ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ
กทม. ใครเลือกใคร กรณีศึกษาประชาชนคนกรุงเทพมหานครผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 2,461 ตัวอย่าง จาก 23 เขต
การปกครองของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปทุมวัน ราชเทวี พญาไท บางคอแหลม บางซื่อ ดอนเมือง สายไหม จตุจักร วัฒนา คันนายาว
คลองเตย วังทองหลาง หนองจอก ลาดกระบัง ดินแดง บึงกุ่ม บางกอกใหญ่ ราษฎร์บูรณะ บางพลัด หนองแขม บางกอกน้อย ธนบุรี จอม
ทอง ซึ่งดำเนินโครงการวันที่ 19 — 25 กันยายน 2551 ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาด
ตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้
วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย ผลสำรวจที่ค้นพบคือ
เมื่อเปรียบเทียบความตั้งใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ถูกศึกษาก่อนหน้านี้กับครั้งนี้ พบว่า นายอภิรักษ์ โกษะ
โยธิน ยังคงมาเป็นอันดับหนึ่ง โดยคะแนนนิยมล่าสุดอยู่ที่ร้อยละ 49.8 ของผู้ที่ตัดสินใจแล้ว และเป็นความนิยมที่เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 42.7 ในโค้งที่
สอง และผลการวิเคราะห์ทางสถิติยังพบด้วยว่า นายอภิรักษ์ ได้คะแนนประมาณการแบบช่วงอยู่ระหว่างร้อยละ 44.8 ถึงร้อยละ 54.8 ของผู้ที่ออก
เสียงเลือกตั้งทั้งหมด
ในขณะที่ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ได้คะแนนนิยมอยู่ในช่วงร้อยละ 14.9 ถึงร้อยละ 24.9 นายประภัสร์ จงสงวน ได้คะแนนนิยมระหว่าง
ร้อยละ 9.8 ถึงร้อยละ 19.8 ในขณะที่ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้คะแนนนิยมในช่วงร้อยละ 7.5 ถึง ร้อยละ 17.5 ตามค่าความคลาด
เคลื่อนที่กำหนดไว้ +/- ร้อยละ 5 ในการสำรวจครั้งนี้
ที่น่าพิจารณาคือ จากการสำรวจครั้งล่าสุด พบว่าอันดับสองและอันดับที่สามคือ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ และนายประภัสร์ จงสงวน มีค่าร้อย
ละความนิยมใกล้เคียงกันในทางสถิติ คือ นายชูวิทย์ ได้ร้อยละ 19.9 ขณะที่นายประภัสร์ ได้ร้อยละ 14.8 แต่ที่น่าพิจารณาคือ นายประภัสร์ มีแนวโน้ม
ของค่าร้อยละความนิยมสูงขึ้น จากร้อยละ 4.4 ในโค้งแรกของการรับสมัคร มาอยู่ที่ร้อยละ 8.2 ในโค้งสอง และร้อยละ 14.8 ในการสำรวจล่าสุด
จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะขึ้นมาสู่อันดับสองของการเลือกตั้งครั้งนี้ ส่วน ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ก็ได้รับความนิยมตามมาติดๆ คือเพิ่มขึ้นจากร้อย
ละ 9.6 ในโค้งแรก และมาอยู่ที่ร้อยละ 12.5 ในการสำรวจล่าสุด
ที่น่าสนใจคือ เหตุผลของประชาชนที่ระบุไว้ในการสำรวจว่าเลือกใครเพราะอะไร โดยพบว่า
1. เลือกนายอภิรักษ์ เพราะ มีผลงานที่ผ่านมา เป็นรูปธรรม และมองว่าปัญหากรุงเทพมหานครซับซ้อนมากต้องให้โอกาสและให้เวลาใน
การแก้ไข นอกจากนี้ยังมองว่า นายอภิรักษ์มีความตั้งใจทำงาน มีวิสัยทัศน์ดี ขยัน สุภาพ เป็นคนดี ทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าท่องเที่ยว ไม่มีใคร
เหมาะสมเทียบเท่า อยากให้สานต่อนโยบาย เป็นคนมีประสบการณ์ และสุดท้ายที่เลือกเพราะเลือกพรรคและเห็นว่าสังกัดพรรคการเมืองที่ชอบ เป็นต้น
