ที่มาของโครงการ
การอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูบุตรถือเป็นหน้าที่สำคัญของพ่อแม่ที่จะต้องให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ในชีวิต ให้บุตรได้เรียนรู้ ทั้งมาตรฐานของ
สังคม การปฏิบัติตัว รวมทั้งด้านศีลธรรม คือ คุณธรรมและจริยธรรม โดยการ อบรมเลี้ยงดูบุตรได้มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยต่างๆ ทั้งนี้ขึ้น
อยู่กับความเหมาะสมของยุคสมัยนั้นๆ การศึกษาถึงความแตกต่างในการอบรมเลี้ยงบุตรด้านศีลธรรมของคน 3 วัย ทำให้ทราบถึงแนวโน้มและพัฒนาการ
ด้านศีลธรรมในการอบรมเลี้ยงดูบุตรว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ทำให้บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลไปวางแผน ป้องกัน และแก้ไขได้
อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่เยาวชนรุ่นลูกต่อไป
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อประเมินตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับความ
แตกต่างในการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้านศีลธรรมของคน 3 วัย ด้วยการสำรวจประสบการณ์ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ที่มีสถานภาพปู่/ตา พ่อ และลูก ต่อ
การอบรมเลี้ยงดู ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบ
วิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจสัมพันธภาพทั่วไประหว่างพ่อและลูก รวมทั้งกิจกรรมที่พ่อและลูกได้กระทำร่วมกันในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจระดับความเคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูที่พ่อมีต่อลูก
3. เพื่อศึกษาความแตกต่างในการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้านศีลธรรม
4. เพื่อสำรวจถึงการให้ความสำคัญวันพ่อของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “วิจัยความแตกต่างในการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้าน
ศีลธรรมของคน 3 วัย : กรณีศึกษาผู้ที่มีสถานภาพปู่/ตา พ่อ และลูกในกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจวันที่ 30 พฤศจิกายน — 2
ธันวาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีสถานภาพปู่/ตา พ่อ และลูกในกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,749 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 67.2 เป็นเพศชาย และตัวอย่างร้อยละ 32.8 เป็นเพศหญิง โดย
ตัวอย่างร้อยละ 28.1 มีอายุระหว่าง 20-29 ปี ตัวอย่างร้อยละ 18.4 มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 18.2 มีอายุระหว่าง 40-49 ปี ตัวอย่าง
ร้อยละ 18.2 มีอายุระหว่าง 30-39 ปี ตัวอย่างร้อยละ 11.7 มีอายุระหว่าง 16-19 ปี และตัวอย่างร้อยละ 5.4 มีอายุระหว่าง 12-15 ปี โดย
ตัวอย่างร้อยละ 62.2 มีสถานภาพลูก ตัวอย่างร้อยละ 27.3 มีสถานภาพพ่อ และตัวอย่างร้อยละ 10.5 มีสถานภาพปู่/ตา นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ
28.9 ประกอบอาชีพค้าขายหรือกิจการส่วนตัว ตัวอย่างร้อยละ 24.4 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ตัวอย่างร้อยละ 21.0 เป็นนักเรียน นักศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 7.3 ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ตัวอย่างร้อยละ 5.2 เป็นพ่อบ้าน แม่บ้าน หรือเกษียณอายุ ตัวอย่างร้อยละ 3.8 ประกอบ
อาชีพรับราชการ / รัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 2.1 ประกอบอาชีพอื่นๆ ตัวอย่างร้อยละ 0.5 ประกอบอาชีพเกษตรกร และตัวอย่างร้อยละ 6.8 ไม่
ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “วิจัยความแตกต่างในการอบรม เลี้ยงดูบุตรด้าน
ศีลธรรมของคน 3 วัย : กรณีศึกษาผู้ที่มีสถานภาพปู่/ตา พ่อ และลูกในกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปใน
เขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,749 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน — 2 ธันวาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่
ค้นพบจากการสำรวจ มีดังนี้
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พ่อกับลูกส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.2 พบเจอกันทุกวัน แต่เมื่อถามถึงกิจกรรมที่ทำร่วมกันระหว่างพ่อกับลูก ผล
สำรวจพบว่า มีเพียงครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 51.8 เท่านั้นที่ทานข้าวร่วมกันบ่อยๆ และเพียง 1 ใน 3 หรือร้อยละ 36.4 เท่านั้นที่มีการพูดคุยกันเรื่องส่วน
