ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง สถานการณ์ความเครียด และการ
บรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยน้ำท่วมจากหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 19 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัดอยุธยา ลพบุรี สระบุรี
จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม สกลนคร มุกดาหาร น่าน พิษณุโลก
และพิจิตร จำนวนทั้งสิ้น 1,313 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 16 — 22 กันยายน พ.ศ. 2551 ผลสำรวจภาคสนามพบว่า
มีประชาชนที่ถูกศึกษาในจังหวัดที่เกิดภัยน้ำท่วมเกินครึ่งหรือร้อยละ 54.7 กำลังประสบภัยน้ำท่วมเดือดร้อนระดับมากถึงมากที่สุด ในขณะที่
1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.3 กำลังประสบความเดือดร้อนระดับปานกลาง และร้อยละ12.0 เดือดร้อนระดับน้อยถึงน้อยที่สุด โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ
55.9 เห็นว่าสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้ส่งผลกระทบต่อการให้ความช่วยเหลือดูแลผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในขณะที่ร้อยละ 44.1 ระบุไม่มีผล
กระทบ
ที่น่าเป็นห่วงคือ เกินครึ่งหรือร้อยละ 51.4 เชื่อว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นจากการใช้งบประมาณช่วยเหลือดูแลผู้ประสบภัยน้ำท่วม เพราะ มี
การแจกจ่ายสิ่งของเฉพาะกลุ่ม ไม่ทั่วถึง คนเดิมๆ ได้แล้วได้อีก คนใกล้ชิด เครือญาติของแกนนำชุมชน มีการกักเก็บสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีการ
รายงานสภาพความเสียหายเกินจริง เพื่อใช้งบประมาณฉุกเฉิน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 48.6 ระบุไม่คิดว่ามี
ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนผู้เดือดร้อนประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นหรือร้อยละ 49.9 ระบุมีหน่วยงานเข้าช่วยเหลือดูแลผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่
พักอาศัยของตน เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. / เทศบาล / อบจ.) เป็นต้น ร้อยละ 28.9 ระบุมีหน่วยงานระดับอำเภอ / จังหวัด เข้า
ช่วยเหลือ ร้อยละ 13.5 ระบุกรมอนามัย สาธารณสุขจังหวัด สาธารณสุขอำเภอ เข้าช่วยเหลือ ร้อยละ 11.8 ระบุ อาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่
บ้าน (อสม.) เข้าช่วยเหลือ ในขณะที่เพียงร้อยละ 9.3 เท่านั้นระบุ ส.ส.ในพื้นที่เข้าช่วยเหลือ ร้อยละ 9.3 เช่นกันระบุอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่าย
พลเรือน (อพปร.) เข้าช่วยเหลือ ร้อยละ 7.6 ระบุ มูลนิธิต่างๆ / หน่วยกู้ภัย เข้าช่วยเหลือ และมีเพียงร้อยละ 6.2 เท่านั้นที่ระบุรัฐบาลเข้าช่วย
เหลือ ร้อยละ 5.2 ระบุกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย เข้าช่วยเหลือ ร้อยละ 4.8 ระบุกองทัพ / ทหาร เข้าช่วยเหลือ ร้อยละ 4.7 ระบุ
กาชาด เข้าช่วยเหลือ ร้อยละ 2.5 ระบุ ตำรวจ เข้าช่วยเหลือ และร้อยละ 2.2 ระบุกรมประชาสงเคราะห์ เข้าช่วยเหลือ
นอกจากนี้ ยังมีประชาชนเกินกว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 29.0 ระบุยังไม่มีหน่วยงานใดมาช่วยเหลือ และเมื่อจำแนกคนกลุ่มนี้ออกเป็นคนที่
พักอาศัยติดถนนใหญ่กับไม่ติดถนนใหญ่ พบว่า คนที่พักอาศัยไม่ติดถนนใหญ่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.7 เป็นกลุ่มคนที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ ในขณะที่ร้อย
ละ 32.3 เป็นกลุ่มคนที่บ้านติดถนนใหญ่และยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ
และเมื่อถามถึง การได้รับความช่วยเหลือดูแลในเรื่องต่างๆ จากความเดือดร้อนประสบปัญหาน้ำท่วม พบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นหรือ
ร้อยละ 49.6 ที่ได้รับการแจกจ่ายสิ่งของบรรเทาทุกข์ อาทิ อาหาร ยา ของใช้ที่จำเป็น ยิ่งไปกว่านั้น เพียงร้อยละ 32.9 ได้รับการช่วยเหลือเร่ง
ระบายน้ำ ร้อยละ 29.8 ได้รับการป้องกัน ช่วยเหลือด้านสุขภาพอนามัย โรคติดต่อ ร้อยละ 26.5 ได้รับการดูแลป้องกันไม่ให้น้ำท่วมที่พักอาศัย ร้อย