2. เลือก นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เพราะ ดูจริงจัง จริงใจดี เด็ดขาด ตั้งใจดี ทันใจ ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ทำจริง กล้าชน
กล้าเปลี่ยนแปลง เป็นทางเลือกใหม่ เป็นต้น
3. เลือก นายประภัสร์ จงสงวน เพราะ เป็นทางเลือกใหม่ มีความเชี่ยวชาญด้านแก้ปัญหาจราจร ชอบความมุมานะ และเพราะ
สนับสนุนรัฐบาล เป็นต้น
4. เลือก ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักิดิ์ เพราะ แนวคิดใหม่ เปลี่ยนมุมมอง มีความรู้ความสามารถ บริหารประเทศได้ ดูสุขุม
รอบคอบ และไม่สังกัดพรรคการเมือง เป็นต้น
และเมื่อพิจารณาว่า ใครเลือกใคร โดยจำแนกผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ออกตามเพศ พบความแตกต่างในกลุ่มผู้สมัครเพียงสองท่าน
เท่านั้นคือ นายอภิรักษ์ ได้รับความนิยมจากผู้หญิงมากกว่า ผู้ชาย คือร้อยละ 54.0 ต่อร้อยละ 45.7 แต่ตรงกันข้าม นายชูวิทย์ กลับได้รับความนิยมจาก
ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง คือร้อยละ 24.9 ต่อร้อยละ 15.1
เมื่อจำแนกออกตามช่วงอายุ พบความแตกต่างในกลุ่มผู้สมัครทั้งสี่ท่านอย่างน่าสนใจคือ นายอภิรักษ์จะได้รับความนิยมในทุกกลุ่มอายุใน
ลักษณะพอๆ กันแต่ที่ต่ำสุดอยู่ในกลุ่มอายุต่ำกว่า 20 ปี คือร้อยละ 47.3 แต่ในกลุ่มอายุ 20 — 29 ปีได้ร้อยละ 51.1 แต่ถ้าไปดูในความนิยมของนายชู
วิทย์ พบว่า นายชูวิทย์ได้รับคะแนนนิยมมากจากคนที่อายุต่ำกว่า 20 ปี คือได้ร้อยละ 26.4 และในกลุ่มคนอายุ 20 — 29 ปี ได้ร้อยละ 26.8 โดยได้
รับคะแนนนิยมต่ำสุดในกลุ่มคนอายุ 50 ปีขึ้นไป คือได้ร้อยละ 13.5 เท่านั้น
สำหรับนายประภัสร์ จงสงวน กำลังได้รับความนิยมมากในกลุ่มคนอายุ 50 ปีขึ้นไป คือร้อยละ 23.1 แต่ได้รับความนิยมในกลุ่มคนอายุต่ำ
กว่า 20 ปีเพียงร้อยละ 5.5 เท่านั้น
ส่วน ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้รับความนิยมมากในกลุ่มคนอายุต่ำกว่า 20 ปี คือร้อยละ 19.1 แต่ได้รับความนิยมน้อยในกลุ่มคน
อายุ 50 ปีขึ้นไป คือร้อยละ 8.5
แต่เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ดร.เกรียงศักดิ์ ได้รับความนิยมสูงมาเป็นอันดับสองในกลุ่มคนที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี รอง
จากนายอภิรักษ์ คือ นายอภิรักษ์ได้ร้อยละ 36.6 ในกลุ่มคนที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี และ ดร.เกรียงศักดิ์ ได้ร้อยละ 24.4 แต่ดร.เกรียงศักดิ์
กลับได้รับความนิยมในกลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีเพียงร้อยละ 11.8 เท่านั้น ส่วนผู้สมัครคนอื่นๆ ไม่พบความแตกต่างชัดเจนเมื่อจำแนกคนตอบ
แบบสอบถามตามระดับการศึกษา
แต่เมื่อจำแนกตามอาชีพ พบความแตกต่างค่อนข้างมาก คือ นายอภิรักษ์ ได้รับการสนับสนุนสูงสุดในทุกกลุ่มอาชีพ แม้แต่ในกลุ่มข้าราชการ
และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่เคยพบในการสำรวจก่อนหน้านี้ว่าได้รับเสียงสนับสนุนน้อยสุด แต่ในการสำรวจครั้งนี้พบว่ามีสูงถึงร้อยละ 44.6 แต่ที่น่า
พิจารณาคือ นายชูวิทย์ ได้รับคะแนนนิยมมากในกลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจคือร้อยละ 28.7 นายประภัสร์ ได้ร้อยละ 13.9 และดร.
