ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกเบื้องต้นของสาธารณชนต่อ พล.อ.สุ
รยุทธ์ เปรียบเทียบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และภาพลักษณ์ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ : กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา
ขอนแก่น และชลบุรี ” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น และชลบุรี จำนวน
ทั้งสิ้น 1,864 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 24-28 ตุลาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลสำรวจพบว่า คนเริ่มสนใจติดตามข่าวการเมืองน้อยลงจากร้อยละ 71.2 ที่ติดตามอย่างเข้มข้นทุกสัปดาห์ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกลาง
เดือนกันยายนเหลือร้อยละ 63.3 ในผลสำรวจล่าสุด
แต่เมื่อสอบถามถึงการประเมินภาพลักษณ์เบื้องต้นระหว่าง พล.อ.สุรยุทธ์ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ระบุภาพลักษณ์ของ
นายกรัฐมนตรีคนใหม่ดีเหมือนเดิมถึงดีขึ้นในทุกตัวชี้วัด เช่น ร้อยละ 65.1 ระบุความเป็นที่ไว้วางใจได้ ร้อยละ 63.2 ระบุด้านคุณธรรม เป็นคนดี ซื่อ
สัตย์สุจริต ร้อยละ 60.2 ให้ความเชื่อมั่นต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังระบุว่า พล.อ.สุรยุทธ์ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันยังมี
ภาพลักษณ์ด้านอื่นๆ ที่ดีเหมือนเดิมถึงดีขึ้น เช่น การไม่ยุ่งเกี่ยวกับผลประโยชน์ ความเอาจริงเอาจังแก้ปัญหา การทุ่มเททำงานหนัก ความรู้ความ
สามารถ แม้แต่การเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศที่ได้เสียงสนับสนุนจากประชาชนสูงเกินกว่าร้อยละ 50 อย่างไรก็ตาม ด้านที่ได้รับฐานสนับสนุนจาก
ประชาชนต่ำกว่าทุกด้านคือ ความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา และภาพลักษณ์ของคนแวดล้อมใกล้ชิดที่ต้องระมัดระวัง
เมื่อสอบถามถึงภาพลักษณ์ของคณะรัฐมนตรีชุดของรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ เปรียบเทียบกับรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ พบว่า ประชาชนเกินกว่า
ร้อยละ 50 ที่ระบุว่า คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันของ พล.อ.สุรยุทธ์ มีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นในเรื่องของการไม่ต้องมีพิธีรีตอง ไม่ต้องมีคนห้อมล้อมมากมาย ไม่
ต้องมีรถนำขบวนมากมาย และเป็นคนดีมีคุณธรรม อย่างไรก็ตาม ที่ยังไม่ถึงร้อยละ 50 คือเรื่องการไม่เอื้อประโยชน์ต่อนายทุนและพวกพ้องและความ
รวดเร็วเข้าถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
เมื่อสอบถามประชาชนถึงความคาดหวังต่อการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 60 ขึ้นไป คาดหวังค่อน
ข้างมากถึงมาก ว่าประชาชนจะอยู่อย่างพอเพียง (ร้อยละ 64.6) คาดหวังว่าจะเกิดความเป็นธรรมในสังคมมากขึ้น (ร้อยละ 63.7) คาดหวังว่า
ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข (ร้อยละ 61.0) คาดหวังว่าชุมชนจะเข้มแข็ง (ร้อยละ 60.5) และคาดหวังว่าจะมีการรื้อฟื้นคดีความที่อยู่ในความสนใจ
ของประชาชนแต่ไม่คืบหน้าในรัฐบาลทักษิณขึ้นมาพิจารณาทุกคดี (ร้อยละ 51.6)
เมื่อสอบถามถึงการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ กับ รัฐบาลชุด
ปัจจุบัน พบว่า ประชาชนจำนวนเกินกว่าร้อยละ 50 ระบุเจ้าหน้าที่รัฐทำงานได้ดีเหมือนเดิมและดีขึ้นในเรื่องการปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น (ร้อยละ
53.3) เรื่องการดูแลสุขภาพของประชาชน (ร้อยละ 56.1) และเรื่องการคุ้มครองเด็กและเยาวชน (ร้อยละ 54.8) อย่างไรก็ตามที่ต่ำกว่าร้อยละ
50 คือเรื่องการแก้ปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 45.1) และการแก้ปัญหาความยากจน (ร้อยละ 44.8) ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงภาพลักษณ์ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในทัศนะของประชาชนคนต่างจังหวัดและคนกรุงเทพมหานคร พบประเด็นที่น่าพิจารณา
หลายประการ เช่น ประชาชนร้อยละ 57.9 เห็นว่าสมาชิกสภาฯ ที่มาจากการเลือกตั้งเข้าถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ในขณะที่สภาฯที่มา
จากการแต่งตั้งได้เพียงร้อยละ 20.7 ประชาชนร้อยละ 48.1 และร้อยละ 49.3 เห็นว่า สภาฯ จากการเลือกตั้งมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ แต่
สภาที่มาจากการแต่งตั้งมีเพียงร้อยละ 24.1 และร้อยละ 29.4 เท่านั้น และประชาชนร้อยละ 55.8 เห็นว่าสภาจากการเลือกตั้งฟังเสียงประชาชนให้
