แท็ก
เอแบคโพลล์
สถานการณ์การเมืองปัจจุบันและบุคคลผู้นำด้านต่างๆ ของประเทศในความคิดเห็นของสาธารณชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ที่มาของโครงการ
ดูเหมือนว่าความร้อนแรงของสถานการณ์การเมืองเริ่มคลี่คลายลงไป แต่ภายใต้คลื่นลมที่สงบอาจมีการก่อตัวขึ้นภายใต้ผิวน้ำทางการเมืองที่จะรุนแรนมากขึ้นกว่าเดิม การติดตามข่าวสารทางการเมืองและความเคลื่อนไหวในอารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชนเกี่ยวกับเรื่องการเมืองจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษา
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อสถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินการใดๆ เพื่อการปฏิรูปการเมืองของประเทศ โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1.เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2.เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองและบุคคลที่เหมาะสมกับการเป็นผู้นำด้านต่างๆ ของประเทศ
3.เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สถานการณ์การเมืองปัจจุบันและบุคคลผู้นำด้านต่างๆ ของประเทศในความคิดเห็นของสาธารณชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ดำเนินโครงการในวันที่ 14 — 15 เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,208 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
รายชื่อคณะผู้วิจัย
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ที่ปรึกษาโครงการ โทร. 01-621-4526
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ หัวหน้าโครงการวิจัย โทร. 07-095-3366
นางเนตรนภิศ ละเอียด ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการวิจัย
นางสาวศรีสุดา จันทะไทย หัวหน้างานสถิติและฐานข้อมูล ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการวิจัย
นางสาวนฤมล ชัยชโลธร นักวิจัย
นางสาวเบญจพร รักษะโบ๊ะ ผู้ช่วยนักวิจัย
นางสาวอรพินท์ พงษ์ประเสริฐ ผู้ช่วยนักวิจัย
นางสุภาภรณ์ เบ้าเทศ เลขานุการโครงการ
นอกจากนี้ยังมีพนักงานเก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูลรวมทั้งสิ้น 92 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.1 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 46.9 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 8.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 26.9 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 28.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 15.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 76.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 18.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 5.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 27.5 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 26.9 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 14.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 10.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.8 เป็นนักเรียน / นักศึกษาร้อยละ 7.6 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ และร้อยละ 3.9 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สถานการณ์การเมืองปัจจุบันและบุคคลผู้นำด้านต่างๆ ของประเทศในความคิดเห็นของสาธารณชน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,208 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 14-15 เมษายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ เป็นดังนี้
ผลสำรวจ พบว่า จำนวนของประชาชนที่ติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองอย่างเข้มข้นลดลงจากการสำรวจครั้งล่าสุด กล่าวคือ ตัวอย่างประชาชนร้อยละ 44.8 ติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองทุกวันหรือเกือบทุกวัน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ลดลงจากร้อยละ 60กว่าในการสำรวจครั้งก่อน รองลงมาคือร้อยละ 20.9 ติดตาม 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 23.6 ติดตาม 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 10.7 ไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างประชาชนครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.6 คิดว่าความร้อนแรงทางการเมืองคลี่คลายไปแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 32.5 คิดว่ายังไม่คลี่คลายและร้อยละ 16.9 ไม่มีความเห็น และเมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่อาจทำให้สถานการณ์การเมืองของประเทศกลับไปสู่สภาพวิกฤตอีกครั้ง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.8 คิดว่าถ้าเกิดม็อบขึ้นอีกจะนำไปสู่สภาพวิกฤตอีกครั้ง รองลงมาคือเกินกว่าครึ่งหนึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 41.9 คิดว่าถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกจะทำให้เกิดวิกฤตการเมืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ร้อยละ 38.3 คิดว่าการจับกุมแกนนำกลุ่มพันธมิตรอาจนำไปสู่การเกิดวิกฤตการเมืองขึ้นได้ ร้อยละ 36.6 คิดว่าการวางตัวไม่เป็นกลางของเจ้าหน้าที่รัฐและคนในองค์กรอิสระ ในขณะที่ร้อยละ 32.5 คิดว่าจำนวนที่นั่ง ส.ส.