ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง ความคิดเห็นต่อการจัด
เวทีสาธารณะประชันแนวคิดของหัวหน้าพรรคการเมืองในการแก้ปัญหาของประเทศ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 15 จังหวัดของ
ประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ลำปาง ตาก ลพบุรี อยุธยา ชลบุรี ตราด ขอนแก่น อุบลราชธานี หนองคาย อุดรธานี นครราชสีมา
สงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,812 คน ในวันที่ 25 กรกฎาคม — 5 สิงหาคม 2549
จากการสำรวจการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 76.3 ติดตามข่าวการ
เมืองอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ เมื่อสอบถามถึงความอยากเห็นอยากฟังพรรคการเมืองต่างๆ มาแสดงแนวคิดแก้ไขปัญหาของประเทศบนเวทีพร้อมกัน
พบว่า ตัวอย่างสูงถึง ร้อยละ 85.2 มีความสนใจอยากเห็น อยากฟัง ในขณะที่ร้อยละ 14.8 ไม่อยากเห็นไม่อยากฟัง
ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.7 ของตัวอย่างทั้งหมดระบุอยากเห็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทยบนเวทีแข่งขันสาธารณะประชันแนวคิด
รองลงมาร้อยละ 88.6 อยากเห็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 63.6 อยากเห็นหัวหน้าพรรคชาติไทยตามลำดับ ทางด้านองค์กรที่ควรเป็นคน
กลางจัดงาน ตัวอย่างร้อยละ 36.4 เห็นว่าควรเป็นเครือข่ายประชาชนเพื่อการเลือกตั้ง (P-Net) / องค์กรกลาง รองลงมาร้อยละ 19.6 เห็นว่า
ควรเป็นสื่อมวลชน และร้อยละ 15.6 เห็นว่าควรเป็นสถาบันการศึกษา ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงประเด็นที่ควรนำมาแข่งขันแสดงแนวคิดแก้ไขปัญหาประเทศให้ประชาชนรับทราบ พบว่า อันดับแรกหรือร้อย
ละ 96.0 อยากให้หัวหน้าพรรคประชันแนวคิดแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการพระราชดำริต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รอง
ลงมาคือร้อยละ 95.6 อยากให้หัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ ประชันแนวคิดแนวทางส่งเสริมให้ประชาชนใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ
95.5 ระบุเป็นเรื่องปัญหาความขัดแย้งแตกแยกของคนในชาติ ร้อยละ 94.8 ระบุเป็นเรื่องการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 93.5 ระบุเป็น
ปัญหาวิกฤตพลังงานและการหาพลังงานทดแทน ร้อยละ 92.8 ระบุเป็นปัญหายาเสพติด ร้อยละ 91.8 ระบุเป็นปัญหาความยากจน ภาระหนี้สิ้นภาค
ประชาชน ร้อยละ 90.6 ระบุเป็นปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 89.5 ระบุเป็นแนวทางสร้างเสริมความสุขอย่างยั่งยืนให้กับ
ประชาชน และร้อยละ 87.5 ระบุเป็น เรื่องส่งเสริมคุณภาพเด็กและเยาวชน เช่น การแข่งขันทางวิชาการและกีฬาระหว่างประเทศ/ ปัญหาเด็กไทย
ไม่อ่านหนังสือ/ การใช้ความรุนแรง/ ยาเสพติด/ บุหรี่เหล้า/ เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เป็นต้น สำหรับจำนวนครั้งในการจัดเวทีประชันความคิดแก้
ปัญหาประเทศนั้น ผลสำรวจพบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3 ครั้ง ก่อนวันเลือกตั้ง
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อกรณีการส่งเสริมบรรยากาศทางการเมืองให้ดีขึ้น ถ้ามีการจัดเวทีสาธารณะประชันแนวคิดแก้ปัญหาประเทศของ
หัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ นั้น ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.7 ระบุว่าคิดว่าจะดีขึ้นเพราะประชาชนจะได้รับทราบแนวคิดและเป็นข้อมูล
ตัดสินใจในการเลือกตั้ง/ รับทราบเป็นสัญญาประชาคม/ น่าจะเกิดความเข้าใจกันมากขึ้น/ เห็นแนวทางการแก้ปัญหา/ รับทราบจุดยืนของแต่ละพรรค
การเมือง/ และเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนสนใจการเมืองมากขึ้น เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 9.7 คิดว่าจะไม่ทำให้บรรยากาศการเมืองดีขึ้น เพราะ
จะเกิดการโต้เถียงกัน แบ่งพรรคแบ่งพวกมากขึ้น/ คิดว่าคงไม่มีความจริงใจต่อกัน/ คิดว่าปัญหาอยู่ที่แนวทางปฏิบัติมากกว่าแนวคิด/ และการจัดเวที
สาธารณะจะให้เวลาน้อยเกินไป เป็นต้น และร้อยละ 11.6 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อการเลือกตั้งวันที่ 15 ตุลาคมนี้จะเป็นทางออกที่ดีของวิกฤตการเมืองหรือไม่ ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 74.7 คิดว่าเป็นทางออกที่ดี เพราะจะได้มีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ / ปัญหาต่างๆ จะได้รับการแก้ไขโดยเร็ว/ ปัญหาการเมืองน่าจะคลี่
คลายไม่วุ่นวายอีก/ประชาชนมีส่วนร่วมในการเลือกคนมาบริหารประเทศ/ เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย/รัฐบาลรักษาการจะได้สิ้นสุดลง/ และเป็น
