โพลล์ระบุคนกรุงวิตกกังวลมากขึ้น เครียดมากขึ้น ต่อเหตุการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ พร้อมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมา
เจรจากันด้วยสันติวิธี ในขณะที่ภาพลักษณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ภายหลังการควบคุมเหตุการณ์ต่างๆ อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง
"คนกรุงเทพมหานครรู้สึกอย่างไรต่อวิกฤติการเมือง หลังข่าวเหตุการณ์เตรียมลอบวางระเบิดนายกรัฐมนตรี" จำนวนตัวอย่าง
ทั้งสิ้น 1,133 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 24 - 26 สิงหาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 79.1 ระบุว่า ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ
16.6 ติดตามบ้าง และร้อยละ 4.3 ไม่ได้ติดตามเลย แต่เมื่อสอบถามคนกรุงเทพมหานครถึงความรู้สึกต่อสถานการณ์
ทางการเมืองในขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 97.4 คิดว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ ในขณะที่ ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 78.3 รู้สึกวิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมืองในขณะนี้ นอกจากนี้ ร้อยละ 92.8 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมา
เจรจากันด้วยสันติวิธี
เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อทำการเปรียบเทียบกับผลสำรวจก่อนข่าวลอบวางระเบิดนายกรัฐมนตรี พบว่า ความรู้สึก
ของสาธารณชนเปลี่ยนแปลงไปหลายประเด็น เช่น คนวิตกกังวลมากขึ้น เครียดมากขึ้น ขัดแย้งกับคนในครอบครัว
เพื่อนบ้าน และเพื่อนร่วมงานมากขึ้น
นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าคนกรุงกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 53.6 จะเชื่อว่า การเลือกตั้งวันที่ 15 ตุลาคม 2549 ที่จะถึงนี้
เป็นทางออกที่ดีในช่วงวิกฤติการเมืองขณะนี้ แต่เมื่อทำการเปรียบเทียบกับผลสำรวจใน 2 ครั้งที่ผ่านมาแล้ว พบว่า
แนวโน้มที่จะเห็นด้วยกับการเลือกตั้งมีปริมาณลดลง
นอกจากนี้ ตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นใกล้เคียงกัน ในประเด็นความคิดเห็นต่อความเป็นกลางในการทำงาน
ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมการชุมนุม พบว่า สามารถแบ่งตัวอย่างออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มตัวอย่างที่
เห็นว่าเป็นกลาง กลุ่มตัวอย่างที่เห็นว่าไม่เป็นกลาง และกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีความเห็น ร้อยละ 38.1, 33.5 และ 28.4
ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 47.3 ระบุว่าพึงพอใจต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการ
ควบคุมผู้ชุมนุมที่ผ่านมา
ภายหลังข่าวการเตรียมลอบสังหาร พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ตัวอย่างร้อยละ 43.0 ระบุจะสนับสนุน พ.ต.ท.
