ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง "สำรวจวินัย
จราจรของคนไทยบนท้องถนน ข้อเตือนใจ (อุทาหรณ์) ขับขี่ช่วงปีใหม่ : กรณีศึกษาประชาชนผู้ขับรถยนต์ทั่วไปในกรุงเทพมหานคร
และหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา" จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,213 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10-27
ธันวาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.8 ขับรถทุกวันหรือเกือบทุกวัน ในขณะที่ร้อยละ 13.0 ขับรถ 3-4 วันต่อสัปดาห์
และร้อยละ 4.2 ขับรถ 1-2 วันต่อสัปดาห์
เมื่อสอบถามตัวอย่างว่ามีคนรู้จักเคยประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหรือพิการจากการใช้รถใช้ถนนหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 92.9 ระบุว่าเคยมีคนรู้จักประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหรือพิการจากการใช้รถใช้ถนน เพียงร้อยละ 7.1 เท่านั้นที่บอกว่าไม่เคยมี
เมื่อสอบถามถึงประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยเห็นคนขับรถไม่เคารพกฎจราจรช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ97.5 เลย
ทีเดียวที่ระบุว่าเคยพบเห็นคนขับรถไม่เคารพกฎจราจรในช่วง 30 วันที่ผ่านมา เพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้นที่ไม่เคยพบเห็น
ที่น่าเป็นห่วงคือคนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.8 คิดว่าการทำผิดกฎจราจรกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา ในขณะที่
ร้อยละ 27.2 คิดว่าไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดาเพราะจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ การเลียนแบบทำตาม และเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ที่เหลือร้อย
ละ 8.0 ไม่มีความเห็น
ที่น่าพิจารณาคือ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบสารพัดการทำผิดกฎจราจรของผู้ขับขี่รถยนต์ ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ
81.9 เคยพบเห็นคนขับรถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกกันน็อค รองลงมาคือร้อยละ 75.5 เคยพบเห็นคนขับรถเกินความเร็วที่กำหนด
ประมาทหวาดเสียว แซงในที่คับขัน ร้อยละ 61.3 ขับรถย้อนศร ร้อยละ 60.4 ขับรถเร็วในบริเวณก่อสร้างหรือขณะเจ้าหน้าที่กำลัง
ปฏิบัติงาน ร้อยละ 53.7 จอดในที่ห้ามจอด จอดรับส่งผู้โดยสารผิดที่ ร้อยละ 47.2 ขับรถบนทางเท้า บนไหล่ทาง ร้อยละ 25.6
เปลี่ยนเลนหรือเลี้ยวไม่ให้สัญญาณ ร้อยละ 23.8 เมาแล้วขับ ร้อยละ 22.7 ระบุรถไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ร้อยละ 20.4 ระบุขับรถฝ่า
ไฟแดง และร้อยละ 16.7 ระบุอื่นๆ เช่นไม่เชื่อฟังตำรวจจราจร บรรทุกเกิน และวิ่งผิดเลน เป็นต้น
สำหรับทัศนคติของคนขับรถยนต์ต่อการควบคุมวินัยจราจร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.9 เห็นด้วยที่ควรเพิ่มป้ายจำกัด
ความเร็วบนนถนนสองเลนผ่านชุมชนหนาแน่น ในขณะที่ร้อยละ 14.4 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 8.7 ไม่มีความเห็น เมื่อถามถึงความ
คิดเห็นต่อการระบุตัวเลขจำกัดความเร็วชัดเจน เมื่อมีป้ายให้ลดความเร็ว พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.3 เห็นด้วย ร้อยละ 6.3 ไม่
เห็นด้วย และร้อยละ 9.4 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.4 ระบุควรเพิ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยตรวจจับกุมผู้ขับรถ
ผิดกฎจราจร ในขณะที่ร้อยละ 10.5 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.1 ไม่มีความเห็น
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.9 เห็นควรเพิ่มโทษผู้ขับรถเฉี่ยวชนกันในพื้นที่ก่อสร้างบนท้องถนน ในขณะที่ร้อย
