ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง สำรวจความคิดเห็น
ของประชาชนต่อการชุมนุมวันที่ 10 ธ.ค. เพื่อต่อต้านรัฐบาลและคมช. : กรณีศึกษาประชาชนใน 18 จังหวัดของประเทศ รวมทั้งสิ้น 3,067
ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน -7 ธันวาคม 2549
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.1 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำ และเมื่อสอบถามความรู้สึกของตัวอย่างที่มีต่อ
สถานการณ์การเมืองในขณะนี้ พบว่า อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อเรื่องการเมืองเพิ่มขึ้นทุกตัวในการสำรวจล่าสุด จากเดิมที่เคยลดลงในช่วง
ปลายเดือนพฤศจิกายน ได้แก่ ร้อยละ 95.2 ระบุการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 89.6 ในขณะที่ตัวอย่างมากกว่า 2 ใน
3 คือร้อยละ 70.4 ระบุรู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมืองร้อยละ 57.0 ระบุรู้สึกวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมืองเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 30.8 ร้อยละ
34.2 ระบุรู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมืองเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 23.3 ร้อยละ 10.3 ระบุขัดแย้งกับเพื่อนที่ทำงานในเรื่องการเมืองเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อย
ละ 3.5 ร้อยละ 10.6 ระบุขัดแย้งกับเพื่อนบ้านเรื่องการเมืองเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 3.9 และร้อยละ 7.0 ระบุขัดแย้งกับคนในครอบครัวเรื่องการ
เมืองเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 5.4 ตามลำดับ
สำหรับการรับรู้รับทราบของประชาชนกรณีรัฐบาลชุดปัจจุบันประกาศว่าจะทำงานภายในระยะเวลาจำกัดอันสั้น จากนั้นก็จะคืนอำนาจให้กับ
ประชาชนนั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ระบุ รับรู้รับทราบในเรื่องดังกล่าว ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 5 หรือร้อยละ 18.9 ยังไม่ทราบ
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจก็คือความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปจนครบวาระตามที่ประกาศไว้ ซึ่งผลสำรวจพบ
ว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ คือร้อยละ 76.3 ระบุควรให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป ในขณะที่ร้อยละ 8.4 ระบุไม่ควรให้โอกาส และร้อยละ 15.3 ไม่
ระบุความคิดเห็น เมื่อจำแนกออกเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยและผู้ที่ไม่เป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งสองกลุ่มคือร้อยละ
56.9 ของสมาชิกพรรคไทยรักไทยและร้อยละ 78.4 ของประชาชนทั่วไปต่างก็ให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปก่อน
นอกจากนี้ ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีมีคนใกล้ชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นหรือไม่
นั้น ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 68.8 ระบุเชื่อว่ามี ในขณะที่ร้อยละ 18.7 ระบุไม่เชื่อว่ามี และร้อยละ 12.5 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้เมื่อ
สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ค่อยใส่ใจกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ถ้าหากปัญหานั้นเกี่ยวข้องกับคนใกล้ชิดของตนเอง พบ
ว่าตัวอย่างร้อยละ 59.5 ระบุเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น ในขณะที่ร้อยละ 17.8 ระบุไม่เชื่อ และร้อยละ 21.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความเหมาะสมของการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลและ คมช.ในวันที่ 10 ธันวาคมที่จะถึงนี้นั้นผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วน
ใหญ่คือร้อยละ 94.7 ระบุไม่เหมาะสม เมื่อจำแนกประชาชนออกเป็นกลุ่มที่เป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยและไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย พบว่า
ส่วนใหญ่ทั้งสองกลุ่มคือร้อยละ 90.3 และ 95.2 ต่างก็เห็นว่าไม่เหมาะสมในการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลและ คมช. ในวันที่ 10 ธันวาคมนี้ โดยให้เหตุผล
