ที่มาของโครงการ
ตามที่นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้ลงพื้นที่ไปปฏิบัติภารกิจในการแก้ปัญหาความยากจนที่อำเภออาจสามารถ จังหวัด
ร้อยเอ็ด และได้มีการนำเสนอวิธีการทำงานในรูปแบบเรียลลิตี้โชว์ ( Reality Show) ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐได้ศึกษาวิธีการทำงานในการ
แก้ไขปัญหาให้กับประชาชน เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติและเข้าถึงประชาชนอย่างแท้จริง โดยมีการถ่ายทอดสดวิธีการทำงานตลอด 24 ชั่วโมง
ตั้งแต่วันที่ 16 - 20 มกราคม 2549 นั้น ปรากฏว่าใน 2 วันแรกของการถ่ายทอดสดการปฏิบัติภารกิจดังกล่าวนั้น มีเสียงสะท้อนจากหลายฝ่ายอย่าง
ชัดเจนถึงการจัดทำเรียลลิตี้โชว์ในครั้งนี้ และได้มีการออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคลและองค์กร ซึ่งมีทั้งที่สนับสนุนและวิพากษ์วิจารณ์
ในการติดตามภารกิจเรียลลิตี้โชว์ของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ คณะผู้วิจัยมีความเห็นว่าการทำสำรวจเพื่อประเมินผลสามารถทำได้ในสามห้วง
เวลา คือประเมินก่อนเริ่มโครงการ ประเมินระหว่างดำเนินโครงการและประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ ซึ่งการประเมินระหว่างดำเนินโครงการมี
ความสำคัญที่จะทำให้มีการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการมากยิ่งขึ้น ดังนั้น สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ทำ
การสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐทั่วประเทศ ถึงการรับรู้รับทราบ และประเด็นความคิดเห็นที่มีต่อการ
ถ่ายทอดสดการทำงานของนายกรัฐมนตรีดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้
ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการรับรู้ของข้าราชการที่มีต่อการถ่ายทอดสดภารกิจของนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหา
ความยากจน
2. เพื่อสำรวจการติดตามชมการถ่ายทอดสดภารกิจของนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความยากจน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นในด้านต่างๆของข้าราชการต่อการถ่ายทอดสดภารกิจของนายกรัฐมนตรีใน
การแก้ไขปัญหาความยากจน
4. เพื่อนำเสนอข้อมูลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขในช่วงเวลา
ปฏิบัติการภารกิจโครงการเรียลลิตี้โชว์ครั้งนี้ต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจเพื่อประเมินผลระหว่างการปฏิบัติการในโครงการแก้จน โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
เรื่อง “สำรวจความคิดเห็นและการตอบรับของข้าราชการต่อการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน :
กรณีศึกษาตัวอย่างข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐทั่วประเทศ” ระยะเวลาการดำเนินโครงการ 16-17 มกราคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่รัฐ/ข้าราชการทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ ใช้การสุ่มตัวอย่างเชิงระบบ (systematic sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่างหน่วยงานราชการ
และเจ้าหน้าที่รัฐ/ข้าราชการทั่วประเทศ
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 811 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 2.5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.3 เป็นชาย
ร้อยละ 23.7 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ป.ว.ส. /อนุปริญญา
ร้อยละ 60.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 31.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
และเมื่อพิจารณาตามหน่วยงานที่สังกัดพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 66.7 ระบุเป็นข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
และร้อยละ 33.3 เป็นเจ้าหน้าที่/ข้าราชการในสังกัดอื่นๆ เช่น สำนักงานการเกษตร/ สำนักงานที่ดิน/สำนักงาน
ปฏิรูปที่ดิน และชลประทาน เป็นต้น
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจเรื่อง “สำรวจความคิดเห็นของข้าราชการต่อการถ่ายทอดสดเรียล
ลิตี้โชว์ภารกิจของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างเจ้าหน้าที่รัฐ/ข้าราชการทั่ว
ประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 811 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 16-17 มกราคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจการรับรู้รับทราบของเจ้าหน้าที่รัฐ/ข้าราชการที่มีต่อข่าวการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี ทางโทรทัศน์ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 77.6 ระบุทราบว่ามีการถ่ายทอดในระหว่างวันที่ 16-20 มกราคม 2549 ในขณะที่ร้อยละ 22.4
ระบุไม่ทราบ ทั้งนี้ตัวอย่างที่ระบุทราบว่ามีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์นั้น ร้อยละ 44.8 ระบุทราบว่ามีการถ่ายทอดสดผ่านทางยูบีซีช่อง 16
ร้อยละ 9.5 ระบุทราบว่ามีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ร้อยละ 8.5 ระบุทราบว่ามีการถ่ายทอดสดทั้งสองช่อง ในขณะที่ร้อยละ
37.2 ระบุทราบว่ามีการถ่ายทอดสดแต่ไม่ทราบว่าทางสถานีโทรทัศน์ช่องใด
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการรับสัญญาณ UBC ถ่ายทอดสดรายการเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของท่านนายกรัฐมนตรีนั้นพบว่า มี
ตัวอย่างเพียงร้อยละ 7.1 เท่านั้นที่ระบุว่าในห้องทำงานของตนมีการรับสัญญาณ UBC ในขณะที่ร้อยละ 92.9 ระบุไม่มี ซึ่งเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถาม
ตัวอย่างถึงการติดตามรับชมรายการถ่ายทอดสดดังกล่าวนี้ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 10.7 ระบุได้ติดตามรับชมในขณะที่ร้อยละ 89.3 ระบุไม่ได้ติดตาม
รับชม
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการรับทราบวัตถุประสงค์ของการถ่ายทอดสดรายการเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของท่านนายก
รัฐมนตรีเกี่ยวกับภารกิจเรื่องการแก้จน นั้นพบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 2ใน 3 คือร้อยละ 71.7 ระบุทราบอย่างชัดเจน ในขณะที่ร้อยละ 25.1 ระบุไม่
ทราบชัดเจน และร้อยละ 3.2 ระบุไม่ทราบเลย และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดสดรายการเรียลลิตี้โชว์
ในครั้งนี้นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 61.4 ระบุคิดว่าเป็นการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริงในขณะที่ร้อยละ 25.6 ระบุคิดว่าเป็น
เทคนิคการหาเสียง และร้อยละ 13.0 ระบุไม่ทราบ
ประเด็นสำคัญอย่างยิ่งที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ การประเมินความรู้ที่ได้รับจากการถ่ายทอดสดในครั้งนี้ ซึ่งผลสำรวจพบว่า
ตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุว่าความรู้ต่างๆที่ได้รับจากการถ่ายทอดสดในครั้งนี้เป็นสิ่งที่รู้อยู่แล้ว ทั้งสภาพปัญหาความยากจนที่ถูกนำเสนอ(ร้อยละ 93.0 ระบุ
เป็นสิ่งที่รู้อยู่แล้ว)วิธีการเข้าถึง-เข้าใจปัญหาของชาวบ้านที่นายกรัฐมนตรีใช้ (ร้อยละ 93.0 ระบุเป็นสิ่งที่รู้อยู่แล้ว) ความหมายของคำว่าความยากจน
ตามคำนิยามของนายกรัฐมนตรี (ร้อยละ 90.9 ระบุเป็นสิ่งที่รู้อยู่แล้ว) และแม้แต่การต้อนรับนายกรัฐมนตรีก็เป็นสิ่งที่ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 90.0
ระบุว่าเป็นสิ่งที่รู้อยู่แล้วเช่นเดียวกัน โดยเมื่อให้ประเมินโดยภาพรวมแล้วพบว่ามีตัวอย่างไม่ถึง 1 ใน 3 คือร้อยละ 27.9 ที่ระบุว่าการถ่ายทอดสด
ภารกิจการแก้ไขปัญหาความยากจนในครั้งนี้เป็นความรู้ใหม่ที่เพิ่งได้รับ
ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความยากง่ายในการนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัตินั้นพบว่า วิธีการต้อนรับนายกรัฐมนตรีเป็นสิ่งที่
ปฏิบัติได้ง่าย (ร้อยละ 86.0 ระบุปฏิบัติได้ง่าย) ในขณะที่วิธีการเข้าถึง-เข้าใจปัญหาของชาวบ้านที่นายกรัฐมนตรีใช้เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ยาก (ร้อยละ
49.2 ระบุปฏิบัติได้ยาก) ทั้งนี้คะแนนเฉลี่ยการทำงานของนายกรัฐมนตรีที่ได้แสดงออกมาให้เห็นจากรายการถ่ายทอดสดเท่ากับ 7.4 จากคะแนนเต็ม
10 คะแนน
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ ทรรศนะของตัวอย่างที่มีต่อปัจจัยที่จะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้
สำเร็จซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.4 ระบุความร่วมมือและความพร้อมของประชาชน ร้อยละ 34.5 ระบุความจริงจังในการปฏิบัติงาน
ของข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 12.9 ระบุความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับประชาชน ร้อยละ 12.4 ระบุงบประมาณในการดำเนินงาน ร้อย
ละ 11.3 ระบุเป็นเรื่องอำนาจการตัดสินใจ และร้อยละ 10.8 ระบุความเข้าใจในสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ ตามลำดับ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐส่วนใหญ่ทราบว่าจะมีการถ่ายทอดสดแต่มี
เพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่ติดตามชมการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ของนายกรัฐมนตรีในการแก้จน และมีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้นที่ระบุว่ามีการรับสัญญาณ
UBC ในที่ทำงาน
อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มข้าราชการที่ติดตามรับชมเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของนายกรัฐมนตรีในการแก้จนครั้งนี้ ส่วนใหญ่ประเมินว่าภารกิจ
ครั้งนี้เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนอย่างแท้จริง โดยประเมินให้คะแนน 7.4 เต็ม 10 ซึ่งถือว่าเป็น
คะแนนที่ให้โครงการนี้ในระดับสูง อย่างไรก็ตามข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐที่ติดตามชมรายการสดครั้งนี้ต่างก็เห็นว่าเป็นสิ่งที่รู้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น
สภาพปัญหาความยากจนที่ถูกนำเสนอ คำนิยามคำว่าความยากจนของนายกรัฐมนตรี วิธีการเข้าใจ-เข้าถึงปัญหาความยากจน และวิธีการต้อนรับนายก
รัฐมตรี
“ที่น่าพิจารณาคือข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐประมาณครึ่งระบุว่า วิธีการเข้าใจ-เข้าถึงปัญหาความยากจนตามวิธีการของนายกรัฐมนตรี
เป็นเรื่องที่ปฏิบัติเองได้ยาก และจำนวนมากระบุว่า วิธีการแก้ปัญหาความยากจนของนายกรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ยากเช่นกัน โดยให้เหตุผลว่า
ปัจจัยสำคัญแท้จริงที่จะทำให้การแก้ปัญหาความยากจนสำเร็จลงได้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของประชาชนในด้านต่างๆ เช่น ระดับการศึกษา ทัศนคติและ
พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย รองลงมาคือเรื่องความจริงจังในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับประชาชน
งบประมาณในการทำงาน และอำนาจในการตัดสินใจ เป็นต้น”
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ในการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนนั้น รัฐบาลควรเน้นไปที่การเพิ่มคุณภาพประชาชนด้านการศึกษา ทั้ง
การศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ เช่นการให้ความรู้ผ่านทางสื่อสารมวลชน ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การออม การปรับเปลี่ยน
ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนไม่ให้ใช้จ่ายเกินตัว และการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ตลอดจนการสร้างระบบการทำงานของราชการให้
ข้าราชการระดับล่างหรือหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับประชาชนมีอำนาจในการตัดสินใจดำเนินงานในการแก้ไขปัญหามากขึ้น เพื่อให้สามารถประสานงานกับ
หน่วยงานต่างๆ ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะหากว่ารัฐบาลไม่มีระบบที่ยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาความยากจนแล้ว รัฐบาลจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงข้อกล่าว
หาของสังคมที่ว่าเรียลลิตี้โชว์ในครั้งนี้ เป็นเพียงเทคนิคการหาเสียงของรัฐบาลที่เน้นการทำงานในลักษณะไฟไหม้ฟาง เท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวปิดท้ายว่า ในอีก 3-6 เดือนข้างหน้า เอแบคโพลล์จะลงพื้นที่ในอำเภออาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์
และผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ จากการปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้ของนายกรัฐมนตรี และต้องการหาคำตอบ
ว่าเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้เป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน หรือเป็นเพียงแค่วิธีการฟื้นความนิยมของประชาชนต่อ
รัฐบาลเท่านั้น ซึ่งเป็นการลงพื้นที่โดยใช้งบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ไม่มีแหล่งงบประมาณทางการเมืองใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์
ภารกิจของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่าน UBC
ลำดับที่ การรับทราบการถ่ายทอดเรียลลิตี้โชว์ ร้อยละ
1 ทราบว่าจะมีการถ่ายทอดสดในวันที่ 16-20 มกราคม 2549 77.6
3 ไม่ทราบ 22.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานีโทรทัศน์ที่มีการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี(เฉพาะผู้ที่ระบุว่าทราบว่าจะมีการถ่ายทอดสด)