การแสดงพลังประชาธิปไตยให้โอกาสพรรคต่างๆ ได้แก้ตัว ในขณะที่ร้อยละ 11.6 คิดว่าไม่ได้เป็นทางออกที่ดี เพราะ ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข /
การจัดการเลือกตั้งเร็วเกินไป/ ความขัดแย้งแตกแยกยังคงมีอยู่/ ยังคงมีการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวต่อไป เป็นต้น และร้อยละ 13.7 ไม่มีความ
เห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ถึงแม้คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ยังอยู่ในช่วงการสรรหาขณะนี้แต่ประชาชนส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 56.0 ก็มั่นใจว่าจะสามารถจัดการเลือกตั้งให้บรรลุผลสำเร็จได้อย่างดี เป็นสัดส่วนที่สูงขึ้นประมาณร้อยละ 20 เมื่อเปรียบเทียบกับผล
สำรวจที่สอบถามความเชื่อมั่นของประชาชนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดเก่าที่เพิ่งลาออกไปหลังการตัดสินของศาลอาญาที่ผ่านมา ในขณะที่ ตัวอย่าง
เกินกว่า 1 ใน 3 เล็กน้อยหรือร้อยละ 35.1 ระบุยังไม่มั่นใจ และร้อยละ 8.9 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตามประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.2 คิดว่ามีความพยายามของพรรคการเมืองที่จะเข้าแทรกแซงการทำงานของคณะ
กรรมการการเลือกตั้งอีก ในขณะที่ร้อยละ 25.0 คิดว่าไม่มี และร้อยละ 13.8 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่อยากเห็นอยากฟังหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ แสดงแนวคิดแนวทาง
แก้ปัญหาประเทศบนเวทีสาธารณะร่วมกัน ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข เพราะทุกวันนี้
ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางการเมืองแตกต่างกัน ยิ่งไปกว่านั้นบางพื้นที่ประชาชนอาจมีเวลาจำกัดในการติดตามข่าวสารจึงอาจถูกชี้นำหรือซื้อ
เสียงจากหัวคะแนนได้ง่าย การจัดเวทีสาธารณะประชันแนวคิดของหัวหน้าพรรคการเมืองน่าจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล
ข่าวสารมากขึ้นถึงแม้จะไม่ได้อย่างสมบูรณ์ด้วยข้อจำกัดของเวลา การเพิ่มความถี่ในการจัดเป็น 2 — 3 ครั้งก่อนวันเลือกตั้ง จึงน่าจะเป็นแนวทางแก้
ปัญหาข้อจำกัดของเวลาได้บ้าง และคาดว่าจะเป็นการส่งเสริมบรรยากาศที่ดีทางการเมืองอีกแนวทางหนึ่ง
“อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจก็แสดงให้เห็นการคัดค้านของตัวอย่างบางกลุ่มในการจัดประชันแนวคิดหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ เช่นกัน ดัง
นั้น สังคมควรจะพิจารณาให้ดีถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามมาว่าจะเป็นประโยชน์ต่อบรรยากาศทางการเมืองไทยมากกว่าหรือเป็นผลเสียที่อาจทำลาย
บรรยากาศทางการเมืองมากกว่าผลดี” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวว่า ประเด็นสำคัญที่ประชาชนส่วนใหญ่ในการสำรวจครั้งนี้ระบุเป็นหัวข้อที่ควรให้หัวหน้าพรรคการเมืองแต่ละพรรคมานำ
เสนอต่อสาธารณชนคือ แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการพระราชดำริต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แนวทางการส่งเสริมให้
ประชาชนใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปัญหาความขัดแย้งแตกแยกของคนในชาติ ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น และแนวทางแก้ปัญหาวิกฤตพลังงานของ
ประเทศ ตามลำดับ ผลสำรวจครั้งนี้จึงแสดงให้เห็นว่า ความรักความสามัคคีของคนในประเทศจึงถูกจัดอยู่ในอันดับต้นๆ เพื่อเป็นกลไกสำคัญประการ
หนึ่งในการผลักดันให้ประชาชนผ่านพ้นวิกฤตทุกๆ ด้านไปได้ เพราะถ้าสังคมไทยยังไม่มีคำตอบหาแนวทางสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันของคนในชาติให้ได้
อย่างแท้จริงแล้ว เชื่อว่าการเลือกตั้งจะไม่ใช่ทางออกของวิกฤตการเมืองอย่างแน่นอน จึงจำเป็นต้องหล่อหลอมคนสามกลุ่มเข้าด้วยกัน ดังนี้
กลุ่มที่หนึ่ง คือกลุ่มสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลที่คาดว่ามีอยู่ประมาณสิบสามล้านคนในขณะนี้ (จากผลสำรวจทั่วประเทศสัปดาห์ที่ผ่าน
มา) ลดลงจากการเลือกตั้งครั้งก่อนประมาณสามล้านคน ซึ่งประชาชนกลุ่มนี้ขึ้นอยู่กับการชี้นำของ พ.ต.ท.ทักษิณและรัฐบาลว่าจะเดินไปทางไหน แต่ถ้า
เหตุการณ์ยืดเยื้อมีความขัดแย้งรุนแรงในกลุ่มประชาชนคาดว่าจำนวนคนจะลดลงไปอีก แต่ ถ้าพ.ต.ท.ทักษิณ สามารถแสดงบทบาทรวมคนในชาติเป็นหนึ่ง
เดียวกันได้น่าจะทำให้ฐานมวลชนจากกลุ่มอื่นๆ หันมาสนับสนุนการทำงานการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณและคนในพรรคไทยรักไทยได้ การเลือกตั้งที่จะมา
ถึงนี้อาจจะได้เสียงสนับสนุนจากทุกๆ ฝ่ายจนชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายได้เช่นกัน
กลุ่มที่สอง กลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลที่คาดว่ามีอยู่ประมาณสิบล้านคนเช่นกัน กลุ่มนี้ประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่ไม่เอาทักษิณและกลุ่มคนที่เห็นว่า
ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปจะทำให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติ ข้อเสนอแนะสำหรับคนกลุ่มที่สองนี้คือ ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ
สามารถทำให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกันของคนในประเทศได้ก็ควรยอมถอยและหาทางสร้างเสริมความสามัคคีในหมู่ประชาชนให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนต่อ
ไป เพราะเราไม่สามารถทราบได้ว่าจะเกิดวิกฤตการเมืองความเสื่อมศรัทธาต่อผู้นำประเทศเหมือนปัจจุบันนี้อีกหรือไม่
และกลุ่มที่สาม คือกลุ่มกลางๆ ที่คาดว่ามีอยู่ประมาณสิบกว่าล้านคน คนกลุ่มนี้มักเป็นคนที่คอยดูสถานการณ์และข้อมูลข่าวสารที่ได้รับโดยเล็ง
ผลว่าใครทำให้ประเทศชาติผ่านวิกฤตต่างๆ ไปได้ ก็จะสนับสนุนฝ่ายนั้น
รายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดเวทีสาธารณะประชันแนวคิดของหัวหน้าพรรคการเมือง ในการแก้ปัญหาของประเทศ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นต่อการจัดเวทีสาธารณะประชันแนวคิด
ของหัวหน้าพรรคการเมืองในการแก้ปัญหาของประเทศ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 15 จังหวัดของประเทศ” ซึ่งดำเนิน
โครงการสำรวจในวันที่ 25 กรกฎาคม — 5 สิงหาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 15 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่
ลำปาง ตาก ลพบุรี อยุธยา ชลบุรี ตราด ขอนแก่น อุบลราชธานี หนองคาย อุดรธานี นครราชสีมา สงขลา และนครศรีธรรมราช
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,812 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 18.5 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 23.4 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 27.1 อายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 26.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 45.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 18.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 10.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 20.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.4 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน
ร้อยละ 15.4 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 14.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 13.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 12.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.5 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.3 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.4 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล
ในขณะที่ ร้อยละ 31.6 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 59.6
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 16.7
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 13.6
4 ไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 7.6
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการอยากเห็น/อยากฟังหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ
มาแสดงแนวคิดแก้ไขปัญหาของประเทศบนเวทีพร้อมกัน
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีการอยากเห็น/อยากฟังหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ ค่าร้อยละ
มาแสดงแนวคิดแก้ไขปัญหาของประเทศบนเวทีพร้อมกัน
1 อยากเห็น อยากฟัง 85.2
2 ไม่อยากเห็น ไม่อยากฟัง 14.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่อยากเห็นหัวหน้าพรรคมาแสดงแนวคิดแก้ไขปัญหาประเทศแข่งขันกัน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่อยากเห็นหัวหน้าพรรคมาแสดงแนวคิดแก้ไขปัญหาประเทศแข่งขันกัน ค่าร้อยละ
1 ไทยรักไทย 89.7
2 ประชาธิปัตย์ 88.6
3 ชาติไทย 63.6
4 มหาชน 45.6
5 พรรคอื่นๆ เช่น พรรคถิ่นไทย/พรรคทางเลือกใหม่/พรรคสันติภาพไทย 1.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ องค์กรที่เป็นคนกลางในการจัดเวทีสาธารณะประชันแนวคิด
ลำดับที่ องค์กรที่เป็นคนกลางในการจัดเวทีสาธารณะประชันแนวคิด ค่าร้อยละ
1 เครือข่ายประชาชนเพื่อการเลือกตั้ง (P-Net) / องค์กรกลาง 36.4
2 สื่อมวลชน 19.6
3 สถาบันการศึกษา 15.6
4 คณะกรรมการการเลือกตั้ง 14.6
5 องค์กรระหว่างประเทศ 9.6
6 อื่นๆ เช่น ศาล กลุ่มพันธมิตร องคมนตรี เป็นต้น 4.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นปัญหาที่หัวหน้าพรรคการเมืองควรนำมาแข่งขันกันแสดงแนวคิดแก้ไขให้ประชาชนรับทราบ