ทักษิณ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ในขณะที่ ร้อยละ 24.8 ระบุไม่สนับสนุน และร้อยละ 32.2 ระบุไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถมถึงกรณีที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร สั่งปลด พล.อ. พัลลภ ปิ่นมณี พ้นจากตำแหน่ง รองผู้อำนวยการรักษา
ความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ตัวอย่างเกือบครึ่ง หรือร้อยละ 48.0 ระบุไม่มีความเห็น ในขณะที่ ร้อยละ 31.9 ระบุไม่เห็นด้วย
เพราะควรมีการตรวจสอบความจริงก่อน, ตัดสินใจเร็วเกินไป, ยังไม่มีหลักฐาน, ไม่โปร่งใส ไม่ชัดเจน และร้อยละ 20.1 ระบุเห็นด้วย
เพราะถือเป็นความรับผิดชอบของ พล.อ. พัลลภ โดยตรง เพราะเป็นผู้บังคับบัญชาของผู้ต้องหา, น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้อง, เป็นเพื่อน
ของพลตรีจำลอง ศรีเมือง นอกจากนี้ ตัวอย่างกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 67.7 ระบุพึงพอใจต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสกัดกู้
รถยนต์บรรทุกระเบิดลอบสังหาร พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณา คือ ตัวอย่างเกือบครึ่ง หรือร้อยละ 46.6 ระบุว่า สังคมไทยควรรอผลสรุปจาก
กระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับข่าวเตรียมระเบิดลอบสังหารนายกรัฐมนตรี ก่อนวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ในขณะที่ มีเพียง ร้อยละ 11.5 เท่านั้นที่ระบุว่าไม่เห็นด้วย เพราะทุกคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นในสังคมประชาธิปไตย,
กระบวนการยุติธรรมไม่น่าเชื่อถือ และใช้เวลานานในการตัดสิน และร้อยละ 41.9 ระบุไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า หลังจากเกิดข่าวเตรียมลอบวางระเบิด พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี มีประเด็นการเมืองค้นพบที่น่าพิจารณา หลายประการดังต่อไปนี้
ประการแรก ความรู้สึกของสาธารณชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาเปลี่ยนแปลงไปหลายประเด็น เมื่อเปรียบเทียบกับ
ผลสำรวจก่อนข่าวลอบวางระเบิดนายกรัฐมนตรี ได้แก่ คนวิตกกังวลมากขึ้น เครียดมากขึ้น ขัดแย้งกับคนในครอบครัว
เพื่อนบ้าน และเพื่อนร่วมงานมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 90 ยังคงต้องการให้ทุกฝ่ายเจรจาแก้วิกฤติการเมือง
ด้วยสันติวิธี
ประการที่สอง หลังเหตุการณ์ข่าวเตรียมลอบวางระเบิดนายกรัฐมนตรี สำรวจพบว่า คนกรุงเห็นด้วยกับ
การเลือกตั้งวันที่ 15 ตุลาคม ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจสองครั้งที่ผ่านมา
ประการที่สาม ภาพลักษณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในเกณฑ์ที่ดีและเป็นที่พอใจของประชาชนส่วนใหญ่ ทั้งใน
เรื่องความเป็นกลางทางการเมือง การควบคุมผู้ชุมนุม และการสกัดกู้รถยนต์บรรทุกวัตถุระเบิด เป็นต้น
ประการที่สี่ คนกรุงเทพมหานครจำนวนมาก ยังคงสนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป แต่มี
ประมาณ 1 ใน 4 ที่ไม่สนับสนุน และที่เหลือไม่มีความเห็น โดยต้องการอยู่กลางๆ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหน งฝ่ายใด
"ผลสำรวจเหล่านี้ สะท้อนสิ่งที่สังคมไทยควรตั้งคำถามหลายข้อ ก่อนที่จะเชื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ได้แก่ หลังจาก
เหตุการณ์เตรียมลอบสังหารนายกรัฐมนตรีเกิดขึ้น ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์ อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชน
เป็นอย่างไร ภาพลักษณ์ของประเทศไทยเสียหายมากน้อยแค่ไหน เกียรติภูมิแห่งตนของคนไทยในเรื่องความรัก ความ
สามัคคีของคนในชาติเป็นอย่างไร สังคมไทยควรดึงภาพลักษณ์ที่ดีๆ ของคนไทยกลับคืนมาโดยเร่งด่วนก่อนที่จะสาย
เกินไป" ดร.นพดล กล่าว
ดร. นพดล กล่าวต่อว่า "ถ้าบรรยากาศการแข่งขันเพื่อชนะการเลือกตั้ง เริ่มต้นด้วยการใช้ความรุนแรงเช่นนี้
เป็นไปได้ว่า จะมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นอีกในลักษณะที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางการเมืองต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ซึ่งบรรดา
ฝ่ายการเมืองของประเทศประชาธิปไตยเคยใช้ได้ผลในการเพิ่มคะแนนนิยม และชนะการเลือกตั้ง เช่น การเกิดความ
ขัดแย้งระหว่างประเทศ การเกิดความไม่สงบในประเทศ และปัญหาเฉพาะเรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ จน
ต้องการการตัดสินใจแก้ปัญหาโดยผู้นำประเทศ ซึ่งถ้าฝ่ายการเมืองสามารถแสดงการใช้อำนาจ กอบกู้สถานการณ์ต่างๆ
ได้ดีขึ้น ก็จะทำให้ได้การสนับสนุนจากประชาชน ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งได้ไม่ยากนัก"