ไม่ครบ 500 ที่นั่งและร้อยละ 30.1 คิดว่าเผด็จการรัฐสภาจะทำให้เกิดวิกฤตการเมืองขึ้นมาอีกได้ นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อการจับกุมแกนนำกลุ่มพันธมิตร ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 34.9 ไม่เห็นด้วย ในขณะที่ ร้อยละ 30.8 เห็นด้วย และ ร้อยละ 34.3 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า จากกระแสข่าวที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงการทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีรักษาการนายกรัฐมนตรีจำนวนทั้งสิ้นกี่คน ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 43.4 คิดว่าตอนนี้มีสองคนคือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรและพล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ ในขณะที่ร้อยละ 36.1 คิดว่ามีคนเดียวคือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และร้อยละ 20.5 คิดว่ามีคนเดียวคือ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ และเมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เดินทางไปต่างประเทศเพื่ออะไร ผลสำรวจพบว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.6 คิดว่าไปเพื่อประโยชน์หลายอย่างรวมกันเช่น พักผ่อน ทำธุรกิจ และประโยชน์ทางการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 28.1 คิดว่าไปเพื่อพักผ่อนเท่านั้น ร้อยละ 12.3 คิดว่าไปเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของคนใกล้ชิด ร้อยละ 14.4 คิดว่าไปเพื่อประโยชน์ทางการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 11.6 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อขอให้ประชาชนระบุชื่อบุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้านต่างๆ ของประเทศ ผลสำรวจพบว่า ถ้าถามเรื่องผู้นำด้านการต่อสู้ปัญหายาเสพติด อันดับที่หนึ่งได้แก่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 46.9 ของตัวอย่างทั้งหมด รองลงมาคือ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ ร้อยละ 21.2 อันดับที่สามได้แก่ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ร้อยละ 15.4 ตามลำดับ
ถ้าถามเรื่อง บุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ผลสำรวจพบว่า อันดับที่หนึ่งได้แก่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ร้อยละ 63.2 ของตัวอย่างทั้งหมด รองลงมาคือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 26.1 และนายชวน หลีกภัย ร้อยละ 24.2 ตามลำดับ
ถ้าถามเรื่องบุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้านนโยบายแห่งรัฐที่ช่วยเหลือประชาชน ผลสำรวจพบว่า อันดับที่หนึ่งได้แก่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 54.2 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ร้อยละ 32.5 และนายอานันท์ ปันยารชุน ร้อยละ 10.8 แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าร้อยละ 39.1 ระบุไม่มีใครเหมาะสมเลยกับตำแหน่งผู้นำด้านนโยบายแห่งรัฐที่ช่วยเหลือประชาชนอย่างแท้จริง
ถ้าถามเรื่อง บุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้านนโยบายเศรษฐกิจ ผลสำรวจพบว่า อันดับที่หนึ่งได้แก่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ร้อยละ 45.9 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 44.1 และนายศุภชัย พานิชภักดิ์ ร้อยละ 28.3 ตามลำดับ
ถ้าถามเรื่อง บุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้านจัดระเบียบสังคม ผลสำรวจพบว่า อันดับที่หนึ่งได้แก่ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ร้อยละ 61.3 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 40.2 และ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียเวส ร้อยละ 38.6 ตามลำดับ
ถ้าถามเรื่อง บุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้านปฏิรูปการเมือง ผลสำรวจพบประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.2 คิดว่ายังไม่มีผู้ใดเหมาะสม ในขณะที่ร้อยละ 37.4 คิดว่าเป็น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร รองลงมาคือ นายโภคิน พลกุล ร้อยละ 33.1 ในขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 30.1 และนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ร้อยละ 28.7 ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชนต่อเรื่องต่างๆ ทางการเมืองยังไม่ได้กลับคืนสู่สภาวะปกติอย่างแท้จริง ถึงแม้เทศกาลสงกรานต์จะแสดงให้เห็นภาพคนไทยสนุกสนานรื่นเริงร่วมกันแบบไม่เลือกพรรคเลือกภาค ไม่ได้มีภาพของความแตกแยกแบ่งพรรคแบ่งพวกให้ปรากฎเห็นเป็นข่าว แต่เมื่อทำการสำรวจในประเด็นทางการเมือง กลับพบว่า ปัญหาความร้อนแรงทางการเมืองอาจกลับมาในสภาพเดิมเหมือนช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาก็ได้ เพราะประชาชนคิดว่า ถ้ามีความชัดเจนว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง หรือมีการจับกุมแกนนำกลุ่มพันธมิตรและนำมาซึ่งการชุมนุมม็อบต่างๆ ขึ้นมาอีก อาจส่งผลทำให้สถานการณ์จะเลวร้ายกลับเข้าสู่สภาพวิกฤตเช่นเดิมได้อีก ดังนั้น หน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐจำเป็นต้องเข้าใจกระแสความรู้สึกของสาธารณชนกลุ่มต่างๆ อย่างลึกซึ้งเพื่อป้องกันมิให้เกิดสภาวะ “น้ำผึ้งหยดเดียว” และนำไปสู่ความแตกแยกของสังคมที่อาจรุนแรงกว่าเดิมได้
“การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศควรอยู่บนพื้นฐานของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของสาธารณชน แต่จากการสำรวจครั้งล่าสุดนี้พบว่า เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อการจับกุมแกนนำกลุ่มพันธมิตร พบว่าตัวอย่างประชาชนกระจายออกเป็นสามกลุ่มพอๆ กันคือกลุ่มที่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยและกลุ่มกลางๆ ไม่แสดงความคิดเห็น การกระจายตัวของกลุ่มประชาชนออกเป็นสามกลุ่มเช่นนี้อาจเป็นภาพของการกลับไปสู่ฐานพลังประชาชนแบบที่เคยเกิดในช่วงวิกฤตการเมืองที่เกือบรุนแรงบานปลาย การเคลื่อนไหวของหน่วยงานภาครัฐในเรื่องนี้จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบคำนึงถึงผลกระทบในทางลบต่อเสถียรภาพของประเทศโดยรวมด้วย” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เห็นได้ชัดเจนว่ารัฐบาลรักษาการเองยังไม่ได้กู้ความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนกลับคืนมาได้อย่างมั่นคง