ละ 24.2 ได้รับการอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ร้อยละ 22.7 ได้รับการช่วยขนย้ายสิ่งของหนีน้ำ และร้อยละ 16.3 ได้รับการดูแลป้องกัน
อันตรายจากสัตว์ร้ายที่มากับน้ำท่วม
ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึงระดับความเครียดจาก 0 ถึง 10 พบว่า ความเครียดของประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วมพุ่งสูงถึง 6.73 โดย
เฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มประชาชนที่พักอาศัยไม่ติดถนนใหญ่มีระดับความเครียดสูงถึง 6.81 ซึ่งมากกว่ากลุ่มคนที่พักอาศัยติดถนนใหญ่ที่มีระดับความเครียด
6.59
และเมื่อถามระดับความสุขมวลรวมของชีวิตในเวลานี้ พบว่า น่าเป็นห่วงสำหรับประชาชนที่พักอาศัยไม่ติดถนนใหญ่ เพราะระดับความสุขต่ำ
เพียง 4.47 จากคะแนนเต็ม 10 ส่วนประชาชนที่มีบ้านพักอาศัยติดถนนใหญ่และประสบภัยน้ำท่วมก็มีความสุขเพียง 5.00 โดยเฉลี่ยความสุขมวลรวมของ
ประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมทั้งที่บ้านอยู่ติดถนนใหญ่และไม่ติดถนนใหญ่อยู่ที่ 4.65 เท่านั้น
ผ.อ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า กลุ่มประชาชนที่น่าเป็นห่วงคือ คนที่พักอาศัยห่างไปจากริมถนนใหญ่เพราะกำลังมีความเครียดสูง
ความสุขต่ำกว่ากลุ่มคนที่อยู่ติดถนนใหญ่ และผลสำรวจที่ค้นพบครั้งนี้แตกต่างไปจากข่าวสารความช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆ ที่ปรากฏในภาพข่าว
โทรทัศน์และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เพราะข้อมูลวิจัยครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างเพียงพอ และยังเคลือบ
แคลงสงสัยต่อการทุจริตคอรัปชั่นในการใช้จ่ายงบประมาณฉุกเฉินในพื้นที่ภัยพิบัติต่างๆ ดังนั้น หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต้องเร่งตรวจสอบ และผู้บังคับ
บัญชาระดับสูงน่าจะลงไปดูแลอย่างใกล้ชิดว่า คำสั่งต่างๆ ที่สั่งลงไปให้ดูแลบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการตอบสนองอย่างจริงจังมาก
น้อยเพียงไร เพราะปัญหาภัยพิบัติแบบนี้มันเกินขีดความสามารถของประชาชนธรรมดาทั่วไปจะแก้ไขเยียวยาได้เพียงลำพัง
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจสถานการณ์ความเดือดร้อน และความเครียดของประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมในขณะนี้
2. เพื่อสำรวจภาวะการช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยน้ำท่วม
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สถานการณ์ความเครียดและการบรรเทาความเดือด
ร้อนของผู้ประสบภัยน้ำท่วมจากหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 19 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,313 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 16 — 22 กันยายน พ.ศ. 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากร
เป้าหมาย คือ ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 19 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัดอยุธยา ลพบุรี สระบุรี จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี นครนายก นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม สกลนคร มุกดาหาร น่าน พิษณุโลก และพิจิตร โดยเลือกตัวอย่าง
แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การ
สัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 125 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 44.0 ระบุเป็นชาย
ในขณะที่ร้อยละ 56.0 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.4 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 9.6 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 18.6 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 24.1 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 42.3 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 92.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 7.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 0.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/ประมง
