ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ
เรื่อง นักธุรกิจ นักลงทุนชาวต่างชาติคิดอย่างไรต่อประเทศไทย ในฐานะหนึ่งในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน จำนวนทั้งสิ้น
550 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินการโครงการระหว่าง วันที่ 15 กันยายน — 8 ตุลาคม 2551 ผลสำรวจพบว่า
ผู้ที่ถูกศึกษามากกว่า 4 ใน 5 หรือร้อยละ 88.9 ระบุเป็นชาย และร้อยละ 11.1 ระบุเป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 16.8 อายุไม่เกิน 30
ปี ร้อยละ 31.6 อายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 30.1 อายุระหว่าง 41-50 ปี และร้อยละ 21.5 อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ
18.8 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 51.3 ระบุจบการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 29.9 ระบุจบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ในขณะ
ที่ตัวอย่าง ร้อยละ 39.2 ระบุเป็นชาวเอเชีย ร้อยละ 35.8 ระบุเป็นชาวยุโรป ร้อยละ 11.0 ระบุเป็นชาวอเมริกัน และร้อยละ 14.0 ระบุอื่น ๆ
เช่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า สิ่งที่น่ายินดีสำหรับประเทศไทยในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน คือ นักธุรกิจ นักลงทุนชาวต่างชาติที่ได้มาสัมผัส
ประเทศไทยช่วงเวลาสำรวจ พบว่า ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 1 และอันดับที่ 2 ในเรื่องดีๆ หลายด้านที่เกี่ยวข้องกับบรรยากาศการลงทุนใน
กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน ดังนี้
ประเทศไทย ได้อันดับที่สอง หรือร้อยละ 56.2 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด เมื่อถามถึงความเป็นเลิศด้านระบบสาธารณูปโภค รองจาก
ประเทศสิงคโปร์ ที่ได้ร้อยละ 69.6
ประเทศไทย ได้อันดับที่สอง หรือร้อยละ 43.7 เมื่อกล่าวถึงความเป็นเลิศด้านวัตถุดิบที่เพียงพอ เป็นรองจากประเทศจีนที่ได้ร้อยละ 60.8
ประเทศไทย ได้อันดับที่สอง หรือร้อยละ 46.1 เมื่อกล่าวถึงความเป็นเลิศด้านแรงงานท้องถิ่นที่เพียงพอ เป็นรองจากประเทศจีนที่ได้
ร้อยละ 59.9
ประเทศไทย ได้อันดับที่หนึ่ง หรือร้อยละ 52.4 เมื่อกล่าวถึงความเป็นเลิศด้านคุณภาพของแรงงาน ตามมาด้วย ประเทศสิงคโปร์
และประเทศจีน ได้ร้อยละ 50.2 และร้อยละ 40.1 ตามลำดับ
ประเทศไทย ได้อันดับที่สอง หรือร้อยละ 48.3 เมื่อกล่าวถึงความเป็นเลิศด้านความสามารถในการจัดการธุรกิจ รองจากประเทศ
สิงคโปร์ ที่ได้ร้อยละ 65.2
ประเทศไทย ได้อันดับที่สอง หรือร้อยละ 42.7 เมื่อกล่าวถึงความเป็นเลิศด้านโอกาสการเติบโตทางการตลาด เป็นรองจากประเทศจีน
ที่ได้ร้อยละ 53.2
ประเทศไทย ได้อันดับที่สอง หรือร้อยละ 51.0 เมื่อกล่าวถึงความเป็นเลิศด้านคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน เป็นรองจากประเทศ
สิงคโปร์ ที่ได้ร้อยละ 68.7
ประเทศไทย ได้อันดับที่สอง หรือร้อยละ 50.0 เมื่อกล่าวถึงความเป็นเลิศด้านการส่งเสริมการลงทุน เป็นรองจากประเทศสิงคโปร์ ที่ได้
ร้อยละ 54.0
ประเทศไทย ได้อันดับที่สอง หรือร้อยละ 42.0 เมื่อกล่าวถึงความเป็นเลิศด้านผลตอบแทนในการลงทุน เป็นรองจากประเทศจีน ที่ได้ร้อย
ละ 53.0 ส่วนอันดับที่สาม เป็นประเทศสิงคโปร์ ที่ได้ร้อยละ 38.5
