ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง สำรวจทัศนคติและปัญหา
คอรัปชั่นที่ประสบ: กรณีศึกษาตัวอย่างผู้ประกอบการธุรกิจในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดรวม 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,139
ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม — 18 พฤศจิกายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
เมื่อสอบถามถึงประสบการณ์ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในช่วง 30 วันก่อนรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นอำนาจ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.9
ระบุเคยประสบปัญหาข้าราชการรับเงินเพื่อให้พ้นข้อกล่าวหา รองลงมาคือร้อยละ 52.0 ระบุเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจรับเงินของกำนัลจากประชาชนเพื่อ
เกื้อกูลกันทางธุรกิจ ร้อยละ 51.0 ระบุข้าราชการที่อำเภอหรือสำนักงานเขตต่างๆ เลือกปฏิบัติให้บริการที่ดีกว่ากับประชาชนคนที่ให้เงินหรือของกำนัล
ร้อยละ 50.9 ระบุลูกเมีย ญาติพี่น้องของข้าราชการนำทรัพย์สินทางราชการไปใช้เรื่องส่วนตัว และร้อยละ 48.7 ระบุข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการ
ออกใบอนุญาตต่างๆ รับเงินใต้โต๊ะ ตามลำดับ
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ การเปรียบเทียบปัญหาคอรัปชั่นในช่วง 30 วันก่อนรัฐบาลทักษิณพ้นอำนาจ และช่วง 30 วันหลังรัฐบาลทักษิณพ้น
อำนาจ พบว่าปัญหาต่างๆ ยังอยู่ครบแต่ลดลงทุกปัญหายกเว้นการพักฟรีกินฟรีตามโรงแรมสถานบันเทิงต่างๆ ซึ่งผู้ประกอบการที่ระบุว่าข้าราชการรับเงิน
เพื่อให้พ้นข้อกล่าวหาลดลงจากร้อยละ 56.9 เหลือร้อยละ 47.3 ปัญหาเจ้าหน้าที่รัฐรับเงินของกำนัลเพื่อเกื้อกูลกันทางธุรกิจลดลงจากร้อยละ 52.0
เหลือร้อยละ 42.7 ปัญหาข้าราชการที่อำเภอหรือสำนักงานเขตต่างๆ เลือกปฏิบัติให้บริการที่ดีกว่ากับประชาชนที่ให้เงินหรือของกำนัลลดลงจากร้อยละ
51.0 เหลือร้อยละ 39.3 ปัญหาลูกเมียญาติพี่น้องนำทรัพย์สินราชการไปใช้ในเรื่องส่วนตัวลดลงจากร้อยละ 50.9 เหลือร้อยละ 43.8 ปัญหาข้า
ราชการที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตต่างๆ รับเงินใต้โต๊ะจากผู้ประกอบการลดลงจากร้อยละ 48.7 เหลือร้อยละ 40.3 และปัญหาข้าราชการรับ
เงินเพื่อชนะการประมูลการจัดซื้อจัดจ้างลดลงจากร้อยละ 44.9 เหลือร้อยละ 36.2 เป็นต้น ในขณะที่ ปัญหาข้าราชการใช้บริการพักฟรีกินฟรีตาม
โรงแรมที่พักและสถานบันเทิงต่างๆ จากร้อยละ 41.6 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 43.6
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ทัศนคติของผู้ประกอบการต่อปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.4 เห็นด้วยว่าคอรัปชั่นเกิดขึ้นใน
กลุ่มนักการเมืองระดับชาติ ร้อยละ 86.5 เห็นด้วยว่า คอรัปชั่นเกิดขึ้นในกลุ่มนักการเมืองระดับท้องถิ่น ร้อยละ 86.2 เห็นด้วยว่า คอรัปชั่นเกิดขึ้นใน
กลุ่มข้าราชการชั้นสูง ร้อยละ 81.5 เห็นด้วยว่า การติดสินบนทำให้ได้รับความสะดวกสบายที่แตกต่าง ร้อยละ 80.6 เห็นด้วยว่า การติดสินบนหาหลัก
ฐานในการเอาผิดได้ยาก ร้อยละ 77.0 เห็นด้วยกับคำพูดที่ว่า ผู้ที่จ่ายเงินติดสินบทมักไม่มีความผิดหรือรอดพ้นจากความผิดได้ง่าย ร้อยละ 74.4 เห็น
ด้วยว่า เจ้าพนักงานที่รับสินบนมักไม่ถูกดำเนินการเอาผิด ร้อยละ 71.1 เห็นด้วยว่าการเอาผิดลงโทษคนที่ทุจริตคอรัปชั่นไม่จำเป็นต้อง
มีใบเสร็จแค่มีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อได้ว่าทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 68.5 เห็นด้วยว่า คอรัปชั่นเกิดขึ้นในกลุ่มข้าราชการชั้นผู้น้อย และร้อยละ
39.3 เห็นด้วยว่า การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ยอมรับได้
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.3 เชื่อมั่นสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินว่าจะสามารถแก้ปัญหาคอรัปชั่นได้ รองลงมาคือร้อยละ
57.6 เชื่อมั่นสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ร้อยละ 55.6 เชื่อมั่นศาลปกครอง ร้อยละ 54.3 เชื่อมั่นคณะมนตรีความมั่น
คงแห่งชาติ ร้อยละ53.7 เชื่อมั่นสื่อมวลชน และที่เหลือของหน่วยงานอื่นๆ มีจำนวนไม่ถึงร้อยละ 50 ที่ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ประกอบการธุรกิจในการ
