ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง อารมณ์ความรู้สึกและทางออกต่อ สถานการณ์การเมืองปัจจุบันหลังเกิดเหตุ 7 ตุลาคม กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ นครสวรรค์ สมุทรสาคร ระยอง ลพบุรี นครปฐม นนทบุรี ชลบุรี มหาสารคาม สุรินทร์ อุบลราชธานี นครราชสีมา พัทลุง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 5,598 ตัวอย่าง มีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 11 -16 ตุลาคม 2551 พบ ว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่เกินกว่า ร้อยละ 90 ยังคงติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์
เมื่อถามถึงอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ผลสำรวจล่าสุดยังคงพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.3 อยาก เห็นคนไทยรักและสามัคคีกัน แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.6 ยังคงกังวลว่าประเทศไทยจะกลายเป็นสภาพบ้านป่าเมืองเถื่อน นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อย ละ 66.7 ยังคงเครียดต่อเรื่องการเมือง และที่น่าเป็นห่วงคือ เกินครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 52.9 มีความเคลือบแคลงสงสัยต่อท่าทีของรัฐบาลในการ ปราบปรามม็อบวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา
เมื่อถามถึงทางออกของสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.9 ระบุให้ยึดมั่นกระบวนการยุติธรรม หาคนผิดใน การสลายการชุมนุมมาลงโทษ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.2 ให้หาคนกลางมาเป็นนายกรัฐมนตรีและจัดการการเลือกตั้งใหม่ที่บริสุทธิ์เที่ยง ธรรม ร้อยละ 63.4 ให้จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติมีคนกลางเป็นนายกรัฐมนตรี และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.5 ระบุการเมืองใหม่ การเมืองภาคประชาชน เข้มแข็ง เป็นทางออกของสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ร้อยละ 61.5 ระบุการเลือกตั้งใหม่เป็นทางออก ในขณะที่ร้อยละ 57.5 ระบุการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ โดย สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ (สสร. 3) คือทางออก
เมื่อถามถึงคุณธรรมที่แกนนำหรือกลุ่มที่กำลังเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ ควรแสดงออกในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้ พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 49.1 ระบุ ความเสียสละ รองลงมาคือร้อยละ 47.8 ระบุสติสัมปชัญญะ ร้อยละ 47.4 ระบุจริยธรรมทางการเมือง ร้อยละ 46.7 ระบุการให้อภัย ร้อยละ 46.1 ระบุความรับผิดชอบ ร้อยละ 37.7 ระบุความอดทนอดกลั้น ร้อยละ 34.6 ระบุความมีวินัย และร้อยละ 32.9 ระบุความรักชาติ
เมื่อถามถึงความรับผิดชอบของรัฐบาลต่อเหตุการณ์ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา พบว่า อันดับแรก ร้อยละ 51.2 ให้พรรคร่วมรัฐบาลถอนตัวออก จากการเป็นรัฐบาล รองลงมาคือ ร้อยละ 33.5 ระบุให้รับผิดชอบต่อผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทุกฝ่าย อันดับต่อไปหรือร้อยละ 30.1 ระบุให้ลาออกหรือยุบ สภา และร้อยละ 25.5 ให้ดำเนินคดีตามกฎหมายหาคนผิดมาลงโทษ ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 11.1 เท่านั้นที่ระบุว่าไม่ต้องรับผิดชอบอะไร
เมื่อวิเคราะห์แนวคิดของประชาชนต่อความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ 7 ตุลาคม ที่แนะให้พรรคร่วมรัฐบาลถอนตัวออกจากการเป็นรัฐบาล จำแนกตามภูมิภาค พบว่า ประชาชนในภาคกลาง ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร เกินกว่าครึ่งคือ ร้อยละ 53.3 ร้อยละ 79.1 และร้อยละ 54.4 ตาม ลำดับ มีความเห็นว่า พรรคร่วมรัฐบาลควรแสดงความรับผิดชอบด้วยการถอนตัวออกจากการเป็นรัฐบาลภายหลังเหตุการณ์ 7 ตุลาคม ในขณะที่ประชาชน ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.1 และร้อยละ 55.2 เห็นว่าไม่ควรถอนตัว
รายละเอียดงานวิจัย
1. เพื่อสำรวจอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อทางออกของสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง อารมณ์ความรู้สึกและทางออกของสถานการณ์ การเมืองขณะนี้หลังเกิดเหตุ 7 ตุลาคม กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ นครสวรรค์ สมุทรสาคร ระยอง ลพบุรี นครปฐม นนทบุรี ชลบุรี มหาสารคาม สุรินทร์ อุบลราชธานี นครราชสีมา พัทลุง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับ ประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 5,598 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบ เขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวม ข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น ของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 140 คน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 48.2 เป็นหญิง