ประชาชนมีส่วนร่วม ในขณะที่สภาที่มาจากการแต่งตั้งมีเพียงร้อยละ 24.0 เท่านั้น แต่ที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.3 เห็นว่า สภาที่
มาจากการเลือกตั้งเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มนายทุนและพวกพ้อง ในขณะที่ประชาชนเพียงร้อยละ 18.2 เท่านั้นที่เห็นว่าสภาที่มาจากการแต่งตั้งเอื้อ
ประโยชน์ให้นายทุน ในขณะที่ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 40.5 เห็นว่า ไม่มีสภาใดเลยที่จะกล้าออกกฎหมายกระทบผลประโยชน์ของตนเองและ
เอาผิดพวกพ้องของตน
เมื่อสอบถามว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติควรออกกฎหมายใหม่หรือปรับปรุงกฎหมายอะไรบ้าง พบว่า อันดับแรกหรือเกือบร้อยละ 90 ระบุเป็น
กฎหมายจัดระเบียบสังคม คุ้มครองครอบครัว เด็กและเยาวชน รองลงมาคือร้อยละ 89.5 ระบุเป็น พ.ร.บ.หรือกฎหมายส่งเสริมสุขภาพประชาชน
ร้อยละ 87.8 ระบุกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและผู้ประกอบการอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ร้อยละ 87.7 ระบุกฎหมายช่วยเหลือให้รัฐสวัสดิการแก่ผู้มี
รายได้น้อย ร้อยละ 87.2 ระบุกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบของประชาชนและทุกภาคส่วนของสังคม และรองๆ ลงไปที่มีประชาชน
ส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 70 สนับสนุนได้แก่ ปรับปรุงกฎหมายประกันการว่างงานและผลกระทบ กฎหมายยึดทรัพบ์นายทุน ข้าราชการและนักการเมืองที่
ทุจริตคอรัปชั่น กฎหมายคุ้มครองพยาน กฎหมายกระจายอำนาจสู่การปกครองท้องถิ่น และกฎหมายคุ้มครองชุมชน เช่นใครทำผิดทำร้ายชุมชนต้องจ่ายและ
พัฒนาชุมชนนั้นๆ
อย่างไรก็ตาม ประชาชนทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.2 เห็นว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติควรรีบทำงานและ
คืนอำนาจให้ประชาชนเพื่อจัดเลือกตั้งใหม่ภายในเวลาไม่เกิน 1 ปี
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติอาจกลายเป็นจุดอ่อนที่สุดของกลไกต่างๆ ของรัฐในเวลานี้เพราะสภาแห่งนี้
กำลังพบกับแรงเสียดทานและความไม่เชื่อมั่นศรัทธาต่อหลักธรรมาภิบาลตั้งแต่จุดเริ่มต้น คำถามที่ตามมาคือ สภาแห่งนี้จะได้รับแรงสนับสนุนของสาธารณ
ชนให้ปรับระบบเสริมธรรมาภิบาลของประเทศในอนาคตได้อย่างไร เนื่องจากขาดแรงสนับสุนจากสาธารณชนในหลายมิติของหลักธรรมาภิบาล เช่น
ความโปร่งใส การถูกตรวจสอบได้ การมีส่วนร่วมของประชาชน ความกล้าออกกฎหมายเอาผิดพวกพ้องหรือทำให้ตนเองเสียผลประโยชน์ และที่น่า
สังเกตคือ สภาที่มีข้าราชการจำนวนมากเป็นสมาชิกแต่ทำไมประชาชนจึงสะท้อนออกมาในผลสำรวจว่าไม่ได้ใกล้ชิดและไม่ได้เข้าถึงปัญหาความเดือดร้อน
ของประชาชน ซึ่งบรรดาข้าราชการและสมาชิกสภาฯ แห่งนี้จะต้องเร่งทำงานแสดงให้เห็นว่าสมาชิกสภาทุกคนไม่ได้นั่งอยู่บนหอคอยงาช้างแต่เป็นคณะ
บุคคลที่ติดดินเข้าถึงเข้าใจปัญหาเดือดร้อนของประชาชนทั้งประเทศอย่างแท้จริง
“สำหรับภาพลักษณ์ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีหลายมิติที่เป็นจุดเด่นจุดแข็งมากกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เช่น คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต
ความเป็นที่ไว้วางใจได้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผลประโยชน์ แต่มีอยู่สองมิติที่มีฐานจำนวนประชาชนน้อยกว่ามิติอื่นๆ คือ ความรวดเร็วในการเข้าถึงปัญหาเดือด
ร้อนของประชาชนและต้องระมัดระวังบุคคลแวดล้อมซึ่งในระยะยาวอาจกลายเป็นกลุ่มบุคคลที่ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นได้” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สัญญาณที่ส่งเตือนไปยังคณะผู้บริหารประเทศ จากผลสำรวจครั้งนี้คือ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคตจะดีกว่า
รอให้เกิดปัญหาขึ้นแล้วแก้ไข เพราะจะถูกมองว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ดังนั้นกลไกของรัฐและรัฐบาลชุดปัจจุบันต้องแสดงให้สาธารณชนเห็นอย่าง
เป็นรูปธรรมว่า ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศได้หลายอย่างที่มีคุณภาพดีกว่ารัฐบาลที่ถูกมองว่าไม่ซื่อสัตย์ และเน้นหนุนเสริมภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนและ
ชุมชนเข้มแข็งต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นทุกรูปแบบอย่างยั่งยืนต่อไป
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นในเชิงเปรียบเทียบของประชาชนระหว่างสภาฯ ที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนกับสภาฯ
ที่มาจากการแต่งตั้ง
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสภานิติบัญญัติ
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นในเชิงเปรียบเทียบของประชาชนระหว่างรัฐบาลชุดปัจจุบันกับรัฐบาลชุดที่แล้ว
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกเบื้องต้นของสาธารณชนต่อ พล.อ.สุ
รยุทธ์ เปรียบเทียบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และภาพลักษณ์ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ : กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา
ขอนแก่น และชลบุรี ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 24-28 ตุลาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น และชลบุรี
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,864 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.4 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 19.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 79.6 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 17.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ด้านสถานภาพ ตัวอย่าง ร้อยละ 57.7 ระบุสถานภาพสมรส
ร้อยละ 37.1 ระบุสถานภาพโสด
และร้อยละ 5.2 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 20.4 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.0 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 5.5 ระบุว่างงาน
และเมื่อพิจารณารายได้ส่วนตัวต่อเดือนของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.8 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 37.2 ระบุรายได้ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 7.4 ระบุรายได้ 10,001-15,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 6.1 ระบุรายได้ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 25.5 ระบุรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 45.3
2 3-4 วัน 18.0
3 1-2 วัน 11.2
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 20.0
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปรียบเทียบเพื่อประเมินภาพรวมระหว่าง นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน กับ
นายกรัฐมนตรีคนที่แล้ว ในประเด็นต่างๆ
เปรียบเทียบนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันกับ เกณฑ์เปรียบเทียบ รวม
นายกรัฐมนตรีคนที่แล้ว
ดีขึ้น ดีเหมือนเดิม แย่เหมือนเดิม แย่ลง ไม่มีความเห็น
1. ด้านคุณธรรม เป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต 43.4 19.8 4.9 4.6 27.3 100.0
2. ด้านความทุ่มเททำงานหนัก 28.5 29.4 5.8 7.4 28.9 100.0
3. ด้านความเป็นที่ไว้วางใจได้ 43.9 21.2 5.4 5.8 23.7 100.0
4. ด้านความรู้ความสามารถในการทำงาน 28.1 29.9 4.7 9.3 28.0 100.0
5. ด้านการเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ 22.6 27.9 6.3 13.2 30.0 100.0
6. ด้านความเชื่อมั่นของประชาชน 38.1 22.1 6.5 9.2 24.1 100.0
7. ความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา 22.8 25.5 10.1 12.2 29.4 100.0
8. ความเอาจริงเอาจังแก้ปัญหา 33.6 22.2 8.6 8.1 27.5 100.0
9. ไม่ยุ่งเกี่ยวผลประโยชน์ 38.6 14.7 6.6 4.2 35.9 100.0
10. คนแวดล้อมใกล้ชิด 27.9 20.3 7.7 5.5 38.6 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ภาพลักษณ์ของคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน เปรียบเทียบกับรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของคณะรัฐมนตรีชุด พล.อ.สุรยุทธ์ ดีขึ้น ไม่แตกต่าง แย่ลง ไม่มีความเห็น
1 รวดเร็วเข้าถึงปัญหาเดือดร้อนของประชาชน 38.1 21.3 26.4 14.2
2 ไม่ต้องมีพิธีรีตอง ไม่ต้องมีคนห้อมล้อม 50.8 17.9 9.7 21.6
3 ไม่ต้องมีรถนำขบวนมากมาย 54.1 12.8 6.2 26.9
4 ความเป็นคนดีมีคุณธรรม 61.6 8.6 5.5 24.3
5 ไม่เอื้อประโยชน์ให้นายทุนและพวกพ้อง 43.2 25.8 14.4 16.6
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความคาดหวังต่อการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันในประเด็นต่างๆ
ประเด็น ระดับความคาดหวัง รวม
มาก ค่อนข้างมาก ค่อนข้างน้อย น้อย ไม่มีความเห็น
1. ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข 28.0 33.0 16.5 8.1 14.4 100.0
2. ความเป็นธรรมในสังคม 30.9 32.8 14.9 8.6 12.8 100.0
3. การรื้อฟื้นคดีความที่อยู่ในความสนใจของประชาชน
แต่ไม่คืบหน้าในรัฐบาลทักษิณขึ้นมาพิจารณาทุกคดี 25.7 25.9 17.2 8.8 22.4 100.0
4. ประชาชนจะอยู่อย่างพอเพียง 31.9 32.7 14.4 8.2 12.8 100.0
