เอแบคโพลล์: คนไทยคิดอย่างไรต่อ การรณรงค์ให้ยุติความรุนแรงและกระบวนการยุติธรรม

ข่าวผลสำรวจ Monday November 3, 2008 07:36 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง คนไทยคิดอย่างไรต่อการรณรงค์ ให้ยุติความรุนแรงและกระบวนการยุติธรรม กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 19 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่ แพร่ พิษณุโลก ชลบุรี สมุทรสาคร สระบุรี ชัยภูมิ พระนครศรีอยุธยา ขอนแก่น อุดรธานี มุกดาหาร สุรินทร์ หนองคาย ชุมพร และสงขลา จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,698 ตัวอย่าง มีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 27 — 31 ตุลาคม 2551 ผล สำรวจพบว่า

ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.0 เห็นด้วยกับการรณรงค์ให้คนไทยยุติความรุนแรง หันหน้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในขณะที่ ร้อยละ 6.0 ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ เมื่อจำแนกความคิดเห็นของประชาชนออกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือทุกเพศ ทุกวัย ทุกกลุ่มอาชีพ ทุกระดับการศึกษา ไม่ว่าจะอยู่ในภูมิภาคใด ในเขตเทศบาลหรือนอกเขตเทศบาล ไม่ว่าจะสนับสนุนรัฐบาลหรือไม่สนับสนุนรัฐบาล ต่างก็ เห็นพ้องต้องกันว่า คนไทยต้องยุติความรุนแรงและหันหน้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลกันทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลสำรวจพบว่า ในกลุ่มคนที่สนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 93.8 ในกลุ่มคนที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลร้อยละ 94.3 และในกลุ่มคนที่ขออยู่ตรงกลางที่เป็นพลังเงียบร้อยละ 94.0 ระบุว่าเห็นด้วยกับการรณรงค์ ให้คนไทยยุติความรุนแรงและหันหน้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบด้วยว่า คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.9 ยังคงเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม คือใครถูกใครผิดก็ให้เป็นไป ตามกระบวนการยุติธรรมของบ้านเมือง ในขณะที่ร้อยละ 6.7 ไม่เชื่อมั่นและร้อยละ 1.4 ไม่มีความเห็น

ดร.นพดล กล่าวว่า หลายคนอาจเคยคิดว่า คนไทยแบ่งพรรคแบ่งพวก สังคมไทยกำลังแตกแยกรุนแรง จนไม่มีทางออก แต่ผลสำรวจครั้งนี้ น่าจะยืนยันได้อย่างดีและชัดเจนว่า ปัญหาทางการเมืองของประเทศในเวลานี้พอจะมีทางออกที่เป็นจุดตั้งต้นได้ของการก้าวเดินต่อไปข้างหน้า เพราะ อย่างน้อยคนไทยส่วนใหญ่ยังคงเห็นพ้องต้องกันในเรื่องสำคัญๆ ของประเทศคือ คนไทยต้องหยุดความรุนแรงทุกรูปแบบ และหันหน้ามาช่วยเหลือเกื้อกูล กัน แต่ใครถูกใครผิดอย่างไรก็ให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ตัวบทกฎหมายของบ้านเมือง

“ดังนั้น ในเวลานี้ หากใครพูดอะไรหรือทำอะไรที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงในสังคม ก็อาจสูญเสียฐานสนับสนุนจากสาธารณชนไป ได้ นอกจากนี้ ข้อมูลที่ค้นพบในการสำรวจครั้งนี้ น่าจะเป็นกำลังใจให้กับหลายๆ คนที่เคยหมดกำลังใจไปกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ได้ทราบ ว่า เรายังมีคนไทยส่วนใหญ่ทั้งประเทศที่คิดเหมือนกันว่า ต้องหยุดความรุนแรง และหันหน้ามาเจรจา มีเมตตา และให้อภัยต่อกัน ทั้งนี้ถ้าผ่านพ้น วิกฤตการณ์รอบนี้ไปได้ ประชาชนคนไทยทั้งประเทศอาจจะสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยมีความชอบ ความแตกต่างทางการเมืองที่แบ่งเป็นสองขั้วสองด้าน ใหญ่ๆ โดยไม่ต้องทำลายทำร้ายกัน มีความรักชาติ ความจงรักภักดี และคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตัวควบคู่กันไปได้อย่างสันติ” ผ.อ.ศูนย์ วิจัยความสุขชุมชน กล่าว

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย

1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ การรณรงค์ให้ยุติความรุนแรง และกระบวนการยุติธรรม

2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง คนไทยคิดอย่างไรต่อ การรณรงค์ให้ยุติความ รุนแรงและกระบวนการยุติธรรม กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 19 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่ แพร่ พิษณุโลก ชลบุรี สมุทรสาคร สระบุรี ชัยภูมิ พระนครศรีอยุธยา ขอนแก่น อุดรธานี มุกดาหาร สุรินทร์ หนองคาย ชุมพร และ สงขลา เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้า หมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,698 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น ของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 141 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 50.6 เป็นหญิง