ดร.นพดล กล่าวว่า แต่เรื่องที่น่าเศร้า เมื่อกล่าวถึงความรุนแรงทางการเมือง กลับพบว่า ประเทศไทยขณะนี้ได้อันดับที่ 1 หรือร้อยละ
40.4 มากพอๆ กับประเทศพม่า ที่ได้ร้อยละ 38.8 ในเรื่องความรุนแรงทางการเมืองภายในประเทศ
และที่น่าเศร้าอย่างยิ่งคือ ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นมากในลำดับต้นๆ รองจากประเทศอินโดนีเซีย และจีน
คือร้อยละ 37.8 ร้อยละ 32.5 และประเทศไทยได้ร้อยละ 31.9 ตามลำดับ
ส่วนทางออกที่ดีที่สุดของการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยขณะนี้ นักธุรกิจนักลงทุนต่างชาติ มองว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 48.7
ระบุ ต้องเป็นประชาธิปไตยโดยเลือกตั้งใหม่ อันดับที่สอง คือร้อยละ 24.5 ระบุปฏิรูปการเมืองใหม่ ทำให้ได้รัฐบาลที่ดีและฟังเสียงประชาชน และ
อันดับที่สาม หรือร้อยละ 26.8 ระบุอื่นๆ เช่น เจรจาประนีประนอม ไม่รุนแรง และแก้คอรัปชั่น เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวเพิ่มเติมว่า นักการเมืองต้องฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่และเป็นเสียงที่ทันต่อสถานการณ์มากกว่าคนใกล้ชิดรอบข้าง เพื่อ
ให้ประเทศชาติไปรอดและไม่ให้เกิดความสูญเสียไปมากกว่านี้ รัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลอาจจะนำผลวิจัยที่เคยค้นพบเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้มา
พิจารณาดู จะเห็นว่า เสียงของประชาชนส่วนใหญ่ออกมาเป็นแบบ Decisive และสอดคล้องกับเสียงของนักธุรกิจนักลงทุนต่างๆ ชาติว่า ทางแก้ปัญหา
ความรุนแรงทางการเมืองของประเทศไทยต้องเป็นประชาธิปไตยและการเลือกตั้งใหม่ เป็นทางออกที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งทางเลือกหนึ่ง
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจทรรศนะของกลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติต่อความเป็นเลิศและอุปสรรคในปัจจัยด้านสังคม การเมือง
เศรษฐกิจและการลงทุนในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเรื่อง นักธุรกิจ-นักลงทุน
ชาวต่างชาติคิดอย่างไรต่อประเทศไทยในฐานะหนึ่งในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีนดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15
กันยายน — 8 ตุลาคม 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ นัก
ธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ โดยมีเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ขนาดตัวอย่างที่ทำการ
สำรวจ จำนวน 550 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้
วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
คณะผู้วิจัย พนักงานเก็บข้อมูลและประมวลผลรวมทั้งสิ้น 75 คน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านระบบสาธารณูปโภค (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านระบบสาธารณูปโภค ค่าร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 69.6
2 ประเทศไทย 56.2
3 ประเทศจีน 44.9
4 ประเทศมาเลเซีย 38.6
5 ประเทศบรูไน 16.1
6 ประเทศอินโดนีเซีย 10.0
7 ประเทศฟิลิปปินส์ 9.8
8 ประเทศกัมพูชา 7.1
9 ประเทศพม่า 6.1
10 ประเทศเวียดนาม 5.2
11 ประเทศลาว 3.7
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีวัตถุดิบเพียงพอ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีวัตถุดิบเพียงพอ ค่าร้อยละ