5. ชุมชนเข้มแข็ง 30.6 29.9 16.1 9.5 13.9 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปรียบเทียบเพื่อประเมินภาพรวมการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐระหว่าง รัฐบาลชุด
ปัจจุบันกับรัฐบาลชุดที่แล้ว
การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐเปรียบเทียบ เกณฑ์เปรียบเทียบ รวม
รัฐบาลชุดปัจจุบันกับรัฐบาลชุดที่แล้ว
ดีขึ้น ดีเหมือนเดิม แย่เหมือนเดิม แย่ลง ไม่มีความเห็น
1. การแก้ปัญหายาเสพติด 16.1 29.0 10.9 19.9 24.1 100.0
2. การปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น 33.2 20.1 13.9 9.6 23.2 100.0
3. การคุ้มครองดูแลเด็กและเยาวชน 22.0 32.8 11.3 8.1 25.8 100.0
4. การดูแลสุขภาพของประชาชน 22.8 33.3 10.3 10.0 23.6 100.0
5. การแก้ปัญหาความยากจน 16.9 27.9 13.5 14.6 27.1 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นที่มีต่อ สภาฯ ที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน กับ สภาฯ ที่มาจาก
การแต่งตั้ง ในประเด็นต่างๆ
ประเด็น รูปแบบสภาฯ รวม
สภาฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง สภาฯ ที่มาจากการแต่งตั้ง “ไม่มี” ทั้งสองสภาฯ
1. มีความโปร่งใส 48.1 24.1 27.8 100.0
2. ยอมให้ถูกตรวจสอบได้ 49.3 29.4 21.3 100.0
3. การเข้าถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน 57.9 20.7 21.4 100.0
5. ฟังเสียงประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วม 55.8 24.0 20.2 100.0
6. เจ้ายศเจ้าอย่าง คิดว่าตนเองอยู่เหนือประชาชน 43.1 27.2 29.7 100.0
7. ติดดิน เป็นกันเองกับประชาชน 50.3 20.7 29.0 100.0
8. กล้าออกกฎหมายกระทบผลประโยชน์ของตนเอง
และเอาผิดพวกพ้องของตน 33.9 25.6 40.5 100.0
9.เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มนายทุนและพวกพ้อง 56.3 18.2 25.5 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกฎหมายที่ต้องการให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติออกใหม่และปรับปรุง เพื่อแสดงให้เห็น
ว่า การเข้ามายึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการเมืองจากรัฐบาลชุดที่แล้วทำให้ประเทศดีขึ้น
ประเภทกฎหมาย ความคิดเห็น รวม
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1. กฎหมายยึดทรัพย์นายทุน ข้าราชการ และ
นักการเมืองที่ทุจริตคอรัปชั่น 86.3 5.1 8.6 100.0
2. กฎหมายจัดระเบียบสังคม คุ้มครองครอบครัว
เด็กและเยาวชน 89.8 3.2 7.0 100.0
3. กฎหมายคุ้มครองชุมชน เช่น ใครทำผิดในชุมชน
ก็จ่าย/พัฒนาชุมชนนั้น 72.0 13.6 14.4 100.0
4. กฎหมายคุ้มครองพยาน 82.5 5.3 12.2 100.0
5. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและผู้ประกอบการ
อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม 87.8 4.6 7.6 100.0
6. กฎหมายกระจายอำนาจสู่การปกครองท้องถิ่น 78.9 8.5 12.6 100.0
7. พ.ร.บ.หรือกฎหมายส่งเสริมสุขภาพประชาชน 89.5 3.3 7.2 100.0
8. กฎหมายช่วยเหลือให้รัฐสวัสดิการแก่ผู้มีรายได้น้อย 87.7 4.0 8.3 100.0
9. กฎหมายประกันการว่างงานและผลกระทบ 84.3 5.1 10.6 100.0
10. กฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบ
ของประชาชน และทุกภาค ส่วนของสังคม 87.2 3.8 9.0 100.0
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาที่สภานิติบัญญัติชุดปัจจุบันควรรีบคืนอำนาจให้ประชาชนเพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่
ลำดับที่ ระยะเวลาที่ควรรีบคืนอำนาจให้ประชาชน ค่าร้อยละ
1 น้อยกว่า 6 เดือน 21.4
2 6 เดือนถึง 1 ปี 54.8
3 มากกว่า 1 ปี 23.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิ่งเต้น เจรจาตกลงผลประโยชน์กันระหว่างกลุ่ม
นายทุนกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ลำดับที่ การเจรจาตกลงผลประโยชน์ระหว่างนายทุนกับสมาชิกสภานิติบัญญัติฯ ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะยังมีอยู่และมากยิ่งขึ้น 27.6
2 คิดว่าจะยังมีอยู่เท่าเดิม 32.2
3 คิดว่าจะยังมีอยู่แต่น้อยลง 32.6
4 คิดว่าไม่มีแล้ว 7.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อเกี่ยวกับการล็อคโผตำแหน่งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ ก่อนที่จะมีการเลือกตำแหน่ง
ลำดับที่ ความเชื่อเกี่ยวกับการล็อคโผ ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีการล็อคโผ และมีผลต่อความเชื่อมั่น ดังนี้ 75.2
ยังเชื่อมั่นในสภาฯ โดยรวม 42.6
ความเชื่อมั่นในสภาฯ ลดลง 40.7
ไม่เชื่อมั่นในสภาฯ 16.7
รวม 100.0
