ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อ
เหตุการณ์สลายม็อบพันธมิตร: กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,118 ตัวอย่าง ซึ่งมี
ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 90 ติดตามข่าว
การเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์
แต่ที่น่าพิจารณาคือ จากเหตุการณ์สลายม็อบ พันธมิตรที่ผ่านมาจนเกิดการสูญเสียดังที่เป็นข่าวทราบทั่วกันนั้น ส่งผลผลักดันให้ประชาชนที่เคย
มีจุดยืนอยู่ตรงกลางลดน้อยลงเหลือเพียงร้อยละ 9.4 เข้าสู่การเลือกข้าง โดยร้อยละ 47.7 เลือกสนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร และร้อยละ
42.9 เลือกไม่สนับสนุนกลุ่มพันธมิตร
และที่ต้องพิจารณาอย่างยิ่งคือ กลุ่มสนับสนุนพันธมิตรส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.5 เลือกที่จะรักชาติปกป้องสถาบันฯ มากกว่าชีวิตตนเองและ
ครอบครัว เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่สนับสนุนพันธมิตรมีอยู่ร้อยละ 48.0 และกลุ่มสนับสนุนพันธมิตรและไม่สนับสนุนพันธมิตรร้อยละ 40.5 และร้อยละ
52.0 ตามลำดับ เลือกที่จะรักชีวิตของตนเองและครอบครัวมากกว่า
ดร.นพดล กล่าวว่า ประเด็นที่ค้นพบเช่นนี้สำคัญมาก เพราะถ้าแต่ละฝ่ายมองกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ ด้วยอคติหรือมองแบบเหมารวม
(stereotype) ในแง่ร้ายต่อกันก็จะทำให้ไม่สามารถหาทางออกร่วมกันได้ แต่ถ้าทดลองมองหาความดีงามและมองโลกแง่ดีของการเคลื่อนไหวแต่ละ
กลุ่ม ก็จะพบว่า ทุกฝ่ายล้วนมีแต่สิ่งที่ดีงามด้วยกันทั้งนั้น เช่น ฝ่ายสนับสนุนพันธมิตรก็มีอุดมการณ์และพร้อมแสดงออกให้ประจักษ์ว่ารักชาติมากกว่าชีวิตของ
ตนเองและครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดีควรรักษาและหล่อเลี้ยงคนกลุ่มนี้ให้แข็งแกร่งรวมตัวกันไว้ และกลุ่มที่ไม่สนับสนุนพันธมิตรก็มีเหตุผลตามหลัก
ประชาธิปไตยสากล โดยน่าจะเจรจาหาข้อยุติร่วมกันได้ที่ไม่ใช้ความรุนแรงตอบโต้กันไปมาอีก
ผลสำรวจ ยังพบด้วยว่า ประชาชนเกินครึ่งหรือร้อยละ 52.9 ไม่เห็นด้วยกับตำรวจที่ใช้แก๊สน้ำตาเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุม แต่ร้อยละ 47.1
เห็นด้วย และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.9 ไม่เห็นด้วยที่ ส.ส.ฝ่ายค้านและ ส.ว.บางส่วนไม่เข้าประชุมฟังการแถลงนโยบายในรัฐสภา ร้อยละ 76.5
ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มพันธมิตรที่ชุมนุมหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.4 ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มพันธมิตรที่ปิด
ทางเข้า — ออก รัฐสภา และร้อยละ 82.0 ไม่เห็นด้วยกับแพทย์บางคนที่ปฏิเสธการรักษาตำรวจและนักการเมือง
ที่น่าสนใจคือ วิธีการที่ประชาชนอยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติมากที่สุด ในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน คือ ร้อยละ 33.2 ให้ป้องกันการ
สร้างสถานการณ์วุ่นวาย รองลงมาคือ ร้อยละ 22.8 ให้กลับไปป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ ร้อยละ 20.8 ดูแลการชุมนุมให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย
ในขณะที่ เพียงร้อยละ 15.1 เท่านั้นที่ต้องการให้มีการจับกุมและสลายการชุมนุม และร้อยละ 8.1 ระบุให้จัดระเบียบจราจร ตามลำดับ
เมื่อถามถึงทางออกสำหรับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยขณะนี้ พบว่า ร้อยละ 52.4 เห็นด้วยกับการยุบสภา เลือกตั้งใหม่ แต่ร้อย
ละ 47.6 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 49.5 เห็นด้วยกับแนวคิดการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ แต่ร้อยละ 50.5 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 48.1 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐ
ธรรมนูญบางมาตรา แล้วใช้ฉบับ 2550 ต่อไป แต่ร้อยละ 51.9 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 47.3 เห็นด้วยกับการปรับคณะรัฐมนตรีแล้วทำงานต่อไป แต่ร้อย
ละ 52.7 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 45.3 เห็นด้วยกับการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ร้อยละ 54.7 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ
42.2 เห็นด้วยที่นายกรัฐมนตรีควรลาออก แต่ร้อยละ 57.8 ไม่เห็นด้วย ที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ ร้อยละ 14.7 เห็นด้วยกับการยึดอำนาจ แต่ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 85.3 ไม่เห็นด้วย
