ที่มาของโครงการ
ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่มักจะประเมินความสำเร็จในการพัฒนาประเทศด้วยตัวเลขทางเศรษฐกิจและเงินในกระเป๋าของประชาชน
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ก็มักวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคผ่านแนวโน้มของพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยและสวัสดิการสาธารณะที่ประชาชนได้รับ นอกจาก
นี้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ Gross Domestic Product (GDP) ก็ถูกนำมาเป็นตัววัดสภาวะความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ อย่าง
ไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเป้าหมายสูงสุดของประชาชนทั่วไปจะพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการความสุขในชีวิตเป็นเป้าหมายสุดท้าย สำนักวิจัยเอแบ
คโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจความรู้สึกนึกคิดของสาธารณชนเพื่อประเมินความสุขมวลรวมภายในประเทศหรือ Gross Domestic
Happiness โดยให้คำนิยามขอบเขตสำหรับการวิจัยครั้งนี้เป็นการประเมินความสุขมวลรวมรายเดือนของคนไทยภายในประเทศเท่านั้นไม่นับรวมความ
สุขของคนต่างชาติ โดยสำนักวิจัยฯ จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบ
วิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อความสุขในมิติแห่งการชี้วัดปัจจัยต่างๆ
2. เพื่อค้นหาความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือนพฤษภาคม 2549
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง ประเมินความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทย
ภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness) ประจำเดือนพฤษภาคม : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ซึ่ง
ดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 1 — 7 มิถุนายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 20 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ นครสวรรค์ แพร่ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชลบุรี จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ หนองคาย ขอนแก่น สุรินทร์ นครราชสีมา
อุบลราชธานี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,336 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
คำว่า “ความสุข” ในการวิจัยครั้งนี้ หมายถึง ความเป็นจริงที่ประชาชนได้รับหรือความพึงพอใจที่ประชาชนมีตรงกับความต้องการหรือ
ความคาดหวังของประชาชน
คำว่า “ความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness)” สำหรับการวิจัยครั้งนี้ หมายถึง
ความสุขภาพรวมของคนไทยภายในประเทศเท่านั้น ไม่ได้ศึกษาคนต่างประเทศที่มาพักอาศัยในประเทศไทยและไม่ได้ศึกษาคนไทยในต่าง
ประเทศ
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.9 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 26.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.9 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.2 ระบุอาชีพเกษตรกร
รองลงมาคือร้อยละ 20.4 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 17.3 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.5 พนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.9 ข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.4 เป็นนักเรียนนักศึกษา
ร้อยละ 6.8 เป็นพ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
และร้อยละ 2.5 ว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ประเมินความสุขมวลรวมของ
ประชาชนคนไทยภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness) ประจำเดือนพฤษภาคม : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ต่างจังหวัด จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 4,336 คน ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 1 —7 มิถุนายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
ดร.นพดล กล่าวว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่มักจะประเมินความสำเร็จในการพัฒนาประเทศด้วยตัวเลขทางเศรษฐกิจและเงินใน
กระเป๋าของประชาชน นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ก็มักวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคผ่านแนวโน้มของพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยและสวัสดิการสาธารณะที่
ประชาชนได้รับ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ Gross Domestic Product (GDP) ก็ถูกนำมาเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งถึงสภาวะความ
เป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเป้าหมายสูงสุดของประชาชนทั่วไปจะพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการความสุขในชีวิตเป็นเป้าหมายสุดท้าย
คณะผู้วิจัยเอแบคโพลล์จึงตัดสินใจทำการวัดความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศรายเดือน (Monthly report of Gross Domestic
Happiness) เพื่อทราบถึงสภาวะความสุขมวลรวมในชีวิตของคนไทยว่ามีความสุขในระดับใดของปัจจัยต่างๆ ที่ทำการศึกษา
ปัจจัยที่ 1 เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย พบว่าในเดือนพฤษภาคมนี้ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.9 มีความสุขด้านวัฒนธรรมประเพณีของ
ไทย เช่น เทศกาลงานรื่นเริงต่างๆ การแสดงพลังจงรักภักดี “เรารักในหลวง” ของประชาชน และงานบุญงานบวชต่างๆ
ปัจจัยที่ 2 เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม พบว่าประชาชนร้อยละ 71.9 มีความสุขกับสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เช่น การคมนาคม ถนนหนทาง สิ่ง
แวดล้อม
ปัจจัยที่ 3 เกี่ยวกับสุขภาพกาย พบว่าประชาชนร้อยละ 67.2 มีความสุขกับสุขภาพกาย เช่น ปัจจัยสี่ ความแข็งแรงของร่างกาย และการ
บริการของรัฐด้านสาธารณสุข
ปัจจัยที่ 4 เกี่ยวกับระบบการศึกษา พบว่า ประชาชนร้อยละ 64.8 มีความสุขกับระบบการศึกษาของประเทศ เช่น การส่งเสริมภูมิปัญญา
ท้องถิ่น โอกาสทางการศึกษา และมาตรฐานการทดสอบ
ปัจจัยที่ 5 เกี่ยวกับธรรมชาติ พบว่า ประชาชนร้อยละ 63.4 มีความสุขกับธรรมชาติ เช่น ความสวยงาม ความอุดมสมบูรณ์ ความหลาก
หลาย และความเพียงพอของธรรมชาติ
ปัจจัยที่ 6 เกี่ยวกับ สุขภาพใจ พบว่า ประชาชนร้อยละ 61.3 มีความสุขกับสุขภาพใจ เช่น ศีลธรรม จริยธรรม ความเอื้ออาทรทาง
สังคม และการมีส่วนร่วมผูกพันกับชุมชน
ปัจจัยที่ 7 เกี่ยวกับชุมชนที่พักอาศัย พบว่า ร้อยละ 60.4 มีความสุขกับชุมชนที่พักอาศัย เช่น การช่วยเหลือกันและกัน การช่วยกันทำความ
สะอาดชุมชน การแก้ปัญหายาเสพติด การป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรม และการช่วยกันรักษาทรัพย์สินส่วนรวมในชุมชน
ปัจจัยที่ 8 เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม พบว่า ร้อยละ 59.6 มีความสุขกับกระบวนการยุติธรรมของไทย เช่น การทำงานของตำรวจ
ทนายความ อัยการ ศาล และราชทัณฑ์
ปัจจัยที่ 9 เกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจ พบว่า ร้อยละ 52.5 มีความสุขกับสภาวะเศรษฐกิจ เช่น ราคาสินค้า ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ราย
ได้ ภาระจับจ่ายใช้สอย ภาระหนี้สิน
ปัจจัยที่ 10 เกี่ยวกับการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ พบว่า ร้อยละ 44.7 มีความสุขกับเรื่องการเมือง ผลการทำงานของรัฐบาล และ
การทำงานขององค์กรอิสระ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อทำให้คนไทยมีความสุขน้อยลงในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนคนไทย
ส่วนใหญ่ในทุกภูมิภาคคือ คนภาคเหนือร้อยละ 57.2 คนภาคกลางร้อยละ 54.6 คนกรุงเทพมหานครร้อยละ 59.3 คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ
52.0 และคนภาคใต้ร้อยละ 58.1 ระบุว่าปัจจัยทางการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระทำให้มีความสุขน้อยลง
เช่นเดียวกันกับ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ที่คนภาคเหนือร้อยละ 51.5 คนภาคกลางร้อยละ 50.2 คนกรุงเทพมหานครร้อยละ 54.3 คนภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 52.7 และคนภาคใต้ร้อยละ 55.8 ระบุว่าสภาวะเศรษฐกิจที่ประกอบไปด้วยราคาสินค้า ราคาน้ำมัน รายได้ ภาระหนี้สิน
ทำให้มีความสุขน้อยลงในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ส่วนประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจคือ ผลสำรวจพบว่า คนภาคใต้เกือบร้อยละ 50 ที่ระบุว่าสุขภาพใจเช่นความเอื้ออาทรทางสังคม การมีส่วน
ร่วมผูกพันกับชุมชนอยู่ในระดับต่ำ แต่มีความเครียดสูง ส่งผลทำให้มีความสุขน้อยลง ในขณะที่คนกรุงเทพมหานครเกินกว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 29.4 ที่
ระบุว่าสุขภาพทางกายส่งผลทำให้มีความสุขน้อยลง
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการวัดค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขต่อปัจจัยด้านต่างๆ พบความสอดคล้องกันของผลสำรวจ เมื่อคะแนนเต็ม 10
