ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง วันนี้ประชาชนกำลังคิด
อย่างไรต่อภาพลักษณ์ของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล
จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,716 ตัวอย่าง มีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 19 -20 กันยายน 2551 ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนที่ถูก
ศึกษาส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 90 ยังคงติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์
แต่เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.8 ยังคงเครียดต่อเรื่องการเมือง และส่วน
ใหญ่หรือร้อยละ 62.9 เห็นด้วยกับแนวทางการเมืองใหม่ที่เน้นการเมืองภาคประชาชนให้เข้มแข็ง และร้อยละ 56.2 เชื่อว่า ความขัดแย้งรุนแรงทาง
การเมืองจะลดลง หลังจากนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 75.1 เห็น
ว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มีบุคลิกภาพ อ่อนโยน อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 63.7 ยังคงมีความสงสัยต่อการเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มนายทุน และกลุ่มการ
เมือง พรรคพวก และญาติพี่น้องของนายกรัฐมนตรี
และเมื่อสอบถามความสนใจของประชาชนต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ พบว่า เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.3 ยังคงให้ความสนใจ
ต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติอยู่ ในขณะที่ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 46.7 ไม่สนใจ
แต่เนื่องจากภาพลักษณ์ด้านบุคลิกภาพ ความอ่อนโยนของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี จึงทำให้ ณ วันนี้ หรือในวันนี้นั้น
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.5 พร้อมให้การสนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 28.5 ไม่สนับสนุน นั้นหมายความว่า เดิมที่เคยสำรวจพบว่า คนที่สนับสนุน
รัฐบาลและไม่สนับสนุนรัฐบาลมีสัดส่วนพอๆ กัน โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพลังเงียบ แต่มาวันนี้ถือได้ว่า ประชาชนให้โอกาสและถือว่า เป็น
ปรากฏการณ์ “เสียงส่วนใหญ่” ที่กำลังสนับสนุนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจพบด้วยว่า กลุ่มคนที่คิดแสดง
ตนคัดค้านลดลงจากร้อยละ 19.7 เหลือร้อยละ 11.2 และกลุ่มคนที่ไม่คิคคัดค้านเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 68.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 86.5
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่าประชาชนที่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีคนใหม่จำนวนมากหรือร้อยละ 37.9 สนับสนุนให้รัฐบาลอยู่จนครบ
วาระ ร้อยละ 36.1 สนับสนุนให้อยู่ 2 — 3 ปี และร้อยละ 26.0 สนับสนุนให้อยู่ไม่เกิน 1 ปี
โดยประชาชนที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เสนอทางออกของสถานการณ์ปัญหาการเมืองในขณะนี้ โดยพบว่า เกือบร้อยละร้อยหรือร้อยละ
95.3 ขอให้ประชาชนทุกคนปฏิบัติตนด้วยความรักความสามัคคี เกื้อกูลกัน มีไมตรีจิตต่อกัน รองลงมาแต่ก็เกินกว่าร้อยละ 90 คือร้อยละ 92.5 ระบุ
ทุกกลุ่ม ทุกฝ่ายหันหน้าจับมือกันต่อหน้าสาธารณชน ร่วมกันแก้ปัญหาชาติ ในขณะที่ร้อยละ 89.3 ขอให้เคร่งครัดตามหลักกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ
86.6 รัฐบาลคัดหาคนดี คนเก่งมาเป็นรัฐมนตรี ร้อยละ 41.3 ระบุแก้ไขรัฐธรรมนูญ และร้อยละ 39.4 ระบุนิรโทษกรรมให้ อดีตแกนนำพรรคไทยรัก
ไทย 111 คน
ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า เมื่อพิจารณาผลสำรวจครั้งนี้โดยภาพรวมทั้งหมด น่าจะทำให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและพรรค
ร่วมรัฐบาลมีกำลังใจทำงานเพื่อประชาชนได้มาก เนื่องจากคนกรุงเทพฯและปริมณฑลส่วนใหญ่ให้โอกาสสนับสนุน โดยทั่วไปคนต่างจังหวัดมักจะให้การ
สนับสนุนมากขึ้นไปอีก แต่ต้องใส่ใจอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนที่ค้นพบโดยไม่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองซ้ำซาก เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยัง
เครียดต่อเรื่องการเมือง และถึงแม้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์จะได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนจากบุคลิกภาพที่อ่อนโยน แต่ก็ยังมีอะไรบางอย่างค้างคา
ใจอยู่ในความเคลือบแคลงสงสัยของประชาชนว่า นายกรัฐมนตรีจะเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มนายทุน พรรคพวกและญาติพี่น้องของตนหรือไม่
“หรือกล่าวได้ว่า นายกรัฐมนตรีสอบผ่านเรื่องบุคลิกภาพ ความอ่อนโยน แต่ให้ระวังอาจสอบตกเรื่องความสงสัยของหมู่ประชาชนต่อการ
เอื้อประโยชน์ทับซ้อนของคนใกล้ชิด ดังนั้น นายกรัฐมนตรีและพรรคร่วมรัฐบาลจึงต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นแก่จิตใจของหมู่ประชาชนทุกกลุ่ม
