ที่มาของโครงการ
ถึงแม้ว่าการเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 2 เมษายนจะผ่านพ้นไป แต่ดูเหมือนว่าสถานการณ์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองก็ยังคงร้อนแรงอยู่
เช่นเดิม และดูเหมือนการเลือกตั้งในครั้งนี้ จะยิ่งทำให้การเคลื่อนไหวทางการเมืองมีความร้อนแรงมากยิ่งขึ้น มีการร้องเรียน และการทำผิด
กฎหมายเลือกตั้งเกิดขึ้นหลายกรณี
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่างๆ ถึงปัญหาที่
เกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งนี้ รวมถึงการทำงานของ กกต. ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะ
นำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตาม
หลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นอารมณ์ และความรู้สึกต่อสถานการณ์ทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง วันที่ 2 เมษายน
3. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นต่อการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
4. เพื่อสำรวจปัญหาที่พบในขณะที่กำลังใช้สิทธิเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้ง
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้อง นำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชนหลัง
การเลือกตั้ง 2 เมษายน: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ดำเนินโครงการในวันที่ 2-3 เมษายน
2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,169 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.0 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.0 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่างร้อยละ 4.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 30.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.0อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 18.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 60.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 33.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 6.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.2 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 15.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 14.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.4 เป็นนักเรียน / นักศึกษาร้อยละ 10.0 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
และร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชนหลัง
การเลือกตั้ง 2 เมษายน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน
ทั้งสิ้น 1,169 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 2-3 เมษายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ เป็นดังนี้
ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าตัวอย่างร้อยละ 70.6
ระบุติดตามทุกวัน/เกือบทุกวัน ร้อยละ 17.9 ระบุติดตาม 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 8.2 ระบุติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 3.3
ระบุไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อกรณีคนที่อยู่ในบริเวณหน่วยเลือกตั้งจะสามารถสังเกตเห็นการลงคะแนนของผู้อื่นได้หรือไม่นั้น พบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.3 คิดว่าสามารถสังเกตเห็นได้ ในขณะที่ร้อยละ 42.7 ไม่คิดว่าสังเกตเห็นได้
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ ความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีปัญหาที่พบในขณะที่กำลังใช้สิทธิเลือกตั้งที่หน่วย
เลือกตั้ง ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 43.7 ระบุปัญหาคือ คูหาเลือกตั้งไม่มีความมิดชิด/หันหลังให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ร้อยละ 34.8 ระบุ
ความล่าช้าในการลงคะแนน และ ร้อยละ 9.5 ระบุเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งไม่อำนวยความสะดวก ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลส่วนใหญ่คิดว่าคนที่อยู่ใน
บริเวณหน่วยเลือกตั้งสามารถสังเกตเห็นการลงคะแนนของตนได้ และเมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการจัดการ
เลือกตั้ง พบว่าประชาชนจำนวนมากไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย
“ผลสำรวจครั้งนี้ น่าจะเป็นข้อมูลให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทำการปรับปรุงรูปแบบการเลือกตั้งใหม่เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน
ที่ตั้งใจไปใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งต่อไป การรณรงค์ให้ประชาชนส่วนใหญ่รับรู้วันเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวไม่น่าจะเป็นความสำเร็จของ กกต. แต่การ
รณรงค์ให้ประชาชนรักที่จะไปเลือกตั้งคือไปด้วยใจรักน่าจะเป็นเป้าหมายของ กกต. มากกว่า การจะสร้างบรรยากาศให้ประชาชนรู้สึกรักที่จะไปเลือก
ตั้งจึงต้องสร้างความมั่นใจว่าการใช้สิทธิของประชาชนในการลงคะแนนได้รับความเคารพในสิทธิและความลับนั้นๆ” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ก่อนที่ผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างเป็นทางการ รัฐบาลควรพิจารณาคะแนนที่จะได้รับอย่างลึกซึ้ง เนื่องจาก การ
ที่จะทำให้ประชาชนทั้งประเทศเกิดพลังในการขับเคลื่อนกลไกต่างๆ ของรัฐบาลจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากประชาชนทั้งกลุ่มที่เลือกและไม่เลือก
แต่ผลสำรวจล่าสุดเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนต่อผู้สมัคร ส.ส. ที่ได้รับคะแนนเลือกตั้งต่ำกว่าคะแนนงดออกเสียง ในผลสำรวจ พบว่า ส่วนใหญ่
หรือกว่าร้อยละ 70 คิดว่าไม่ควรรับตำแหน่ง นั่นหมายความว่า การทำงานของรัฐบาลจะประสบกับแรงเสียดทานได้ ถ้าหากว่าผู้สมัครของพรรครัฐบาล
จำนวนมากได้รับการสนับสนุนจากประชาชนไม่มากเพียงพอ
“การที่จะทำให้พรรครัฐบาลได้ใจสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศให้ใกล้เคียงกับการเลือกตั้งในปี 44 นั้น ตัวแปรสำคัญที่น่า
พิจารณาที่สุดคือการค้นหาบุคคลที่ประชาชนเชื่อถือและให้การยอมรับจากพรรคไทยรักไทยมาแทน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่ทำงานมาอย่างหนักจนได้
ครองใจคนในระดับรากฐานของสังคมแล้ว การตัดสินใจดังกล่าวควรรีบดำเนินการก่อนผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการออกมา มิฉะนั้นแล้ว ประชาชน
อาจไม่ได้มองว่าเป็นการแสดงสปิริตของผู้นำประเทศแต่เป็นการลาออกเพราะจำยอมต่อคะแนนนิยมที่เหลือน้อยเต็มทีจนไม่สามารถทำงานต่อไปได้อย่างมี
ประสิทธิภาพเหมือนในอดีตที่เคยทำได้ การทำการตลาดการเมืองถ้าถึงจุดอิ่มตัวก็ควรถอยไม่เช่นนั้นอาจทำให้ “ทุนทางสังคมการเมืองของไทยรักไทย
(political capital)” จะกลายเป็น “ต้นทุนทางการเมือง (political cost)” ที่มากจนพรรคไทยรักไทยไม่สามารถฟื้นความนิยมและการสนับ
สนุนจากสาธารณชนกลับคืนมาได้” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ผลสำรวจล่าสุด (2-3 เม.ย.) ยังชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงในอารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของ
ประชาชนหลายๆ มิติ ซึ่งผลสำรวจพบว่า แนวโน้มของประชาชนที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนหลังการเลือกตั้งได้แก่ ความวิตกกังวล ความเครียด ความ
ขัดแย้งของคนในครอบครัว ความขัดแย้งกับเพื่อนบ้านและคนอื่นในที่ทำงาน ความเบื่อหน่ายเรื่องการเมือง แนวโน้มของประชาชนในมิติเหล่านี้ลดลงทุก
ตัว อย่างไรก็ตาม แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นกับทรงตัวได้แก่ แนวโน้มของประชาชนที่เรียกร้องให้ยุติการชุมนุมของทุกฝ่าย และให้ทุกกลุ่มหันหน้ามาเจรจากันด้วย
สันติวิธี
โปรดพิจารณารายละเอียดผลสำรวจอื่นๆ ได้ในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 70.6
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 17.9
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 8.2
4 ไม่ได้ติดตามเลย 3.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการจัดเตรียมปากกาและตรายางของเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง
ในการไปเลือกตั้งครั้งนี้
ลำดับที่ การจัดเตรียมของเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง ร้อยละ
1 เตรียมเฉพาะตรายาง 30.3
2 เตรียมทั้งตรายางและปากกา 69.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีความสามารถในการสังเกตเห็นการลงคะแนน
เลือกตั้งโดยบุคคลที่อยู่ในบริเวณหน่วยเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 คิดว่าสังเกตเห็นได้ 57.3
2 ไม่คิดว่าสังเกตเห็นได้ 42.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการทำหน้าที่ของ กกต. ในการจัดการเลือกตั้งครั้งนี้
ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ความเชื่อมั่น 1 มี.ค.ร้อยละ 18 มี.ค.ร้อยละ 22 มี.ค.ร้อยละ 29 มี.ค.ค่าร้อยละ 30 มี.ค.ร้อยละ 31 มี.ค.ร้อยละ 2-3 เม.ย.ร้อยละ
เชื่อมั่น 23.6 27.4 22.8 23.4 24.5 27.8 25.1