คะแนน พบว่า คนกรุงเทพมหานครและคนภาคใต้มีค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขกับปัจจัยทางการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระประจำเดือนพฤษภาคม อยู่ที่
4.09 และ 4.11 คะแนนเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขของประชาชนด้านวัฒนธรรมประเพณีของไทยทุกภาคมีค่าคะแนนเฉลี่ยเกินกว่า 9.00 ยกเว้น
ประชาชนในภาคใต้ที่มีค่าเฉลี่ยความสุขด้านวัฒนธรรมไทยอยู่ที่ 8.95 คะแนน
“จากการวัดค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศหรือ GDH เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ค่าเฉลี่ย
คะแนนความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศเท่ากับ 6.59 และเมื่อจำแนกค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายใน
ประเทศ (GDH) ออกเป็นภูมิภาคต่างๆ เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ประชาชนในกรุงเทพมหานครและภาคใต้มีค่าคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ
6.20 และ 6.22 ในขณะที่ประชาชนในภาคกลางกลับมีคะแนนความสุขมวลรวมมากกว่าภาคอื่นๆ คือ 6.80 รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
6.69 และภาคเหนือ 6.61 ตามลำดับ” ดร.นพดล กล่าว
เมื่อนำค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยมาเปรียบเทียบกับคะแนนที่วัดได้ช่วง 3 เดือนแรกของปีและเดือนเมษายน พบว่า ค่าเฉลี่ย
ความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศในช่วง 3 เดือนแรกอยู่ที่ 5.47 คะแนน ซึ่งสาเหตุสำคัญน่าจะมาจากปัจจัยทางการเมือง-รัฐบาลเป็นสำคัญที่
ฉุดความสุขคนไทยอยู่ในระดับที่เกินครึ่งเล็กน้อยเท่านั้น เช่น ปัญหาความเคลือบแคลงสงสัยของประชาชนต่อคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี ปัญหาทุจริต
คอรัปชั่น ความขัดแย้งทางการเมือง การใช้ความรุนแรง และความกังวลเรื่องความแตกแยกของคนในชาติ แต่ในเดือนเมษายนวัดค่าคะแนนเฉลี่ยความ
สุขของประชาชนสูงขึ้นถึง 6.08 เป็นเพราะปัจจัยด้านวัฒนธรรมและประเพณีของไทยดึงความสุขมวลรวมของคนไทยให้สูงขึ้น เช่น เทศกาลสงกรานต์
งานบุญงานบวชต่างๆ และในเดือนพฤษภาคมผลสำรวจพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนพฤษภาคมสูงขึ้นมา
ที่ 6.59 คะแนน ปัจจัยบวกยังคงอยู่ที่ความสุขของประชาชนต่อวัฒนธรรมประเพณีของไทย เช่นงานฉลองการครองสิริราชย์สมบัติครบ 60 ปี และงาน
ประเพณีต่างๆ ของคนไทย ทั้งๆ ที่ปัจจัยลบสองประการยังคงมีอยู่คือปัจจัยทางการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ ที่ยังไม่ความชัดเจนในสถานการณ์ และ
ปัจจัยสภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลในทางลบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนผู้บริโภค
ดร.นพดล กล่าวสรุปว่า ถ้าคนไทยไม่เจอปัจจัยลบด้านเศรษฐกิจและความขัดแย้งทางการเมืองแล้ว ค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย
ทั้งประเทศน่าจะขึ้นสูงถึงระดับ 8-9 ของคะแนนเต็ม 10 ดังนั้น ในสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจขณะนี้ โมเดลหรือรูปแบบแนวทางป้องกันแก้ไข
วิกฤตการณ์ของสังคมที่เป็นไปได้ประการแรกคือ การอาศัยพลังจงรักภักดี “เรารักในหลวง” สร้างความเป็นหนึ่งเดียวของคนในชาติขึ้นมาด้วยคุณธรรม
ด้านไมตรีจิตแก่กันและกัน ประการที่สองคือ ฝ่ายการเมืองและรัฐบาลควรหล่อหลอมปรัชญาและแนวพระราชดำริด้านการปกครอง ผสมผสานโครงการ
พระราชดำริต่างๆ ทุกโครงการเข้าสู่นโยบายสาธารณะเพื่อประชาชนทั้งประเทศ และประการที่สามคือ จัดทำยุทธศาสตร์ชาติและท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจ
สังคม การเมืองและบริบทอื่นๆ ของประเทศ เช่น ความมั่นคง ที่มาจากการบูรณาการแนวปรัชญาการปกครอง โครงการพระราชดำริต่างๆ และวิถีชีวิต
ของคนไทยทั้งประเทศ
“ที่ผ่านมา รัฐบาลมักส่งคนไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ แล้วนำแนวคิดนโยบายของต่างประเทศมาปรับใช้เป็นนโยบายประชานิยม การไป
ศึกษาดูงานแต่ละครั้งสูญเสียงบประมาณแผ่นดินจำนวนมาก ทำไมรัฐบาลไม่ศึกษาดูงานโครงการหลวงอย่างลึกซึ้งและนำมาปรับใช้กับวิถีชีวิตของคนไทย
สร้างเป็นนโยบายประชานิยมโดยไม่ต้องสูญเสียงบประมาณแผ่นดิน รัฐบาลช่วงขาลง และกลุ่มการเมืองบางกลุ่มที่อยู่ในช่วงขาขึ้นก็จะได้พลังประชาชนทุก
หมู่เหล่าสนับสนุนขึ้นมาบริหารประเทศบนฐานของความเป็นหนึ่งเดียวกัน” ดร.นพดล กล่าว
ในทางตรงกันข้าม ถ้าฝ่ายการเมืองและบุคคลบางกลุ่มในองค์กรอิสระยังคงยึดอัตตาและดึงกระแสหลักพลังแห่งความจงรักภักดีมาสร้าง