เกรียงศักดิ์ ได้ร้อยละ 8.9 ตามลำดับ
ส่วนในกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน พบว่า นายอภิรักษ์ ได้คะแนนนิยมสูงสุดถึงร้อยละ 53.0 รองลงมาคือนายชูวิทย์ ได้ร้อยละ 20.4 นาย
ประภัสร์ ได้ร้อยละ 11.0 และดร.เกรียงศักดิ์ ได้ร้อยละ 14.0 ในขณะที่กลุ่มธุรกิจส่วนตัวหรือค้าขาย ก็ยังพบว่า นายอภิรักษ์ ได้สูงสุดคือร้อยละ
49.4 รองลงมาคือนายประภัสร์ ได้ร้อยละ 16.9 นายชูวิทย์ ได้ร้อยละ 17.0 และ ดร.เกรียงศักดิ์ ได้ร้อยละ 14.1 ในกลุ่มนักเรียนนัก
ศึกษา พบว่า นายอภิรักษ์ ได้ร้อยละ 49.1 รองลงมาคือ นายชูวิทย์ ได้ ร้อยละ 19.8 ดร.เกรียงศักดิ์ ได้ร้อยละ 18.1 และนายประภัสร์ ได้
ร้อยละ 8.6 ในกลุ่มรับจ้างแรงงานทั่วไป พบว่า นายอภิรักษ์ ได้ร้อยละ 48.1 รองลงมาคือ นายชูวิทย์ ได้ร้อยละ 26.1 และนายประภัสร์ ได้ร้อย
ละ 13.4
ในกลุ่มแม่บ้าน และเกษียณอายุ พบว่า นายอภิรักษ์ ได้สูงถึงร้อยละ 53.8 รองลงมาคือนายประภัสร์ ได้ร้อยละ 19.3 และนายชูวิทย์ ได้
ร้อยละ 12.4 ส่วน ดร.เกรียงศักดิ์ ได้ร้อยละ 11.0 สำหรับกลุ่มคนว่างงาน พบว่า นายอภิรักษ์ ได้ร้อยละ 45.5 รองลงมาคือ นายชูวิทย์ ได้ร้อย
ละ 27.3 นายประภัสร์ ได้ร้อยละ 12.7 และดร.เกรียงศักดิ์ ได้ร้อยละ 8.2 ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า จากผลสำรวจครั้งนี้ คาดว่า จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มบุคคลที่อาสาจะเข้ามาทำงานเพื่อคนกรุงเทพมหานครตามระบอบ
ประชาธิปไตยโดยนำผลสำรวจที่ค้นพบไปเร่งปรับปรุงพัฒนากลยุทธ์ในการหาเสียงสนับสนุนจากสาธารณชนและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ตอบสนองความ
คาดหวังและความต้องการของประชาชนในกลุ่มต่างๆ ตามกรอบช่วงเวลาที่เหลือได้ต่อไป
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อค้นหาความตั้งใจของประชาชนในการเลือกตั้งผู้สมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและวิเคราะห์
เจาะลึกทางสถิติจำแนกกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ใช้การวิจัยเชิงสำรวจในการศึกษาครั้งนี้ เรื่อง โค้งสุดท้ายเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ใคร
เลือกใคร โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยสุ่มตัวอย่างออกมาด้วยกระบวนการเลือกตัวอย่างแบบแบ่ง
กลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น จำนวนทั้งสิ้น 2,461 ตัวอย่าง จาก 23 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินโครงการวันที่ 19 — 25 กันยายน
2551 ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการ
เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถาม
ทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 151 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 18.8 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 24.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 26.5 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ
ร้อยละ 25.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 21.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 36.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 15.4 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 13.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 5.4 ไม่ประกอบอาชีพ/ว่างงาน
ตัวอย่าง ร้อยละ 18.6 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 43.9 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 12.7 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 10.9 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 13.9 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงแนวโน้มค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ตั้งใจจะเลือกผู้สมัครเป็น ผู้ว่าฯ กทม.
