ที่มาของโครงการ
สืบเนื่องจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 8 ต่อ 6 เสียง ไม่รับคำร้องของกลุ่ม 27 สว. ให้วินิจฉัยคุณสมบัติของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี ที่อาจจะขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 209 ไว้พิจารณา ขณะที่กลุ่ม 27 สว. ได้ประกาศยุติการเคลื่อนไหว ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ถือว่าเป็นภาพสะท้อนสภาวะทางการเมืองที่ไม่ปกติ เพราะเข้าสู่ทางตัน และปิดโอกาสให้การเมืองไทยในระบบทำงาน ส่วนสังคมก็สูญเสียโอกาสที่จะได้
รับฟังข้อเท็จจริงว่า นายกฯ เกี่ยวข้องกับบริษัทแอมเพิลริชอย่างไร ดังนั้น ถือว่าสายป่านสุดท้ายของความหวังในศาลรัฐธรรมนูญได้ขาดไปแล้ว ทำให้
เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก ในขณะที่สถานการณ์ทางการเมือง / กระแสของการชุมนุมต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นจากตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีมีระดับความเข้มข้น / รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยหรือไม่ต่อคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงความเชื่อมั่นของ
ประชาชนต่อการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันมีมากน้อยเพียงใด
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพ
มหานครและปริมณฑล ถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีศาลรัฐธรรมนูญไม่รับพิจารณาคำร้องของ สว. เรื่องคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งนายก
รัฐมนตรี ด้วยการส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวศาลรัฐธรรมนูญไม่รับพิจารณาคำร้องของ 27 สว.
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเงินที่ได้จากการขายหุ้นฯ ของนายกรัฐมนตรี
4. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนรู้สึกอย่างไรภายหลังการไม่รับ
พิจารณาคุณสมบัตินายกรัฐมนตรีของศาลรัฐธรรมนูญ และความเห็นต่อกระแสเรียกร้องเงินบริจาคเพื่อสังคมจากการซื้อขายหุ้นชินฯ: กรณีศึกษาประชาชน
ทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,498 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.1 เป็นชาย
ร้อยละ 49.9 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 26.2 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 82.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 16.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 0.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 42.3 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.6 ระบุเป็นนักศึกษา
ร้อยละ 10.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 7.6 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 4.2 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลการสำรวจเรื่อง “ประชาชนรู้สึกอย่างไร
ภายหลังการไม่รับพิจารณาคุณสมบัตินายกรัฐมนตรีของศาลรัฐธรรมนูญ และความเห็นต่อกระแสเรียกร้องเงินบริจาคเพื่อสังคมจากการซื้อขายหุ้นชินฯ” ใน
ครั้งนี้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,498 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2549
ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า ข่าวที่ตัวอย่างสนใจในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา 5 อันดับแรก คือ ข่าวการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ ให้นายก
รัฐมนตรีลาออก (ร้อยละ 70.1) ข่าวปัญหาการเมืองที่ตามมาจากการซื้อขายหุ้นชินฯ (ร้อยละ 63.3) ข่าวความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
(ร้อยละ 52.1) ข่าว “ปอ ประตูน้ำ” งัดข้อ “เสรีพิสุทธิ์” (ร้อยละ 43.3) และข่าวการขึ้นค่าโดยสารรถเมล์-บขส. (ร้อยละ 39.0) ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามเฉพาะข่าวกรณีศาลรัฐธรรมนูญไม่รับพิจารณาคำร้องของ 27 ส.ว. เรื่องคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งนายก
