ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของคนกรุงเทพ
มหานครต่อรายชื่อคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ภายใต้การนำของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี” จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,122
ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 9 — 10 ตุลาคม 2549
ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.8 ระบุว่า ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ
11.7 ติดตามบ้าง และร้อยละ 2.5 ไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อสอบถามถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงประเด็นสำคัญทางการเมืองตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.6 คิดว่ารัฐบาล
จะมีความโปร่งใสมากขึ้น ร้อยละ 18.7 คิดว่าจะมากเหมือนเดิม ร้อยละ 11.0 คิดว่าจะน้อยเหมือนเดิม และร้อยละ 3.7 คิดว่าจะน้อยลง ในเรื่อง
การตรวจสอบรัฐบาล พบว่า ครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.5 คิดว่าประชาชนจะสามารถตรวจสอบรัฐบาลได้มากขึ้น ร้อยละ 25.9 คิดว่ามากเหมือนเดิม
ร้อยละ 16.3 คิดว่าน้อยเหมือนเดิม และร้อยละ 7.3 คิดว่าจะน้อยลง ในเรื่องความเป็นที่ไว้วางใจได้ของรัฐบาล พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.7
คิดว่าประชาชนจะไว้วางใจรัฐบาลได้มากขึ้น ร้อยละ 24.0 คิดว่าจะมากเหมือนเดิม ร้อยละ 11.8 คิดว่าจะน้อยเหมือนเดิม และร้อยละ 5.5 คิดว่า
จะน้อยลง
สำหรับเรื่องความเชื่อถือได้ของรัฐบาล คือรัฐบาลพูดอะไรทำอะไรไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.1 คิดว่า
ประชาชนจะให้ความเชื่อถือรัฐบาลมากขึ้น ร้อยละ 25.8 คิดว่าจะมากเหมือนเดิม ร้อยละ 10.6 คิดว่าจะน้อยเหมือนเดิม และร้อยละ 5.5 คิดว่าจะ
น้อยลง ในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตของรัฐบาล พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.5 คิดว่าความซื่อสัตย์สุจริตของรัฐบาลจะมากขึ้น ร้อยละ 25.0 คิดว่าจะ
มากเหมือนเดิม ร้อยละ 12.4 คิดว่าจะน้อยเหมือนเดิม และร้อยละ 4.1 คิดว่าจะน้อยลง
สำหรับเรื่องความสัมพันธ์ที่ดี ร่วมมือกันพัฒนาประเทศระหว่างรัฐบาลหน่วยงานราชการและภาคประชาชน พบว่าเกินกว่าครึ่งหนึ่งเล็กน้อย
หรือร้อยละ 52.3 คิดว่าจะมากขึ้น ร้อยละ 29.6 คิดว่าจะมากเหมือนเดิม ร้อยละ 12.0 คิดว่าจะน้อยเหมือนเดิม และร้อยละ 6.1 คิดว่าจะน้อยลง
ในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.3 คิดว่าจะมากขึ้น ร้อยละ 27.1 คิดว่าจะมากเหมือนเดิม ร้อยละ
14.9 คิดว่าจะน้อยเหมือนเดิม และร้อยละ 7.7 คิดว่าจะน้อยลง ในขณะที่เรื่องการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 48.8 คิดว่าจะ
ยั่งยืนมากขึ้น ร้อยละ 29.5 คิดว่าจะยั่งยืนมากเหมือนเดิม ร้อยละ 14.2 คิดว่าจะยั่งยืนน้อยเหมือนเดิม และร้อยละ 7.5 คิดว่าจะยั่งยืนน้อยลง
เมื่อสอบถามภายหลังทราบรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันถึงภาพลักษณ์ความเป็นคนดีและภาพลักษณ์ความเป็นคนเก่งมีความรู้ความสามารถ
เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า คะแนนเฉลี่ยของภาพลักษณ์ความเป็นคนดีอยู่ที่ 7.59 ซึ่งใกล้เคียงกับภาพลักษณ์ความเก่งมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 7.50
นอกจากนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.1 เห็นสมควรให้โอกาสคณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้ทำงานไปก่อน ในขณะที่เพียงร้อยละ 3.9 เท่านั้นที่ระบุว่าไม่
ควรให้โอกาส
สำหรับกรณีการนำอดีตคนที่เคยทำงานให้พรรคไทยรักไทยเข้าร่วมเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ ผลปรากฏว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.2 ระบุว่า
เห็นด้วย เพราะแสดงให้เห็นว่าไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกและเห็นว่าเป็นคนดี คนเก่ง มีความรู้ความสามารถ ผลงานที่ผ่านมาเป็นที่น่าพอใจ ในขณะที่
ร้อยละ 28.4 ระบุว่าไม่เห็นด้วย เพราะประชาชนไม่ไว้วางใจ อาจก่อให้เกิดปัญหาและความยุ่งยากซ้ำอีก ต้องการคนใหม่ๆ และร้อยละ 26.4 ไม่มี
ความคิดเห็น
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามถึงแนวคิดต่างๆ ทางการเมืองในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.2 เห็นด้วยที่จะยึดทรัพย์
ของนายทุน ข้าราชการ และนักการเมืองที่ร่วมกันทุจริตคอรัปชั่น มีเพียงร้อยละ 2.7 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 5.1 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 72.1 เห็นด้วยที่จะเน้นความสุขและความพอเพียงของประชาชนมากกว่าความเจริญทางเศรษฐกิจด้านวัตถุเพียงพออย่างเดียว ในขณะที่ร้อย
ละ 25.8 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.1 ไม่มีความเห็น
สำหรับแนวคิดเน้นสร้างหมู่บ้านชุมชนอยู่เย็นเป็นสุขและพอเพียงควบคู่กับหมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.6 เห็นด้วย