ประเด็นที่ควรนำมาแข่งขันประชันแนวคิด ควร ไม่ควร ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการพระราชดำริ ต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 96.0 3.5 0.5 100.0
2. แนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 95.6 3.8 0.6 100.0
3. การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง แตกแยกของคนในชาติ 95.5 3.9 0.6 100.0
4. การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 94.8 4.2 1.0 100.0
5. ปัญหาวิกฤตพลังงาน น้ำมัน และการหาพลังงานทดแทน 93.5 5.5 1.0 100.0
6. ปัญหายาเสพติด 92.8 6.0 1.2 100.0
7. ปัญหาความยากจน ภาระหนี้สินภาคประชาชน 91.8 7.3 0.9 100.0
8. ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 90.6 8.4 1.0 100.0
9. แนวทางสร้างเสริมความสุขอย่างยั่งยืนให้กับประชาชน 89.5 9.5 1.0 100.0
10. ส่งเสริมคุณภาพเด็กและเยาวชน เช่น เด็กเยาวชนไทยแข่งขันวิชาการ
และกีฬานานาชาติ / เด็กไทยไม่ค่อยอ่านหนังสือ / การใช้ความรุนแรง/
ยาเสพติด /บุหรี่ เหล้า/ เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เป็นต้น 87.5 11.7 0.8 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จำนวนครั้งในการจัดเวทีสาธารณะให้หัวหน้าพรรคการเมืองมาแสดงแนวคิด
แก้ปัญหาของประเทศ ก่อนจะมีการเลือกตั้ง
ลำดับที่ จำนวนครั้งในการจัดเวทีสาธารณะให้หัวหน้าพรรคการเมือง ค่าร้อยละ
มาแสดงแนวคิดแก้ปัญหาของประเทศ ก่อนจะมีการเลือกตั้ง
1 1 ครั้ง 10.7
2 2 ครั้ง 34.8
3 3 ครั้ง 33.5
4 4 ครั้ง 7.1
5 5 ครั้ง 7.5
6 มากกว่า 5 ครั้ง 6.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.05 ครั้ง ค่า S.D เท่ากับ 2.26
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการส่งเสริมบรรยากาศทางการเมืองให้ดีขึ้น หากมี
การจัดเวทีสาธารณะ ประชันแนวคิด
ลำดับที่ การส่งเสริมบรรยากาศทางการเมืองให้ดีขึ้นหากมีการจัดเวทีสาธารณะประชันแนวคิด ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้น 78.7
2 ไม่ดีขึ้น 9.7
3 ไม่มีความเห็น 11.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ เฉพาะตัวอย่างที่เห็นว่าดีขึ้น ให้เหตุผลไว้ดังนี้
1. ประชาชนจะได้รับทราบแนวคิดและเป็นข้อมูลตัดสินใจในการเลือกตั้ง
2. รับทราบเป็นสัญญาประชาคม
3. น่าจะเกิดความเข้าใจกันมากขึ้น
4. เห็นแนวทางการแก้ปัญหา
5. รับทราบจุดยืนของแต่ละพรรคการเมือง
6. เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนสนใจการเมืองมากขึ้น เ
สำหรับตัวอย่างที่คิดว่าไม่ทำให้บรรยากาศการเมืองดีขึ้น ให้เหตุผลดังนี้
1. จะเกิดการโต้เถียงกัน แบ่งพรรคแบ่งพวกมากขึ้น
2. คิดว่าคงไม่มีความจริงใจต่อกัน
3. คิดว่าปัญหาอยู่ที่แนวทางปฏิบัติมากกว่าแนวคิด
4. การจัดเวทีสาธารณะจะให้เวลาน้อยเกินไป
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม นี้ จะเป็นทางออกที่ดี
ในช่วงวิกฤติการเมือง
ลำดับที่ การเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม นี้ จะเป็นทางออกที่ดีในช่วงวิกฤติการเมือง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นทางออกที่ดี 74.7
2 คิดว่าไม่เป็นทางออกที่ดี 11.6
3 ไม่มีความเห็น 13.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ตัวอย่างที่คิดว่าเป็นทางออกที่ดี ได้ให้เหตุผลดังนี้
1. จะได้มีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ
2. ปัญหาต่างๆ จะได้รับการแก้ไขโดยเร็ว
3. ปัญหาการเมืองน่าจะคลี่คลายไม่วุ่นวายอีก
4. ประชาชนมีส่วนร่วมในการเลือกคนมาบริหารประเทศ
5. เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย
6. รัฐบาลรักษาการจะได้สิ้นสุดลง
7. เป็นการแสดงพลังประชาธิปไตยให้โอกาสพรรคต่างๆ ได้แก้ตัว
สำหรับตัวอย่างที่คิดว่าไม่ได้เป็นทางออกที่ดี ให้เหตุผลดังนี้
1. ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข
2. การจัดการเลือกตั้งเร็วเกินไป
3. ความขัดแย้งแตกแยกยังคงมีอยู่
4. ยังคงมีการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวต่อไป เป็นต้น
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ที่กำลังสรรหาอยู่ในขณะนี้
ในการจัดการการเลือกตั้งให้บรรลุผลสำเร็จอย่างดี
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ที่กำลังสรรหาอยู่ในขณะนี้ ค่าร้อยละ
ในการจัดการการเลือกตั้งให้บรรลุผลสำเร็จอย่างดี
1 มั่นใจ 56.0
2 ไม่มั่นใจ 35.1
3 ไม่มีความเห็น 8.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นกรณีความพยายามของพรรคการเมืองที่จะเข้าแทรกแซงการ
ทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งอีก
ลำดับที่ ความคิดของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามี 61.2
2 คิดว่าไม่มี 25.0