ไว้หลายประการ เช่น เกรงว่าจะทำให้ในหลวงไม่สบายพระทัย /ไม่ต้องการเห็นความวุ่นวาย/ประเทศบอบช้ำมามากแล้ว/รัฐบาลเพิ่งเริ่มทำงานควร
ให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปก่อน / ควรช่วยกันแก้ไขปัญหาของชาติก่อน / อยากให้คนไทยสามัคคีกันให้มากกว่านี้ และควรแก้ปัญหาด้วยเหตุผล เป็น
ต้น อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 5.3 ระบุการชุมนุมประท้วงดังกล่าวมีความเหมาะสม และเมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการชุมนุม
เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลในครั้งนี้เป็นเพราะรัฐบาลกำลังตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นของรัฐบาลทักษิณหรือไม่นั้น ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ
57.1 ระบุคิดว่าใช่ ในขณะที่ร้อยละ 18.0 ระบุคิดว่าไม่ใช่ และร้อยละ 24.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
เมื่อสอบถามตัวอย่างกรณีการชุมนุมขับไล่รัฐบาล ควรเกิดขึ้นเมื่อไหร่นั้น ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ คือร้อยละ 81.4 ระบุไม่ควร
เกิดเลย ในขณะที่ร้อยละ 6.8 ระบุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป ร้อยละ 5.2 ระบุอีกไม่เกิน 3 เดือนข้างหน้า ร้อยละ 3.8 ระบุ 3-6 เดือนและมี
เพียงร้อยละ 2.8 ระบุน่าจะเกิดขึ้นวันนี้เลย
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนขณะนี้กำลังแปรปรวนวกเข้าสู่สภาพเดิมเหมือนช่วงต้นปีที่ผ่าน
มาเพราะความไม่นิ่งของการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลและคมช. ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่กลับมาวิตกกังวล จำนวนมากเริ่มเครียด ขัดแย้ง
และเบื่อหน่ายกับสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศ สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับการปกครองประเทศในอนาคตคือ คนไทยอาจจะไม่สนใจว่าประเทศไทย
จะปกครองด้วยประชาธิปไตยเต็มใบหรือไม่ แต่สนใจและอยากได้การปกครองที่มีความสงบ ประชาชนอยู่ได้อย่างปกติสุข เพราะแม้แต่สมาชิกพรรคไทย
รักไทยที่ถูกศึกษาครั้งนี้ยังให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปและระบุว่าการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลและคมช. เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมกับกาลเวลาขณะนี้
ทางออกที่สังคมน่าจะช่วยกันพิจารณาคือ
ประการแรก กลุ่มเคลื่อนไหวควรจัดชุมนุมในห้วงเวลาที่เหมาะและสมเหตุสมผลมากกว่านี้ เพราะแกนนำผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ทราบดีว่ารัฐบาลชุด
นี้ประกาศว่าจะอยู่เพียงปีเดียว ถ้ารัฐบาลผิดคำพูดการชุมนุมคัดค้านก็น่าจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากขึ้น การจัดชุมนุมตอนนี้อาจถูกมองว่ากำลัง
กวนน้ำให้ขุ่น และกระทบต่อบรรยากาศที่คนไทยส่วนใหญ่ในประเทศกำลังเรียกร้องความสงบและความสมานฉันท์
ประการที่สอง ผู้ใหญ่ที่กำลังบริหารประเทศและดูแลความมั่นคงขณะนี้น่าจะเข้าให้ถึงประชาชนสองกลุ่มคือ กลุ่มต่อต้านรัฐบาล และกลุ่มพลัง
เงียบที่มักจะไม่แสดงตนว่าอยู่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชัดเจน โดยทำความเข้าใจสองเรื่องใหญ่คือ เรื่องวาระของรัฐบาลที่มาทำงานเพียงหนึ่งปีเท่านั้น และ
เรื่องปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นจริงพิสูจน์ได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ชาวบ้านเห็นแล้วเข้าใจได้ง่ายว่า รัฐบาลชุดก่อนสร้างปัญหาต่างๆ ต่อชาติ ไว้อย่าง
ไรบ้าง
ประการที่สาม รัฐบาลและหน่วยงานราชการที่กำลังแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนขณะนี้ควรสปีดในการช่วยเหลือชาวบ้านด้วยการทำ
งานแข่งกับเวลา เนื่องจากความสุขที่จับต้องได้เท่านั้นที่ประชาชนกำลังต้องการและน่าจะสามารถสกัดกั้นการชุมนุมประท้วงได้ดีกว่าการขู่หรือการให้ข่าว
ทางจิตวิทยามวลชนเพียงอย่างเดียว
รายละเอียดโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจอารมณ์ความรู้สึกประชาชนที่มีต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง "สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมวันที่
10 ธ.ค. เพื่อต่อต้านรัฐบาลและคมช. : กรณีศึกษาประชาชนใน 18 จังหวัดของประเทศ " ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 29