มีเพียงร้อยละ 2.1 เท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 5.3 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.7 เห็นด้วยที่ควรประสานทุกหน่วยงาน
สนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมให้ประชาชนดำเนินชีวิตบนทางสายกลางและความพอเพียง ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 1.4 เท่านั้นไม่เห็นด้วยและร้อยละ 3.9
ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงแนวคิดมาตรการชัดเจนให้ประชาชนได้ครอบครองทรัพยากรธรรมชาติอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 82.8 เห็นด้วย เพียงร้อยละ 7.0 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 10.2 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.0 เห็นด้วยที่ควรมีกฎหมายลง
โทษบุคคลหรือองค์กรใดๆ ที่เลือกปฏิบัติต่อประชาชนอย่างไม่เป็นธรรม ในขณะที่เพียงร้อยละ 4.1 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 6.9 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการวิจัยความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศประจำเดือนกันยายน พบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความสุข
ของคนไทยลดลงคือ ภัยน้ำท่วม สภาพแวดล้อมด้านการสัญจรไปมา การสูญเสียทรัพย์สินและผลกระทบต่อวิถีชีวิตปกติของประชาชน ในการสำรวจครั้งนี้จึง
ได้สอบถามประชาชนถึงความต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ช่วยเหลืออะไรบ้างในสถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า อันดับแรกหรือร้อย
ละ 39.5 ต้องการอาหารการกินของใช้ น้ำดื่มน้ำใช้ อันดับที่สองคือร้อยละ 21.5 ต้องการที่อยู่อาศัย จัดที่อยู่ชั่วคราว ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย อันดับที่สาม
คือร้อยละ 18.6 ระบุช่วยเหลือให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่ทุกครัวเรือน (ไม่ใช่เฉพาะริมถนนใหญ่ หรือในชุมชนเท่านั้น) อันดับที่สี่คือร้อยละ 17.9 ต้องการถุง
ยังชีพ อันดับที่ห้าคือร้อยละ 11.5 ต้องการยารักษาโรค อันดับที่หกคือร้อยละ 10.2 ต้องการให้เร่งระบายน้ำ อันดับที่เจ็ดคือร้อยละ 6.1 ต้องการให้
ช่วยเหลือด้านการเงิน อันดับที่แปดคือร้อยละ 5.1 ต้องการให้ช่วยเหลือด้านสาธารณูปโภค และอันดับที่เก้าคือร้อยละ 4.8 ต้องการให้เร่งหามาตรการ
ระยะยาวป้องกันน้ำท่วม ต้องการให้ส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ลงไปดูแล เป็นต้น
สำหรับความต้องการหลังน้ำท่วม ผลสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 34.6 ต้องการให้ช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัย และซ่อมแซมบ้าน ร้อย
ละ 17.5 ต้องการให้ช่วยเหลือเรื่องที่ทำกินและอาชีพ ร้อยละ 15.7 ต้องการเงินช่วยเหลือเกษตรกร ร้อยละ 13.1 ต้องการให้ทำผังเมืองป้องกันน้ำ
ท่วมระยะยาว ร้อยละ 11.7 ต้องการให้บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนครอบคลุมทั่วพื้นที่ทุกครัวเรือน ร้อยละ 7.8 ต้องการให้ปรับปรุงสภาพ
ถนน แก้ปัญหาจราจร ร้อยละ 7.2 ต้องการให้ดูแลระบบสาธารณสุข/มีหมอพยาบาลมาดูแลรักษาโรคที่มากับน้ำท่วม ร้อยละ 7.0 ระบุให้เร่งฟื้นฟูสภาพ
แวดล้อมชุมชน ร้อยละ 5.9 ต้องการให้เอาใจใส่ดูแลด้านสุขภาพจิต และร้อยละ 4.1 ระบุอื่นๆ เช่น ระบบสาธรณูปโภค การระบายน้ำ และเรื่อง
หนี้สิน เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า สิ่งที่ประชาชนทั่วไปอาจนำข้อมูลวิจัยที่ค้นพบไปพิจารณาดูคือ ถ้าช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมาปัญหาการเมืองไม่ได้
ข้อยุติโดยคณะปฏิรูปการปกครองฯ ถ้าเกิดความขัดแย้งรุนแรงท่ามกลางหมู่ประชาชนภายในประเทศช่วงเวลานั้น จากนั้นไม่กี่วันถัดมาเกิดภัยพิบัติทาง
ธรรมชาติอย่างที่ปรากฏ แล้วอะไรจะเกิดขึ้นในสังคมไทย หลายคนอาจคิดว่า ภาพของการช่วยเหลือกันและกันเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
อาจจะไม่ปรากฏให้เห็นอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เพราะประชาชนจำนวนมากอาจเกิดความเคียดแค้นเนื่องจาการสูญเสียเลือดเนื้อและชีวิต คนส่วนใหญ่จะ
ไม่ไว้วางใจสถานการณ์ ต่างคนต่างจะต่อสู้กันเพื่อเอาตัวรอดในสภาวะฉุกเฉินทางการเมืองและสังคม ผลที่ตามมาคือ การกักตุนสินค้า ปัญหา
อาชญากรรม และเสถียรภาพของประเทศในทุกๆ ด้านอาจล่มสลายไป
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่รับได้กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ทั้งใน
ด้านความดีและความรู้ความสามารถ แต่ภารกิจสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลชุดปัจจุบันน่าจะเป็นเรื่องการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาที่
เป็นวาระแห่งชาติหลายประการและขับเคลื่อนแนวคิดของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ต้องการเน้นความสุขหรือความอยู่เย็นเป็นสุขและความพอเพียงควบคู่กับ
ไปกับความเติบโตทางเศรษฐกิจในระบบการค้าเสรี เพราะที่ผ่านมา ผู้นำประเทศมักจะแสดงให้เห็นว่าเป็นคนเก่งแก้ปัญหาได้เกือบทุกเรื่อง ประชาชน