ร้อยละ 22.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 17.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 9.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และ
ร้อยละ 14.5 อาชีพอื่นๆ รวมถึงผู้ไม่ระบุอาชีพ และผู้ว่างงาน
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การประเมินความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วม
ลำดับที่ การประเมินความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วม ค่าร้อยละ
1 มากที่สุด 25.3
2 มาก 29.4
3 ปานกลาง 33.3
4 น้อย 9.8
5 น้อยที่สุด 2.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นว่าสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อการให้ความช่วยเหลือดูแลผู้ประสบภัยน้ำท่วม
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 กระทบ 55.9
2 ไม่กระทบ 44.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นจากการใช้งบประมาณช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ลำดับที่ ความเชื่อ ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามี เพราะ มีการแจกจ่ายสิ่งของเฉพาะกลุ่ม ไม่ทั่วถึง กลุ่มเดิมๆ ได้แล้วได้อีก คนใกล้ชิดแกนนำ กักเก็บสิ่งของ
ช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีการรายงานสภาพความเสียหาย เกินจริง เพื่อใช้งบประมาณฉุกเฉิน เป็นต้น 51.4
2 ไม่เชื่อว่ามี 48.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ หน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือดูแลผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ของตน (ตอบได้มากกว่า 1ข้อ)
ลำดับที่ หน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือดูแลผู้ประสบภัยน้ำท่วม ค่าร้อยละ
1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต./เทศบาล/ อบจ.) 49.9
2 อำเภอ/จังหวัด 28.9
3 กรมอนามัย/สาธารณสุขจังหวัด/สาธารณสุขอำเภอ 13.5
4 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 11.8
5 ส.ส. ในพื้นที่ 9.3
6 อาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน (อพปร.) 9.3
7 มูลนิธิต่างๆ/หน่วยกู้ภัย 7.6
8 รัฐบาล 6.2
9 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5.2
10 กองทัพ/ทหาร 4.8
11 กาชาด 4.7
12 ตำรวจ 2.5
13 กรมประชาสงเคราะห์ 2.2
14 อื่นๆ อาทิ กรมชลประทาน กรมประมง โรงงาน บริษัทเอกชนในพื้นที่ 3.4
15 ยังไม่มีหน่วยงานใดมาช่วยเหลือ 29.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ยังไม่มีหน่วยงานใดมาช่วยเหลือปัญหาน้ำท่วม จำแนกตามที่ตั้งของ
บ้านติดกับไม่ติดถนนใหญ่
ลำดับที่ การยังไม่มีหน่วยงานใดมาช่วยเหลือปัญหาน้ำท่วม ค่าร้อยละ
1 บ้านไม่ติดถนนใหญ่ 67.7
2 บ้านติดถนนใหญ่ 32.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การได้รับความช่วยเหลือดูแลในเรื่องต่างๆ จากการประสบภัยน้ำท่วม
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การได้รับความช่วยเหลือดูแลในเรื่องต่างๆ จากการประสบภัยน้ำท่วม ค่าร้อยละ
1 การแจกจ่ายสิ่งของบรรเทาทุกข์ อาทิ อาหาร ยา ของใช้ที่จำเป็น 49.6
2 การช่วยเร่งระบายน้ำ 32.9
3 การป้องกันด้านสุขภาพอนามัย โรคติดต่อ 29.8
4 การดูแลป้องกันไม่ให้น้ำท่วมที่พักอาศัย 26.5
5 การอำนวยความสะดวกในการเดินทาง 24.2
6 การช่วยขนย้ายสิ่งของหนีน้ำ 22.7
7 การดูแลป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้ายที่มากับน้ำท่วม 16.3
ตารางที่ 7 แสดงค่าเฉลี่ยความเครียดของผู้ประสบภัยน้ำท่วม เปรียบเทียบระหว่างผู้ที่บ้านไม่ติดถนนใหญ่กับผู้ที่
บ้านติดถนนใหญ่
ผลการศึกษา บ้านติดถนนใหญ่(คะแนนเต็ม 10) บ้านไม่ติดถนนใหญ่(คะแนนเต็ม 10) ความเครียดเฉลี่ยรวม
ระดับความเครียดของผู้ประสบภัยน้ำท่วม 6.59 6.81 6.73
ตารางที่ 8 แสดงค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวมของตัวอย่างที่ประสบภัยน้ำท่วม เปรียบเทียบระหว่างผู้ที่พักในบ้านติด
ถนนใหญ่ กับบ้านที่ไม่ติดถนนใหญ่
ผลการศึกษา บ้านติดถนนใหญ่ (คะแนนเต็ม 10) บ้านไม่ติดถนนใหญ่(คะแนนเต็ม 10) ความสุขเฉลี่ยรวม
ระดับความสุขมวลรวมของผู้ประสบภัยน้ำท่วม 5.00 4.47 4.65