ดร.นพดล กล่าวเพิ่มเติมว่า เห็นตัวเลขที่สำรวจในประเด็นทางออกของปัญหาการเมืองไทยเช่นนี้ ก็สรุปได้ว่าไม่มีทางออกใดเลยที่จะพบ
ว่าสาธารณชนเห็นพ้องต้องกันเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นเรื่องเดียวที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เอาด้วยคือการยึดอำนาจ เมื่อพิจารณาตัวเลขที่ไม่ใช่เสียงข้างมาก
แบบขาดลอยเช่นนี้ก็น่าปวดหัวกับสถานการณ์การเมืองไทยเหมือนกัน เพราะไม่อาจฟันธงได้ว่าทางออกใดจะโดนใจประชาชนเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อขอให้
ประชาชนเลือกทางออกที่คิดว่าดีที่สุดและตัดสินใจสุดท้ายออกมาในผลสำรวจครั้งนี้ก็พบว่า ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 39.6 บอกว่าการยุบสภา
เลือกตั้งใหม่คือทางออกที่ดีที่สุด รองลงมาคือร้อยละ 14.1 ระบุปรับคณะรัฐมนตรีและทำงานต่อไป ร้อยละ 12.0 คือตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ร้อยละ 10.9
ระบุแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตราแล้วใช้ฉบับ 2550 ต่อไป ร้อยละ 8.3 ระบุตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ร้อยละ 5.9
นายกรัฐมนตรีลาออก และเพียงร้อยละ 2.6 เท่านั้นที่ระบุ การยึดอำนาจคือทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการเมืองไทยขณะนี้
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเหตุการณ์สลายม็อบพันธมิตร เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ที่ผ่านมา
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อเหตุการณ์สลายม็อบ
พันธมิตร: กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 8-9
ตุลาคม พ.ศ. 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มี
อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น
และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,118 ตัวอย่าง ช่วง
ความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบ
รวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุด
ก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 120 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.2 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 35.1 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 27.9 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.1 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 10.7 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 66.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 29.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.7 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 14.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 12.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 9.6 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 6.7 อื่นๆ ได้แก่ แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ เกษตรกร/ชาวนา ตลอดจนผู้ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ การติดตามข่าวประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 72.2
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 15.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 8.2
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 2.2
5 ไม่ได้ติดตาม 1.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นและท่าทีของตนต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ 47.7
2 ไม่สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ 42.9
3 ขออยู่ตรงกลาง 9.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การตัดสินใจเลือกระหว่าง ความรักชาติ ปกป้องสถาบัน กับรักชีวิตตนเองและ
ครอบครัว จำแนกออกระหว่าง ผู้สนับสนุนพันธมิตร และไม่สนับสนุนพันธมิตร
ลำดับที่ การตัดสินใจ เมื่อถึงคราวจำเป็น กลุ่มสนับสนุนพันธมิตร ไม่สนับสนุน พันธมิตร
1 เลือกที่จะรักชาติปกป้องสถาบัน มากกว่าชีวิตตนเองและครอบครัว 59.5 48.0
2 เลือกที่จะรักชีวิตตนเองและครอบครัวมากกว่า 40.5 52.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ความวุ่นวายในวันที่ 7-8 ตุลาคม ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประเด็น เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย รวมทั้งสิ้น
1 ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุม 47.1 52.9 100.0
