ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง คะแนนนิยมของ สาธารณชนต่อ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ นครสวรรค์ สมุทรสาคร ระยอง ลพบุรี นครปฐม นนทบุรี ชลบุรี มหาสารคาม สุรินทร์ อุบลราชธานี นครราชสีมา พัทลุง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 5,498 ตัวอย่าง มีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 - 26 ตุลาคม 2551
ผลสำรวจความนิยมฐานสนับสนุนของสาธารณชนทั่วประเทศครั้งแรกที่มีต่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พบว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ยังคงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนภาพรวมทั้งประเทศเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 56.3 ของผู้ที่ถูกศึกษาทั้งหมด ในขณะที่ร้อย ละ 43.7 ไม่สนับสนุน ซึ่งถือว่ามีจำนวนมากเช่นกัน และเมื่อจำแนกออกตามเพศ พบว่า กลุ่มตัวอย่างเพศชายมีสัดส่วนของผู้ที่สนับสนุนนายสมชาย วงศ์ สวัสดิ์ ร้อยละ 58.5 ซึ่งมากกว่ากลุ่มผู้หญิงที่มีอยู่ร้อยละ 54.2
เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า กลุ่มผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.8 สนับสนุนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นอกจากนี้ นายสม ชาย วงศ์สวัสดิ์ยังได้รับการสนับสนุนมากเป็นส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.1 ในกลุ่มคนผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไปอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า นายกรัฐมนตรีได้รับการสนับสนุนเป็นส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.6 ในกลุ่มคนที่มีการ ศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ในขณะที่กลุ่มคนที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรีมีสัดส่วนคนที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนไม่แตกต่างกัน คือร้อยละ 48.3 ต่อร้อยละ 51.7 และร้อยละ 48.5 ต่อร้อยละ 51.5 ตามลำดับ
เมื่อจำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า ทุกกลุ่มอาชีพเกินกว่าครึ่งยังคงสนับสนุนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มรับจ้างแรงงานทั่วไป และเกษตรกรส่วนใหญ่หรือมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 68.4 เลยทีเดียวที่สนับสนุนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และกลุ่มคนว่างงานส่วน ใหญ่เช่นกันหรือร้อยละ 58.5 และกลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 57.5 สนับสนุนนายสมชาย ในฐานะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ในกลุ่ม พนักงานบริษัทเอกชนมีสัดส่วนของคนที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนพอๆ กัน คือร้อยละ 51.5 ต่อร้อยละ 48.5
แต่เมื่อจำแนกตามระดับรายได้ พบความแตกต่างอย่างชัดเจน คือกลุ่มคนที่มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.7 สนับ สนุนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แต่ในกลุ่มคนที่มีรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป มีร้อยละ 47.7 ที่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อจำแนกตามภูมิภาค พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในภาคเหนือร้อยละ 70.0 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 62.5 สนับสนุน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในขณะที่ประชาชนในภาคกลางร้อยละ 53.5 ในกรุงเทพมหานครร้อยละ 51.0 และในภาคใต้เพียง ร้อยละ 24.6 ที่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจคะแนนนิยมของสาธารณชนทั่วประเทศที่มีต่อ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ครั้งนี้เป็นครั้งแรก สะท้อนให้เห็นตาม หลักของตำราการสำรวจคะแนนนิยมว่า คะแนนนิยมต่อนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันอยู่ในแดน (Zone) B - หมายความว่า การตัดสินใจเชิงสาธารณะ ใดๆ ก็ตามจะอ่อนไหวต่อกระแสตอบรับหรืออาจต่อต้านได้ง่าย แตกต่างไปจากช่วงแรกของการเข้าสู่ตำแหน่งใหม่ที่เคยสำรวจในช่วงเดือนที่ผ่านมา โดย พบว่า แม้แต่คนกรุงเทพมหานครยังตอบรับสนับสนุน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อยู่ในแดน B + ที่จะทำอะไรจะพูดอะไรก็จะได้รับการตอบรับจาก สาธารณชนดีพอสมควร เพียงแต่ว่า ภาพลักษณ์ของนายสมชาย มาพร้อมกับความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชน ต่อความสัมพันธ์กับอดีตนายกฯ ทักษิณ ทางออกคือ นายสมชาย ควรเร่งแสดง “ความเป็นตัวของตัวเอง” ไม่ควรมีภาพไปผูกพันกับอดีตนายกรัฐมนตรี แต่ควรเร่งสานสายสัมพันธ์กับประชาชน ทุกภูมิภาคอย่างเท่าเทียม
จากการสำรวจทั่วประเทศครั้งนี้ พบว่า พื้นที่ภูมิภาคฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ สามารถแบ่ง ออกเป็น 3 สี คือ พื้นที่สีเขียวเป็นพื้นที่สนับสนุนนายสมชายมีสองพื้นที่ได้แก่ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่สีเหลืองคือ ภาคกลาง และ พื้นที่สีแดง กับแดงเข้มคือ กรุงเทพมหานคร และ ภาคใต้
จากข้อมูลที่ค้นพบ ยังพอมีทางออกให้กับคะแนนนิยมของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ดังนี้
ประการแรก น่าจะหยุดการจัดงานใหญ่ๆ หรือการนำนโยบายเชิงสาธารณะที่คนทั้งประเทศเห็นว่าดี ไปลงที่ภาคเหนือที่เดียวเพราะ ประชาชนในภาคเหนือสนับสนุนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันอย่างท่วมท้นอยู่แล้ว จึงให้ระวังจะไปตกในวงรอบเดียวกับอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชิน วัตร ที่เกิดการแบ่งแยก แตกแยกเป็น “ประชาภาคนิยม” และความไม่เท่าเทียมในการบริหารจัดการประเทศ ซึ่ง ถ้าบุคลิกภาพที่ปรากฎภายนอกของ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และความเป็นอดีตข้าราชการระดับสูงของกระทรวงยุติธรรมคือตัวตนแท้จริงของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ก็น่าจะไม่เกิดความไม่ เท่าเทียมกันเกิดขึ้นในสังคมไทย