ค่อนข้างเชื่อมั่น 15.6 17.3 20.4 16.7 15.8 17.1 15.0
ไม่ค่อยเชื่อมั่น 27.6 26.7 25.9 25.2 24.1 18.4 20.9
ไม่เชื่อมั่น 22.4 15.6 13.1 17.3 19.7 22.3 26.2
ไม่มีความเห็น 10.8 13.0 17.8 17.4 15.9 14.4 12.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่ได้พบในขณะที่กำลังใช้สิทธิเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้ง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่พบในขณะที่กำลังใช้สิทธิเลือกตั้ง ร้อยละ
1 คูหาเลือกตั้งไม่มีความมิดชิด /หันหลังให้กรรมการ 43.7
2 ความล่าช้าในการลงคะแนน 34.8
3 เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งไม่อำนวยความสะดวก 9.5
4 ไม่มีการเรียงลำดับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง/ไม่ได้เรียงตามบ้านเลขที่ 6.5
5 หน่วยเลือกตั้งมีอากาศร้อนมาก 5.5
6 ขั้นตอนในการรับบัตรเลือกตั้งมีความยุ่งยาก 4.5
7 มีหน่วยเลือกตั้งหลายหน่วยอยู่ในบริเวณเดียวกัน 4.5
8 อื่นๆ อาทิ เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งไม่สุภาพ/บัตรเลือกตั้งมีความคล้ายคลึงกันมาก เป็นต้น 3.5
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการรับตำแหน่ง ส.ส.ของผู้สมัครเลือกตั้ง
ในกรณีที่คะแนนที่ได้จากการเลือกตั้งน้อยกว่าคะแนนจากการงดออกเสียง
ลำดับที่ ความคิดเห็น 1 เมษายนร้อยละ 2-3 เมษายนร้อยละ
1 ควรรับตำแหน่ง 10.3 12.4
2 ไม่ควรรับตำแหน่ง 69.6 73.5
3 ไม่มีความเห็น 20.1 14.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การให้ความสำคัญต่อปัญหาการเมืองขณะนี้
การให้ความสำคัญ 9 มี.ค.49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย. 49 2-3 เม.ย 49
ให้ความสำคัญต่อปัญหาการเมืองขณะนี้ 94.8 96.6 95.5 97.3 97.5 96.2
ไม่ให้ความสำคัญ 5.2 3.4 4.5 2.7 2.5 3.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง
ความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง 4 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49 2-3 เม.ย 49
รู้สึกวิตกกังวล 50.7 72.6 74.7 75.3 60.8 54.1
ไม่รู้สึกวิตกกังวล/ไม่มีความเห็น 49.3 27.4 25.3 24.7 39.2 45.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเครียดต่อเรื่องการเมือง
ความเครียดต่อเรื่องการเมือง 12 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49 2-3 เม.ย 49
รู้สึกเครียด 44.9 44.6 45.0 50.8 36.9 30.7
ไม่รู้สึกเครียด 55.1 55.4 55.0 49.2 63.1 69.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว
ความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว 6 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49 2-3 เม.ย 49
มีความขัดแย้ง 27.7 11.0 12.5 12.2 14.9 10.3
ไม่มีความขัดแย้ง 72.3 89.0 87.5 87.8 85.1 89.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับเพื่อนบ้าน
ความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับเพื่อนบ้าน 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49 2-3 เม.ย 49
มีความขัดแย้ง 15.0 14.9 18.6 15.8 12.3
ไม่มีความขัดแย้ง 85.0 85.1 81.4 84.2 87.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนอื่นในที่ทำงาน
ความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนอื่นในที่ทำงาน 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49 2-3 เม.ย 49
มีความขัดแย้ง 15.2 15.1 18.7 18.1 13.8
ไม่มีความขัดแย้ง 84.8 84.9 81.3 81.9 86.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง
รู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 12 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49 2-3 เม.ย 49
เบื่อหน่าย 79.8 73.1 76.0 75.9 67.7 62.4
ไม่เบื่อหน่าย 20.2 26.9 24.0 24.1 32.3 37.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเรียกร้องให้ยุติการชุมนุมของทุกฝ่าย
การเรียกร้องให้ยุติการชุมนุม 9 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49 2-3 เม.ย 49
เรียกร้องให้ยุติการชุมนุม 69.4 76.9 78.6 81.3 82.6 83.1
ไม่เรียกร้อง 30.6 23.1 21.4 18.7 17.4 16.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี
การเรียกร้อง 9 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49 2-3 เม.ย 49
เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธี 92.5 89.0 89.2 90.5 92.8 91.4