รัฐมนตรี ผลสำรวจพบว่า ประชาชนเกินกว่าครึ่งหนึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 53.2 ติดตาม ในขณะที่ร้อยละ 46.8 ไม่ได้ติดตาม และเมื่อสอบถาม
ประชาชนที่ติดตามข่าวนี้ พบว่าประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 35.5 ยอมรับได้เมื่อศาลฯ ไม่รับพิจารณาคำร้องของ 27 ส.ว. ในขณะที่ร้อย
ละ 26.1 ยอมรับไม่ได้ และร้อยละ 38.4 ไม่มีความเห็น แต่เมื่อสอบถามต่อถึงความเชื่อมั่นต่อการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน ผลสำรวจพบ
ว่า ประชาชนร้อยละ 40.3 เชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 32.7 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 27.0 ไม่มีความเห็น เป็นที่น่าสังเกตว่า จำนวนของประชาชนได้
กระจายออกมาจากกลุ่มไม่มีความเห็นไปอยู่กับกลุ่มที่เชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นในสัดส่วนที่ไม่ค่อยแตกต่างกัน จำนวนของแต่ละฝ่ายมากพอที่จะแสดงให้เห็นพลัง
มวลชน และยิ่งไปกว่านั้นสามารถตีความได้ว่าในการสำรวจครั้งนี้พบประชาชนไม่ถึงครึ่งเชื่อมั่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ผลสำรวจยังพบอีกว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.0 เห็นด้วยถ้านายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรจะสนทนากับ
นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผ่านรายการโทรทัศน์ต่างๆ เช่น รายการถึงลูกถึงคน ช่อง 9 / คุยคุ้ยข่าว ช่อง 9/ เมืองไทยรายสัปดาห์ ช่อง news 1/ hot
news ช่อง ITV / คมชัดลึก ช่อง Nation TV / จับประเด็น ช่อง 5 / เรื่องเล่าเช้านี้ ช่อง 3 เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 13.5 ไม่เห็นด้วย และ
ร้อยละ 10.5 ไม่มีความเห็น
คณะผู้วิจัยยังได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนกรณีที่ฝ่ายค้านผลักดันให้เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีในสภาฯ ผลสำรวจพบ
ว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.0 เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 20.4 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 18.6 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.9 เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีบริจาคเงินเพื่อสาธารณประโยชน์
โดยมีค่าเฉลี่ยของจำนวนเงินที่ควรบริจาคในทรรศนะของประชาชนคือ 10,473,108,654 บาท (ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท) ในขณะที่ร้อยละ 11.8
ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 28.3 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามประชาชนต่อว่าถ้ามีการบริจาคจริง นายกรัฐมนตรีควรจะบริจาคเพื่อประโยชน์ด้านใดบ้าง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 77.0 ระบุว่าควรให้ทุนการศึกษาเด็กด้อยโอกาส รองลงมาคือร้อยละ 72.2 ควรช่วยเหลือ ผู้ยากไร้/คนพิการ ร้อยละ 53.1 แก้ปัญหา
ยาเสพติด ร้อยละ 50.7 ตั้งกองทุนเพื่อการกู้ยืมประกอบอาชีพ ร้อยละ 50.7 เช่นกันระบุควรบริจาคเพื่อพัฒนาด้านสาธารณสุข/คุณภาพชีวิต นอกจากนี้
ยังเห็นว่าควรบริจาคเพื่อจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น สนับสนุนการกีฬา รักษาสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการแก้ปัญหา
อาชญากรรม ปฏิรูปการเมืองให้เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และสนับสนุนการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ตามลำดับ
ดร.นพดล กรรณิกา ผ.อ.เอแบคโพลล์ วิเคราะห์จากผลสำรวจที่ค้นพบว่า นี่เป็นปรากฏการณ์ใหม่ทางการเมืองที่หาคำอธิบายที่สมบูรณ์ได้
ยาก เพราะตัวสถานการณ์ทางการเมืองมีจุดเกิดเหตุเกี่ยวข้องกับตัวผู้นำประเทศโดยตรงไม่ว่าในฐานะนายกรัฐมนตรีหรือผู้นำครอบครัว บุคคลอื่นๆ ที่
แวดล้อมในรัฐบาลจึงประสบกับความยากลำบากที่จะอธิบายให้ประชาชนเข้าใจอย่างชัดเจนแทนนายกรัฐมนตรี และประชาชนก็เฝ้าอย่างใจจดใจจ่อว่า