ประการที่สอง น่าจะลองควงแขน นายบรรหาร ศิลปอาชา ลงพื้นที่ภาคกลาง เพื่อเปลี่ยนสีเหลืองเป็นสีเขียว สำรวจตรวจสอบกลุ่ม ประชาชนที่ประสบภัยภิบัติน้ำท่วม เพราะเคยสำรวจพบว่ามีชาวบ้านที่เดือดร้อนไม่ได้รับความช่วยเหลือ อย่างทั่วถึง และประชาชนในภาคกลางมักมีปัญหา สุขภาพกายที่ได้รับจากสารเคมีในการทำการเกษตรและโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
ประการที่สาม ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีน่าจะใช้บุคลิกภาพที่อ่อนโยน ถ่อมตัว ยิ่งมีอำนาจเป็นถึงผู้ นำประเทศ ลองยื่นมือไปจับกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายอภิรักษ์ โกษะโยธินต่อหน้าสาธารณชนว่าจะพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนกรุงเทพฯ อย่างเป็นรูปธรรม สนับสนุนนายอภิรักษ์ให้แก้ปัญหาของคนกรุงเทพฯ ปัญหาจราจร ปัญหายาเสพติด และปัญหาปากท้อง เป็นต้น
ประการที่สี่ ไม่น่าจะยากที่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จะได้ใจประชาชนในภาคใต้ เพราะเป็นคนใต้ ที่น่าจะเข้าใจจิตใจของคนภาคใต้ดี จึงเสนอให้นายกรัฐมนตรี ลงไปพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทันที เพื่อแก้ปัญหาใหญ่ของภูมิภาคนี้
ทางออกเหล่านี้น่าจะทำได้ทันที เป็นทางออกที่มีผลโดยตรงกับกระแสความเคลื่อนไหวระดับประชาชนรากฐานของสังคมไทย หรือที่เรียก ว่า การเคลื่อนไหวของมวลชน ส่วนทางออกในการเชื่อมประสานความรักความสามัคคีระดับแกนนำของกลุ่มเคลื่อนไหวฝ่ายต่างๆ ก็น่าจะดำเนินการ ควบคู่กันไป โดยจะเห็นว่าสัปดาห์นี้เป็นช่วงจังหวะที่ดีเพราะ เครือข่ายองค์กรต่างๆ กำลังเริ่มต้นเคลื่อนไหวกันอย่างเข้มข้น
รายละเอียดงานวิจัย
1. เพื่อสำรวจความนิยมของสาธารณชนต่อ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง คะแนนนิยมของสาธารณชนต่อ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ นครสวรรค์ สมุทรสาคร ระยอง ลพบุรี นครปฐม นนทบุรี ชลบุรี มหาสารคาม สุรินทร์ อุบลราชธานี นครราชสีมา พัทลุง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 5,498 ตัวอย่าง มีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 - 26 ตุลาคม 2551 เทคนิควิธีการ สุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะ โน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถาม ทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 148 คน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.1 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.9 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.4 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 26.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 23.4 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ
ร้อยละ 19.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 71.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 25.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.6 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 7.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 2.6 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ ฐานสนับสนุนต่อ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ร้อยละ 1 สนับสนุน 56.3 2 ไม่สนับสนุน 43.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำแนกตามเพศ ลำดับที่ ฐานสนับสนุนต่อ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ชาย หญิง 1 สนับสนุน 58.5 54.2 2 ไม่สนับสนุน 41.5 45.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำแนกตามช่วงอายุ ลำดับที่ ฐานสนับสนุนต่อ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต่ำกว่า 20 ปี 20—29 ปี 30—39 ปี 40—49 ปี 50 ปีขึ้นไป 1 สนับสนุน 60.8 52.5 54.5 58.4 59.1 2 ไม่สนับสนุน 39.2 47.5 45.5 41.6 40.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำแนกตามระดับการศึกษา ลำดับที่ ฐานสนับสนุนต่อ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่า ปริญญาตรี 1 สนับสนุน 59.6 48.3 48.5 2 ไม่สนับสนุน 40.4 51.7 51.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำแนกตามกลุ่มอาชีพ ลำดับที่ ฐานสนับสนุนต่อ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ข้าราชการ พนักงาน ค้าขาย นักเรียน รับจ้าง แม่บ้าน ว่างงาน รัฐวิสาหกิจ เอกชน นักศึกษา เกษตรกร เกษียณอายุ 1 สนับสนุน 57.5 51.5 51.9 55.8 68.4 55.6 58.5 2 ไม่สนับสนุน 42.5 48.5 48.1 44.2 31.6 44.4 41.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำแนกตามระดับรายได้ ลำดับที่ ฐานสนับสนุนต่อ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ไม่เกิน 5000 บ. 5001-10000 10001-15000 15001-20000 มากกว่า 20000 บ. 1 สนับสนุน 66.7 54.7 51.1 55.5 47.7 2 ไม่สนับสนุน 33.3 45.3 48.9 44.5 52.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำแนกตามภูมิภาค ลำดับที่ ฐานสนับสนุนต่อ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม. 1 สนับสนุน 70.0 53.5 62.5 24.6 51.0 2 ไม่สนับสนุน 30.0 46.5 37.5 75.4 49.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-