ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) (Academic
Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจความสุข
เรื่อง ความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness, GDH) ในช่วงเดือนกันยายน — ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กรณีศึกษาประชาชนคนไทย
ใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี เชียงใหม่ นครสวรรค์ ลำปาง แพร่ สมุทรสาคร ระยอง ลพบุรี นครปฐม ชลบุรี
มหาสารคาม สุรินทร์ อุบลราชธานี นครราชสีมา พัทลุง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 3,293 ราย ดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 7-11 ตุลาคม 2551
ผลสำรวจพบว่า ในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่องและยังไม่มี
สัญญาณด้านบวกใดจะทำให้ความสุขมวลรวมของคนไทยเพิ่มสูงขึ้น มีเพียงแต่ปัจจัยบวกที่ช่วยประคับประคองไม่ให้ความสุขคนไทยตกต่ำจนเกินไป ซึ่งผล
วิจัยความสุขล่าสุดลดลงอีกจาก 5.82 ในเดือนสิงหาคม มาอยู่ที่ 5.64 ในการสำรวจล่าสุด จนกล่าวได้ว่าค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคน
ไทยล่าสุดนี้กำลังดิ่งลงสู่ค่าเฉลี่ยที่ไม่แตกต่างไปจากความสุขมวลรวมของคนไทยที่เคยค้นพบในช่วงการบริหารประเทศของรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือก
ตั้งเลยทีเดียว
“โดยปัจจัยสำคัญที่ประชาชนคนไทยมีความสุขต่ำสุดเหลือเพียง 1.98 จากคะแนนเต็ม 10 คือสถานการณ์ปัจจุบันในการชุมนุมของกลุ่ม
เคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับประชาชนจนมีเหตุเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ขณะเดียวกันมี
ปัจจัยด้านบรรยากาศทางการเมืองระดับชาติ และปัจจัยสภาวะเศรษฐกิจระดับประเทศที่ประชาชนมีระดับความสุขเพียง 2.96 และ 3.13 ดังนั้น ฝ่าย
การเมืองน่าจะเร่งกอบกู้ฟื้นฟูความสุขของประชาชนด้วยการเน้นหนักไปที่หลักธรรมาภิบาลที่ประกอบไปด้วย ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ความเสียสละ
และความรวดเร็วฉับไวรับผิดชอบต่อประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียม และเร่งแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนทั้งประเทศโดยเร็ว” ดร.นพดล กล่าว
ผ.อ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวต่อว่า ที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อเทียบกับประชาชนในพื้นที่ภูมิภาค
อื่นๆ พบว่า คนกรุงเทพมีระดับความสุขต่ำสุดในเกือบทุกประเด็นที่ทำการสำรวจ เช่น ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว สุขภาพกาย สุขภาพใจ
บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนภายในชุมชน ความเป็นธรรมในสังคม สภาวะเศรษฐกิจส่วนตัว การเมืองการปกครองระดับประเทศ และสภาวะ
เศรษฐกิจของประเทศ
“ยิ่งไปกว่านั้น ระดับความสุขมวลรวมของประชาชนคนกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม ต่ำกว่าความสุขของประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ ด้วย
เช่นกัน โดยพบว่า ความสุขมวลรวมของคนกรุงเทพฯ อยู่ที่ 5.01 ประชาชนคนภาคใต้มีความสุขต่ำรองสุดท้ายคือ 5.09 ภาคกลางมีความสุขอยู่ที่
5.36 ภาคเหนือมีความสุขอยู่ที่ 5.34 และประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสุขสูงสุดคือ อยู่ที่ 6.40 ส่วนปัจจัยด้านบวกที่ช่วยประคับประคอง
ความสุขของประชาชนไว้ได้ระดับหนึ่งคือ ความจงรักภักดี ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว หมายความว่า ถึงแม้ประชาชนอาจมีความทุกข์มาจากปัจจัย
ภายนอกบ้านมากเพียงใด แต่เมื่อกลับเข้ามาในบ้าน ส่วนใหญ่ยังคงพบกับความสุขที่ได้รับจากคนภายในครอบครัว นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบวกด้านสุขภาพ
กายและสุขภาพใจเป็นตัวหนุนเสริมความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศ กล่าวคือ ประชาชนคนไทยจะสุขหรือทุกข์ขึ้นอยู่กับสภาวะด้านร่ายกาย
และจิตใจเป็นสำคัญด้วยเช่นกัน” ดร.นพดล กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศในช่วงเดือนกันยายน — ต้นเดือนตุลาคม 2551
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR แองเคอร์) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “รายงานดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทย
ในช่วงเดือนกันยายน — ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 7-11
ตุลาคม 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ หัวหน้าครัวเรือน หรือผู้
ที่มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี เชียงใหม่ นครสวรรค์ ลำปาง แพร่ สมุทรสาคร
ระยอง ลพบุรี นครปฐม ชลบุรี มหาสารคาม สุรินทร์ อุบลราชธานี นครราชสีมา พัทลุง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เทคนิควิธีการสุ่ม
ตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะ
โน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,293 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการ
กำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลัง
จากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้
ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น 147 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 61.3 เป็นหญิง
ร้อยละ 38.7 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 0.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 29.8 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 26.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และ ร้อยละ21.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ73.8 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 24.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.3 อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
13.2 เป็นพนักงานเอกชน/ลูกจ้างเอกชน
41.7 มีธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ/ค้าขาย
0.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
21.3 รับจ้างทั่วไป/รับจ้างใช้แรงงาน
4.9 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
7.6 เป็นเกษตรกร/ประมง/ ทำสวน/ทำไร่
และ 3.8 ว่างงาน/ไม่มีรายได้/ไม่ประกอบอาชีพ/ตกงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือนกันยายน -ต้นเดือนตุลาคม 2551
เปรียบเทียบกับช่วงเวลาต่างๆ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 เมื่อคะแนนเต็ม 10
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม ต.ค.49 พ.ย.- ม.ค.50 ก.พ.50 เม.ย.50 พ.ค.- ก.ย.50 ต.ค.50 เม.ย.51 ก.ค. 51 ส.ค. 51 ก.ย. 51
ของคนไทยภายในประเทศ ธ.ค.49 ก.ค.50
(Gross Domestic Happiness) 4.86 5.74 5.68 5.66 5.11 5.02 5.94 6.9 6.3 6.08 5.82 5.64
ตารางที่ 2 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ค่าคะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย
(คะแนนเต็ม 10)
1 ความจงรักภักดี 9.15
2 บรรยากาศ ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว 7.29
3 สุขภาพกาย 6.75
4 สุขภาพใจ 6.59
5 วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ในปัจจุบัน 5.76
6 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน 5.63
7 การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดีที่ท่านได้รับ 5.58
8 วัฒนธรรมประเพณีระดับประเทศ ในปัจจุบัน 5.54
9 สภาพแวดล้อม ถนน ไฟฟ้า ดิน อากาศ น้ำ 5.43
10 ความเป็นธรรมในสังคมที่ท่านได้รับ 4.9
11 สภาวะเศรษฐกิจของตัวท่าน 4.43
12 การเมือง การปกครอง ในระดับท้องถิ่น 4.02
13 สภาวะเศรษฐกิจของประเทศชาติ 3.13
14 การเมือง การปกครอง ระดับชาติ 2.96
15 สถานการณ์ปัจจุบันในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรกลุ่ม นปช.รวมถึงเหตุปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับประชาชน เป็นต้น 1.98
ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน จำแนกตามภูมิภาคต่างๆ
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ เหนือ กลาง ตะวันออก เฉียงเหนือ ใต้ กทม.
ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข
1 ความจงรักภักดี 9.1 9.12 9.14 9.16 9.05
2 บรรยากาศ ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว 7.47 7.4 8.21 7.07 6.88
3 สุขภาพกาย 6.99 6.79 7.26 6.6 6.41
4 สุขภาพใจ 6.73 6.7 7.29 6.41 6.29
5 สภาพแวดล้อม ถนน ไฟฟ้า ดิน อากาศ น้ำ 5.49 5.89 6.24 5.05 5.49
6 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน 5.81 5.6 7 5.4 5.29
7 วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ในปัจจุบัน 6.02 5.6 7.68 5.39 5.34
8 การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดีที่ท่านได้รับ 5.57 5.48 7.11 5.37 4.99
9 วัฒนธรรมประเพณีระดับประเทศ ในปัจจุบัน 5.53 5.39 7.26 5.33 4.85
10 ความเป็นธรรมในสังคมที่ท่านได้รับ 4.94 4.98 6.16 4.63 4.58
11 การเมือง การปกครอง ในระดับท้องถิ่น 4.14 4.24 5.19 4.05 3.6
12 สภาวะเศรษฐกิจของตัวท่าน 4.47 4.28 4.96 4.45 3.98
13 การเมือง การปกครอง ระดับชาติ 2.79 2.81 4.07 3.06 2.77
14 สภาวะเศรษฐกิจของประเทศชาติ 2.99 2.98 3.81 3.1 2.98
15 สถานการณ์ปัจจุบันในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร กลุ่ม นปช. -
รวมถึงเหตุปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับประชาชน เป็นต้น 1.66 2.01 1.95 2.83 1.05
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนประจำเดือน -
กันยายน — ต้นเดือนตุลาคม 2551 5.3 5.4 6.4 5.1 5