ตัวบ่อยๆ ในขณะที่ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าพ่อกับลูกมีการทำกิจกรรมสันทนาการหรือเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจร่วมกันน้อยมาก คือ ร้อยละ 61.1 ไม่เคยเล่น
กีฬาร่วมกันเลย ร้อยละ 56.5 ไม่เคยชมภาพยนต์ร่วมกันเลย ร้อยละ 46.3 ไม่เคยชอปปิ้งร่วมกันเลย และร้อยละ 40.6 ไม่เคยท่องเที่ยวร่วมกัน
เลย ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม พ่อกับลูกส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.5 มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างดี และร้อยละ 32.0 มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอย่างดีมาก ใน
ขณะที่ร้อยละ 8.9 มีความสัมพันธ์ต่อกันไม่ค่อยดีและร้อยละ 2.6 มีความสัมพันธ์ต่อกันไม่ดีเลย
เมื่อทำการศึกษาความเคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูด้านศีลธรรมของคน 3 วัยคือคนรุ่นปู่/ตา คนรุ่นพ่อ และรุ่นลูก ผลสำรวจพบว่า เรื่องที่
คนทั้งสามวัยให้ความเคร่งครัดน้อยและมีสัดส่วนลดลงเรื่อยๆ จากรุ่นคุณปู่/คุณตา ถึงรุ่นพ่อและรุ่นลูก ได้แก่ คำพูดคำจาที่ใช้ กิริยามารยาทสุภาพเรียบ
ร้อย (ร้อยละ 34.4 ของตัวอย่างที่เป็นปู่/ตา ร้อยละ 25.4 ของตัวอย่างที่เป็นพ่อ และร้อยละ 21.0 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นลูก) อย่างไรก็ตาม เมื่อ
พิจารณาการอบรมเลี้ยงดูที่คุณพ่อรุ่นใหม่ให้ความเคร่งครัดมากกว่าคุณพ่อรุ่นเก่า ได้แก่เรื่องการใช้ยาเสพติด (ร้อยละ 64.0 ของตัวอย่างที่เป็นปู่/ตา
ร้อยละ 67.0 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณพ่อ และร้อยละ 72.7 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นลูก) การสูบบุหรี่ (ร้อยละ 40.4 ของตัวอย่างที่เป็นปู่/ตา ร้อย
ละ 42.7 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณพ่อ และร้อยละ 50.0 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นลูก)
นอกจากนี้ตัวอย่างรุ่นลูกได้รับการอบรมเลี้ยงดูในเรื่องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการมีเพศสัมพันธ์มากกว่ารุ่นคุณปู่/ตาและคุณพ่อ
กล่าวคือ ในเรื่องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 43.0 ของตัวอย่างที่เป็นปู่/ตา ร้อยละ 40.5 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณพ่อ และร้อยละ
46.0 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณลูก) เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร (ร้อยละ 46.7 ของตัวอย่างที่เป็นปู่/ตา ร้อยละ 46.2 ของตัวอย่างที่เป็น
รุ่นคุณพ่อ และร้อยละ 52.9 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณลูก)
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ เรื่องที่คุณพ่อรุ่นใหม่ให้ความเคร่งครัดในสัดส่วนที่น้อยกว่าคุณพ่อรุ่นปู่/รุ่นตา ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต (ร้อยละ
71.3 ของตัวอย่างที่เป็นปู่/ตา ร้อยละ 68.1 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณพ่อ และร้อยละ 66.9 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณลูก) การใช้ความรุนแรงทำร้าย
ชีวิตผู้อื่น (ร้อยละ 57.2 ของตัวอย่างที่เป็นปู่/ตา ร้อยละ 52.8 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณพ่อ และร้อยละ 53.4 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณลูก) การพูด
โกหกพูดเท็จ (ร้อยละ 60.0 ของตัวอย่างที่เป็นปู่/ตา ร้อยละ 57.8 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณพ่อ และร้อยละ 52.7 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณลูก)
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสอบถามประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ถึงแนวโน้มการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้านศีลธรรมในสังคมไทยปัจจุบัน ผลสำรวจพบว่า
ทุกกลุ่มตัวอย่างเห็นตรงกันว่ามีการยึดหลักศีลธรรมน้อยลง กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างที่เป็น พ่อส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.7 กลุ่มตัวอย่างที่เป็นลูก ร้อยละ
69.5 และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นปู่/ตาร้อยละ 61.4 ระบุว่ามีการยึดหลักศีลธรรมน้อยลงในการอบรมเลี้ยงดูบุตรของคนในสังคมไทย
เมื่อสอบถามประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ถึงปัญหาสำคัญที่มีสาเหตุมาจากผู้ที่เป็นพ่อในสังคมไทย ผลสำรวจพบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 31.2
