ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “คุณธรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ
กับความคาดหวังของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน: กรณีตัวอย่างประชาชนใน 24 จังหวัดของประเทศ” จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 15,538
ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม — 16 กันยายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำอย่างใกล้ชิดในช่วง 30 วันที่ผ่านมา และเมื่อสอบถามถึงความประทับ
ใจของประชาชนต่อคุณธรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.9 ประทับใจเรื่องการทุ่มเททำงานหนัก รองลงมาคือ ร้อยละ
57.1 ประทับใจผลงานแก้ปัญหาที่เด่นชัด เช่น ปัญหายาเสพติด และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ร้อยละ 53.3 ประทับใจเรื่องความอด
ทน ร้อยละ 51.2 ระบุเรื่องการบริจาคการให้ทาน ร้อยละ 42.3 ประทับใจในความสำเร็จทางธุรกิจ ความร่ำรวย ร้อยละ 40.1 เป็นเรื่องกล้าคิด
กล้าตัดสินใจ ร้อยละ 23.8 เป็นเรื่องความไม่เบียดเบียนผู้อื่น ร้อยละ 20.5 เป็นเรื่องความเป็นผู้นำ ร้อยละ 16.2 เป็นเรื่องความสุภาพอ่อนโยน
และร้อยละ13.7 เป็นเรื่องความเสียสละ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.2
ยังคงเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ ร้อยละ 62.5 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์ทางการเมือง ร้อยละ 36.1 เครียดเรื่องการเมือง ร้อยละ
20.2 ขัดแย้งกับคนใกล้ชิด ร้อยละ 70.8 เบื่อหน่ายเรื่องการเมือง และร้อยละ 93.6 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี
เมื่อสอบถามต่อในรายละเอียดของความต้องการและความคาดหวังของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พบประเด็นที่น่าพิจารณา
คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.2 ต้องการให้ปัญหาการเมืองยุติโดยเร็ว ร้อยละ 64.8 ต้องการให้คนไทยรักสามัคคีกัน ร้อยละ 52.6 ต้องการให้นายก
เสียสละ ร้อยละ 50.3 คาดหวังให้เศรษฐกิจดีขึ้น ร้อยละ 46.4
คาดหวังว่า นายกรัฐมนตรีจะแก้ไขความขัดแย้งในหมู่ประชาชนได้ ร้อยละ 43.2 คาดหวังว่าคนไทยจะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไมตรีต่อกันและกัน
ร้อยละ 40.6 จะไม่เกิดการปะทะใช้ความรุนแรงในสังคมไทย ร้อยละ 36.1 นักการเมืองจะไม่ยึดติดกับตำแหน่ง ร้อยละ 32.2 จะไม่มีการชุมนุม
ประท้วงเกิดขึ้น และร้อยละ 30.5 จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็ว
เมื่อสอบถามถึงการตัดสินใจทางการเมืองขณะนี้ พบว่าร้อยละ 49.1 ไม่เลือกข้างโดยระบุไม่ฝักใฝ่ฝายหนึ่งฝ่ายใด ในขณะที่ร้อยละ
29.4 เลือกสนับสนุนรัฐบาล และร้อยละ 21.5 เลือกไม่สนับสนุนรัฐบาล แต่เมื่อจำแนกออกตามภูมิภาคต่างๆ พบความแตกต่างของการตัดสินใจในหมู่
ประชาชนที่สำคัญคือ ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 43.4 สนับสนุนรัฐบาลอย่างเห็นได้ชัดเจน ตรงกันข้ามกับกลุ่มประชาชนในภาคใต้ที่มี
เพียงร้อยละ 3.6 เท่านั้นที่สนับสนุนรัฐบาลโดยภาพรวม ร้อยละ 34.4 ไม่สนับสนุน แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.0 ของประชาชนในภาคใต้ไม่ต้องการ
เลือกข้างใดข้างหนึ่งโดยประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามให้เหตุผลว่าต้องการให้สังคมไทยพบสันติโดยเร็วไม่ต้องการเลือกฝักเลือกฝ่าย ในขณะที่ประชาชน
ในกรุงเทพมหานครมีการแบ่งเป็นกลุ่มๆ ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มสนับสนุน ไม่สนับสนุน และกลุ่มไม่เลือกข้าง คือประมาณ 1 ใน 3 พอๆ กัน
ดร.นพดล กล่าวว่า ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อศึกษาแนวโน้มการสนับสนุนการอยู่ในตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีในแต่ละช่วงเวลา
สถานการณ์การเมือง พบว่า การสนับสนุนของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ สะท้อนความเป็นจริงทางการเมืองประการหนึ่งคือ ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน
ของโลกการเมือง เพราะแนวโน้มการสนับสนุนของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ มีขึ้นลงตลอดเวลา และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ กับ
เดือนกันยายนปีนี้ พบว่า มีแนวโน้มลดลงอีกเล็กน้อยจากร้อยละ 34.5 เหลือร้อยละ 32.4 อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้แต่เพียงว่า แม้เวลาผ่านไป
ประมาณ 7 — 8 เดือน แต่แรงสนับสนุนของประชาชนต่อการอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน หลังจากที่ครั้งหนึ่งเคยได้รับการ