1 ประเทศจีน 60.8
2 ประเทศไทย 43.7
3 ประเทศอินโดนีเซีย 35.6
4 ประเทศมาเลเซีย 31.0
5 ประเทศสิงคโปร์ 20.3
6 ประเทศฟิลิปปินส์ 15.4
7 ประเทศเวียดนาม 14.6
8 ประเทศบรูไน 13.1
9 ประเทศพม่า 11.6
10 ประเทศกัมพูชา 9.6
11 ประเทศลาว 7.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านแรงงานท้องถิ่น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านแรงงานท้องถิ่น ค่าร้อยละ
1 ประเทศจีน 59.9
2 ประเทศไทย 46.1
3 ประเทศอินโดนีเซีย 30.9
4 ประเทศฟิลิปปินส์ 30.3
5 ประเทศเวียดนาม 27.5
6 ประเทศสิงคโปร์ 18.6
7 ประเทศมาเลเซีย 16.7
8 ประเทศกัมพูชา 13.8
9 ประเทศพม่า 8.9
10 ประเทศบรูไน 7.2
11 ประเทศลาว 5.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพของแรงงาน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพของแรงงาน ค่าร้อยละ
1 ประเทศไทย 52.4
2 ประเทศสิงคโปร์ 50.2
3 ประเทศจีน 40.1
4 ประเทศมาเลเซีย 31.2
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 23.4
6 ประเทศอินโดนีเซีย 19.1
7 ประเทศเวียดนาม 15.8
8 ประเทศบรูไน 9.9
9 ประเทศพม่า 8.7
10 ประเทศกัมพูชา 7.2
11 ประเทศลาว 5.2
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านความสามารถในการจัดการธุรกิจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านความสามารถในการจัดการธุรกิจ ค่าร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 65.2
2 ประเทศไทย 48.3
3 ประเทศจีน 36.1
4 ประเทศมาเลเซีย 35.1
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 15.4
6 ประเทศเวียดนาม 14.5
7 ประเทศอินโดนีเซีย 13.0
8 ประเทศบรูไน 11.9
9 ประเทศกัมพูชา 7.6
10 ประเทศลาว 7.6
11 ประเทศพม่า 6.1
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านโอกาสการเติบโตทางการตลาด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านโอกาสการเติบโตทางการตลาด ค่าร้อยละ
1 ประเทศจีน 53.2
2 ประเทศไทย 42.7
3 ประเทศเวียดนาม 35.6
4 ประเทศสิงคโปร์ 28.6
5 ประเทศอินโดนีเซีย 25.0
6 ประเทศมาเลเซีย 21.0
7 ประเทศฟิลิปปินส์ 16.1
8 ประเทศกัมพูชา 12.8
9 ประเทศบรูไน 10.8
10 ประเทศลาว 9.5
11 ประเทศพม่า 8.3
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 68.7
2 ประเทศไทย 51.0
3 ประเทศมาเลเซีย 36.2
4 ประเทศบรูไน 23.2
5 ประเทศจีน 19.6
6 ประเทศฟิลิปปินส์ 14.9
7 ประเทศอินโดนีเซีย 11.7
8 ประเทศกัมพูชา 9.0
9 ประเทศลาว 6.4
10 ประเทศเวียดนาม 6.4
11 ประเทศพม่า 4.9
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านการส่งเสริมการลงทุน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านการส่งเสริมการลงทุน ค่าร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 54.0
2 ประเทศไทย 50.0
3 ประเทศจีน 44.3
4 ประเทศมาเลเซีย 29.7
5 ประเทศเวียดนาม 21.5
6 ประเทศอินโดนีเซีย 13.7
7 ประเทศฟิลิปปินส์ 13.3
8 ประเทศบรูไน 10.3
9 ประเทศลาว 6.7
10 ประเทศกัมพูชา 6.5
11 ประเทศพม่า 5.9
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านผลตอบแทนในการลงทุน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านผลตอบแทนในการลงทุน ค่าร้อยละ
1 ประเทศจีน 53.0
2 ประเทศไทย 42.0
3 ประเทศสิงคโปร์ 38.5