"อย่างไรก็ตาม สำหรับวิกฤติการเมืองไทยคาดว่า ทิศทางของพัฒนาการการใช้ความรุนแรง ท้าทายอำนาจรัฐ
และบั่นทอนปกติสุขของประชาชนทั้งประเทศ กำลังเป็นไปในทิศทางที่เข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ จึงอยากให้คนไทยทุกคน
ตื่นเฝ้าติดตามสถานการณ์การเมืองอย่างต่อเนื่องจนถึงวันเลือกตั้ง เพื่อไปใช้สิทธิ์ของตนตัดสินว่าเลือกใครแล้วสังคม
สงบสุข ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืนมากกว่าการใช้กระแส และความรู้สึกชอบไม่ชอบส่วนบุคคลเท่านั้น"
ดร. นพดล กล่าวสรุป
รายละเอียดโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญทางการเมือง
4. เพื่อสำรวจระดับความมั่นใจของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง "คนกรุงเทพมหานครรู้สึก
อย่างไรต่อวิกฤติการเมือง หลังข่าวเหตุการณ์เตรียมลอบวางระเบิดนายกรัฐมนตรี" มีระยะเวลาการดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 24 - 26 สิงหาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,133 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้น
เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.2 เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.8 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่างร้อยละ29.9 อายุต่ำกว่า 30 ปี ร้อยละ 27.1 อายุระหว่าง 30--39 ปี ร้อยละ 20.6 อายุระหว่าง 40--49 ปี และ
ร้อยละ 22.4 อายุตั้งแต่ 50 ขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 22.0 มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 50.9 มีรายได้
ระหว่าง 5,000-10,000 บาท ร้อยละ 19.0 มีรายได้ระหว่าง 10,001-20,000 และร้อยละ 8.1 มีรายได้สูงกว่า
20,000 บาทขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 83.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 16.3 สำเร็จ
การศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 0.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 43.2 ระบุอาชีพ
ค้าขาย / กิจการส่วนตัว ร้อยละ 27.4 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 11.3 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 9.6 เป็น
แม่บ้าน / พ่อบ้าน / เกษียณอายุ ร้อยละ 3.4 เป็นนักเรียน / นักศึกษา ร้อยละ 3.0 อาชีพรับราชการ / รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 0.5 อาชีพเกษตรกร และร้อยละ 1.6 ระบุว่าไม่มีงานทำ / ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 59.6
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 19.5
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 8.5
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 8.1
5 ไม่ได้ติดตามเลย 4.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์ทางการเมือง
ในขณะนี้ เมื่อเปรียบเทียบจากผลสำรวจครั้งที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความรู้สึกที่ได้รับจาก 17-20 สิงหาคม 24-26 สิงหาคม
สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 95.7 97.4
2 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี 92.0 92.8
3 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 71.8 78.3
4 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 75.5 75.6
5 เครียดต่อเรื่องการเมือง 37.1 49.5
6 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 13.6 18.5
7 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 13.7 17.9
8 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 8.2 11.6
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อวันเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคมนี้
ความคิดเห็นของตัวอย่าง 25-26 กรกฎาคม 17-20 สิงหาคม 24-26 สิงหาคม
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1. เห็นด้วยที่จะมีวันเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม นี้ 74.1 60.8 53.6
2. ไม่เห็นด้วย 10.7 12.4 19.9
3. ไม่มีความเห็น 15.2 26.8 26.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเป็นกลางในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ในการควบคุมการชุมนุมที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เป็นกลาง 38.1
2 ไม่เป็นกลาง 33.5
3 ไม่มีความเห็น 28.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุม
ผู้ชุมนุมที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 พอใจ 47.3
2 ไม่พอใจ 27.4