ลำดับที่ รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ก่อนการรับสมัคร โค้งแรก5 ก.ย. โค้งที่ 217 ก.ย. โค้งสุดท้าย25 ก.ย.
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 40.2 45.9 42.7 49.8
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 11.3 15.1 16.5 19.9
3 นายประภัสร์ จงสงวน - 4.4 8.2 14.8
4 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 5.1 9.6 8.6 12.5
5 อื่นๆ นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล /นางลีนา จังจรรจา 20.8 4.4 3.2 3.0
6 ยังไม่ตัดสินใจ 22.6 20.6 20.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะเลือกผู้ว่าฯ กทม. เมื่อประมาณการแบบช่วง
ลำดับที่ รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ร้อยละ ช่วงค่าร้อยละ
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 49.8 44.8 — 54.8
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 19.9 14.9 — 24.9
3 นายประภัสร์ จงสงวน 14.8 9.8 — 19.8
4 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 12.5 7.5 — 17.5
5 อื่นๆ นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล /นางลีนา จังจรรจา 3.0 0.0 - 8.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะเลือกผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ชาย หญิง
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 45.7 54.0
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 24.9 15.1
3 นายประภัสร์ จงสงวน 14.8 14.6
4 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 11.9 13.1
5 อื่นๆ นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล /นางลีนา จังจรรจา 2.7 3.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะเลือกผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามอายุ
รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ต่ำกว่า 20 ปี 20 — 29 ปี 30 — 39 ปี 40 — 49 ปี 50 ปีขึ้นไป
1. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 47.3 51.1 49.7 48.8 50.7
2. นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 26.4 26.8 20.3 19.7 13.5
3. นายประภัสร์ จงสงวน 5.5 6.1 12.8 16.5 23.1
4. ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 19.1 13.8 15.5 11.4 8.5
5. อื่นๆ นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล /นางลีนา จังจรรจา 1.7 2.2 1.7 3.6 4.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะเลือกผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามการศึกษา
ลำดับที่ รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 49.8 51.8 36.6
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 20.1 19.9 19.5
3 นายประภัสร์ จงสงวน 15.2 12.8 17.1
4 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 11.8 13.5 24.4
5 อื่นๆ นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล /นางลีนา จังจรรจา 3.1 2.0 2.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะเลือกผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามอาชีพ
รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน ธุรกิจส่วนตัว ค้าขาย นักเรียน นักศึกษา รับจ้างแรงงานทั่วไป แม่บ้าน เกษียณ ว่างงาน
1. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 44.6 53.0 49.4 49.1 48.1 53.8 45.5
2. นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 28.7 20.4 17.0 19.8 26.1 12.4 27.3
3. นายประภัสร์ จงสงวน 13.9 11.0 16.9 8.6 13.4 19.3 12.7
4. ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 8.9 14.0 14.1 18.1 9.9 11.0 8.2
5. อื่นๆ นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล /
นางลีนา จังจรรจา 3.9 1.6 2.6 4.4 2.5 3.5 6.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะเลือกผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามรายได้
ลำดับที่ รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ไม่เกิน 5,000 5,001—10,000 10,001—15,000 15,001—20,000 มากกว่า 20,000
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 50.5 50.6 48.3 46.8 47.0
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 18.4 21.5 23.2 23.1 18.3
3 นายประภัสร์ จงสงวน 13.7 14.6 14.2 13.4 19.1
4 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 14.9 11.3 12.3 14.5 14.8
5 อื่นๆ นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล /นางลีนา จังจรรจา 2.5 2.0 2.0 2.2 0.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
--เอแบคโพลล์--
-พห-
กทม. ใครเลือกใคร กรณีศึกษาประชาชนคนกรุงเทพมหานครผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 2,461 ตัวอย่าง จาก 23 เขต
การปกครองของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปทุมวัน ราชเทวี พญาไท บางคอแหลม บางซื่อ ดอนเมือง สายไหม จตุจักร วัฒนา คันนายาว
คลองเตย วังทองหลาง หนองจอก ลาดกระบัง ดินแดง บึงกุ่ม บางกอกใหญ่ ราษฎร์บูรณะ บางพลัด หนองแขม บางกอกน้อย ธนบุรี จอม
ทอง ซึ่งดำเนินโครงการวันที่ 19 — 25 กันยายน 2551 ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาด
ตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้
วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย ผลสำรวจที่ค้นพบคือ
เมื่อเปรียบเทียบความตั้งใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ถูกศึกษาก่อนหน้านี้กับครั้งนี้ พบว่า นายอภิรักษ์ โกษะ
โยธิน ยังคงมาเป็นอันดับหนึ่ง โดยคะแนนนิยมล่าสุดอยู่ที่ร้อยละ 49.8 ของผู้ที่ตัดสินใจแล้ว และเป็นความนิยมที่เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 42.7 ในโค้งที่
สอง และผลการวิเคราะห์ทางสถิติยังพบด้วยว่า นายอภิรักษ์ ได้คะแนนประมาณการแบบช่วงอยู่ระหว่างร้อยละ 44.8 ถึงร้อยละ 54.8 ของผู้ที่ออก
เสียงเลือกตั้งทั้งหมด
ในขณะที่ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ได้คะแนนนิยมอยู่ในช่วงร้อยละ 14.9 ถึงร้อยละ 24.9 นายประภัสร์ จงสงวน ได้คะแนนนิยมระหว่าง
ร้อยละ 9.8 ถึงร้อยละ 19.8 ในขณะที่ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้คะแนนนิยมในช่วงร้อยละ 7.5 ถึง ร้อยละ 17.5 ตามค่าความคลาด
เคลื่อนที่กำหนดไว้ +/- ร้อยละ 5 ในการสำรวจครั้งนี้
ที่น่าพิจารณาคือ จากการสำรวจครั้งล่าสุด พบว่าอันดับสองและอันดับที่สามคือ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ และนายประภัสร์ จงสงวน มีค่าร้อย
ละความนิยมใกล้เคียงกันในทางสถิติ คือ นายชูวิทย์ ได้ร้อยละ 19.9 ขณะที่นายประภัสร์ ได้ร้อยละ 14.8 แต่ที่น่าพิจารณาคือ นายประภัสร์ มีแนวโน้ม
ของค่าร้อยละความนิยมสูงขึ้น จากร้อยละ 4.4 ในโค้งแรกของการรับสมัคร มาอยู่ที่ร้อยละ 8.2 ในโค้งสอง และร้อยละ 14.8 ในการสำรวจล่าสุด
จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะขึ้นมาสู่อันดับสองของการเลือกตั้งครั้งนี้ ส่วน ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ก็ได้รับความนิยมตามมาติดๆ คือเพิ่มขึ้นจากร้อย
ละ 9.6 ในโค้งแรก และมาอยู่ที่ร้อยละ 12.5 ในการสำรวจล่าสุด
ที่น่าสนใจคือ เหตุผลของประชาชนที่ระบุไว้ในการสำรวจว่าเลือกใครเพราะอะไร โดยพบว่า