4 ประเทศเวียดนาม 28.9
5 ประเทศมาเลเซีย 24.2
6 ประเทศอินโดนีเซีย 21.6
7 ประเทศฟิลิปปินส์ 17.1
8 ประเทศกัมพูชา 10.4
9 ประเทศบรูไน 9.6
10 ประเทศพม่า 7.9
11 ประเทศลาว 5.1
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความรุนแรงทางการเมือง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความรุนแรงทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 ประเทศไทย 40.4
2 ประเทศพม่า 38.8
3 ประเทศอินโดนีเซีย 30.4
4 ประเทศจีน 28.8
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 26.3
6 ประเทศกัมพูชา 25.1
7 ประเทศสิงคโปร์ 17.5
8 ประเทศมาเลเซีย 14.6
9 ประเทศลาว 14.2
10 ประเทศเวียดนาม 12.9
11 ประเทศบรูไน 9.2
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีปัญหาคอร์รัปชั่น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีปัญหาคอร์รัปชั่น ค่าร้อยละ
1 ประเทศอินโดนีเซีย 37.8
2 ประเทศจีน 32.5
3 ประเทศไทย 31.9
4 ประเทศพม่า 27.5
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 27.5
6 ประเทศกัมพูชา 27.1
7 ประเทศเวียดนาม 19.4
8 ประเทศสิงคโปร์ 15.0
9 ประเทศลาว 14.3
10 ประเทศมาเลเซีย 12.9
11 ประเทศบรูไน 11.7
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทางออกแก้วิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบัน
ลำดับที่ ทางออกที่ดีที่สุด ค่าร้อยละ
1 ต้องเป็นประชาธิปไตยโดยเลือกตั้งใหม่ 48.7
2 ปฏิรูปการเมือง ทำให้รัฐบาลเป็นรัฐบาลที่ดี ฟังเสียงประชาชน 24.5
3 อื่นๆ เช่น เจรจาประนีประนอมกัน ไม่รุนแรง แก้คอรัปชั่น เป็นต้น 26.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เรื่อง นักธุรกิจ นักลงทุนชาวต่างชาติคิดอย่างไรต่อประเทศไทย ในฐานะหนึ่งในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน จำนวนทั้งสิ้น
550 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินการโครงการระหว่าง วันที่ 15 กันยายน — 8 ตุลาคม 2551 ผลสำรวจพบว่า
ผู้ที่ถูกศึกษามากกว่า 4 ใน 5 หรือร้อยละ 88.9 ระบุเป็นชาย และร้อยละ 11.1 ระบุเป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 16.8 อายุไม่เกิน 30
ปี ร้อยละ 31.6 อายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 30.1 อายุระหว่าง 41-50 ปี และร้อยละ 21.5 อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ
18.8 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 51.3 ระบุจบการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 29.9 ระบุจบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ในขณะ
ที่ตัวอย่าง ร้อยละ 39.2 ระบุเป็นชาวเอเชีย ร้อยละ 35.8 ระบุเป็นชาวยุโรป ร้อยละ 11.0 ระบุเป็นชาวอเมริกัน และร้อยละ 14.0 ระบุอื่น ๆ
เช่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า สิ่งที่น่ายินดีสำหรับประเทศไทยในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน คือ นักธุรกิจ นักลงทุนชาวต่างชาติที่ได้มาสัมผัส
ประเทศไทยช่วงเวลาสำรวจ พบว่า ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 1 และอันดับที่ 2 ในเรื่องดีๆ หลายด้านที่เกี่ยวข้องกับบรรยากาศการลงทุนใน
กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน ดังนี้