ว่า รัฐบาลชุดใหม่จะไม่มี “ยี้” ไม่มีขี้เหร่นิดหน่อย โดยยึดหลักธรรมาภิบาล และมีจิตสำนึกทางการเมืองที่ดี เฉกเช่นการเมืองใหม่ในกลุ่มประเทศที่
พัฒนาแล้ว ไม่ดื้อดึงต่อกระแสและความรับผิดชอบทางการเมือง เพราะมิฉะนั้น ความแตกแยกของคนในสังคมจะไม่มีวันจบสิ้น และอาจรุนแรงกว่าเดิมจน
เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติและประชาชนทุกคน” ดร.นพดล กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อทางออกของสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “วันนี้ประชาชนกำลังคิดอย่างไรต่อภาพลักษณ์
ของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 19-20 กันยายน 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้า
หมาย คือ ประชาชนผู้พักอาศัยอยู่ในเขต กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่าง
แบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการ
สำรวจ คือ 2,716 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/-
ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 127 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.5 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 23.6 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ
ร้อยละ 25.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 21.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 18.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 15.6 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 14.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 4.4 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 67.0
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 16.5
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 8.8
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 6.7
5 ไม่ได้ติดตามเลย 1.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ใช่ ไม่ใช่
1 เห็นด้วยกับการเมืองใหม่ เน้นการเมืองภาคประชาชนเข้มแข็ง 62.9 37.1
2 เครียดต่อเรื่องการเมือง 62.8 37.2
3 เชื่อว่า ความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองจะลดลง 56.2 43.8
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรี ใช่ ไม่ใช่
1 บุคลิกภาพ ความอ่อนโยน นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 75.1 24.9
2 ความสงสัยต่อการเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มนายทุน และกลุ่มการเมือง พรรคพวก
และญาติพี่น้อง ของนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 63.7 36.3
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสนใจต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
ลำดับที่ ความสนใจต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ค่าร้อยละ
1 สนใจ 53.3
2 ไม่สนใจ 46.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุ ณ วันนี้ กับ ความพร้อมสนับสนุน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความพร้อมสนับสนุน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ใน วันนี้ ค่าร้อยละ
1 พร้อมให้การสนับสนุน 71.5
2 ไม่สนับสนุน 28.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแสดงตนคัดค้านนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแสดงตนคัดค้านนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 13 ก.ย. 51 20 ก.ย. 51
1 คิดจะแสดงตนคัดค้าน 19.7 11.2
2 ไม่คิดคัดค้าน 68.7 86.5
3 ไม่มีความเห็น 11.6 2.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระยะเวลาที่จะสนับสนุนให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พิสูจน์ตนเองในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
(เฉพาะกลุ่มคนที่ให้การสนับสนุน)
ลำดับที่ ระยะเวลาให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พิสูจน์ตนเอง ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 1 ปี 26.0
2 2 — 3 ปี 36.1
3 อยู่ครบวาระ 37.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทางออกของปัญหาการเมืองในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ทางออกของปัญหาการเมืองในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 ประชาชนทุกคนปฏิบัติตนด้วยความรักความสามัคคี เกื้อกูลกัน มีไมตรีจิตต่อกัน 95.3
2 ทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย หันหน้าจับมือกันต่อหน้าสาธารณชน ร่วมกันแก้ปัญหาชาติ 92.5
3 เคร่งครัดตามหลักในกระบวนการยุติธรรม 89.3
4 รัฐบาลคัดหาคนดี คนเก่งมาเป็นรัฐมนตรี 86.6
5 แก้ไขรัฐธรรมนูญ 41.3
6 นิรโทษกรรมให้ อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย 111 คน 39.4