--เอแบคโพลล์--
-พห-
บรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยน้ำท่วมจากหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 19 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัดอยุธยา ลพบุรี สระบุรี
จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม สกลนคร มุกดาหาร น่าน พิษณุโลก
และพิจิตร จำนวนทั้งสิ้น 1,313 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 16 — 22 กันยายน พ.ศ. 2551 ผลสำรวจภาคสนามพบว่า
มีประชาชนที่ถูกศึกษาในจังหวัดที่เกิดภัยน้ำท่วมเกินครึ่งหรือร้อยละ 54.7 กำลังประสบภัยน้ำท่วมเดือดร้อนระดับมากถึงมากที่สุด ในขณะที่
1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.3 กำลังประสบความเดือดร้อนระดับปานกลาง และร้อยละ12.0 เดือดร้อนระดับน้อยถึงน้อยที่สุด โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ
55.9 เห็นว่าสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้ส่งผลกระทบต่อการให้ความช่วยเหลือดูแลผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในขณะที่ร้อยละ 44.1 ระบุไม่มีผล
กระทบ
ที่น่าเป็นห่วงคือ เกินครึ่งหรือร้อยละ 51.4 เชื่อว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นจากการใช้งบประมาณช่วยเหลือดูแลผู้ประสบภัยน้ำท่วม เพราะ มี
การแจกจ่ายสิ่งของเฉพาะกลุ่ม ไม่ทั่วถึง คนเดิมๆ ได้แล้วได้อีก คนใกล้ชิด เครือญาติของแกนนำชุมชน มีการกักเก็บสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีการ
รายงานสภาพความเสียหายเกินจริง เพื่อใช้งบประมาณฉุกเฉิน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 48.6 ระบุไม่คิดว่ามี
ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนผู้เดือดร้อนประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นหรือร้อยละ 49.9 ระบุมีหน่วยงานเข้าช่วยเหลือดูแลผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่
พักอาศัยของตน เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. / เทศบาล / อบจ.) เป็นต้น ร้อยละ 28.9 ระบุมีหน่วยงานระดับอำเภอ / จังหวัด เข้า
ช่วยเหลือ ร้อยละ 13.5 ระบุกรมอนามัย สาธารณสุขจังหวัด สาธารณสุขอำเภอ เข้าช่วยเหลือ ร้อยละ 11.8 ระบุ อาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่
บ้าน (อสม.) เข้าช่วยเหลือ ในขณะที่เพียงร้อยละ 9.3 เท่านั้นระบุ ส.ส.ในพื้นที่เข้าช่วยเหลือ ร้อยละ 9.3 เช่นกันระบุอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่าย
พลเรือน (อพปร.) เข้าช่วยเหลือ ร้อยละ 7.6 ระบุ มูลนิธิต่างๆ / หน่วยกู้ภัย เข้าช่วยเหลือ และมีเพียงร้อยละ 6.2 เท่านั้นที่ระบุรัฐบาลเข้าช่วย
เหลือ ร้อยละ 5.2 ระบุกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย เข้าช่วยเหลือ ร้อยละ 4.8 ระบุกองทัพ / ทหาร เข้าช่วยเหลือ ร้อยละ 4.7 ระบุ
กาชาด เข้าช่วยเหลือ ร้อยละ 2.5 ระบุ ตำรวจ เข้าช่วยเหลือ และร้อยละ 2.2 ระบุกรมประชาสงเคราะห์ เข้าช่วยเหลือ
นอกจากนี้ ยังมีประชาชนเกินกว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 29.0 ระบุยังไม่มีหน่วยงานใดมาช่วยเหลือ และเมื่อจำแนกคนกลุ่มนี้ออกเป็นคนที่
พักอาศัยติดถนนใหญ่กับไม่ติดถนนใหญ่ พบว่า คนที่พักอาศัยไม่ติดถนนใหญ่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.7 เป็นกลุ่มคนที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ ในขณะที่ร้อย
ละ 32.3 เป็นกลุ่มคนที่บ้านติดถนนใหญ่และยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ
และเมื่อถามถึง การได้รับความช่วยเหลือดูแลในเรื่องต่างๆ จากความเดือดร้อนประสบปัญหาน้ำท่วม พบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นหรือ
ร้อยละ 49.6 ที่ได้รับการแจกจ่ายสิ่งของบรรเทาทุกข์ อาทิ อาหาร ยา ของใช้ที่จำเป็น ยิ่งไปกว่านั้น เพียงร้อยละ 32.9 ได้รับการช่วยเหลือเร่ง
ระบายน้ำ ร้อยละ 29.8 ได้รับการป้องกัน ช่วยเหลือด้านสุขภาพอนามัย โรคติดต่อ ร้อยละ 26.5 ได้รับการดูแลป้องกันไม่ให้น้ำท่วมที่พักอาศัย ร้อย