ประเทศไทย ได้อันดับที่สอง หรือร้อยละ 56.2 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด เมื่อถามถึงความเป็นเลิศด้านระบบสาธารณูปโภค รองจาก
ประเทศสิงคโปร์ ที่ได้ร้อยละ 69.6
ประเทศไทย ได้อันดับที่สอง หรือร้อยละ 43.7 เมื่อกล่าวถึงความเป็นเลิศด้านวัตถุดิบที่เพียงพอ เป็นรองจากประเทศจีนที่ได้ร้อยละ 60.8
ประเทศไทย ได้อันดับที่สอง หรือร้อยละ 46.1 เมื่อกล่าวถึงความเป็นเลิศด้านแรงงานท้องถิ่นที่เพียงพอ เป็นรองจากประเทศจีนที่ได้
ร้อยละ 59.9
ประเทศไทย ได้อันดับที่หนึ่ง หรือร้อยละ 52.4 เมื่อกล่าวถึงความเป็นเลิศด้านคุณภาพของแรงงาน ตามมาด้วย ประเทศสิงคโปร์
และประเทศจีน ได้ร้อยละ 50.2 และร้อยละ 40.1 ตามลำดับ
ประเทศไทย ได้อันดับที่สอง หรือร้อยละ 48.3 เมื่อกล่าวถึงความเป็นเลิศด้านความสามารถในการจัดการธุรกิจ รองจากประเทศ
สิงคโปร์ ที่ได้ร้อยละ 65.2
ประเทศไทย ได้อันดับที่สอง หรือร้อยละ 42.7 เมื่อกล่าวถึงความเป็นเลิศด้านโอกาสการเติบโตทางการตลาด เป็นรองจากประเทศจีน
ที่ได้ร้อยละ 53.2
ประเทศไทย ได้อันดับที่สอง หรือร้อยละ 51.0 เมื่อกล่าวถึงความเป็นเลิศด้านคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน เป็นรองจากประเทศ
สิงคโปร์ ที่ได้ร้อยละ 68.7
ประเทศไทย ได้อันดับที่สอง หรือร้อยละ 50.0 เมื่อกล่าวถึงความเป็นเลิศด้านการส่งเสริมการลงทุน เป็นรองจากประเทศสิงคโปร์ ที่ได้
ร้อยละ 54.0
ประเทศไทย ได้อันดับที่สอง หรือร้อยละ 42.0 เมื่อกล่าวถึงความเป็นเลิศด้านผลตอบแทนในการลงทุน เป็นรองจากประเทศจีน ที่ได้ร้อย
ละ 53.0 ส่วนอันดับที่สาม เป็นประเทศสิงคโปร์ ที่ได้ร้อยละ 38.5
ดร.นพดล กล่าวว่า แต่เรื่องที่น่าเศร้า เมื่อกล่าวถึงความรุนแรงทางการเมือง กลับพบว่า ประเทศไทยขณะนี้ได้อันดับที่ 1 หรือร้อยละ
40.4 มากพอๆ กับประเทศพม่า ที่ได้ร้อยละ 38.8 ในเรื่องความรุนแรงทางการเมืองภายในประเทศ
และที่น่าเศร้าอย่างยิ่งคือ ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นมากในลำดับต้นๆ รองจากประเทศอินโดนีเซีย และจีน
คือร้อยละ 37.8 ร้อยละ 32.5 และประเทศไทยได้ร้อยละ 31.9 ตามลำดับ
ส่วนทางออกที่ดีที่สุดของการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยขณะนี้ นักธุรกิจนักลงทุนต่างชาติ มองว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 48.7
ระบุ ต้องเป็นประชาธิปไตยโดยเลือกตั้งใหม่ อันดับที่สอง คือร้อยละ 24.5 ระบุปฏิรูปการเมืองใหม่ ทำให้ได้รัฐบาลที่ดีและฟังเสียงประชาชน และ
อันดับที่สาม หรือร้อยละ 26.8 ระบุอื่นๆ เช่น เจรจาประนีประนอม ไม่รุนแรง และแก้คอรัปชั่น เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวเพิ่มเติมว่า นักการเมืองต้องฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่และเป็นเสียงที่ทันต่อสถานการณ์มากกว่าคนใกล้ชิดรอบข้าง เพื่อ
ให้ประเทศชาติไปรอดและไม่ให้เกิดความสูญเสียไปมากกว่านี้ รัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลอาจจะนำผลวิจัยที่เคยค้นพบเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้มา
พิจารณาดู จะเห็นว่า เสียงของประชาชนส่วนใหญ่ออกมาเป็นแบบ Decisive และสอดคล้องกับเสียงของนักธุรกิจนักลงทุนต่างๆ ชาติว่า ทางแก้ปัญหา
ความรุนแรงทางการเมืองของประเทศไทยต้องเป็นประชาธิปไตยและการเลือกตั้งใหม่ เป็นทางออกที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งทางเลือกหนึ่ง