ความชอบธรรมให้กับตัวเองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง และชักนำสังคมให้เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวกมีความแตกแยกต่อไป จากนั้นอารมณ์ความ
รู้สึกของสาธารณชนจะพัฒนาเรื่องการเมืองของประเทศไปสู่ความโกรธแค้นส่วนตัวกับฝ่ายตรงข้ามและจะต่อสู้ทำลายกันจนบ้านเมืองอาจลุกเป็นไฟ
กระจายเป็นจุดๆ ถ้าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแกนนำของฝ่ายการเมืองและกลุ่มเคลื่อนไหวก็จะไม่สามารถห้ามปรามได้ ผลที่ตามมาก็คือ วิกฤตการณ์ของ
ประเทศซ้ำซากที่ประชาชนธรรมดาทั่วไปส่วนใหญ่เดือดร้อน แต่ชนชั้นนำของประเทศส่วนใหญ่กลับอยู่ได้อย่างสบายก็คงจะปรากฏให้เห็นกันอีกครั้ง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมการติดตามข่าวสารประจำวัน
ลำดับที่ พฤติกรรมการติดตามข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 94.7
2 ไม่ได้ติดตาม 5.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขภาพรวมในด้านต่างๆ
ลำดับที่ ความสุขภาพรวมในด้านต่างๆ ค่าร้อยละ
1 ด้านวัฒนธรรมประเพณี (เช่น การแสดงพลังจงรักภักดี “เรารักในหลวง” ของประชาชน เทศกาลรื่นเริง งานบุญงานบวชต่างๆ ) 92.9
2 สภาพแวดล้อม (เช่น การคมนาคม สิ่งแวดล้อม ความสะดวกในการเข้าถึงและใช้โทรศัพท์พื้นฐาน ไฟฟ้า แหล่งน้ำกินน้ำใช้) 71.9
3 สุขภาพกาย (เช่น ปัจจัยสี่ ความเจ็บไข้ได้ป่วย การบริการของรัฐด้านสุขภาพ ระบบสาธารณสุข) 67.2
4 การศึกษา (เช่น ภูมิปัญญา โอกาสทางการศึกษา มาตรฐานการทดสอบ) 64.8
5 ธรรมชาติ (เช่น ความสวยงาม ความอุดมสมบูรณ์ ความหลากหลาย) 63.4
6 สุขภาพใจ (เช่น ศีลธรรม จริยธรรม ความเอื้ออาทรทางสังคม การมีส่วนร่วมผูกพันกับชุมชน) 61.3
7 ด้านชุมชนที่พักอาศัย (เช่น ความช่วยเหลือกันของคนในชุมชน การแก้ปัญหายาเสพติด การแก้ปัญหาอาชญากรรม
การรักษาทรัพย์สมบัติส่วนรวมในชุมชน) 60.4
8 กระบวนการยุติธรรม (เช่น การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทนายความ อัยการ ศาล คุมประพฤติ ราชทัณฑ์) 59.6
9 ด้านเศรษฐกิจ (เช่น ราคาสินค้า ราคาน้ำมัน รายได้ การจับจ่ายใช้สอย หนี้สิน) 52.5
10 การเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ (เช่น จริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต การแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
การมีส่วนร่วมทางการเมือง) 44.7
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบทำให้มีความสุขน้อยลงในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความสุขภาพรวมในด้านต่างๆ ภาคเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้
1 สภาพแวดล้อม 19.9 24.3 32.5 27.6 30.4
2 ด้านชุมชนที่พักอาศัย 23.6 25.8 42.8 22.1 40.9
3 ด้านเศรษฐกิจ 51.5 50.2 54.3 52.7 55.8
4 การศึกษา 26.6 29.1 27.3 33.5 56.7
5 ธรรมชาติ 35.2 23.8 25.9 39.4 24.4
6 การเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ 57.2 54.6 59.3 52.0 58.1
7 สุขภาพกาย 22.5 26.8 29.4 21.5 16.3
8 สุขภาพใจ 41.8 33.1 45.4 34.2 49.0
9 ด้านวัฒนธรรม ประเพณี 8.2 7.2 11.6 7.7 14.2
10 กระบวนการยุติธรรม 17.9 15.6 21.1 23.1 33.8
ตารางที่ 4 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขภาพรวมในด้านต่างๆ จำแนกตามภูมิภาค เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ ความสุขภาพรวมในด้านต่างๆ ภาคเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้
1 สภาพแวดล้อม 7.92 7.68 7.01 7.14 7.07
2 ด้านชุมชนที่พักอาศัย 7.43 7.53 6.03 7.71 6.12
3 ด้านเศรษฐกิจ 5.80 5.84 5.11 5.33 5.28
4 การศึกษา 6.28 6.17 6.42 6.02 5.49
5 ธรรมชาติ 6.03 7.40 6.14 6.49 6.62
6 การเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ 4.16 4.85 4.09 5.21 4.11
7 สุขภาพกาย 6.85 6.31 6.29 6.80 7.16
8 สุขภาพใจ 6.21 6.44 5.81 6.23 5.88
9 ด้านวัฒนธรรม ประเพณีไทย 9.56 9.52 9.47 9.55 8.95
10 กระบวนการยุติธรรม 6.02 6.17 5.84 6.15 5.47
ค่าความสุขมวลรวม (GDH) 6.61 6.80 6.20 6.69 6.22
ตารางที่ 5 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนพฤษภาคม
เมื่อคะแนนเต็ม 10
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนพฤษภาคม(Gross Domestic Happiness) 6.59
ตารางที่ 6 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนพฤษภาคม
เปรียบเทียบกับช่วง 3 เดือนแรกของปี และเดือนเมษายน เมื่อคะแนนเต็ม 10
ม.ค.— มี.ค. เดือนเมษายน เดือนพฤษภาคม
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศ(Gross Domestic Happiness) 5.47 6.08 6.59
