ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง สำรวจแนวคิดของสาธารณชนต่อ ทางออกของวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทย กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,511 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 22 - 25 ตุลาคม 2551 ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 ติดตามข่าวการ เมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์
เมื่อสอบถามความรู้สึกของประชาชนที่ถูกศึกษาต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.3 มีความเชื่อเรื่องบาปบุญ คุณโทษ และกฎแห่งกรรมมากขึ้นระดับมากถึงมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.1 มีความเครียดต่อเรื่องการเมืองระดับมาก ถึงมาก ที่สุด ในขณะที่ ร้อยละ 44.4 เห็นด้วยกับแนวคิดการเมืองใหม่ การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็งระดับมาก ถึงมากที่สุด ร้อยละ 43.7 มีความเคลือบ แคลงสงสัยอย่างมาก ถึง มากที่สุดต่อตัวนายกรัฐมนตรีในเรื่องความเกี่ยวข้อง เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มนายทุน กลุ่มการเมือง พรรคพวก ญาติพี่น้องของตน เอง นอกจากนี้ ร้อยละ 43.0 อยากให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติระดับมาก ถึงมากที่สุด
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นทางออกของวิกฤตการณ์การเมืองไทยในขณะนี้ ที่โดนใจ (ตรงกับความต้องการที่อยู่ในใจ) ของประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.7 คือ ให้ประชาชนคนไทยทุกคนปฏิบัติตนด้วยความรักความสามัคคี เกื้อกูลกัน รองลงมาคือ ร้อยละ 91.4 ระบุ ทางออกคือ ทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย หันหน้าจับมือกันต่อหน้าสาธารณชน ร่วมกันแก้ปัญหาชาติ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.6 ระบุทางออกคือ ยึดมั่นในกระบวน การยุติธรรม ตามตัวบทกฎหมาย นอกจากนี้ ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.9 ระบุให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงจากประชาชน และ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.8 ระบุให้ทุกฝ่ายยอมรับคำตัดสินของศาลกรณีคดีที่ดินรัชดา ในขณะที่ ร้อยละ 57.9 ระบุทางออกของวิกฤตการณ์การเมืองขณะนี้ คือ การเลือกตั้งใหม่
อย่างไรก็ตาม ที่น่าพิจารณาคือ ผลสำรวจพบว่า ก่ำกึ่งกันหรือ ร้อยละ 49.4 ต่อร้อยละ 50.6 ระบุการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือทางออก เช่น เดียวกับ เสียงของประชาชนที่ค้นพบครั้งนี้ร้อยละ 48.7 ระบุนายกรัฐมนตรีควรลาออก เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีเหตุปะทะกันเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม แต่ร้อยละ 51.3 ระบุไม่ใช่ทางออก นอกจากนี้ ร้อยละ 58.9 ระบุการนิรโทษกรรมให้ อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย 111 คนไม่ใช่ทางออก แต่ร้อยละ 41.1 ระบุว่าการนิรโทษกรรมดังกล่าวคือทางออก และที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.5 ระบุการยึดอำนาจ หรือการปฏิวัติไม่ใช่ ทางออกที่โดนใจประชาชนขณะนี้ แต่ร้อยละ 23.5 ระบุว่าการยึดอำนาจ หรือการปฏิวัติคือทางออก
ดร.นพดล เปิดเผยด้วยว่า การสำรวจครั้งนี้ได้สอบถามประชาชนถึง บุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์วิกฤตการ เมืองปัจจุบัน พบข้อมูลที่น่าพิจารณาอีกคือ ร้อยละ 24.0 ระบุเป็น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และร้อยละ 24.0 เท่ากันระบุเป็น นายอานันท์ ปันยา รชุน ในขณะที่ร้อยละ 18.2 ระบุเป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 12.7 ระบุเป็น ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ร้อยละ 5.3 ระบุเป็น นาย ชวน หลีกภัย และร้อยละ 2.3 ระบุเป็น นายบรรหาร ศิลปอาชา ที่เหลือร้อยละ 13.5 ระบุอื่นๆ
ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ทางออกที่ดีที่สุดของวิกฤตการณ์การเมืองไทยและโดนใจประชาชนส่วนใหญ่ในผลสำรวจครั้งนี้คือ การที่ ประชาชนทุกคนปฏิบัติตนด้วยความรักความสามัคคี เกื้อกูลกัน และกลุ่มเคลื่อนไหวทุกกลุ่ม ทุกฝ่ายหันหน้าจับมือกันต่อหน้าสาธารณชน ร่วมกันแก้ปัญหาบ้าน เมือง ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการลาออกของนายกรัฐมนตรี ไม่น่าจะเป็นทางออกที่เหมาะกับสถานการณ์ตอนนี้แล้วเพราะเสียงสำรวจออกมาก่ำ กึ่งกัน คือตัวเลขที่พบไม่แตกต่างกันในลักษณะที่จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจท่ามกลางความขัดแย้ง แตกแยกของคนในชาติขณะนี้
อย่างไรก็ตาม ทางออกที่ค้นพบดังกล่าวข้างต้นสอดคล้องกับผลวิจัยที่เคยทำระดับประเทศและเฉพาะพื้นที่บางจังหวัดแต่อาจเป็นนามธรรม และสู่ความสำเร็จได้ยาก จึงเสนอ “โรดแมป เชื่อมประสานอำนาจรัฐแก้วิกฤตการเมือง” ที่น่าจะเป็นรูปธรรมมากกว่าแต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของฝ่าย การเมืองและประชาชนทั่วไปว่าจะก้าวเดินไปตามแนวทางนี้หรือไม่
ก้าวแรก เริ่มจากการมองแง่มุมที่ดีงามของทั้งฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่มีความรักชาติ และมุ่งมั่นในการตรวจสอบอำนาจ รัฐอย่างเข้มข้นให้อยู่บนความชอบธรรมในการบริหารประเทศ ในขณะที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตย ก็มีจุดดีเรื่องการรักษาระบอบประชาธิปไตยตามหลัก สากล ซึ่งทั้งสองฝ่ายเป็นการเมืองภาคประชาชนที่ควรหนุนเสริมให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น แต่ความเคลื่อนไหวต่างๆ ของทั้งสองกลุ่มต้องไม่ใช้ความรุนแรง ทุกรูปแบบ
ก้าวที่สองคือ จากผลสำรวจครั้งนี้ เสนอให้มีรัฐบาลเฉพาะกาลเพื่อสร้างความปรองดองของคนในชาติ มีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีดูแลภาพรวมทั้งประเทศอย่างเท่าเทียมและใจกว้างปกป้องรักษากระบวน การยุติธรรม แต่เน้นดูแลความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชน ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และน่าจะลองชวน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรองนายกรัฐมนตรีดูแลความอยู่ดีกินดีของประชาชนในภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร ส่วนนายบรรหาร ศิลปอาชา น่าจะเป็นรองนายกรัฐมนตรีดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนในภาคกลาง โดย นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านความรักความสามัคคีและสมานฉันท์ของคนในชาติ
นอกจากนี้ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ น่าจะอาสามาดูแลเรื่องการจัดระเบียบสังคมอย่างบูรณาการแก้ปัญหาสังคมทั้งระบบของ ประเทศ ในขณะที่ กองทัพคงจะมุ่งมั่นดูแลเรื่องความมั่นคงของประเทศไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมือง โดยเป็นกองทัพที่อยู่เคียงข้างประชาชนแบบไม่ เลือกข้าง เป็นกองทัพของประชาชนทั้งประเทศ ส่วนการแก้วิกฤตเศรษฐกิจให้ช่วยกันระหว่างทีมเศรษฐกิจของพรรคพลังประชาชนกับพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเก่งด้วยกันทั้งสองฝ่าย มาช่วยกันให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ต่างๆ ของประเทศให้ผ่านพ้นไปก่อนแล้วค่อยเริ่มต้น แข่งขันทำงานทางการเมืองกันใหม่ด้วย การยุบสภาเลือกตั้งกันอย่างบริสุทธิ์และเที่ยงธรรม บนพื้นฐานการเมืองใหม่บนหลักธรรมาภิบาลเคร่งครัดต่อจริยธรรมทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม ถ้าแนวคิดข้างต้นเป็นไปไม่ได้ ก็คงต้องอาศัยการทำงานของกระบวนการยุติธรรมที่ทำงานได้ตรงกับจังหวะเหตุการณ์ของ บ้านเมืองพิจารณายุบหรือไม่ยุบพรรคการเมืองเพื่อคลี่คลายบรรยากาศอึมครึมทางการเมือง หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือ รัฐบาลอาจพิจารณายุบสภาเลือก ตั้งใหม่ทันที คืนอำนาจให้ประชาชนทั้งประเทศตัดสินใจอีกครั้งโดยเร็ว ก่อนที่ ทางเลือกของการยุบสภานี้จะไม่เหมาะกับสถานการณ์การเมืองอีกเพราะ ความขัดแย้งของคนภายในประเทศจะรุนแรงบานปลาย เกินขอบเขตทางเลือกในการแก้ปัญหาตามปกติในระบอบประชาธิปไตยจะทำได้ และประชาชน จำนวนมากอาจแสวงหาทางออกที่ไม่เป็นประชาธิปไตยที่ไม่ใช่ทางออกที่ดีแต่เป็นทางออกที่จำเป็นต่อสถานการณ์ แต่ก็จะเสียหายต่อ ประเทศชาติและประชาชนที่ต้องสูญเสียอย่างใหญ่หลวงได้
รายละเอียดงานวิจัย