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจทรรศนะของกลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติต่อความเป็นเลิศและอุปสรรคในปัจจัยด้านสังคม การเมือง
เศรษฐกิจและการลงทุนในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเรื่อง นักธุรกิจ-นักลงทุน
ชาวต่างชาติคิดอย่างไรต่อประเทศไทยในฐานะหนึ่งในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีนดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15
กันยายน — 8 ตุลาคม 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ นัก
ธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ โดยมีเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ขนาดตัวอย่างที่ทำการ
สำรวจ จำนวน 550 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้
วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
คณะผู้วิจัย พนักงานเก็บข้อมูลและประมวลผลรวมทั้งสิ้น 75 คน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านระบบสาธารณูปโภค (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านระบบสาธารณูปโภค ค่าร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 69.6
2 ประเทศไทย 56.2
3 ประเทศจีน 44.9
4 ประเทศมาเลเซีย 38.6
5 ประเทศบรูไน 16.1
6 ประเทศอินโดนีเซีย 10.0
7 ประเทศฟิลิปปินส์ 9.8
8 ประเทศกัมพูชา 7.1
9 ประเทศพม่า 6.1
10 ประเทศเวียดนาม 5.2
11 ประเทศลาว 3.7
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีวัตถุดิบเพียงพอ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีวัตถุดิบเพียงพอ ค่าร้อยละ
1 ประเทศจีน 60.8
2 ประเทศไทย 43.7
3 ประเทศอินโดนีเซีย 35.6
4 ประเทศมาเลเซีย 31.0
5 ประเทศสิงคโปร์ 20.3
6 ประเทศฟิลิปปินส์ 15.4
7 ประเทศเวียดนาม 14.6
8 ประเทศบรูไน 13.1
9 ประเทศพม่า 11.6
10 ประเทศกัมพูชา 9.6
11 ประเทศลาว 7.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านแรงงานท้องถิ่น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านแรงงานท้องถิ่น ค่าร้อยละ
1 ประเทศจีน 59.9
2 ประเทศไทย 46.1
3 ประเทศอินโดนีเซีย 30.9
4 ประเทศฟิลิปปินส์ 30.3
5 ประเทศเวียดนาม 27.5
6 ประเทศสิงคโปร์ 18.6
7 ประเทศมาเลเซีย 16.7
8 ประเทศกัมพูชา 13.8
9 ประเทศพม่า 8.9
10 ประเทศบรูไน 7.2
11 ประเทศลาว 5.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพของแรงงาน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพของแรงงาน ค่าร้อยละ
1 ประเทศไทย 52.4
2 ประเทศสิงคโปร์ 50.2
3 ประเทศจีน 40.1
4 ประเทศมาเลเซีย 31.2
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 23.4
6 ประเทศอินโดนีเซีย 19.1
7 ประเทศเวียดนาม 15.8
8 ประเทศบรูไน 9.9
9 ประเทศพม่า 8.7
10 ประเทศกัมพูชา 7.2
11 ประเทศลาว 5.2
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านความสามารถในการจัดการธุรกิจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านความสามารถในการจัดการธุรกิจ ค่าร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 65.2
2 ประเทศไทย 48.3
3 ประเทศจีน 36.1
4 ประเทศมาเลเซีย 35.1
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 15.4
6 ประเทศเวียดนาม 14.5
7 ประเทศอินโดนีเซีย 13.0