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่มักจะประเมินความสำเร็จในการพัฒนาประเทศด้วยตัวเลขทางเศรษฐกิจและเงินในกระเป๋าของประชาชน
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ก็มักวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคผ่านแนวโน้มของพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยและสวัสดิการสาธารณะที่ประชาชนได้รับ นอกจาก
นี้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ Gross Domestic Product (GDP) ก็ถูกนำมาเป็นตัววัดสภาวะความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ อย่าง
ไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเป้าหมายสูงสุดของประชาชนทั่วไปจะพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการความสุขในชีวิตเป็นเป้าหมายสุดท้าย สำนักวิจัยเอแบ
คโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจความรู้สึกนึกคิดของสาธารณชนเพื่อประเมินความสุขมวลรวมภายในประเทศหรือ Gross Domestic
Happiness โดยให้คำนิยามขอบเขตสำหรับการวิจัยครั้งนี้เป็นการประเมินความสุขมวลรวมรายเดือนของคนไทยภายในประเทศเท่านั้นไม่นับรวมความ
สุขของคนต่างชาติ โดยสำนักวิจัยฯ จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบ
วิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อความสุขในมิติแห่งการชี้วัดปัจจัยต่างๆ
2. เพื่อค้นหาความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือนพฤษภาคม 2549
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง ประเมินความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทย
ภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness) ประจำเดือนพฤษภาคม : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ซึ่ง
ดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 1 — 7 มิถุนายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 20 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ นครสวรรค์ แพร่ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชลบุรี จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ หนองคาย ขอนแก่น สุรินทร์ นครราชสีมา
อุบลราชธานี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,336 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
คำว่า “ความสุข” ในการวิจัยครั้งนี้ หมายถึง ความเป็นจริงที่ประชาชนได้รับหรือความพึงพอใจที่ประชาชนมีตรงกับความต้องการหรือ
ความคาดหวังของประชาชน
คำว่า “ความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness)” สำหรับการวิจัยครั้งนี้ หมายถึง
ความสุขภาพรวมของคนไทยภายในประเทศเท่านั้น ไม่ได้ศึกษาคนต่างประเทศที่มาพักอาศัยในประเทศไทยและไม่ได้ศึกษาคนไทยในต่าง
ประเทศ
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.9 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 26.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.9 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.2 ระบุอาชีพเกษตรกร
รองลงมาคือร้อยละ 20.4 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 17.3 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.5 พนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.9 ข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.4 เป็นนักเรียนนักศึกษา
ร้อยละ 6.8 เป็นพ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
และร้อยละ 2.5 ว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ประเมินความสุขมวลรวมของ
ประชาชนคนไทยภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness) ประจำเดือนพฤษภาคม : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ต่างจังหวัด จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 4,336 คน ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 1 —7 มิถุนายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
ดร.นพดล กล่าวว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่มักจะประเมินความสำเร็จในการพัฒนาประเทศด้วยตัวเลขทางเศรษฐกิจและเงินใน
กระเป๋าของประชาชน นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ก็มักวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคผ่านแนวโน้มของพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยและสวัสดิการสาธารณะที่
ประชาชนได้รับ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ Gross Domestic Product (GDP) ก็ถูกนำมาเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งถึงสภาวะความ