แก้ปัญหาคอรัปชั่น เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และฝ่ายสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า จากผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า หลังการยึดอำนาจ ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นยังอยู่ครบแม้ว่ารัฐบาลประกาศนโยบาย
แก้ปัญหาคอรัปชั่นเป็นวาระแห่งชาติก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้นปัญหาข้าราชการใช้บริการกินฟรีพักฟรีตามสถานบันเทิงและโรงแรมที่พักอาศัยต่างๆ กลับมีจำนวน
สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาอื่นๆ มีแนวโน้มลดลงและความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจสูงเกินกว่าร้อยละ 50 ต่อหน่วยงานต่างๆ ของรัฐหลายหน่วย
งานในช่วงรัฐบาลชุดปัจจุบัน สิ่งที่น่าจะพิจารณาคือ โรดแม๊ป สู่ระบบลดปัญหาคอรัปชั่นเพื่อคุณภาพชีวิตประชาชนที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน คือ
1) รัฐบาลน่าจะทุ่มทรัพยากรสนับสนุนการทำงานของ ปปช. ที่มีคดีความตกค้างเป็นจำนวนมากและคดีใหม่ที่เพิ่มเข้ามาแต่ละวัน โดย
รัฐบาลควรระดมทรัพยากรที่เกี่ยวข้องหรือจัดตั้งคณะทำงานพิเศษในการหนุนเสริมให้คณะกรรมการ ปปช. สะสางคดีตกค้างให้หมดไปได้ภายใน 6
เดือน เปรียบเหมือนการให้ยาขนาดใหญ่เพื่อทำให้เชื้อร้ายของคอรัปชั่นหยุดชะงักและค่อยสร้างระบบเข้ามาเป็นภูมิคุ้มกัน
2) ระบบที่สามารถลงโทษกลุ่มบุคคลทั้งนายทุน นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่พาประเทศไปสู่ความเสี่ยงของปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
แม้ไม่มีใบเสร็จก็สามารถเอาผิดในฐานะที่มีเพียงพฤติการณ์ที่เชื่อได้ว่าทุจริตคอรัปชั่น เช่น การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น
3) ระบบต้องทำให้กระบวนการยุติธรรมเข้มแข็งเป็นที่ศรัทธาเชื่อถือในกลุ่มประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เพื่อทำให้ภาคประชาชนตื่น
ตัวและมีจิตสำนึกเข้าร่วมแก้ปัญหามากขึ้น
4) ระบบต้องทำให้รัฐสภาและสภาท้องถิ่นสามารถต่อสู้กับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นได้แท้จริง ด้วยกฎหมายที่สามารถเอาผิดพรรคการเมือง
และปิดโอกาสไม่ให้สมาชิกพรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมืองในฐานะผู้แทนประชาชนได้อีก
5) ระบบต้องทำให้รัฐปราศจากการล็อบบี้ระหว่างกลุ่มนายทุน นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐจนเกิดการเลือกปฏิบัติและความไม่เป็น
ธรรมในสังคม
6) ระบบต้องทำให้รัฐบาลไทยและหน่วยงานภาครัฐพร้อมถูกตรวจสอบจากสังคมทั้งในประเทศและนานาประเทศได้อย่างโปร่งใส
7) ระบบต้องสามารถสร้างเสริมจิตสำนึกและความตระหนักถึงผลร้ายของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นให้เกิดขึ้นในกลุ่มประชาชนและเยาวชนคน
รุ่นใหม่ผ่านทางการศึกษาอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
8) ระบบต้องทำให้สื่อมวลชนปลอดอิทธิพลของฝ่ายการเมืองในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นแม้ว่าข่าวนั้น
อาจกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาลก็ตาม
9) ระบบต้องทำให้รัฐบาลมีประสิทธิภาพแท้จริงในการขจัดหรือลดกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐที่แสวงหาผลประโยชน์จากธุรกิจที่ผิดกฎหมาย
หรือผิดหลักศีลธรรมของสังคม เช่น เงินบ่อน เงินหวย เงินจากสิ่งเสพติด และเงินจากการค้ามนุษย์ เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป เสนอให้มีระบบที่ทำให้ทุกภาคส่วนของสังคมเข้มแข็งร่วมกันต่อต้านและขจัด “การเสียภาษีใต้ดิน” ให้หมดไปจากระบบ
ราชการ เพราะถ้าไม่มีระบบและกลไกที่เข้มแข็ง บรรดานักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐอาจถือเพียงว่าช่วง 1 ปีของรัฐบาลชุดปัจจุบันนี้เป็นช่วงเวลาพัก
ร้อนของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่จะกลับมารุนแรงอีกครั้งหนึ่งที่ร้ายแรงกว่าเดิม ดังนั้นการใช้โอกาสนี้สร้างระบบกลไกต่างๆ ของรัฐอย่างเข้มแข็งน่าจะส่ง
ผลทำให้ ผู้ประกอบการธุรกิจและประชาชนจำนวนมากมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายลดน้อยลงเพราะสามารถตัดภาษีใต้ดินออกไป ประชาชนก็ควรได้ซื้อสินค้าและ
บริการที่ถูกลงเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของประชาชนโดยตรง
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง สำรวจทัศนคติและปัญหาคอรัปชั่นที่ประสบ:
กรณีศึกษาตัวอย่างผู้ประกอบการธุรกิจในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดรวม 18 จังหวัดของประเทศ ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม — 18
พฤศจิกายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ผู้ประกอบการธุรกิจใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี ชลบุรี เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู ขอนแก่น สกลนคร นครศรี
ธรรมราช กระบี่ และ ชุมพร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างบุคลากรของสถานประกอบการ ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเชิงระบบ (systematic sampling) ในการเข้า
ถึงตัวอย่างเจ้าของสถานประกอบการ/ผู้รับผิดชอบดูแลสถานประกอบการประเภทต่างๆ อาทิ โรงงาน / สถานบริการ /ปั๊มน้ำมัน /โรงแรม /และ
บริษัทห้างร้านต่างๆ ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจทั้งสิ้น คือ 2,139 คน โดยมีระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และความคลาดเคลื่อน +/-5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 56.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 43.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 2.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 32.2 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 30.9 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 12.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 46.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 46.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 6.9 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.7 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 33.0 ระบุ 5,001 — 10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 10.9 ระบุ 10,001 — 20,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 9.0 ระบุ 20,001 — 30,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 37.4 ระบุ มากกกว่า 30,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการประสบปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ช่วง 30 วัน
ก่อนรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ พ้นอำนาจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานการณ์ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ค่าร้อยละ
1 ข้าราชการรับเงินเพื่อให้พ้นข้อกล่าวหา 56.9
2 เจ้าหน้าที่/ผู้มีอำนาจ รับเงิน/ของกำนัล จากประชาชนเพื่อเกื้อกูลกันทางธุรกิจ 52.0
3 ข้าราชการที่อำเภอหรือสำนักงานเขตต่างๆ เลือกปฏิบัติให้บริการที่ดีกว่ากับประชาชนคนที่ให้เงินหรือของกำนัล 51.0
4 ลูกเมีย ญาติพี่น้องของข้าราชการนำทรัพย์สินของทางราชการไปใช้ในเรื่องส่วนตัว 50.9
5 ข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตต่างๆ รับเงินใต้โต๊ะจากประกอบการ 48.7
6 เจ้าหน้าที่หรือผู้มีอำนาจรับเงินจากเอกชนที่ประกอบธุรกิจผิดกฎหมาย (ส่วย) เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ 46.9
7 ข้าราชการรับเงินเพื่อช่วยทำให้พ้นความผิดคดีความต่างๆ 45.3
8 ข้าราชการรับเงินจากบริษัทเอกชน ที่ต้องการชนะการประมูลการจัดซื้อจัดจ้าง 44.9
9 ข้าราชการใช้บริการหรือกินฟรีตามสถานบันเทิง และโรงแรมที่พักต่างๆ 41.6
10 ข้าราชการ รับเงิน/ของกำนัล เพื่อแลกกับการไม่ฟ้อง/ยกฟ้อง 24.7
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการประสบปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ช่วง 30 วัน หลังรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ
พ้นอำนาจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานการณ์ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ภาพรวม
1 ข้าราชการรับเงินเพื่อให้พ้นข้อกล่าวหา 47.3
2 ลูกเมีย ญาติพี่น้องของข้าราชการนำทรัพย์สินของทางราชการไปใช้ในเรื่องส่วนตัว 43.8
3 ข้าราชการใช้บริการหรือกินฟรีตามสถานบันเทิง และโรงแรมที่พักต่างๆ 43.6
4 เจ้าหน้าที่/ผู้มีอำนาจ รับเงิน/ของกำนัล จากประชาชนเพื่อเกื้อกูลกันทางธุรกิจ 42.7