นายกรัฐมนตรีจะออกมาชี้แจงให้หายคับข้องใจเมื่อไหร่และอย่างไร เพราะที่ผ่านมาการชี้แจงของนายกรัฐมนตรีว่าไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ดูเหมือนว่าไม่ได้
ลดความร้อนแรงของอารมณ์ผู้คนในสังคมได้แต่อย่างใด จนทำให้ประชาชนต้องออกมาช่วยเสนอแนะต่างๆ นานาเป็นจำนวนมาก และผลสำรวจครั้งนี้ก็
ระบุชัดเจนว่า ประชาชนอยากให้มีการบริจาคและเป็นเงินที่มีค่าสูงเป็นหมื่นล้านในการช่วยเหลือด้านการศึกษาให้เด็กที่ยากไร้ด้อยโอกาส/ ช่วยเหลือคน
ยากคนจนและคนพิการ /ช่วยเป็นงบประมาณแก้ปัญหายาเสพติด และอื่นๆ อีกมากรวมไปถึงช่วยเป็นงบด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ แต่ก็
ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีและคนใกล้ชิดจะตัดสินใจว่าสามารถสละเงินจำนวนมากขนาดนั้นให้กับสังคมตามข้อเสนอแนะของประชาชนที่สำรวจพบได้หรือไม่
“อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการบริจาคจริงๆ ก็คงจะหลีกหนีการถูกวิพากษ์วิจารณ์อีกไม่ได้ เพราะตอนนี้นายกรัฐมนตรีกำลังตกอยู่ในสภาวะท่าม
กลางเขาควายสองข้าง (dilemma) คือ จะบริจาคก็อาจโดนวิจารณ์ว่าใช้เงินเพื่อต่ออายุตำแหน่งทางการเมือง แต่ถ้าไม่บริจาคก็โดนกระแสสังคมโจม
ตี ดังนั้นทางออกที่เป็นไปได้สำหรับนายกรัฐมนตรีก็คือ การอธิบายต่อสังคมแบบม้วนเดียวจบโดยรอจังหวะที่สังคมอยู่ในสภาวะสุกงอมทุกสายตาจับจ้องรอ
นายกรัฐมนตรีพูด และวันนั้นก็คงต้องอธิบายทั้งในเชิงกฎหมายและเชิงจริยธรรมของผู้นำ โดยในเชิงกฎหมายนายกรัฐมนตรีอาจออกมาระบุว่าการกระทำ
ใดที่ทำผิดกฎหมายก็ให้ดำเนินไปตามตัวบทกฎหมาย ซึ่งในประเด็นนี้ประชาชนคงไม่ติดใจอะไร แต่ในเชิงจริยธรรม ประชาชนอาจจะไม่ได้รับคำ
ตอบอย่างที่กลุ่มโจมตีนายกฯ กำลังเรียกร้อง เพราะในเชิงจริยธรรม นายกฯ อาจออกมากล่าวในทำนองที่ว่า การรับผิดชอบด้านจริยธรรมจะต้องเป็น
ไปตามหลักจริยธรรมสากลแบบมาตรฐานเดียวกันที่นานาประเทศทั่วโลกยอมรับ เพราะจริยธรรมไม่ควรมีจริยธรรมแบบหนึ่งของผู้นำประเทศและอีกแบบ
หนึ่งของประชาชนทั่วไป” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เหล่านี้คือฐานคติที่คณะผู้วิจัยตั้งขึ้นเพราะอยากเห็นสังคมสงบสุขแต่ถ้าสังคมคาดหวังสูงต่อภาวะความเป็นผู้นำ
ประเทศก็คงต้องขึ้นอยู่กับมโนธรรมของผู้นำ ฐานคติที่คณะผู้วิจัยตั้งขึ้นนี้อยู่บนข้อมูลผลสำรวจและสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน แต่ความสงบและอารมณ์ของ
สาธารณชนจะเย็นลงได้ขึ้นอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่ของสังคมเป็นผู้ที่เข้าถึงหลักตรรกวิทยาและอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างแท้จริงหรือไม่ แต่โดยทั่วไป
แล้วประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่มักจะเข้าถึงข่าวสารการเมืองในระดับที่ผิวเผินไม่ลงรายละเอียด ดังนั้นการที่จะดึงใจมวลชนกลับคืนมาผู้ชี้แจงต้องใช้สื่อ
ภาษาที่เข้าใจง่ายพร้อมยกตัวอย่างประกอบที่จับต้องได้เป็นเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันของประชาชน
“ในสถานการณ์การเมืองขณะนี้ คนในรัฐบาลที่ออกมาให้สัมภาษณ์ควรระมัดระวังเพราะสถานการณ์อยู่ในสภาวะละเอียดอ่อนมาก การออก
มาตอบโต้โจมตีฝ่ายตรงข้ามมีแต่จะกลายเป็นน้ำมันสุมไฟให้ลุกมากขึ้น บุคลิกภาพของคนในรัฐบาลขณะนี้ควรเป็นคนที่ไม่แข็งกร้าว เพราะถ้ายุยงให้เกิด
สถานการณ์ “ม็อบชนม็อบล้อมปราบ” แล้วรัฐบาลเองก็จะอยู่ลำบากเช่นกัน ในขณะเดียวกันการทำงานของฝ่ายค้านควรซุ่มทำการบ้านเตรียมออกนโยบาย
ที่สามารถครองใจมวลชนให้ได้เพราะบทเรียนในช่วงปลายรัฐบาลนายชวน หลีกภัยสอนได้อย่างดีว่า พรรคการเมืองที่มีนโยบายชัดเจนเป็นรูปธรรมครอง
ใจประชาชนมีโอกาสสูงที่จะได้รับเสียงสนับสนุนในการเลือกตั้ง ไม่ใช่อาศัยกระแสขาลงของรัฐบาลชุดปัจจุบันเพียงอย่างเดียว” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนใจติดตามข่าวเด่นในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การสนใจติดตามข่าว ค่าร้อยละ
1 การชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ ให้นายกรัฐมนตรีลาออก 70.1
2 ปัญหาการเมืองที่ตามมาจากการซื้อขายหุ้นชินฯ 63.3