3 ไม่มีความเห็น 25.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป
ภายหลังข่าวการเตรียมลอบสังหาร พ.ต.ท. ทักษิณ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 43.0
2 ไม่สนับสนุน 24.8
3 ไม่มีความเห็น 32.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร สั่งปลด พล.อ. พัลลภ ปิ่นมณี
พ้นจากตำแหน่งรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ ถือเป็นความรับผิดชอบของ พล.อ. พัลลภ โดยตรง เพราะ
เป็นผู้บังคับบัญชาของผู้ต้องหา/น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้อง/ 20.1
เป็นเพื่อนของพลตรีจำลอง ศรีเมือง
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ ควรมีการตรวจสอบความจริงก่อน/ตัดสินใจเร็วเกินไป/
ยังไม่มีหลักฐาน/ไม่โปร่งใส ไม่ชัดเจน 31.9
3 ไม่มีความเห็น 48.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสกัดกู้
รถยนต์บรรทุกระเบิดลอบสังหาร พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 พอใจ 67.7
2 ไม่พอใจ 9.8
3 ไม่มีความเห็น 22.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกับแนวคิดที่ว่า สังคมไทยควรรอผลสรุปจาก
กระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับข่าวเตรียมระเบิดลอบสังหารนายกรัฐมนตรี ก่อนวิพากษ์วิจารณ์
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ ควรตรวจสอบหาสาเหตุและหลักฐานที่แน่ชัดก่อน/ควรให้
ความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย/อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งได้/ควรให้ 46.6
ความเคารพต่อกระบวนการยุติธรรม
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ ทุกคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นในสังคมประชาธิปไตย/
กระบวนการยุติธรรมไม่น่าเชื่อถือ และใช้เวลานานในการตัดสิน 11.5
3 ไม่มีความเห็น 41.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เจรจากันด้วยสันติวิธี ในขณะที่ภาพลักษณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ภายหลังการควบคุมเหตุการณ์ต่างๆ อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง
"คนกรุงเทพมหานครรู้สึกอย่างไรต่อวิกฤติการเมือง หลังข่าวเหตุการณ์เตรียมลอบวางระเบิดนายกรัฐมนตรี" จำนวนตัวอย่าง
ทั้งสิ้น 1,133 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 24 - 26 สิงหาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 79.1 ระบุว่า ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ
16.6 ติดตามบ้าง และร้อยละ 4.3 ไม่ได้ติดตามเลย แต่เมื่อสอบถามคนกรุงเทพมหานครถึงความรู้สึกต่อสถานการณ์
ทางการเมืองในขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 97.4 คิดว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ ในขณะที่ ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 78.3 รู้สึกวิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมืองในขณะนี้ นอกจากนี้ ร้อยละ 92.8 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมา
เจรจากันด้วยสันติวิธี
เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อทำการเปรียบเทียบกับผลสำรวจก่อนข่าวลอบวางระเบิดนายกรัฐมนตรี พบว่า ความรู้สึก
ของสาธารณชนเปลี่ยนแปลงไปหลายประเด็น เช่น คนวิตกกังวลมากขึ้น เครียดมากขึ้น ขัดแย้งกับคนในครอบครัว
เพื่อนบ้าน และเพื่อนร่วมงานมากขึ้น
นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าคนกรุงกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 53.6 จะเชื่อว่า การเลือกตั้งวันที่ 15 ตุลาคม 2549 ที่จะถึงนี้
เป็นทางออกที่ดีในช่วงวิกฤติการเมืองขณะนี้ แต่เมื่อทำการเปรียบเทียบกับผลสำรวจใน 2 ครั้งที่ผ่านมาแล้ว พบว่า
แนวโน้มที่จะเห็นด้วยกับการเลือกตั้งมีปริมาณลดลง
นอกจากนี้ ตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นใกล้เคียงกัน ในประเด็นความคิดเห็นต่อความเป็นกลางในการทำงาน
ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมการชุมนุม พบว่า สามารถแบ่งตัวอย่างออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มตัวอย่างที่
เห็นว่าเป็นกลาง กลุ่มตัวอย่างที่เห็นว่าไม่เป็นกลาง และกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีความเห็น ร้อยละ 38.1, 33.5 และ 28.4
ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 47.3 ระบุว่าพึงพอใจต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการ
ควบคุมผู้ชุมนุมที่ผ่านมา
ภายหลังข่าวการเตรียมลอบสังหาร พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ตัวอย่างร้อยละ 43.0 ระบุจะสนับสนุน พ.ต.ท.
