ที่มาของโครงการ
ปัญหาคอรัปชั่นเป็นปัญหาที่ทำลายความเข้มแข็งของการปกครองระบอบประชาธิปไตย และทำร้ายความรู้สึกของประชาชน เป็นตัวที่ทำให้
กลุ่มข้าราชการทำงานรับใช้ประชาชนโดยเลือกปฏิบัติ และยังทำให้ปัญหาอาชญากรรมเกิดขึ้นในทุกหย่อมหญ้าทุกพื้นที่ของประเทศ ซึ่งในสังคมไทยทุก
วันนี้พบว่ามีความเสี่ยงสำคัญๆ เกิดขึ้นและเป็นตัวเร่งให้มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร ซึ่งถ้า
หากมีระบบการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่ดี ระบบจะลงโทษกลุ่มบุคคลที่เป็นต้นเหตุของความเสี่ยงเหล่านั้นได้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพ
มหานคร ถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาการทุจริตในกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ ด้วยการจัดส่งอาจารย์
เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวสถานการณ์ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นและความพึงพอใจของประชาชนต่อนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม.
ในการทำงานด้านการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “สำรวจพฤติกรรมและความคิดเห็นต่อ
การติดตามข่าวปัญหาทุจริตคอรัปชั่นการประมูลโครงการขนาดใหญ่ของกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนิน
โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 16-18 มกราคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำ สำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,274 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.1 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.9 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
ร้อยละ 23.3 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 20.2 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 19.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 7.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 70.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 24.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 27.2 ระบุอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 18.7 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.9 ระบุอาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.2 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 7.9 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 3.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “สำรวจพฤติกรรมและความคิดเห็นต่อการติดตามข่าว
ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นการประมูลโครงการขนาดใหญ่ของกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ทำการสำรวจความคิดเห็นกับประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
จำนวนทั้งสิ้น 1,274 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 16-19 มกราคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 57.2 ติดตามข่าวปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในการประมูลโครงการต่างๆ ของกรุงเทพมหานครบ้าง ร้อยละ
36.1 ได้ติดตามอย่างใกล้ชิด และร้อยละ 6.7 ไม่ได้ติดตามเลย
สำหรับความคิดที่ว่ามีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในการประมูลโครงการขนาดใหญ่ของกรุงเทพมหานครหรือไม่นั้น พบว่า มีตัวอย่างถึงร้อยละ
83.1 คิดว่ามีปัญหานี้ ร้อยละ 7.5 ไม่คิดว่ามี และร้อยละ 9.4 ไม่แน่ใจ และเมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความเชื่อว่ามีข้าราชการเมือง
ของกรุงเทพมหานครเกี่ยวข้องกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในการประมูลโครงการขนาดใหญ่ของกรุงเทพมหานครหรือไม่นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 81.9
เชื่อว่ามีปัญหานี้เกิดขึ้น ร้อยละ 5.2 ไม่เชื่อว่ามี และร้อยละ 12.9 ไม่แน่ใจ
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างในกรณีที่ว่า นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะสามารถแก้ปัญหา
ทุจริตคอรัปชั่นในโครงการต่างๆ ของกรุงเทพมหานครได้สำเร็จนั้น พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 52.8 คิดว่านายอภิรักษ์จะไม่สามารถ
แก้ปัญหานี้ได้ ร้อยละ 28.4 คิดว่าจะแก้ปัญหานี้ได้ และร้อยละ 18.8 ไม่มีความเห็น
สำหรับความพอใจต่อท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ในการเร่งรัดตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในโครงการต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร พบ
ว่า ตัวอย่างระบุว่าไม่ค่อยพอใจ (ร้อยละ 46.8) ไม่พอใจ (ร้อยละ 24.1) ค่อนข้างพอใจ (ร้อยละ 10.4) พอใจ (ร้อยละ 8.2) และไม่มี
ความเห็น (ร้อยละ 10.5)
