เอแบคโพลล์: สำรวจอารมณ์ ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชนต่อวิกฤตเศรษฐกิจและการเมือง

ข่าวผลสำรวจ Monday May 8, 2006 07:45 —เอแบคโพลล์

ที่มาของโครงการ   
การที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงขยับตัวอย่างต่อเนื่องนั้น ส่งผลทำให้รัฐบาลต้องประกาศราคาน้ำมันลอยตัว ซึ่งทำให้ราคาน้ำมันใน
ประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และกลายเป็นประเด็นร้อนที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง การขึ้นราคาน้ำมันดังกล่าวส่ง
ผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นจนน่าตกใจ เพราะการขึ้นราคาน้ำมันส่งผล
ให้สินค้าอุปโภคบริโภคแทบทุกอย่างปรับราคาสูงขึ้นตามไปด้วย หลายต่อหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นจาก
การขึ้นราคาน้ำมัน ซึ่งนอกเหนือไปจากปัญหาการขึ้นราคาจากสินค้าอุปโภคบริโภคและระบบขนส่งมวลชน ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อประชาชนโดยตรง
แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยภาพรวมของประเทศ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะการว่างงาน เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ทุกฝ่ายจึงต้องการให้รัฐบาล
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งแก้ไขปัญหาทุกอย่างให้เรียบร้อยโดยเร็ว อย่างไรก็ตามในภาวะวิกฤตน้ำมันเช่นที่กำลังเป็นอยู่นี้ การดำเนิน
มาตรการใดๆที่จะช่วยในการแก้ไขหรือคลี่คลายปัญหาดังกล่าวนั้นจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาค
ประชาชน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพ
มหานครและปริมณฑล ถึงประเด็นความคิดเห็นที่มีต่อภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากการขึ้นราคาน้ำมันในปัจจุบันตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกรณีดัง
กล่าว รวมทั้งความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการช่วยประหยัดพลังงาน ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่
ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกของประชาชนต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกของประชาชนต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรณีผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาน้ำมันขึ้นราคา
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อรัฐบาลในการดำเนินนโยบายในการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมัน
5. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดในการรณรงค์การใช้รถจักรยานเพื่อช่วยประหยัดพลังงาน
6. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “สำรวจอารมณ์ ความรู้สึกและความคิดเห็น
ของสาธารณชนต่อวิกฤตเศรษฐกิจและการเมือง: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ระหว่าง
วันที่ 4-6 พฤษภาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,588 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.4 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 45.6 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อย
ละ 6.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 23.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 24.8 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 40—49
ปี และ ร้อยละ 22.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 80.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 16.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ
2.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 31.4 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 22.9 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 14.6 ระบุอาชีพ
รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 11.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.7 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ ร้อยละ 7.1 เป็นนักเรียน /
นักศึกษา และร้อยละ 1.8 ระบุว่างงาน
เมื่อพิจารณารายได้ส่วนตัวต่อเดือนพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 18.4 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 35.4 ระบุรายได้
5,001-10,000 บาท/เดือน ร้อยละ 12.2 ระบุ 10,001-15,000 บาท/เดือน ร้อยละ 12.1 ระบุรายได้ 15,001-20,000 บาท/เดือน และ
ร้อยละ 21.9 ระบุรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน และตัวอย่างร้อยละ 53.2 มีรถยนต์ส่วนตัว ในขณะที่ร้อยละ 46.8 ไม่มีรถยนต์ส่วนตัว
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สำรวจอารมณ์ ความรู้สึกและ
ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อวิกฤตเศรษฐกิจและการเมือง” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,588 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวภาวะเศรษฐกิจของประเทศในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 54.9
ติดตามข่าวภาวะเศรษฐกิจทุกวัน/เกือบทุกวัน ร้อยละ 19.9 ติดตาม 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 14.5 ติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 5.1
ติดตามน้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 5.6 ไม่ได้ติดตามข่าวภาวะเศรษฐกิจเลย
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 68.7 ระบุว่าอยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว
ในขณะที่ร้อยละ 31.3 ระบุว่ายังไม่วิกฤต และเมื่อคณะผู้วิจัยได้ทำการเปรียบเทียบระหว่างวิกฤตเศรษฐกิจกับวิกฤตทางการเมือง และประชาชนจำนวน
มาก หรือร้อยละ 41.3 ระบุว่าปัญหาการเมืองอยู่ในขั้นวิกฤตแล้วเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกที่ได้รับจากภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 97.7 ระบุเป็นเรื่อง
สำคัญของประเทศ ร้อยละ 85.7 รู้สึกวิตกกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจ ร้อยละ 74.3 ระบุรู้สึกเบื่อหน่ายต่อภาวะเศรษฐกิจ ร้อยละ 58.3 ระบุรู้สึก
เครียด ร้อยละ 16.0 ระบุมีความขัดแย้งกับคนในครอบครัว ร้อยละ 10.7 ระบุมีความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน และร้อยละ 8.0 ระบุมีความขัดแย้งกับ
เพื่อนบ้าน และในขณะเดียวกัน เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์ทางการเมือง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 97.2 ระบุเป็น
เรื่องสำคัญของประเทศ ร้อยละ 74.0 ระบุรู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง ร้อยละ 69.9 รู้สึกวิตกกังวลต่อปัญหาทางการเมือง ร้อยละ 43.2 ระบุ
รู้สึกเครียด ร้อยละ 17.2 ระบุมีความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน ร้อยละ 16.2 ระบุมีความขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน ร้อยละ 14.1 ระบุมีความขัดแย้งกับคน
ในครอบครัว
สำหรับการใช้ชีวิตและทัศนคติที่ขัดต่อหลักการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 69.0 ระบุว่ามีเงินเก็บ
ออมเป็นจำนวนที่น้อยกว่าเงินเดือนที่ได้รับขณะนี้ ร้อยละ 60.6 คิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในกลุ่มผู้ประกอบการ ร้อยละ 46.7 ระบุ
ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล / หวยใต้ดิน ร้อยละ 44.2 ระบุเคยซื้อสินค้ามาแต่ไม่ค่อยได้ใช้งาน และร้อยละ 35.1 ระบุคิดอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสอบถามถึงเรื่องที่ตัวอย่างมีความกังวลในช่วงที่มีปัญหาเศรษฐกิจในขณะนี้ 3 อันดับแรก ได้แก่ ปัญหาเรื่องการขึ้นราคา