เป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเป้าหมายสูงสุดของประชาชนทั่วไปจะพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการความสุขในชีวิตเป็นเป้าหมายสุดท้าย
คณะผู้วิจัยเอแบคโพลล์จึงตัดสินใจทำการวัดความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศรายเดือน (Monthly report of Gross Domestic
Happiness) เพื่อทราบถึงสภาวะความสุขมวลรวมในชีวิตของคนไทยว่ามีความสุขในระดับใดของปัจจัยต่างๆ ที่ทำการศึกษา
ปัจจัยที่ 1 เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย พบว่าในเดือนพฤษภาคมนี้ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.9 มีความสุขด้านวัฒนธรรมประเพณีของ
ไทย เช่น เทศกาลงานรื่นเริงต่างๆ การแสดงพลังจงรักภักดี “เรารักในหลวง” ของประชาชน และงานบุญงานบวชต่างๆ
ปัจจัยที่ 2 เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม พบว่าประชาชนร้อยละ 71.9 มีความสุขกับสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เช่น การคมนาคม ถนนหนทาง สิ่ง
แวดล้อม
ปัจจัยที่ 3 เกี่ยวกับสุขภาพกาย พบว่าประชาชนร้อยละ 67.2 มีความสุขกับสุขภาพกาย เช่น ปัจจัยสี่ ความแข็งแรงของร่างกาย และการ
บริการของรัฐด้านสาธารณสุข
ปัจจัยที่ 4 เกี่ยวกับระบบการศึกษา พบว่า ประชาชนร้อยละ 64.8 มีความสุขกับระบบการศึกษาของประเทศ เช่น การส่งเสริมภูมิปัญญา
ท้องถิ่น โอกาสทางการศึกษา และมาตรฐานการทดสอบ
ปัจจัยที่ 5 เกี่ยวกับธรรมชาติ พบว่า ประชาชนร้อยละ 63.4 มีความสุขกับธรรมชาติ เช่น ความสวยงาม ความอุดมสมบูรณ์ ความหลาก
หลาย และความเพียงพอของธรรมชาติ
ปัจจัยที่ 6 เกี่ยวกับ สุขภาพใจ พบว่า ประชาชนร้อยละ 61.3 มีความสุขกับสุขภาพใจ เช่น ศีลธรรม จริยธรรม ความเอื้ออาทรทาง
สังคม และการมีส่วนร่วมผูกพันกับชุมชน
ปัจจัยที่ 7 เกี่ยวกับชุมชนที่พักอาศัย พบว่า ร้อยละ 60.4 มีความสุขกับชุมชนที่พักอาศัย เช่น การช่วยเหลือกันและกัน การช่วยกันทำความ
สะอาดชุมชน การแก้ปัญหายาเสพติด การป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรม และการช่วยกันรักษาทรัพย์สินส่วนรวมในชุมชน
ปัจจัยที่ 8 เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม พบว่า ร้อยละ 59.6 มีความสุขกับกระบวนการยุติธรรมของไทย เช่น การทำงานของตำรวจ
ทนายความ อัยการ ศาล และราชทัณฑ์
ปัจจัยที่ 9 เกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจ พบว่า ร้อยละ 52.5 มีความสุขกับสภาวะเศรษฐกิจ เช่น ราคาสินค้า ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ราย
ได้ ภาระจับจ่ายใช้สอย ภาระหนี้สิน
ปัจจัยที่ 10 เกี่ยวกับการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ พบว่า ร้อยละ 44.7 มีความสุขกับเรื่องการเมือง ผลการทำงานของรัฐบาล และ
การทำงานขององค์กรอิสระ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อทำให้คนไทยมีความสุขน้อยลงในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนคนไทย
ส่วนใหญ่ในทุกภูมิภาคคือ คนภาคเหนือร้อยละ 57.2 คนภาคกลางร้อยละ 54.6 คนกรุงเทพมหานครร้อยละ 59.3 คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ
52.0 และคนภาคใต้ร้อยละ 58.1 ระบุว่าปัจจัยทางการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระทำให้มีความสุขน้อยลง
เช่นเดียวกันกับ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ที่คนภาคเหนือร้อยละ 51.5 คนภาคกลางร้อยละ 50.2 คนกรุงเทพมหานครร้อยละ 54.3 คนภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 52.7 และคนภาคใต้ร้อยละ 55.8 ระบุว่าสภาวะเศรษฐกิจที่ประกอบไปด้วยราคาสินค้า ราคาน้ำมัน รายได้ ภาระหนี้สิน
ทำให้มีความสุขน้อยลงในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ส่วนประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจคือ ผลสำรวจพบว่า คนภาคใต้เกือบร้อยละ 50 ที่ระบุว่าสุขภาพใจเช่นความเอื้ออาทรทางสังคม การมีส่วน
ร่วมผูกพันกับชุมชนอยู่ในระดับต่ำ แต่มีความเครียดสูง ส่งผลทำให้มีความสุขน้อยลง ในขณะที่คนกรุงเทพมหานครเกินกว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 29.4 ที่
ระบุว่าสุขภาพทางกายส่งผลทำให้มีความสุขน้อยลง
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการวัดค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขต่อปัจจัยด้านต่างๆ พบความสอดคล้องกันของผลสำรวจ เมื่อคะแนนเต็ม 10