ละ 24.2 ได้รับการอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ร้อยละ 22.7 ได้รับการช่วยขนย้ายสิ่งของหนีน้ำ และร้อยละ 16.3 ได้รับการดูแลป้องกัน
อันตรายจากสัตว์ร้ายที่มากับน้ำท่วม
ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึงระดับความเครียดจาก 0 ถึง 10 พบว่า ความเครียดของประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วมพุ่งสูงถึง 6.73 โดย
เฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มประชาชนที่พักอาศัยไม่ติดถนนใหญ่มีระดับความเครียดสูงถึง 6.81 ซึ่งมากกว่ากลุ่มคนที่พักอาศัยติดถนนใหญ่ที่มีระดับความเครียด
6.59
และเมื่อถามระดับความสุขมวลรวมของชีวิตในเวลานี้ พบว่า น่าเป็นห่วงสำหรับประชาชนที่พักอาศัยไม่ติดถนนใหญ่ เพราะระดับความสุขต่ำ
เพียง 4.47 จากคะแนนเต็ม 10 ส่วนประชาชนที่มีบ้านพักอาศัยติดถนนใหญ่และประสบภัยน้ำท่วมก็มีความสุขเพียง 5.00 โดยเฉลี่ยความสุขมวลรวมของ
ประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมทั้งที่บ้านอยู่ติดถนนใหญ่และไม่ติดถนนใหญ่อยู่ที่ 4.65 เท่านั้น
ผ.อ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า กลุ่มประชาชนที่น่าเป็นห่วงคือ คนที่พักอาศัยห่างไปจากริมถนนใหญ่เพราะกำลังมีความเครียดสูง
ความสุขต่ำกว่ากลุ่มคนที่อยู่ติดถนนใหญ่ และผลสำรวจที่ค้นพบครั้งนี้แตกต่างไปจากข่าวสารความช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆ ที่ปรากฏในภาพข่าว
โทรทัศน์และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เพราะข้อมูลวิจัยครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างเพียงพอ และยังเคลือบ
แคลงสงสัยต่อการทุจริตคอรัปชั่นในการใช้จ่ายงบประมาณฉุกเฉินในพื้นที่ภัยพิบัติต่างๆ ดังนั้น หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต้องเร่งตรวจสอบ และผู้บังคับ
บัญชาระดับสูงน่าจะลงไปดูแลอย่างใกล้ชิดว่า คำสั่งต่างๆ ที่สั่งลงไปให้ดูแลบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการตอบสนองอย่างจริงจังมาก
น้อยเพียงไร เพราะปัญหาภัยพิบัติแบบนี้มันเกินขีดความสามารถของประชาชนธรรมดาทั่วไปจะแก้ไขเยียวยาได้เพียงลำพัง
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจสถานการณ์ความเดือดร้อน และความเครียดของประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมในขณะนี้
2. เพื่อสำรวจภาวะการช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยน้ำท่วม
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สถานการณ์ความเครียดและการบรรเทาความเดือด
ร้อนของผู้ประสบภัยน้ำท่วมจากหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 19 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,313 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 16 — 22 กันยายน พ.ศ. 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากร
เป้าหมาย คือ ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 19 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัดอยุธยา ลพบุรี สระบุรี จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี นครนายก นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม สกลนคร มุกดาหาร น่าน พิษณุโลก และพิจิตร โดยเลือกตัวอย่าง
แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การ
สัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 125 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 44.0 ระบุเป็นชาย
ในขณะที่ร้อยละ 56.0 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.4 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 9.6 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 18.6 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 24.1 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 42.3 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 92.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 7.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 0.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/ประมง