3 ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 52.1
4 “ปอ ประตูน้ำ” งัดข้อ “เสรีพิสุทธิ์” 43.3
5 การขึ้นค่าโดยสารรถเมล์-บขส. 39.0
6 สอบทุจริตฮั้วประมูลโครงการ กทม. 38.2
7 สถานการณ์ราคาน้ำมัน 37.9
8 นักวิชาการ / นักศึกษาเคลื่อนไหวโจมตีนายกฯ 37.2
9 ผลสะเทือน “สมัครวิจารณ์ป๋าเปรม” 31.2
10 ตรวจสอบทุจริตรถดับเพลิง กทม. 27.3
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตาม ข่าวกรณีศาลรัฐธรรมนูญไม่รับพิจารณาคำร้อง
ของ 27 ส.ว. เรื่องคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การติดตามข่าว ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 53.2
2 ไม่ติดตาม 46.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับกับการที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับพิจารณาคำร้อง
ของ 27 ส.ว. เรื่องคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การยอมรับกับการที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับพิจารณาคำร้องของ 27 ส.วเรื่องคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ยอมรับได้ 35.5
2 ยอมรับไม่ได้ 26.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 38.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 40.3
2 ไม่เชื่อมั่น 32.7
3 ไม่มีความคิดเห็น 27.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็น หากนายกฯ ทักษิณกับคุณสนธิจะสนทนาผ่านทาง
รายการโทรทัศน์
ลำดับที่ ความคิดเห็น หากนายกฯ ทักษิณกับคุณสนธิจะสนทนาผ่านทางรายการโทรทัศน์ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 76.0
2 ไม่เห็นด้วย 13.5
3 ไม่มีความคิดเห็น 10.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำหรับรายการโทรทัศน์ที่ประชาชนอยากให้จัดการสนทนาระหว่างนายกรัฐมนตรีทักษิณ กับนายสนธิ ได้แก่
รายการถึงลูกถึงคน ช่อง 9 / คุยคุ้ยข่าว ช่อง 9 / เมืองไทยรายสัปดาห์ ช่อง news 1/ hot news ช่อง ITV /
คมชัดลึก ช่อง Nation TV / จับประเด็น ช่อง 5 / เรื่องเล่าเช้านี้ ช่อง 3 เป็นต้น
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีที่ฝ่ายค้านผลักดันให้เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
นายกรัฐมนตรีในสภาฯ
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีที่ฝ่ายค้านผลักดันให้เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีในสภาฯ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 61.0
2 ไม่เห็นด้วย 20.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 18.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีบริจาคเงิน
เพื่อสาธารณะประโยชน์
ลำดับที่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีบริจาคเงินเพื่อสาธารณะประโยชน์ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยค่าเฉลี่ยของจำนวนเงินที่ควรบริจาคคือ 10,473,108,654 บาท(ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท) 59.9
2 ไม่เห็นด้วย 11.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 28.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็น หากนายกรัฐมนตรีจะบริจาคเงิน ควรจะบริจาคเพื่อ
ประโยชน์ด้านต่าง ๆ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็น หากนายกรัฐมนตรีจะบริจาคเพื่อประโยชน์ด้านต่าง ๆ ค่าร้อยละ
1 ให้ทุนการศึกษาเด็กด้อยโอกาส 77.0
2 ช่วยเหลือผู้ยากไร้/คนพิการ 72.2
3 แก้ปัญหายาเสพติด 53.1
4 ตั้งกองทุนเพื่อการกู้ยืมประกอบอาชีพ 50.7
5 พัฒนาด้านสาธารณสุข/คุณภาพชีวิต 50.7
6 จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 45.6
7 ปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น 42.7
8 สนับสนุนการกีฬา 39.3
9 รักษาสิ่งแวดล้อม/อนุรักษ์ธรรมชาติ 36.4
10 สนับสนุนการแก้ปัญหาอาชญากรรม 36.1
11 ปฏิรูปการเมืองให้เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ 32.8
12 สนับสนุนการวิจัยด้านวิทยาศาตร์และการแพทย์ 24.8
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