ระบุว่า ปัญหาพ่อไม่มีเวลาพูดคุยและพบกับลูก ไม่มีเวลาสั่งสอนลูก ละเลยลูก รองลงมา คือ ร้อยละ 20.5 ระบุว่า ปัญหาเด็กติดยาเสพติด กินเหล้า
สูบบุหรี่ และเล่นการพนัน และร้อยละ 18.7 ระบุว่า ปัญหาพ่อข่มขืนลูก ทำร้ายลูก และใช้ความรุนแรง
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่ได้สอบถามประชาชน คือ สิ่งที่ต้องการให้ผู้ที่เป็นพ่อในสังคมไทยประพฤติปฏิบัติมากที่สุด ผลการสำรวจพบ
ว่า สิ่งที่ต้องการให้ผู้ที่เป็นพ่อประพฤติปฏิบัติมากที่สุด อันดับแรกหรือร้อยละ 47.3 ระบุว่า ต้องการให้ดูแลครอบครัวให้ดี ดูแลเอาใจใส่ครอบครัวให้มาก
ขึ้น และมีเวลาดูแลลูกให้มากขึ้น รองลงมา คือ ร้อยละ 31.2 ระบุว่า ต้องการให้พ่อเป็นตัวอย่างที่ดี เลิกเหล้า เบียร์ บุหรี่ และละสิ่งอบายมุข และ
ร้อยละ 10.4 ระบุว่า ต้องการให้พ่อทำความดี มีศีลธรรม
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตที่ ตนเองได้รับจากพ่อ พบว่าตัวอย่าง
ร้อยละ 35.0 ระบุว่า ได้แบบอย่างที่ดีจากพ่อในเรื่องการทำงานหนัก ความเข้มแข็ง ขยัน อดทน รองลงมา คือ ร้อยละ 20.5 ระบุว่า ได้แบบอย่างที่
ดีในเรื่องการเป็นคนดีของสังคม และร้อยละ 17.2 ระบุว่า ได้แบบอย่างที่ดีจากพ่อในเรื่องความซื่อสัตย์
ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.6 ระบุว่า ตนเองให้ความสำคัญกับวันพ่อ (โดยให้เห็นผลว่า พ่อเป็นผู้มีพระคุณ เป็นผู้ให้กำเนิด / เป็น
วันสำคัญประจำชาติ เป็นวันของในหลวง และอยากให้พ่อรู้ว่ารัก) ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 4.8 ระบุไม่ให้ความสำคัญ (เพราะคิดว่า วันไหนก็รักพ่อ
ได้ / เหมือนวันธรรมดาทั่วไป / ไม่มีเวลา ต้องทำงาน) และร้อยละ 20.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่ตั้งใจจะทำเพื่อพ่อ เนื่องในโอกาสวันพ่อที่จะมาถึงนี้ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 36.6 ระบุตั้งใจจะทำบุญตักบาตร รองลง
มา คือ ร้อยละ 35.6 ตั้งใจจะอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันในครอบครัว และร้อยละ 23.5 ตั้งใจจะทำบุญอุทิศส่วนกุศล ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงคำสัตย์ปฏิญาณเพื่อพ่อ เนื่องในโอกาสวันพ่อที่จะมาถึงนี้ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 31.6 ระบุว่า จะเป็นลูกที่ดีของพ่อ / เชื่อ
ฟังพ่อ รองลงมา คือ ร้อยละ 19.3 ระบุว่า จะตั้งใจเรียน / ทำงานให้ประสบความสำเร็จ ในขณะที่ร้อยละ 16.0 ระบุว่า ตั้งใจจะเป็นพ่อที่ดี เป็น
ตัวอย่างของลูก และร้อยละ 8.6 จะเลิกเหล้าเลิกบุหรี่ เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการพบเจอ/พูดคุยระหว่างพ่อกับลูกในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการพบเจอ / พูดคุยระหว่างพ่อกับลูก ร้อยละ
1 ทุกวัน 70.2
2 บางวัน 23.5
3 ไม่ได้พบเลย 6.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างพ่อและลูกในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
กิจกรรม บ่อยๆ ไม่บ่อย ไม่เคยทำเลย รวม
1. ทานข้าวร่วมกัน 51.8 24.0 24.2 100.0
2. ดูข่าว ดูละคร 48.9 22.9 28.2 100.0
3. พูดคุยเรื่องส่วนตัว 36.4 37.0 26.6 100.0
4. ชมภาพยนตร์ 16.4 27.1 56.5 100.0
5. ท่องเที่ยว 15.1 44.3 40.6 100.0
6. ชอปปิ้ง 14.5 39.2 46.3 100.0
7. เล่นกีฬา 10.7 28.2 61.1 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อและลูก
ลำดับที่ เกณฑ์ความสัมพันธ์ ค่าร้อยละ
1 ดีมาก 32.0
2 ดี 56.5
3 ไม่ค่อยดี 8.9
4 ไม่ดีเลย 2.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูของพ่อจำแนกตามสถานภาพ
การอบรมเลี้ยงดูของพ่อในด้านต่างๆ เคร่งครัดมาก(ค่าร้อยละ)
ปู่/ตา พ่อ ลูก
1. คำพูดคำจาที่ใช้ / กิริยามารยาทสุภาพเรียบร้อย 34.4 25.4 21.0
2. สูบบุหรี่ 40.4 42.7 50.0
3. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่นเหล้า ไวน์ เบียร์ 43.0 40.5 46.0
4. ยาเสพติด 64.0 67.0 72.7
5. การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร 46.7 46.2 52.9
6. เล่นการพนัน 59.8 61.9 60.3
7. การนอนค้างบ้านเพื่อนต่างเพศ 49.7 43.4 49.6
8. ความซื่อสัตย์สุจริต 71.3 68.1 66.9
9. การใช้ความรุนแรงทำร้ายชีวิตผู้อื่น 57.2 52.8 53.4
10. พูดโกหก/พูดเท็จ 60.0 57.8 52.7
11. การลักขโมยสิ่งของของผู้อื่น 74.0 75.2 75.1
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวโน้มการอบรมเลี้ยงดูด้านศีลธรรมของ
สังคมไทยในปัจจุบัน จำแนกตามสถานภาพ
แนวโน้มการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้านศีลธรรม ปู่/ตา พ่อ ลูก