ส่วนใหญ่จึงคุ้นเคยกับความคาดหวังว่าจะได้อะไรจากรัฐบาล มากกว่าจะคิดว่าตนเองจะต้องทำอะไรเพื่อช่วยกันขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า ดัง
นั้น รัฐบาลและประชาชนน่าจะลองพิจารณาแนวทางอย่างน้อยสามประการ คือ
ประการแรก รัฐบาลควรมีมาตรการชัดเจนที่จะสนับสนุนกลุ่มประชาชนผู้มีส่วนร่วมคิดและออกแรงขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลในระดับครัว
เรือนและชุมชน เช่น การใช้ชีวิตอย่างพอเพียงที่ควรให้ประชาชนในโครงการนำร่องเสนอแนวคิดแนวปฏิบัติอยู่อย่างพอเพียงต่อผู้นำท้องถิ่นและส่วน
จังหวัด เพื่อได้รับการจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสมและเป็นธรรมในการทดลองครอบครองและทำประโยชน์ อาจมีตัวชี้วัดการประพฤติปฏิบัติชัดเจนว่า
ประชาชนในชุมชนนำร่องนั้นได้ใช้ชีวิตแบบพอเพียงหรือไม่ แล้วมีมาตรการหนุนเสริมภายหลังเพื่อให้การใช้ชีวิตแบบพอเพียงของพวกเขาถูกถ่ายทอดไปยัง
รุ่นลูกรุ่นหลาน
ประการที่สอง ประชาชนน่าจะเอาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องในแนวคิดแนวปฏิบัติที่กำลังเป็นกระแสหลักของการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นความ
อยู่เย็นเป็นสุขและความพอเพียง ซึ่งมีหลายวิธีที่พอเป็นไปได้เช่น การนำความดีความงามของลักษณะเด่นของคนไทยขึ้นมาประพฤติปฏิบัติ ด้วยคุณธรรม
หลายประการที่คนไทยคุ้นเคยดีเช่น ความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ความกตัญญู การทุ่มเททำงานหนัก ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความรักความ
สามัคคี ความเสียสละ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น เสรีภาพและความรับผิดชอบ เป็นต้น ถ้าคนไทยทุกคนนำคุณธรรมเหล่านี้มาใช้อย่างจริงจังในวิถีชีวิต
ประจำวันแล้ว เชื่อว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันและชุดต่อๆ ไปจะได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนและไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ภัยพิบัติใดๆ ก็ตาม คนไทยและ
ประเทศไทยก็น่าจะสามารถอยู่รอดได้อย่างมีเสถียรภาพ
ประการที่สาม รัฐบาลชุดปัจจุบันควรเปิดโอกาสให้กลุ่มการเมืองต่างๆ ที่คาดว่าจะเข้ามาเป็นรัฐบาลชุดต่อไป และสาธารณชน มีส่วนร่วม
ในการทำงานอย่างใกล้ชิดสร้างความเห็นพ้องต้องกันในการขับเคลื่อนสานต่อแนวคิดของนายกรัฐมนตรี และกระแสสังคมที่เน้นความอยู่เย็นเป็นสุข ความ
พอเพียงและระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาลการอนุรักษ์ วัฒนธรรมประเพณีไทยอันดีงาม การปฏิรูปการศึกษา
และความเป็นธรรมในสังคม
รายละเอียดโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญทางการเมือง
3. เพื่อสำรวจการยอมรับของประชาชนต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
4. เพื่อสำรวจความต้องการของประชาชนต่อรัฐบาลและหน่วยงานราชการต่างๆ ในการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้
และภายหลังน้ำท่วม
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานครต่อรายชื่อคณะ
รัฐมนตรีของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ภายใต้การนำของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี” มีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่
9 — 10 ตุลาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,122 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 48.9 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 51.1 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 32.0 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 22.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 17.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 20.9 อายุตั้งแต่ 50 ขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 16.8 มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 43.1 มีรายได้ระหว่าง 5,000-10,000 บาท
ร้อยละ 23.2 มีรายได้ระหว่าง 10,001-20,000
และร้อยละ 16.9 มีรายได้สูงกว่า 20,000 บาทขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 65.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 30.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 36.4 ระบุอาชีพค้าขาย / กิจการส่วนตัว
ร้อยละ 20.6 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 15.8 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.2 อาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 9.1 เป็นแม่บ้าน / พ่อบ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.2 อาชีพรับราชการ / รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 0.8 อาชีพเกษตรกร
และร้อยละ 1.9 ระบุว่าไม่มีงานทำ / ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 59.7
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 17.6
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 8.5