สืบเนื่องจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 8 ต่อ 6 เสียง ไม่รับคำร้องของกลุ่ม 27 สว. ให้วินิจฉัยคุณสมบัติของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี ที่อาจจะขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 209 ไว้พิจารณา ขณะที่กลุ่ม 27 สว. ได้ประกาศยุติการเคลื่อนไหว ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ถือว่าเป็นภาพสะท้อนสภาวะทางการเมืองที่ไม่ปกติ เพราะเข้าสู่ทางตัน และปิดโอกาสให้การเมืองไทยในระบบทำงาน ส่วนสังคมก็สูญเสียโอกาสที่จะได้
รับฟังข้อเท็จจริงว่า นายกฯ เกี่ยวข้องกับบริษัทแอมเพิลริชอย่างไร ดังนั้น ถือว่าสายป่านสุดท้ายของความหวังในศาลรัฐธรรมนูญได้ขาดไปแล้ว ทำให้
เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก ในขณะที่สถานการณ์ทางการเมือง / กระแสของการชุมนุมต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นจากตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีมีระดับความเข้มข้น / รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยหรือไม่ต่อคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงความเชื่อมั่นของ
ประชาชนต่อการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันมีมากน้อยเพียงใด
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพ
มหานครและปริมณฑล ถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีศาลรัฐธรรมนูญไม่รับพิจารณาคำร้องของ สว. เรื่องคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งนายก
รัฐมนตรี ด้วยการส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวศาลรัฐธรรมนูญไม่รับพิจารณาคำร้องของ 27 สว.
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเงินที่ได้จากการขายหุ้นฯ ของนายกรัฐมนตรี
4. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนรู้สึกอย่างไรภายหลังการไม่รับ
พิจารณาคุณสมบัตินายกรัฐมนตรีของศาลรัฐธรรมนูญ และความเห็นต่อกระแสเรียกร้องเงินบริจาคเพื่อสังคมจากการซื้อขายหุ้นชินฯ: กรณีศึกษาประชาชน
ทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,498 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.1 เป็นชาย
ร้อยละ 49.9 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 26.2 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 82.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 16.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 0.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 42.3 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.6 ระบุเป็นนักศึกษา
ร้อยละ 10.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 7.6 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 4.2 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลการสำรวจเรื่อง “ประชาชนรู้สึกอย่างไร
ภายหลังการไม่รับพิจารณาคุณสมบัตินายกรัฐมนตรีของศาลรัฐธรรมนูญ และความเห็นต่อกระแสเรียกร้องเงินบริจาคเพื่อสังคมจากการซื้อขายหุ้นชินฯ” ใน
ครั้งนี้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,498 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2549
ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า ข่าวที่ตัวอย่างสนใจในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา 5 อันดับแรก คือ ข่าวการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ ให้นายก
รัฐมนตรีลาออก (ร้อยละ 70.1) ข่าวปัญหาการเมืองที่ตามมาจากการซื้อขายหุ้นชินฯ (ร้อยละ 63.3) ข่าวความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
(ร้อยละ 52.1) ข่าว “ปอ ประตูน้ำ” งัดข้อ “เสรีพิสุทธิ์” (ร้อยละ 43.3) และข่าวการขึ้นค่าโดยสารรถเมล์-บขส. (ร้อยละ 39.0) ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามเฉพาะข่าวกรณีศาลรัฐธรรมนูญไม่รับพิจารณาคำร้องของ 27 ส.ว. เรื่องคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งนายก