เพราะเมื่อสอบถามเหตุผลการเดินทางไปต่างประเทศของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กลับไม่ได้พบว่า ประชาชนจะเชื่อการชี้นำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ว่าไปพักผ่อนอย่างเดียว แต่กลับมีความเคลือบแคลงสงสัยและคิดว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เดินทางไปด้วยหลายๆ เหตุผลทั้งเรื่องการพักผ่อน ประโยชน์ทางธุรกิจ และประโยชน์ทางการเมือง ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อทดลองสอบถามบุคคลที่เหมาะสมกับการเป็นผู้นำด้านต่างๆ ที่สำคัญของประเทศ ผลสำรวจก็ไม่ได้พบว่าสาธารณชนจะเห็นไปในทิศทางที่จะสนับสนุนคนในพรรคไทยรักไทยเสียเป็นส่วนใหญ่ในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่ถือว่าเป็นปัญหากระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล และพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ก็เพิ่งประกาศว่าจะเป็นผู้นำก่อนเกิดวิกฤตทางการเมืองไม่กี่สัปดาห์ ผลสำรวจยังระบุว่าประชาชนส่วนใหญ่กลับคิดว่าผู้ที่เหมาะสมที่สุดคือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
“ยิ่งน่าตกใจเมื่อผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่นึกไม่ออกว่าใครเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำด้านการปฏิรูปการเมือง ในขณะที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายโภคิน พลกุล และนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเฉลี่ยแต่ละคนแล้วไม่ถึงครึ่งหนึ่งของคนที่ถูกศึกษาทั้งหมด” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า โดยสรุป จากการสำรวจหลายโครงการในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาพอจะสะท้อนให้เห็นว่า ความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนต่อตัวบุคคลในรัฐบาลรักษาการยังมีไม่มากพอที่จะทำให้บุคคลสำคัญในรัฐบาลสามารถเป็นผู้นำของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยลำพัง การนำพาประเทศไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จำเป็นต้องทำการสมานรอยร้าวและความแตกแยกของสังคมก่อน สร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันในหมู่ประชาชนให้ได้มากที่สุด ซึ่งในหลักของการสำรวจความเห็นของสาธารณชน ถ้ารัฐบาลหรือฝ่ายการเมืองได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากถึงร้อยละ 70 หรือร้อยละ 80 มักจะประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง และรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เคยประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายนโยบายที่เป็นของใหม่ในระบบการเมืองไทย แต่ก็ต้องพบกับความเสื่อมถอยเมื่อไม่สามารถรักษาความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนเอาไว้ได้
“ดังนั้น ขณะนี้รัฐบาลรักษาการต้องหาแนวทางฟื้นความนิยมกลับคืนมาให้ได้แบบยั่งยืน ด้วยแนวทางต่างๆ อย่างน้อย 7 แนวทาง ประการแรก คลี่คลายความเคลือบแคลงสงสัยปัญหาการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปของคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี ประการที่สอง ติดตามตรวจสอบเอาผิดผู้ที่มีส่วนได้ผลประโยชน์จากการทุจริตคอรัปชั่นหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนในโครงการต่างๆ ของรัฐ เช่น การประมูลโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ เครื่องตรวจวัตถุระเบิด CTX ทุจริตกล้ายาง ทุจริตข้าว เป็นต้น ประการที่สาม สร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในกลุ่มประชาชนว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วประชาชนจะได้อะไร ไม่ใช่ว่าฝ่ายการเมืองหรือนักการเมืองจะได้อะไร ประการที่สี่ เร่งสนับสนุนฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประชาชนกลับคืนมาสู่การทำงานขององค์กรอิสระเช่น ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประการที่ห้า เป็นผู้นำสมานรอยร้าวและความแตกแยกในสังคม ประการที่หก สร้างระบบและสรรหาคนที่ดีมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริงเข้าทำหน้าที่ในองค์กรอิสระคอยตรวจสอบรัฐบาลและไม่ให้โอกาสบุคคลที่เป็นประชาชนขาดความเชื่อมั่นศรัทธามีอำนาจบริหารประเทศ และประการสุดท้าย เร่งสะสางปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่กำลังประสบอยู่เช่น การกลับมาของปัญหายาเสพติด ปัญหากลุ่มผู้มีอิทธิพล ปัญหาความยากจนและการถูกเลือกปฏิบัติแบบซ้ำซากของประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่คนใกล้ชิดรัฐบาล” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดผลสำรวจอื่นๆ ได้ในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 44.8
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 20.9
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 23.6
4 ไม่ได้ติดตามเลย 10.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 คิดว่าความร้อนแรงทางการเมืองคลี่คลายไปแล้ว 50.6
2 คิดว่ายังไม่คลี่คลาย 32.5
3 ไม่มีความเห็น 16.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อปัจจัยที่อาจทำให้สถานการณ์การเมืองของ
ประเทศกลับไปสู่สภาพวิกฤตอีกครั้ง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อปัจจัยที่อาจทำให้สถานการณ์การเมืองของประเทศ ค่าร้อยละ
กลับไปสู่สภาพวิกฤตอีกครั้ง
1 เกิดม็อบขึ้นอีก 63.8
2 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก 41.9
3 การจับกุมแกนนำกลุ่มพันธมิตร 38.3
4 การวางตัวไม่เป็นกลางของเจ้าหน้าที่ของรัฐและคนในองค์กรอิสระ 36.6