สินค้าและบริการ (ร้อยละ 76.5) ปัญหาการขึ้นราคาน้ำมัน (ร้อยละ 53.4) และปัญหาการว่างงาน (ร้อยละ 52.0) ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผลการสำรวจถึงผลกระทบของการที่น้ำมันขึ้นราคาต่อพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 82.1 ระบุว่ามีผลกระทบ ในขณะที่ร้อยละ 12.3 ระบุว่าไม่มีผลกระทบ และร้อยละ 5.6 ไม่มีความเห็น และเมื่อสอบถามถึงประเภทสินค้า
และบริการที่คิดว่าจะตัด/ลดการใช้จ่ายในช่วงเวลาที่น้ำมันขึ้นราคา 5 อันดับแรก ได้แก่ สินค้าประเภทของใช้ฟุ่มเฟือย อาทิ เครื่องสำอางค์ น้ำหอม
เครื่องประดับ (ร้อยละ 63.3) อาหารประเภทฟาสต์ฟูดส์ต่างๆ (ร้อยละ 45.9) ลดการรับประทานอาหารนอกบ้าน (ร้อยละ 38.7) ลดการดูหนัง
ฟังเพลงและการท่องเที่ยว (ร้อยละ 35.6) และลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว (ร้อยละ 32.1) ตามลำดับ
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องน้ำมันในแต่ละเดือน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 59.1 มีภาระค่าใช้จ่ายใน
เรื่องน้ำมัน ซึ่งโดยเฉลี่ยมีประมาณ 3,588 บาทต่อเดือน ในขณะที่ร้อยละ 40.9 ไม่มีภาระดังกล่าว นอกจากนี้ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ยังค้นพบถึง
ราคาน้ำมันสูงสุดที่จะไม่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินของตนเองและครอบครัว จำแนกตามประเภทน้ำมัน ดังนี้ เบนซิน ออกเทน 91 (ราคา
22.56 บาท/ลิตร) เบนซิน ออกเทน 95 (ราคา 23.40 บาท/ลิตร) และน้ำมันดีเซล (ราคา 21.24 บาท/ลิตร) ซึ่งจะเห็นได้ว่า ตัวอย่างได้ระบุ
ราคาน้ำมันสูงสุดที่ยอมรับได้นั้น ราคาต่ำกว่าราคาน้ำมัน ณ ปัจจุบัน
สำหรับความพอใจต่อการดำเนินนโยบายแก้ปัญหาด้านราคาน้ำมันของรัฐบาลที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างจำนวนมาก หรือร้อยละ 47.2 ไม่พอ
ใจต่อการดำเนินนโยบายดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 21.4 ระบุว่าพอใจ และร้อยละ 31.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงการมีส่วนช่วยในการประหยัดพลังงานในปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 79.3 ระบุประหยัดน้ำ/ประหยัด
ไฟฟ้า ร้อยละ 34.1 ใช้บริการขนส่งมวลชนแทนรถยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 27.6 ขับรถด้วยความเร็วที่ประหยัดน้ำมัน ร้อยละ 12.0 ใช้แก๊สโซฮอลล์/ใช้
พลังงานทดแทน ในขณะที่ร้อยละ 11.7 ระบุอื่นๆ อาทิ ลดการหุงต้มอาหาร/ซื้ออาหารปรุงสำเร็จ เพื่อประหยัดแก๊ส เป็นต้น
ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ ยังค้นพบว่า แนวคิดการรณรงค์เดินทางด้วยรถจักรยานเพื่อช่วยประหยัดพลังงานนั้น พบว่า ตัวอย่างส่วน
ใหญ่ หรือร้อยละ 66.4 เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 19.0 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 14.6 ไม่มีความเห็น
ยิ่งไปกว่านั้น ตัวอย่างเกือบร้อยละ 80.0 เห็นด้วยที่จะให้มีการสร้าง “เลนจักรยาน” สำหรับผู้ที่เดินทางด้วยรถจักรยาน ในขณะที่ร้อย
ละ 9.5 ไม่เห็นด้วย เพราะ ไม่ปลอดภัย / เสียพื้นที่ถนนและทางเดินเท้า / คนไทยรักความสบายเกินไป เป็นต้น และร้อยละ 10.6 ไม่มีความเห็น
และเมื่อสอบถามถึงความคิดที่จะเปลี่ยนมาใช้จักรยานในการเดินทาง ถ้ามี “เลนจักรยาน” พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 52.4 คิดว่า
จะเปลี่ยนมาใช้จักรยาน ร้อยละ 30.2 คิดว่าไม่เปลี่ยน เพราะ ไม่ปลอดภัย / อากาศร้อนเกินไป / คิดว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่เข้มงวดจับกุมคน
กระทำผิดกฎจราจรขับขี่แย่งเลนจักรยาน เป็นต้น และร้อยละ 17.4 ไม่มีความเห็น
สำหรับข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำมันราคาแพงในขณะนี้ 5 อันดับแรก ได้แก่ ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค
(ร้อยละ 65.1) รณรงค์ลดการใช้พลังงาน/ประหยัดน้ำมันใช้ความเร็วที่เหมาะสม (ร้อยละ 58.0) เร่งปรับปรุงคุณภาพของระบบขนส่งมวลชนให้เป็น
ทางเลือกใหม่ให้ได้ (ร้อยละ 56.4) สร้างเลนจักรยาน (ร้อยละ 50.1) และตรึงราคาน้ำมัน (ร้อยละ 44.1) ตามลำดับ
นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญที่ค้นพบ คือ ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลชุดใหม่ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ พบว่า ตัวอย่างจำนวนมาก หรือร้อยละ
42.5 ไม่เชื่อมั่นต่อรัฐบาลชุดใหม่ ในขณะที่ร้อยละ 14.0 เชื่อมั่น และร้อยละ 43.5 ไม่มีความเห็น เพราะไม่รู้ว่าพรรคการเมืองใดจะได้เป็น
รัฐบาล / ไม่รู้ว่าใครจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี / ยังไม่มีความชัดเจนในทางการเมือง เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า สาธารณชนที่มองว่าปัญหาเศรษฐกิจวิกฤตมีมากกว่ากลุ่มคนที่มองว่าปัญหาการเมืองอยู่ในขั้น
วิกฤตแล้ว และปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกและความคิดเห็นของประชาชนมากกว่าปัญหาวิกฤตการเมืองในหลายๆ มิติ เช่น ความ
วิตกกังวล ความเครียด และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นรอบตัวของประชาชน ผลกระทบในทางลบประกอบกับผลวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเกิด
ขึ้นมาจากการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนที่ไม่ได้ยึดแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียง เพราะจากการสำรวจในช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมาพบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่มีเงินเก็บออมน้อยกว่าเงินเดือนที่ได้รับ ประชาชนเกือบครึ่งหนึ่งซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวยใต้ดิน จำนวนมากที่ซื้อสินค้ามาแต่ไม่ได้
ใช้อย่างเต็มที่และดำเนินชีวิตบนความประมาททางเศรษฐกิจ อยากซื้ออะไรก็ซื้อ นอกจากนี้ส่วนใหญ่ยังมีทัศนคติที่เอื้อต่อการทุจริตคอรัปชั่นอีกด้วย
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมกำลังมาอยู่ในช่วงเดียวกันย่อมส่งผลทำให้อำนาจทางการเมืองของ
รัฐบาลอ่อนแอ สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา คือ ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น และคุณภาพชีวิตของประชาชนจะ
ตกต่ำลง แต่ถ้ามีการมองว่าสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศขณะนี้ เป็นเหมือนการทดสอบประชาชนทุกคนทั้งประเทศ ร่วมมือช่วยกันพาให้ประเทศผ่านพ้น
วิกฤตเหล่านี้ไปให้ได้ โดยมองว่าทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศอยู่ในช่วงของการปรับฐานให้เกิดความแข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งทางออกที่
เป็นไปได้น่าจะมีดังต่อไปนี้
1. ประชาชนทุกคนต้องดูแลตนเอง ดำเนินชีวิตบนความไม่ประมาทและนำหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียงมาใช้อย่างยั่งยืน ลดละการซื้อสินค้า
ฟุ่มเฟือย ควรปรับทัศนคติในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับสภาพปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นด้วยการต่อต้านมากกว่าที่เห็นเป็นเรื่องปกติธรรมดา
2. ผู้ประกอบการธุรกิจควรยอมได้กำไรน้อยลงเพื่อแสดงสปิริต ช่วยเหลือสังคมที่กำลังเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจขณะนี้ โดยน่าจะนำหลักประชา
นิยมจากฝ่ายการเมืองมาใช้บ้าง
3. ฝ่ายการเมืองทั้งรัฐบาลรักษาการ และอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้าน ไม่ควรซ้ำเติมสถานการณ์ความเดือดร้อนของประชาชน ทำให้สังคม
วุ่นวายไปมากกว่านี้ ใครพูดอะไรไว้อย่างไร เช่น การไม่ยึดติดกับตำแหน่ง การประกาศไม่รับตำแหน่งทางการเมือง หรือการเว้นวรรคทางการเมือง
เป็นต้น ในขณะที่ฝ่ายค้านควรเสนอบุคคลที่จะสร้างความหวังและดึงความเชื่อมั่นของประชาชนกลับคืนมาได้ ซึ่งดูเหมือนว่าอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านยังหลง
ประเด็นจมอยู่กับเรื่องเกมการเมือง ทั้งๆ ที่ขณะนี้ต้องเสนอตัวบุคคล เสนอนโยบายแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้แล้ว นอก