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจความสุข
เรื่อง ความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness, GDH) ในช่วงเดือนกันยายน — ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กรณีศึกษาประชาชนคนไทย
ใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี เชียงใหม่ นครสวรรค์ ลำปาง แพร่ สมุทรสาคร ระยอง ลพบุรี นครปฐม ชลบุรี
มหาสารคาม สุรินทร์ อุบลราชธานี นครราชสีมา พัทลุง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 3,293 ราย ดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 7-11 ตุลาคม 2551
ผลสำรวจพบว่า ในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่องและยังไม่มี
สัญญาณด้านบวกใดจะทำให้ความสุขมวลรวมของคนไทยเพิ่มสูงขึ้น มีเพียงแต่ปัจจัยบวกที่ช่วยประคับประคองไม่ให้ความสุขคนไทยตกต่ำจนเกินไป ซึ่งผล
วิจัยความสุขล่าสุดลดลงอีกจาก 5.82 ในเดือนสิงหาคม มาอยู่ที่ 5.64 ในการสำรวจล่าสุด จนกล่าวได้ว่าค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคน
ไทยล่าสุดนี้กำลังดิ่งลงสู่ค่าเฉลี่ยที่ไม่แตกต่างไปจากความสุขมวลรวมของคนไทยที่เคยค้นพบในช่วงการบริหารประเทศของรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือก
ตั้งเลยทีเดียว
“โดยปัจจัยสำคัญที่ประชาชนคนไทยมีความสุขต่ำสุดเหลือเพียง 1.98 จากคะแนนเต็ม 10 คือสถานการณ์ปัจจุบันในการชุมนุมของกลุ่ม
เคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับประชาชนจนมีเหตุเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ขณะเดียวกันมี
ปัจจัยด้านบรรยากาศทางการเมืองระดับชาติ และปัจจัยสภาวะเศรษฐกิจระดับประเทศที่ประชาชนมีระดับความสุขเพียง 2.96 และ 3.13 ดังนั้น ฝ่าย
การเมืองน่าจะเร่งกอบกู้ฟื้นฟูความสุขของประชาชนด้วยการเน้นหนักไปที่หลักธรรมาภิบาลที่ประกอบไปด้วย ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ความเสียสละ
และความรวดเร็วฉับไวรับผิดชอบต่อประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียม และเร่งแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนทั้งประเทศโดยเร็ว” ดร.นพดล กล่าว
ผ.อ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวต่อว่า ที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อเทียบกับประชาชนในพื้นที่ภูมิภาค
อื่นๆ พบว่า คนกรุงเทพมีระดับความสุขต่ำสุดในเกือบทุกประเด็นที่ทำการสำรวจ เช่น ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว สุขภาพกาย สุขภาพใจ
บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนภายในชุมชน ความเป็นธรรมในสังคม สภาวะเศรษฐกิจส่วนตัว การเมืองการปกครองระดับประเทศ และสภาวะ
เศรษฐกิจของประเทศ
“ยิ่งไปกว่านั้น ระดับความสุขมวลรวมของประชาชนคนกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม ต่ำกว่าความสุขของประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ ด้วย
เช่นกัน โดยพบว่า ความสุขมวลรวมของคนกรุงเทพฯ อยู่ที่ 5.01 ประชาชนคนภาคใต้มีความสุขต่ำรองสุดท้ายคือ 5.09 ภาคกลางมีความสุขอยู่ที่
5.36 ภาคเหนือมีความสุขอยู่ที่ 5.34 และประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสุขสูงสุดคือ อยู่ที่ 6.40 ส่วนปัจจัยด้านบวกที่ช่วยประคับประคอง
ความสุขของประชาชนไว้ได้ระดับหนึ่งคือ ความจงรักภักดี ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว หมายความว่า ถึงแม้ประชาชนอาจมีความทุกข์มาจากปัจจัย
ภายนอกบ้านมากเพียงใด แต่เมื่อกลับเข้ามาในบ้าน ส่วนใหญ่ยังคงพบกับความสุขที่ได้รับจากคนภายในครอบครัว นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบวกด้านสุขภาพ
กายและสุขภาพใจเป็นตัวหนุนเสริมความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศ กล่าวคือ ประชาชนคนไทยจะสุขหรือทุกข์ขึ้นอยู่กับสภาวะด้านร่ายกาย
และจิตใจเป็นสำคัญด้วยเช่นกัน” ดร.นพดล กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศในช่วงเดือนกันยายน — ต้นเดือนตุลาคม 2551
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR แองเคอร์) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “รายงานดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทย
ในช่วงเดือนกันยายน — ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 7-11
ตุลาคม 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ หัวหน้าครัวเรือน หรือผู้
ที่มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี เชียงใหม่ นครสวรรค์ ลำปาง แพร่ สมุทรสาคร
ระยอง ลพบุรี นครปฐม ชลบุรี มหาสารคาม สุรินทร์ อุบลราชธานี นครราชสีมา พัทลุง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เทคนิควิธีการสุ่ม
ตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะ
โน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,293 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการ
กำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลัง
จากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้
ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น 147 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 61.3 เป็นหญิง
ร้อยละ 38.7 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 0.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 29.8 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 26.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และ ร้อยละ21.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ73.8 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 24.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.3 อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
13.2 เป็นพนักงานเอกชน/ลูกจ้างเอกชน
41.7 มีธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ/ค้าขาย
0.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
21.3 รับจ้างทั่วไป/รับจ้างใช้แรงงาน
4.9 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
7.6 เป็นเกษตรกร/ประมง/ ทำสวน/ทำไร่
และ 3.8 ว่างงาน/ไม่มีรายได้/ไม่ประกอบอาชีพ/ตกงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือนกันยายน -ต้นเดือนตุลาคม 2551
เปรียบเทียบกับช่วงเวลาต่างๆ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 เมื่อคะแนนเต็ม 10
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม ต.ค.49 พ.ย.- ม.ค.50 ก.พ.50 เม.ย.50 พ.ค.- ก.ย.50 ต.ค.50 เม.ย.51 ก.ค. 51 ส.ค. 51 ก.ย. 51
ของคนไทยภายในประเทศ ธ.ค.49 ก.ค.50
(Gross Domestic Happiness) 4.86 5.74 5.68 5.66 5.11 5.02 5.94 6.9 6.3 6.08 5.82 5.64
ตารางที่ 2 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ค่าคะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย
(คะแนนเต็ม 10)
1 ความจงรักภักดี 9.15
2 บรรยากาศ ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว 7.29
3 สุขภาพกาย 6.75
4 สุขภาพใจ 6.59
5 วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ในปัจจุบัน 5.76
6 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน 5.63
7 การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดีที่ท่านได้รับ 5.58
8 วัฒนธรรมประเพณีระดับประเทศ ในปัจจุบัน 5.54
9 สภาพแวดล้อม ถนน ไฟฟ้า ดิน อากาศ น้ำ 5.43
10 ความเป็นธรรมในสังคมที่ท่านได้รับ 4.9
11 สภาวะเศรษฐกิจของตัวท่าน 4.43
12 การเมือง การปกครอง ในระดับท้องถิ่น 4.02
13 สภาวะเศรษฐกิจของประเทศชาติ 3.13
14 การเมือง การปกครอง ระดับชาติ 2.96
15 สถานการณ์ปัจจุบันในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรกลุ่ม นปช.รวมถึงเหตุปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับประชาชน เป็นต้น 1.98
ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน จำแนกตามภูมิภาคต่างๆ
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ เหนือ กลาง ตะวันออก เฉียงเหนือ ใต้ กทม.
ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข
1 ความจงรักภักดี 9.1 9.12 9.14 9.16 9.05
2 บรรยากาศ ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว 7.47 7.4 8.21 7.07 6.88
3 สุขภาพกาย 6.99 6.79 7.26 6.6 6.41
4 สุขภาพใจ 6.73 6.7 7.29 6.41 6.29
5 สภาพแวดล้อม ถนน ไฟฟ้า ดิน อากาศ น้ำ 5.49 5.89 6.24 5.05 5.49
6 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน 5.81 5.6 7 5.4 5.29
7 วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ในปัจจุบัน 6.02 5.6 7.68 5.39 5.34
8 การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดีที่ท่านได้รับ 5.57 5.48 7.11 5.37 4.99
9 วัฒนธรรมประเพณีระดับประเทศ ในปัจจุบัน 5.53 5.39 7.26 5.33 4.85
10 ความเป็นธรรมในสังคมที่ท่านได้รับ 4.94 4.98 6.16 4.63 4.58
11 การเมือง การปกครอง ในระดับท้องถิ่น 4.14 4.24 5.19 4.05 3.6
12 สภาวะเศรษฐกิจของตัวท่าน 4.47 4.28 4.96 4.45 3.98
13 การเมือง การปกครอง ระดับชาติ 2.79 2.81 4.07 3.06 2.77
14 สภาวะเศรษฐกิจของประเทศชาติ 2.99 2.98 3.81 3.1 2.98
15 สถานการณ์ปัจจุบันในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร กลุ่ม นปช. -
รวมถึงเหตุปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับประชาชน เป็นต้น 1.66 2.01 1.95 2.83 1.05
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนประจำเดือน -
กันยายน — ต้นเดือนตุลาคม 2551 5.3 5.4 6.4 5.1 5
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
--เอแบคโพลล์--
-พห-