5 จำนวนที่นั่ง ส.ส. ไม่ครบ 500 ที่นั่ง 32.5
6 เผด็จการรัฐสภา 30.1
7 ความล้มเหลวในการดึงภาคประชาชนเข้าร่วมปฏิรูปการเมือง 28.8
8 การเลือกตั้ง ส.ส. ที่ยืดเยื้อ 20.6
9 อื่นๆ เช่น ความขัดแย้งแย่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของคนใน
พรรคไทยรักไทย / ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น / ความแตกแยก
ของคนในสังคม เป็นต้น 12.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการจับกุมแกนนำกลุ่มพันธมิตร
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการจับกุมแกนนำกลุ่มพันธมิตร ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 30.8
2 ไม่เห็นด้วย 34.9
3 ไม่มีความเห็น 34.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อจำนวนคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการของประเทศไทย
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อจำนวนคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ ค่าร้อยละ
1 คนเดียว คือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 36.1
2 คนเดียว คือ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ 20.5
3 สองคนคือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรและพล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ 43.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการเดินทางไปต่างประเทศของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการเดินทางไปต่างประเทศของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ค่าร้อยละ
1 คิดว่าไปเพื่อประโยชน์หลายๆ อย่าง เช่น พักผ่อน ทำธุรกิจ และ
ประโยชน์ทางการเมือง 33.6
2 คิดว่าไปพักผ่อนอย่างเดียว 28.1
3 คิดว่าไปเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของคนใกล้ชิด 12.3
4 คิดว่าไปเพื่อประโยชน์ทางการเมือง 14.4
5 ไม่มีความเห็น 11.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงการจัด 5 อันดับแรกที่ตัวอย่างประชาชนระบุ บุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้าน
ต่อสู้ปัญหายาเสพติด (เป็นคำถามเปิดกว้างให้คนตอบตอบเอง และตอบได้มากกว่า 1 คน)
ลำดับที่ รายชื่อบุคคล ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 46.9
2 พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ 21.2
3 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา 15.4
4 พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา 8.2
5 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ 5.5
6 ไม่มีใครเหมาะสม 26.4
ความคลาดเคลื่อน +/- 5%
ตารางที่ 8 แสดงการจัด 5 อันดับแรกที่ตัวอย่างประชาชนระบุ บุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำการ
แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น (เป็นคำถามเปิดกว้างให้คนตอบตอบเอง และตอบได้มากกว่า 1 คน)
ลำดับที่ รายชื่อบุคคล ค่าร้อยละ
1 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 63.2
2 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 26.1
3 นายชวน หลีกภัย 24.2
4 นายสุเมธ ตันติเวชกุล 11.0
5 นายอลงกรณ์ พลบุตร 9.4
6 ไม่มีใครเหมาะสม 16.8
ความคลาดเคลื่อน +/- 5%
ตารางที่ 9 แสดงการจัด 5 อันดับแรกที่ตัวอย่างประชาชนระบุ บุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้านนโยบาย
แห่งรัฐที่ช่วยเหลือประชาชน (เป็นคำถามเปิดกว้างให้คนตอบตอบเอง และตอบได้มากกว่า 1 คน)
ลำดับที่ รายชื่อบุคคล ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 54.2
2 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ 32.5
3 นายอานันท์ ปันยารชุน 10.8
4 นายชวน หลีกภัย 8.3
5 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 7.6
6 ไม่มีใครเหมาะสม 39.1
ความคลาดเคลื่อน +/- 5%
ตารางที่ 10 แสดงการจัด 5 อันดับแรกที่ตัวอย่างประชาชนระบุ บุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้าน
นโยบายเศรษฐกิจ (เป็นคำถามเปิดกว้างให้คนตอบตอบเอง และตอบได้มากกว่า 1 คน)
ลำดับที่ รายชื่อบุคคล ค่าร้อยละ
1 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 45.9
2 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 44.1
3 นายศุภชัย พานิชภักดิ์ 28.3
4 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ 7.4
5 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 5.0
6 ไม่มีใครเหมาะสม 27.9
ความคลาดเคลื่อน +/- 5%
ตารางที่ 11 แสดงการจัด 5 อันดับแรกที่ตัวอย่างประชาชนระบุ บุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำในการจัด
ระเบียบสังคม (เป็นคำถามเปิดกว้างให้คนตอบตอบเอง และตอบได้มากกว่า 1 คน)
ลำดับที่ รายชื่อบุคคล — พรรคการเมือง ค่าร้อยละ
1 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 61.3
2 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 40.2
3 พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียเวส 38.6
4 พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา 15.5
5 พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ 13.2
6 ไม่มีใครเหมาะสม 18.4
ความคลาดเคลื่อน +/- 5%
ตารางที่ 12 แสดงการจัด 5 อันดับแรกที่ตัวอย่างประชาชนระบุ บุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้านการ
ปฏิรูปการเมือง (เป็นคำถามเปิดกว้างให้คนตอบตอบเอง และตอบได้มากกว่า 1 คน)
ลำดับที่ รายชื่อบุคคล ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 37.4
2 นายโภคิน พลกุล 33.1
3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 30.1
4 นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา 28.7
5 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ 10.9
6 ไม่มีใครเหมาะสม 59.2