จากนี้ ความร้อนแรงทางการเมืองน่าจะลดทอนลงไปได้ ถ้าองค์กรอิสระ เช่น กกต. ปปช. วุฒิสภา สามารถฟื้นความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนกลับ
คืนมา โดยแสดงความรับผิดชอบต่อปัญหาต่างๆ ที่ตนเองมีส่วนทำให้เกิดวิกฤตทางการเมืองขึ้นในขณะนี้ และควรเร่งจัดวางระบบกฎเกณฑ์รองรับแนวทาง
การปฏิรูปการเมืองรอบใหม่ที่กำลังจะมาถึง
4. ในขณะที่อำนาจทางการเมืองของรัฐบาลกำลังอ่อนตัวลง และองค์กรอิสระกำลังประสบปัญหากับวิกฤตศรัทธาของประชาชน ความหวัง
และความเชื่อมั่นของประชาชน จึงไปอยู่ที่การทำงานของข้าราชการประจำ ซึ่งถ้าหน่วยงานและกระทรวงใดมีผู้บริหารที่คอยหาช่องทางทุจริตคอรัปชั่น
หรือไม่อยากทำงาน ผลที่ตามมาก็คือ ประชาชนทั่วไปก็จะรับกรรมกับคุณภาพชีวิตที่ตกต่ำ การเลือกปฏิบัติ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และปัญหา
ยาเสพติดที่กำลังกลับมา
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวภาวะเศรษฐกิจของประเทศในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/ เกือบทุกวัน 54.9
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 19.9
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 14.5
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 5.1
5 ไม่ได้ติดตาม 5.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 อยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว 68.7
2 ยังไม่วิกฤต 31.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศและสถานการณ์การเมือง
ในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อสภาวะเศรษฐกิจและการเมือง ค่าร้อยละ
1 ปัญหาเศรษฐกิจอยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว 68.7
2 ปัญหาการเมืองอยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว 41.3
ตารางที่ 4 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกที่ได้รับจากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองในขณะนี้
ความรู้สึกที่ได้รับจากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองในขณะนี้ เศรษฐกิจ ร้อยละ การเมืองร้อยละ
1. เป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 97.7 97.2
2. วิตกกังวล 85.7 69.9
3. เครียด 58.3 43.2
4. ขัดแย้งกับคนในครอบครัว 16.0 14.1
5. ขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน 8.0 16.2
6. ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน 10.7 17.2
7. เบื่อหน่าย 74.3 74.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การใช้ชีวิตและทัศนคติที่ขัดต่อหลักการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) สำรวจเมื่อวันที่ 26-29 เมษายนที่ผ่านมา จาก 1,024 คน
ลำดับที่ การใช้ชีวิตและทัศนคติที่ขัดต่อหลักการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ค่าร้อยละ
1 คิดอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ 35.1
2 เคยซื้อสินค้ามาแต่ไม่ค่อยได้ใช้งาน 44.2
3 มีเงินเก็บออมเป็นจำนวนที่น้อยกว่าเงินเดือนที่ได้รับในขณะนี้ 69.0
4 คิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในกลุ่มผู้ประกอบการ 60.6
5 ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล/หวยใต้ดิน 46.7
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเรื่องที่มีความกังวลในช่วงที่มีปัญหาเศรษฐกิจในขณะนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เรื่องที่กังวลในช่วงที่มีปัญหาเศรษฐกิจในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 ปัญหาเรื่องการขึ้นราคาสินค้าและบริการ 76.5
2 ปัญหาการขึ้นราคาน้ำมัน 53.4
3 ปัญหาการว่างงาน 52.0
4 ปัญหาอาชญากรรม จี้ปล้น วิ่งราว 40.8
5 อัตราดอกเบี้ย 36.7
6 ปัญหาการเมือง 32.4
7 อื่นๆ อาทิ ปัญหาการขาดแคลนน้ำมัน /ภาวะเงินเฟ้อ /ปัญหาที่อยู่อาศัย เป็นต้น 18.5
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลกระทบของการที่น้ำมันขึ้นราคาต่อพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย
ในชีวิตประจำวัน
ลำดับที่ ผลกระทบของการที่น้ำมันขึ้นราคาต่อพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย ค่าร้อยละ
1 มีผล 82.1
2 ไม่มีผล 12.3
3 ไม่มีความเห็น 5.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทสินค้าและบริการที่คิดว่าจะตัด/ลดการใช้จ่ายในช่วงเวลา
ที่น้ำมันขึ้นราคา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สินค้าและบริการที่คิดว่าจะตัด/ลดค่าใช้จ่ายออกในช่วงเวลาที่น้ำมันขึ้นราคา ค่าร้อยละ
1 สินค้าประเภทของใช้ฟุ่มเฟือย อาทิ เครื่องสำอางค์ น้ำหอม เครื่องประดับ 63.3
2 อาหารประเภทฟาสต์ฟูดส์ต่างๆ 45.9
3 ลดการรับประทานอาหารนอกบ้าน 38.7
4 ลดการดูหนัง ฟังเพลงและการท่องเที่ยว 35.6
5 ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว 32.1
6 เครื่องดื่มประเภทผสมแอลกอฮอลล์ เหล้า เบียร์ ไวน์ 29.7
7 ค่าโทรศัพท์ 15.3
8 เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ 14.7
9 อื่นๆ อาทิ การซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวยใต้ดิน/ ของเล่น /ของตกแต่งบ้าน/หนังสือพิมพ์ 10.4
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องน้ำมันในแต่ละเดือน
ลำดับที่ การมีภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องน้ำมันในแต่ละเดือน ค่าร้อยละ
1 มี โดยเฉลี่ยเดือนละประมาณ 3,588 บาท 59.1
2 ไม่มี 40.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 ค่าเฉลี่ยของราคาน้ำมันสูงสุดที่จะไม่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินของตนเองและครอบครัว
ประเภทน้ำมัน มี.ค. 48บาท/ลิตร ก.ค. 48บาท/ลิตร พ.ค.49บาท/ลิตร ราคาวันนี้บาท/ลิตร
1.เบนซิน ออกเทน 91 22.89 23.41 22.56 28.44
2.เบนซิน ออกเทน 95 24.09 24.40 23.40 29.24
3.น้ำมันดีเซล 17.72 21.20 21.24 26.59
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อการดำเนินนโยบายแก้ปัญหาด้านราคาน้ำมันของรัฐบาลที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความพอใจต่อการดำเนินนโยบายแก้ปัญหาด้านราคาน้ำมันของรัฐบาลที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 พอใจ 21.4
2 ไม่พอใจ 47.2
3 ไม่มีความเห็น 31.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีส่วนช่วยในการประหยัดพลังงานในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การมีส่วนช่วยในการประหยัดพลังงานในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 ประหยัดน้ำ/ประหยัดไฟฟ้า 79.3
2 ใช้บริการขนส่งมวลชนแทนรถยนต์ส่วนตัว 34.1
3 ขับรถด้วยความเร็วที่ประหยัดน้ำมัน 27.6
4 ใช้แก๊สโซฮอลล์/ใช้พลังงานทดแทน 12.0
5 อื่นๆ อาทิ ลดการหุงต้มอาหาร /ซื้ออาหารปรุงสำเร็จ เพื่อประหยัดแก๊ส เป็นต้น 11.7
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดการรณรงค์เดินทางด้วยรถจักรยานเพื่อช่วยประหยัดพลังงาน
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อแนวคิดการรณรงค์เดินทางด้วยรถจักรยานเพื่อช่วยประหยัดพลังงาน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 66.4
2 ไม่เห็นด้วย 19.0
3 ไม่มีความเห็น 14.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการที่จะให้มีการสร้าง “เลนจักรยาน”สำหรับผู้ที่เดินทางด้วยรถจักรยาน
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการที่จะให้มีการสร้าง “เลนจักรยาน”สำหรับผู้ที่เดินทางด้วยรถจักรยาน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 79.9
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ ไม่ปลอดภัย/ เสียพื้นที่ถนนและทางเดินเท้า/ คนไทยรักความสบายเกินไป /
อากาศร้อน/ ทำขึ้นมาจริงๆ ก็ไม่มีคนใช้ /ทำไปก็จะมีคนมาแย่งใช้เลนจักรยาน
เช่น คนใช้รถยนต์ส่วนตัวและมอเตอร์ไซด์ เป็นต้น 9.5
3 ไม่มีความเห็น 10.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