2 ไม่เชื่อว่ามี 24.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
รยุทธ์ เปรียบเทียบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และภาพลักษณ์ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ : กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา
ขอนแก่น และชลบุรี ” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น และชลบุรี จำนวน
ทั้งสิ้น 1,864 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 24-28 ตุลาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลสำรวจพบว่า คนเริ่มสนใจติดตามข่าวการเมืองน้อยลงจากร้อยละ 71.2 ที่ติดตามอย่างเข้มข้นทุกสัปดาห์ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกลาง
เดือนกันยายนเหลือร้อยละ 63.3 ในผลสำรวจล่าสุด
แต่เมื่อสอบถามถึงการประเมินภาพลักษณ์เบื้องต้นระหว่าง พล.อ.สุรยุทธ์ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ระบุภาพลักษณ์ของ
นายกรัฐมนตรีคนใหม่ดีเหมือนเดิมถึงดีขึ้นในทุกตัวชี้วัด เช่น ร้อยละ 65.1 ระบุความเป็นที่ไว้วางใจได้ ร้อยละ 63.2 ระบุด้านคุณธรรม เป็นคนดี ซื่อ
สัตย์สุจริต ร้อยละ 60.2 ให้ความเชื่อมั่นต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังระบุว่า พล.อ.สุรยุทธ์ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันยังมี
ภาพลักษณ์ด้านอื่นๆ ที่ดีเหมือนเดิมถึงดีขึ้น เช่น การไม่ยุ่งเกี่ยวกับผลประโยชน์ ความเอาจริงเอาจังแก้ปัญหา การทุ่มเททำงานหนัก ความรู้ความ
สามารถ แม้แต่การเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศที่ได้เสียงสนับสนุนจากประชาชนสูงเกินกว่าร้อยละ 50 อย่างไรก็ตาม ด้านที่ได้รับฐานสนับสนุนจาก
ประชาชนต่ำกว่าทุกด้านคือ ความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา และภาพลักษณ์ของคนแวดล้อมใกล้ชิดที่ต้องระมัดระวัง
เมื่อสอบถามถึงภาพลักษณ์ของคณะรัฐมนตรีชุดของรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ เปรียบเทียบกับรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ พบว่า ประชาชนเกินกว่า
ร้อยละ 50 ที่ระบุว่า คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันของ พล.อ.สุรยุทธ์ มีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นในเรื่องของการไม่ต้องมีพิธีรีตอง ไม่ต้องมีคนห้อมล้อมมากมาย ไม่
ต้องมีรถนำขบวนมากมาย และเป็นคนดีมีคุณธรรม อย่างไรก็ตาม ที่ยังไม่ถึงร้อยละ 50 คือเรื่องการไม่เอื้อประโยชน์ต่อนายทุนและพวกพ้องและความ
รวดเร็วเข้าถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
เมื่อสอบถามประชาชนถึงความคาดหวังต่อการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 60 ขึ้นไป คาดหวังค่อน
ข้างมากถึงมาก ว่าประชาชนจะอยู่อย่างพอเพียง (ร้อยละ 64.6) คาดหวังว่าจะเกิดความเป็นธรรมในสังคมมากขึ้น (ร้อยละ 63.7) คาดหวังว่า
ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข (ร้อยละ 61.0) คาดหวังว่าชุมชนจะเข้มแข็ง (ร้อยละ 60.5) และคาดหวังว่าจะมีการรื้อฟื้นคดีความที่อยู่ในความสนใจ
ของประชาชนแต่ไม่คืบหน้าในรัฐบาลทักษิณขึ้นมาพิจารณาทุกคดี (ร้อยละ 51.6)
เมื่อสอบถามถึงการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ กับ รัฐบาลชุด
ปัจจุบัน พบว่า ประชาชนจำนวนเกินกว่าร้อยละ 50 ระบุเจ้าหน้าที่รัฐทำงานได้ดีเหมือนเดิมและดีขึ้นในเรื่องการปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น (ร้อยละ
53.3) เรื่องการดูแลสุขภาพของประชาชน (ร้อยละ 56.1) และเรื่องการคุ้มครองเด็กและเยาวชน (ร้อยละ 54.8) อย่างไรก็ตามที่ต่ำกว่าร้อยละ
50 คือเรื่องการแก้ปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 45.1) และการแก้ปัญหาความยากจน (ร้อยละ 44.8) ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงภาพลักษณ์ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในทัศนะของประชาชนคนต่างจังหวัดและคนกรุงเทพมหานคร พบประเด็นที่น่าพิจารณา
หลายประการ เช่น ประชาชนร้อยละ 57.9 เห็นว่าสมาชิกสภาฯ ที่มาจากการเลือกตั้งเข้าถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ในขณะที่สภาฯที่มา
จากการแต่งตั้งได้เพียงร้อยละ 20.7 ประชาชนร้อยละ 48.1 และร้อยละ 49.3 เห็นว่า สภาฯ จากการเลือกตั้งมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ แต่
สภาที่มาจากการแต่งตั้งมีเพียงร้อยละ 24.1 และร้อยละ 29.4 เท่านั้น และประชาชนร้อยละ 55.8 เห็นว่าสภาจากการเลือกตั้งฟังเสียงประชาชนให้
ประชาชนมีส่วนร่วม ในขณะที่สภาที่มาจากการแต่งตั้งมีเพียงร้อยละ 24.0 เท่านั้น แต่ที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.3 เห็นว่า สภาที่