2 ส.ส.ฝ่ายค้าน และสว. บางส่วน ไม่เข้าประชุมฟังการแถลงนโยบายในรัฐสภา 26.1 73.9 100.0
3 กลุ่มพันธมิตรชุมนุมหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) 23.5 76.5 100.0
4 กลุ่มพันธมิตรปิดทางเข้า-ออกรัฐสภา 18.6 81.4 100.0
5 แพทย์บางคนปฏิเสธการรักษาตำรวจและนักการเมือง 18.0 82.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการที่อยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่มากที่สุด ในสถานการณ์ปัจจุบัน
ลำดับที่ วิธีการที่อยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 ป้องกันการสร้างสถานการณ์วุ่นวาย 33.2
2 กลับไปป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ 22.8
3 ดูแลการชุมนุมให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย 20.8
4 จับกุม สลายการชุมนุม 15.1
5 จัดระเบียบจราจร 8.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อทางออกสำหรับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยขณะนี้
ลำดับที่ ทางออกสำหรับสถานการณ์การเมือง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย รวมทั้งสิ้น
1 ยุบสภา เลือกตั้งใหม่ 52.4 47.6 100.0
2 ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ 49.5 50.5 100.0
3 แก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตรา แล้วใช้ฉบับ 2550 ต่อไป 48.1 51.9 100.0
4 ปรับคณะรัฐมนตรีทำงานต่อไป 47.3 52.7 100.0
5 ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ 45.3 54.7 100.0
6 นายกรัฐมนตรีลาออก 42.2 57.8 100.0
7 การยึดอำนาจ 14.7 85.3 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยขณะนี้
ลำดับที่ ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 ยุบสภา เลือกตั้งใหม่ 39.6
2 ปรับคณะรัฐมนตรีทำงานต่อไป 14.1
3 ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ 12.0
4 แก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตรา แล้วใช้ฉบับ 2550 ต่อไป 10.9
5 ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ 8.3
6 นายกรัฐมนตรีลาออก 5.9
7 การยึดอำนาจ 2.6
8 อื่นๆ อาทิ จับกุมแกนนำ ให้เจรจากัน แยกย้ายและต่างคนต่างอยู่ 6.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เหตุการณ์สลายม็อบพันธมิตร: กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,118 ตัวอย่าง ซึ่งมี
ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 90 ติดตามข่าว
การเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์
แต่ที่น่าพิจารณาคือ จากเหตุการณ์สลายม็อบ พันธมิตรที่ผ่านมาจนเกิดการสูญเสียดังที่เป็นข่าวทราบทั่วกันนั้น ส่งผลผลักดันให้ประชาชนที่เคย
มีจุดยืนอยู่ตรงกลางลดน้อยลงเหลือเพียงร้อยละ 9.4 เข้าสู่การเลือกข้าง โดยร้อยละ 47.7 เลือกสนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร และร้อยละ
42.9 เลือกไม่สนับสนุนกลุ่มพันธมิตร
และที่ต้องพิจารณาอย่างยิ่งคือ กลุ่มสนับสนุนพันธมิตรส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.5 เลือกที่จะรักชาติปกป้องสถาบันฯ มากกว่าชีวิตตนเองและ
ครอบครัว เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่สนับสนุนพันธมิตรมีอยู่ร้อยละ 48.0 และกลุ่มสนับสนุนพันธมิตรและไม่สนับสนุนพันธมิตรร้อยละ 40.5 และร้อยละ
52.0 ตามลำดับ เลือกที่จะรักชีวิตของตนเองและครอบครัวมากกว่า
ดร.นพดล กล่าวว่า ประเด็นที่ค้นพบเช่นนี้สำคัญมาก เพราะถ้าแต่ละฝ่ายมองกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ ด้วยอคติหรือมองแบบเหมารวม
(stereotype) ในแง่ร้ายต่อกันก็จะทำให้ไม่สามารถหาทางออกร่วมกันได้ แต่ถ้าทดลองมองหาความดีงามและมองโลกแง่ดีของการเคลื่อนไหวแต่ละ
กลุ่ม ก็จะพบว่า ทุกฝ่ายล้วนมีแต่สิ่งที่ดีงามด้วยกันทั้งนั้น เช่น ฝ่ายสนับสนุนพันธมิตรก็มีอุดมการณ์และพร้อมแสดงออกให้ประจักษ์ว่ารักชาติมากกว่าชีวิตของ
ตนเองและครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดีควรรักษาและหล่อเลี้ยงคนกลุ่มนี้ให้แข็งแกร่งรวมตัวกันไว้ และกลุ่มที่ไม่สนับสนุนพันธมิตรก็มีเหตุผลตามหลัก
ประชาธิปไตยสากล โดยน่าจะเจรจาหาข้อยุติร่วมกันได้ที่ไม่ใช้ความรุนแรงตอบโต้กันไปมาอีก
ผลสำรวจ ยังพบด้วยว่า ประชาชนเกินครึ่งหรือร้อยละ 52.9 ไม่เห็นด้วยกับตำรวจที่ใช้แก๊สน้ำตาเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุม แต่ร้อยละ 47.1
เห็นด้วย และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.9 ไม่เห็นด้วยที่ ส.ส.ฝ่ายค้านและ ส.ว.บางส่วนไม่เข้าประชุมฟังการแถลงนโยบายในรัฐสภา ร้อยละ 76.5
ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มพันธมิตรที่ชุมนุมหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.4 ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มพันธมิตรที่ปิด
ทางเข้า — ออก รัฐสภา และร้อยละ 82.0 ไม่เห็นด้วยกับแพทย์บางคนที่ปฏิเสธการรักษาตำรวจและนักการเมือง
ที่น่าสนใจคือ วิธีการที่ประชาชนอยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติมากที่สุด ในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน คือ ร้อยละ 33.2 ให้ป้องกันการ
สร้างสถานการณ์วุ่นวาย รองลงมาคือ ร้อยละ 22.8 ให้กลับไปป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ ร้อยละ 20.8 ดูแลการชุมนุมให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย
ในขณะที่ เพียงร้อยละ 15.1 เท่านั้นที่ต้องการให้มีการจับกุมและสลายการชุมนุม และร้อยละ 8.1 ระบุให้จัดระเบียบจราจร ตามลำดับ
เมื่อถามถึงทางออกสำหรับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยขณะนี้ พบว่า ร้อยละ 52.4 เห็นด้วยกับการยุบสภา เลือกตั้งใหม่ แต่ร้อย
ละ 47.6 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 49.5 เห็นด้วยกับแนวคิดการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ แต่ร้อยละ 50.5 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 48.1 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐ
ธรรมนูญบางมาตรา แล้วใช้ฉบับ 2550 ต่อไป แต่ร้อยละ 51.9 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 47.3 เห็นด้วยกับการปรับคณะรัฐมนตรีแล้วทำงานต่อไป แต่ร้อย
ละ 52.7 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 45.3 เห็นด้วยกับการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ร้อยละ 54.7 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ
42.2 เห็นด้วยที่นายกรัฐมนตรีควรลาออก แต่ร้อยละ 57.8 ไม่เห็นด้วย ที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ ร้อยละ 14.7 เห็นด้วยกับการยึดอำนาจ แต่ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 85.3 ไม่เห็นด้วย
ดร.นพดล กล่าวเพิ่มเติมว่า เห็นตัวเลขที่สำรวจในประเด็นทางออกของปัญหาการเมืองไทยเช่นนี้ ก็สรุปได้ว่าไม่มีทางออกใดเลยที่จะพบ
ว่าสาธารณชนเห็นพ้องต้องกันเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นเรื่องเดียวที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เอาด้วยคือการยึดอำนาจ เมื่อพิจารณาตัวเลขที่ไม่ใช่เสียงข้างมาก
แบบขาดลอยเช่นนี้ก็น่าปวดหัวกับสถานการณ์การเมืองไทยเหมือนกัน เพราะไม่อาจฟันธงได้ว่าทางออกใดจะโดนใจประชาชนเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อขอให้
ประชาชนเลือกทางออกที่คิดว่าดีที่สุดและตัดสินใจสุดท้ายออกมาในผลสำรวจครั้งนี้ก็พบว่า ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 39.6 บอกว่าการยุบสภา
เลือกตั้งใหม่คือทางออกที่ดีที่สุด รองลงมาคือร้อยละ 14.1 ระบุปรับคณะรัฐมนตรีและทำงานต่อไป ร้อยละ 12.0 คือตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ร้อยละ 10.9
ระบุแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตราแล้วใช้ฉบับ 2550 ต่อไป ร้อยละ 8.3 ระบุตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ร้อยละ 5.9
นายกรัฐมนตรีลาออก และเพียงร้อยละ 2.6 เท่านั้นที่ระบุ การยึดอำนาจคือทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการเมืองไทยขณะนี้
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเหตุการณ์สลายม็อบพันธมิตร เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ที่ผ่านมา
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อเหตุการณ์สลายม็อบ
พันธมิตร: กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 8-9
ตุลาคม พ.ศ. 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มี
อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น
และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,118 ตัวอย่าง ช่วง
ความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบ
รวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุด
ก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 120 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.2 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 35.1 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 27.9 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.1 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 10.7 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 66.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 29.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.7 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 14.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 12.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 9.6 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 6.7 อื่นๆ ได้แก่ แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ เกษตรกร/ชาวนา ตลอดจนผู้ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ การติดตามข่าวประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 72.2
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 15.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 8.2
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 2.2
5 ไม่ได้ติดตาม 1.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นและท่าทีของตนต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ 47.7
2 ไม่สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ 42.9
3 ขออยู่ตรงกลาง 9.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การตัดสินใจเลือกระหว่าง ความรักชาติ ปกป้องสถาบัน กับรักชีวิตตนเองและ
ครอบครัว จำแนกออกระหว่าง ผู้สนับสนุนพันธมิตร และไม่สนับสนุนพันธมิตร
ลำดับที่ การตัดสินใจ เมื่อถึงคราวจำเป็น กลุ่มสนับสนุนพันธมิตร ไม่สนับสนุน พันธมิตร
1 เลือกที่จะรักชาติปกป้องสถาบัน มากกว่าชีวิตตนเองและครอบครัว 59.5 48.0
2 เลือกที่จะรักชีวิตตนเองและครอบครัวมากกว่า 40.5 52.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ความวุ่นวายในวันที่ 7-8 ตุลาคม ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประเด็น เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย รวมทั้งสิ้น
1 ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุม 47.1 52.9 100.0
2 ส.ส.ฝ่ายค้าน และสว. บางส่วน ไม่เข้าประชุมฟังการแถลงนโยบายในรัฐสภา 26.1 73.9 100.0
3 กลุ่มพันธมิตรชุมนุมหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) 23.5 76.5 100.0
4 กลุ่มพันธมิตรปิดทางเข้า-ออกรัฐสภา 18.6 81.4 100.0
5 แพทย์บางคนปฏิเสธการรักษาตำรวจและนักการเมือง 18.0 82.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการที่อยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่มากที่สุด ในสถานการณ์ปัจจุบัน
ลำดับที่ วิธีการที่อยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 ป้องกันการสร้างสถานการณ์วุ่นวาย 33.2
2 กลับไปป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ 22.8
3 ดูแลการชุมนุมให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย 20.8
4 จับกุม สลายการชุมนุม 15.1
5 จัดระเบียบจราจร 8.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อทางออกสำหรับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยขณะนี้
ลำดับที่ ทางออกสำหรับสถานการณ์การเมือง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย รวมทั้งสิ้น
1 ยุบสภา เลือกตั้งใหม่ 52.4 47.6 100.0
2 ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ 49.5 50.5 100.0
3 แก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตรา แล้วใช้ฉบับ 2550 ต่อไป 48.1 51.9 100.0
4 ปรับคณะรัฐมนตรีทำงานต่อไป 47.3 52.7 100.0
5 ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ 45.3 54.7 100.0
6 นายกรัฐมนตรีลาออก 42.2 57.8 100.0
7 การยึดอำนาจ 14.7 85.3 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยขณะนี้
ลำดับที่ ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 ยุบสภา เลือกตั้งใหม่ 39.6
2 ปรับคณะรัฐมนตรีทำงานต่อไป 14.1
3 ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ 12.0
4 แก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตรา แล้วใช้ฉบับ 2550 ต่อไป 10.9
5 ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ 8.3
6 นายกรัฐมนตรีลาออก 5.9
7 การยึดอำนาจ 2.6
8 อื่นๆ อาทิ จับกุมแกนนำ ให้เจรจากัน แยกย้ายและต่างคนต่างอยู่ 6.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-