รัฐมนตรี ผลสำรวจพบว่า ประชาชนเกินกว่าครึ่งหนึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 53.2 ติดตาม ในขณะที่ร้อยละ 46.8 ไม่ได้ติดตาม และเมื่อสอบถาม
ประชาชนที่ติดตามข่าวนี้ พบว่าประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 35.5 ยอมรับได้เมื่อศาลฯ ไม่รับพิจารณาคำร้องของ 27 ส.ว. ในขณะที่ร้อย
ละ 26.1 ยอมรับไม่ได้ และร้อยละ 38.4 ไม่มีความเห็น แต่เมื่อสอบถามต่อถึงความเชื่อมั่นต่อการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน ผลสำรวจพบ
ว่า ประชาชนร้อยละ 40.3 เชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 32.7 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 27.0 ไม่มีความเห็น เป็นที่น่าสังเกตว่า จำนวนของประชาชนได้
กระจายออกมาจากกลุ่มไม่มีความเห็นไปอยู่กับกลุ่มที่เชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นในสัดส่วนที่ไม่ค่อยแตกต่างกัน จำนวนของแต่ละฝ่ายมากพอที่จะแสดงให้เห็นพลัง
มวลชน และยิ่งไปกว่านั้นสามารถตีความได้ว่าในการสำรวจครั้งนี้พบประชาชนไม่ถึงครึ่งเชื่อมั่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ผลสำรวจยังพบอีกว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.0 เห็นด้วยถ้านายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรจะสนทนากับ
นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผ่านรายการโทรทัศน์ต่างๆ เช่น รายการถึงลูกถึงคน ช่อง 9 / คุยคุ้ยข่าว ช่อง 9/ เมืองไทยรายสัปดาห์ ช่อง news 1/ hot
news ช่อง ITV / คมชัดลึก ช่อง Nation TV / จับประเด็น ช่อง 5 / เรื่องเล่าเช้านี้ ช่อง 3 เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 13.5 ไม่เห็นด้วย และ
ร้อยละ 10.5 ไม่มีความเห็น
คณะผู้วิจัยยังได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนกรณีที่ฝ่ายค้านผลักดันให้เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีในสภาฯ ผลสำรวจพบ
ว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.0 เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 20.4 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 18.6 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.9 เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีบริจาคเงินเพื่อสาธารณประโยชน์
โดยมีค่าเฉลี่ยของจำนวนเงินที่ควรบริจาคในทรรศนะของประชาชนคือ 10,473,108,654 บาท (ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท) ในขณะที่ร้อยละ 11.8
ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 28.3 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามประชาชนต่อว่าถ้ามีการบริจาคจริง นายกรัฐมนตรีควรจะบริจาคเพื่อประโยชน์ด้านใดบ้าง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 77.0 ระบุว่าควรให้ทุนการศึกษาเด็กด้อยโอกาส รองลงมาคือร้อยละ 72.2 ควรช่วยเหลือ ผู้ยากไร้/คนพิการ ร้อยละ 53.1 แก้ปัญหา
ยาเสพติด ร้อยละ 50.7 ตั้งกองทุนเพื่อการกู้ยืมประกอบอาชีพ ร้อยละ 50.7 เช่นกันระบุควรบริจาคเพื่อพัฒนาด้านสาธารณสุข/คุณภาพชีวิต นอกจากนี้
ยังเห็นว่าควรบริจาคเพื่อจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น สนับสนุนการกีฬา รักษาสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการแก้ปัญหา
อาชญากรรม ปฏิรูปการเมืองให้เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และสนับสนุนการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ตามลำดับ
ดร.นพดล กรรณิกา ผ.อ.เอแบคโพลล์ วิเคราะห์จากผลสำรวจที่ค้นพบว่า นี่เป็นปรากฏการณ์ใหม่ทางการเมืองที่หาคำอธิบายที่สมบูรณ์ได้
ยาก เพราะตัวสถานการณ์ทางการเมืองมีจุดเกิดเหตุเกี่ยวข้องกับตัวผู้นำประเทศโดยตรงไม่ว่าในฐานะนายกรัฐมนตรีหรือผู้นำครอบครัว บุคคลอื่นๆ ที่
แวดล้อมในรัฐบาลจึงประสบกับความยากลำบากที่จะอธิบายให้ประชาชนเข้าใจอย่างชัดเจนแทนนายกรัฐมนตรี และประชาชนก็เฝ้าอย่างใจจดใจจ่อว่า