ยึดหลักศีลธรรมมากขึ้น 38.6 28.3 30.5
ยึดหลักศีลธรรมน้อยลง 61.4 71.7 69.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาสำคัญที่มีสาเหตุมาจากผู้ที่เป็นพ่อในสังคมไทย
ลำดับที่ ปัญหาสำคัญที่มีสาเหตุมาจากผู้ที่เป็นพ่อ ค่าร้อยละ
1 ไม่มีเวลาพูดคุยและพบกับลูก / ไม่มีเวลาสั่งสอนลูก / ละเลยลูก 31.2
2 เด็กติดยาเสพติด / กินเหล้า / สูบบุหรี่ / เล่นการพนัน 20.5
3 พ่อข่มขืนลูก / ทำร้ายลูก / ใช้ความรุนแรงทางอารมณ์ 18.7
4 ปัญหาด้านศีลธรรม / ไม่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีได้ / หมกมุ่นอบายมุข 8.6
5 ปัญหาครอบครัว / พ่อมีเมียน้อย / ไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน 7.6
6 สถานภาพทางเศรษฐกิจ / รายได้ / ค่าครองชีพ 3.6
7 เด็กมีปัญหา / เด็กเกเร / เด็กเสียคน 2.4
8 อื่นๆ อาทิ บังคับมากเกินไป / ตามใจลูกเกินไป 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ต้องการให้ผู้ที่เป็นพ่อในสังคมไทยประพฤติปฏิบัติมากที่สุด
ลำดับที่ สิ่งที่ต้องการให้ผู้ที่เป็นพ่อประพฤติปฏิบัติมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 ดูแลครอบครัวให้ดี / ดูแลเอาใจใส่ให้มากขึ้น / มีเวลาดูแลลูกให้มากขึ้น 47.3
2 เป็นตัวอย่างที่ดี / เลิกเหล้า เบียร์ บุหรี่ / ละสิ่งอบายมุข 31.2
3 การทำความดี / ให้มีศีลธรรม 10.4
4 เข้าใจซึ่งกันและกัน / พูดคุยกับลูกให้มากที่สุดและเข้าใจปัญหา 7.7
5 ควรมีกิจกรรมกับครอบครัว / อย่าปล่อยให้ลูกอยู่ลำพัง 1.0
6 มีความเป็นผู้นำ 0.6
7 อื่นๆ อาทิ พูดจาไพเราะ มีระเบียบการปกครองลูกหลานเหมือนสมัยก่อน 1.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแบบอย่างที่ดีของพ่อในการดำเนินชีวิต (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แบบอย่างที่ดีของพ่อ ค่าร้อยละ
1 ทำงานหนัก/ เข้มแข็ง / ขยัน / อดทน 35.0
2 เป็นคนดีของสังคม 20.5
3 ซื่อสัตย์ 17.2
4 การเป็นผู้นำในครอบครัว / ความรักที่มีต่อครอบครัว 13.2
5 ไม่สูบบุหรี่ / ไม่ดื่มแหล้า 4.3
6 ความรับผิดชอบ / ตรงต่อเวลา 3.2
7 ความเป็นคนมีอัธยาศัยดี 3.1
8 ไม่เอาเปรียบใคร / ไม่เบียดเบียนผู้อื่น / ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน 2.8
9 มองการณ์ไกล 2.1
10 การอบรมสั่งสอน 2.0
11 อื่นๆ อาทิ ไม่เล่นการพนัน ความกตัญญู มีเหตุผล 11.3
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความสำคัญวันพ่อ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ให้ความสำคัญ 74.6
2 ไม่ให้ความสำคัญ 4.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 20.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
เหตุผลของผู้ที่ระบุว่าให้ความสำคัญต่อวันพ่อ (5 อันดับแรก) ได้แก่
1. พ่อเป็นผู้มีพระคุณ / เป็นผู้ให้กำเนิดเรา ร้อยละ 29.5
2. เป็นวันสำคัญประจำชาติ / เป็นวันของในหลวง ร้อยละ 16.7
3. อยากให้พ่อรู้ว่ารัก ร้อยละ 16.4
4. สำนึกบุญคุณ ร้อยละ 12.7
5. พ่อเป็นแบบอย่างที่ดี / เป็นผู้นำครอบครัวที่ดี ร้อยละ 9.4
เหตุผลของผู้ที่ระบุว่า ไม่ ให้ความสำคัญต่อวันพ่อ (5 อันดับแรก) ได้แก่
1. วันไหนก็รักพ่อได้ ร้อยละ 52.6
2. เหมือนวันธรรมดาทั่วไป ร้อยละ 24.6
3. ไม่มีเวลา / ต้องทำงาน ร้อยละ 14.0
4. พ่อเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ร้อยละ 3.5
5. อายที่จะขอโทษพ่อ ร้อยละ 3.5
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่สิ่งที่ตั้งใจจะทำเพื่อพ่อ เนื่องในโอกาสวันพ่อที่จะถึงนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กิจกรรม ค่าร้อยละ
1 ทำบุญตักบาตร 36.6
2 อยู่บ้านพร้อมหน้าพร้อมตากัน 35.6
3 ทำบุญอุทิศส่วนกุศล 23.5
4 ให้สิ่งของ เช่น ของขวัญ การ์ด 22.8
5 ให้เงิน 17.2
6 ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เช่น ปลูกต้นไม้ ทำกับข้าว 17.1
7 ไปทานข้าวนอกบ้าน 16.4
8 ไปพักผ่อนตามสถานที่ต่างๆ 14.3
9 ช็อปปิ้ง / ชมภาพยนตร์ 5.2
10 เล่นกีฬา 3.6
11 ไม่ทำอะไรเลย 7.1
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำสัตย์ปฏิญาณเพื่อพ่อ เนื่องในโอกาสวันพ่อที่จะมาถึงนี้
ลำดับที่ คำสัตย์ปฏิญาณเพื่อพ่อ ค่าร้อยละ
1 เป็นลูกที่ดีของพ่อ / เชื่อฟังพ่อ 31.6
2 ตั้งใจเรียน / ทำงานให้ประสบความสำเร็จ 19.3
3 เป็นพ่อที่ดี / เป็นตัวอย่างของลูก 16.0
4 เลิกเหล้า / เลิกบุหรี่ 8.6
5 จะทำตัวให้ดีขึ้น 6.9
6 รักพ่อที่สุด 4.7
7 สอนให้ลูกทำความดี 3.6
8 อยากให้พ่อแข็งแรง 3.1
9 จะบวชให้พ่อ 2.2
10 อื่นๆ อาทิ จะดูแลพ่อ จะทำทุกอย่างเพื่อพ่อ 4.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
การอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูบุตรถือเป็นหน้าที่สำคัญของพ่อแม่ที่จะต้องให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ในชีวิต ให้บุตรได้เรียนรู้ ทั้งมาตรฐานของ
สังคม การปฏิบัติตัว รวมทั้งด้านศีลธรรม คือ คุณธรรมและจริยธรรม โดยการ อบรมเลี้ยงดูบุตรได้มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยต่างๆ ทั้งนี้ขึ้น
อยู่กับความเหมาะสมของยุคสมัยนั้นๆ การศึกษาถึงความแตกต่างในการอบรมเลี้ยงบุตรด้านศีลธรรมของคน 3 วัย ทำให้ทราบถึงแนวโน้มและพัฒนาการ
ด้านศีลธรรมในการอบรมเลี้ยงดูบุตรว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ทำให้บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลไปวางแผน ป้องกัน และแก้ไขได้
อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่เยาวชนรุ่นลูกต่อไป
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อประเมินตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับความ
แตกต่างในการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้านศีลธรรมของคน 3 วัย ด้วยการสำรวจประสบการณ์ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ที่มีสถานภาพปู่/ตา พ่อ และลูก ต่อ
การอบรมเลี้ยงดู ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบ
วิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจสัมพันธภาพทั่วไประหว่างพ่อและลูก รวมทั้งกิจกรรมที่พ่อและลูกได้กระทำร่วมกันในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจระดับความเคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูที่พ่อมีต่อลูก
3. เพื่อศึกษาความแตกต่างในการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้านศีลธรรม
4. เพื่อสำรวจถึงการให้ความสำคัญวันพ่อของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “วิจัยความแตกต่างในการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้าน
ศีลธรรมของคน 3 วัย : กรณีศึกษาผู้ที่มีสถานภาพปู่/ตา พ่อ และลูกในกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจวันที่ 30 พฤศจิกายน — 2
ธันวาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีสถานภาพปู่/ตา พ่อ และลูกในกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,749 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 67.2 เป็นเพศชาย และตัวอย่างร้อยละ 32.8 เป็นเพศหญิง โดย
ตัวอย่างร้อยละ 28.1 มีอายุระหว่าง 20-29 ปี ตัวอย่างร้อยละ 18.4 มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 18.2 มีอายุระหว่าง 40-49 ปี ตัวอย่าง
ร้อยละ 18.2 มีอายุระหว่าง 30-39 ปี ตัวอย่างร้อยละ 11.7 มีอายุระหว่าง 16-19 ปี และตัวอย่างร้อยละ 5.4 มีอายุระหว่าง 12-15 ปี โดย
ตัวอย่างร้อยละ 62.2 มีสถานภาพลูก ตัวอย่างร้อยละ 27.3 มีสถานภาพพ่อ และตัวอย่างร้อยละ 10.5 มีสถานภาพปู่/ตา นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ
28.9 ประกอบอาชีพค้าขายหรือกิจการส่วนตัว ตัวอย่างร้อยละ 24.4 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ตัวอย่างร้อยละ 21.0 เป็นนักเรียน นักศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 7.3 ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ตัวอย่างร้อยละ 5.2 เป็นพ่อบ้าน แม่บ้าน หรือเกษียณอายุ ตัวอย่างร้อยละ 3.8 ประกอบ
อาชีพรับราชการ / รัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 2.1 ประกอบอาชีพอื่นๆ ตัวอย่างร้อยละ 0.5 ประกอบอาชีพเกษตรกร และตัวอย่างร้อยละ 6.8 ไม่
ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “วิจัยความแตกต่างในการอบรม เลี้ยงดูบุตรด้าน
ศีลธรรมของคน 3 วัย : กรณีศึกษาผู้ที่มีสถานภาพปู่/ตา พ่อ และลูกในกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปใน
เขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,749 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน — 2 ธันวาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่
ค้นพบจากการสำรวจ มีดังนี้
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พ่อกับลูกส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.2 พบเจอกันทุกวัน แต่เมื่อถามถึงกิจกรรมที่ทำร่วมกันระหว่างพ่อกับลูก ผล
สำรวจพบว่า มีเพียงครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 51.8 เท่านั้นที่ทานข้าวร่วมกันบ่อยๆ และเพียง 1 ใน 3 หรือร้อยละ 36.4 เท่านั้นที่มีการพูดคุยกันเรื่องส่วน
