ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ศึกษาความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง
ของประชาชนและปัญหาชุมชนในทรรศนะแกนนำชุมชนช่วงโค้งสองเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.จำนวนทั้งสิ้น 3,275 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการวันที่ 9-
17 กันยายน 2551
ผลสำรวจพบว่า คนกรุงเทพมหานครรับรู้วันเลือกตั้งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 39.0 ช่วงต้นเดือนกันยายน มาอยู่ที่ร้อยละ 68.5 ในการสำรวจ
ล่าสุดกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา และ ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง จะมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. อยู่ในช่วงร้อยละ 66.5 ถึง ร้อยละ 76.5
ผลสำรวจล่าสุด พบคนกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ระบุปัญหาด่วนสามอันดับแรกที่ต้องการให้ผู้ว่าฯ กทม. เร่งแก้ไข คือ ร้อยละ 78.1 ระบุ
การจัดระเบียบสังคม เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาเด็กและเยาวชน และปัญหาสถานบันเทิงในย่านที่พักอาศัย ในขณะที่ร้อยละ 76.4 ระบุปัญหา
เศรษฐกิจ ปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพ และร้อยละ 75.2 ปัญหาจราจรติดขัด
ส่วนคุณสมบัติของผู้ว่าฯ ที่คนกรุงเทพฯ ต้องการ ยังคงเป็นเรื่องของ ความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 84.5 ความมีวิสัยทัศน์กว้างไกล รู้จัก
ป้องกันปัญหาร้อยละ 78.9 ความกล้าคิด กล้าทำ เด็ดขาด ร้อยละ 77.0 มีผลงานเห็นได้ชัดร้อยละ 74.2 ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ร้อยละ 72.3
และร้อยละ 71.8 ระบุเข้าถึงใกล้ชิดประชาชน อันดับรองๆ ลงไปเป็น พัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ รวดเร็วฉับไวแก้ปัญหาเดือดร้อนประชาชน เป็นผู้ประสาน
งานที่ดี และมีการศึกษาดี ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการวิเคราะห์คะแนนนิยมของสาธารณชนคนกรุงเทพมหานคร ต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง พบว่า ค่าคะแนนของผู้ที่ได้รับ
ความนิยมสูงสุดจากประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ไม่เปลี่ยนแปลง ค่อนข้างนิ่ง แต่มีแนวโน้มเริ่มลดต่ำลงเล็กน้อย แต่ที่น่าจับตามองคือ ผู้สมัครที่มีหนวดทั้งสอง
คนมีค่าคะแนนนิยมที่ยังไม่นิ่ง คนหนึ่งค่อยๆ เพิ่มขึ้นแต่ อีกคนหนึ่งกำลังได้รับคะแนนนิยมเพิ่มสูงขึ้นเกือบเท่าตัว ถ้าคะแนนสองคนนี้รวมกันอาจจะชนะผู้ที่
กำลังมีคะแนนนำอยู่ได้ ซึ่งคณะผู้วิจัยจะนำเสนอค่าคะแนนนิยมของประชาชนที่ค้นพบอย่างชัดเจนในโอกาสต่อไป ที่น่าสนใจคือ ถ้าหากประชาชนคน
กรุงเทพฯ ที่มีสิทธิเลือกตั้ง เล็งเห็นว่า เสียงของตนเองไม่สำคัญ เพราะคนที่กำลังมีคะแนนนำอยู่ขณะนี้จะชนะการเลือกตั้งแน่ๆ ประชาชนที่คิดเช่นนี้อาจ
ไม่ไปเลือกตั้งโดยมีเหตุผลเล็กๆ น้อยๆ เช่น ฝนตกหนัก เหตุเบื่อหน่ายทางการเมือง หรือติดธุระเล็กๆ น้อยๆ ก็จะตัดสินใจไม่ไปเลือกตั้ง ผลที่อาจตาม
มาก็คือ คนที่กำลังมีคะแนนนิยมนำอยู่ในผลสำรวจมีโอกาสแพ้การเลือกตั้งได้เช่นกัน
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจสภาพปัญหาในการดำรงชีวิตในกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อสำรวจความความตั้งใจไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง ศึกษาความตั้งใจจะไปเลือกตั้งของประชาชน
และปัญหาชุมชนในทรรศนะของแกนนำชุมชนในโค้งสองเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 9- 17 กันยายน
2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน
เขตกรุงเทพมหานคร เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับ
ประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 2,829 ตัวอย่าง แกนนำชุมชน
จำนวน 446 ตัวอย่าง รวมขนาดตัวอย่างในการดำเนินการทั้งสิ้น 3,275 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 164 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชน พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.0 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.0 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 17.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 22.6 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 26.1 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 28.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 22.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 41.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 17.7 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 9.1 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 5.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 11.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 9.0 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุการรับรู้วันที่จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ การรับรู้ของประชาชนต่อวันที่จะมีการเลือกตั้ง 21 สิงหาคมค่าร้อยละ 5 กันยายนค่าร้อยละ 17 กันยายนค่าร้อยละ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