ร้อยละ 22.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 17.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 9.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และ
ร้อยละ 14.5 อาชีพอื่นๆ รวมถึงผู้ไม่ระบุอาชีพ และผู้ว่างงาน
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การประเมินความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วม
ลำดับที่ การประเมินความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วม ค่าร้อยละ
1 มากที่สุด 25.3
2 มาก 29.4
3 ปานกลาง 33.3
4 น้อย 9.8
5 น้อยที่สุด 2.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นว่าสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อการให้ความช่วยเหลือดูแลผู้ประสบภัยน้ำท่วม
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 กระทบ 55.9
2 ไม่กระทบ 44.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นจากการใช้งบประมาณช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ลำดับที่ ความเชื่อ ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามี เพราะ มีการแจกจ่ายสิ่งของเฉพาะกลุ่ม ไม่ทั่วถึง กลุ่มเดิมๆ ได้แล้วได้อีก คนใกล้ชิดแกนนำ กักเก็บสิ่งของ
ช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีการรายงานสภาพความเสียหาย เกินจริง เพื่อใช้งบประมาณฉุกเฉิน เป็นต้น 51.4
2 ไม่เชื่อว่ามี 48.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ หน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือดูแลผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ของตน (ตอบได้มากกว่า 1ข้อ)
ลำดับที่ หน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือดูแลผู้ประสบภัยน้ำท่วม ค่าร้อยละ
1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต./เทศบาล/ อบจ.) 49.9
2 อำเภอ/จังหวัด 28.9
3 กรมอนามัย/สาธารณสุขจังหวัด/สาธารณสุขอำเภอ 13.5
4 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 11.8
5 ส.ส. ในพื้นที่ 9.3
6 อาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน (อพปร.) 9.3
7 มูลนิธิต่างๆ/หน่วยกู้ภัย 7.6
8 รัฐบาล 6.2
9 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5.2
10 กองทัพ/ทหาร 4.8
11 กาชาด 4.7
12 ตำรวจ 2.5
13 กรมประชาสงเคราะห์ 2.2
14 อื่นๆ อาทิ กรมชลประทาน กรมประมง โรงงาน บริษัทเอกชนในพื้นที่ 3.4
15 ยังไม่มีหน่วยงานใดมาช่วยเหลือ 29.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ยังไม่มีหน่วยงานใดมาช่วยเหลือปัญหาน้ำท่วม จำแนกตามที่ตั้งของ
บ้านติดกับไม่ติดถนนใหญ่
ลำดับที่ การยังไม่มีหน่วยงานใดมาช่วยเหลือปัญหาน้ำท่วม ค่าร้อยละ
1 บ้านไม่ติดถนนใหญ่ 67.7
2 บ้านติดถนนใหญ่ 32.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การได้รับความช่วยเหลือดูแลในเรื่องต่างๆ จากการประสบภัยน้ำท่วม
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การได้รับความช่วยเหลือดูแลในเรื่องต่างๆ จากการประสบภัยน้ำท่วม ค่าร้อยละ
1 การแจกจ่ายสิ่งของบรรเทาทุกข์ อาทิ อาหาร ยา ของใช้ที่จำเป็น 49.6
2 การช่วยเร่งระบายน้ำ 32.9
3 การป้องกันด้านสุขภาพอนามัย โรคติดต่อ 29.8
4 การดูแลป้องกันไม่ให้น้ำท่วมที่พักอาศัย 26.5
5 การอำนวยความสะดวกในการเดินทาง 24.2
6 การช่วยขนย้ายสิ่งของหนีน้ำ 22.7
7 การดูแลป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้ายที่มากับน้ำท่วม 16.3
ตารางที่ 7 แสดงค่าเฉลี่ยความเครียดของผู้ประสบภัยน้ำท่วม เปรียบเทียบระหว่างผู้ที่บ้านไม่ติดถนนใหญ่กับผู้ที่
บ้านติดถนนใหญ่
ผลการศึกษา บ้านติดถนนใหญ่(คะแนนเต็ม 10) บ้านไม่ติดถนนใหญ่(คะแนนเต็ม 10) ความเครียดเฉลี่ยรวม
ระดับความเครียดของผู้ประสบภัยน้ำท่วม 6.59 6.81 6.73
ตารางที่ 8 แสดงค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวมของตัวอย่างที่ประสบภัยน้ำท่วม เปรียบเทียบระหว่างผู้ที่พักในบ้านติด
ถนนใหญ่ กับบ้านที่ไม่ติดถนนใหญ่
ผลการศึกษา บ้านติดถนนใหญ่ (คะแนนเต็ม 10) บ้านไม่ติดถนนใหญ่(คะแนนเต็ม 10) ความสุขเฉลี่ยรวม
ระดับความสุขมวลรวมของผู้ประสบภัยน้ำท่วม 5.00 4.47 4.65
--เอแบคโพลล์--
-พห-