พฤศจิกายน -7 ธันวาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ
อุบลราชธานี ชัยภูมิ กระบี่ ตรัง และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,067 คน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาด
เคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.4 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 24.7 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 22.3 อายุระหว่าง 40-49 ปี
ร้อยละ 24.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 19.9 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 5.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 12.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ภาพรวมค่าร้อยละ
1 ทุกวัน เกือบทุกวัน 43.0
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 21.1
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 15.0
4 บางสัปดาห์ไม่ได้ติดตาม 12.1
5 ไม่ได้ติดตามเลย 8.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในปัจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน พฤศจิกายน ธันวาคม ส่วนต่าง
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 89.6 95.2 +5.6
2 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง - 70.4 -
3 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 30.8 57.0 +26.2
4 เครียดต่อเรื่องการเมือง 23.3 34.2 +10.9
6 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 3.9 10.6 +6.7
7 ขัดแย้งกับเพื่อนในที่ทำงานเรื่องการเมือง 3.5 10.3 +6.8
9 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 5.4 7.0 +1.6
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้รับทราบกรณีรัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ามาทำงานในระยะเวลาที่จำกัด
อันสั้น จากนั้นก็จะคืนอำนาจให้ประชาชน
ลำดับที่ การรับรู้รับทราบ ค่าร้อยละ
1 ทราบ 81.1
2 ไม่ทราบ 18.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานแก้ปัญหาประเทศต่อไปจนครบวาระ
สมาชิก ไมใช่สมาชิก ภาพรวม
ลำดับที่ ความคิดเห็น ไทยรักไทย ไทยรักไทย
1 ควรให้โอกาส 56.9 78.4 76.3
2 ไม่ควรให้โอกาส 14.4 7.8 8.4
3 ไม่มีความเห็น 28.7 13.8 15.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อกรณีมีคนใกล้ชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าไปเกี่ยวข้อง
กับปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามี 68.8
2 ไม่เชื่อว่ามี 18.7
3 ไม่มีความเห็น 12.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ค่อยใส่ใจกับปัญหาทุจริต
คอรัปชั่น ถ้าปัญหานั้นเกี่ยวข้องกับคนใกล้ชิดของตนเอง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อ 59.5
2 ไม่เชื่อ 17.8
3 ไม่มีความเห็น 21.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี การชุมนุมเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลชุดนี้เป็นเพราะ
รัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นของรัฐบาลทักษิณ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ภาพรวมค่าร้อยละ
1 คิดว่าใช่ 57.1
2 คิดว่าไม่ใช่ 18.0
3 ไม่มีความเห็น 24.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลในวันที่
10 ธันวาคมที่จะถึงนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น สมาชิกไทยรักไทย ไมใช่สมาชิกไทยรักไทย ภาพรวม
1 เหมาะสม 9.7 4.8 5.3
2 ไม่เหมาะสม 90.3 95.2 94.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ ตัวอย่างที่ระบุไม่เหมาะสมได้ให้เหตุผลดังนี้
1. เพราะเกรงว่าจะทำให้ในหลวงไม่สบายพระทัย
2. ไม่ต้องการเห็นความวุ่นวาย
3. ประเทศบอบช้ำมามากพอแล้ว
4. รัฐบาลเพิ่งเริ่มทำงาน/ควรให้โอกาสทำงานต่อไปก่อน
5. ควรช่วยกันแก้ไขปัญหาของชาติก่อน
6. อยากให้คนไทยสามัคคีกันให้มากกว่านี้
7. ควรแก้ปัญหาด้วยเหตุผล ฯลฯ
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการชุมนุมขับไล่รัฐบาลควรเกิดขึ้นเมื่อไหร่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ภาพรวมค่าร้อยละ
1 วันนี้ 2.8
2 อีกไม่เกิน 3 เดือนข้างหน้า 5.2
3 อีก 3-6 เดือน 3.8
4 มากกว่า 6 เดือนขึ้นไป 6.8