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 11.7
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญทางการเมืองต่อไปนี้ ภายหลัง
ทราบข่าวรายชื่อคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ประเด็นสำคัญทางการเมือง มากขึ้น มากเหมือนเดิม น้อยเหมือนเดิม น้อยลง
1. คิดว่ารัฐบาลจะมีความโปร่งใส 66.6 18.7 11.0 3.7
2. ประชาชนจะสามารถตรวจสอบรัฐบาล 50.5 25.9 16.3 7.3
3. ประชาชนจะไว้วางใจรัฐบาล 58.7 24.0 11.8 5.5
4. ประชาชนจะให้ความเชื่อถือรัฐบาล 58.1 25.8 10.6 5.5
5. ความซื่อสัตย์สุจริตของรัฐบาล 58.5 25.0 12.4 4.1
6. ความสัมพันธ์ที่ดี ร่วมมือกันพัฒนาประเทศระหว่าง
รัฐบาล หน่วยงานรัฐ และภาคประชาชน 52.3 29.6 12.0 6.1
7. การมีส่วนร่วมของประชาชน 50.3 27.1 14.9 7.7
8. การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน 48.8 29.5 14.2 7.5
ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ยของตัวอย่างที่ระบุคะแนนต่อภาพลักษณ์ความเป็นคนดีและความเก่งของคณะรัฐมนตรี
ชุดนี้ โดยภาพรวม (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ ประเด็นภาพลักษณ์ ค่าเฉลี่ย
1 ภาพลักษณ์ความเป็นคนดีของคณะรัฐมนตรีชุดนี้ โดยภาพรวม 7.59
2 ภาพลักษณ์ความเก่งของคณะรัฐมนตรีชุดนี้ โดยภาพรวม 7.50
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีที่มีการนำอดีตคนที่เคยทำงานให้พรรค
ไทยรักไทยเข้าร่วมเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ แสดงให้เห็นว่าไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก บางคนเป็นดี คนเก่ง คนมีความสามารถ ผลงานเก่าเป็นที่น่าพอใจ 45.2
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ ประชาชนไม่ไว้วางใจ/อาจก่อให้เกิดปัญหาและความยุ่งยากซ้ำอีก/ต้องการคนใหม่ๆ 28.4
3 ไม่มีความเห็น 26.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นในการให้โอกาสคณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้ทำงานไปก่อน
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควร 96.1
2 ไม่ควร 3.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวความคิดต่างๆ ต่อไปนี้
ลำดับที่ แนวความคิดเรื่องต่างๆ ความคิดเห็น
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1 ยึดทรัพย์นายทุน ข้าราชการและนักการเมืองที่ร่วมกันทุจริตคอรัปชั่น 92.2 2.7 5.1
2 เน้นความสุขและความพอเพียงของประชาชน มากกว่าความเจริญทางเศรษฐกิจด้านวัตถุเพียงอย่างเดียว 72.1 25.8 12.1
3 เน้นสร้างหมู่บ้านชุมชนอยู่เย็นเป็นสุขและพอเพียงควบคู่กับหมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง 92.6 2.1 5.3
4 ประสานงานทุกหน่วยงานสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมให้ประชาชนดำเนินชีวิตบนทางสายกลางและความพอเพียง 94.7 1.4 3.9
5 มีมาตรการช่วยหนุนเสริมให้ประชาชนรักและสามัคคี ช่วยเหลือ และเสียสละแก่กันและกัน 97.1 0.7 2.2
6 มีมาตรการชัดเจนให้ประชาชนได้ครอบครองทรัพยากรธรรมชาติอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม 82.8 7.0 10.2
7 มีกฎหมายลงโทษบุคคลหรือองค์กรใดๆ ที่มีการเลือกปฏิบัติต่อประชาชนอย่างไม่เป็นธรรม 89.0 4.1 6.9
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานราชการต่างๆ ช่วยเหลือ
ในสถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานราชการต่างๆ ช่วยเหลือ“ในสถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้” ค่าร้อยละ
1 อาหารการกิน / ของใช้ / น้ำดื่มน้ำใช้ 39.5
2 ที่อยู่อาศัย / จัดที่อยู่อาศัยชั่วคราว / ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย 21.5
3 ช่วยเหลือให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่ทุกครัวเรือน ไม่ใช่เฉพาะริมถนนใหญ่หรือในชุมชนเท่านั้น 18.6
4 แจกถุงยังชีพ 17.9
5 ยารักษาโรค 11.5
6 แก้ปัญหาน้ำท่วม / เร่งระบายน้ำ 10.2
7 ให้ความช่วยเหลือด้านเงิน 6.1
8 ด้านสาธารณูปโภค 5.1
9 อื่นๆ อาทิ เร่งหามาตรการระยะยาวในการแก้ปัญหาน้ำท่วม, ส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ลงไปดูแล
เพื่อป้องกันโรคที่อาจมากับน้ำและสัตว์ 4.8
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานราชการต่างๆ ช่วยเหลือ
ภายหลังสถานการณ์น้ำท่วม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานราชการต่างๆ ช่วยเหลือ“ภายหลังสถานการณ์น้ำท่วม” ค่าร้อยละ
1 ที่อยู่อาศัย / สภาพความเป็นอยู่ / ซ่อมแซมที่พักอาศัย 34.6
2 การทำมาหากิน / อาชีพ 17.5
3 เงินช่วยเหลือเกษตรกรและการประกอบอาชีพ 15.7
4 ทำผังเมืองป้องกันน้ำท่วมระยะยาว 13.1
5 บรรเทาความเดือนร้อนครอบคลุมทั่วพื้นที่ทุกครัวเรือน 11.7
6 ปรับปรุงถนนที่พังเสียหาย / จัดการจราจรให้ระบายได้ดี 7.8
7 ระบบสาธารณสุข / มีหมอพยาบาลมาดูแลรักษาโรคที่มากับน้ำท่วม 7.2
8 ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมชุมชน ความสะอาด 7.0
9 ความเอาใจใส่ดูแลด้านสุขภาพจิต 5.9
10 อื่นๆ อาทิ ระบบสาธารณูปโภค / ระบายน้ำออก / เรื่องหนี้สิน 4.1