3 ไม่มีความเห็น 13.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เวทีสาธารณะประชันแนวคิดของหัวหน้าพรรคการเมืองในการแก้ปัญหาของประเทศ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 15 จังหวัดของ
ประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ลำปาง ตาก ลพบุรี อยุธยา ชลบุรี ตราด ขอนแก่น อุบลราชธานี หนองคาย อุดรธานี นครราชสีมา
สงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,812 คน ในวันที่ 25 กรกฎาคม — 5 สิงหาคม 2549
จากการสำรวจการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 76.3 ติดตามข่าวการ
เมืองอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ เมื่อสอบถามถึงความอยากเห็นอยากฟังพรรคการเมืองต่างๆ มาแสดงแนวคิดแก้ไขปัญหาของประเทศบนเวทีพร้อมกัน
พบว่า ตัวอย่างสูงถึง ร้อยละ 85.2 มีความสนใจอยากเห็น อยากฟัง ในขณะที่ร้อยละ 14.8 ไม่อยากเห็นไม่อยากฟัง
ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.7 ของตัวอย่างทั้งหมดระบุอยากเห็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทยบนเวทีแข่งขันสาธารณะประชันแนวคิด
รองลงมาร้อยละ 88.6 อยากเห็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 63.6 อยากเห็นหัวหน้าพรรคชาติไทยตามลำดับ ทางด้านองค์กรที่ควรเป็นคน
กลางจัดงาน ตัวอย่างร้อยละ 36.4 เห็นว่าควรเป็นเครือข่ายประชาชนเพื่อการเลือกตั้ง (P-Net) / องค์กรกลาง รองลงมาร้อยละ 19.6 เห็นว่า
ควรเป็นสื่อมวลชน และร้อยละ 15.6 เห็นว่าควรเป็นสถาบันการศึกษา ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงประเด็นที่ควรนำมาแข่งขันแสดงแนวคิดแก้ไขปัญหาประเทศให้ประชาชนรับทราบ พบว่า อันดับแรกหรือร้อย
ละ 96.0 อยากให้หัวหน้าพรรคประชันแนวคิดแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการพระราชดำริต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รอง
ลงมาคือร้อยละ 95.6 อยากให้หัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ ประชันแนวคิดแนวทางส่งเสริมให้ประชาชนใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ
95.5 ระบุเป็นเรื่องปัญหาความขัดแย้งแตกแยกของคนในชาติ ร้อยละ 94.8 ระบุเป็นเรื่องการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 93.5 ระบุเป็น
ปัญหาวิกฤตพลังงานและการหาพลังงานทดแทน ร้อยละ 92.8 ระบุเป็นปัญหายาเสพติด ร้อยละ 91.8 ระบุเป็นปัญหาความยากจน ภาระหนี้สิ้นภาค
ประชาชน ร้อยละ 90.6 ระบุเป็นปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 89.5 ระบุเป็นแนวทางสร้างเสริมความสุขอย่างยั่งยืนให้กับ
ประชาชน และร้อยละ 87.5 ระบุเป็น เรื่องส่งเสริมคุณภาพเด็กและเยาวชน เช่น การแข่งขันทางวิชาการและกีฬาระหว่างประเทศ/ ปัญหาเด็กไทย
ไม่อ่านหนังสือ/ การใช้ความรุนแรง/ ยาเสพติด/ บุหรี่เหล้า/ เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เป็นต้น สำหรับจำนวนครั้งในการจัดเวทีประชันความคิดแก้
ปัญหาประเทศนั้น ผลสำรวจพบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3 ครั้ง ก่อนวันเลือกตั้ง
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อกรณีการส่งเสริมบรรยากาศทางการเมืองให้ดีขึ้น ถ้ามีการจัดเวทีสาธารณะประชันแนวคิดแก้ปัญหาประเทศของ
หัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ นั้น ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.7 ระบุว่าคิดว่าจะดีขึ้นเพราะประชาชนจะได้รับทราบแนวคิดและเป็นข้อมูล
ตัดสินใจในการเลือกตั้ง/ รับทราบเป็นสัญญาประชาคม/ น่าจะเกิดความเข้าใจกันมากขึ้น/ เห็นแนวทางการแก้ปัญหา/ รับทราบจุดยืนของแต่ละพรรค
การเมือง/ และเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนสนใจการเมืองมากขึ้น เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 9.7 คิดว่าจะไม่ทำให้บรรยากาศการเมืองดีขึ้น เพราะ
จะเกิดการโต้เถียงกัน แบ่งพรรคแบ่งพวกมากขึ้น/ คิดว่าคงไม่มีความจริงใจต่อกัน/ คิดว่าปัญหาอยู่ที่แนวทางปฏิบัติมากกว่าแนวคิด/ และการจัดเวที
สาธารณะจะให้เวลาน้อยเกินไป เป็นต้น และร้อยละ 11.6 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อการเลือกตั้งวันที่ 15 ตุลาคมนี้จะเป็นทางออกที่ดีของวิกฤตการเมืองหรือไม่ ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 74.7 คิดว่าเป็นทางออกที่ดี เพราะจะได้มีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ / ปัญหาต่างๆ จะได้รับการแก้ไขโดยเร็ว/ ปัญหาการเมืองน่าจะคลี่
คลายไม่วุ่นวายอีก/ประชาชนมีส่วนร่วมในการเลือกคนมาบริหารประเทศ/ เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย/รัฐบาลรักษาการจะได้สิ้นสุดลง/ และเป็น
การแสดงพลังประชาธิปไตยให้โอกาสพรรคต่างๆ ได้แก้ตัว ในขณะที่ร้อยละ 11.6 คิดว่าไม่ได้เป็นทางออกที่ดี เพราะ ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข /
การจัดการเลือกตั้งเร็วเกินไป/ ความขัดแย้งแตกแยกยังคงมีอยู่/ ยังคงมีการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวต่อไป เป็นต้น และร้อยละ 13.7 ไม่มีความ
เห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ถึงแม้คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ยังอยู่ในช่วงการสรรหาขณะนี้แต่ประชาชนส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 56.0 ก็มั่นใจว่าจะสามารถจัดการเลือกตั้งให้บรรลุผลสำเร็จได้อย่างดี เป็นสัดส่วนที่สูงขึ้นประมาณร้อยละ 20 เมื่อเปรียบเทียบกับผล
สำรวจที่สอบถามความเชื่อมั่นของประชาชนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดเก่าที่เพิ่งลาออกไปหลังการตัดสินของศาลอาญาที่ผ่านมา ในขณะที่ ตัวอย่าง
เกินกว่า 1 ใน 3 เล็กน้อยหรือร้อยละ 35.1 ระบุยังไม่มั่นใจ และร้อยละ 8.9 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตามประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.2 คิดว่ามีความพยายามของพรรคการเมืองที่จะเข้าแทรกแซงการทำงานของคณะ
กรรมการการเลือกตั้งอีก ในขณะที่ร้อยละ 25.0 คิดว่าไม่มี และร้อยละ 13.8 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่อยากเห็นอยากฟังหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ แสดงแนวคิดแนวทาง
แก้ปัญหาประเทศบนเวทีสาธารณะร่วมกัน ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข เพราะทุกวันนี้
ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางการเมืองแตกต่างกัน ยิ่งไปกว่านั้นบางพื้นที่ประชาชนอาจมีเวลาจำกัดในการติดตามข่าวสารจึงอาจถูกชี้นำหรือซื้อ
เสียงจากหัวคะแนนได้ง่าย การจัดเวทีสาธารณะประชันแนวคิดของหัวหน้าพรรคการเมืองน่าจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล
ข่าวสารมากขึ้นถึงแม้จะไม่ได้อย่างสมบูรณ์ด้วยข้อจำกัดของเวลา การเพิ่มความถี่ในการจัดเป็น 2 — 3 ครั้งก่อนวันเลือกตั้ง จึงน่าจะเป็นแนวทางแก้
ปัญหาข้อจำกัดของเวลาได้บ้าง และคาดว่าจะเป็นการส่งเสริมบรรยากาศที่ดีทางการเมืองอีกแนวทางหนึ่ง
“อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจก็แสดงให้เห็นการคัดค้านของตัวอย่างบางกลุ่มในการจัดประชันแนวคิดหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ เช่นกัน ดัง
นั้น สังคมควรจะพิจารณาให้ดีถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามมาว่าจะเป็นประโยชน์ต่อบรรยากาศทางการเมืองไทยมากกว่าหรือเป็นผลเสียที่อาจทำลาย
บรรยากาศทางการเมืองมากกว่าผลดี” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวว่า ประเด็นสำคัญที่ประชาชนส่วนใหญ่ในการสำรวจครั้งนี้ระบุเป็นหัวข้อที่ควรให้หัวหน้าพรรคการเมืองแต่ละพรรคมานำ
เสนอต่อสาธารณชนคือ แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการพระราชดำริต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แนวทางการส่งเสริมให้
ประชาชนใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปัญหาความขัดแย้งแตกแยกของคนในชาติ ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น และแนวทางแก้ปัญหาวิกฤตพลังงานของ
ประเทศ ตามลำดับ ผลสำรวจครั้งนี้จึงแสดงให้เห็นว่า ความรักความสามัคคีของคนในประเทศจึงถูกจัดอยู่ในอันดับต้นๆ เพื่อเป็นกลไกสำคัญประการ
หนึ่งในการผลักดันให้ประชาชนผ่านพ้นวิกฤตทุกๆ ด้านไปได้ เพราะถ้าสังคมไทยยังไม่มีคำตอบหาแนวทางสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันของคนในชาติให้ได้
อย่างแท้จริงแล้ว เชื่อว่าการเลือกตั้งจะไม่ใช่ทางออกของวิกฤตการเมืองอย่างแน่นอน จึงจำเป็นต้องหล่อหลอมคนสามกลุ่มเข้าด้วยกัน ดังนี้
กลุ่มที่หนึ่ง คือกลุ่มสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลที่คาดว่ามีอยู่ประมาณสิบสามล้านคนในขณะนี้ (จากผลสำรวจทั่วประเทศสัปดาห์ที่ผ่าน
มา) ลดลงจากการเลือกตั้งครั้งก่อนประมาณสามล้านคน ซึ่งประชาชนกลุ่มนี้ขึ้นอยู่กับการชี้นำของ พ.ต.ท.ทักษิณและรัฐบาลว่าจะเดินไปทางไหน แต่ถ้า
เหตุการณ์ยืดเยื้อมีความขัดแย้งรุนแรงในกลุ่มประชาชนคาดว่าจำนวนคนจะลดลงไปอีก แต่ ถ้าพ.ต.ท.ทักษิณ สามารถแสดงบทบาทรวมคนในชาติเป็นหนึ่ง
เดียวกันได้น่าจะทำให้ฐานมวลชนจากกลุ่มอื่นๆ หันมาสนับสนุนการทำงานการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณและคนในพรรคไทยรักไทยได้ การเลือกตั้งที่จะมา
ถึงนี้อาจจะได้เสียงสนับสนุนจากทุกๆ ฝ่ายจนชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายได้เช่นกัน
กลุ่มที่สอง กลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลที่คาดว่ามีอยู่ประมาณสิบล้านคนเช่นกัน กลุ่มนี้ประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่ไม่เอาทักษิณและกลุ่มคนที่เห็นว่า
ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปจะทำให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติ ข้อเสนอแนะสำหรับคนกลุ่มที่สองนี้คือ ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ
สามารถทำให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกันของคนในประเทศได้ก็ควรยอมถอยและหาทางสร้างเสริมความสามัคคีในหมู่ประชาชนให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนต่อ
ไป เพราะเราไม่สามารถทราบได้ว่าจะเกิดวิกฤตการเมืองความเสื่อมศรัทธาต่อผู้นำประเทศเหมือนปัจจุบันนี้อีกหรือไม่
และกลุ่มที่สาม คือกลุ่มกลางๆ ที่คาดว่ามีอยู่ประมาณสิบกว่าล้านคน คนกลุ่มนี้มักเป็นคนที่คอยดูสถานการณ์และข้อมูลข่าวสารที่ได้รับโดยเล็ง
ผลว่าใครทำให้ประเทศชาติผ่านวิกฤตต่างๆ ไปได้ ก็จะสนับสนุนฝ่ายนั้น
รายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดเวทีสาธารณะประชันแนวคิดของหัวหน้าพรรคการเมือง ในการแก้ปัญหาของประเทศ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นต่อการจัดเวทีสาธารณะประชันแนวคิด
ของหัวหน้าพรรคการเมืองในการแก้ปัญหาของประเทศ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 15 จังหวัดของประเทศ” ซึ่งดำเนิน
โครงการสำรวจในวันที่ 25 กรกฎาคม — 5 สิงหาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 15 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่
ลำปาง ตาก ลพบุรี อยุธยา ชลบุรี ตราด ขอนแก่น อุบลราชธานี หนองคาย อุดรธานี นครราชสีมา สงขลา และนครศรีธรรมราช
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,812 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 18.5 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 23.4 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 27.1 อายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 26.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 45.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 18.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 10.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 20.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.4 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน
ร้อยละ 15.4 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 14.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 13.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 12.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.5 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.3 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.4 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล
ในขณะที่ ร้อยละ 31.6 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 59.6
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 16.7
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 13.6
4 ไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 7.6
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการอยากเห็น/อยากฟังหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ
มาแสดงแนวคิดแก้ไขปัญหาของประเทศบนเวทีพร้อมกัน
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีการอยากเห็น/อยากฟังหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ ค่าร้อยละ
มาแสดงแนวคิดแก้ไขปัญหาของประเทศบนเวทีพร้อมกัน
1 อยากเห็น อยากฟัง 85.2
2 ไม่อยากเห็น ไม่อยากฟัง 14.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่อยากเห็นหัวหน้าพรรคมาแสดงแนวคิดแก้ไขปัญหาประเทศแข่งขันกัน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่อยากเห็นหัวหน้าพรรคมาแสดงแนวคิดแก้ไขปัญหาประเทศแข่งขันกัน ค่าร้อยละ
1 ไทยรักไทย 89.7
2 ประชาธิปัตย์ 88.6
3 ชาติไทย 63.6
4 มหาชน 45.6
5 พรรคอื่นๆ เช่น พรรคถิ่นไทย/พรรคทางเลือกใหม่/พรรคสันติภาพไทย 1.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ องค์กรที่เป็นคนกลางในการจัดเวทีสาธารณะประชันแนวคิด
ลำดับที่ องค์กรที่เป็นคนกลางในการจัดเวทีสาธารณะประชันแนวคิด ค่าร้อยละ
1 เครือข่ายประชาชนเพื่อการเลือกตั้ง (P-Net) / องค์กรกลาง 36.4
2 สื่อมวลชน 19.6
3 สถาบันการศึกษา 15.6
4 คณะกรรมการการเลือกตั้ง 14.6
5 องค์กรระหว่างประเทศ 9.6
6 อื่นๆ เช่น ศาล กลุ่มพันธมิตร องคมนตรี เป็นต้น 4.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นปัญหาที่หัวหน้าพรรคการเมืองควรนำมาแข่งขันกันแสดงแนวคิดแก้ไขให้ประชาชนรับทราบ