5 ไม่ควรเกิดขึ้นเลย 81.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ของประชาชนต่อการชุมนุมวันที่ 10 ธ.ค. เพื่อต่อต้านรัฐบาลและคมช. : กรณีศึกษาประชาชนใน 18 จังหวัดของประเทศ รวมทั้งสิ้น 3,067
ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน -7 ธันวาคม 2549
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.1 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำ และเมื่อสอบถามความรู้สึกของตัวอย่างที่มีต่อ
สถานการณ์การเมืองในขณะนี้ พบว่า อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อเรื่องการเมืองเพิ่มขึ้นทุกตัวในการสำรวจล่าสุด จากเดิมที่เคยลดลงในช่วง
ปลายเดือนพฤศจิกายน ได้แก่ ร้อยละ 95.2 ระบุการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 89.6 ในขณะที่ตัวอย่างมากกว่า 2 ใน
3 คือร้อยละ 70.4 ระบุรู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมืองร้อยละ 57.0 ระบุรู้สึกวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมืองเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 30.8 ร้อยละ
34.2 ระบุรู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมืองเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 23.3 ร้อยละ 10.3 ระบุขัดแย้งกับเพื่อนที่ทำงานในเรื่องการเมืองเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อย
ละ 3.5 ร้อยละ 10.6 ระบุขัดแย้งกับเพื่อนบ้านเรื่องการเมืองเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 3.9 และร้อยละ 7.0 ระบุขัดแย้งกับคนในครอบครัวเรื่องการ
เมืองเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 5.4 ตามลำดับ
สำหรับการรับรู้รับทราบของประชาชนกรณีรัฐบาลชุดปัจจุบันประกาศว่าจะทำงานภายในระยะเวลาจำกัดอันสั้น จากนั้นก็จะคืนอำนาจให้กับ
ประชาชนนั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ระบุ รับรู้รับทราบในเรื่องดังกล่าว ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 5 หรือร้อยละ 18.9 ยังไม่ทราบ
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจก็คือความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปจนครบวาระตามที่ประกาศไว้ ซึ่งผลสำรวจพบ
ว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ คือร้อยละ 76.3 ระบุควรให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป ในขณะที่ร้อยละ 8.4 ระบุไม่ควรให้โอกาส และร้อยละ 15.3 ไม่
ระบุความคิดเห็น เมื่อจำแนกออกเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยและผู้ที่ไม่เป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งสองกลุ่มคือร้อยละ
56.9 ของสมาชิกพรรคไทยรักไทยและร้อยละ 78.4 ของประชาชนทั่วไปต่างก็ให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปก่อน
นอกจากนี้ ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีมีคนใกล้ชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นหรือไม่
นั้น ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 68.8 ระบุเชื่อว่ามี ในขณะที่ร้อยละ 18.7 ระบุไม่เชื่อว่ามี และร้อยละ 12.5 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้เมื่อ
สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ค่อยใส่ใจกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ถ้าหากปัญหานั้นเกี่ยวข้องกับคนใกล้ชิดของตนเอง พบ
ว่าตัวอย่างร้อยละ 59.5 ระบุเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น ในขณะที่ร้อยละ 17.8 ระบุไม่เชื่อ และร้อยละ 21.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความเหมาะสมของการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลและ คมช.ในวันที่ 10 ธันวาคมที่จะถึงนี้นั้นผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วน
ใหญ่คือร้อยละ 94.7 ระบุไม่เหมาะสม เมื่อจำแนกประชาชนออกเป็นกลุ่มที่เป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยและไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย พบว่า
ส่วนใหญ่ทั้งสองกลุ่มคือร้อยละ 90.3 และ 95.2 ต่างก็เห็นว่าไม่เหมาะสมในการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลและ คมช. ในวันที่ 10 ธันวาคมนี้ โดยให้เหตุผล
ไว้หลายประการ เช่น เกรงว่าจะทำให้ในหลวงไม่สบายพระทัย /ไม่ต้องการเห็นความวุ่นวาย/ประเทศบอบช้ำมามากแล้ว/รัฐบาลเพิ่งเริ่มทำงานควร