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณา ก็คือ ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่ปัญหาการคอรัปชั่นในหน่วยงานราชการ 5 อันดับแรก ได้แก่ จิตสำนึกของผู้มีอำนาจ
บกพร่องด้านจริยธรรม (ร้อยละ 63.8) พรรคการเมืองต้องการถอนทุนคืน (ร้อยละ 60.9) ผู้บริหารไม่ใส่ใจกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจัง
(ร้อยละ 57.2) ประชาชนขาดจิตสำนึกช่วยตรวจสอบเอาผิดคนที่ทุจริตคอรัปชั่น (ร้อยละ 54.4) และหน่วยงานที่แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นไม่มี
ประสิทธิภาพ (ร้อยละ 53.8) ตามลำดับ
และประเด็นสุดท้ายน่าพิจารณาอีกประการหนึ่ง คือ ความนิยมต่อพรรคการเมือง เฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 53.8 ระบุพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 21.2 ระบุพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 6.6 ระบุพรรคอื่นๆ เช่น พรรคทางเลือกใหม่ พรรคชาติ
ไทย พรรคมหาชน ในขณะที่ร้อยละ 18.4 ไม่นิยมพรรคใดเลย
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ข่าวปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในโครงการขนาด
ใหญ่ของกรุงเทพมหานครกระทบต่อความรู้สึกนึกคิดของคนกรุงเทพมหานครอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่คิดว่ามีปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
เกิดขึ้นจริงและคิดว่ามีข้าราชการการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย
“สำหรับสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่าเป็นเพราะจิตสำนึกของผู้มีอำนาจบกพร่อง
ด้านจริยธรรม รองลงมาคือพรรคการเมืองต้องการถอนทุนคืน ในขณะที่ผู้บริหารก็ไม่ใส่ใจกับการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจังและประชาชนก็ขาด
จิตสำนึกในการร่วมตรวจสอบเอาผิดคนที่ทุจริตคอรัปชั่น” ดร.นพดล กล่าว
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า ข่าวปัญหาทุจริตคอรัปชั่นนี้กระทบโดยตรงต่อพรรคประชาธิปัตย์อย่างชัดเจนเมื่อสอบถามถึงความนิยมต่อพรรค
ประชาธิปัตย์ซึ่งพบว่า พรรคไทยรักไทยได้รับความนิยมสูงขึ้นจากร้อยละ 40 กว่าๆ มาถึงเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50 ต้นๆ อย่างไรก็ตาม มีความ
เชื่อว่าความนิยมของประชาชนต่อพรรคไทยรักไทยน่าจะสูงขึ้นไปอีกถ้ารัฐบาลสามารถใช้อำนาจของรัฐในการตรวจสอบเอาผิดปัญหาทุจริตคอรัปชั่นแบบไม่
เลือกปฏิบัติแม้แต่คนที่อยู่ใกล้ชิดรัฐบาลควบคู่ไปกับกลยุทธที่ทำให้ภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้นในการร่วมตรวจสอบเอาผิดคนทุจริตคอรัปชั่น
คณะผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะว่าประเทศไทยต้องมีระบบที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1) ระบบที่สามารถลงโทษเอาผิดกลุ่มบุคคลที่สร้างความเสี่ยงหรือนำพาประเทศไปสู่ความเสี่ยงของปัญหาทุจริตคอรัปชั่น แม้ไม่มีใบเสร็จก็
สามารถเอาผิดในฐานะที่มีเพียงพฤติการณ์ที่เชื่อได้ว่าทุจริตคอรัปชั่น
2) ระบบต้องทำให้กระบวนการยุติธรรมเข้มแข็งเป็นที่ศรัทธาเชื่อถือในกลุ่มประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เพื่อทำให้ภาคประชาชนตื่นตัว
และมีจิตสำนึกต้องการร่วมตรวจสอบมากขึ้น
3) ระบบต้องสามารถลงโทษเอาผิดกลุ่มบุคคลในองค์กรอิสระด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพของตน
4) ระบบต้องทำให้รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นเข้มแข็ง และทำให้รัฐสภาและสภาท้องถิ่นสามารถต่อสู้กับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นได้อย่างแท้
จริง ด้วยกฎหมายที่สามารถเอาผิดพรรคการเมืองและปิดโอกาสไม่ให้สมาชิกพรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมืองในฐานะผู้แทนประชาชนได้อีก
5) ระบบต้องมีกลไก เช่น กฎหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ ที่สามารถลงโทษเอาผิดกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปกปิดหรือยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินและหนี้สิน
6) ระบบต้องทำให้รัฐบาลไทยและหน่วยงานภาครัฐพร้อมถูกตรวจสอบจากสังคมทั้งในประเทศและนานาประเทศได้อย่างโปร่งใส
7) ระบบต้องสามารถสร้างเสริมจิตสำนึกและความตระหนักถึงผลร้ายของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นให้เกิดขึ้นในกลุ่มประชาชนและเยาวชนคนรุ่น
ใหม่ผ่านทางการศึกษาอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
8) ระบบต้องทำให้สื่อมวลชนปลอดอิทธิพลของฝ่ายการเมืองในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นแม้ว่าข่าวนั้น
อาจกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาลก็ตาม และควรส่งเสริมให้มีการรณรงค์ผ่านสื่อมวลชนด้วยข้อความที่ง่ายต่อการจำของเด็กเยาวชนและประชาชน