ละ 21.4 ไม่เห็นด้วยและร้อยละ 14.7 ไม่มีความเห็น เมื่อถามถึงความเห็นเมื่อมีรถฉุกเฉินเช่น รถดับเพลิง รถพยาบาล เปิดไซเรนขอ
ทาง รถทุกคันควรจอดชิดข้างทาง พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.2 เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 6.6 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 7.2 ไม่มี
ความเห็น
ผลสำรวจยังพบอีกว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.1 เห็นควรเพิ่มโทษค่าปรับคนที่ทำผิดกฎจราจรในชุมชนหรือหมู่บ้านใดก็
ควรจ่ายเงินพัฒนาชุมชนหรือหมู่บ้านนั้นนอกจากการจ่ายให้ตำรวจอย่างเดียว ในขณะที่ร้อยละ 7.7 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.2 ไม่
มีความเห็น นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.4 เห็นควรเพิ่มความรู้ความตระหนักถึงความสูญเสียให้คนใช้รถใช้ถนนเมื่อทำผิดกฎ
จราจร ในขณะที่ร้อยละ 5.4 ไม่เห็นด้วยและร้อยละ 3.2 ไม่มีความเห็น และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.3 เห็นด้วยกับการรณรงค์ให้คน
ไทยมีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อกันในการใช้รถใช้ถนน เช่น เมื่อถึงทางแยก หรือ ทางคอขวดควรแบ่งกันไปทีละคัน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ
6.1 ไม่เห็นด้วยและร้อยละ 4.6 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นอุทาหรณ์ว่าคนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 มีคนรู้จักประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหรือ
พิการไปแล้ว การขับขี่รถยนต์ต่อจากนี้ไปหน่วยงานของรัฐและประชาชนควรช่วยกันสร้างระบบระเบียบวินัยจราจรและสภาพแวดล้อม
ที่ดีบนท้องถนน ป้ายจำกัดความเร็วควรมีเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจจับจับกุมอย่างเคร่งครัด ควรมีกฎหมายที่เพิ่มโทษปรับผู้กระทำผิดกฎ
จราจรในชุมชนหรือหมู่บ้านใดควรจ่ายส่วนหนึ่งพัฒนาชุมชนหรือหมู่บ้านนั้น และควรเปิดไฟหน้ารถในขณะขับรถเวลากลางวันบน
ถนนที่ใช้ความเร็วสูงเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้ผู้ขับขี่รถยนต์ควรช่วยกันสร้างบรรยากาศที่ดีแห่งความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อ
และเป็นมิตรต่อกันแบบไทยๆ บนท้องถนนอีกด้วย
รายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจประสบการณ์การใช้รถใช้ถนน
2. เพื่อสำรวจประสบการณ์คนรู้จักประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหรือพิการ
3. เพื่อสำรวจประสบการณ์ผู้กระทำผิดกฎจราจรและทัศนคติต่อการควบคุมวินัยจราจร
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง "สำรวจวินัยจราจรของคนไทยบนท้อง
ถนน ข้อเตือนใจ (อุทาหรณ์) ขับขี่ช่วงปีใหม่ : กรณีศึกษาประชาชนผู้ขับรถยนต์ทั่วไปในกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่
ขอนแก่น และสงขลา" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 10-27 ธันวาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้ขับรถยนต์ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดหัวเมืองใหญ่ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,213 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 68.7 ระบุเป็นชาย
ในขณะที่ ร้อยละ 31.3 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 21-30 ปี
ร้อยละ 34.8 อายุระหว่าง 31-40 ปี
ร้อยละ 29.5 อายุระหว่าง 41-50 ปี
และร้อยละ 10.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 16.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 7.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.5 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 24.1 ระบุอาชีพบริษัทเอกชน