นายกรัฐมนตรีจะออกมาชี้แจงให้หายคับข้องใจเมื่อไหร่และอย่างไร เพราะที่ผ่านมาการชี้แจงของนายกรัฐมนตรีว่าไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ดูเหมือนว่าไม่ได้
ลดความร้อนแรงของอารมณ์ผู้คนในสังคมได้แต่อย่างใด จนทำให้ประชาชนต้องออกมาช่วยเสนอแนะต่างๆ นานาเป็นจำนวนมาก และผลสำรวจครั้งนี้ก็
ระบุชัดเจนว่า ประชาชนอยากให้มีการบริจาคและเป็นเงินที่มีค่าสูงเป็นหมื่นล้านในการช่วยเหลือด้านการศึกษาให้เด็กที่ยากไร้ด้อยโอกาส/ ช่วยเหลือคน
ยากคนจนและคนพิการ /ช่วยเป็นงบประมาณแก้ปัญหายาเสพติด และอื่นๆ อีกมากรวมไปถึงช่วยเป็นงบด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ แต่ก็
ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีและคนใกล้ชิดจะตัดสินใจว่าสามารถสละเงินจำนวนมากขนาดนั้นให้กับสังคมตามข้อเสนอแนะของประชาชนที่สำรวจพบได้หรือไม่
“อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการบริจาคจริงๆ ก็คงจะหลีกหนีการถูกวิพากษ์วิจารณ์อีกไม่ได้ เพราะตอนนี้นายกรัฐมนตรีกำลังตกอยู่ในสภาวะท่าม
กลางเขาควายสองข้าง (dilemma) คือ จะบริจาคก็อาจโดนวิจารณ์ว่าใช้เงินเพื่อต่ออายุตำแหน่งทางการเมือง แต่ถ้าไม่บริจาคก็โดนกระแสสังคมโจม
ตี ดังนั้นทางออกที่เป็นไปได้สำหรับนายกรัฐมนตรีก็คือ การอธิบายต่อสังคมแบบม้วนเดียวจบโดยรอจังหวะที่สังคมอยู่ในสภาวะสุกงอมทุกสายตาจับจ้องรอ
นายกรัฐมนตรีพูด และวันนั้นก็คงต้องอธิบายทั้งในเชิงกฎหมายและเชิงจริยธรรมของผู้นำ โดยในเชิงกฎหมายนายกรัฐมนตรีอาจออกมาระบุว่าการกระทำ
ใดที่ทำผิดกฎหมายก็ให้ดำเนินไปตามตัวบทกฎหมาย ซึ่งในประเด็นนี้ประชาชนคงไม่ติดใจอะไร แต่ในเชิงจริยธรรม ประชาชนอาจจะไม่ได้รับคำ
ตอบอย่างที่กลุ่มโจมตีนายกฯ กำลังเรียกร้อง เพราะในเชิงจริยธรรม นายกฯ อาจออกมากล่าวในทำนองที่ว่า การรับผิดชอบด้านจริยธรรมจะต้องเป็น
ไปตามหลักจริยธรรมสากลแบบมาตรฐานเดียวกันที่นานาประเทศทั่วโลกยอมรับ เพราะจริยธรรมไม่ควรมีจริยธรรมแบบหนึ่งของผู้นำประเทศและอีกแบบ
หนึ่งของประชาชนทั่วไป” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เหล่านี้คือฐานคติที่คณะผู้วิจัยตั้งขึ้นเพราะอยากเห็นสังคมสงบสุขแต่ถ้าสังคมคาดหวังสูงต่อภาวะความเป็นผู้นำ
ประเทศก็คงต้องขึ้นอยู่กับมโนธรรมของผู้นำ ฐานคติที่คณะผู้วิจัยตั้งขึ้นนี้อยู่บนข้อมูลผลสำรวจและสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน แต่ความสงบและอารมณ์ของ
สาธารณชนจะเย็นลงได้ขึ้นอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่ของสังคมเป็นผู้ที่เข้าถึงหลักตรรกวิทยาและอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างแท้จริงหรือไม่ แต่โดยทั่วไป
แล้วประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่มักจะเข้าถึงข่าวสารการเมืองในระดับที่ผิวเผินไม่ลงรายละเอียด ดังนั้นการที่จะดึงใจมวลชนกลับคืนมาผู้ชี้แจงต้องใช้สื่อ
ภาษาที่เข้าใจง่ายพร้อมยกตัวอย่างประกอบที่จับต้องได้เป็นเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันของประชาชน
“ในสถานการณ์การเมืองขณะนี้ คนในรัฐบาลที่ออกมาให้สัมภาษณ์ควรระมัดระวังเพราะสถานการณ์อยู่ในสภาวะละเอียดอ่อนมาก การออก
มาตอบโต้โจมตีฝ่ายตรงข้ามมีแต่จะกลายเป็นน้ำมันสุมไฟให้ลุกมากขึ้น บุคลิกภาพของคนในรัฐบาลขณะนี้ควรเป็นคนที่ไม่แข็งกร้าว เพราะถ้ายุยงให้เกิด
สถานการณ์ “ม็อบชนม็อบล้อมปราบ” แล้วรัฐบาลเองก็จะอยู่ลำบากเช่นกัน ในขณะเดียวกันการทำงานของฝ่ายค้านควรซุ่มทำการบ้านเตรียมออกนโยบาย
ที่สามารถครองใจมวลชนให้ได้เพราะบทเรียนในช่วงปลายรัฐบาลนายชวน หลีกภัยสอนได้อย่างดีว่า พรรคการเมืองที่มีนโยบายชัดเจนเป็นรูปธรรมครอง
ใจประชาชนมีโอกาสสูงที่จะได้รับเสียงสนับสนุนในการเลือกตั้ง ไม่ใช่อาศัยกระแสขาลงของรัฐบาลชุดปัจจุบันเพียงอย่างเดียว” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนใจติดตามข่าวเด่นในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การสนใจติดตามข่าว ค่าร้อยละ
1 การชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ ให้นายกรัฐมนตรีลาออก 70.1
2 ปัญหาการเมืองที่ตามมาจากการซื้อขายหุ้นชินฯ 63.3