ทั่วไป เช่น อย่าให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ ต้องแจ้งเบาะแสการทุจริตคอรัปชั่นให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทราบ อย่าขายสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง เป็นต้น
9) ระบบต้องทำให้รัฐบาลมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงในการขจัดหรือลดกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐที่แสวงหาผลประโยชน์จากธุรกิจที่ผิดกฎหมาย
หรือผิดหลักศีลธรรมของสังคม เช่น เงินบ่อน เงินหวย เงินจากสิ่งเสพติด และเงินจากการค้ามนุษย์ เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในการประมูลโครงการต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ การติดตามข่าว ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างใกล้ชิด 36.1
2 ติดตามบ้าง 57.2
3 ไม่ได้ติดตามเลย 6.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดว่ามีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในการประมูลโครงการ
ขนาดใหญ่ของกรุงเทพมหานครหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามี 83.1
2 ไม่คิดว่ามี 7.5
3 ไม่แน่ใจ 9.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีข้าราชการการเมืองของกรุงเทพมหานคร
เกี่ยวข้องกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในการประมูลโครงการขนาดใหญ่ของกรุงเทพมหานครหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามี 81.9
2 ไม่เชื่อว่ามี 5.2
3 ไม่แน่ใจ 12.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นว่า นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานครจะสามารถแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในโครงการต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร
ได้สำเร็จหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่านายอภิรักษ์จะแก้ไขได้ 28.4
2 คิดว่านายอภิรักษ์จะไม่สามารถแก้ไขได้ 52.8
3 ไม่มีความเห็น 18.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจหรือไม่พอใจต่อท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ในการเร่งรัด
ตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในโครงการต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ ความพอใจหรือไม่พอใจ ร้อยละ
1 พอใจ 8.2
2 ค่อนข้างพอใจ 10.4
3 ไม่ค่อยพอใจ 46.8
4 ไม่พอใจ 24.1
5 ไม่มีความเห็น 10.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่ปัญหาการคอรัปชั่นในหน่วยงานราชการ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่ปัญหาการคอรัปชั่นในหน่วยงานราชการ ค่าร้อยละ
1 จิตสำนึกของผู้มีอำนาจบกพร่องด้านจริยธรรม 63.8
2 พรรคการเมืองต้องการถอนทุนคืน 60.9
3 ผู้บริหารไม่ใส่ใจกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจัง 57.2
4 ประชาชนขาดจิตสำนึกช่วยตรวจสอบเอาผิดคนที่ทุจริตคอรัปชั่น 54.4
5 หน่วยงานที่แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นไม่มีประสิทธิภาพ 53.8
6 ขั้นตอนเอาผิดลงโทษมากเกินไป 50.2
7 กฎหมายเปิดช่องให้สามารถกระทำผิดได้ง่าย 47.1
8 ข้าราชการชั้นผู้น้อยมีรายได้ต่ำ 32.0
9 การอบรมเลี้ยงดูผู้มีอำนาจบกพร่องตั้งแต่วัยเด็ก 31.9
10 ภาคประชาชนอ่อนแอเกินไปในการช่วยตรวจสอบ 30.4
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมต่อพรรคการเมือง
(เฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร)
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ประชาชนคนกรุงเทพมหานครให้ความนิยม ค่าร้อยละ
1 พรรคไทยรักไทย 53.8
2 พรรคประชาธิปัตย์ 21.2
3 พรรคอื่นๆ เช่น พรรคทางเลือกใหม่ พรรคชาติไทย พรรคมหาชน 6.6
4 ไม่นิยมพรรคใดเลย 18.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ปัญหาคอรัปชั่นเป็นปัญหาที่ทำลายความเข้มแข็งของการปกครองระบอบประชาธิปไตย และทำร้ายความรู้สึกของประชาชน เป็นตัวที่ทำให้
กลุ่มข้าราชการทำงานรับใช้ประชาชนโดยเลือกปฏิบัติ และยังทำให้ปัญหาอาชญากรรมเกิดขึ้นในทุกหย่อมหญ้าทุกพื้นที่ของประเทศ ซึ่งในสังคมไทยทุก
วันนี้พบว่ามีความเสี่ยงสำคัญๆ เกิดขึ้นและเป็นตัวเร่งให้มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร ซึ่งถ้า
หากมีระบบการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่ดี ระบบจะลงโทษกลุ่มบุคคลที่เป็นต้นเหตุของความเสี่ยงเหล่านั้นได้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพ
มหานคร ถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาการทุจริตในกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ ด้วยการจัดส่งอาจารย์
เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวสถานการณ์ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นและความพึงพอใจของประชาชนต่อนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม.