8 ประเทศบรูไน 11.9
9 ประเทศกัมพูชา 7.6
10 ประเทศลาว 7.6
11 ประเทศพม่า 6.1
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านโอกาสการเติบโตทางการตลาด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านโอกาสการเติบโตทางการตลาด ค่าร้อยละ
1 ประเทศจีน 53.2
2 ประเทศไทย 42.7
3 ประเทศเวียดนาม 35.6
4 ประเทศสิงคโปร์ 28.6
5 ประเทศอินโดนีเซีย 25.0
6 ประเทศมาเลเซีย 21.0
7 ประเทศฟิลิปปินส์ 16.1
8 ประเทศกัมพูชา 12.8
9 ประเทศบรูไน 10.8
10 ประเทศลาว 9.5
11 ประเทศพม่า 8.3
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 68.7
2 ประเทศไทย 51.0
3 ประเทศมาเลเซีย 36.2
4 ประเทศบรูไน 23.2
5 ประเทศจีน 19.6
6 ประเทศฟิลิปปินส์ 14.9
7 ประเทศอินโดนีเซีย 11.7
8 ประเทศกัมพูชา 9.0
9 ประเทศลาว 6.4
10 ประเทศเวียดนาม 6.4
11 ประเทศพม่า 4.9
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านการส่งเสริมการลงทุน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านการส่งเสริมการลงทุน ค่าร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 54.0
2 ประเทศไทย 50.0
3 ประเทศจีน 44.3
4 ประเทศมาเลเซีย 29.7
5 ประเทศเวียดนาม 21.5
6 ประเทศอินโดนีเซีย 13.7
7 ประเทศฟิลิปปินส์ 13.3
8 ประเทศบรูไน 10.3
9 ประเทศลาว 6.7
10 ประเทศกัมพูชา 6.5
11 ประเทศพม่า 5.9
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านผลตอบแทนในการลงทุน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านผลตอบแทนในการลงทุน ค่าร้อยละ
1 ประเทศจีน 53.0
2 ประเทศไทย 42.0
3 ประเทศสิงคโปร์ 38.5
4 ประเทศเวียดนาม 28.9
5 ประเทศมาเลเซีย 24.2
6 ประเทศอินโดนีเซีย 21.6
7 ประเทศฟิลิปปินส์ 17.1
8 ประเทศกัมพูชา 10.4
9 ประเทศบรูไน 9.6
10 ประเทศพม่า 7.9
11 ประเทศลาว 5.1
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความรุนแรงทางการเมือง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความรุนแรงทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 ประเทศไทย 40.4
2 ประเทศพม่า 38.8
3 ประเทศอินโดนีเซีย 30.4
4 ประเทศจีน 28.8
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 26.3
6 ประเทศกัมพูชา 25.1
7 ประเทศสิงคโปร์ 17.5
8 ประเทศมาเลเซีย 14.6
9 ประเทศลาว 14.2
10 ประเทศเวียดนาม 12.9
11 ประเทศบรูไน 9.2
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีปัญหาคอร์รัปชั่น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีปัญหาคอร์รัปชั่น ค่าร้อยละ
1 ประเทศอินโดนีเซีย 37.8
2 ประเทศจีน 32.5
3 ประเทศไทย 31.9
4 ประเทศพม่า 27.5
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 27.5
6 ประเทศกัมพูชา 27.1
7 ประเทศเวียดนาม 19.4
8 ประเทศสิงคโปร์ 15.0
9 ประเทศลาว 14.3
10 ประเทศมาเลเซีย 12.9
11 ประเทศบรูไน 11.7
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทางออกแก้วิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบัน
ลำดับที่ ทางออกที่ดีที่สุด ค่าร้อยละ
1 ต้องเป็นประชาธิปไตยโดยเลือกตั้งใหม่ 48.7
2 ปฏิรูปการเมือง ทำให้รัฐบาลเป็นรัฐบาลที่ดี ฟังเสียงประชาชน 24.5
3 อื่นๆ เช่น เจรจาประนีประนอมกัน ไม่รุนแรง แก้คอรัปชั่น เป็นต้น 26.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-