5 ข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตต่างๆ รับเงินใต้โต๊ะจากประกอบการ 40.3
6 ข้าราชการที่อำเภอหรือสำนักงานเขตต่างๆ เลือกปฏิบัติให้บริการที่ดีกว่ากับประชาชนคนที่ให้เงินหรือของกำนัล 39.3
7 ข้าราชการรับเงินเพื่อช่วยทำให้พ้นความผิดคดีความต่างๆ 38.3
8 เจ้าหน้าที่หรือผู้มีอำนาจรับเงินจากเอกชนที่ประกอบธุรกิจผิดกฎหมาย (ส่วย) เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ 37.7
9 ข้าราชการรับเงินจากบริษัทเอกชน ที่ต้องการชนะการประมูลการจัดซื้อจัดจ้าง 36.2
10 ข้าราชการรับเงิน/ของกำนัล เพื่อแลกกับการไม่ฟ้อง/ยกฟ้อง 20.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการประสบปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ช่วง 30 วัน ก่อน-หลังรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ
พ้นอำนาจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
สถานการณ์ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ก่อนพ้นอำนาจค่าร้อยละ หลังพ้นอำนาจค่าร้อยละ ส่วนต่าง
1. ข้าราชการรับเงินเพื่อให้พ้นข้อกล่าวหา 56.9 47.3 -9.6
2. ข้าราชการรับเงินเพื่อช่วยทำให้พ้นความผิดคดีความต่างๆ 45.3 38.3 -7.0
3. ข้าราชการใช้บริการหรือกินฟรีตามสถานบันเทิง และโรงแรมที่พักต่างๆ 41.6 43.6 +2.0
4. ข้าราชการที่อำเภอหรือสำนักงานเขตต่างๆ เลือกปฏิบัติให้บริการที่ดีกว่ากับประชาชนคนที่ให้เงินหรือของกำนัล 51.0 39.3 -11.7
5. ข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตต่างๆ รับเงินใต้โต๊ะจากประกอบการ 48.7 40.3 -8.4
6. เจ้าหน้าที่หรือผู้มีอำนาจรับเงินจากเอกชนที่ประกอบธุรกิจผิดกฎหมาย(ส่วย)เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ 46.9 37.7 -9.2
7. เจ้าหน้าที่/ผู้มีอำนาจ รับเงิน/ของกำนัล จากประชาชนเพื่อเกื้อกูลกันทางธุรกิจ 52.0 42.7 -9.3
8. ข้าราชการรับเงิน/ของกำนัล เพื่อแลกกับการไม่ฟ้อง/ยกฟ้อง 24.7 20.2 -4.5
9. ข้าราชการรับเงินจากบริษัทเอกชน ที่ต้องการชนะการประมูลการจัดซื้อจัดจ้าง 44.9 36.2 -8.7
10. ลูกเมีย ญาติพี่น้องของข้าราชการนำทรัพย์สินของทางราชการไปใช้ในเรื่องส่วนตัว 50.9 43.8 -7.1
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับการคอรัปชั่น
ประเด็น ความคิดเห็น
เห็นด้วย(ค่าร้อยละ) ไม่เห็นด้วย (ค่าร้อยละ)
1.ผู้ที่จ่ายติดสินบน มักไม่มีความผิด หรือรอดพ้นจากความผิดได้ง่าย 77.0 23.0
2.เจ้าพนักงานที่รับสินบนมักไม่ถูกดำเนินการเอาผิด 74.4 25.6
3.การติดสินบนทำให้ได้รับความสะดวกสบายที่แตกต่าง 81.5 18.5
4.การติดสินบนหาหลักฐานในการเอาผิดได้ยาก 80.6 19.4
5.คอรัปชั่นเกิดขึ้นในกลุ่มนักการเมืองระดับชาติ 87.4 12.6
6.คอรัปชั่นเกิดขึ้นในกลุ่มนักการเมืองระดับท้องถิ่น 86.5 13.5
7.คอรัปชั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในกลุ่มข้าราชการชั้นสูง 86.2 13.8
8.คอรัปชั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในหมู่ข้าราชการชั้นผู้น้อย 68.5 31.5
9.การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่คุณยอมรับได้ 39.3 60.7
10.การเอาผิดลงโทษคนที่ทุจริตคอรัปชั่นไม่จำเป็นต้องมีใบเสร็จ แค่มีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อได้ว่าทุจริตคอรัปชั่น 71.1 28.9
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานต่างๆ ในการทำหน้าที่แก้ปัญหาคอรัปชั่น
ในช่วงเวลาหลัง พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
หน่วยงาน ความเชื่อมั่น
เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น
1. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ 57.6 25.7 16.7
2. ศาลปกครอง 55.6 26.9 17.5
3. ศาลรัฐธรรมนูญ 49.0 33.4 17.6
4. สื่อมวลชน 53.7 31.6 14.7
5. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) 54.3 26.5 19.2
6. ฝ่ายสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) 45.9 35.7 18.4
7. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน 63.3 22.0 14.7
8. สำนักงานกพ. 30.3 47.1 22.6
9. NGO องค์กรภาคเอกชน 37.4 42.2 20.4
10. ภาคประชาชน 42.6 39.0 18.4
11.สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา 43.1 36.6 20.3
12.สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแห่งชาติ 49.1 33.5 17.4