ความคลาดเคลื่อน +/- 5%
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-กภ-
ที่มาของโครงการ
ดูเหมือนว่าความร้อนแรงของสถานการณ์การเมืองเริ่มคลี่คลายลงไป แต่ภายใต้คลื่นลมที่สงบอาจมีการก่อตัวขึ้นภายใต้ผิวน้ำทางการเมืองที่จะรุนแรนมากขึ้นกว่าเดิม การติดตามข่าวสารทางการเมืองและความเคลื่อนไหวในอารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชนเกี่ยวกับเรื่องการเมืองจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษา
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อสถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินการใดๆ เพื่อการปฏิรูปการเมืองของประเทศ โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1.เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2.เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองและบุคคลที่เหมาะสมกับการเป็นผู้นำด้านต่างๆ ของประเทศ
3.เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สถานการณ์การเมืองปัจจุบันและบุคคลผู้นำด้านต่างๆ ของประเทศในความคิดเห็นของสาธารณชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ดำเนินโครงการในวันที่ 14 — 15 เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,208 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
รายชื่อคณะผู้วิจัย
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ที่ปรึกษาโครงการ โทร. 01-621-4526
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ หัวหน้าโครงการวิจัย โทร. 07-095-3366
นางเนตรนภิศ ละเอียด ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการวิจัย
นางสาวศรีสุดา จันทะไทย หัวหน้างานสถิติและฐานข้อมูล ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการวิจัย
นางสาวนฤมล ชัยชโลธร นักวิจัย
นางสาวเบญจพร รักษะโบ๊ะ ผู้ช่วยนักวิจัย
นางสาวอรพินท์ พงษ์ประเสริฐ ผู้ช่วยนักวิจัย
นางสุภาภรณ์ เบ้าเทศ เลขานุการโครงการ
นอกจากนี้ยังมีพนักงานเก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูลรวมทั้งสิ้น 92 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.1 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 46.9 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 8.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 26.9 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 28.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 15.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 76.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 18.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 5.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 27.5 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 26.9 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 14.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 10.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.8 เป็นนักเรียน / นักศึกษาร้อยละ 7.6 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ และร้อยละ 3.9 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สถานการณ์การเมืองปัจจุบันและบุคคลผู้นำด้านต่างๆ ของประเทศในความคิดเห็นของสาธารณชน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,208 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 14-15 เมษายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ เป็นดังนี้
ผลสำรวจ พบว่า จำนวนของประชาชนที่ติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองอย่างเข้มข้นลดลงจากการสำรวจครั้งล่าสุด กล่าวคือ ตัวอย่างประชาชนร้อยละ 44.8 ติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองทุกวันหรือเกือบทุกวัน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ลดลงจากร้อยละ 60กว่าในการสำรวจครั้งก่อน รองลงมาคือร้อยละ 20.9 ติดตาม 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 23.6 ติดตาม 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 10.7 ไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างประชาชนครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.6 คิดว่าความร้อนแรงทางการเมืองคลี่คลายไปแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 32.5 คิดว่ายังไม่คลี่คลายและร้อยละ 16.9 ไม่มีความเห็น และเมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่อาจทำให้สถานการณ์การเมืองของประเทศกลับไปสู่สภาพวิกฤตอีกครั้ง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.8 คิดว่าถ้าเกิดม็อบขึ้นอีกจะนำไปสู่สภาพวิกฤตอีกครั้ง รองลงมาคือเกินกว่าครึ่งหนึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 41.9 คิดว่าถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกจะทำให้เกิดวิกฤตการเมืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ร้อยละ 38.3 คิดว่าการจับกุมแกนนำกลุ่มพันธมิตรอาจนำไปสู่การเกิดวิกฤตการเมืองขึ้นได้ ร้อยละ 36.6 คิดว่าการวางตัวไม่เป็นกลางของเจ้าหน้าที่รัฐและคนในองค์กรอิสระ ในขณะที่ร้อยละ 32.5 คิดว่าจำนวนที่นั่ง ส.ส.