ลำดับที่ สถานีโทรทัศน์ที่มีการถ่ายทอดสด ร้อยละ
1 ทราบว่ามีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 9.5
2 ทราบว่ามีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ยูบีซีช่อง 16 44.8
3 ทราบว่ามีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 และยูบีซี 16 8.5
4 ทราบว่ามีการถ่ายทอดสดแต่ไม่ทราบว่าผ่านทางสถานีใด 37.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับสัญญาณ UBC ถ่ายทอดสดรายการ
เรียลลิตี้โชว์ภารกิจของท่านนายกรัฐมนตรีที่ห้องทำงานของตน
ลำดับที่ การรับสัญญาณ UBC ที่ห้องทำงาน ร้อยละ
1 มีการรับสัญญาณ 7.1
2 ไม่มี 92.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามรับชมการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ของนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การติดตามรับชมรายการเรียลลิตี้โชว์ของนายกรัฐมนตรี ร้อยละ
1 รับชม ผ่านทาง UBC 16 หรือ โทรทัศน์ช่อง 11 10.7
2 ไม่ได้รับชม 89.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์
ภารกิจของท่านนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับภารกิจเรื่องการแก้จน (เฉพาะคนที่รับชม)
ลำดับที่ การรับทราบวัตถุประสงค์ ร้อยละ
1 ทราบอย่างชัดเจน 71.7
2 ไม่ทราบชัดเจน 25.1
3 ไม่ทราบเลย 3.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของ
ท่านนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ถือเป็นเทคนิคการหาเสียงหรือเป็นการแก้ปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง
(เฉพาะคนที่รับชม)
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ ร้อยละ
1 เป็นเทคนิคการหาเสียง 25.6
2 เป็นการแก้ปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง 61.4
3 ไม่ทราบ 13.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ประเมินความรู้ที่ได้รับจากข่าวการถ่ายทอดสดลงพื้นที่
แก้ความยากจนโดยนายกรัฐมนตรี (เฉพาะคนที่รับชม)
ประเด็น เป็นสิ่งที่รู้อยู่แล้ว เป็นความรู้ใหม่ รวมทั้งสิ้น
1) สภาพปัญหาความยากจนที่ถูกนำเสนอ 93.0 7.0 100.0
2) ความหมายของคำว่า “ความยากจน” ตามคำนิยามของนายกรัฐมนตรี 90.9 9.1 100.0
3) วิธีการเข้าถึง-เข้าใจปัญหาของชาวบ้านที่ นายกรัฐมนตรีใช้ 93.0 7.0 100.0
4) วิธีการแก้ปัญหาของนายกรัฐมนตรี 75.0 25.0 100.0
5) วิธีการต้อนรับนายกรัฐมนตรี 90.0 10.0 100.0
6) โดยภาพรวม ท่านประเมินว่าการถ่ายทอดสด
ภารกิจการแก้ไขปัญหาความความยากจนในครั้งนี้ เป็นเรื่องที่ท่านคิดว่า...... 72.1 27.9 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ความยากง่ายในการปฏิบัติของความรู้ทีได้รับจากการถ่าย
ทอดสดในครั้งนี้ (เฉพาะคนที่รับชม)
ประเด็น ปฏิบัติได้ง่าย ปฏิบัติได้ยาก รวมทั้งสิ้น
1) วิธีการเข้าถึง-เข้าใจปัญหาของชาวบ้านที่ นายกรัฐมนตรีใช้ 50.8 49.2 100.0
2) วิธีการแก้ปัญหาของนายกรัฐมนตรี 52.4 47.6 100.0
3) ความรู้ของนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแก้จน 69.0 31.0 100.0
4) วิธีการต้อนรับนายกรัฐมนตรี 86.0 14.0 100.0
5) โดยภาพรวมการถ่ายทอดสดแก้ความยากจนนี้ เป็นเรื่อง..... 69.8 30.2 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้คะแนนการทำงานของนายกรัฐมนตรีที่
แสดงออกมาให้เห็นในรายการเรียลลิตี้โชว์ โดยรวมทั้งหมด (เฉพาะคนที่รับชม)
ระดับคะแนน ร้อยละ
ต่ำกว่า 5 คะแนน 5.0
5-7 คะแนน 52.1
8-10 คะแนน 42.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
คะแนนเฉลี่ย 7.4 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัจจัยที่สามารถแก้ไขปัญหา
ความยากจนให้สำเร็จ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยในการแก้ไขปัญหาความยากจนให้สำเร็จ ร้อยละ
1 ความพร้อมของประชาชนในด้านต่างๆ เช่น ระดับการศึกษา
ทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชนในการจับจ่ายใช้สอย 38.4
2 ความจริงจังในการปฏิบัติงานของข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ 34.5
3 ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับประชาชน 12.9
4 งบประมาณในการดำเนินงาน 12.4
5 อำนาจในการตัดสินใจ 11.3
6 ความเข้าใจในสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ 10.8
7 ความชัดเจนของนโยบาย 7.6
8 อื่นๆ อาทิ เศรษฐกิจโดยรวม/ทรัพยากรที่มีอยู่/ การประสานงาน/ กำลังคน เป็นต้น 5.3