คะแนน พบว่า คนกรุงเทพมหานครและคนภาคใต้มีค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขกับปัจจัยทางการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระประจำเดือนพฤษภาคม อยู่ที่
4.09 และ 4.11 คะแนนเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขของประชาชนด้านวัฒนธรรมประเพณีของไทยทุกภาคมีค่าคะแนนเฉลี่ยเกินกว่า 9.00 ยกเว้น
ประชาชนในภาคใต้ที่มีค่าเฉลี่ยความสุขด้านวัฒนธรรมไทยอยู่ที่ 8.95 คะแนน
“จากการวัดค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศหรือ GDH เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ค่าเฉลี่ย
คะแนนความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศเท่ากับ 6.59 และเมื่อจำแนกค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายใน
ประเทศ (GDH) ออกเป็นภูมิภาคต่างๆ เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ประชาชนในกรุงเทพมหานครและภาคใต้มีค่าคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ
6.20 และ 6.22 ในขณะที่ประชาชนในภาคกลางกลับมีคะแนนความสุขมวลรวมมากกว่าภาคอื่นๆ คือ 6.80 รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
6.69 และภาคเหนือ 6.61 ตามลำดับ” ดร.นพดล กล่าว
เมื่อนำค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยมาเปรียบเทียบกับคะแนนที่วัดได้ช่วง 3 เดือนแรกของปีและเดือนเมษายน พบว่า ค่าเฉลี่ย
ความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศในช่วง 3 เดือนแรกอยู่ที่ 5.47 คะแนน ซึ่งสาเหตุสำคัญน่าจะมาจากปัจจัยทางการเมือง-รัฐบาลเป็นสำคัญที่
ฉุดความสุขคนไทยอยู่ในระดับที่เกินครึ่งเล็กน้อยเท่านั้น เช่น ปัญหาความเคลือบแคลงสงสัยของประชาชนต่อคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี ปัญหาทุจริต
คอรัปชั่น ความขัดแย้งทางการเมือง การใช้ความรุนแรง และความกังวลเรื่องความแตกแยกของคนในชาติ แต่ในเดือนเมษายนวัดค่าคะแนนเฉลี่ยความ
สุขของประชาชนสูงขึ้นถึง 6.08 เป็นเพราะปัจจัยด้านวัฒนธรรมและประเพณีของไทยดึงความสุขมวลรวมของคนไทยให้สูงขึ้น เช่น เทศกาลสงกรานต์
งานบุญงานบวชต่างๆ และในเดือนพฤษภาคมผลสำรวจพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนพฤษภาคมสูงขึ้นมา
ที่ 6.59 คะแนน ปัจจัยบวกยังคงอยู่ที่ความสุขของประชาชนต่อวัฒนธรรมประเพณีของไทย เช่นงานฉลองการครองสิริราชย์สมบัติครบ 60 ปี และงาน
ประเพณีต่างๆ ของคนไทย ทั้งๆ ที่ปัจจัยลบสองประการยังคงมีอยู่คือปัจจัยทางการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ ที่ยังไม่ความชัดเจนในสถานการณ์ และ
ปัจจัยสภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลในทางลบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนผู้บริโภค
ดร.นพดล กล่าวสรุปว่า ถ้าคนไทยไม่เจอปัจจัยลบด้านเศรษฐกิจและความขัดแย้งทางการเมืองแล้ว ค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย
ทั้งประเทศน่าจะขึ้นสูงถึงระดับ 8-9 ของคะแนนเต็ม 10 ดังนั้น ในสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจขณะนี้ โมเดลหรือรูปแบบแนวทางป้องกันแก้ไข
วิกฤตการณ์ของสังคมที่เป็นไปได้ประการแรกคือ การอาศัยพลังจงรักภักดี “เรารักในหลวง” สร้างความเป็นหนึ่งเดียวของคนในชาติขึ้นมาด้วยคุณธรรม
ด้านไมตรีจิตแก่กันและกัน ประการที่สองคือ ฝ่ายการเมืองและรัฐบาลควรหล่อหลอมปรัชญาและแนวพระราชดำริด้านการปกครอง ผสมผสานโครงการ
พระราชดำริต่างๆ ทุกโครงการเข้าสู่นโยบายสาธารณะเพื่อประชาชนทั้งประเทศ และประการที่สามคือ จัดทำยุทธศาสตร์ชาติและท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจ
สังคม การเมืองและบริบทอื่นๆ ของประเทศ เช่น ความมั่นคง ที่มาจากการบูรณาการแนวปรัชญาการปกครอง โครงการพระราชดำริต่างๆ และวิถีชีวิต
ของคนไทยทั้งประเทศ
“ที่ผ่านมา รัฐบาลมักส่งคนไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ แล้วนำแนวคิดนโยบายของต่างประเทศมาปรับใช้เป็นนโยบายประชานิยม การไป
ศึกษาดูงานแต่ละครั้งสูญเสียงบประมาณแผ่นดินจำนวนมาก ทำไมรัฐบาลไม่ศึกษาดูงานโครงการหลวงอย่างลึกซึ้งและนำมาปรับใช้กับวิถีชีวิตของคนไทย
สร้างเป็นนโยบายประชานิยมโดยไม่ต้องสูญเสียงบประมาณแผ่นดิน รัฐบาลช่วงขาลง และกลุ่มการเมืองบางกลุ่มที่อยู่ในช่วงขาขึ้นก็จะได้พลังประชาชนทุก
หมู่เหล่าสนับสนุนขึ้นมาบริหารประเทศบนฐานของความเป็นหนึ่งเดียวกัน” ดร.นพดล กล่าว
ในทางตรงกันข้าม ถ้าฝ่ายการเมืองและบุคคลบางกลุ่มในองค์กรอิสระยังคงยึดอัตตาและดึงกระแสหลักพลังแห่งความจงรักภักดีมาสร้าง
ความชอบธรรมให้กับตัวเองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง และชักนำสังคมให้เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวกมีความแตกแยกต่อไป จากนั้นอารมณ์ความ