ไม่ครบ 500 ที่นั่งและร้อยละ 30.1 คิดว่าเผด็จการรัฐสภาจะทำให้เกิดวิกฤตการเมืองขึ้นมาอีกได้ นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อการจับกุมแกนนำกลุ่มพันธมิตร ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 34.9 ไม่เห็นด้วย ในขณะที่ ร้อยละ 30.8 เห็นด้วย และ ร้อยละ 34.3 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า จากกระแสข่าวที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงการทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีรักษาการนายกรัฐมนตรีจำนวนทั้งสิ้นกี่คน ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 43.4 คิดว่าตอนนี้มีสองคนคือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรและพล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ ในขณะที่ร้อยละ 36.1 คิดว่ามีคนเดียวคือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และร้อยละ 20.5 คิดว่ามีคนเดียวคือ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ และเมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เดินทางไปต่างประเทศเพื่ออะไร ผลสำรวจพบว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.6 คิดว่าไปเพื่อประโยชน์หลายอย่างรวมกันเช่น พักผ่อน ทำธุรกิจ และประโยชน์ทางการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 28.1 คิดว่าไปเพื่อพักผ่อนเท่านั้น ร้อยละ 12.3 คิดว่าไปเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของคนใกล้ชิด ร้อยละ 14.4 คิดว่าไปเพื่อประโยชน์ทางการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 11.6 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อขอให้ประชาชนระบุชื่อบุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้านต่างๆ ของประเทศ ผลสำรวจพบว่า ถ้าถามเรื่องผู้นำด้านการต่อสู้ปัญหายาเสพติด อันดับที่หนึ่งได้แก่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 46.9 ของตัวอย่างทั้งหมด รองลงมาคือ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ ร้อยละ 21.2 อันดับที่สามได้แก่ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ร้อยละ 15.4 ตามลำดับ
ถ้าถามเรื่อง บุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ผลสำรวจพบว่า อันดับที่หนึ่งได้แก่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ร้อยละ 63.2 ของตัวอย่างทั้งหมด รองลงมาคือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 26.1 และนายชวน หลีกภัย ร้อยละ 24.2 ตามลำดับ
ถ้าถามเรื่องบุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้านนโยบายแห่งรัฐที่ช่วยเหลือประชาชน ผลสำรวจพบว่า อันดับที่หนึ่งได้แก่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 54.2 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ร้อยละ 32.5 และนายอานันท์ ปันยารชุน ร้อยละ 10.8 แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าร้อยละ 39.1 ระบุไม่มีใครเหมาะสมเลยกับตำแหน่งผู้นำด้านนโยบายแห่งรัฐที่ช่วยเหลือประชาชนอย่างแท้จริง
ถ้าถามเรื่อง บุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้านนโยบายเศรษฐกิจ ผลสำรวจพบว่า อันดับที่หนึ่งได้แก่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ร้อยละ 45.9 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 44.1 และนายศุภชัย พานิชภักดิ์ ร้อยละ 28.3 ตามลำดับ
ถ้าถามเรื่อง บุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้านจัดระเบียบสังคม ผลสำรวจพบว่า อันดับที่หนึ่งได้แก่ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ร้อยละ 61.3 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 40.2 และ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียเวส ร้อยละ 38.6 ตามลำดับ
ถ้าถามเรื่อง บุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้านปฏิรูปการเมือง ผลสำรวจพบประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.2 คิดว่ายังไม่มีผู้ใดเหมาะสม ในขณะที่ร้อยละ 37.4 คิดว่าเป็น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร รองลงมาคือ นายโภคิน พลกุล ร้อยละ 33.1 ในขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 30.1 และนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ร้อยละ 28.7 ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชนต่อเรื่องต่างๆ ทางการเมืองยังไม่ได้กลับคืนสู่สภาวะปกติอย่างแท้จริง ถึงแม้เทศกาลสงกรานต์จะแสดงให้เห็นภาพคนไทยสนุกสนานรื่นเริงร่วมกันแบบไม่เลือกพรรคเลือกภาค ไม่ได้มีภาพของความแตกแยกแบ่งพรรคแบ่งพวกให้ปรากฎเห็นเป็นข่าว แต่เมื่อทำการสำรวจในประเด็นทางการเมือง กลับพบว่า ปัญหาความร้อนแรงทางการเมืองอาจกลับมาในสภาพเดิมเหมือนช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาก็ได้ เพราะประชาชนคิดว่า ถ้ามีความชัดเจนว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง หรือมีการจับกุมแกนนำกลุ่มพันธมิตรและนำมาซึ่งการชุมนุมม็อบต่างๆ ขึ้นมาอีก อาจส่งผลทำให้สถานการณ์จะเลวร้ายกลับเข้าสู่สภาพวิกฤตเช่นเดิมได้อีก ดังนั้น หน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐจำเป็นต้องเข้าใจกระแสความรู้สึกของสาธารณชนกลุ่มต่างๆ อย่างลึกซึ้งเพื่อป้องกันมิให้เกิดสภาวะ “น้ำผึ้งหยดเดียว” และนำไปสู่ความแตกแยกของสังคมที่อาจรุนแรงกว่าเดิมได้
“การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศควรอยู่บนพื้นฐานของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของสาธารณชน แต่จากการสำรวจครั้งล่าสุดนี้พบว่า เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อการจับกุมแกนนำกลุ่มพันธมิตร พบว่าตัวอย่างประชาชนกระจายออกเป็นสามกลุ่มพอๆ กันคือกลุ่มที่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยและกลุ่มกลางๆ ไม่แสดงความคิดเห็น การกระจายตัวของกลุ่มประชาชนออกเป็นสามกลุ่มเช่นนี้อาจเป็นภาพของการกลับไปสู่ฐานพลังประชาชนแบบที่เคยเกิดในช่วงวิกฤตการเมืองที่เกือบรุนแรงบานปลาย การเคลื่อนไหวของหน่วยงานภาครัฐในเรื่องนี้จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบคำนึงถึงผลกระทบในทางลบต่อเสถียรภาพของประเทศโดยรวมด้วย” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เห็นได้ชัดเจนว่ารัฐบาลรักษาการเองยังไม่ได้กู้ความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนกลับคืนมาได้อย่างมั่นคง