สนับสนุนจากประชาชนสูงถึงเกือบร้อยละ 80 เลยทีเดียว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สิ่งที่สังคมไทยควรพิจารณามีอย่างน้อยสามประการ คือ
ประการแรก เมื่อการสนับสนุนของสาธารณชนต่อรัฐบาลมีไม่มากพอในการขับเคลื่อนแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประเทศ ผลที่ตาม
มาก็คือ ปัญหายาเสพติด ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ และการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติต่างๆ ที่ประชาชนกำลังเดือดร้อนอยู่ ก็อาจกลายเป็นปัญหาที่สร้างผล
กระทบทำให้ประชาชนทั้งประเทศไม่สามารถอยู่เย็นเป็นสุขได้
ประการที่สอง เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ยังคงมีภาพประทับใจในคุณธรรมของนายกรัฐมนตรีอยู่ในหลายด้าน แต่เนื่องจากสถานการณ์การเมือง
ปัจจุบันทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ท่ามกลางความวิตกกังวล ความเครียด ความขัดแย้ง และความเบื่อหน่าย จนส่งผลกระทบต่อการสนับสนุน
การอยู่ในตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี ดังนั้น นายกรัฐมนตรีน่าจะตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเร็ว เพื่อทำให้สาธารณชนโล่งอก ลดความวิตกกังวล ลด
ความเครียดและความขัดแย้งลงไปได้ มิฉะนั้น ภาพความประทับใจในคุณธรรมของนายกรัฐมนตรีในหมู่ประชาชนอาจเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกัน
ข้าม เมื่อถึงเวลานั้น การกู้คืนกลับมาย่อมเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก
ประการที่สาม ฝ่ายการเมืองอาจมองอีกด้านหนึ่งซึ่งสังคมคงต้องช่วยกันติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะมีเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใดที่จะเกิดขึ้น
ในช่วงเวลาอันใกล้นี้และต้องการผู้นำที่มีคุณลักษณะคล้ายกับนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันหรือไม่เพื่อเข้ามาแก้ไขสถานการณ์และเรียกการสนับสนุนความเชื่อมั่น
ศรัทธาจากสาธารณชน
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณธรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
3. เพื่อสำรวจความต้องการและคาดหวังของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
4. เพื่อศึกษาแนวโน้มการสนับสนุนการอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในแต่ละช่วงเวลาของสถานการณ์การเมือง
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “คุณธรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณกับความต้องการ
และความคาดหวังของสาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 24 จังหวัดของประเทศ” รวมจำนวนตัวอย่าง
ทั้งสิ้น 15,538 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม — 16 กันยายน พ.ศ. 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 24 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรสาคร
จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ลพบุรี นครปฐม ชลบุรี พัทลุง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตาก พิจิตร ลำปาง นครสวรรค์ เชียงใหม่ ยโสธร
มหาสารคาม สกลนคร สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น และนครราชสีมา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 15,538 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 48.2
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 23.0
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 16.7
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 5.2
5 ไม่ได้ติดตามเลย 6.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความประทับใจต่อ คุณธรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เรื่องที่ตัวอย่างประทับใจต่อ คุณธรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ค่าร้อยละ
1 ทุ่มเททำงานหนัก 64.9
2 มีผลงานเด่นชัดเจน เช่น แก้ปัญหายาเสพติด หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 57.1
3 ความอดทน 53.3
4 การบริจาคการให้ทาน 51.2
5 ความสำเร็จทางธุรกิจ ความร่ำรวย 42.3
6 กล้าคิดกล้าตัดสินใจ 40.1
7 ความไม่เบียดเบียนผู้อื่น 23.8
8 ความเป็นผู้นำ 20.5
9 ความสุภาพอ่อนโยน 16.2
10 ความเสียสละ 13.7
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ อารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ อารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ร้อยละ
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 97.2
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 62.5