1. เลือกนายอภิรักษ์ เพราะ มีผลงานที่ผ่านมา เป็นรูปธรรม และมองว่าปัญหากรุงเทพมหานครซับซ้อนมากต้องให้โอกาสและให้เวลาใน
การแก้ไข นอกจากนี้ยังมองว่า นายอภิรักษ์มีความตั้งใจทำงาน มีวิสัยทัศน์ดี ขยัน สุภาพ เป็นคนดี ทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าท่องเที่ยว ไม่มีใคร
เหมาะสมเทียบเท่า อยากให้สานต่อนโยบาย เป็นคนมีประสบการณ์ และสุดท้ายที่เลือกเพราะเลือกพรรคและเห็นว่าสังกัดพรรคการเมืองที่ชอบ เป็นต้น
2. เลือก นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เพราะ ดูจริงจัง จริงใจดี เด็ดขาด ตั้งใจดี ทันใจ ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ทำจริง กล้าชน
กล้าเปลี่ยนแปลง เป็นทางเลือกใหม่ เป็นต้น
3. เลือก นายประภัสร์ จงสงวน เพราะ เป็นทางเลือกใหม่ มีความเชี่ยวชาญด้านแก้ปัญหาจราจร ชอบความมุมานะ และเพราะ
สนับสนุนรัฐบาล เป็นต้น
4. เลือก ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักิดิ์ เพราะ แนวคิดใหม่ เปลี่ยนมุมมอง มีความรู้ความสามารถ บริหารประเทศได้ ดูสุขุม
รอบคอบ และไม่สังกัดพรรคการเมือง เป็นต้น
และเมื่อพิจารณาว่า ใครเลือกใคร โดยจำแนกผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ออกตามเพศ พบความแตกต่างในกลุ่มผู้สมัครเพียงสองท่าน
เท่านั้นคือ นายอภิรักษ์ ได้รับความนิยมจากผู้หญิงมากกว่า ผู้ชาย คือร้อยละ 54.0 ต่อร้อยละ 45.7 แต่ตรงกันข้าม นายชูวิทย์ กลับได้รับความนิยมจาก
ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง คือร้อยละ 24.9 ต่อร้อยละ 15.1
เมื่อจำแนกออกตามช่วงอายุ พบความแตกต่างในกลุ่มผู้สมัครทั้งสี่ท่านอย่างน่าสนใจคือ นายอภิรักษ์จะได้รับความนิยมในทุกกลุ่มอายุใน
ลักษณะพอๆ กันแต่ที่ต่ำสุดอยู่ในกลุ่มอายุต่ำกว่า 20 ปี คือร้อยละ 47.3 แต่ในกลุ่มอายุ 20 — 29 ปีได้ร้อยละ 51.1 แต่ถ้าไปดูในความนิยมของนายชู
วิทย์ พบว่า นายชูวิทย์ได้รับคะแนนนิยมมากจากคนที่อายุต่ำกว่า 20 ปี คือได้ร้อยละ 26.4 และในกลุ่มคนอายุ 20 — 29 ปี ได้ร้อยละ 26.8 โดยได้
รับคะแนนนิยมต่ำสุดในกลุ่มคนอายุ 50 ปีขึ้นไป คือได้ร้อยละ 13.5 เท่านั้น
สำหรับนายประภัสร์ จงสงวน กำลังได้รับความนิยมมากในกลุ่มคนอายุ 50 ปีขึ้นไป คือร้อยละ 23.1 แต่ได้รับความนิยมในกลุ่มคนอายุต่ำ
กว่า 20 ปีเพียงร้อยละ 5.5 เท่านั้น
ส่วน ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้รับความนิยมมากในกลุ่มคนอายุต่ำกว่า 20 ปี คือร้อยละ 19.1 แต่ได้รับความนิยมน้อยในกลุ่มคน
อายุ 50 ปีขึ้นไป คือร้อยละ 8.5
แต่เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ดร.เกรียงศักดิ์ ได้รับความนิยมสูงมาเป็นอันดับสองในกลุ่มคนที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี รอง
จากนายอภิรักษ์ คือ นายอภิรักษ์ได้ร้อยละ 36.6 ในกลุ่มคนที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี และ ดร.เกรียงศักดิ์ ได้ร้อยละ 24.4 แต่ดร.เกรียงศักดิ์
กลับได้รับความนิยมในกลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีเพียงร้อยละ 11.8 เท่านั้น ส่วนผู้สมัครคนอื่นๆ ไม่พบความแตกต่างชัดเจนเมื่อจำแนกคนตอบ
แบบสอบถามตามระดับการศึกษา
แต่เมื่อจำแนกตามอาชีพ พบความแตกต่างค่อนข้างมาก คือ นายอภิรักษ์ ได้รับการสนับสนุนสูงสุดในทุกกลุ่มอาชีพ แม้แต่ในกลุ่มข้าราชการ
และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่เคยพบในการสำรวจก่อนหน้านี้ว่าได้รับเสียงสนับสนุนน้อยสุด แต่ในการสำรวจครั้งนี้พบว่ามีสูงถึงร้อยละ 44.6 แต่ที่น่า
พิจารณาคือ นายชูวิทย์ ได้รับคะแนนนิยมมากในกลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจคือร้อยละ 28.7 นายประภัสร์ ได้ร้อยละ 13.9 และดร.