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
คอรัปชั่นที่ประสบ: กรณีศึกษาตัวอย่างผู้ประกอบการธุรกิจในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดรวม 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,139
ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม — 18 พฤศจิกายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
เมื่อสอบถามถึงประสบการณ์ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในช่วง 30 วันก่อนรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นอำนาจ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.9
ระบุเคยประสบปัญหาข้าราชการรับเงินเพื่อให้พ้นข้อกล่าวหา รองลงมาคือร้อยละ 52.0 ระบุเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจรับเงินของกำนัลจากประชาชนเพื่อ
เกื้อกูลกันทางธุรกิจ ร้อยละ 51.0 ระบุข้าราชการที่อำเภอหรือสำนักงานเขตต่างๆ เลือกปฏิบัติให้บริการที่ดีกว่ากับประชาชนคนที่ให้เงินหรือของกำนัล
ร้อยละ 50.9 ระบุลูกเมีย ญาติพี่น้องของข้าราชการนำทรัพย์สินทางราชการไปใช้เรื่องส่วนตัว และร้อยละ 48.7 ระบุข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการ
ออกใบอนุญาตต่างๆ รับเงินใต้โต๊ะ ตามลำดับ
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ การเปรียบเทียบปัญหาคอรัปชั่นในช่วง 30 วันก่อนรัฐบาลทักษิณพ้นอำนาจ และช่วง 30 วันหลังรัฐบาลทักษิณพ้น
อำนาจ พบว่าปัญหาต่างๆ ยังอยู่ครบแต่ลดลงทุกปัญหายกเว้นการพักฟรีกินฟรีตามโรงแรมสถานบันเทิงต่างๆ ซึ่งผู้ประกอบการที่ระบุว่าข้าราชการรับเงิน
เพื่อให้พ้นข้อกล่าวหาลดลงจากร้อยละ 56.9 เหลือร้อยละ 47.3 ปัญหาเจ้าหน้าที่รัฐรับเงินของกำนัลเพื่อเกื้อกูลกันทางธุรกิจลดลงจากร้อยละ 52.0
เหลือร้อยละ 42.7 ปัญหาข้าราชการที่อำเภอหรือสำนักงานเขตต่างๆ เลือกปฏิบัติให้บริการที่ดีกว่ากับประชาชนที่ให้เงินหรือของกำนัลลดลงจากร้อยละ
51.0 เหลือร้อยละ 39.3 ปัญหาลูกเมียญาติพี่น้องนำทรัพย์สินราชการไปใช้ในเรื่องส่วนตัวลดลงจากร้อยละ 50.9 เหลือร้อยละ 43.8 ปัญหาข้า
ราชการที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตต่างๆ รับเงินใต้โต๊ะจากผู้ประกอบการลดลงจากร้อยละ 48.7 เหลือร้อยละ 40.3 และปัญหาข้าราชการรับ
เงินเพื่อชนะการประมูลการจัดซื้อจัดจ้างลดลงจากร้อยละ 44.9 เหลือร้อยละ 36.2 เป็นต้น ในขณะที่ ปัญหาข้าราชการใช้บริการพักฟรีกินฟรีตาม
โรงแรมที่พักและสถานบันเทิงต่างๆ จากร้อยละ 41.6 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 43.6
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ทัศนคติของผู้ประกอบการต่อปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.4 เห็นด้วยว่าคอรัปชั่นเกิดขึ้นใน
กลุ่มนักการเมืองระดับชาติ ร้อยละ 86.5 เห็นด้วยว่า คอรัปชั่นเกิดขึ้นในกลุ่มนักการเมืองระดับท้องถิ่น ร้อยละ 86.2 เห็นด้วยว่า คอรัปชั่นเกิดขึ้นใน
กลุ่มข้าราชการชั้นสูง ร้อยละ 81.5 เห็นด้วยว่า การติดสินบนทำให้ได้รับความสะดวกสบายที่แตกต่าง ร้อยละ 80.6 เห็นด้วยว่า การติดสินบนหาหลัก
ฐานในการเอาผิดได้ยาก ร้อยละ 77.0 เห็นด้วยกับคำพูดที่ว่า ผู้ที่จ่ายเงินติดสินบทมักไม่มีความผิดหรือรอดพ้นจากความผิดได้ง่าย ร้อยละ 74.4 เห็น
ด้วยว่า เจ้าพนักงานที่รับสินบนมักไม่ถูกดำเนินการเอาผิด ร้อยละ 71.1 เห็นด้วยว่าการเอาผิดลงโทษคนที่ทุจริตคอรัปชั่นไม่จำเป็นต้อง
มีใบเสร็จแค่มีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อได้ว่าทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 68.5 เห็นด้วยว่า คอรัปชั่นเกิดขึ้นในกลุ่มข้าราชการชั้นผู้น้อย และร้อยละ
39.3 เห็นด้วยว่า การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ยอมรับได้
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.3 เชื่อมั่นสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินว่าจะสามารถแก้ปัญหาคอรัปชั่นได้ รองลงมาคือร้อยละ
57.6 เชื่อมั่นสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ร้อยละ 55.6 เชื่อมั่นศาลปกครอง ร้อยละ 54.3 เชื่อมั่นคณะมนตรีความมั่น
คงแห่งชาติ ร้อยละ53.7 เชื่อมั่นสื่อมวลชน และที่เหลือของหน่วยงานอื่นๆ มีจำนวนไม่ถึงร้อยละ 50 ที่ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ประกอบการธุรกิจในการ