ให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปก่อน / ควรช่วยกันแก้ไขปัญหาของชาติก่อน / อยากให้คนไทยสามัคคีกันให้มากกว่านี้ และควรแก้ปัญหาด้วยเหตุผล เป็น
ต้น อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 5.3 ระบุการชุมนุมประท้วงดังกล่าวมีความเหมาะสม และเมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการชุมนุม
เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลในครั้งนี้เป็นเพราะรัฐบาลกำลังตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นของรัฐบาลทักษิณหรือไม่นั้น ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ
57.1 ระบุคิดว่าใช่ ในขณะที่ร้อยละ 18.0 ระบุคิดว่าไม่ใช่ และร้อยละ 24.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
เมื่อสอบถามตัวอย่างกรณีการชุมนุมขับไล่รัฐบาล ควรเกิดขึ้นเมื่อไหร่นั้น ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ คือร้อยละ 81.4 ระบุไม่ควร
เกิดเลย ในขณะที่ร้อยละ 6.8 ระบุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป ร้อยละ 5.2 ระบุอีกไม่เกิน 3 เดือนข้างหน้า ร้อยละ 3.8 ระบุ 3-6 เดือนและมี
เพียงร้อยละ 2.8 ระบุน่าจะเกิดขึ้นวันนี้เลย
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนขณะนี้กำลังแปรปรวนวกเข้าสู่สภาพเดิมเหมือนช่วงต้นปีที่ผ่าน
มาเพราะความไม่นิ่งของการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลและคมช. ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่กลับมาวิตกกังวล จำนวนมากเริ่มเครียด ขัดแย้ง
และเบื่อหน่ายกับสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศ สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับการปกครองประเทศในอนาคตคือ คนไทยอาจจะไม่สนใจว่าประเทศไทย
จะปกครองด้วยประชาธิปไตยเต็มใบหรือไม่ แต่สนใจและอยากได้การปกครองที่มีความสงบ ประชาชนอยู่ได้อย่างปกติสุข เพราะแม้แต่สมาชิกพรรคไทย
รักไทยที่ถูกศึกษาครั้งนี้ยังให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปและระบุว่าการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลและคมช. เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมกับกาลเวลาขณะนี้
ทางออกที่สังคมน่าจะช่วยกันพิจารณาคือ
ประการแรก กลุ่มเคลื่อนไหวควรจัดชุมนุมในห้วงเวลาที่เหมาะและสมเหตุสมผลมากกว่านี้ เพราะแกนนำผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ทราบดีว่ารัฐบาลชุด
นี้ประกาศว่าจะอยู่เพียงปีเดียว ถ้ารัฐบาลผิดคำพูดการชุมนุมคัดค้านก็น่าจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากขึ้น การจัดชุมนุมตอนนี้อาจถูกมองว่ากำลัง
กวนน้ำให้ขุ่น และกระทบต่อบรรยากาศที่คนไทยส่วนใหญ่ในประเทศกำลังเรียกร้องความสงบและความสมานฉันท์
ประการที่สอง ผู้ใหญ่ที่กำลังบริหารประเทศและดูแลความมั่นคงขณะนี้น่าจะเข้าให้ถึงประชาชนสองกลุ่มคือ กลุ่มต่อต้านรัฐบาล และกลุ่มพลัง
เงียบที่มักจะไม่แสดงตนว่าอยู่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชัดเจน โดยทำความเข้าใจสองเรื่องใหญ่คือ เรื่องวาระของรัฐบาลที่มาทำงานเพียงหนึ่งปีเท่านั้น และ
เรื่องปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นจริงพิสูจน์ได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ชาวบ้านเห็นแล้วเข้าใจได้ง่ายว่า รัฐบาลชุดก่อนสร้างปัญหาต่างๆ ต่อชาติ ไว้อย่าง
ไรบ้าง
ประการที่สาม รัฐบาลและหน่วยงานราชการที่กำลังแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนขณะนี้ควรสปีดในการช่วยเหลือชาวบ้านด้วยการทำ
งานแข่งกับเวลา เนื่องจากความสุขที่จับต้องได้เท่านั้นที่ประชาชนกำลังต้องการและน่าจะสามารถสกัดกั้นการชุมนุมประท้วงได้ดีกว่าการขู่หรือการให้ข่าว
ทางจิตวิทยามวลชนเพียงอย่างเดียว
รายละเอียดโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจอารมณ์ความรู้สึกประชาชนที่มีต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง "สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมวันที่
10 ธ.ค. เพื่อต่อต้านรัฐบาลและคมช. : กรณีศึกษาประชาชนใน 18 จังหวัดของประเทศ " ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 29
พฤศจิกายน -7 ธันวาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ
อุบลราชธานี ชัยภูมิ กระบี่ ตรัง และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,067 คน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาด
เคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.4 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 24.7 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 22.3 อายุระหว่าง 40-49 ปี
ร้อยละ 24.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 19.9 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 5.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 12.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ภาพรวมค่าร้อยละ
1 ทุกวัน เกือบทุกวัน 43.0
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 21.1
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 15.0
4 บางสัปดาห์ไม่ได้ติดตาม 12.1
5 ไม่ได้ติดตามเลย 8.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในปัจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน พฤศจิกายน ธันวาคม ส่วนต่าง
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 89.6 95.2 +5.6
2 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง - 70.4 -
3 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 30.8 57.0 +26.2
4 เครียดต่อเรื่องการเมือง 23.3 34.2 +10.9
6 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 3.9 10.6 +6.7
7 ขัดแย้งกับเพื่อนในที่ทำงานเรื่องการเมือง 3.5 10.3 +6.8
9 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 5.4 7.0 +1.6
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้รับทราบกรณีรัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ามาทำงานในระยะเวลาที่จำกัด
อันสั้น จากนั้นก็จะคืนอำนาจให้ประชาชน
ลำดับที่ การรับรู้รับทราบ ค่าร้อยละ
1 ทราบ 81.1
2 ไม่ทราบ 18.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานแก้ปัญหาประเทศต่อไปจนครบวาระ
สมาชิก ไมใช่สมาชิก ภาพรวม
ลำดับที่ ความคิดเห็น ไทยรักไทย ไทยรักไทย
1 ควรให้โอกาส 56.9 78.4 76.3
2 ไม่ควรให้โอกาส 14.4 7.8 8.4
3 ไม่มีความเห็น 28.7 13.8 15.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อกรณีมีคนใกล้ชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าไปเกี่ยวข้อง
กับปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามี 68.8
2 ไม่เชื่อว่ามี 18.7
3 ไม่มีความเห็น 12.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ค่อยใส่ใจกับปัญหาทุจริต
คอรัปชั่น ถ้าปัญหานั้นเกี่ยวข้องกับคนใกล้ชิดของตนเอง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อ 59.5
2 ไม่เชื่อ 17.8
3 ไม่มีความเห็น 21.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี การชุมนุมเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลชุดนี้เป็นเพราะ
รัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นของรัฐบาลทักษิณ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ภาพรวมค่าร้อยละ
1 คิดว่าใช่ 57.1
2 คิดว่าไม่ใช่ 18.0
3 ไม่มีความเห็น 24.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลในวันที่
10 ธันวาคมที่จะถึงนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น สมาชิกไทยรักไทย ไมใช่สมาชิกไทยรักไทย ภาพรวม
1 เหมาะสม 9.7 4.8 5.3
2 ไม่เหมาะสม 90.3 95.2 94.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ ตัวอย่างที่ระบุไม่เหมาะสมได้ให้เหตุผลดังนี้
1. เพราะเกรงว่าจะทำให้ในหลวงไม่สบายพระทัย
2. ไม่ต้องการเห็นความวุ่นวาย
3. ประเทศบอบช้ำมามากพอแล้ว
4. รัฐบาลเพิ่งเริ่มทำงาน/ควรให้โอกาสทำงานต่อไปก่อน
5. ควรช่วยกันแก้ไขปัญหาของชาติก่อน
6. อยากให้คนไทยสามัคคีกันให้มากกว่านี้
7. ควรแก้ปัญหาด้วยเหตุผล ฯลฯ
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการชุมนุมขับไล่รัฐบาลควรเกิดขึ้นเมื่อไหร่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ภาพรวมค่าร้อยละ
1 วันนี้ 2.8
2 อีกไม่เกิน 3 เดือนข้างหน้า 5.2
3 อีก 3-6 เดือน 3.8
4 มากกว่า 6 เดือนขึ้นไป 6.8
5 ไม่ควรเกิดขึ้นเลย 81.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-