ร้อยละ 17.6 ระบุค้าขาย/อาชีพอิสระ
ร้อยละ 9.2 ระบุรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.6 ระบุนักเรียนนักศึกษา
และร้อยละ 8.0 ระบุพ่อบ้านแม่บ้านเกษียณอายุ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการขับรถยนต์ ช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการขับรถยนต์ช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 82.8
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 13.0
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 4.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คนรู้จักเคยประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหรือพิการจากการใช้รถใช้ถนน
ลำดับที่ การเกิดอุบัติเหตุของคนรู้จักใกล้ชิด ค่าร้อยละ
1 มีคนรู้จักประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหรือพิการ 92.9
2 ไม่มี 7.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์เห็นคนขับรถไม่เคารพกฎจราจร ช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประสบการณ์ของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เคยพบเห็นคนขับรถไม่เคารพกฎจราจร 97.5
2 ไม่เคยพบเห็น 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกว่าการทำผิดกฎจราจรเป็นเรื่องปกติธรรมดา
ลำดับที่ ความรู้สึกของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 การทำผิดกฎจราจรเป็นเรื่องปกติธรรมดา 64.8
2 ไม่ปกติธรรมดา เพราะจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ การเลียนแบบทำตาม ผิดกฎหมาย 27.2
3 ไม่มีความเห็น 8.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเภทที่คิดว่าเป็นความผิดจราจรของคนขับรถและเคยพบเห็นในช่วง 30 วัน
ที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทความผิดจราจรของคนขับรถที่เคยพบเห็น ร้อยละ
1 ไม่สวมหมวกกันน็อค 81.9
2 ขับรถเกินความเร็วที่กำหนด ประมาทหวาดเสียว แซงในที่คับขัน 75.5
3 ขับรถย้อนศร 61.3
4 ขับรถเร็วในบริเวณก่อสร้าง หรือขณะเจ้าหน้าที่กำลังปฏิบัติงาน 60.4
5 จอดในที่ห้ามจอด จอดรับส่งผู้โดยสารผิดที่ 53.7
6 ขับรถบนทางเท้า บนไหล่ทาง 47.2
7 เปลี่ยนเลนหรือเลี้ยวไม่ให้สัญญาณ 25.6
8 เมาแล้วขับ 23.8
9 ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน 22.7
10 ขับรถฝ่าไฟแดง 20.4
11 อื่นๆ ไม่เชื่อฟังตำรวจจราจร บรรทุกน้ำหนักเกิน วิ่งผิดเลน 16.7
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อการควบคุมวินัยจราจร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การควบคุมวินัยจราจร เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1 ควรเพิ่มป้ายจำกัดความเร็วบนถนนสองเลนผ่านชุมชนหนาแน่น 76.9 14.4 8.7
2 ควรระบุตัวเลขจำกัดความเร็วชัดเจน เมื่อมีป้ายให้ลดความเร็ว 84.3 6.3 9.4
3 ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยตรวจจับกุมผู้ขับรถผิดกฎจราจร 77.4 10.5 12.1
4 ควรเพิ่มโทษผู้ขับรถเฉี่ยวชนกันในพื้นที่ก่อสร้างบนท้องถนน 63.9 21.4 14.7
5 เมื่อมีรถฉุกเฉิน เช่น รถดับเพลิง รถพยาบาล เปิดไซเรนขอทาง 86.2 6.6 7.2
รถทุกคันควรจอดชิดข้างทาง
6 ควรเพิ่มโทษค่าปรับคนที่ทำผิดกฎจราจรในชุมชนหรือหมู่บ้านใด 80.1 7.7 12.2
ควรจ่ายให้ชุมชนหมู่บ้านนั้น นอกจากการจ่ายให้ตำรวจอย่างเดียว
7 ควรเพิ่มความรู้ความตระหนักถึงความสูญเสียให้คนใช้รถใช้ถนน 91.4 5.4 3.2
เมื่อทำผิดกฎจราจร
8 รณรงค์ให้คนไทยมีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อกันในการใช้รถใช้ถนน เช่น 89.3 6.1 4.6
ทางแยกหรือทางคอขวดควรแบ่งกันไปทีละคัน เป็นต้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