แก้ปัญหาคอรัปชั่น เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และฝ่ายสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า จากผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า หลังการยึดอำนาจ ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นยังอยู่ครบแม้ว่ารัฐบาลประกาศนโยบาย
แก้ปัญหาคอรัปชั่นเป็นวาระแห่งชาติก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้นปัญหาข้าราชการใช้บริการกินฟรีพักฟรีตามสถานบันเทิงและโรงแรมที่พักอาศัยต่างๆ กลับมีจำนวน
สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาอื่นๆ มีแนวโน้มลดลงและความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจสูงเกินกว่าร้อยละ 50 ต่อหน่วยงานต่างๆ ของรัฐหลายหน่วย
งานในช่วงรัฐบาลชุดปัจจุบัน สิ่งที่น่าจะพิจารณาคือ โรดแม๊ป สู่ระบบลดปัญหาคอรัปชั่นเพื่อคุณภาพชีวิตประชาชนที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน คือ
1) รัฐบาลน่าจะทุ่มทรัพยากรสนับสนุนการทำงานของ ปปช. ที่มีคดีความตกค้างเป็นจำนวนมากและคดีใหม่ที่เพิ่มเข้ามาแต่ละวัน โดย
รัฐบาลควรระดมทรัพยากรที่เกี่ยวข้องหรือจัดตั้งคณะทำงานพิเศษในการหนุนเสริมให้คณะกรรมการ ปปช. สะสางคดีตกค้างให้หมดไปได้ภายใน 6
เดือน เปรียบเหมือนการให้ยาขนาดใหญ่เพื่อทำให้เชื้อร้ายของคอรัปชั่นหยุดชะงักและค่อยสร้างระบบเข้ามาเป็นภูมิคุ้มกัน
2) ระบบที่สามารถลงโทษกลุ่มบุคคลทั้งนายทุน นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่พาประเทศไปสู่ความเสี่ยงของปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
แม้ไม่มีใบเสร็จก็สามารถเอาผิดในฐานะที่มีเพียงพฤติการณ์ที่เชื่อได้ว่าทุจริตคอรัปชั่น เช่น การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น
3) ระบบต้องทำให้กระบวนการยุติธรรมเข้มแข็งเป็นที่ศรัทธาเชื่อถือในกลุ่มประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เพื่อทำให้ภาคประชาชนตื่น
ตัวและมีจิตสำนึกเข้าร่วมแก้ปัญหามากขึ้น
4) ระบบต้องทำให้รัฐสภาและสภาท้องถิ่นสามารถต่อสู้กับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นได้แท้จริง ด้วยกฎหมายที่สามารถเอาผิดพรรคการเมือง
และปิดโอกาสไม่ให้สมาชิกพรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมืองในฐานะผู้แทนประชาชนได้อีก
5) ระบบต้องทำให้รัฐปราศจากการล็อบบี้ระหว่างกลุ่มนายทุน นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐจนเกิดการเลือกปฏิบัติและความไม่เป็น
ธรรมในสังคม
6) ระบบต้องทำให้รัฐบาลไทยและหน่วยงานภาครัฐพร้อมถูกตรวจสอบจากสังคมทั้งในประเทศและนานาประเทศได้อย่างโปร่งใส
7) ระบบต้องสามารถสร้างเสริมจิตสำนึกและความตระหนักถึงผลร้ายของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นให้เกิดขึ้นในกลุ่มประชาชนและเยาวชนคน
รุ่นใหม่ผ่านทางการศึกษาอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
8) ระบบต้องทำให้สื่อมวลชนปลอดอิทธิพลของฝ่ายการเมืองในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นแม้ว่าข่าวนั้น
อาจกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาลก็ตาม
9) ระบบต้องทำให้รัฐบาลมีประสิทธิภาพแท้จริงในการขจัดหรือลดกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐที่แสวงหาผลประโยชน์จากธุรกิจที่ผิดกฎหมาย
หรือผิดหลักศีลธรรมของสังคม เช่น เงินบ่อน เงินหวย เงินจากสิ่งเสพติด และเงินจากการค้ามนุษย์ เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป เสนอให้มีระบบที่ทำให้ทุกภาคส่วนของสังคมเข้มแข็งร่วมกันต่อต้านและขจัด “การเสียภาษีใต้ดิน” ให้หมดไปจากระบบ
ราชการ เพราะถ้าไม่มีระบบและกลไกที่เข้มแข็ง บรรดานักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐอาจถือเพียงว่าช่วง 1 ปีของรัฐบาลชุดปัจจุบันนี้เป็นช่วงเวลาพัก
ร้อนของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่จะกลับมารุนแรงอีกครั้งหนึ่งที่ร้ายแรงกว่าเดิม ดังนั้นการใช้โอกาสนี้สร้างระบบกลไกต่างๆ ของรัฐอย่างเข้มแข็งน่าจะส่ง
ผลทำให้ ผู้ประกอบการธุรกิจและประชาชนจำนวนมากมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายลดน้อยลงเพราะสามารถตัดภาษีใต้ดินออกไป ประชาชนก็ควรได้ซื้อสินค้าและ
บริการที่ถูกลงเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของประชาชนโดยตรง
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง สำรวจทัศนคติและปัญหาคอรัปชั่นที่ประสบ:
กรณีศึกษาตัวอย่างผู้ประกอบการธุรกิจในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดรวม 18 จังหวัดของประเทศ ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม — 18
พฤศจิกายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ผู้ประกอบการธุรกิจใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี ชลบุรี เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู ขอนแก่น สกลนคร นครศรี
ธรรมราช กระบี่ และ ชุมพร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างบุคลากรของสถานประกอบการ ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเชิงระบบ (systematic sampling) ในการเข้า
ถึงตัวอย่างเจ้าของสถานประกอบการ/ผู้รับผิดชอบดูแลสถานประกอบการประเภทต่างๆ อาทิ โรงงาน / สถานบริการ /ปั๊มน้ำมัน /โรงแรม /และ
บริษัทห้างร้านต่างๆ ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจทั้งสิ้น คือ 2,139 คน โดยมีระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และความคลาดเคลื่อน +/-5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 56.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 43.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 2.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 32.2 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 30.9 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 12.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 46.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 46.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 6.9 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.7 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 33.0 ระบุ 5,001 — 10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 10.9 ระบุ 10,001 — 20,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 9.0 ระบุ 20,001 — 30,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 37.4 ระบุ มากกกว่า 30,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการประสบปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ช่วง 30 วัน
ก่อนรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ พ้นอำนาจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานการณ์ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ค่าร้อยละ
1 ข้าราชการรับเงินเพื่อให้พ้นข้อกล่าวหา 56.9
2 เจ้าหน้าที่/ผู้มีอำนาจ รับเงิน/ของกำนัล จากประชาชนเพื่อเกื้อกูลกันทางธุรกิจ 52.0
3 ข้าราชการที่อำเภอหรือสำนักงานเขตต่างๆ เลือกปฏิบัติให้บริการที่ดีกว่ากับประชาชนคนที่ให้เงินหรือของกำนัล 51.0
4 ลูกเมีย ญาติพี่น้องของข้าราชการนำทรัพย์สินของทางราชการไปใช้ในเรื่องส่วนตัว 50.9
5 ข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตต่างๆ รับเงินใต้โต๊ะจากประกอบการ 48.7
6 เจ้าหน้าที่หรือผู้มีอำนาจรับเงินจากเอกชนที่ประกอบธุรกิจผิดกฎหมาย (ส่วย) เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ 46.9
7 ข้าราชการรับเงินเพื่อช่วยทำให้พ้นความผิดคดีความต่างๆ 45.3
8 ข้าราชการรับเงินจากบริษัทเอกชน ที่ต้องการชนะการประมูลการจัดซื้อจัดจ้าง 44.9
9 ข้าราชการใช้บริการหรือกินฟรีตามสถานบันเทิง และโรงแรมที่พักต่างๆ 41.6
10 ข้าราชการ รับเงิน/ของกำนัล เพื่อแลกกับการไม่ฟ้อง/ยกฟ้อง 24.7
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการประสบปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ช่วง 30 วัน หลังรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ
พ้นอำนาจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานการณ์ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ภาพรวม
1 ข้าราชการรับเงินเพื่อให้พ้นข้อกล่าวหา 47.3
2 ลูกเมีย ญาติพี่น้องของข้าราชการนำทรัพย์สินของทางราชการไปใช้ในเรื่องส่วนตัว 43.8
3 ข้าราชการใช้บริการหรือกินฟรีตามสถานบันเทิง และโรงแรมที่พักต่างๆ 43.6
4 เจ้าหน้าที่/ผู้มีอำนาจ รับเงิน/ของกำนัล จากประชาชนเพื่อเกื้อกูลกันทางธุรกิจ 42.7
5 ข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตต่างๆ รับเงินใต้โต๊ะจากประกอบการ 40.3