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ตามที่นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้ลงพื้นที่ไปปฏิบัติภารกิจในการแก้ปัญหาความยากจนที่อำเภออาจสามารถ จังหวัด
ร้อยเอ็ด และได้มีการนำเสนอวิธีการทำงานในรูปแบบเรียลลิตี้โชว์ ( Reality Show) ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐได้ศึกษาวิธีการทำงานในการ
แก้ไขปัญหาให้กับประชาชน เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติและเข้าถึงประชาชนอย่างแท้จริง โดยมีการถ่ายทอดสดวิธีการทำงานตลอด 24 ชั่วโมง
ตั้งแต่วันที่ 16 - 20 มกราคม 2549 นั้น ปรากฏว่าใน 2 วันแรกของการถ่ายทอดสดการปฏิบัติภารกิจดังกล่าวนั้น มีเสียงสะท้อนจากหลายฝ่ายอย่าง
ชัดเจนถึงการจัดทำเรียลลิตี้โชว์ในครั้งนี้ และได้มีการออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคลและองค์กร ซึ่งมีทั้งที่สนับสนุนและวิพากษ์วิจารณ์
ในการติดตามภารกิจเรียลลิตี้โชว์ของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ คณะผู้วิจัยมีความเห็นว่าการทำสำรวจเพื่อประเมินผลสามารถทำได้ในสามห้วง
เวลา คือประเมินก่อนเริ่มโครงการ ประเมินระหว่างดำเนินโครงการและประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ ซึ่งการประเมินระหว่างดำเนินโครงการมี
ความสำคัญที่จะทำให้มีการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการมากยิ่งขึ้น ดังนั้น สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ทำ
การสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐทั่วประเทศ ถึงการรับรู้รับทราบ และประเด็นความคิดเห็นที่มีต่อการ
ถ่ายทอดสดการทำงานของนายกรัฐมนตรีดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้
ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการรับรู้ของข้าราชการที่มีต่อการถ่ายทอดสดภารกิจของนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหา
ความยากจน
2. เพื่อสำรวจการติดตามชมการถ่ายทอดสดภารกิจของนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความยากจน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นในด้านต่างๆของข้าราชการต่อการถ่ายทอดสดภารกิจของนายกรัฐมนตรีใน
การแก้ไขปัญหาความยากจน
4. เพื่อนำเสนอข้อมูลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขในช่วงเวลา
ปฏิบัติการภารกิจโครงการเรียลลิตี้โชว์ครั้งนี้ต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจเพื่อประเมินผลระหว่างการปฏิบัติการในโครงการแก้จน โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
เรื่อง “สำรวจความคิดเห็นและการตอบรับของข้าราชการต่อการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน :
กรณีศึกษาตัวอย่างข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐทั่วประเทศ” ระยะเวลาการดำเนินโครงการ 16-17 มกราคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่รัฐ/ข้าราชการทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ ใช้การสุ่มตัวอย่างเชิงระบบ (systematic sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่างหน่วยงานราชการ
และเจ้าหน้าที่รัฐ/ข้าราชการทั่วประเทศ
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 811 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 2.5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.3 เป็นชาย
ร้อยละ 23.7 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ป.ว.ส. /อนุปริญญา
ร้อยละ 60.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 31.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
และเมื่อพิจารณาตามหน่วยงานที่สังกัดพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 66.7 ระบุเป็นข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
และร้อยละ 33.3 เป็นเจ้าหน้าที่/ข้าราชการในสังกัดอื่นๆ เช่น สำนักงานการเกษตร/ สำนักงานที่ดิน/สำนักงาน
ปฏิรูปที่ดิน และชลประทาน เป็นต้น
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจเรื่อง “สำรวจความคิดเห็นของข้าราชการต่อการถ่ายทอดสดเรียล
ลิตี้โชว์ภารกิจของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างเจ้าหน้าที่รัฐ/ข้าราชการทั่ว
ประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 811 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 16-17 มกราคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจการรับรู้รับทราบของเจ้าหน้าที่รัฐ/ข้าราชการที่มีต่อข่าวการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี ทางโทรทัศน์ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 77.6 ระบุทราบว่ามีการถ่ายทอดในระหว่างวันที่ 16-20 มกราคม 2549 ในขณะที่ร้อยละ 22.4
ระบุไม่ทราบ ทั้งนี้ตัวอย่างที่ระบุทราบว่ามีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์นั้น ร้อยละ 44.8 ระบุทราบว่ามีการถ่ายทอดสดผ่านทางยูบีซีช่อง 16
ร้อยละ 9.5 ระบุทราบว่ามีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ร้อยละ 8.5 ระบุทราบว่ามีการถ่ายทอดสดทั้งสองช่อง ในขณะที่ร้อยละ
37.2 ระบุทราบว่ามีการถ่ายทอดสดแต่ไม่ทราบว่าทางสถานีโทรทัศน์ช่องใด
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการรับสัญญาณ UBC ถ่ายทอดสดรายการเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของท่านนายกรัฐมนตรีนั้นพบว่า มี
ตัวอย่างเพียงร้อยละ 7.1 เท่านั้นที่ระบุว่าในห้องทำงานของตนมีการรับสัญญาณ UBC ในขณะที่ร้อยละ 92.9 ระบุไม่มี ซึ่งเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถาม
ตัวอย่างถึงการติดตามรับชมรายการถ่ายทอดสดดังกล่าวนี้ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 10.7 ระบุได้ติดตามรับชมในขณะที่ร้อยละ 89.3 ระบุไม่ได้ติดตาม
รับชม
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการรับทราบวัตถุประสงค์ของการถ่ายทอดสดรายการเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของท่านนายก
รัฐมนตรีเกี่ยวกับภารกิจเรื่องการแก้จน นั้นพบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 2ใน 3 คือร้อยละ 71.7 ระบุทราบอย่างชัดเจน ในขณะที่ร้อยละ 25.1 ระบุไม่
ทราบชัดเจน และร้อยละ 3.2 ระบุไม่ทราบเลย และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดสดรายการเรียลลิตี้โชว์
ในครั้งนี้นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 61.4 ระบุคิดว่าเป็นการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริงในขณะที่ร้อยละ 25.6 ระบุคิดว่าเป็น
เทคนิคการหาเสียง และร้อยละ 13.0 ระบุไม่ทราบ
ประเด็นสำคัญอย่างยิ่งที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ การประเมินความรู้ที่ได้รับจากการถ่ายทอดสดในครั้งนี้ ซึ่งผลสำรวจพบว่า
ตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุว่าความรู้ต่างๆที่ได้รับจากการถ่ายทอดสดในครั้งนี้เป็นสิ่งที่รู้อยู่แล้ว ทั้งสภาพปัญหาความยากจนที่ถูกนำเสนอ(ร้อยละ 93.0 ระบุ
เป็นสิ่งที่รู้อยู่แล้ว)วิธีการเข้าถึง-เข้าใจปัญหาของชาวบ้านที่นายกรัฐมนตรีใช้ (ร้อยละ 93.0 ระบุเป็นสิ่งที่รู้อยู่แล้ว) ความหมายของคำว่าความยากจน
ตามคำนิยามของนายกรัฐมนตรี (ร้อยละ 90.9 ระบุเป็นสิ่งที่รู้อยู่แล้ว) และแม้แต่การต้อนรับนายกรัฐมนตรีก็เป็นสิ่งที่ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 90.0
ระบุว่าเป็นสิ่งที่รู้อยู่แล้วเช่นเดียวกัน โดยเมื่อให้ประเมินโดยภาพรวมแล้วพบว่ามีตัวอย่างไม่ถึง 1 ใน 3 คือร้อยละ 27.9 ที่ระบุว่าการถ่ายทอดสด
ภารกิจการแก้ไขปัญหาความยากจนในครั้งนี้เป็นความรู้ใหม่ที่เพิ่งได้รับ
ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความยากง่ายในการนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัตินั้นพบว่า วิธีการต้อนรับนายกรัฐมนตรีเป็นสิ่งที่
ปฏิบัติได้ง่าย (ร้อยละ 86.0 ระบุปฏิบัติได้ง่าย) ในขณะที่วิธีการเข้าถึง-เข้าใจปัญหาของชาวบ้านที่นายกรัฐมนตรีใช้เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ยาก (ร้อยละ
49.2 ระบุปฏิบัติได้ยาก) ทั้งนี้คะแนนเฉลี่ยการทำงานของนายกรัฐมนตรีที่ได้แสดงออกมาให้เห็นจากรายการถ่ายทอดสดเท่ากับ 7.4 จากคะแนนเต็ม
10 คะแนน
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ ทรรศนะของตัวอย่างที่มีต่อปัจจัยที่จะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้
สำเร็จซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.4 ระบุความร่วมมือและความพร้อมของประชาชน ร้อยละ 34.5 ระบุความจริงจังในการปฏิบัติงาน
ของข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 12.9 ระบุความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับประชาชน ร้อยละ 12.4 ระบุงบประมาณในการดำเนินงาน ร้อย
ละ 11.3 ระบุเป็นเรื่องอำนาจการตัดสินใจ และร้อยละ 10.8 ระบุความเข้าใจในสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ ตามลำดับ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐส่วนใหญ่ทราบว่าจะมีการถ่ายทอดสดแต่มี
เพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่ติดตามชมการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ของนายกรัฐมนตรีในการแก้จน และมีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้นที่ระบุว่ามีการรับสัญญาณ
UBC ในที่ทำงาน
อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มข้าราชการที่ติดตามรับชมเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของนายกรัฐมนตรีในการแก้จนครั้งนี้ ส่วนใหญ่ประเมินว่าภารกิจ
ครั้งนี้เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนอย่างแท้จริง โดยประเมินให้คะแนน 7.4 เต็ม 10 ซึ่งถือว่าเป็น
คะแนนที่ให้โครงการนี้ในระดับสูง อย่างไรก็ตามข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐที่ติดตามชมรายการสดครั้งนี้ต่างก็เห็นว่าเป็นสิ่งที่รู้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น
สภาพปัญหาความยากจนที่ถูกนำเสนอ คำนิยามคำว่าความยากจนของนายกรัฐมนตรี วิธีการเข้าใจ-เข้าถึงปัญหาความยากจน และวิธีการต้อนรับนายก
รัฐมตรี
“ที่น่าพิจารณาคือข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐประมาณครึ่งระบุว่า วิธีการเข้าใจ-เข้าถึงปัญหาความยากจนตามวิธีการของนายกรัฐมนตรี
เป็นเรื่องที่ปฏิบัติเองได้ยาก และจำนวนมากระบุว่า วิธีการแก้ปัญหาความยากจนของนายกรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ยากเช่นกัน โดยให้เหตุผลว่า
ปัจจัยสำคัญแท้จริงที่จะทำให้การแก้ปัญหาความยากจนสำเร็จลงได้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของประชาชนในด้านต่างๆ เช่น ระดับการศึกษา ทัศนคติและ
พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย รองลงมาคือเรื่องความจริงจังในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับประชาชน
งบประมาณในการทำงาน และอำนาจในการตัดสินใจ เป็นต้น”
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ในการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนนั้น รัฐบาลควรเน้นไปที่การเพิ่มคุณภาพประชาชนด้านการศึกษา ทั้ง
การศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ เช่นการให้ความรู้ผ่านทางสื่อสารมวลชน ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การออม การปรับเปลี่ยน
ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนไม่ให้ใช้จ่ายเกินตัว และการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ตลอดจนการสร้างระบบการทำงานของราชการให้
ข้าราชการระดับล่างหรือหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับประชาชนมีอำนาจในการตัดสินใจดำเนินงานในการแก้ไขปัญหามากขึ้น เพื่อให้สามารถประสานงานกับ
หน่วยงานต่างๆ ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะหากว่ารัฐบาลไม่มีระบบที่ยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาความยากจนแล้ว รัฐบาลจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงข้อกล่าว
หาของสังคมที่ว่าเรียลลิตี้โชว์ในครั้งนี้ เป็นเพียงเทคนิคการหาเสียงของรัฐบาลที่เน้นการทำงานในลักษณะไฟไหม้ฟาง เท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวปิดท้ายว่า ในอีก 3-6 เดือนข้างหน้า เอแบคโพลล์จะลงพื้นที่ในอำเภออาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์
และผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ จากการปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้ของนายกรัฐมนตรี และต้องการหาคำตอบ
ว่าเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้เป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน หรือเป็นเพียงแค่วิธีการฟื้นความนิยมของประชาชนต่อ
รัฐบาลเท่านั้น ซึ่งเป็นการลงพื้นที่โดยใช้งบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ไม่มีแหล่งงบประมาณทางการเมืองใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์
ภารกิจของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่าน UBC
ลำดับที่ การรับทราบการถ่ายทอดเรียลลิตี้โชว์ ร้อยละ
1 ทราบว่าจะมีการถ่ายทอดสดในวันที่ 16-20 มกราคม 2549 77.6
3 ไม่ทราบ 22.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานีโทรทัศน์ที่มีการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี(เฉพาะผู้ที่ระบุว่าทราบว่าจะมีการถ่ายทอดสด)