ทักษิณ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ในขณะที่ ร้อยละ 24.8 ระบุไม่สนับสนุน และร้อยละ 32.2 ระบุไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถมถึงกรณีที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร สั่งปลด พล.อ. พัลลภ ปิ่นมณี พ้นจากตำแหน่ง รองผู้อำนวยการรักษา
ความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ตัวอย่างเกือบครึ่ง หรือร้อยละ 48.0 ระบุไม่มีความเห็น ในขณะที่ ร้อยละ 31.9 ระบุไม่เห็นด้วย
เพราะควรมีการตรวจสอบความจริงก่อน, ตัดสินใจเร็วเกินไป, ยังไม่มีหลักฐาน, ไม่โปร่งใส ไม่ชัดเจน และร้อยละ 20.1 ระบุเห็นด้วย
เพราะถือเป็นความรับผิดชอบของ พล.อ. พัลลภ โดยตรง เพราะเป็นผู้บังคับบัญชาของผู้ต้องหา, น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้อง, เป็นเพื่อน
ของพลตรีจำลอง ศรีเมือง นอกจากนี้ ตัวอย่างกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 67.7 ระบุพึงพอใจต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสกัดกู้
รถยนต์บรรทุกระเบิดลอบสังหาร พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณา คือ ตัวอย่างเกือบครึ่ง หรือร้อยละ 46.6 ระบุว่า สังคมไทยควรรอผลสรุปจาก
กระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับข่าวเตรียมระเบิดลอบสังหารนายกรัฐมนตรี ก่อนวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ในขณะที่ มีเพียง ร้อยละ 11.5 เท่านั้นที่ระบุว่าไม่เห็นด้วย เพราะทุกคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นในสังคมประชาธิปไตย,
กระบวนการยุติธรรมไม่น่าเชื่อถือ และใช้เวลานานในการตัดสิน และร้อยละ 41.9 ระบุไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า หลังจากเกิดข่าวเตรียมลอบวางระเบิด พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี มีประเด็นการเมืองค้นพบที่น่าพิจารณา หลายประการดังต่อไปนี้
ประการแรก ความรู้สึกของสาธารณชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาเปลี่ยนแปลงไปหลายประเด็น เมื่อเปรียบเทียบกับ
ผลสำรวจก่อนข่าวลอบวางระเบิดนายกรัฐมนตรี ได้แก่ คนวิตกกังวลมากขึ้น เครียดมากขึ้น ขัดแย้งกับคนในครอบครัว
เพื่อนบ้าน และเพื่อนร่วมงานมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 90 ยังคงต้องการให้ทุกฝ่ายเจรจาแก้วิกฤติการเมือง
ด้วยสันติวิธี
ประการที่สอง หลังเหตุการณ์ข่าวเตรียมลอบวางระเบิดนายกรัฐมนตรี สำรวจพบว่า คนกรุงเห็นด้วยกับ
การเลือกตั้งวันที่ 15 ตุลาคม ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจสองครั้งที่ผ่านมา
ประการที่สาม ภาพลักษณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในเกณฑ์ที่ดีและเป็นที่พอใจของประชาชนส่วนใหญ่ ทั้งใน
เรื่องความเป็นกลางทางการเมือง การควบคุมผู้ชุมนุม และการสกัดกู้รถยนต์บรรทุกวัตถุระเบิด เป็นต้น
ประการที่สี่ คนกรุงเทพมหานครจำนวนมาก ยังคงสนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป แต่มี
ประมาณ 1 ใน 4 ที่ไม่สนับสนุน และที่เหลือไม่มีความเห็น โดยต้องการอยู่กลางๆ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหน งฝ่ายใด
"ผลสำรวจเหล่านี้ สะท้อนสิ่งที่สังคมไทยควรตั้งคำถามหลายข้อ ก่อนที่จะเชื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ได้แก่ หลังจาก
เหตุการณ์เตรียมลอบสังหารนายกรัฐมนตรีเกิดขึ้น ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์ อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชน
เป็นอย่างไร ภาพลักษณ์ของประเทศไทยเสียหายมากน้อยแค่ไหน เกียรติภูมิแห่งตนของคนไทยในเรื่องความรัก ความ
สามัคคีของคนในชาติเป็นอย่างไร สังคมไทยควรดึงภาพลักษณ์ที่ดีๆ ของคนไทยกลับคืนมาโดยเร่งด่วนก่อนที่จะสาย