--เอแบคโพลล์--
-พห-
อย่างไรต่อภาพลักษณ์ของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล
จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,716 ตัวอย่าง มีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 19 -20 กันยายน 2551 ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนที่ถูก
ศึกษาส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 90 ยังคงติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์
แต่เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.8 ยังคงเครียดต่อเรื่องการเมือง และส่วน
ใหญ่หรือร้อยละ 62.9 เห็นด้วยกับแนวทางการเมืองใหม่ที่เน้นการเมืองภาคประชาชนให้เข้มแข็ง และร้อยละ 56.2 เชื่อว่า ความขัดแย้งรุนแรงทาง
การเมืองจะลดลง หลังจากนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 75.1 เห็น
ว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มีบุคลิกภาพ อ่อนโยน อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 63.7 ยังคงมีความสงสัยต่อการเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มนายทุน และกลุ่มการ
เมือง พรรคพวก และญาติพี่น้องของนายกรัฐมนตรี
และเมื่อสอบถามความสนใจของประชาชนต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ พบว่า เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.3 ยังคงให้ความสนใจ
ต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติอยู่ ในขณะที่ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 46.7 ไม่สนใจ
แต่เนื่องจากภาพลักษณ์ด้านบุคลิกภาพ ความอ่อนโยนของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี จึงทำให้ ณ วันนี้ หรือในวันนี้นั้น
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.5 พร้อมให้การสนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 28.5 ไม่สนับสนุน นั้นหมายความว่า เดิมที่เคยสำรวจพบว่า คนที่สนับสนุน
รัฐบาลและไม่สนับสนุนรัฐบาลมีสัดส่วนพอๆ กัน โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพลังเงียบ แต่มาวันนี้ถือได้ว่า ประชาชนให้โอกาสและถือว่า เป็น
ปรากฏการณ์ “เสียงส่วนใหญ่” ที่กำลังสนับสนุนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจพบด้วยว่า กลุ่มคนที่คิดแสดง
ตนคัดค้านลดลงจากร้อยละ 19.7 เหลือร้อยละ 11.2 และกลุ่มคนที่ไม่คิคคัดค้านเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 68.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 86.5
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่าประชาชนที่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีคนใหม่จำนวนมากหรือร้อยละ 37.9 สนับสนุนให้รัฐบาลอยู่จนครบ
วาระ ร้อยละ 36.1 สนับสนุนให้อยู่ 2 — 3 ปี และร้อยละ 26.0 สนับสนุนให้อยู่ไม่เกิน 1 ปี
โดยประชาชนที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เสนอทางออกของสถานการณ์ปัญหาการเมืองในขณะนี้ โดยพบว่า เกือบร้อยละร้อยหรือร้อยละ
95.3 ขอให้ประชาชนทุกคนปฏิบัติตนด้วยความรักความสามัคคี เกื้อกูลกัน มีไมตรีจิตต่อกัน รองลงมาแต่ก็เกินกว่าร้อยละ 90 คือร้อยละ 92.5 ระบุ
ทุกกลุ่ม ทุกฝ่ายหันหน้าจับมือกันต่อหน้าสาธารณชน ร่วมกันแก้ปัญหาชาติ ในขณะที่ร้อยละ 89.3 ขอให้เคร่งครัดตามหลักกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ
86.6 รัฐบาลคัดหาคนดี คนเก่งมาเป็นรัฐมนตรี ร้อยละ 41.3 ระบุแก้ไขรัฐธรรมนูญ และร้อยละ 39.4 ระบุนิรโทษกรรมให้ อดีตแกนนำพรรคไทยรัก
ไทย 111 คน
ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า เมื่อพิจารณาผลสำรวจครั้งนี้โดยภาพรวมทั้งหมด น่าจะทำให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและพรรค
ร่วมรัฐบาลมีกำลังใจทำงานเพื่อประชาชนได้มาก เนื่องจากคนกรุงเทพฯและปริมณฑลส่วนใหญ่ให้โอกาสสนับสนุน โดยทั่วไปคนต่างจังหวัดมักจะให้การ
สนับสนุนมากขึ้นไปอีก แต่ต้องใส่ใจอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนที่ค้นพบโดยไม่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองซ้ำซาก เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยัง
เครียดต่อเรื่องการเมือง และถึงแม้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์จะได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนจากบุคลิกภาพที่อ่อนโยน แต่ก็ยังมีอะไรบางอย่างค้างคา
ใจอยู่ในความเคลือบแคลงสงสัยของประชาชนว่า นายกรัฐมนตรีจะเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มนายทุน พรรคพวกและญาติพี่น้องของตนหรือไม่
“หรือกล่าวได้ว่า นายกรัฐมนตรีสอบผ่านเรื่องบุคลิกภาพ ความอ่อนโยน แต่ให้ระวังอาจสอบตกเรื่องความสงสัยของหมู่ประชาชนต่อการ
เอื้อประโยชน์ทับซ้อนของคนใกล้ชิด ดังนั้น นายกรัฐมนตรีและพรรคร่วมรัฐบาลจึงต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นแก่จิตใจของหมู่ประชาชนทุกกลุ่ม