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
มหานครต่อรายชื่อคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ภายใต้การนำของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี” จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,122
ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 9 — 10 ตุลาคม 2549
ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.8 ระบุว่า ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ
11.7 ติดตามบ้าง และร้อยละ 2.5 ไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อสอบถามถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงประเด็นสำคัญทางการเมืองตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.6 คิดว่ารัฐบาล
จะมีความโปร่งใสมากขึ้น ร้อยละ 18.7 คิดว่าจะมากเหมือนเดิม ร้อยละ 11.0 คิดว่าจะน้อยเหมือนเดิม และร้อยละ 3.7 คิดว่าจะน้อยลง ในเรื่อง
การตรวจสอบรัฐบาล พบว่า ครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.5 คิดว่าประชาชนจะสามารถตรวจสอบรัฐบาลได้มากขึ้น ร้อยละ 25.9 คิดว่ามากเหมือนเดิม
ร้อยละ 16.3 คิดว่าน้อยเหมือนเดิม และร้อยละ 7.3 คิดว่าจะน้อยลง ในเรื่องความเป็นที่ไว้วางใจได้ของรัฐบาล พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.7
คิดว่าประชาชนจะไว้วางใจรัฐบาลได้มากขึ้น ร้อยละ 24.0 คิดว่าจะมากเหมือนเดิม ร้อยละ 11.8 คิดว่าจะน้อยเหมือนเดิม และร้อยละ 5.5 คิดว่า
จะน้อยลง
สำหรับเรื่องความเชื่อถือได้ของรัฐบาล คือรัฐบาลพูดอะไรทำอะไรไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.1 คิดว่า
ประชาชนจะให้ความเชื่อถือรัฐบาลมากขึ้น ร้อยละ 25.8 คิดว่าจะมากเหมือนเดิม ร้อยละ 10.6 คิดว่าจะน้อยเหมือนเดิม และร้อยละ 5.5 คิดว่าจะ
น้อยลง ในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตของรัฐบาล พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.5 คิดว่าความซื่อสัตย์สุจริตของรัฐบาลจะมากขึ้น ร้อยละ 25.0 คิดว่าจะ
มากเหมือนเดิม ร้อยละ 12.4 คิดว่าจะน้อยเหมือนเดิม และร้อยละ 4.1 คิดว่าจะน้อยลง
สำหรับเรื่องความสัมพันธ์ที่ดี ร่วมมือกันพัฒนาประเทศระหว่างรัฐบาลหน่วยงานราชการและภาคประชาชน พบว่าเกินกว่าครึ่งหนึ่งเล็กน้อย
หรือร้อยละ 52.3 คิดว่าจะมากขึ้น ร้อยละ 29.6 คิดว่าจะมากเหมือนเดิม ร้อยละ 12.0 คิดว่าจะน้อยเหมือนเดิม และร้อยละ 6.1 คิดว่าจะน้อยลง
ในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.3 คิดว่าจะมากขึ้น ร้อยละ 27.1 คิดว่าจะมากเหมือนเดิม ร้อยละ
14.9 คิดว่าจะน้อยเหมือนเดิม และร้อยละ 7.7 คิดว่าจะน้อยลง ในขณะที่เรื่องการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 48.8 คิดว่าจะ
ยั่งยืนมากขึ้น ร้อยละ 29.5 คิดว่าจะยั่งยืนมากเหมือนเดิม ร้อยละ 14.2 คิดว่าจะยั่งยืนน้อยเหมือนเดิม และร้อยละ 7.5 คิดว่าจะยั่งยืนน้อยลง
เมื่อสอบถามภายหลังทราบรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันถึงภาพลักษณ์ความเป็นคนดีและภาพลักษณ์ความเป็นคนเก่งมีความรู้ความสามารถ
เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า คะแนนเฉลี่ยของภาพลักษณ์ความเป็นคนดีอยู่ที่ 7.59 ซึ่งใกล้เคียงกับภาพลักษณ์ความเก่งมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 7.50
นอกจากนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.1 เห็นสมควรให้โอกาสคณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้ทำงานไปก่อน ในขณะที่เพียงร้อยละ 3.9 เท่านั้นที่ระบุว่าไม่
ควรให้โอกาส
สำหรับกรณีการนำอดีตคนที่เคยทำงานให้พรรคไทยรักไทยเข้าร่วมเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ ผลปรากฏว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.2 ระบุว่า
เห็นด้วย เพราะแสดงให้เห็นว่าไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกและเห็นว่าเป็นคนดี คนเก่ง มีความรู้ความสามารถ ผลงานที่ผ่านมาเป็นที่น่าพอใจ ในขณะที่
ร้อยละ 28.4 ระบุว่าไม่เห็นด้วย เพราะประชาชนไม่ไว้วางใจ อาจก่อให้เกิดปัญหาและความยุ่งยากซ้ำอีก ต้องการคนใหม่ๆ และร้อยละ 26.4 ไม่มี
ความคิดเห็น
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามถึงแนวคิดต่างๆ ทางการเมืองในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.2 เห็นด้วยที่จะยึดทรัพย์
ของนายทุน ข้าราชการ และนักการเมืองที่ร่วมกันทุจริตคอรัปชั่น มีเพียงร้อยละ 2.7 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 5.1 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 72.1 เห็นด้วยที่จะเน้นความสุขและความพอเพียงของประชาชนมากกว่าความเจริญทางเศรษฐกิจด้านวัตถุเพียงพออย่างเดียว ในขณะที่ร้อย
ละ 25.8 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.1 ไม่มีความเห็น
สำหรับแนวคิดเน้นสร้างหมู่บ้านชุมชนอยู่เย็นเป็นสุขและพอเพียงควบคู่กับหมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.6 เห็นด้วย