ในการทำงานด้านการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “สำรวจพฤติกรรมและความคิดเห็นต่อ
การติดตามข่าวปัญหาทุจริตคอรัปชั่นการประมูลโครงการขนาดใหญ่ของกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนิน
โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 16-18 มกราคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำ สำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,274 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.1 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.9 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
ร้อยละ 23.3 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 20.2 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 19.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 7.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 70.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 24.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 27.2 ระบุอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 18.7 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.9 ระบุอาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.2 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 7.9 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 3.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “สำรวจพฤติกรรมและความคิดเห็นต่อการติดตามข่าว
ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นการประมูลโครงการขนาดใหญ่ของกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ทำการสำรวจความคิดเห็นกับประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
จำนวนทั้งสิ้น 1,274 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 16-19 มกราคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 57.2 ติดตามข่าวปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในการประมูลโครงการต่างๆ ของกรุงเทพมหานครบ้าง ร้อยละ
36.1 ได้ติดตามอย่างใกล้ชิด และร้อยละ 6.7 ไม่ได้ติดตามเลย
สำหรับความคิดที่ว่ามีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในการประมูลโครงการขนาดใหญ่ของกรุงเทพมหานครหรือไม่นั้น พบว่า มีตัวอย่างถึงร้อยละ
83.1 คิดว่ามีปัญหานี้ ร้อยละ 7.5 ไม่คิดว่ามี และร้อยละ 9.4 ไม่แน่ใจ และเมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความเชื่อว่ามีข้าราชการเมือง
ของกรุงเทพมหานครเกี่ยวข้องกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในการประมูลโครงการขนาดใหญ่ของกรุงเทพมหานครหรือไม่นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 81.9
เชื่อว่ามีปัญหานี้เกิดขึ้น ร้อยละ 5.2 ไม่เชื่อว่ามี และร้อยละ 12.9 ไม่แน่ใจ
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างในกรณีที่ว่า นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะสามารถแก้ปัญหา
ทุจริตคอรัปชั่นในโครงการต่างๆ ของกรุงเทพมหานครได้สำเร็จนั้น พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 52.8 คิดว่านายอภิรักษ์จะไม่สามารถ
แก้ปัญหานี้ได้ ร้อยละ 28.4 คิดว่าจะแก้ปัญหานี้ได้ และร้อยละ 18.8 ไม่มีความเห็น
สำหรับความพอใจต่อท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ในการเร่งรัดตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในโครงการต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร พบ
ว่า ตัวอย่างระบุว่าไม่ค่อยพอใจ (ร้อยละ 46.8) ไม่พอใจ (ร้อยละ 24.1) ค่อนข้างพอใจ (ร้อยละ 10.4) พอใจ (ร้อยละ 8.2) และไม่มี
ความเห็น (ร้อยละ 10.5)
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณา ก็คือ ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่ปัญหาการคอรัปชั่นในหน่วยงานราชการ 5 อันดับแรก ได้แก่ จิตสำนึกของผู้มีอำนาจ
บกพร่องด้านจริยธรรม (ร้อยละ 63.8) พรรคการเมืองต้องการถอนทุนคืน (ร้อยละ 60.9) ผู้บริหารไม่ใส่ใจกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจัง
(ร้อยละ 57.2) ประชาชนขาดจิตสำนึกช่วยตรวจสอบเอาผิดคนที่ทุจริตคอรัปชั่น (ร้อยละ 54.4) และหน่วยงานที่แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นไม่มี
ประสิทธิภาพ (ร้อยละ 53.8) ตามลำดับ
และประเด็นสุดท้ายน่าพิจารณาอีกประการหนึ่ง คือ ความนิยมต่อพรรคการเมือง เฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 53.8 ระบุพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 21.2 ระบุพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 6.6 ระบุพรรคอื่นๆ เช่น พรรคทางเลือกใหม่ พรรคชาติ
ไทย พรรคมหาชน ในขณะที่ร้อยละ 18.4 ไม่นิยมพรรคใดเลย
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ข่าวปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในโครงการขนาด
ใหญ่ของกรุงเทพมหานครกระทบต่อความรู้สึกนึกคิดของคนกรุงเทพมหานครอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่คิดว่ามีปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
เกิดขึ้นจริงและคิดว่ามีข้าราชการการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย
“สำหรับสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่าเป็นเพราะจิตสำนึกของผู้มีอำนาจบกพร่อง
ด้านจริยธรรม รองลงมาคือพรรคการเมืองต้องการถอนทุนคืน ในขณะที่ผู้บริหารก็ไม่ใส่ใจกับการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจังและประชาชนก็ขาด
จิตสำนึกในการร่วมตรวจสอบเอาผิดคนที่ทุจริตคอรัปชั่น” ดร.นพดล กล่าว
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า ข่าวปัญหาทุจริตคอรัปชั่นนี้กระทบโดยตรงต่อพรรคประชาธิปัตย์อย่างชัดเจนเมื่อสอบถามถึงความนิยมต่อพรรค
ประชาธิปัตย์ซึ่งพบว่า พรรคไทยรักไทยได้รับความนิยมสูงขึ้นจากร้อยละ 40 กว่าๆ มาถึงเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50 ต้นๆ อย่างไรก็ตาม มีความ
เชื่อว่าความนิยมของประชาชนต่อพรรคไทยรักไทยน่าจะสูงขึ้นไปอีกถ้ารัฐบาลสามารถใช้อำนาจของรัฐในการตรวจสอบเอาผิดปัญหาทุจริตคอรัปชั่นแบบไม่
เลือกปฏิบัติแม้แต่คนที่อยู่ใกล้ชิดรัฐบาลควบคู่ไปกับกลยุทธที่ทำให้ภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้นในการร่วมตรวจสอบเอาผิดคนทุจริตคอรัปชั่น
คณะผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะว่าประเทศไทยต้องมีระบบที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1) ระบบที่สามารถลงโทษเอาผิดกลุ่มบุคคลที่สร้างความเสี่ยงหรือนำพาประเทศไปสู่ความเสี่ยงของปัญหาทุจริตคอรัปชั่น แม้ไม่มีใบเสร็จก็
สามารถเอาผิดในฐานะที่มีเพียงพฤติการณ์ที่เชื่อได้ว่าทุจริตคอรัปชั่น
2) ระบบต้องทำให้กระบวนการยุติธรรมเข้มแข็งเป็นที่ศรัทธาเชื่อถือในกลุ่มประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เพื่อทำให้ภาคประชาชนตื่นตัว
และมีจิตสำนึกต้องการร่วมตรวจสอบมากขึ้น
3) ระบบต้องสามารถลงโทษเอาผิดกลุ่มบุคคลในองค์กรอิสระด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพของตน
4) ระบบต้องทำให้รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นเข้มแข็ง และทำให้รัฐสภาและสภาท้องถิ่นสามารถต่อสู้กับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นได้อย่างแท้
จริง ด้วยกฎหมายที่สามารถเอาผิดพรรคการเมืองและปิดโอกาสไม่ให้สมาชิกพรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมืองในฐานะผู้แทนประชาชนได้อีก
5) ระบบต้องมีกลไก เช่น กฎหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ ที่สามารถลงโทษเอาผิดกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปกปิดหรือยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินและหนี้สิน
6) ระบบต้องทำให้รัฐบาลไทยและหน่วยงานภาครัฐพร้อมถูกตรวจสอบจากสังคมทั้งในประเทศและนานาประเทศได้อย่างโปร่งใส
7) ระบบต้องสามารถสร้างเสริมจิตสำนึกและความตระหนักถึงผลร้ายของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นให้เกิดขึ้นในกลุ่มประชาชนและเยาวชนคนรุ่น
ใหม่ผ่านทางการศึกษาอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