ตัวบ่อยๆ ในขณะที่ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าพ่อกับลูกมีการทำกิจกรรมสันทนาการหรือเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจร่วมกันน้อยมาก คือ ร้อยละ 61.1 ไม่เคยเล่น
กีฬาร่วมกันเลย ร้อยละ 56.5 ไม่เคยชมภาพยนต์ร่วมกันเลย ร้อยละ 46.3 ไม่เคยชอปปิ้งร่วมกันเลย และร้อยละ 40.6 ไม่เคยท่องเที่ยวร่วมกัน
เลย ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม พ่อกับลูกส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.5 มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างดี และร้อยละ 32.0 มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอย่างดีมาก ใน
ขณะที่ร้อยละ 8.9 มีความสัมพันธ์ต่อกันไม่ค่อยดีและร้อยละ 2.6 มีความสัมพันธ์ต่อกันไม่ดีเลย
เมื่อทำการศึกษาความเคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูด้านศีลธรรมของคน 3 วัยคือคนรุ่นปู่/ตา คนรุ่นพ่อ และรุ่นลูก ผลสำรวจพบว่า เรื่องที่
คนทั้งสามวัยให้ความเคร่งครัดน้อยและมีสัดส่วนลดลงเรื่อยๆ จากรุ่นคุณปู่/คุณตา ถึงรุ่นพ่อและรุ่นลูก ได้แก่ คำพูดคำจาที่ใช้ กิริยามารยาทสุภาพเรียบ
ร้อย (ร้อยละ 34.4 ของตัวอย่างที่เป็นปู่/ตา ร้อยละ 25.4 ของตัวอย่างที่เป็นพ่อ และร้อยละ 21.0 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นลูก) อย่างไรก็ตาม เมื่อ
พิจารณาการอบรมเลี้ยงดูที่คุณพ่อรุ่นใหม่ให้ความเคร่งครัดมากกว่าคุณพ่อรุ่นเก่า ได้แก่เรื่องการใช้ยาเสพติด (ร้อยละ 64.0 ของตัวอย่างที่เป็นปู่/ตา
ร้อยละ 67.0 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณพ่อ และร้อยละ 72.7 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นลูก) การสูบบุหรี่ (ร้อยละ 40.4 ของตัวอย่างที่เป็นปู่/ตา ร้อย
ละ 42.7 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณพ่อ และร้อยละ 50.0 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นลูก)
นอกจากนี้ตัวอย่างรุ่นลูกได้รับการอบรมเลี้ยงดูในเรื่องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการมีเพศสัมพันธ์มากกว่ารุ่นคุณปู่/ตาและคุณพ่อ
กล่าวคือ ในเรื่องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 43.0 ของตัวอย่างที่เป็นปู่/ตา ร้อยละ 40.5 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณพ่อ และร้อยละ
46.0 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณลูก) เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร (ร้อยละ 46.7 ของตัวอย่างที่เป็นปู่/ตา ร้อยละ 46.2 ของตัวอย่างที่เป็น
รุ่นคุณพ่อ และร้อยละ 52.9 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณลูก)
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ เรื่องที่คุณพ่อรุ่นใหม่ให้ความเคร่งครัดในสัดส่วนที่น้อยกว่าคุณพ่อรุ่นปู่/รุ่นตา ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต (ร้อยละ
71.3 ของตัวอย่างที่เป็นปู่/ตา ร้อยละ 68.1 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณพ่อ และร้อยละ 66.9 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณลูก) การใช้ความรุนแรงทำร้าย
ชีวิตผู้อื่น (ร้อยละ 57.2 ของตัวอย่างที่เป็นปู่/ตา ร้อยละ 52.8 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณพ่อ และร้อยละ 53.4 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณลูก) การพูด
โกหกพูดเท็จ (ร้อยละ 60.0 ของตัวอย่างที่เป็นปู่/ตา ร้อยละ 57.8 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณพ่อ และร้อยละ 52.7 ของตัวอย่างที่เป็นรุ่นคุณลูก)
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสอบถามประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ถึงแนวโน้มการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้านศีลธรรมในสังคมไทยปัจจุบัน ผลสำรวจพบว่า
ทุกกลุ่มตัวอย่างเห็นตรงกันว่ามีการยึดหลักศีลธรรมน้อยลง กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างที่เป็น พ่อส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.7 กลุ่มตัวอย่างที่เป็นลูก ร้อยละ
69.5 และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นปู่/ตาร้อยละ 61.4 ระบุว่ามีการยึดหลักศีลธรรมน้อยลงในการอบรมเลี้ยงดูบุตรของคนในสังคมไทย
เมื่อสอบถามประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ถึงปัญหาสำคัญที่มีสาเหตุมาจากผู้ที่เป็นพ่อในสังคมไทย ผลสำรวจพบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 31.2