รู้สึกของสาธารณชนจะพัฒนาเรื่องการเมืองของประเทศไปสู่ความโกรธแค้นส่วนตัวกับฝ่ายตรงข้ามและจะต่อสู้ทำลายกันจนบ้านเมืองอาจลุกเป็นไฟ
กระจายเป็นจุดๆ ถ้าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแกนนำของฝ่ายการเมืองและกลุ่มเคลื่อนไหวก็จะไม่สามารถห้ามปรามได้ ผลที่ตามมาก็คือ วิกฤตการณ์ของ
ประเทศซ้ำซากที่ประชาชนธรรมดาทั่วไปส่วนใหญ่เดือดร้อน แต่ชนชั้นนำของประเทศส่วนใหญ่กลับอยู่ได้อย่างสบายก็คงจะปรากฏให้เห็นกันอีกครั้ง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมการติดตามข่าวสารประจำวัน
ลำดับที่ พฤติกรรมการติดตามข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 94.7
2 ไม่ได้ติดตาม 5.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขภาพรวมในด้านต่างๆ
ลำดับที่ ความสุขภาพรวมในด้านต่างๆ ค่าร้อยละ
1 ด้านวัฒนธรรมประเพณี (เช่น การแสดงพลังจงรักภักดี “เรารักในหลวง” ของประชาชน เทศกาลรื่นเริง งานบุญงานบวชต่างๆ ) 92.9
2 สภาพแวดล้อม (เช่น การคมนาคม สิ่งแวดล้อม ความสะดวกในการเข้าถึงและใช้โทรศัพท์พื้นฐาน ไฟฟ้า แหล่งน้ำกินน้ำใช้) 71.9
3 สุขภาพกาย (เช่น ปัจจัยสี่ ความเจ็บไข้ได้ป่วย การบริการของรัฐด้านสุขภาพ ระบบสาธารณสุข) 67.2
4 การศึกษา (เช่น ภูมิปัญญา โอกาสทางการศึกษา มาตรฐานการทดสอบ) 64.8
5 ธรรมชาติ (เช่น ความสวยงาม ความอุดมสมบูรณ์ ความหลากหลาย) 63.4
6 สุขภาพใจ (เช่น ศีลธรรม จริยธรรม ความเอื้ออาทรทางสังคม การมีส่วนร่วมผูกพันกับชุมชน) 61.3
7 ด้านชุมชนที่พักอาศัย (เช่น ความช่วยเหลือกันของคนในชุมชน การแก้ปัญหายาเสพติด การแก้ปัญหาอาชญากรรม
การรักษาทรัพย์สมบัติส่วนรวมในชุมชน) 60.4
8 กระบวนการยุติธรรม (เช่น การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทนายความ อัยการ ศาล คุมประพฤติ ราชทัณฑ์) 59.6
9 ด้านเศรษฐกิจ (เช่น ราคาสินค้า ราคาน้ำมัน รายได้ การจับจ่ายใช้สอย หนี้สิน) 52.5
10 การเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ (เช่น จริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต การแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
การมีส่วนร่วมทางการเมือง) 44.7
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบทำให้มีความสุขน้อยลงในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความสุขภาพรวมในด้านต่างๆ ภาคเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้
1 สภาพแวดล้อม 19.9 24.3 32.5 27.6 30.4
2 ด้านชุมชนที่พักอาศัย 23.6 25.8 42.8 22.1 40.9
3 ด้านเศรษฐกิจ 51.5 50.2 54.3 52.7 55.8
4 การศึกษา 26.6 29.1 27.3 33.5 56.7
5 ธรรมชาติ 35.2 23.8 25.9 39.4 24.4
6 การเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ 57.2 54.6 59.3 52.0 58.1
7 สุขภาพกาย 22.5 26.8 29.4 21.5 16.3
8 สุขภาพใจ 41.8 33.1 45.4 34.2 49.0
9 ด้านวัฒนธรรม ประเพณี 8.2 7.2 11.6 7.7 14.2
10 กระบวนการยุติธรรม 17.9 15.6 21.1 23.1 33.8
ตารางที่ 4 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขภาพรวมในด้านต่างๆ จำแนกตามภูมิภาค เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ ความสุขภาพรวมในด้านต่างๆ ภาคเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้
1 สภาพแวดล้อม 7.92 7.68 7.01 7.14 7.07
2 ด้านชุมชนที่พักอาศัย 7.43 7.53 6.03 7.71 6.12
3 ด้านเศรษฐกิจ 5.80 5.84 5.11 5.33 5.28
4 การศึกษา 6.28 6.17 6.42 6.02 5.49
5 ธรรมชาติ 6.03 7.40 6.14 6.49 6.62
6 การเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ 4.16 4.85 4.09 5.21 4.11
7 สุขภาพกาย 6.85 6.31 6.29 6.80 7.16
8 สุขภาพใจ 6.21 6.44 5.81 6.23 5.88
9 ด้านวัฒนธรรม ประเพณีไทย 9.56 9.52 9.47 9.55 8.95
10 กระบวนการยุติธรรม 6.02 6.17 5.84 6.15 5.47
ค่าความสุขมวลรวม (GDH) 6.61 6.80 6.20 6.69 6.22
ตารางที่ 5 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนพฤษภาคม
เมื่อคะแนนเต็ม 10
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนพฤษภาคม(Gross Domestic Happiness) 6.59
ตารางที่ 6 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนพฤษภาคม
เปรียบเทียบกับช่วง 3 เดือนแรกของปี และเดือนเมษายน เมื่อคะแนนเต็ม 10
ม.ค.— มี.ค. เดือนเมษายน เดือนพฤษภาคม
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศ(Gross Domestic Happiness) 5.47 6.08 6.59
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-