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 36.1
4 ขัดแย้งกับคนใกล้ชิด 20.2
5 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 70.8
6 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี 93.6
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการและความคาดหวังในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความต้องการและความคาดหวังในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 ต้องการให้ปัญหาการเมืองยุติโดยเร็ว 66.2
2 คนไทยจะรักสามัคคีกัน 64.8
3 นายกจะเสียสละ 52.6
4 เศรษฐกิจจะดีขึ้น 50.3
5 นายกจะแก้ไขความขัดแย้งในหมู่ประชาชนได้ 46.4
6 คนไทยจะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีไมตรีจิตต่อกัน 43.2
7 จะไม่เกิดการปะทะใช้ความรุนแรงในสังคมไทย 40.6
8 นักการเมืองจะไม่ยึดติดตำแหน่ง 36.1
9 จะไม่มีการชุมนุมประท้วง 32.2
10 จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็ว 30.5
ตารางที่ 5 แสดงผลประมาณการค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การตัดสินใจทางการเมืองปัจจุบัน
ลำดับที่ การตัดสินใจทางการเมืองปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนพรรครัฐบาลโดยภาพรวม 29.4
2 ไม่สนับสนุนพรรครัฐบาล 21.5
3 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด 49.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การตัดสินใจทางการเมือง จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ การตัดสินใจทางการเมือง เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 สนับสนุนพรรครัฐบาลภาพรวม 21.5 28.0 43.4 3.6 34.4
2 ไม่สนับสนุน 14.0 23.3 17.3 34.4 30.7
3 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด 64.5 48.7 39.3 62.0 34.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงแนวโน้มค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การสนับสนุนการอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในแต่ละช่วงเวลาของ
สถานการณ์การเมือง
ช่วงเวลา ธค. 46 กพ. 47 กค. 47 กย. 47 กพ. 48 กค. 48
สนับสนุนนายกรัฐมนตรีภาพรวม 64.6 60.1 61.6 48.1 77.5 45.9
ช่วงเวลา ตค. 48 กพ. 49 กย. 49
สนับสนุนนายกรัฐมนตรีภาพรวม 58.2 34.5 32.4
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
กับความคาดหวังของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน: กรณีตัวอย่างประชาชนใน 24 จังหวัดของประเทศ” จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 15,538
ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม — 16 กันยายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำอย่างใกล้ชิดในช่วง 30 วันที่ผ่านมา และเมื่อสอบถามถึงความประทับ
ใจของประชาชนต่อคุณธรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.9 ประทับใจเรื่องการทุ่มเททำงานหนัก รองลงมาคือ ร้อยละ
57.1 ประทับใจผลงานแก้ปัญหาที่เด่นชัด เช่น ปัญหายาเสพติด และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ร้อยละ 53.3 ประทับใจเรื่องความอด
ทน ร้อยละ 51.2 ระบุเรื่องการบริจาคการให้ทาน ร้อยละ 42.3 ประทับใจในความสำเร็จทางธุรกิจ ความร่ำรวย ร้อยละ 40.1 เป็นเรื่องกล้าคิด
กล้าตัดสินใจ ร้อยละ 23.8 เป็นเรื่องความไม่เบียดเบียนผู้อื่น ร้อยละ 20.5 เป็นเรื่องความเป็นผู้นำ ร้อยละ 16.2 เป็นเรื่องความสุภาพอ่อนโยน
และร้อยละ13.7 เป็นเรื่องความเสียสละ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.2
ยังคงเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ ร้อยละ 62.5 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์ทางการเมือง ร้อยละ 36.1 เครียดเรื่องการเมือง ร้อยละ
20.2 ขัดแย้งกับคนใกล้ชิด ร้อยละ 70.8 เบื่อหน่ายเรื่องการเมือง และร้อยละ 93.6 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี
เมื่อสอบถามต่อในรายละเอียดของความต้องการและความคาดหวังของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พบประเด็นที่น่าพิจารณา
คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.2 ต้องการให้ปัญหาการเมืองยุติโดยเร็ว ร้อยละ 64.8 ต้องการให้คนไทยรักสามัคคีกัน ร้อยละ 52.6 ต้องการให้นายก
เสียสละ ร้อยละ 50.3 คาดหวังให้เศรษฐกิจดีขึ้น ร้อยละ 46.4
คาดหวังว่า นายกรัฐมนตรีจะแก้ไขความขัดแย้งในหมู่ประชาชนได้ ร้อยละ 43.2 คาดหวังว่าคนไทยจะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไมตรีต่อกันและกัน
ร้อยละ 40.6 จะไม่เกิดการปะทะใช้ความรุนแรงในสังคมไทย ร้อยละ 36.1 นักการเมืองจะไม่ยึดติดกับตำแหน่ง ร้อยละ 32.2 จะไม่มีการชุมนุม