8) ระบบต้องทำให้สื่อมวลชนปลอดอิทธิพลของฝ่ายการเมืองในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นแม้ว่าข่าวนั้น
อาจกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาลก็ตาม และควรส่งเสริมให้มีการรณรงค์ผ่านสื่อมวลชนด้วยข้อความที่ง่ายต่อการจำของเด็กเยาวชนและประชาชน
ทั่วไป เช่น อย่าให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ ต้องแจ้งเบาะแสการทุจริตคอรัปชั่นให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทราบ อย่าขายสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง เป็นต้น
9) ระบบต้องทำให้รัฐบาลมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงในการขจัดหรือลดกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐที่แสวงหาผลประโยชน์จากธุรกิจที่ผิดกฎหมาย
หรือผิดหลักศีลธรรมของสังคม เช่น เงินบ่อน เงินหวย เงินจากสิ่งเสพติด และเงินจากการค้ามนุษย์ เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในการประมูลโครงการต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ การติดตามข่าว ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างใกล้ชิด 36.1
2 ติดตามบ้าง 57.2
3 ไม่ได้ติดตามเลย 6.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดว่ามีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในการประมูลโครงการ
ขนาดใหญ่ของกรุงเทพมหานครหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามี 83.1
2 ไม่คิดว่ามี 7.5
3 ไม่แน่ใจ 9.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีข้าราชการการเมืองของกรุงเทพมหานคร
เกี่ยวข้องกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในการประมูลโครงการขนาดใหญ่ของกรุงเทพมหานครหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามี 81.9
2 ไม่เชื่อว่ามี 5.2
3 ไม่แน่ใจ 12.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นว่า นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานครจะสามารถแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในโครงการต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร
ได้สำเร็จหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่านายอภิรักษ์จะแก้ไขได้ 28.4
2 คิดว่านายอภิรักษ์จะไม่สามารถแก้ไขได้ 52.8
3 ไม่มีความเห็น 18.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจหรือไม่พอใจต่อท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ในการเร่งรัด
ตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในโครงการต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ ความพอใจหรือไม่พอใจ ร้อยละ
1 พอใจ 8.2
2 ค่อนข้างพอใจ 10.4
3 ไม่ค่อยพอใจ 46.8
4 ไม่พอใจ 24.1
5 ไม่มีความเห็น 10.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่ปัญหาการคอรัปชั่นในหน่วยงานราชการ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่ปัญหาการคอรัปชั่นในหน่วยงานราชการ ค่าร้อยละ
1 จิตสำนึกของผู้มีอำนาจบกพร่องด้านจริยธรรม 63.8
2 พรรคการเมืองต้องการถอนทุนคืน 60.9
3 ผู้บริหารไม่ใส่ใจกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจัง 57.2
4 ประชาชนขาดจิตสำนึกช่วยตรวจสอบเอาผิดคนที่ทุจริตคอรัปชั่น 54.4
5 หน่วยงานที่แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นไม่มีประสิทธิภาพ 53.8
6 ขั้นตอนเอาผิดลงโทษมากเกินไป 50.2
7 กฎหมายเปิดช่องให้สามารถกระทำผิดได้ง่าย 47.1
8 ข้าราชการชั้นผู้น้อยมีรายได้ต่ำ 32.0
9 การอบรมเลี้ยงดูผู้มีอำนาจบกพร่องตั้งแต่วัยเด็ก 31.9
10 ภาคประชาชนอ่อนแอเกินไปในการช่วยตรวจสอบ 30.4
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมต่อพรรคการเมือง
(เฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร)
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ประชาชนคนกรุงเทพมหานครให้ความนิยม ค่าร้อยละ
1 พรรคไทยรักไทย 53.8
2 พรรคประชาธิปัตย์ 21.2
3 พรรคอื่นๆ เช่น พรรคทางเลือกใหม่ พรรคชาติไทย พรรคมหาชน 6.6
4 ไม่นิยมพรรคใดเลย 18.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-