จราจรของคนไทยบนท้องถนน ข้อเตือนใจ (อุทาหรณ์) ขับขี่ช่วงปีใหม่ : กรณีศึกษาประชาชนผู้ขับรถยนต์ทั่วไปในกรุงเทพมหานคร
และหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา" จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,213 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10-27
ธันวาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.8 ขับรถทุกวันหรือเกือบทุกวัน ในขณะที่ร้อยละ 13.0 ขับรถ 3-4 วันต่อสัปดาห์
และร้อยละ 4.2 ขับรถ 1-2 วันต่อสัปดาห์
เมื่อสอบถามตัวอย่างว่ามีคนรู้จักเคยประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหรือพิการจากการใช้รถใช้ถนนหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 92.9 ระบุว่าเคยมีคนรู้จักประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหรือพิการจากการใช้รถใช้ถนน เพียงร้อยละ 7.1 เท่านั้นที่บอกว่าไม่เคยมี
เมื่อสอบถามถึงประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยเห็นคนขับรถไม่เคารพกฎจราจรช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ97.5 เลย
ทีเดียวที่ระบุว่าเคยพบเห็นคนขับรถไม่เคารพกฎจราจรในช่วง 30 วันที่ผ่านมา เพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้นที่ไม่เคยพบเห็น
ที่น่าเป็นห่วงคือคนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.8 คิดว่าการทำผิดกฎจราจรกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา ในขณะที่
ร้อยละ 27.2 คิดว่าไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดาเพราะจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ การเลียนแบบทำตาม และเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ที่เหลือร้อย
ละ 8.0 ไม่มีความเห็น
ที่น่าพิจารณาคือ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบสารพัดการทำผิดกฎจราจรของผู้ขับขี่รถยนต์ ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ
81.9 เคยพบเห็นคนขับรถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกกันน็อค รองลงมาคือร้อยละ 75.5 เคยพบเห็นคนขับรถเกินความเร็วที่กำหนด
ประมาทหวาดเสียว แซงในที่คับขัน ร้อยละ 61.3 ขับรถย้อนศร ร้อยละ 60.4 ขับรถเร็วในบริเวณก่อสร้างหรือขณะเจ้าหน้าที่กำลัง
ปฏิบัติงาน ร้อยละ 53.7 จอดในที่ห้ามจอด จอดรับส่งผู้โดยสารผิดที่ ร้อยละ 47.2 ขับรถบนทางเท้า บนไหล่ทาง ร้อยละ 25.6
เปลี่ยนเลนหรือเลี้ยวไม่ให้สัญญาณ ร้อยละ 23.8 เมาแล้วขับ ร้อยละ 22.7 ระบุรถไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ร้อยละ 20.4 ระบุขับรถฝ่า
ไฟแดง และร้อยละ 16.7 ระบุอื่นๆ เช่นไม่เชื่อฟังตำรวจจราจร บรรทุกเกิน และวิ่งผิดเลน เป็นต้น
สำหรับทัศนคติของคนขับรถยนต์ต่อการควบคุมวินัยจราจร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.9 เห็นด้วยที่ควรเพิ่มป้ายจำกัด
ความเร็วบนนถนนสองเลนผ่านชุมชนหนาแน่น ในขณะที่ร้อยละ 14.4 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 8.7 ไม่มีความเห็น เมื่อถามถึงความ
คิดเห็นต่อการระบุตัวเลขจำกัดความเร็วชัดเจน เมื่อมีป้ายให้ลดความเร็ว พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.3 เห็นด้วย ร้อยละ 6.3 ไม่
เห็นด้วย และร้อยละ 9.4 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.4 ระบุควรเพิ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยตรวจจับกุมผู้ขับรถ
ผิดกฎจราจร ในขณะที่ร้อยละ 10.5 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.1 ไม่มีความเห็น
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.9 เห็นควรเพิ่มโทษผู้ขับรถเฉี่ยวชนกันในพื้นที่ก่อสร้างบนท้องถนน ในขณะที่ร้อย