เกรียงศักดิ์ ได้ร้อยละ 8.9 ตามลำดับ
ส่วนในกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน พบว่า นายอภิรักษ์ ได้คะแนนนิยมสูงสุดถึงร้อยละ 53.0 รองลงมาคือนายชูวิทย์ ได้ร้อยละ 20.4 นาย
ประภัสร์ ได้ร้อยละ 11.0 และดร.เกรียงศักดิ์ ได้ร้อยละ 14.0 ในขณะที่กลุ่มธุรกิจส่วนตัวหรือค้าขาย ก็ยังพบว่า นายอภิรักษ์ ได้สูงสุดคือร้อยละ
49.4 รองลงมาคือนายประภัสร์ ได้ร้อยละ 16.9 นายชูวิทย์ ได้ร้อยละ 17.0 และ ดร.เกรียงศักดิ์ ได้ร้อยละ 14.1 ในกลุ่มนักเรียนนัก
ศึกษา พบว่า นายอภิรักษ์ ได้ร้อยละ 49.1 รองลงมาคือ นายชูวิทย์ ได้ ร้อยละ 19.8 ดร.เกรียงศักดิ์ ได้ร้อยละ 18.1 และนายประภัสร์ ได้
ร้อยละ 8.6 ในกลุ่มรับจ้างแรงงานทั่วไป พบว่า นายอภิรักษ์ ได้ร้อยละ 48.1 รองลงมาคือ นายชูวิทย์ ได้ร้อยละ 26.1 และนายประภัสร์ ได้ร้อย
ละ 13.4
ในกลุ่มแม่บ้าน และเกษียณอายุ พบว่า นายอภิรักษ์ ได้สูงถึงร้อยละ 53.8 รองลงมาคือนายประภัสร์ ได้ร้อยละ 19.3 และนายชูวิทย์ ได้
ร้อยละ 12.4 ส่วน ดร.เกรียงศักดิ์ ได้ร้อยละ 11.0 สำหรับกลุ่มคนว่างงาน พบว่า นายอภิรักษ์ ได้ร้อยละ 45.5 รองลงมาคือ นายชูวิทย์ ได้ร้อย
ละ 27.3 นายประภัสร์ ได้ร้อยละ 12.7 และดร.เกรียงศักดิ์ ได้ร้อยละ 8.2 ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า จากผลสำรวจครั้งนี้ คาดว่า จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มบุคคลที่อาสาจะเข้ามาทำงานเพื่อคนกรุงเทพมหานครตามระบอบ
ประชาธิปไตยโดยนำผลสำรวจที่ค้นพบไปเร่งปรับปรุงพัฒนากลยุทธ์ในการหาเสียงสนับสนุนจากสาธารณชนและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ตอบสนองความ
คาดหวังและความต้องการของประชาชนในกลุ่มต่างๆ ตามกรอบช่วงเวลาที่เหลือได้ต่อไป
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อค้นหาความตั้งใจของประชาชนในการเลือกตั้งผู้สมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและวิเคราะห์
เจาะลึกทางสถิติจำแนกกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ใช้การวิจัยเชิงสำรวจในการศึกษาครั้งนี้ เรื่อง โค้งสุดท้ายเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ใคร
เลือกใคร โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยสุ่มตัวอย่างออกมาด้วยกระบวนการเลือกตัวอย่างแบบแบ่ง
กลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น จำนวนทั้งสิ้น 2,461 ตัวอย่าง จาก 23 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินโครงการวันที่ 19 — 25 กันยายน
2551 ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการ
เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถาม
ทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 151 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 18.8 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 24.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 26.5 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ
ร้อยละ 25.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 21.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 36.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 15.4 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 13.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 5.4 ไม่ประกอบอาชีพ/ว่างงาน
ตัวอย่าง ร้อยละ 18.6 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 43.9 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 12.7 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 10.9 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 13.9 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงแนวโน้มค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ตั้งใจจะเลือกผู้สมัครเป็น ผู้ว่าฯ กทม.