ระบุว่า ปัญหาพ่อไม่มีเวลาพูดคุยและพบกับลูก ไม่มีเวลาสั่งสอนลูก ละเลยลูก รองลงมา คือ ร้อยละ 20.5 ระบุว่า ปัญหาเด็กติดยาเสพติด กินเหล้า
สูบบุหรี่ และเล่นการพนัน และร้อยละ 18.7 ระบุว่า ปัญหาพ่อข่มขืนลูก ทำร้ายลูก และใช้ความรุนแรง
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่ได้สอบถามประชาชน คือ สิ่งที่ต้องการให้ผู้ที่เป็นพ่อในสังคมไทยประพฤติปฏิบัติมากที่สุด ผลการสำรวจพบ
ว่า สิ่งที่ต้องการให้ผู้ที่เป็นพ่อประพฤติปฏิบัติมากที่สุด อันดับแรกหรือร้อยละ 47.3 ระบุว่า ต้องการให้ดูแลครอบครัวให้ดี ดูแลเอาใจใส่ครอบครัวให้มาก
ขึ้น และมีเวลาดูแลลูกให้มากขึ้น รองลงมา คือ ร้อยละ 31.2 ระบุว่า ต้องการให้พ่อเป็นตัวอย่างที่ดี เลิกเหล้า เบียร์ บุหรี่ และละสิ่งอบายมุข และ
ร้อยละ 10.4 ระบุว่า ต้องการให้พ่อทำความดี มีศีลธรรม
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตที่ ตนเองได้รับจากพ่อ พบว่าตัวอย่าง
ร้อยละ 35.0 ระบุว่า ได้แบบอย่างที่ดีจากพ่อในเรื่องการทำงานหนัก ความเข้มแข็ง ขยัน อดทน รองลงมา คือ ร้อยละ 20.5 ระบุว่า ได้แบบอย่างที่
ดีในเรื่องการเป็นคนดีของสังคม และร้อยละ 17.2 ระบุว่า ได้แบบอย่างที่ดีจากพ่อในเรื่องความซื่อสัตย์
ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.6 ระบุว่า ตนเองให้ความสำคัญกับวันพ่อ (โดยให้เห็นผลว่า พ่อเป็นผู้มีพระคุณ เป็นผู้ให้กำเนิด / เป็น
วันสำคัญประจำชาติ เป็นวันของในหลวง และอยากให้พ่อรู้ว่ารัก) ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 4.8 ระบุไม่ให้ความสำคัญ (เพราะคิดว่า วันไหนก็รักพ่อ
ได้ / เหมือนวันธรรมดาทั่วไป / ไม่มีเวลา ต้องทำงาน) และร้อยละ 20.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่ตั้งใจจะทำเพื่อพ่อ เนื่องในโอกาสวันพ่อที่จะมาถึงนี้ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 36.6 ระบุตั้งใจจะทำบุญตักบาตร รองลง
มา คือ ร้อยละ 35.6 ตั้งใจจะอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันในครอบครัว และร้อยละ 23.5 ตั้งใจจะทำบุญอุทิศส่วนกุศล ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงคำสัตย์ปฏิญาณเพื่อพ่อ เนื่องในโอกาสวันพ่อที่จะมาถึงนี้ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 31.6 ระบุว่า จะเป็นลูกที่ดีของพ่อ / เชื่อ
ฟังพ่อ รองลงมา คือ ร้อยละ 19.3 ระบุว่า จะตั้งใจเรียน / ทำงานให้ประสบความสำเร็จ ในขณะที่ร้อยละ 16.0 ระบุว่า ตั้งใจจะเป็นพ่อที่ดี เป็น
ตัวอย่างของลูก และร้อยละ 8.6 จะเลิกเหล้าเลิกบุหรี่ เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการพบเจอ/พูดคุยระหว่างพ่อกับลูกในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการพบเจอ / พูดคุยระหว่างพ่อกับลูก ร้อยละ
1 ทุกวัน 70.2
2 บางวัน 23.5
3 ไม่ได้พบเลย 6.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างพ่อและลูกในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
กิจกรรม บ่อยๆ ไม่บ่อย ไม่เคยทำเลย รวม
1. ทานข้าวร่วมกัน 51.8 24.0 24.2 100.0
2. ดูข่าว ดูละคร 48.9 22.9 28.2 100.0
3. พูดคุยเรื่องส่วนตัว 36.4 37.0 26.6 100.0
4. ชมภาพยนตร์ 16.4 27.1 56.5 100.0
5. ท่องเที่ยว 15.1 44.3 40.6 100.0
6. ชอปปิ้ง 14.5 39.2 46.3 100.0
7. เล่นกีฬา 10.7 28.2 61.1 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อและลูก
ลำดับที่ เกณฑ์ความสัมพันธ์ ค่าร้อยละ
1 ดีมาก 32.0
2 ดี 56.5
3 ไม่ค่อยดี 8.9
4 ไม่ดีเลย 2.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูของพ่อจำแนกตามสถานภาพ
การอบรมเลี้ยงดูของพ่อในด้านต่างๆ เคร่งครัดมาก(ค่าร้อยละ)
ปู่/ตา พ่อ ลูก
1. คำพูดคำจาที่ใช้ / กิริยามารยาทสุภาพเรียบร้อย 34.4 25.4 21.0
2. สูบบุหรี่ 40.4 42.7 50.0
3. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่นเหล้า ไวน์ เบียร์ 43.0 40.5 46.0
4. ยาเสพติด 64.0 67.0 72.7
5. การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร 46.7 46.2 52.9
6. เล่นการพนัน 59.8 61.9 60.3
7. การนอนค้างบ้านเพื่อนต่างเพศ 49.7 43.4 49.6
8. ความซื่อสัตย์สุจริต 71.3 68.1 66.9
9. การใช้ความรุนแรงทำร้ายชีวิตผู้อื่น 57.2 52.8 53.4
10. พูดโกหก/พูดเท็จ 60.0 57.8 52.7
11. การลักขโมยสิ่งของของผู้อื่น 74.0 75.2 75.1
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวโน้มการอบรมเลี้ยงดูด้านศีลธรรมของ
สังคมไทยในปัจจุบัน จำแนกตามสถานภาพ
แนวโน้มการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้านศีลธรรม ปู่/ตา พ่อ ลูก
ยึดหลักศีลธรรมมากขึ้น 38.6 28.3 30.5