ประท้วงเกิดขึ้น และร้อยละ 30.5 จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็ว
เมื่อสอบถามถึงการตัดสินใจทางการเมืองขณะนี้ พบว่าร้อยละ 49.1 ไม่เลือกข้างโดยระบุไม่ฝักใฝ่ฝายหนึ่งฝ่ายใด ในขณะที่ร้อยละ
29.4 เลือกสนับสนุนรัฐบาล และร้อยละ 21.5 เลือกไม่สนับสนุนรัฐบาล แต่เมื่อจำแนกออกตามภูมิภาคต่างๆ พบความแตกต่างของการตัดสินใจในหมู่
ประชาชนที่สำคัญคือ ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 43.4 สนับสนุนรัฐบาลอย่างเห็นได้ชัดเจน ตรงกันข้ามกับกลุ่มประชาชนในภาคใต้ที่มี
เพียงร้อยละ 3.6 เท่านั้นที่สนับสนุนรัฐบาลโดยภาพรวม ร้อยละ 34.4 ไม่สนับสนุน แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.0 ของประชาชนในภาคใต้ไม่ต้องการ
เลือกข้างใดข้างหนึ่งโดยประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามให้เหตุผลว่าต้องการให้สังคมไทยพบสันติโดยเร็วไม่ต้องการเลือกฝักเลือกฝ่าย ในขณะที่ประชาชน
ในกรุงเทพมหานครมีการแบ่งเป็นกลุ่มๆ ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มสนับสนุน ไม่สนับสนุน และกลุ่มไม่เลือกข้าง คือประมาณ 1 ใน 3 พอๆ กัน
ดร.นพดล กล่าวว่า ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อศึกษาแนวโน้มการสนับสนุนการอยู่ในตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีในแต่ละช่วงเวลา
สถานการณ์การเมือง พบว่า การสนับสนุนของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ สะท้อนความเป็นจริงทางการเมืองประการหนึ่งคือ ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน
ของโลกการเมือง เพราะแนวโน้มการสนับสนุนของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ มีขึ้นลงตลอดเวลา และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ กับ
เดือนกันยายนปีนี้ พบว่า มีแนวโน้มลดลงอีกเล็กน้อยจากร้อยละ 34.5 เหลือร้อยละ 32.4 อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้แต่เพียงว่า แม้เวลาผ่านไป
ประมาณ 7 — 8 เดือน แต่แรงสนับสนุนของประชาชนต่อการอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน หลังจากที่ครั้งหนึ่งเคยได้รับการ
สนับสนุนจากประชาชนสูงถึงเกือบร้อยละ 80 เลยทีเดียว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สิ่งที่สังคมไทยควรพิจารณามีอย่างน้อยสามประการ คือ
ประการแรก เมื่อการสนับสนุนของสาธารณชนต่อรัฐบาลมีไม่มากพอในการขับเคลื่อนแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประเทศ ผลที่ตาม
มาก็คือ ปัญหายาเสพติด ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ และการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติต่างๆ ที่ประชาชนกำลังเดือดร้อนอยู่ ก็อาจกลายเป็นปัญหาที่สร้างผล
กระทบทำให้ประชาชนทั้งประเทศไม่สามารถอยู่เย็นเป็นสุขได้
ประการที่สอง เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ยังคงมีภาพประทับใจในคุณธรรมของนายกรัฐมนตรีอยู่ในหลายด้าน แต่เนื่องจากสถานการณ์การเมือง
ปัจจุบันทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ท่ามกลางความวิตกกังวล ความเครียด ความขัดแย้ง และความเบื่อหน่าย จนส่งผลกระทบต่อการสนับสนุน
การอยู่ในตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี ดังนั้น นายกรัฐมนตรีน่าจะตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเร็ว เพื่อทำให้สาธารณชนโล่งอก ลดความวิตกกังวล ลด
ความเครียดและความขัดแย้งลงไปได้ มิฉะนั้น ภาพความประทับใจในคุณธรรมของนายกรัฐมนตรีในหมู่ประชาชนอาจเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกัน
ข้าม เมื่อถึงเวลานั้น การกู้คืนกลับมาย่อมเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก
ประการที่สาม ฝ่ายการเมืองอาจมองอีกด้านหนึ่งซึ่งสังคมคงต้องช่วยกันติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะมีเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใดที่จะเกิดขึ้น
ในช่วงเวลาอันใกล้นี้และต้องการผู้นำที่มีคุณลักษณะคล้ายกับนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันหรือไม่เพื่อเข้ามาแก้ไขสถานการณ์และเรียกการสนับสนุนความเชื่อมั่น
ศรัทธาจากสาธารณชน
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณธรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
3. เพื่อสำรวจความต้องการและคาดหวังของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
4. เพื่อศึกษาแนวโน้มการสนับสนุนการอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในแต่ละช่วงเวลาของสถานการณ์การเมือง