3 ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 52.1
4 “ปอ ประตูน้ำ” งัดข้อ “เสรีพิสุทธิ์” 43.3
5 การขึ้นค่าโดยสารรถเมล์-บขส. 39.0
6 สอบทุจริตฮั้วประมูลโครงการ กทม. 38.2
7 สถานการณ์ราคาน้ำมัน 37.9
8 นักวิชาการ / นักศึกษาเคลื่อนไหวโจมตีนายกฯ 37.2
9 ผลสะเทือน “สมัครวิจารณ์ป๋าเปรม” 31.2
10 ตรวจสอบทุจริตรถดับเพลิง กทม. 27.3
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตาม ข่าวกรณีศาลรัฐธรรมนูญไม่รับพิจารณาคำร้อง
ของ 27 ส.ว. เรื่องคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การติดตามข่าว ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 53.2
2 ไม่ติดตาม 46.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับกับการที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับพิจารณาคำร้อง
ของ 27 ส.ว. เรื่องคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การยอมรับกับการที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับพิจารณาคำร้องของ 27 ส.วเรื่องคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ยอมรับได้ 35.5
2 ยอมรับไม่ได้ 26.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 38.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 40.3
2 ไม่เชื่อมั่น 32.7
3 ไม่มีความคิดเห็น 27.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็น หากนายกฯ ทักษิณกับคุณสนธิจะสนทนาผ่านทาง
รายการโทรทัศน์
ลำดับที่ ความคิดเห็น หากนายกฯ ทักษิณกับคุณสนธิจะสนทนาผ่านทางรายการโทรทัศน์ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 76.0
2 ไม่เห็นด้วย 13.5
3 ไม่มีความคิดเห็น 10.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำหรับรายการโทรทัศน์ที่ประชาชนอยากให้จัดการสนทนาระหว่างนายกรัฐมนตรีทักษิณ กับนายสนธิ ได้แก่
รายการถึงลูกถึงคน ช่อง 9 / คุยคุ้ยข่าว ช่อง 9 / เมืองไทยรายสัปดาห์ ช่อง news 1/ hot news ช่อง ITV /
คมชัดลึก ช่อง Nation TV / จับประเด็น ช่อง 5 / เรื่องเล่าเช้านี้ ช่อง 3 เป็นต้น
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีที่ฝ่ายค้านผลักดันให้เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
นายกรัฐมนตรีในสภาฯ
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีที่ฝ่ายค้านผลักดันให้เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีในสภาฯ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 61.0
2 ไม่เห็นด้วย 20.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 18.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีบริจาคเงิน
เพื่อสาธารณะประโยชน์
ลำดับที่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีบริจาคเงินเพื่อสาธารณะประโยชน์ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยค่าเฉลี่ยของจำนวนเงินที่ควรบริจาคคือ 10,473,108,654 บาท(ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท) 59.9
2 ไม่เห็นด้วย 11.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 28.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็น หากนายกรัฐมนตรีจะบริจาคเงิน ควรจะบริจาคเพื่อ
ประโยชน์ด้านต่าง ๆ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็น หากนายกรัฐมนตรีจะบริจาคเพื่อประโยชน์ด้านต่าง ๆ ค่าร้อยละ
1 ให้ทุนการศึกษาเด็กด้อยโอกาส 77.0
2 ช่วยเหลือผู้ยากไร้/คนพิการ 72.2
3 แก้ปัญหายาเสพติด 53.1
4 ตั้งกองทุนเพื่อการกู้ยืมประกอบอาชีพ 50.7
5 พัฒนาด้านสาธารณสุข/คุณภาพชีวิต 50.7
6 จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 45.6
7 ปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น 42.7
8 สนับสนุนการกีฬา 39.3
9 รักษาสิ่งแวดล้อม/อนุรักษ์ธรรมชาติ 36.4
10 สนับสนุนการแก้ปัญหาอาชญากรรม 36.1
11 ปฏิรูปการเมืองให้เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ 32.8
12 สนับสนุนการวิจัยด้านวิทยาศาตร์และการแพทย์ 24.8
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-