ละ 21.4 ไม่เห็นด้วยและร้อยละ 14.7 ไม่มีความเห็น เมื่อถามถึงความเห็นเมื่อมีรถฉุกเฉินเช่น รถดับเพลิง รถพยาบาล เปิดไซเรนขอ
ทาง รถทุกคันควรจอดชิดข้างทาง พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.2 เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 6.6 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 7.2 ไม่มี
ความเห็น
ผลสำรวจยังพบอีกว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.1 เห็นควรเพิ่มโทษค่าปรับคนที่ทำผิดกฎจราจรในชุมชนหรือหมู่บ้านใดก็
ควรจ่ายเงินพัฒนาชุมชนหรือหมู่บ้านนั้นนอกจากการจ่ายให้ตำรวจอย่างเดียว ในขณะที่ร้อยละ 7.7 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.2 ไม่
มีความเห็น นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.4 เห็นควรเพิ่มความรู้ความตระหนักถึงความสูญเสียให้คนใช้รถใช้ถนนเมื่อทำผิดกฎ
จราจร ในขณะที่ร้อยละ 5.4 ไม่เห็นด้วยและร้อยละ 3.2 ไม่มีความเห็น และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.3 เห็นด้วยกับการรณรงค์ให้คน
ไทยมีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อกันในการใช้รถใช้ถนน เช่น เมื่อถึงทางแยก หรือ ทางคอขวดควรแบ่งกันไปทีละคัน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ
6.1 ไม่เห็นด้วยและร้อยละ 4.6 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นอุทาหรณ์ว่าคนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 มีคนรู้จักประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหรือ
พิการไปแล้ว การขับขี่รถยนต์ต่อจากนี้ไปหน่วยงานของรัฐและประชาชนควรช่วยกันสร้างระบบระเบียบวินัยจราจรและสภาพแวดล้อม
ที่ดีบนท้องถนน ป้ายจำกัดความเร็วควรมีเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจจับจับกุมอย่างเคร่งครัด ควรมีกฎหมายที่เพิ่มโทษปรับผู้กระทำผิดกฎ
จราจรในชุมชนหรือหมู่บ้านใดควรจ่ายส่วนหนึ่งพัฒนาชุมชนหรือหมู่บ้านนั้น และควรเปิดไฟหน้ารถในขณะขับรถเวลากลางวันบน
ถนนที่ใช้ความเร็วสูงเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้ผู้ขับขี่รถยนต์ควรช่วยกันสร้างบรรยากาศที่ดีแห่งความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อ
และเป็นมิตรต่อกันแบบไทยๆ บนท้องถนนอีกด้วย
รายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจประสบการณ์การใช้รถใช้ถนน
2. เพื่อสำรวจประสบการณ์คนรู้จักประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหรือพิการ
3. เพื่อสำรวจประสบการณ์ผู้กระทำผิดกฎจราจรและทัศนคติต่อการควบคุมวินัยจราจร
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง "สำรวจวินัยจราจรของคนไทยบนท้อง
ถนน ข้อเตือนใจ (อุทาหรณ์) ขับขี่ช่วงปีใหม่ : กรณีศึกษาประชาชนผู้ขับรถยนต์ทั่วไปในกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่
ขอนแก่น และสงขลา" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 10-27 ธันวาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้ขับรถยนต์ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดหัวเมืองใหญ่ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,213 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 68.7 ระบุเป็นชาย
ในขณะที่ ร้อยละ 31.3 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 21-30 ปี
ร้อยละ 34.8 อายุระหว่าง 31-40 ปี
ร้อยละ 29.5 อายุระหว่าง 41-50 ปี
และร้อยละ 10.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 16.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 7.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.5 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 24.1 ระบุอาชีพบริษัทเอกชน