เกินไป" ดร.นพดล กล่าว
ดร. นพดล กล่าวต่อว่า "ถ้าบรรยากาศการแข่งขันเพื่อชนะการเลือกตั้ง เริ่มต้นด้วยการใช้ความรุนแรงเช่นนี้
เป็นไปได้ว่า จะมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นอีกในลักษณะที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางการเมืองต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ซึ่งบรรดา
ฝ่ายการเมืองของประเทศประชาธิปไตยเคยใช้ได้ผลในการเพิ่มคะแนนนิยม และชนะการเลือกตั้ง เช่น การเกิดความ
ขัดแย้งระหว่างประเทศ การเกิดความไม่สงบในประเทศ และปัญหาเฉพาะเรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ จน
ต้องการการตัดสินใจแก้ปัญหาโดยผู้นำประเทศ ซึ่งถ้าฝ่ายการเมืองสามารถแสดงการใช้อำนาจ กอบกู้สถานการณ์ต่างๆ
ได้ดีขึ้น ก็จะทำให้ได้การสนับสนุนจากประชาชน ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งได้ไม่ยากนัก"
"อย่างไรก็ตาม สำหรับวิกฤติการเมืองไทยคาดว่า ทิศทางของพัฒนาการการใช้ความรุนแรง ท้าทายอำนาจรัฐ
และบั่นทอนปกติสุขของประชาชนทั้งประเทศ กำลังเป็นไปในทิศทางที่เข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ จึงอยากให้คนไทยทุกคน
ตื่นเฝ้าติดตามสถานการณ์การเมืองอย่างต่อเนื่องจนถึงวันเลือกตั้ง เพื่อไปใช้สิทธิ์ของตนตัดสินว่าเลือกใครแล้วสังคม
สงบสุข ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืนมากกว่าการใช้กระแส และความรู้สึกชอบไม่ชอบส่วนบุคคลเท่านั้น"
ดร. นพดล กล่าวสรุป
รายละเอียดโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญทางการเมือง
4. เพื่อสำรวจระดับความมั่นใจของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง "คนกรุงเทพมหานครรู้สึก
อย่างไรต่อวิกฤติการเมือง หลังข่าวเหตุการณ์เตรียมลอบวางระเบิดนายกรัฐมนตรี" มีระยะเวลาการดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 24 - 26 สิงหาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,133 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้น
เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.2 เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.8 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่างร้อยละ29.9 อายุต่ำกว่า 30 ปี ร้อยละ 27.1 อายุระหว่าง 30--39 ปี ร้อยละ 20.6 อายุระหว่าง 40--49 ปี และ
ร้อยละ 22.4 อายุตั้งแต่ 50 ขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 22.0 มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 50.9 มีรายได้
ระหว่าง 5,000-10,000 บาท ร้อยละ 19.0 มีรายได้ระหว่าง 10,001-20,000 และร้อยละ 8.1 มีรายได้สูงกว่า
20,000 บาทขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 83.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 16.3 สำเร็จ
การศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 0.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 43.2 ระบุอาชีพ
ค้าขาย / กิจการส่วนตัว ร้อยละ 27.4 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 11.3 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 9.6 เป็น
แม่บ้าน / พ่อบ้าน / เกษียณอายุ ร้อยละ 3.4 เป็นนักเรียน / นักศึกษา ร้อยละ 3.0 อาชีพรับราชการ / รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 0.5 อาชีพเกษตรกร และร้อยละ 1.6 ระบุว่าไม่มีงานทำ / ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 59.6
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 19.5
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 8.5
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 8.1