ประเด็นที่ควรนำมาแข่งขันประชันแนวคิด ควร ไม่ควร ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการพระราชดำริ ต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 96.0 3.5 0.5 100.0
2. แนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 95.6 3.8 0.6 100.0
3. การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง แตกแยกของคนในชาติ 95.5 3.9 0.6 100.0
4. การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 94.8 4.2 1.0 100.0
5. ปัญหาวิกฤตพลังงาน น้ำมัน และการหาพลังงานทดแทน 93.5 5.5 1.0 100.0
6. ปัญหายาเสพติด 92.8 6.0 1.2 100.0
7. ปัญหาความยากจน ภาระหนี้สินภาคประชาชน 91.8 7.3 0.9 100.0
8. ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 90.6 8.4 1.0 100.0
9. แนวทางสร้างเสริมความสุขอย่างยั่งยืนให้กับประชาชน 89.5 9.5 1.0 100.0
10. ส่งเสริมคุณภาพเด็กและเยาวชน เช่น เด็กเยาวชนไทยแข่งขันวิชาการ
และกีฬานานาชาติ / เด็กไทยไม่ค่อยอ่านหนังสือ / การใช้ความรุนแรง/
ยาเสพติด /บุหรี่ เหล้า/ เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เป็นต้น 87.5 11.7 0.8 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จำนวนครั้งในการจัดเวทีสาธารณะให้หัวหน้าพรรคการเมืองมาแสดงแนวคิด
แก้ปัญหาของประเทศ ก่อนจะมีการเลือกตั้ง
ลำดับที่ จำนวนครั้งในการจัดเวทีสาธารณะให้หัวหน้าพรรคการเมือง ค่าร้อยละ
มาแสดงแนวคิดแก้ปัญหาของประเทศ ก่อนจะมีการเลือกตั้ง
1 1 ครั้ง 10.7
2 2 ครั้ง 34.8
3 3 ครั้ง 33.5
4 4 ครั้ง 7.1
5 5 ครั้ง 7.5
6 มากกว่า 5 ครั้ง 6.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.05 ครั้ง ค่า S.D เท่ากับ 2.26
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการส่งเสริมบรรยากาศทางการเมืองให้ดีขึ้น หากมี
การจัดเวทีสาธารณะ ประชันแนวคิด
ลำดับที่ การส่งเสริมบรรยากาศทางการเมืองให้ดีขึ้นหากมีการจัดเวทีสาธารณะประชันแนวคิด ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้น 78.7
2 ไม่ดีขึ้น 9.7
3 ไม่มีความเห็น 11.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ เฉพาะตัวอย่างที่เห็นว่าดีขึ้น ให้เหตุผลไว้ดังนี้
1. ประชาชนจะได้รับทราบแนวคิดและเป็นข้อมูลตัดสินใจในการเลือกตั้ง
2. รับทราบเป็นสัญญาประชาคม
3. น่าจะเกิดความเข้าใจกันมากขึ้น
4. เห็นแนวทางการแก้ปัญหา
5. รับทราบจุดยืนของแต่ละพรรคการเมือง
6. เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนสนใจการเมืองมากขึ้น เ
สำหรับตัวอย่างที่คิดว่าไม่ทำให้บรรยากาศการเมืองดีขึ้น ให้เหตุผลดังนี้
1. จะเกิดการโต้เถียงกัน แบ่งพรรคแบ่งพวกมากขึ้น
2. คิดว่าคงไม่มีความจริงใจต่อกัน
3. คิดว่าปัญหาอยู่ที่แนวทางปฏิบัติมากกว่าแนวคิด
4. การจัดเวทีสาธารณะจะให้เวลาน้อยเกินไป
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม นี้ จะเป็นทางออกที่ดี
ในช่วงวิกฤติการเมือง
ลำดับที่ การเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม นี้ จะเป็นทางออกที่ดีในช่วงวิกฤติการเมือง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นทางออกที่ดี 74.7
2 คิดว่าไม่เป็นทางออกที่ดี 11.6
3 ไม่มีความเห็น 13.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ตัวอย่างที่คิดว่าเป็นทางออกที่ดี ได้ให้เหตุผลดังนี้
1. จะได้มีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ
2. ปัญหาต่างๆ จะได้รับการแก้ไขโดยเร็ว
3. ปัญหาการเมืองน่าจะคลี่คลายไม่วุ่นวายอีก
4. ประชาชนมีส่วนร่วมในการเลือกคนมาบริหารประเทศ
5. เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย
6. รัฐบาลรักษาการจะได้สิ้นสุดลง
7. เป็นการแสดงพลังประชาธิปไตยให้โอกาสพรรคต่างๆ ได้แก้ตัว
สำหรับตัวอย่างที่คิดว่าไม่ได้เป็นทางออกที่ดี ให้เหตุผลดังนี้
1. ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข
2. การจัดการเลือกตั้งเร็วเกินไป
3. ความขัดแย้งแตกแยกยังคงมีอยู่
4. ยังคงมีการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวต่อไป เป็นต้น
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ที่กำลังสรรหาอยู่ในขณะนี้
ในการจัดการการเลือกตั้งให้บรรลุผลสำเร็จอย่างดี
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ที่กำลังสรรหาอยู่ในขณะนี้ ค่าร้อยละ
ในการจัดการการเลือกตั้งให้บรรลุผลสำเร็จอย่างดี
1 มั่นใจ 56.0
2 ไม่มั่นใจ 35.1
3 ไม่มีความเห็น 8.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นกรณีความพยายามของพรรคการเมืองที่จะเข้าแทรกแซงการ
ทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งอีก
ลำดับที่ ความคิดของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามี 61.2
2 คิดว่าไม่มี 25.0
3 ไม่มีความเห็น 13.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-