1 ทราบว่าตรงกับวันที่ 5 ตุลาคม 2551 10.0 39.0 68.5
2 ไม่ทราบ 90.0 61.0 31.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ ความตั้งใจของประชาชนที่จะไปเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ค่าร้อยละ (เป็นช่วง)
1 ไป 66.5% - 76.5%
2 ไม่ไป 23.5% — 33.5%
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ ความตั้งใจของประชาชนที่จะไปเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ค่าร้อยละ
1 ไป 71.5
2 ไม่ไป 28.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดง 10 อันดับปัญหาด่วนที่แกนนำชุมชนต้องการให้ ผู้ว่าฯกทม. เร่งแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่แกนนำชุมชนต้องการให้ผู้ว่าฯ กทม.เร่งแก้ไข ค่าร้อยละ
1 ปัญหาการจัดระเบียบสังคม อาทิ ยาเสพติด แหล่งมั่วสุมของเด็ก
เยาวชน/คุณภาพเยาวชน/สถานบันเทิงในเขตที่พักอาศัย 78.1
2 ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพ 76.4
3 ปัญหาจราจรติดขัด 75.2
4 ปัญหาหนี้สิน 58.3
5 ภัยน้ำท่วม น้ำขัง 51.8
6 ความไม่ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน หวาดกลัวอาชญากรรม 49.7
7 รู้สึก กังวล กลัวไฟไหม้ ปัญหาอัคคีภัย 47.5
8 ขาดสถานที่ออกกำลังกายในชุมชน / ใกล้ชุมชนที่พักอาศัย 44.7
9 ผู้ด้อยโอกาสที่ขาดการเอาใจใส่จากภาครัฐ 42.3
10 ขยะ เน่าเหม็น 41.1
ตารางที่ 5 แสดง 10 อันดับคุณสมบัติของบุคคลที่จะเลือกมาเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติของบุคคลที่จะเลือกมาเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ ค่าร้อยละ
1 ซื่อสัตย์สุจริต 84.5
2 มีวิสัยทัศน์กว้างไกล รู้จักป้องกันปัญหา 78.9
3 กล้าคิดกล้าทำ เด็ดขาด 77.0
4 มีผลงาน เห็นได้ชัด 74.2
5 ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย 72.3
6 เข้าถึงใกล้ชิดประชาชน 71.8
7 พัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ 67.8
8 รวดเร็วฉับไวแก้ปัญหาเดือดร้อนประชาชน 66.3
9 เป็นผู้ประสานงานที่ดี 62.8
10 มีการศึกษาดี 52.3
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ของประชาชนและปัญหาชุมชนในทรรศนะแกนนำชุมชนช่วงโค้งสองเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.จำนวนทั้งสิ้น 3,275 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการวันที่ 9-
17 กันยายน 2551
ผลสำรวจพบว่า คนกรุงเทพมหานครรับรู้วันเลือกตั้งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 39.0 ช่วงต้นเดือนกันยายน มาอยู่ที่ร้อยละ 68.5 ในการสำรวจ
ล่าสุดกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา และ ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง จะมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. อยู่ในช่วงร้อยละ 66.5 ถึง ร้อยละ 76.5
ผลสำรวจล่าสุด พบคนกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ระบุปัญหาด่วนสามอันดับแรกที่ต้องการให้ผู้ว่าฯ กทม. เร่งแก้ไข คือ ร้อยละ 78.1 ระบุ
การจัดระเบียบสังคม เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาเด็กและเยาวชน และปัญหาสถานบันเทิงในย่านที่พักอาศัย ในขณะที่ร้อยละ 76.4 ระบุปัญหา
เศรษฐกิจ ปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพ และร้อยละ 75.2 ปัญหาจราจรติดขัด
ส่วนคุณสมบัติของผู้ว่าฯ ที่คนกรุงเทพฯ ต้องการ ยังคงเป็นเรื่องของ ความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 84.5 ความมีวิสัยทัศน์กว้างไกล รู้จัก
ป้องกันปัญหาร้อยละ 78.9 ความกล้าคิด กล้าทำ เด็ดขาด ร้อยละ 77.0 มีผลงานเห็นได้ชัดร้อยละ 74.2 ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ร้อยละ 72.3
และร้อยละ 71.8 ระบุเข้าถึงใกล้ชิดประชาชน อันดับรองๆ ลงไปเป็น พัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ รวดเร็วฉับไวแก้ปัญหาเดือดร้อนประชาชน เป็นผู้ประสาน
งานที่ดี และมีการศึกษาดี ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการวิเคราะห์คะแนนนิยมของสาธารณชนคนกรุงเทพมหานคร ต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง พบว่า ค่าคะแนนของผู้ที่ได้รับ
ความนิยมสูงสุดจากประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ไม่เปลี่ยนแปลง ค่อนข้างนิ่ง แต่มีแนวโน้มเริ่มลดต่ำลงเล็กน้อย แต่ที่น่าจับตามองคือ ผู้สมัครที่มีหนวดทั้งสอง
คนมีค่าคะแนนนิยมที่ยังไม่นิ่ง คนหนึ่งค่อยๆ เพิ่มขึ้นแต่ อีกคนหนึ่งกำลังได้รับคะแนนนิยมเพิ่มสูงขึ้นเกือบเท่าตัว ถ้าคะแนนสองคนนี้รวมกันอาจจะชนะผู้ที่