มีเพียงร้อยละ 2.1 เท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 5.3 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.7 เห็นด้วยที่ควรประสานทุกหน่วยงาน
สนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมให้ประชาชนดำเนินชีวิตบนทางสายกลางและความพอเพียง ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 1.4 เท่านั้นไม่เห็นด้วยและร้อยละ 3.9
ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงแนวคิดมาตรการชัดเจนให้ประชาชนได้ครอบครองทรัพยากรธรรมชาติอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 82.8 เห็นด้วย เพียงร้อยละ 7.0 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 10.2 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.0 เห็นด้วยที่ควรมีกฎหมายลง
โทษบุคคลหรือองค์กรใดๆ ที่เลือกปฏิบัติต่อประชาชนอย่างไม่เป็นธรรม ในขณะที่เพียงร้อยละ 4.1 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 6.9 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการวิจัยความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศประจำเดือนกันยายน พบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความสุข
ของคนไทยลดลงคือ ภัยน้ำท่วม สภาพแวดล้อมด้านการสัญจรไปมา การสูญเสียทรัพย์สินและผลกระทบต่อวิถีชีวิตปกติของประชาชน ในการสำรวจครั้งนี้จึง
ได้สอบถามประชาชนถึงความต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ช่วยเหลืออะไรบ้างในสถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า อันดับแรกหรือร้อย
ละ 39.5 ต้องการอาหารการกินของใช้ น้ำดื่มน้ำใช้ อันดับที่สองคือร้อยละ 21.5 ต้องการที่อยู่อาศัย จัดที่อยู่ชั่วคราว ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย อันดับที่สาม
คือร้อยละ 18.6 ระบุช่วยเหลือให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่ทุกครัวเรือน (ไม่ใช่เฉพาะริมถนนใหญ่ หรือในชุมชนเท่านั้น) อันดับที่สี่คือร้อยละ 17.9 ต้องการถุง
ยังชีพ อันดับที่ห้าคือร้อยละ 11.5 ต้องการยารักษาโรค อันดับที่หกคือร้อยละ 10.2 ต้องการให้เร่งระบายน้ำ อันดับที่เจ็ดคือร้อยละ 6.1 ต้องการให้
ช่วยเหลือด้านการเงิน อันดับที่แปดคือร้อยละ 5.1 ต้องการให้ช่วยเหลือด้านสาธารณูปโภค และอันดับที่เก้าคือร้อยละ 4.8 ต้องการให้เร่งหามาตรการ
ระยะยาวป้องกันน้ำท่วม ต้องการให้ส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ลงไปดูแล เป็นต้น
สำหรับความต้องการหลังน้ำท่วม ผลสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 34.6 ต้องการให้ช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัย และซ่อมแซมบ้าน ร้อย
ละ 17.5 ต้องการให้ช่วยเหลือเรื่องที่ทำกินและอาชีพ ร้อยละ 15.7 ต้องการเงินช่วยเหลือเกษตรกร ร้อยละ 13.1 ต้องการให้ทำผังเมืองป้องกันน้ำ
ท่วมระยะยาว ร้อยละ 11.7 ต้องการให้บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนครอบคลุมทั่วพื้นที่ทุกครัวเรือน ร้อยละ 7.8 ต้องการให้ปรับปรุงสภาพ
ถนน แก้ปัญหาจราจร ร้อยละ 7.2 ต้องการให้ดูแลระบบสาธารณสุข/มีหมอพยาบาลมาดูแลรักษาโรคที่มากับน้ำท่วม ร้อยละ 7.0 ระบุให้เร่งฟื้นฟูสภาพ
แวดล้อมชุมชน ร้อยละ 5.9 ต้องการให้เอาใจใส่ดูแลด้านสุขภาพจิต และร้อยละ 4.1 ระบุอื่นๆ เช่น ระบบสาธรณูปโภค การระบายน้ำ และเรื่อง
หนี้สิน เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า สิ่งที่ประชาชนทั่วไปอาจนำข้อมูลวิจัยที่ค้นพบไปพิจารณาดูคือ ถ้าช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมาปัญหาการเมืองไม่ได้
ข้อยุติโดยคณะปฏิรูปการปกครองฯ ถ้าเกิดความขัดแย้งรุนแรงท่ามกลางหมู่ประชาชนภายในประเทศช่วงเวลานั้น จากนั้นไม่กี่วันถัดมาเกิดภัยพิบัติทาง
ธรรมชาติอย่างที่ปรากฏ แล้วอะไรจะเกิดขึ้นในสังคมไทย หลายคนอาจคิดว่า ภาพของการช่วยเหลือกันและกันเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
อาจจะไม่ปรากฏให้เห็นอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เพราะประชาชนจำนวนมากอาจเกิดความเคียดแค้นเนื่องจาการสูญเสียเลือดเนื้อและชีวิต คนส่วนใหญ่จะ
ไม่ไว้วางใจสถานการณ์ ต่างคนต่างจะต่อสู้กันเพื่อเอาตัวรอดในสภาวะฉุกเฉินทางการเมืองและสังคม ผลที่ตามมาคือ การกักตุนสินค้า ปัญหา
อาชญากรรม และเสถียรภาพของประเทศในทุกๆ ด้านอาจล่มสลายไป
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่รับได้กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ทั้งใน
ด้านความดีและความรู้ความสามารถ แต่ภารกิจสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลชุดปัจจุบันน่าจะเป็นเรื่องการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาที่
เป็นวาระแห่งชาติหลายประการและขับเคลื่อนแนวคิดของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ต้องการเน้นความสุขหรือความอยู่เย็นเป็นสุขและความพอเพียงควบคู่กับ
ไปกับความเติบโตทางเศรษฐกิจในระบบการค้าเสรี เพราะที่ผ่านมา ผู้นำประเทศมักจะแสดงให้เห็นว่าเป็นคนเก่งแก้ปัญหาได้เกือบทุกเรื่อง ประชาชน