ไม่เรียกร้อง 7.5 11.0 10.8 9.5 7.2 8.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ถึงแม้ว่าการเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 2 เมษายนจะผ่านพ้นไป แต่ดูเหมือนว่าสถานการณ์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองก็ยังคงร้อนแรงอยู่
เช่นเดิม และดูเหมือนการเลือกตั้งในครั้งนี้ จะยิ่งทำให้การเคลื่อนไหวทางการเมืองมีความร้อนแรงมากยิ่งขึ้น มีการร้องเรียน และการทำผิด
กฎหมายเลือกตั้งเกิดขึ้นหลายกรณี
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่างๆ ถึงปัญหาที่
เกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งนี้ รวมถึงการทำงานของ กกต. ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะ
นำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตาม
หลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นอารมณ์ และความรู้สึกต่อสถานการณ์ทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง วันที่ 2 เมษายน
3. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นต่อการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
4. เพื่อสำรวจปัญหาที่พบในขณะที่กำลังใช้สิทธิเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้ง
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้อง นำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชนหลัง
การเลือกตั้ง 2 เมษายน: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ดำเนินโครงการในวันที่ 2-3 เมษายน
2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,169 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.0 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.0 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่างร้อยละ 4.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 30.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.0อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 18.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 60.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 33.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 6.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.2 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 15.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 14.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.4 เป็นนักเรียน / นักศึกษาร้อยละ 10.0 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
และร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชนหลัง
การเลือกตั้ง 2 เมษายน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน
ทั้งสิ้น 1,169 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 2-3 เมษายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ เป็นดังนี้
ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าตัวอย่างร้อยละ 70.6
ระบุติดตามทุกวัน/เกือบทุกวัน ร้อยละ 17.9 ระบุติดตาม 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 8.2 ระบุติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 3.3
ระบุไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อกรณีคนที่อยู่ในบริเวณหน่วยเลือกตั้งจะสามารถสังเกตเห็นการลงคะแนนของผู้อื่นได้หรือไม่นั้น พบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.3 คิดว่าสามารถสังเกตเห็นได้ ในขณะที่ร้อยละ 42.7 ไม่คิดว่าสังเกตเห็นได้
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ ความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีปัญหาที่พบในขณะที่กำลังใช้สิทธิเลือกตั้งที่หน่วย
เลือกตั้ง ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 43.7 ระบุปัญหาคือ คูหาเลือกตั้งไม่มีความมิดชิด/หันหลังให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ร้อยละ 34.8 ระบุ
ความล่าช้าในการลงคะแนน และ ร้อยละ 9.5 ระบุเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งไม่อำนวยความสะดวก ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลส่วนใหญ่คิดว่าคนที่อยู่ใน
บริเวณหน่วยเลือกตั้งสามารถสังเกตเห็นการลงคะแนนของตนได้ และเมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการจัดการ
เลือกตั้ง พบว่าประชาชนจำนวนมากไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย
“ผลสำรวจครั้งนี้ น่าจะเป็นข้อมูลให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทำการปรับปรุงรูปแบบการเลือกตั้งใหม่เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน
ที่ตั้งใจไปใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งต่อไป การรณรงค์ให้ประชาชนส่วนใหญ่รับรู้วันเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวไม่น่าจะเป็นความสำเร็จของ กกต. แต่การ
รณรงค์ให้ประชาชนรักที่จะไปเลือกตั้งคือไปด้วยใจรักน่าจะเป็นเป้าหมายของ กกต. มากกว่า การจะสร้างบรรยากาศให้ประชาชนรู้สึกรักที่จะไปเลือก
ตั้งจึงต้องสร้างความมั่นใจว่าการใช้สิทธิของประชาชนในการลงคะแนนได้รับความเคารพในสิทธิและความลับนั้นๆ” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ก่อนที่ผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างเป็นทางการ รัฐบาลควรพิจารณาคะแนนที่จะได้รับอย่างลึกซึ้ง เนื่องจาก การ
ที่จะทำให้ประชาชนทั้งประเทศเกิดพลังในการขับเคลื่อนกลไกต่างๆ ของรัฐบาลจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากประชาชนทั้งกลุ่มที่เลือกและไม่เลือก
แต่ผลสำรวจล่าสุดเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนต่อผู้สมัคร ส.ส. ที่ได้รับคะแนนเลือกตั้งต่ำกว่าคะแนนงดออกเสียง ในผลสำรวจ พบว่า ส่วนใหญ่
หรือกว่าร้อยละ 70 คิดว่าไม่ควรรับตำแหน่ง นั่นหมายความว่า การทำงานของรัฐบาลจะประสบกับแรงเสียดทานได้ ถ้าหากว่าผู้สมัครของพรรครัฐบาล
จำนวนมากได้รับการสนับสนุนจากประชาชนไม่มากเพียงพอ
“การที่จะทำให้พรรครัฐบาลได้ใจสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศให้ใกล้เคียงกับการเลือกตั้งในปี 44 นั้น ตัวแปรสำคัญที่น่า
พิจารณาที่สุดคือการค้นหาบุคคลที่ประชาชนเชื่อถือและให้การยอมรับจากพรรคไทยรักไทยมาแทน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่ทำงานมาอย่างหนักจนได้
ครองใจคนในระดับรากฐานของสังคมแล้ว การตัดสินใจดังกล่าวควรรีบดำเนินการก่อนผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการออกมา มิฉะนั้นแล้ว ประชาชน
อาจไม่ได้มองว่าเป็นการแสดงสปิริตของผู้นำประเทศแต่เป็นการลาออกเพราะจำยอมต่อคะแนนนิยมที่เหลือน้อยเต็มทีจนไม่สามารถทำงานต่อไปได้อย่างมี
ประสิทธิภาพเหมือนในอดีตที่เคยทำได้ การทำการตลาดการเมืองถ้าถึงจุดอิ่มตัวก็ควรถอยไม่เช่นนั้นอาจทำให้ “ทุนทางสังคมการเมืองของไทยรักไทย
(political capital)” จะกลายเป็น “ต้นทุนทางการเมือง (political cost)” ที่มากจนพรรคไทยรักไทยไม่สามารถฟื้นความนิยมและการสนับ
สนุนจากสาธารณชนกลับคืนมาได้” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ผลสำรวจล่าสุด (2-3 เม.ย.) ยังชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงในอารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของ
ประชาชนหลายๆ มิติ ซึ่งผลสำรวจพบว่า แนวโน้มของประชาชนที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนหลังการเลือกตั้งได้แก่ ความวิตกกังวล ความเครียด ความ
ขัดแย้งของคนในครอบครัว ความขัดแย้งกับเพื่อนบ้านและคนอื่นในที่ทำงาน ความเบื่อหน่ายเรื่องการเมือง แนวโน้มของประชาชนในมิติเหล่านี้ลดลงทุก
ตัว อย่างไรก็ตาม แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นกับทรงตัวได้แก่ แนวโน้มของประชาชนที่เรียกร้องให้ยุติการชุมนุมของทุกฝ่าย และให้ทุกกลุ่มหันหน้ามาเจรจากันด้วย
สันติวิธี
โปรดพิจารณารายละเอียดผลสำรวจอื่นๆ ได้ในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 70.6
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 17.9
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 8.2
4 ไม่ได้ติดตามเลย 3.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการจัดเตรียมปากกาและตรายางของเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง
ในการไปเลือกตั้งครั้งนี้
ลำดับที่ การจัดเตรียมของเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง ร้อยละ
1 เตรียมเฉพาะตรายาง 30.3
2 เตรียมทั้งตรายางและปากกา 69.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีความสามารถในการสังเกตเห็นการลงคะแนน
เลือกตั้งโดยบุคคลที่อยู่ในบริเวณหน่วยเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 คิดว่าสังเกตเห็นได้ 57.3
2 ไม่คิดว่าสังเกตเห็นได้ 42.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการทำหน้าที่ของ กกต. ในการจัดการเลือกตั้งครั้งนี้
ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ความเชื่อมั่น 1 มี.ค.ร้อยละ 18 มี.ค.ร้อยละ 22 มี.ค.ร้อยละ 29 มี.ค.ค่าร้อยละ 30 มี.ค.ร้อยละ 31 มี.ค.ร้อยละ 2-3 เม.ย.ร้อยละ
เชื่อมั่น 23.6 27.4 22.8 23.4 24.5 27.8 25.1