6 ข้าราชการที่อำเภอหรือสำนักงานเขตต่างๆ เลือกปฏิบัติให้บริการที่ดีกว่ากับประชาชนคนที่ให้เงินหรือของกำนัล 39.3
7 ข้าราชการรับเงินเพื่อช่วยทำให้พ้นความผิดคดีความต่างๆ 38.3
8 เจ้าหน้าที่หรือผู้มีอำนาจรับเงินจากเอกชนที่ประกอบธุรกิจผิดกฎหมาย (ส่วย) เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ 37.7
9 ข้าราชการรับเงินจากบริษัทเอกชน ที่ต้องการชนะการประมูลการจัดซื้อจัดจ้าง 36.2
10 ข้าราชการรับเงิน/ของกำนัล เพื่อแลกกับการไม่ฟ้อง/ยกฟ้อง 20.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการประสบปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ช่วง 30 วัน ก่อน-หลังรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ
พ้นอำนาจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
สถานการณ์ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ก่อนพ้นอำนาจค่าร้อยละ หลังพ้นอำนาจค่าร้อยละ ส่วนต่าง
1. ข้าราชการรับเงินเพื่อให้พ้นข้อกล่าวหา 56.9 47.3 -9.6
2. ข้าราชการรับเงินเพื่อช่วยทำให้พ้นความผิดคดีความต่างๆ 45.3 38.3 -7.0
3. ข้าราชการใช้บริการหรือกินฟรีตามสถานบันเทิง และโรงแรมที่พักต่างๆ 41.6 43.6 +2.0
4. ข้าราชการที่อำเภอหรือสำนักงานเขตต่างๆ เลือกปฏิบัติให้บริการที่ดีกว่ากับประชาชนคนที่ให้เงินหรือของกำนัล 51.0 39.3 -11.7
5. ข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตต่างๆ รับเงินใต้โต๊ะจากประกอบการ 48.7 40.3 -8.4
6. เจ้าหน้าที่หรือผู้มีอำนาจรับเงินจากเอกชนที่ประกอบธุรกิจผิดกฎหมาย(ส่วย)เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ 46.9 37.7 -9.2
7. เจ้าหน้าที่/ผู้มีอำนาจ รับเงิน/ของกำนัล จากประชาชนเพื่อเกื้อกูลกันทางธุรกิจ 52.0 42.7 -9.3
8. ข้าราชการรับเงิน/ของกำนัล เพื่อแลกกับการไม่ฟ้อง/ยกฟ้อง 24.7 20.2 -4.5
9. ข้าราชการรับเงินจากบริษัทเอกชน ที่ต้องการชนะการประมูลการจัดซื้อจัดจ้าง 44.9 36.2 -8.7
10. ลูกเมีย ญาติพี่น้องของข้าราชการนำทรัพย์สินของทางราชการไปใช้ในเรื่องส่วนตัว 50.9 43.8 -7.1
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับการคอรัปชั่น
ประเด็น ความคิดเห็น
เห็นด้วย(ค่าร้อยละ) ไม่เห็นด้วย (ค่าร้อยละ)
1.ผู้ที่จ่ายติดสินบน มักไม่มีความผิด หรือรอดพ้นจากความผิดได้ง่าย 77.0 23.0
2.เจ้าพนักงานที่รับสินบนมักไม่ถูกดำเนินการเอาผิด 74.4 25.6
3.การติดสินบนทำให้ได้รับความสะดวกสบายที่แตกต่าง 81.5 18.5
4.การติดสินบนหาหลักฐานในการเอาผิดได้ยาก 80.6 19.4
5.คอรัปชั่นเกิดขึ้นในกลุ่มนักการเมืองระดับชาติ 87.4 12.6
6.คอรัปชั่นเกิดขึ้นในกลุ่มนักการเมืองระดับท้องถิ่น 86.5 13.5
7.คอรัปชั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในกลุ่มข้าราชการชั้นสูง 86.2 13.8
8.คอรัปชั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในหมู่ข้าราชการชั้นผู้น้อย 68.5 31.5
9.การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่คุณยอมรับได้ 39.3 60.7
10.การเอาผิดลงโทษคนที่ทุจริตคอรัปชั่นไม่จำเป็นต้องมีใบเสร็จ แค่มีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อได้ว่าทุจริตคอรัปชั่น 71.1 28.9
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานต่างๆ ในการทำหน้าที่แก้ปัญหาคอรัปชั่น
ในช่วงเวลาหลัง พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
หน่วยงาน ความเชื่อมั่น
เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น
1. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ 57.6 25.7 16.7
2. ศาลปกครอง 55.6 26.9 17.5
3. ศาลรัฐธรรมนูญ 49.0 33.4 17.6
4. สื่อมวลชน 53.7 31.6 14.7
5. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) 54.3 26.5 19.2
6. ฝ่ายสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) 45.9 35.7 18.4
7. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน 63.3 22.0 14.7
8. สำนักงานกพ. 30.3 47.1 22.6
9. NGO องค์กรภาคเอกชน 37.4 42.2 20.4
10. ภาคประชาชน 42.6 39.0 18.4
11.สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา 43.1 36.6 20.3
12.สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแห่งชาติ 49.1 33.5 17.4
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-