กำลังมีคะแนนนำอยู่ได้ ซึ่งคณะผู้วิจัยจะนำเสนอค่าคะแนนนิยมของประชาชนที่ค้นพบอย่างชัดเจนในโอกาสต่อไป ที่น่าสนใจคือ ถ้าหากประชาชนคน
กรุงเทพฯ ที่มีสิทธิเลือกตั้ง เล็งเห็นว่า เสียงของตนเองไม่สำคัญ เพราะคนที่กำลังมีคะแนนนำอยู่ขณะนี้จะชนะการเลือกตั้งแน่ๆ ประชาชนที่คิดเช่นนี้อาจ
ไม่ไปเลือกตั้งโดยมีเหตุผลเล็กๆ น้อยๆ เช่น ฝนตกหนัก เหตุเบื่อหน่ายทางการเมือง หรือติดธุระเล็กๆ น้อยๆ ก็จะตัดสินใจไม่ไปเลือกตั้ง ผลที่อาจตาม
มาก็คือ คนที่กำลังมีคะแนนนิยมนำอยู่ในผลสำรวจมีโอกาสแพ้การเลือกตั้งได้เช่นกัน
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจสภาพปัญหาในการดำรงชีวิตในกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อสำรวจความความตั้งใจไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง ศึกษาความตั้งใจจะไปเลือกตั้งของประชาชน
และปัญหาชุมชนในทรรศนะของแกนนำชุมชนในโค้งสองเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 9- 17 กันยายน
2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน
เขตกรุงเทพมหานคร เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับ
ประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 2,829 ตัวอย่าง แกนนำชุมชน
จำนวน 446 ตัวอย่าง รวมขนาดตัวอย่างในการดำเนินการทั้งสิ้น 3,275 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 164 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชน พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.0 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.0 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 17.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 22.6 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 26.1 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 28.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 22.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 41.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 17.7 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 9.1 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 5.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 11.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 9.0 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุการรับรู้วันที่จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ การรับรู้ของประชาชนต่อวันที่จะมีการเลือกตั้ง 21 สิงหาคมค่าร้อยละ 5 กันยายนค่าร้อยละ 17 กันยายนค่าร้อยละ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
1 ทราบว่าตรงกับวันที่ 5 ตุลาคม 2551 10.0 39.0 68.5
2 ไม่ทราบ 90.0 61.0 31.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ ความตั้งใจของประชาชนที่จะไปเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ค่าร้อยละ (เป็นช่วง)
1 ไป 66.5% - 76.5%
2 ไม่ไป 23.5% — 33.5%
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ ความตั้งใจของประชาชนที่จะไปเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ค่าร้อยละ
1 ไป 71.5
2 ไม่ไป 28.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดง 10 อันดับปัญหาด่วนที่แกนนำชุมชนต้องการให้ ผู้ว่าฯกทม. เร่งแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่แกนนำชุมชนต้องการให้ผู้ว่าฯ กทม.เร่งแก้ไข ค่าร้อยละ
1 ปัญหาการจัดระเบียบสังคม อาทิ ยาเสพติด แหล่งมั่วสุมของเด็ก
เยาวชน/คุณภาพเยาวชน/สถานบันเทิงในเขตที่พักอาศัย 78.1
2 ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพ 76.4
3 ปัญหาจราจรติดขัด 75.2
4 ปัญหาหนี้สิน 58.3
5 ภัยน้ำท่วม น้ำขัง 51.8
6 ความไม่ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน หวาดกลัวอาชญากรรม 49.7
7 รู้สึก กังวล กลัวไฟไหม้ ปัญหาอัคคีภัย 47.5
8 ขาดสถานที่ออกกำลังกายในชุมชน / ใกล้ชุมชนที่พักอาศัย 44.7
9 ผู้ด้อยโอกาสที่ขาดการเอาใจใส่จากภาครัฐ 42.3
10 ขยะ เน่าเหม็น 41.1
ตารางที่ 5 แสดง 10 อันดับคุณสมบัติของบุคคลที่จะเลือกมาเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติของบุคคลที่จะเลือกมาเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ ค่าร้อยละ
1 ซื่อสัตย์สุจริต 84.5
2 มีวิสัยทัศน์กว้างไกล รู้จักป้องกันปัญหา 78.9
3 กล้าคิดกล้าทำ เด็ดขาด 77.0
4 มีผลงาน เห็นได้ชัด 74.2
5 ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย 72.3
6 เข้าถึงใกล้ชิดประชาชน 71.8
7 พัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ 67.8
8 รวดเร็วฉับไวแก้ปัญหาเดือดร้อนประชาชน 66.3
9 เป็นผู้ประสานงานที่ดี 62.8
10 มีการศึกษาดี 52.3
--เอแบคโพลล์--
-พห-