ว่า รัฐบาลชุดใหม่จะไม่มี “ยี้” ไม่มีขี้เหร่นิดหน่อย โดยยึดหลักธรรมาภิบาล และมีจิตสำนึกทางการเมืองที่ดี เฉกเช่นการเมืองใหม่ในกลุ่มประเทศที่
พัฒนาแล้ว ไม่ดื้อดึงต่อกระแสและความรับผิดชอบทางการเมือง เพราะมิฉะนั้น ความแตกแยกของคนในสังคมจะไม่มีวันจบสิ้น และอาจรุนแรงกว่าเดิมจน
เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติและประชาชนทุกคน” ดร.นพดล กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อทางออกของสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “วันนี้ประชาชนกำลังคิดอย่างไรต่อภาพลักษณ์
ของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 19-20 กันยายน 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้า
หมาย คือ ประชาชนผู้พักอาศัยอยู่ในเขต กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่าง
แบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการ
สำรวจ คือ 2,716 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/-
ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 127 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.5 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 23.6 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ
ร้อยละ 25.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 21.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 18.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 15.6 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 14.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 4.4 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 67.0
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 16.5
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 8.8
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 6.7
5 ไม่ได้ติดตามเลย 1.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ใช่ ไม่ใช่
1 เห็นด้วยกับการเมืองใหม่ เน้นการเมืองภาคประชาชนเข้มแข็ง 62.9 37.1
2 เครียดต่อเรื่องการเมือง 62.8 37.2
3 เชื่อว่า ความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองจะลดลง 56.2 43.8
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรี ใช่ ไม่ใช่
1 บุคลิกภาพ ความอ่อนโยน นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 75.1 24.9
2 ความสงสัยต่อการเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มนายทุน และกลุ่มการเมือง พรรคพวก
และญาติพี่น้อง ของนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 63.7 36.3
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสนใจต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
ลำดับที่ ความสนใจต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ค่าร้อยละ
1 สนใจ 53.3
2 ไม่สนใจ 46.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุ ณ วันนี้ กับ ความพร้อมสนับสนุน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความพร้อมสนับสนุน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ใน วันนี้ ค่าร้อยละ
1 พร้อมให้การสนับสนุน 71.5
2 ไม่สนับสนุน 28.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแสดงตนคัดค้านนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแสดงตนคัดค้านนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 13 ก.ย. 51 20 ก.ย. 51
1 คิดจะแสดงตนคัดค้าน 19.7 11.2
2 ไม่คิดคัดค้าน 68.7 86.5
3 ไม่มีความเห็น 11.6 2.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระยะเวลาที่จะสนับสนุนให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พิสูจน์ตนเองในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
(เฉพาะกลุ่มคนที่ให้การสนับสนุน)
ลำดับที่ ระยะเวลาให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พิสูจน์ตนเอง ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 1 ปี 26.0
2 2 — 3 ปี 36.1
3 อยู่ครบวาระ 37.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทางออกของปัญหาการเมืองในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ทางออกของปัญหาการเมืองในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 ประชาชนทุกคนปฏิบัติตนด้วยความรักความสามัคคี เกื้อกูลกัน มีไมตรีจิตต่อกัน 95.3
2 ทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย หันหน้าจับมือกันต่อหน้าสาธารณชน ร่วมกันแก้ปัญหาชาติ 92.5
3 เคร่งครัดตามหลักในกระบวนการยุติธรรม 89.3
4 รัฐบาลคัดหาคนดี คนเก่งมาเป็นรัฐมนตรี 86.6
5 แก้ไขรัฐธรรมนูญ 41.3
6 นิรโทษกรรมให้ อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย 111 คน 39.4
--เอแบคโพลล์--
-พห-