เพราะเมื่อสอบถามเหตุผลการเดินทางไปต่างประเทศของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กลับไม่ได้พบว่า ประชาชนจะเชื่อการชี้นำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ว่าไปพักผ่อนอย่างเดียว แต่กลับมีความเคลือบแคลงสงสัยและคิดว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เดินทางไปด้วยหลายๆ เหตุผลทั้งเรื่องการพักผ่อน ประโยชน์ทางธุรกิจ และประโยชน์ทางการเมือง ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อทดลองสอบถามบุคคลที่เหมาะสมกับการเป็นผู้นำด้านต่างๆ ที่สำคัญของประเทศ ผลสำรวจก็ไม่ได้พบว่าสาธารณชนจะเห็นไปในทิศทางที่จะสนับสนุนคนในพรรคไทยรักไทยเสียเป็นส่วนใหญ่ในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่ถือว่าเป็นปัญหากระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล และพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ก็เพิ่งประกาศว่าจะเป็นผู้นำก่อนเกิดวิกฤตทางการเมืองไม่กี่สัปดาห์ ผลสำรวจยังระบุว่าประชาชนส่วนใหญ่กลับคิดว่าผู้ที่เหมาะสมที่สุดคือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
“ยิ่งน่าตกใจเมื่อผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่นึกไม่ออกว่าใครเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำด้านการปฏิรูปการเมือง ในขณะที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายโภคิน พลกุล และนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเฉลี่ยแต่ละคนแล้วไม่ถึงครึ่งหนึ่งของคนที่ถูกศึกษาทั้งหมด” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า โดยสรุป จากการสำรวจหลายโครงการในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาพอจะสะท้อนให้เห็นว่า ความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนต่อตัวบุคคลในรัฐบาลรักษาการยังมีไม่มากพอที่จะทำให้บุคคลสำคัญในรัฐบาลสามารถเป็นผู้นำของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยลำพัง การนำพาประเทศไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จำเป็นต้องทำการสมานรอยร้าวและความแตกแยกของสังคมก่อน สร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันในหมู่ประชาชนให้ได้มากที่สุด ซึ่งในหลักของการสำรวจความเห็นของสาธารณชน ถ้ารัฐบาลหรือฝ่ายการเมืองได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากถึงร้อยละ 70 หรือร้อยละ 80 มักจะประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง และรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เคยประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายนโยบายที่เป็นของใหม่ในระบบการเมืองไทย แต่ก็ต้องพบกับความเสื่อมถอยเมื่อไม่สามารถรักษาความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนเอาไว้ได้
“ดังนั้น ขณะนี้รัฐบาลรักษาการต้องหาแนวทางฟื้นความนิยมกลับคืนมาให้ได้แบบยั่งยืน ด้วยแนวทางต่างๆ อย่างน้อย 7 แนวทาง ประการแรก คลี่คลายความเคลือบแคลงสงสัยปัญหาการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปของคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี ประการที่สอง ติดตามตรวจสอบเอาผิดผู้ที่มีส่วนได้ผลประโยชน์จากการทุจริตคอรัปชั่นหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนในโครงการต่างๆ ของรัฐ เช่น การประมูลโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ เครื่องตรวจวัตถุระเบิด CTX ทุจริตกล้ายาง ทุจริตข้าว เป็นต้น ประการที่สาม สร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในกลุ่มประชาชนว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วประชาชนจะได้อะไร ไม่ใช่ว่าฝ่ายการเมืองหรือนักการเมืองจะได้อะไร ประการที่สี่ เร่งสนับสนุนฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประชาชนกลับคืนมาสู่การทำงานขององค์กรอิสระเช่น ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประการที่ห้า เป็นผู้นำสมานรอยร้าวและความแตกแยกในสังคม ประการที่หก สร้างระบบและสรรหาคนที่ดีมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริงเข้าทำหน้าที่ในองค์กรอิสระคอยตรวจสอบรัฐบาลและไม่ให้โอกาสบุคคลที่เป็นประชาชนขาดความเชื่อมั่นศรัทธามีอำนาจบริหารประเทศ และประการสุดท้าย เร่งสะสางปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่กำลังประสบอยู่เช่น การกลับมาของปัญหายาเสพติด ปัญหากลุ่มผู้มีอิทธิพล ปัญหาความยากจนและการถูกเลือกปฏิบัติแบบซ้ำซากของประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่คนใกล้ชิดรัฐบาล” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดผลสำรวจอื่นๆ ได้ในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 44.8
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 20.9
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 23.6
4 ไม่ได้ติดตามเลย 10.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 คิดว่าความร้อนแรงทางการเมืองคลี่คลายไปแล้ว 50.6
2 คิดว่ายังไม่คลี่คลาย 32.5
3 ไม่มีความเห็น 16.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อปัจจัยที่อาจทำให้สถานการณ์การเมืองของ
ประเทศกลับไปสู่สภาพวิกฤตอีกครั้ง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อปัจจัยที่อาจทำให้สถานการณ์การเมืองของประเทศ ค่าร้อยละ
กลับไปสู่สภาพวิกฤตอีกครั้ง
1 เกิดม็อบขึ้นอีก 63.8
2 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก 41.9
3 การจับกุมแกนนำกลุ่มพันธมิตร 38.3
4 การวางตัวไม่เป็นกลางของเจ้าหน้าที่ของรัฐและคนในองค์กรอิสระ 36.6
5 จำนวนที่นั่ง ส.ส. ไม่ครบ 500 ที่นั่ง 32.5
6 เผด็จการรัฐสภา 30.1