ร้อยละ 17.6 ระบุค้าขาย/อาชีพอิสระ
ร้อยละ 9.2 ระบุรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.6 ระบุนักเรียนนักศึกษา
และร้อยละ 8.0 ระบุพ่อบ้านแม่บ้านเกษียณอายุ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการขับรถยนต์ ช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการขับรถยนต์ช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 82.8
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 13.0
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 4.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คนรู้จักเคยประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหรือพิการจากการใช้รถใช้ถนน
ลำดับที่ การเกิดอุบัติเหตุของคนรู้จักใกล้ชิด ค่าร้อยละ
1 มีคนรู้จักประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหรือพิการ 92.9
2 ไม่มี 7.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์เห็นคนขับรถไม่เคารพกฎจราจร ช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประสบการณ์ของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เคยพบเห็นคนขับรถไม่เคารพกฎจราจร 97.5
2 ไม่เคยพบเห็น 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกว่าการทำผิดกฎจราจรเป็นเรื่องปกติธรรมดา
ลำดับที่ ความรู้สึกของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 การทำผิดกฎจราจรเป็นเรื่องปกติธรรมดา 64.8
2 ไม่ปกติธรรมดา เพราะจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ การเลียนแบบทำตาม ผิดกฎหมาย 27.2
3 ไม่มีความเห็น 8.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเภทที่คิดว่าเป็นความผิดจราจรของคนขับรถและเคยพบเห็นในช่วง 30 วัน
ที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทความผิดจราจรของคนขับรถที่เคยพบเห็น ร้อยละ
1 ไม่สวมหมวกกันน็อค 81.9
2 ขับรถเกินความเร็วที่กำหนด ประมาทหวาดเสียว แซงในที่คับขัน 75.5
3 ขับรถย้อนศร 61.3
4 ขับรถเร็วในบริเวณก่อสร้าง หรือขณะเจ้าหน้าที่กำลังปฏิบัติงาน 60.4
5 จอดในที่ห้ามจอด จอดรับส่งผู้โดยสารผิดที่ 53.7
6 ขับรถบนทางเท้า บนไหล่ทาง 47.2
7 เปลี่ยนเลนหรือเลี้ยวไม่ให้สัญญาณ 25.6
8 เมาแล้วขับ 23.8
9 ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน 22.7
10 ขับรถฝ่าไฟแดง 20.4
11 อื่นๆ ไม่เชื่อฟังตำรวจจราจร บรรทุกน้ำหนักเกิน วิ่งผิดเลน 16.7
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อการควบคุมวินัยจราจร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การควบคุมวินัยจราจร เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1 ควรเพิ่มป้ายจำกัดความเร็วบนถนนสองเลนผ่านชุมชนหนาแน่น 76.9 14.4 8.7
2 ควรระบุตัวเลขจำกัดความเร็วชัดเจน เมื่อมีป้ายให้ลดความเร็ว 84.3 6.3 9.4
3 ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยตรวจจับกุมผู้ขับรถผิดกฎจราจร 77.4 10.5 12.1
4 ควรเพิ่มโทษผู้ขับรถเฉี่ยวชนกันในพื้นที่ก่อสร้างบนท้องถนน 63.9 21.4 14.7
5 เมื่อมีรถฉุกเฉิน เช่น รถดับเพลิง รถพยาบาล เปิดไซเรนขอทาง 86.2 6.6 7.2
รถทุกคันควรจอดชิดข้างทาง
6 ควรเพิ่มโทษค่าปรับคนที่ทำผิดกฎจราจรในชุมชนหรือหมู่บ้านใด 80.1 7.7 12.2
ควรจ่ายให้ชุมชนหมู่บ้านนั้น นอกจากการจ่ายให้ตำรวจอย่างเดียว
7 ควรเพิ่มความรู้ความตระหนักถึงความสูญเสียให้คนใช้รถใช้ถนน 91.4 5.4 3.2
เมื่อทำผิดกฎจราจร
8 รณรงค์ให้คนไทยมีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อกันในการใช้รถใช้ถนน เช่น 89.3 6.1 4.6
ทางแยกหรือทางคอขวดควรแบ่งกันไปทีละคัน เป็นต้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-