ร้อยละ 49.4 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 6.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 20.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 28.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 25.4 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และ ร้อยละ 20.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 69.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 27.7 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 39.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 30.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 10.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 7.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 5.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 5.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 1.3 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ การรณรงค์ให้คนไทยยุติความรุนแรง หันหน้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
ลำดับที่          ความเห็นของประชาชน                                           ค่าร้อยละ
1          เห็นด้วยกับการรณรงค์ให้คนไทยยุติความรุนแรง หันหน้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน          94.0
2          ไม่เห็นด้วย                                                           6.0
          รวมทั้งสิ้น                                                           100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ การรณรงค์ให้คนไทยยุติความรุนแรง หันหน้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
จำแนกตาม เพศ
ลำดับที่          ความเห็นของประชาชน                                          ชาย          หญิง
1          เห็นด้วยกับการรณรงค์ให้คนไทยยุติความรุนแรง หันหน้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน      93.6         94.5
2          ไม่เห็นด้วย                                                       6.4          5.5
          รวมทั้งสิ้น                                                       100.0        100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ การรณรงค์ให้คนไทยยุติความรุนแรง หันหน้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
จำแนกตามช่วงอายุ
ลำดับที่          ความเห็นของประชาชน             ต่ำกว่า 20 ปี    20—29 ปี    30—39 ปี    40—49 ปี    50 ปีขึ้นไป
1          เห็นด้วยกับการรณรงค์ให้คนไทยยุติความรุนแรง
           หันหน้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน                92.6         93.6       96.5       92.2       93.7
2          ไม่เห็นด้วย                              7.4          6.4        3.5        7.8        6.3
          รวมทั้งสิ้น                              100.0        100.0      100.0      100.0      100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ การรณรงค์ให้คนไทยยุติความรุนแรง หันหน้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
จำแนกตาม กลุ่มอาชีพ
ลำดับที่          ความเห็นของประชาชน          ราชการ/รัฐวิสาหกิจ  พนักงานบริษัทเอกชน  ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว  นักเรียน/นักศึกษา  เกษตรกร/ใช้แรงงาน  แม่บ้าน/ว่างงาน
1          เห็นด้วยกับการรณรงค์ให้คนไทยยุติความรุนแรง
           หันหน้าช่วยเหลือเกื้อกูลกัน                  94.2           95.8              94.3             96.3              92.5             93.4
2          ไม่เห็นด้วย                              5.8            4.2               5.7              3.7               7.5              6.6
          รวมทั้งสิ้น                              100.0          100.0             100.0            100.0             100.0            100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ การรณรงค์ให้คนไทยยุติความรุนแรง หันหน้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่          ความเห็นของประชาชน         ต่ำกว่าปริญญาตรี     ปริญญาตรี    สูงกว่าปริญญาตรี
1          เห็นด้วยกับการรณรงค์ให้คนไทยยุติ
           ความรุนแรง หันหน้าช่วยเหลือเกื้อกูลกัน     93.2          96.0          95.8
2          ไม่เห็นด้วย                           6.8           4.0           4.2
          รวมทั้งสิ้น                           100.0         100.0         100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ การรณรงค์ให้คนไทยยุติความรุนแรง หันหน้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่          ความเห็นของประชาชน            เหนือ    กลาง    ตะวันออกเฉียงเหนือ    ใต้    กรุงเทพ ฯ
1          เห็นด้วยกับการรณรงค์ให้คนไทยยุติ
           ความรุนแรง หันหน้าช่วยเหลือเกื้อกูลกัน    95.1    93.4         95.7         93.8     91.0
2          ไม่เห็นด้วย                          4.9     6.6          4.3          6.2      9.0
          รวมทั้งสิ้น                          100.0   100.0        100.0        100.0    100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ การรณรงค์ให้คนไทยยุติความรุนแรง หันหน้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
จำแนกตาม พื้นที่ที่พักอาศัย
ลำดับที่          ความเห็นของประชาชน        ในเขตเทศบาล     นอกเขตเทศบาล    กรุงเทพมหานคร
1          เห็นด้วยกับการรณรงค์ให้คนไทยยุติ
           ความรุนแรง หันหน้าช่วยเหลือเกื้อกูลกัน     95.4           93.8           91.0
2          ไม่เห็นด้วย                           4.6            6.2            9.0
          รวมทั้งสิ้น                           100.0          100.0          100.0

ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ การรณรงค์ให้คนไทยยุติความรุนแรง หันหน้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
จำแนกตาม จุดยืนทางการเมือง
ลำดับที่          ความเห็นของประชาชน          สนับสนุนรัฐบาล   ไม่สนับสนุนรัฐบาล   ขออยู่ตรงกลางพลังเงียบ
1          เห็นด้วยกับการรณรงค์ให้คนไทยยุติ
           ความรุนแรง หันหน้าช่วยเหลือเกื้อกูลกัน     93.8           94.3              94.0
2          ไม่เห็นด้วย                           6.2            5.7               6.0
          รวมทั้งสิ้น                           100.0          100.0             100.0

ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม (ใครถูกใครผิดให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม)
ลำดับที่          ความเห็นของประชาชน                                          ค่าร้อยละ
1          เชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม (ใครถูกใครผิดให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม)     91.9
2          ไม่เชื่อมั่น                                                           6.7
3          ไม่มีความเห็น                                                        1.4
          รวมทั้งสิ้น                                                          100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