ส่วนใหญ่จึงคุ้นเคยกับความคาดหวังว่าจะได้อะไรจากรัฐบาล มากกว่าจะคิดว่าตนเองจะต้องทำอะไรเพื่อช่วยกันขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า ดัง
นั้น รัฐบาลและประชาชนน่าจะลองพิจารณาแนวทางอย่างน้อยสามประการ คือ
ประการแรก รัฐบาลควรมีมาตรการชัดเจนที่จะสนับสนุนกลุ่มประชาชนผู้มีส่วนร่วมคิดและออกแรงขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลในระดับครัว
เรือนและชุมชน เช่น การใช้ชีวิตอย่างพอเพียงที่ควรให้ประชาชนในโครงการนำร่องเสนอแนวคิดแนวปฏิบัติอยู่อย่างพอเพียงต่อผู้นำท้องถิ่นและส่วน
จังหวัด เพื่อได้รับการจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสมและเป็นธรรมในการทดลองครอบครองและทำประโยชน์ อาจมีตัวชี้วัดการประพฤติปฏิบัติชัดเจนว่า
ประชาชนในชุมชนนำร่องนั้นได้ใช้ชีวิตแบบพอเพียงหรือไม่ แล้วมีมาตรการหนุนเสริมภายหลังเพื่อให้การใช้ชีวิตแบบพอเพียงของพวกเขาถูกถ่ายทอดไปยัง
รุ่นลูกรุ่นหลาน
ประการที่สอง ประชาชนน่าจะเอาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องในแนวคิดแนวปฏิบัติที่กำลังเป็นกระแสหลักของการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นความ
อยู่เย็นเป็นสุขและความพอเพียง ซึ่งมีหลายวิธีที่พอเป็นไปได้เช่น การนำความดีความงามของลักษณะเด่นของคนไทยขึ้นมาประพฤติปฏิบัติ ด้วยคุณธรรม
หลายประการที่คนไทยคุ้นเคยดีเช่น ความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ความกตัญญู การทุ่มเททำงานหนัก ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความรักความ
สามัคคี ความเสียสละ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น เสรีภาพและความรับผิดชอบ เป็นต้น ถ้าคนไทยทุกคนนำคุณธรรมเหล่านี้มาใช้อย่างจริงจังในวิถีชีวิต
ประจำวันแล้ว เชื่อว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันและชุดต่อๆ ไปจะได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนและไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ภัยพิบัติใดๆ ก็ตาม คนไทยและ
ประเทศไทยก็น่าจะสามารถอยู่รอดได้อย่างมีเสถียรภาพ
ประการที่สาม รัฐบาลชุดปัจจุบันควรเปิดโอกาสให้กลุ่มการเมืองต่างๆ ที่คาดว่าจะเข้ามาเป็นรัฐบาลชุดต่อไป และสาธารณชน มีส่วนร่วม
ในการทำงานอย่างใกล้ชิดสร้างความเห็นพ้องต้องกันในการขับเคลื่อนสานต่อแนวคิดของนายกรัฐมนตรี และกระแสสังคมที่เน้นความอยู่เย็นเป็นสุข ความ
พอเพียงและระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาลการอนุรักษ์ วัฒนธรรมประเพณีไทยอันดีงาม การปฏิรูปการศึกษา
และความเป็นธรรมในสังคม
รายละเอียดโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญทางการเมือง
3. เพื่อสำรวจการยอมรับของประชาชนต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
4. เพื่อสำรวจความต้องการของประชาชนต่อรัฐบาลและหน่วยงานราชการต่างๆ ในการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้
และภายหลังน้ำท่วม
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานครต่อรายชื่อคณะ
รัฐมนตรีของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ภายใต้การนำของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี” มีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่
9 — 10 ตุลาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,122 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 48.9 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 51.1 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 32.0 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 22.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 17.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 20.9 อายุตั้งแต่ 50 ขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 16.8 มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 43.1 มีรายได้ระหว่าง 5,000-10,000 บาท
ร้อยละ 23.2 มีรายได้ระหว่าง 10,001-20,000
และร้อยละ 16.9 มีรายได้สูงกว่า 20,000 บาทขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 65.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 30.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 36.4 ระบุอาชีพค้าขาย / กิจการส่วนตัว
ร้อยละ 20.6 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 15.8 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.2 อาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 9.1 เป็นแม่บ้าน / พ่อบ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.2 อาชีพรับราชการ / รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 0.8 อาชีพเกษตรกร
และร้อยละ 1.9 ระบุว่าไม่มีงานทำ / ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 59.7
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 17.6
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 8.5
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 11.7