1. เพื่อสำรวจอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อทางออกของสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง สำรวจแนวคิดของสาธารณชนต่อ ทางออก ของวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทย กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 22-25 ตุลาคม 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชน ที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขต กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิง ชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,511 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบ ถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 95 คน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 48.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 51.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 27.1 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 19.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 19.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือ ร้อยละ 23.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.2 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.2 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.9 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 1.2 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 58.6 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 19.9 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 10.8 4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 10.5 5 ไม่ได้ติดตามเลย 0.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน น้อย ปานกลาง มาก รวมทั้งสิ้น ไม่รู้สึกเลย มากที่สุด 1 เชื่อ เรื่อง บาปบุญ คุณโทษ และ กฎแห่งกรรมมากขึ้น 19.6 10.1 70.3 100 2 เครียดต่อเรื่องการเมือง 29.7 13.2 57.1 100 3 เห็นด้วยกับแนวคิด การเมืองใหม่ การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็ง 40.4 15.2 44.4 100 4 เคลือบแคลง สงสัยต่อตัวนายกรัฐมนตรีในเรื่องความเกี่ยวข้อง เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มนายทุน และกลุ่มการเมือง พรรคพวก ญาติพี่น้องของตนเอง 41 15.3 43.7 100 5 อยากให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ 42.3 14.7 43 100 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทางออกของสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ที่โดนใจ (ตรงกับความต้องการที่มีอยู่ในใจ) ลำดับที่ ทางออกสำหรับปัญหาทางการเมืองขณะนี้ ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น 1 ประชาชนคนไทยทุกคนปฏิบัติตนด้วยความรักความสามัคคี เกื้อกูลกัน 91.7 8.3 100.0 2 ทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย หันหน้าจับมือกันต่อหน้าสาธารณชน ร่วมกันแก้ปัญหาชาติ 91.4 8.6 100.0 3 ยึดมั่นในหลักกระบวนการยุติธรรม ตามตัวบทกฎหมาย 90.6 9.4 100.0 4 ให้มีการเลือกตั้ง นายกรัฐมนตรี โดยตรงจากประชาชน 79.9 20.1 100.0 5 ทุกฝ่ายยอมรับคำตัดสินของศาลกรณีคดีที่ดินรัชดา 76.8 23.2 100.0 6 เลือกตั้งใหม่ 57.9 42.1 100.0 7 แก้ไขรัฐธรรมนูญ 49.4 50.6 100.0 8 นายกรัฐมนตรีควรลาออก เพื่อแสดงความรับผิดชอบกรณีเหตุปะทะกันเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 48.7 51.3 100.0 9 นิรโทษกรรมให้ อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย 111 คน 41.1 58.9 100.0 10 ยึดอำนาจ/ปฏิวัติ 23.5 76.5 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์วิกฤตการเมืองปัจจุบัน ลำดับที่ บุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ 1 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 24.0 1 นายอานันท์ ปันยารชุน 24.0 3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 18.2 4 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 12.7 5 นายชวน หลีกภัย 5.3 6 นายบรรหาร ศิลปอาชา 2.3 7 อื่นๆ 13.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-