ยึดหลักศีลธรรมน้อยลง 61.4 71.7 69.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาสำคัญที่มีสาเหตุมาจากผู้ที่เป็นพ่อในสังคมไทย
ลำดับที่ ปัญหาสำคัญที่มีสาเหตุมาจากผู้ที่เป็นพ่อ ค่าร้อยละ
1 ไม่มีเวลาพูดคุยและพบกับลูก / ไม่มีเวลาสั่งสอนลูก / ละเลยลูก 31.2
2 เด็กติดยาเสพติด / กินเหล้า / สูบบุหรี่ / เล่นการพนัน 20.5
3 พ่อข่มขืนลูก / ทำร้ายลูก / ใช้ความรุนแรงทางอารมณ์ 18.7
4 ปัญหาด้านศีลธรรม / ไม่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีได้ / หมกมุ่นอบายมุข 8.6
5 ปัญหาครอบครัว / พ่อมีเมียน้อย / ไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน 7.6
6 สถานภาพทางเศรษฐกิจ / รายได้ / ค่าครองชีพ 3.6
7 เด็กมีปัญหา / เด็กเกเร / เด็กเสียคน 2.4
8 อื่นๆ อาทิ บังคับมากเกินไป / ตามใจลูกเกินไป 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ต้องการให้ผู้ที่เป็นพ่อในสังคมไทยประพฤติปฏิบัติมากที่สุด
ลำดับที่ สิ่งที่ต้องการให้ผู้ที่เป็นพ่อประพฤติปฏิบัติมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 ดูแลครอบครัวให้ดี / ดูแลเอาใจใส่ให้มากขึ้น / มีเวลาดูแลลูกให้มากขึ้น 47.3
2 เป็นตัวอย่างที่ดี / เลิกเหล้า เบียร์ บุหรี่ / ละสิ่งอบายมุข 31.2
3 การทำความดี / ให้มีศีลธรรม 10.4
4 เข้าใจซึ่งกันและกัน / พูดคุยกับลูกให้มากที่สุดและเข้าใจปัญหา 7.7
5 ควรมีกิจกรรมกับครอบครัว / อย่าปล่อยให้ลูกอยู่ลำพัง 1.0
6 มีความเป็นผู้นำ 0.6
7 อื่นๆ อาทิ พูดจาไพเราะ มีระเบียบการปกครองลูกหลานเหมือนสมัยก่อน 1.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแบบอย่างที่ดีของพ่อในการดำเนินชีวิต (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แบบอย่างที่ดีของพ่อ ค่าร้อยละ
1 ทำงานหนัก/ เข้มแข็ง / ขยัน / อดทน 35.0
2 เป็นคนดีของสังคม 20.5
3 ซื่อสัตย์ 17.2
4 การเป็นผู้นำในครอบครัว / ความรักที่มีต่อครอบครัว 13.2
5 ไม่สูบบุหรี่ / ไม่ดื่มแหล้า 4.3
6 ความรับผิดชอบ / ตรงต่อเวลา 3.2
7 ความเป็นคนมีอัธยาศัยดี 3.1
8 ไม่เอาเปรียบใคร / ไม่เบียดเบียนผู้อื่น / ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน 2.8
9 มองการณ์ไกล 2.1
10 การอบรมสั่งสอน 2.0
11 อื่นๆ อาทิ ไม่เล่นการพนัน ความกตัญญู มีเหตุผล 11.3
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความสำคัญวันพ่อ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ให้ความสำคัญ 74.6
2 ไม่ให้ความสำคัญ 4.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 20.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
เหตุผลของผู้ที่ระบุว่าให้ความสำคัญต่อวันพ่อ (5 อันดับแรก) ได้แก่
1. พ่อเป็นผู้มีพระคุณ / เป็นผู้ให้กำเนิดเรา ร้อยละ 29.5
2. เป็นวันสำคัญประจำชาติ / เป็นวันของในหลวง ร้อยละ 16.7
3. อยากให้พ่อรู้ว่ารัก ร้อยละ 16.4
4. สำนึกบุญคุณ ร้อยละ 12.7
5. พ่อเป็นแบบอย่างที่ดี / เป็นผู้นำครอบครัวที่ดี ร้อยละ 9.4
เหตุผลของผู้ที่ระบุว่า ไม่ ให้ความสำคัญต่อวันพ่อ (5 อันดับแรก) ได้แก่
1. วันไหนก็รักพ่อได้ ร้อยละ 52.6
2. เหมือนวันธรรมดาทั่วไป ร้อยละ 24.6
3. ไม่มีเวลา / ต้องทำงาน ร้อยละ 14.0
4. พ่อเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ร้อยละ 3.5
5. อายที่จะขอโทษพ่อ ร้อยละ 3.5
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่สิ่งที่ตั้งใจจะทำเพื่อพ่อ เนื่องในโอกาสวันพ่อที่จะถึงนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กิจกรรม ค่าร้อยละ
1 ทำบุญตักบาตร 36.6
2 อยู่บ้านพร้อมหน้าพร้อมตากัน 35.6
3 ทำบุญอุทิศส่วนกุศล 23.5
4 ให้สิ่งของ เช่น ของขวัญ การ์ด 22.8
5 ให้เงิน 17.2
6 ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เช่น ปลูกต้นไม้ ทำกับข้าว 17.1
7 ไปทานข้าวนอกบ้าน 16.4
8 ไปพักผ่อนตามสถานที่ต่างๆ 14.3
9 ช็อปปิ้ง / ชมภาพยนตร์ 5.2
10 เล่นกีฬา 3.6
11 ไม่ทำอะไรเลย 7.1
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำสัตย์ปฏิญาณเพื่อพ่อ เนื่องในโอกาสวันพ่อที่จะมาถึงนี้
ลำดับที่ คำสัตย์ปฏิญาณเพื่อพ่อ ค่าร้อยละ
1 เป็นลูกที่ดีของพ่อ / เชื่อฟังพ่อ 31.6
2 ตั้งใจเรียน / ทำงานให้ประสบความสำเร็จ 19.3
3 เป็นพ่อที่ดี / เป็นตัวอย่างของลูก 16.0
4 เลิกเหล้า / เลิกบุหรี่ 8.6
5 จะทำตัวให้ดีขึ้น 6.9
6 รักพ่อที่สุด 4.7
7 สอนให้ลูกทำความดี 3.6
8 อยากให้พ่อแข็งแรง 3.1
9 จะบวชให้พ่อ 2.2
10 อื่นๆ อาทิ จะดูแลพ่อ จะทำทุกอย่างเพื่อพ่อ 4.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-