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญทางการเมืองต่อไปนี้ ภายหลัง
ทราบข่าวรายชื่อคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ประเด็นสำคัญทางการเมือง มากขึ้น มากเหมือนเดิม น้อยเหมือนเดิม น้อยลง
1. คิดว่ารัฐบาลจะมีความโปร่งใส 66.6 18.7 11.0 3.7
2. ประชาชนจะสามารถตรวจสอบรัฐบาล 50.5 25.9 16.3 7.3
3. ประชาชนจะไว้วางใจรัฐบาล 58.7 24.0 11.8 5.5
4. ประชาชนจะให้ความเชื่อถือรัฐบาล 58.1 25.8 10.6 5.5
5. ความซื่อสัตย์สุจริตของรัฐบาล 58.5 25.0 12.4 4.1
6. ความสัมพันธ์ที่ดี ร่วมมือกันพัฒนาประเทศระหว่าง
รัฐบาล หน่วยงานรัฐ และภาคประชาชน 52.3 29.6 12.0 6.1
7. การมีส่วนร่วมของประชาชน 50.3 27.1 14.9 7.7
8. การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน 48.8 29.5 14.2 7.5
ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ยของตัวอย่างที่ระบุคะแนนต่อภาพลักษณ์ความเป็นคนดีและความเก่งของคณะรัฐมนตรี
ชุดนี้ โดยภาพรวม (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ ประเด็นภาพลักษณ์ ค่าเฉลี่ย
1 ภาพลักษณ์ความเป็นคนดีของคณะรัฐมนตรีชุดนี้ โดยภาพรวม 7.59
2 ภาพลักษณ์ความเก่งของคณะรัฐมนตรีชุดนี้ โดยภาพรวม 7.50
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีที่มีการนำอดีตคนที่เคยทำงานให้พรรค
ไทยรักไทยเข้าร่วมเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ แสดงให้เห็นว่าไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก บางคนเป็นดี คนเก่ง คนมีความสามารถ ผลงานเก่าเป็นที่น่าพอใจ 45.2
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ ประชาชนไม่ไว้วางใจ/อาจก่อให้เกิดปัญหาและความยุ่งยากซ้ำอีก/ต้องการคนใหม่ๆ 28.4
3 ไม่มีความเห็น 26.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นในการให้โอกาสคณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้ทำงานไปก่อน
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควร 96.1
2 ไม่ควร 3.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวความคิดต่างๆ ต่อไปนี้
ลำดับที่ แนวความคิดเรื่องต่างๆ ความคิดเห็น
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1 ยึดทรัพย์นายทุน ข้าราชการและนักการเมืองที่ร่วมกันทุจริตคอรัปชั่น 92.2 2.7 5.1
2 เน้นความสุขและความพอเพียงของประชาชน มากกว่าความเจริญทางเศรษฐกิจด้านวัตถุเพียงอย่างเดียว 72.1 25.8 12.1
3 เน้นสร้างหมู่บ้านชุมชนอยู่เย็นเป็นสุขและพอเพียงควบคู่กับหมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง 92.6 2.1 5.3
4 ประสานงานทุกหน่วยงานสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมให้ประชาชนดำเนินชีวิตบนทางสายกลางและความพอเพียง 94.7 1.4 3.9
5 มีมาตรการช่วยหนุนเสริมให้ประชาชนรักและสามัคคี ช่วยเหลือ และเสียสละแก่กันและกัน 97.1 0.7 2.2
6 มีมาตรการชัดเจนให้ประชาชนได้ครอบครองทรัพยากรธรรมชาติอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม 82.8 7.0 10.2
7 มีกฎหมายลงโทษบุคคลหรือองค์กรใดๆ ที่มีการเลือกปฏิบัติต่อประชาชนอย่างไม่เป็นธรรม 89.0 4.1 6.9
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานราชการต่างๆ ช่วยเหลือ
ในสถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานราชการต่างๆ ช่วยเหลือ“ในสถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้” ค่าร้อยละ
1 อาหารการกิน / ของใช้ / น้ำดื่มน้ำใช้ 39.5
2 ที่อยู่อาศัย / จัดที่อยู่อาศัยชั่วคราว / ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย 21.5
3 ช่วยเหลือให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่ทุกครัวเรือน ไม่ใช่เฉพาะริมถนนใหญ่หรือในชุมชนเท่านั้น 18.6
4 แจกถุงยังชีพ 17.9
5 ยารักษาโรค 11.5
6 แก้ปัญหาน้ำท่วม / เร่งระบายน้ำ 10.2
7 ให้ความช่วยเหลือด้านเงิน 6.1
8 ด้านสาธารณูปโภค 5.1
9 อื่นๆ อาทิ เร่งหามาตรการระยะยาวในการแก้ปัญหาน้ำท่วม, ส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ลงไปดูแล
เพื่อป้องกันโรคที่อาจมากับน้ำและสัตว์ 4.8
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานราชการต่างๆ ช่วยเหลือ
ภายหลังสถานการณ์น้ำท่วม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานราชการต่างๆ ช่วยเหลือ“ภายหลังสถานการณ์น้ำท่วม” ค่าร้อยละ
1 ที่อยู่อาศัย / สภาพความเป็นอยู่ / ซ่อมแซมที่พักอาศัย 34.6
2 การทำมาหากิน / อาชีพ 17.5
3 เงินช่วยเหลือเกษตรกรและการประกอบอาชีพ 15.7
4 ทำผังเมืองป้องกันน้ำท่วมระยะยาว 13.1
5 บรรเทาความเดือนร้อนครอบคลุมทั่วพื้นที่ทุกครัวเรือน 11.7
6 ปรับปรุงถนนที่พังเสียหาย / จัดการจราจรให้ระบายได้ดี 7.8
7 ระบบสาธารณสุข / มีหมอพยาบาลมาดูแลรักษาโรคที่มากับน้ำท่วม 7.2
8 ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมชุมชน ความสะอาด 7.0
9 ความเอาใจใส่ดูแลด้านสุขภาพจิต 5.9
10 อื่นๆ อาทิ ระบบสาธารณูปโภค / ระบายน้ำออก / เรื่องหนี้สิน 4.1
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-