ค่อนข้างเชื่อมั่น 15.6 17.3 20.4 16.7 15.8 17.1 15.0
ไม่ค่อยเชื่อมั่น 27.6 26.7 25.9 25.2 24.1 18.4 20.9
ไม่เชื่อมั่น 22.4 15.6 13.1 17.3 19.7 22.3 26.2
ไม่มีความเห็น 10.8 13.0 17.8 17.4 15.9 14.4 12.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่ได้พบในขณะที่กำลังใช้สิทธิเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้ง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่พบในขณะที่กำลังใช้สิทธิเลือกตั้ง ร้อยละ
1 คูหาเลือกตั้งไม่มีความมิดชิด /หันหลังให้กรรมการ 43.7
2 ความล่าช้าในการลงคะแนน 34.8
3 เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งไม่อำนวยความสะดวก 9.5
4 ไม่มีการเรียงลำดับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง/ไม่ได้เรียงตามบ้านเลขที่ 6.5
5 หน่วยเลือกตั้งมีอากาศร้อนมาก 5.5
6 ขั้นตอนในการรับบัตรเลือกตั้งมีความยุ่งยาก 4.5
7 มีหน่วยเลือกตั้งหลายหน่วยอยู่ในบริเวณเดียวกัน 4.5
8 อื่นๆ อาทิ เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งไม่สุภาพ/บัตรเลือกตั้งมีความคล้ายคลึงกันมาก เป็นต้น 3.5
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการรับตำแหน่ง ส.ส.ของผู้สมัครเลือกตั้ง
ในกรณีที่คะแนนที่ได้จากการเลือกตั้งน้อยกว่าคะแนนจากการงดออกเสียง
ลำดับที่ ความคิดเห็น 1 เมษายนร้อยละ 2-3 เมษายนร้อยละ
1 ควรรับตำแหน่ง 10.3 12.4
2 ไม่ควรรับตำแหน่ง 69.6 73.5
3 ไม่มีความเห็น 20.1 14.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การให้ความสำคัญต่อปัญหาการเมืองขณะนี้
การให้ความสำคัญ 9 มี.ค.49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย. 49 2-3 เม.ย 49
ให้ความสำคัญต่อปัญหาการเมืองขณะนี้ 94.8 96.6 95.5 97.3 97.5 96.2
ไม่ให้ความสำคัญ 5.2 3.4 4.5 2.7 2.5 3.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง
ความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง 4 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49 2-3 เม.ย 49
รู้สึกวิตกกังวล 50.7 72.6 74.7 75.3 60.8 54.1
ไม่รู้สึกวิตกกังวล/ไม่มีความเห็น 49.3 27.4 25.3 24.7 39.2 45.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเครียดต่อเรื่องการเมือง
ความเครียดต่อเรื่องการเมือง 12 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49 2-3 เม.ย 49
รู้สึกเครียด 44.9 44.6 45.0 50.8 36.9 30.7
ไม่รู้สึกเครียด 55.1 55.4 55.0 49.2 63.1 69.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว
ความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว 6 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49 2-3 เม.ย 49
มีความขัดแย้ง 27.7 11.0 12.5 12.2 14.9 10.3
ไม่มีความขัดแย้ง 72.3 89.0 87.5 87.8 85.1 89.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับเพื่อนบ้าน
ความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับเพื่อนบ้าน 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49 2-3 เม.ย 49
มีความขัดแย้ง 15.0 14.9 18.6 15.8 12.3
ไม่มีความขัดแย้ง 85.0 85.1 81.4 84.2 87.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนอื่นในที่ทำงาน
ความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนอื่นในที่ทำงาน 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49 2-3 เม.ย 49
มีความขัดแย้ง 15.2 15.1 18.7 18.1 13.8
ไม่มีความขัดแย้ง 84.8 84.9 81.3 81.9 86.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง
รู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 12 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49 2-3 เม.ย 49
เบื่อหน่าย 79.8 73.1 76.0 75.9 67.7 62.4
ไม่เบื่อหน่าย 20.2 26.9 24.0 24.1 32.3 37.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเรียกร้องให้ยุติการชุมนุมของทุกฝ่าย
การเรียกร้องให้ยุติการชุมนุม 9 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49 2-3 เม.ย 49
เรียกร้องให้ยุติการชุมนุม 69.4 76.9 78.6 81.3 82.6 83.1
ไม่เรียกร้อง 30.6 23.1 21.4 18.7 17.4 16.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี
การเรียกร้อง 9 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49 2-3 เม.ย 49
เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธี 92.5 89.0 89.2 90.5 92.8 91.4
ไม่เรียกร้อง 7.5 11.0 10.8 9.5 7.2 8.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-