ลำดับที่ สถานีโทรทัศน์ที่มีการถ่ายทอดสด ร้อยละ
1 ทราบว่ามีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 9.5
2 ทราบว่ามีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ยูบีซีช่อง 16 44.8
3 ทราบว่ามีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 และยูบีซี 16 8.5
4 ทราบว่ามีการถ่ายทอดสดแต่ไม่ทราบว่าผ่านทางสถานีใด 37.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับสัญญาณ UBC ถ่ายทอดสดรายการ
เรียลลิตี้โชว์ภารกิจของท่านนายกรัฐมนตรีที่ห้องทำงานของตน
ลำดับที่ การรับสัญญาณ UBC ที่ห้องทำงาน ร้อยละ
1 มีการรับสัญญาณ 7.1
2 ไม่มี 92.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามรับชมการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ของนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การติดตามรับชมรายการเรียลลิตี้โชว์ของนายกรัฐมนตรี ร้อยละ
1 รับชม ผ่านทาง UBC 16 หรือ โทรทัศน์ช่อง 11 10.7
2 ไม่ได้รับชม 89.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์
ภารกิจของท่านนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับภารกิจเรื่องการแก้จน (เฉพาะคนที่รับชม)
ลำดับที่ การรับทราบวัตถุประสงค์ ร้อยละ
1 ทราบอย่างชัดเจน 71.7
2 ไม่ทราบชัดเจน 25.1
3 ไม่ทราบเลย 3.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของ
ท่านนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ถือเป็นเทคนิคการหาเสียงหรือเป็นการแก้ปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง
(เฉพาะคนที่รับชม)
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ ร้อยละ
1 เป็นเทคนิคการหาเสียง 25.6
2 เป็นการแก้ปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง 61.4
3 ไม่ทราบ 13.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ประเมินความรู้ที่ได้รับจากข่าวการถ่ายทอดสดลงพื้นที่
แก้ความยากจนโดยนายกรัฐมนตรี (เฉพาะคนที่รับชม)
ประเด็น เป็นสิ่งที่รู้อยู่แล้ว เป็นความรู้ใหม่ รวมทั้งสิ้น
1) สภาพปัญหาความยากจนที่ถูกนำเสนอ 93.0 7.0 100.0
2) ความหมายของคำว่า “ความยากจน” ตามคำนิยามของนายกรัฐมนตรี 90.9 9.1 100.0
3) วิธีการเข้าถึง-เข้าใจปัญหาของชาวบ้านที่ นายกรัฐมนตรีใช้ 93.0 7.0 100.0
4) วิธีการแก้ปัญหาของนายกรัฐมนตรี 75.0 25.0 100.0
5) วิธีการต้อนรับนายกรัฐมนตรี 90.0 10.0 100.0
6) โดยภาพรวม ท่านประเมินว่าการถ่ายทอดสด
ภารกิจการแก้ไขปัญหาความความยากจนในครั้งนี้ เป็นเรื่องที่ท่านคิดว่า...... 72.1 27.9 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ความยากง่ายในการปฏิบัติของความรู้ทีได้รับจากการถ่าย
ทอดสดในครั้งนี้ (เฉพาะคนที่รับชม)
ประเด็น ปฏิบัติได้ง่าย ปฏิบัติได้ยาก รวมทั้งสิ้น
1) วิธีการเข้าถึง-เข้าใจปัญหาของชาวบ้านที่ นายกรัฐมนตรีใช้ 50.8 49.2 100.0
2) วิธีการแก้ปัญหาของนายกรัฐมนตรี 52.4 47.6 100.0
3) ความรู้ของนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแก้จน 69.0 31.0 100.0
4) วิธีการต้อนรับนายกรัฐมนตรี 86.0 14.0 100.0
5) โดยภาพรวมการถ่ายทอดสดแก้ความยากจนนี้ เป็นเรื่อง..... 69.8 30.2 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้คะแนนการทำงานของนายกรัฐมนตรีที่
แสดงออกมาให้เห็นในรายการเรียลลิตี้โชว์ โดยรวมทั้งหมด (เฉพาะคนที่รับชม)
ระดับคะแนน ร้อยละ
ต่ำกว่า 5 คะแนน 5.0
5-7 คะแนน 52.1
8-10 คะแนน 42.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
คะแนนเฉลี่ย 7.4 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัจจัยที่สามารถแก้ไขปัญหา
ความยากจนให้สำเร็จ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยในการแก้ไขปัญหาความยากจนให้สำเร็จ ร้อยละ
1 ความพร้อมของประชาชนในด้านต่างๆ เช่น ระดับการศึกษา
ทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชนในการจับจ่ายใช้สอย 38.4
2 ความจริงจังในการปฏิบัติงานของข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ 34.5
3 ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับประชาชน 12.9
4 งบประมาณในการดำเนินงาน 12.4
5 อำนาจในการตัดสินใจ 11.3
6 ความเข้าใจในสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ 10.8
7 ความชัดเจนของนโยบาย 7.6
8 อื่นๆ อาทิ เศรษฐกิจโดยรวม/ทรัพยากรที่มีอยู่/ การประสานงาน/ กำลังคน เป็นต้น 5.3
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-