ร้อยละ 51.8 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.4 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 25.7 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 23.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ
ร้อยละ 20.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 70.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 26.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.3 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 7.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 66.4 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 17.3 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 9.2 4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 6.8 5 ไม่ได้ติดตามเลย 0.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุ อารมณ์ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ใช่ ไม่ใช่ 1 อยากเห็นคนไทยรักและสามัคคีกัน 95.3 4.7 2 กังวลว่าประเทศไทยจะกลายเป็นสภาพบ้านป่าเมืองเถื่อน 72.6 27.4 3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 66.7 33.3 4 เคลือบแคลงสงสัยต่อท่าทีของรัฐบาล ในการใช้กำลังปราบปรามม็อบ 52.9 47.1 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อทางออกของสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ลำดับ ทางออกสำหรับปัญหาทางการเมืองขณะนี้ ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น 1 ยึดมั่นกระบวนการยุติธรรม หาคนผิดในการสลายการชุมนุมมาลงโทษ 78.9 21.1 100.0 2 หาคนกลางมาเป็นนายกรัฐมนตรี และจัดการเลือกตั้งใหม่ที่บริสุทธิ์เที่ยงธรรม 72.2 27.8 100.0 3 การจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ มีคนกลางเป็นนายกรัฐมนตรี 63.4 36.6 100.0 4 การเมืองใหม่ การเมืองภาคประชาชน เข้มแข็ง 62.5 37.5 100.0 5 เลือกตั้งใหม่ 61.5 38.5 100.0 6 แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดย สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ (สสร. 3) 57.5 42.5 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคุณธรรมที่ผู้นำทางการเมืองต่างๆควรแสดงออกในสถานการณ์ความขัดแย้ง
ทางการเมืองในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณธรรมที่ผู้นำทางการเมืองต่างๆ ควรแสดงออก ค่าร้อยละ 1 ความเสียสละ 49.1 2 สติสัมปชัญญะ 47.8 3 จริยธรรมทางการเมือง 47.4 4 ให้อภัย 46.7 5 ความรับผิดชอบ 46.1 6 อดทน อดกลั้น 37.7 7 มีวินัย 34.6 8 ความรักชาติ 32.9 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่รัฐบาลควรรับผิดชอบจากเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯ และ
เจ้าหน้าที่ตำรวจจนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่รัฐบาลควรรับผิดชอบ ค่าร้อยละ 1 ให้พรรคร่วมรัฐบาลแสดงความรับผิดชอบด้วยการถอนตัวออกจากรัฐบาล 51.2 2 รับผิดชอบต่อผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทุกฝ่าย 33.5 3 ยุบสภา ลาออก 30.1 4 ดำเนินคดีตามกฎหมายกับคนที่ทำผิด/นำคนผิดมาลงโทษ 25.5 5 ออกมาสารภาพผิดกับประชาชน/ออกมาขอโทษประชาชน 13.6 6 ตรวจสอบสถานการณ์อย่างเป็นธรรม/ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย 5.9 7 อื่นๆ อาทิ ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ/ชี้แจงสถานการณ์ให้ประชาชนรับทราบตามความเป็นจริง / ไม่ปกปิดข้อมูล/เร่งหาวิธีการแก้ไขปัญหา/สลายม็อบซ้ำ 3.5 8 ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น 11.1 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ มีความเห็นว่า พรรคร่วมรัฐบาลควรถอนตัวออกจากรัฐบาลหลังเหตุการณ์ 7 ตุลาคม จำแนกตามภูมิภาค ลำดับที่ แนวคิด เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม. 1 พรรคร่วมรัฐบาลควรถอนตัวจากการเป็นรัฐบาล 38.9 53.3 44.8 79.1 54.4 2 ไม่ควรถอนตัว 61.1 46.7 55.2 20.9 45.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-