ลำดับที่ รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ก่อนการรับสมัคร โค้งแรก5 ก.ย. โค้งที่ 217 ก.ย. โค้งสุดท้าย25 ก.ย.
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 40.2 45.9 42.7 49.8
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 11.3 15.1 16.5 19.9
3 นายประภัสร์ จงสงวน - 4.4 8.2 14.8
4 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 5.1 9.6 8.6 12.5
5 อื่นๆ นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล /นางลีนา จังจรรจา 20.8 4.4 3.2 3.0
6 ยังไม่ตัดสินใจ 22.6 20.6 20.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะเลือกผู้ว่าฯ กทม. เมื่อประมาณการแบบช่วง
ลำดับที่ รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ร้อยละ ช่วงค่าร้อยละ
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 49.8 44.8 — 54.8
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 19.9 14.9 — 24.9
3 นายประภัสร์ จงสงวน 14.8 9.8 — 19.8
4 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 12.5 7.5 — 17.5
5 อื่นๆ นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล /นางลีนา จังจรรจา 3.0 0.0 - 8.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะเลือกผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ชาย หญิง
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 45.7 54.0
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 24.9 15.1
3 นายประภัสร์ จงสงวน 14.8 14.6
4 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 11.9 13.1
5 อื่นๆ นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล /นางลีนา จังจรรจา 2.7 3.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะเลือกผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามอายุ
รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ต่ำกว่า 20 ปี 20 — 29 ปี 30 — 39 ปี 40 — 49 ปี 50 ปีขึ้นไป
1. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 47.3 51.1 49.7 48.8 50.7
2. นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 26.4 26.8 20.3 19.7 13.5
3. นายประภัสร์ จงสงวน 5.5 6.1 12.8 16.5 23.1
4. ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 19.1 13.8 15.5 11.4 8.5
5. อื่นๆ นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล /นางลีนา จังจรรจา 1.7 2.2 1.7 3.6 4.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะเลือกผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามการศึกษา
ลำดับที่ รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 49.8 51.8 36.6
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 20.1 19.9 19.5
3 นายประภัสร์ จงสงวน 15.2 12.8 17.1
4 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 11.8 13.5 24.4
5 อื่นๆ นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล /นางลีนา จังจรรจา 3.1 2.0 2.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะเลือกผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามอาชีพ
รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน ธุรกิจส่วนตัว ค้าขาย นักเรียน นักศึกษา รับจ้างแรงงานทั่วไป แม่บ้าน เกษียณ ว่างงาน
1. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 44.6 53.0 49.4 49.1 48.1 53.8 45.5
2. นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 28.7 20.4 17.0 19.8 26.1 12.4 27.3
3. นายประภัสร์ จงสงวน 13.9 11.0 16.9 8.6 13.4 19.3 12.7
4. ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 8.9 14.0 14.1 18.1 9.9 11.0 8.2
5. อื่นๆ นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล /
นางลีนา จังจรรจา 3.9 1.6 2.6 4.4 2.5 3.5 6.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะเลือกผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามรายได้
ลำดับที่ รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ไม่เกิน 5,000 5,001—10,000 10,001—15,000 15,001—20,000 มากกว่า 20,000
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 50.5 50.6 48.3 46.8 47.0
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 18.4 21.5 23.2 23.1 18.3
3 นายประภัสร์ จงสงวน 13.7 14.6 14.2 13.4 19.1
4 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 14.9 11.3 12.3 14.5 14.8
5 อื่นๆ นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล /นางลีนา จังจรรจา 2.5 2.0 2.0 2.2 0.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
--เอแบคโพลล์--
-พห-