มาจากการเลือกตั้งเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มนายทุนและพวกพ้อง ในขณะที่ประชาชนเพียงร้อยละ 18.2 เท่านั้นที่เห็นว่าสภาที่มาจากการแต่งตั้งเอื้อ
ประโยชน์ให้นายทุน ในขณะที่ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 40.5 เห็นว่า ไม่มีสภาใดเลยที่จะกล้าออกกฎหมายกระทบผลประโยชน์ของตนเองและ
เอาผิดพวกพ้องของตน
เมื่อสอบถามว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติควรออกกฎหมายใหม่หรือปรับปรุงกฎหมายอะไรบ้าง พบว่า อันดับแรกหรือเกือบร้อยละ 90 ระบุเป็น
กฎหมายจัดระเบียบสังคม คุ้มครองครอบครัว เด็กและเยาวชน รองลงมาคือร้อยละ 89.5 ระบุเป็น พ.ร.บ.หรือกฎหมายส่งเสริมสุขภาพประชาชน
ร้อยละ 87.8 ระบุกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและผู้ประกอบการอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ร้อยละ 87.7 ระบุกฎหมายช่วยเหลือให้รัฐสวัสดิการแก่ผู้มี
รายได้น้อย ร้อยละ 87.2 ระบุกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบของประชาชนและทุกภาคส่วนของสังคม และรองๆ ลงไปที่มีประชาชน
ส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 70 สนับสนุนได้แก่ ปรับปรุงกฎหมายประกันการว่างงานและผลกระทบ กฎหมายยึดทรัพบ์นายทุน ข้าราชการและนักการเมืองที่
ทุจริตคอรัปชั่น กฎหมายคุ้มครองพยาน กฎหมายกระจายอำนาจสู่การปกครองท้องถิ่น และกฎหมายคุ้มครองชุมชน เช่นใครทำผิดทำร้ายชุมชนต้องจ่ายและ
พัฒนาชุมชนนั้นๆ
อย่างไรก็ตาม ประชาชนทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.2 เห็นว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติควรรีบทำงานและ
คืนอำนาจให้ประชาชนเพื่อจัดเลือกตั้งใหม่ภายในเวลาไม่เกิน 1 ปี
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติอาจกลายเป็นจุดอ่อนที่สุดของกลไกต่างๆ ของรัฐในเวลานี้เพราะสภาแห่งนี้
กำลังพบกับแรงเสียดทานและความไม่เชื่อมั่นศรัทธาต่อหลักธรรมาภิบาลตั้งแต่จุดเริ่มต้น คำถามที่ตามมาคือ สภาแห่งนี้จะได้รับแรงสนับสนุนของสาธารณ
ชนให้ปรับระบบเสริมธรรมาภิบาลของประเทศในอนาคตได้อย่างไร เนื่องจากขาดแรงสนับสุนจากสาธารณชนในหลายมิติของหลักธรรมาภิบาล เช่น
ความโปร่งใส การถูกตรวจสอบได้ การมีส่วนร่วมของประชาชน ความกล้าออกกฎหมายเอาผิดพวกพ้องหรือทำให้ตนเองเสียผลประโยชน์ และที่น่า
สังเกตคือ สภาที่มีข้าราชการจำนวนมากเป็นสมาชิกแต่ทำไมประชาชนจึงสะท้อนออกมาในผลสำรวจว่าไม่ได้ใกล้ชิดและไม่ได้เข้าถึงปัญหาความเดือดร้อน
ของประชาชน ซึ่งบรรดาข้าราชการและสมาชิกสภาฯ แห่งนี้จะต้องเร่งทำงานแสดงให้เห็นว่าสมาชิกสภาทุกคนไม่ได้นั่งอยู่บนหอคอยงาช้างแต่เป็นคณะ
บุคคลที่ติดดินเข้าถึงเข้าใจปัญหาเดือดร้อนของประชาชนทั้งประเทศอย่างแท้จริง
“สำหรับภาพลักษณ์ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีหลายมิติที่เป็นจุดเด่นจุดแข็งมากกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เช่น คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต
ความเป็นที่ไว้วางใจได้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผลประโยชน์ แต่มีอยู่สองมิติที่มีฐานจำนวนประชาชนน้อยกว่ามิติอื่นๆ คือ ความรวดเร็วในการเข้าถึงปัญหาเดือด
ร้อนของประชาชนและต้องระมัดระวังบุคคลแวดล้อมซึ่งในระยะยาวอาจกลายเป็นกลุ่มบุคคลที่ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นได้” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สัญญาณที่ส่งเตือนไปยังคณะผู้บริหารประเทศ จากผลสำรวจครั้งนี้คือ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคตจะดีกว่า
รอให้เกิดปัญหาขึ้นแล้วแก้ไข เพราะจะถูกมองว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ดังนั้นกลไกของรัฐและรัฐบาลชุดปัจจุบันต้องแสดงให้สาธารณชนเห็นอย่าง
เป็นรูปธรรมว่า ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศได้หลายอย่างที่มีคุณภาพดีกว่ารัฐบาลที่ถูกมองว่าไม่ซื่อสัตย์ และเน้นหนุนเสริมภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนและ
ชุมชนเข้มแข็งต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นทุกรูปแบบอย่างยั่งยืนต่อไป
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นในเชิงเปรียบเทียบของประชาชนระหว่างสภาฯ ที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนกับสภาฯ
ที่มาจากการแต่งตั้ง
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสภานิติบัญญัติ
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นในเชิงเปรียบเทียบของประชาชนระหว่างรัฐบาลชุดปัจจุบันกับรัฐบาลชุดที่แล้ว
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกเบื้องต้นของสาธารณชนต่อ พล.อ.สุ
รยุทธ์ เปรียบเทียบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และภาพลักษณ์ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ : กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา
ขอนแก่น และชลบุรี ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 24-28 ตุลาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น และชลบุรี
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,864 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.4 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 19.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 79.6 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 17.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ด้านสถานภาพ ตัวอย่าง ร้อยละ 57.7 ระบุสถานภาพสมรส
ร้อยละ 37.1 ระบุสถานภาพโสด
และร้อยละ 5.2 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 20.4 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.0 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 5.5 ระบุว่างงาน
และเมื่อพิจารณารายได้ส่วนตัวต่อเดือนของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.8 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 37.2 ระบุรายได้ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 7.4 ระบุรายได้ 10,001-15,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 6.1 ระบุรายได้ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 25.5 ระบุรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 45.3
2 3-4 วัน 18.0
3 1-2 วัน 11.2
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 20.0
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปรียบเทียบเพื่อประเมินภาพรวมระหว่าง นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน กับ
นายกรัฐมนตรีคนที่แล้ว ในประเด็นต่างๆ
เปรียบเทียบนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันกับ เกณฑ์เปรียบเทียบ รวม
นายกรัฐมนตรีคนที่แล้ว
ดีขึ้น ดีเหมือนเดิม แย่เหมือนเดิม แย่ลง ไม่มีความเห็น
1. ด้านคุณธรรม เป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต 43.4 19.8 4.9 4.6 27.3 100.0
2. ด้านความทุ่มเททำงานหนัก 28.5 29.4 5.8 7.4 28.9 100.0
3. ด้านความเป็นที่ไว้วางใจได้ 43.9 21.2 5.4 5.8 23.7 100.0
4. ด้านความรู้ความสามารถในการทำงาน 28.1 29.9 4.7 9.3 28.0 100.0
5. ด้านการเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ 22.6 27.9 6.3 13.2 30.0 100.0
6. ด้านความเชื่อมั่นของประชาชน 38.1 22.1 6.5 9.2 24.1 100.0
7. ความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา 22.8 25.5 10.1 12.2 29.4 100.0
8. ความเอาจริงเอาจังแก้ปัญหา 33.6 22.2 8.6 8.1 27.5 100.0
9. ไม่ยุ่งเกี่ยวผลประโยชน์ 38.6 14.7 6.6 4.2 35.9 100.0
10. คนแวดล้อมใกล้ชิด 27.9 20.3 7.7 5.5 38.6 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ภาพลักษณ์ของคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน เปรียบเทียบกับรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของคณะรัฐมนตรีชุด พล.อ.สุรยุทธ์ ดีขึ้น ไม่แตกต่าง แย่ลง ไม่มีความเห็น
1 รวดเร็วเข้าถึงปัญหาเดือดร้อนของประชาชน 38.1 21.3 26.4 14.2
2 ไม่ต้องมีพิธีรีตอง ไม่ต้องมีคนห้อมล้อม 50.8 17.9 9.7 21.6
3 ไม่ต้องมีรถนำขบวนมากมาย 54.1 12.8 6.2 26.9
4 ความเป็นคนดีมีคุณธรรม 61.6 8.6 5.5 24.3
5 ไม่เอื้อประโยชน์ให้นายทุนและพวกพ้อง 43.2 25.8 14.4 16.6
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความคาดหวังต่อการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันในประเด็นต่างๆ
ประเด็น ระดับความคาดหวัง รวม
มาก ค่อนข้างมาก ค่อนข้างน้อย น้อย ไม่มีความเห็น
1. ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข 28.0 33.0 16.5 8.1 14.4 100.0
2. ความเป็นธรรมในสังคม 30.9 32.8 14.9 8.6 12.8 100.0
3. การรื้อฟื้นคดีความที่อยู่ในความสนใจของประชาชน
แต่ไม่คืบหน้าในรัฐบาลทักษิณขึ้นมาพิจารณาทุกคดี 25.7 25.9 17.2 8.8 22.4 100.0
4. ประชาชนจะอยู่อย่างพอเพียง 31.9 32.7 14.4 8.2 12.8 100.0