7 ความล้มเหลวในการดึงภาคประชาชนเข้าร่วมปฏิรูปการเมือง 28.8
8 การเลือกตั้ง ส.ส. ที่ยืดเยื้อ 20.6
9 อื่นๆ เช่น ความขัดแย้งแย่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของคนใน
พรรคไทยรักไทย / ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น / ความแตกแยก
ของคนในสังคม เป็นต้น 12.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการจับกุมแกนนำกลุ่มพันธมิตร
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการจับกุมแกนนำกลุ่มพันธมิตร ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 30.8
2 ไม่เห็นด้วย 34.9
3 ไม่มีความเห็น 34.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อจำนวนคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการของประเทศไทย
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อจำนวนคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ ค่าร้อยละ
1 คนเดียว คือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 36.1
2 คนเดียว คือ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ 20.5
3 สองคนคือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรและพล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ 43.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการเดินทางไปต่างประเทศของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการเดินทางไปต่างประเทศของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ค่าร้อยละ
1 คิดว่าไปเพื่อประโยชน์หลายๆ อย่าง เช่น พักผ่อน ทำธุรกิจ และ
ประโยชน์ทางการเมือง 33.6
2 คิดว่าไปพักผ่อนอย่างเดียว 28.1
3 คิดว่าไปเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของคนใกล้ชิด 12.3
4 คิดว่าไปเพื่อประโยชน์ทางการเมือง 14.4
5 ไม่มีความเห็น 11.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงการจัด 5 อันดับแรกที่ตัวอย่างประชาชนระบุ บุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้าน
ต่อสู้ปัญหายาเสพติด (เป็นคำถามเปิดกว้างให้คนตอบตอบเอง และตอบได้มากกว่า 1 คน)
ลำดับที่ รายชื่อบุคคล ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 46.9
2 พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ 21.2
3 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา 15.4
4 พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา 8.2
5 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ 5.5
6 ไม่มีใครเหมาะสม 26.4
ความคลาดเคลื่อน +/- 5%
ตารางที่ 8 แสดงการจัด 5 อันดับแรกที่ตัวอย่างประชาชนระบุ บุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำการ
แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น (เป็นคำถามเปิดกว้างให้คนตอบตอบเอง และตอบได้มากกว่า 1 คน)
ลำดับที่ รายชื่อบุคคล ค่าร้อยละ
1 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 63.2
2 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 26.1
3 นายชวน หลีกภัย 24.2
4 นายสุเมธ ตันติเวชกุล 11.0
5 นายอลงกรณ์ พลบุตร 9.4
6 ไม่มีใครเหมาะสม 16.8
ความคลาดเคลื่อน +/- 5%
ตารางที่ 9 แสดงการจัด 5 อันดับแรกที่ตัวอย่างประชาชนระบุ บุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้านนโยบาย
แห่งรัฐที่ช่วยเหลือประชาชน (เป็นคำถามเปิดกว้างให้คนตอบตอบเอง และตอบได้มากกว่า 1 คน)
ลำดับที่ รายชื่อบุคคล ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 54.2
2 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ 32.5
3 นายอานันท์ ปันยารชุน 10.8
4 นายชวน หลีกภัย 8.3
5 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 7.6
6 ไม่มีใครเหมาะสม 39.1
ความคลาดเคลื่อน +/- 5%
ตารางที่ 10 แสดงการจัด 5 อันดับแรกที่ตัวอย่างประชาชนระบุ บุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้าน
นโยบายเศรษฐกิจ (เป็นคำถามเปิดกว้างให้คนตอบตอบเอง และตอบได้มากกว่า 1 คน)
ลำดับที่ รายชื่อบุคคล ค่าร้อยละ
1 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 45.9
2 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 44.1
3 นายศุภชัย พานิชภักดิ์ 28.3
4 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ 7.4
5 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 5.0
6 ไม่มีใครเหมาะสม 27.9
ความคลาดเคลื่อน +/- 5%
ตารางที่ 11 แสดงการจัด 5 อันดับแรกที่ตัวอย่างประชาชนระบุ บุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำในการจัด
ระเบียบสังคม (เป็นคำถามเปิดกว้างให้คนตอบตอบเอง และตอบได้มากกว่า 1 คน)
ลำดับที่ รายชื่อบุคคล — พรรคการเมือง ค่าร้อยละ
1 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 61.3
2 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 40.2
3 พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียเวส 38.6
4 พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา 15.5
5 พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ 13.2
6 ไม่มีใครเหมาะสม 18.4
ความคลาดเคลื่อน +/- 5%
ตารางที่ 12 แสดงการจัด 5 อันดับแรกที่ตัวอย่างประชาชนระบุ บุคคลที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้านการ
ปฏิรูปการเมือง (เป็นคำถามเปิดกว้างให้คนตอบตอบเอง และตอบได้มากกว่า 1 คน)
ลำดับที่ รายชื่อบุคคล ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 37.4
2 นายโภคิน พลกุล 33.1
3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 30.1
4 นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา 28.7
5 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ 10.9
6 ไม่มีใครเหมาะสม 59.2
ความคลาดเคลื่อน +/- 5%
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-กภ-