5 ไม่ได้ติดตามเลย 4.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์ทางการเมือง
ในขณะนี้ เมื่อเปรียบเทียบจากผลสำรวจครั้งที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความรู้สึกที่ได้รับจาก 17-20 สิงหาคม 24-26 สิงหาคม
สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 95.7 97.4
2 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี 92.0 92.8
3 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 71.8 78.3
4 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 75.5 75.6
5 เครียดต่อเรื่องการเมือง 37.1 49.5
6 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 13.6 18.5
7 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 13.7 17.9
8 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 8.2 11.6
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อวันเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคมนี้
ความคิดเห็นของตัวอย่าง 25-26 กรกฎาคม 17-20 สิงหาคม 24-26 สิงหาคม
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1. เห็นด้วยที่จะมีวันเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม นี้ 74.1 60.8 53.6
2. ไม่เห็นด้วย 10.7 12.4 19.9
3. ไม่มีความเห็น 15.2 26.8 26.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเป็นกลางในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ในการควบคุมการชุมนุมที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เป็นกลาง 38.1
2 ไม่เป็นกลาง 33.5
3 ไม่มีความเห็น 28.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุม
ผู้ชุมนุมที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 พอใจ 47.3
2 ไม่พอใจ 27.4
3 ไม่มีความเห็น 25.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป
ภายหลังข่าวการเตรียมลอบสังหาร พ.ต.ท. ทักษิณ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 43.0
2 ไม่สนับสนุน 24.8
3 ไม่มีความเห็น 32.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร สั่งปลด พล.อ. พัลลภ ปิ่นมณี
พ้นจากตำแหน่งรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ ถือเป็นความรับผิดชอบของ พล.อ. พัลลภ โดยตรง เพราะ
เป็นผู้บังคับบัญชาของผู้ต้องหา/น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้อง/ 20.1
เป็นเพื่อนของพลตรีจำลอง ศรีเมือง
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ ควรมีการตรวจสอบความจริงก่อน/ตัดสินใจเร็วเกินไป/
ยังไม่มีหลักฐาน/ไม่โปร่งใส ไม่ชัดเจน 31.9
3 ไม่มีความเห็น 48.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสกัดกู้
รถยนต์บรรทุกระเบิดลอบสังหาร พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 พอใจ 67.7
2 ไม่พอใจ 9.8
3 ไม่มีความเห็น 22.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกับแนวคิดที่ว่า สังคมไทยควรรอผลสรุปจาก
กระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับข่าวเตรียมระเบิดลอบสังหารนายกรัฐมนตรี ก่อนวิพากษ์วิจารณ์
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ ควรตรวจสอบหาสาเหตุและหลักฐานที่แน่ชัดก่อน/ควรให้
ความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย/อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งได้/ควรให้ 46.6
ความเคารพต่อกระบวนการยุติธรรม
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ ทุกคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นในสังคมประชาธิปไตย/
กระบวนการยุติธรรมไม่น่าเชื่อถือ และใช้เวลานานในการตัดสิน 11.5
3 ไม่มีความเห็น 41.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-