5. ชุมชนเข้มแข็ง 30.6 29.9 16.1 9.5 13.9 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปรียบเทียบเพื่อประเมินภาพรวมการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐระหว่าง รัฐบาลชุด
ปัจจุบันกับรัฐบาลชุดที่แล้ว
การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐเปรียบเทียบ เกณฑ์เปรียบเทียบ รวม
รัฐบาลชุดปัจจุบันกับรัฐบาลชุดที่แล้ว
ดีขึ้น ดีเหมือนเดิม แย่เหมือนเดิม แย่ลง ไม่มีความเห็น
1. การแก้ปัญหายาเสพติด 16.1 29.0 10.9 19.9 24.1 100.0
2. การปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น 33.2 20.1 13.9 9.6 23.2 100.0
3. การคุ้มครองดูแลเด็กและเยาวชน 22.0 32.8 11.3 8.1 25.8 100.0
4. การดูแลสุขภาพของประชาชน 22.8 33.3 10.3 10.0 23.6 100.0
5. การแก้ปัญหาความยากจน 16.9 27.9 13.5 14.6 27.1 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นที่มีต่อ สภาฯ ที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน กับ สภาฯ ที่มาจาก
การแต่งตั้ง ในประเด็นต่างๆ
ประเด็น รูปแบบสภาฯ รวม
สภาฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง สภาฯ ที่มาจากการแต่งตั้ง “ไม่มี” ทั้งสองสภาฯ
1. มีความโปร่งใส 48.1 24.1 27.8 100.0
2. ยอมให้ถูกตรวจสอบได้ 49.3 29.4 21.3 100.0
3. การเข้าถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน 57.9 20.7 21.4 100.0
5. ฟังเสียงประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วม 55.8 24.0 20.2 100.0
6. เจ้ายศเจ้าอย่าง คิดว่าตนเองอยู่เหนือประชาชน 43.1 27.2 29.7 100.0
7. ติดดิน เป็นกันเองกับประชาชน 50.3 20.7 29.0 100.0
8. กล้าออกกฎหมายกระทบผลประโยชน์ของตนเอง
และเอาผิดพวกพ้องของตน 33.9 25.6 40.5 100.0
9.เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มนายทุนและพวกพ้อง 56.3 18.2 25.5 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกฎหมายที่ต้องการให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติออกใหม่และปรับปรุง เพื่อแสดงให้เห็น
ว่า การเข้ามายึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการเมืองจากรัฐบาลชุดที่แล้วทำให้ประเทศดีขึ้น
ประเภทกฎหมาย ความคิดเห็น รวม
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1. กฎหมายยึดทรัพย์นายทุน ข้าราชการ และ
นักการเมืองที่ทุจริตคอรัปชั่น 86.3 5.1 8.6 100.0
2. กฎหมายจัดระเบียบสังคม คุ้มครองครอบครัว
เด็กและเยาวชน 89.8 3.2 7.0 100.0
3. กฎหมายคุ้มครองชุมชน เช่น ใครทำผิดในชุมชน
ก็จ่าย/พัฒนาชุมชนนั้น 72.0 13.6 14.4 100.0
4. กฎหมายคุ้มครองพยาน 82.5 5.3 12.2 100.0
5. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและผู้ประกอบการ
อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม 87.8 4.6 7.6 100.0
6. กฎหมายกระจายอำนาจสู่การปกครองท้องถิ่น 78.9 8.5 12.6 100.0
7. พ.ร.บ.หรือกฎหมายส่งเสริมสุขภาพประชาชน 89.5 3.3 7.2 100.0
8. กฎหมายช่วยเหลือให้รัฐสวัสดิการแก่ผู้มีรายได้น้อย 87.7 4.0 8.3 100.0
9. กฎหมายประกันการว่างงานและผลกระทบ 84.3 5.1 10.6 100.0
10. กฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบ
ของประชาชน และทุกภาค ส่วนของสังคม 87.2 3.8 9.0 100.0
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาที่สภานิติบัญญัติชุดปัจจุบันควรรีบคืนอำนาจให้ประชาชนเพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่
ลำดับที่ ระยะเวลาที่ควรรีบคืนอำนาจให้ประชาชน ค่าร้อยละ
1 น้อยกว่า 6 เดือน 21.4
2 6 เดือนถึง 1 ปี 54.8
3 มากกว่า 1 ปี 23.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิ่งเต้น เจรจาตกลงผลประโยชน์กันระหว่างกลุ่ม
นายทุนกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ลำดับที่ การเจรจาตกลงผลประโยชน์ระหว่างนายทุนกับสมาชิกสภานิติบัญญัติฯ ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะยังมีอยู่และมากยิ่งขึ้น 27.6
2 คิดว่าจะยังมีอยู่เท่าเดิม 32.2
3 คิดว่าจะยังมีอยู่แต่น้อยลง 32.6
4 คิดว่าไม่มีแล้ว 7.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อเกี่ยวกับการล็อคโผตำแหน่งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ ก่อนที่จะมีการเลือกตำแหน่ง
ลำดับที่ ความเชื่อเกี่ยวกับการล็อคโผ ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีการล็อคโผ และมีผลต่อความเชื่อมั่น ดังนี้ 75.2
ยังเชื่อมั่นในสภาฯ โดยรวม 42.6
ความเชื่อมั่นในสภาฯ ลดลง 40.7
ไม่เชื่อมั่นในสภาฯ 16.7
รวม 100.0
2 ไม่เชื่อว่ามี 24.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-