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “คุณธรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณกับความต้องการ
และความคาดหวังของสาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 24 จังหวัดของประเทศ” รวมจำนวนตัวอย่าง
ทั้งสิ้น 15,538 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม — 16 กันยายน พ.ศ. 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 24 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรสาคร
จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ลพบุรี นครปฐม ชลบุรี พัทลุง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตาก พิจิตร ลำปาง นครสวรรค์ เชียงใหม่ ยโสธร
มหาสารคาม สกลนคร สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น และนครราชสีมา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 15,538 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 48.2
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 23.0
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 16.7
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 5.2
5 ไม่ได้ติดตามเลย 6.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความประทับใจต่อ คุณธรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เรื่องที่ตัวอย่างประทับใจต่อ คุณธรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ค่าร้อยละ
1 ทุ่มเททำงานหนัก 64.9
2 มีผลงานเด่นชัดเจน เช่น แก้ปัญหายาเสพติด หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 57.1
3 ความอดทน 53.3
4 การบริจาคการให้ทาน 51.2
5 ความสำเร็จทางธุรกิจ ความร่ำรวย 42.3
6 กล้าคิดกล้าตัดสินใจ 40.1
7 ความไม่เบียดเบียนผู้อื่น 23.8
8 ความเป็นผู้นำ 20.5
9 ความสุภาพอ่อนโยน 16.2
10 ความเสียสละ 13.7
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ อารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ อารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ร้อยละ
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 97.2
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 62.5
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 36.1
4 ขัดแย้งกับคนใกล้ชิด 20.2
5 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 70.8
6 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี 93.6
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการและความคาดหวังในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความต้องการและความคาดหวังในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 ต้องการให้ปัญหาการเมืองยุติโดยเร็ว 66.2
2 คนไทยจะรักสามัคคีกัน 64.8
3 นายกจะเสียสละ 52.6
4 เศรษฐกิจจะดีขึ้น 50.3
5 นายกจะแก้ไขความขัดแย้งในหมู่ประชาชนได้ 46.4
6 คนไทยจะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีไมตรีจิตต่อกัน 43.2
7 จะไม่เกิดการปะทะใช้ความรุนแรงในสังคมไทย 40.6
8 นักการเมืองจะไม่ยึดติดตำแหน่ง 36.1
9 จะไม่มีการชุมนุมประท้วง 32.2
10 จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็ว 30.5
ตารางที่ 5 แสดงผลประมาณการค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การตัดสินใจทางการเมืองปัจจุบัน
ลำดับที่ การตัดสินใจทางการเมืองปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนพรรครัฐบาลโดยภาพรวม 29.4
2 ไม่สนับสนุนพรรครัฐบาล 21.5
3 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด 49.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การตัดสินใจทางการเมือง จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ การตัดสินใจทางการเมือง เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 สนับสนุนพรรครัฐบาลภาพรวม 21.5 28.0 43.4 3.6 34.4
2 ไม่สนับสนุน 14.0 23.3 17.3 34.4 30.7
3 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด 64.5 48.7 39.3 62.0 34.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงแนวโน้มค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การสนับสนุนการอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในแต่ละช่วงเวลาของ
สถานการณ์การเมือง
ช่วงเวลา ธค. 46 กพ. 47 กค. 47 กย. 47 กพ. 48 กค. 48
สนับสนุนนายกรัฐมนตรีภาพรวม 64.6 60.1 61.6 48.1 77.5 45.9
ช่วงเวลา ตค. 48 กพ. 49 กย. 49
สนับสนุนนายกรัฐมนตรีภาพรวม 58.2 34.5 32.4
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-