ดิไซสีฟ) คือ ตัวเลขชี้
ให้เห็นนัยทางสถิติว่า คนส่วนใหญ่เห็นว่า การเลือกตั้งใหม่เป็นทางออกของสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน เพราะ เป็นการรักษาระบอบประชาธิปไตย ให้
ประชาชนทั้งประเทศมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางการเมืองของประเทศ ดีกว่าการยึดอำนาจหรือรัฐประหารที่อาจสร้างความเสียหายต่อประเทศชาติ และน่า
จะทำให้บ้านเมืองสงบสุขขึ้นได้
“อย่างไรก็ตาม มีข้อห่วงใยจากประชาชนจำนวนมาก เกือบหนึ่งในสาม ที่เป็นห่วงว่าการเลือกตั้งใหม่จะยังคงมีการ ซื้อสิทธิขายเสียง
กันอีก และสิ้นเปลืองงบประมาณ ดังนั้น หากมีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้นจริง ก็น่าจะถือเป็น “วาระแห่งชาติ” อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการระดมทรัพยากรครั้ง
ใหญ่ที่สุดจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศประสานหน่วยงานความมั่นคงเข้าช่วยรณรงค์และหนุนเสริมด้านการบริหารจัดการ
การเลือกตั้งทำให้การเลือกตั้งใหม่มาจากจิตสำนึกที่ถูกต้องของสาธารณชน เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์และเที่ยงธรรมอย่างแท้จริงทุกเขตเลือกตั้ง ผลการ
เลือกตั้งครั้งใหม่น่าจะช่วยกันคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้ได้” ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางการเมืองการเลือกตั้งใหม่คืนอำนาจให้ประชาชนในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อแนวทางการเลือก
ตั้งใหม่ คืนอำนาจให้ประชาชนในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 26 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 11-15 กันยายน 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้า
หมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 26 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ พะเยา ลำปาง
สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี เพชรบุรี ระยอง สุพรรณบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา มุกดาหาร ศรีสะเกษ สุรินทร์
อุดรธานี อุบลราชธานี ระนอง นครศรีธรรมราช และนราธิวาส เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น
และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,447 ตัวอย่าง ช่วง
ความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบ
รวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุด
ก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 151 คน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.2 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.8 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.4 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 23.2 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ
ร้อยละ 28.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 22.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 25.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 8.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 5.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 11.9 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.3 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 29.0 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 7.1 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 7.4 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 12.1 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 20.1 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงการเปรีบยเทียบค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกของการเมืองด้วยการเลือกตั้งใหม่
ลำดับที่ เลือกตั้งใหม่คือทางออกของการเมืองขณะนี้ ช่วงต้นเดือนกันยายน 15 กันยายน
1 ใช่ เพราะ เป็นการรักษาระบอบประชาธิปไตย / ให้ประชาชนทั้งประเทศ -
มีส่วนร่วมตัดสินใจแก้ปัญหาการเมือง / ดีกว่าการยึดอำนาจหรือรัฐประหาร /-
ไม่มีทางออกอื่นที่ดีกว่า / และน่าจะทำให้บ้านเมืองสงบสุขได้ เป็นต้น 57.4 69.7
2 ไม่ใช่ เพราะ เลือกตั้งอีกก็ซื้อสิทธิขายเสียงกันอีก / สิ้นเปลืองงบประมาณ เป็นต้น 42.6 30.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกของการเมืองด้วยการเลือกตั้งใหม่ จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ เลือกตั้งใหม่คือทางออกของการเมืองขณะนี้ เพศชาย เพศหญิง
1 ใช่ 67.1 72.2
2 ไม่ใช่ 32.9 27.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกของการเมืองด้วยการเลือกตั้งใหม่จำแนกตามช่วงอายุ
ลำดับที่ เลือกตั้งใหม่คือทางออกของการเมืองขณะนี้ ต่ำกว่า 20 ปี 20-29 ปี 30-39 ปี 40-49 ปี มากกว่า 50 ปีขึ้นไป
1 ใช่ 71.9 74.6 70.3 65.5 68.8
2 ไม่ใช่ 28.1 25.4 29.7 34.5 31.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกของการเมืองด้วยการเลือกตั้งใหม่ จำแนกตามอาชีพ
เลือกตังใหม่คือทางออกของการเมืองขณะนี้ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชน ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย นักเรียน/นักศึกษา เกษตรกร/รับจ้างทั่วไป แม่บ้าน/เกษียณอายุ
1. ใช่ 64.6 70.2 68.8 74.1 70.9 68.9
2. ไม่ใช่ 35.4 29.8 31.2 25.9 29.1 31.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกของการเมืองด้วยการเลือกตั้งใหม่ จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ เลือกตั้งใหม่คือทางออกของการเมือง ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ ป.ตรีค่าร้อยละ สูงกว่าป.ตรีค่าร้อยละ
1 ใช่ 70.2 67.7 65.6
2 ไม่ใช่ 29.8 32.3 34.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกของการเมืองด้วยการเลือกตั้งใหม่ จำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
ลำดับที่ เลือกตั้งใหม่คือทางออกของการเมืองขณะนี้ ไม่เกิน 5,000 5,001-10,000 10,001-15,000 15,001-20,000 บาท มากกว่า 20,000 บาท
1 ใช่ 70.7 70.8 72.2 65.8 65.3
2 ไม่ใช่ 29.3 29.2 27.8 34.2 34.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกของการเมืองด้วยการเลือกตั้งใหม่ จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ เลือกตั้งใหม่คือทางออกของการเมืองขณะนี้ เหนือ กลาง ตะวันออก เฉียงเหนือ ใต้ กรุงเทพ ฯ
1 ใช่ 69.2 70.1 65.9 82.0 66.8
2 ไม่ใช่ 30.8 29.9 34.1 18.0 33.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกของการเมืองด้วยการเลือกตั้งใหม่ จำแนกตามจุดยืนทางการเมือง
ลำดับที่ เลือกตั้งใหม่คือทางออกของการเมืองขณะนี้ สนับสนุนรัฐบาลค่าร้อยละ ไม่สนับสนุนรัฐบาลค่าร้อยละ พลังเงียบค่าร้อยละ
1 ใช่ 53.9 78.9 74.3
2 ไม่ใช่ 46.1 21.1 25.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกของการเมืองด้วยการเลือกตั้งใหม่ จำแนกตามพรรคการเมือง
ที่เลือก ส.ส.แบบสัดส่วนจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550
ลำดับที่ เลือกตั้งใหม่คือทางออกของการเมืองขณะนี้ ประชาธิปัตย์ พลังประชาชน พรรคอื่นๆ
1 ใช่ 77.8 60.2 72.4
2 ไม่ใช่ 22.2 39.8 27.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-