เอแบคโพลล์: ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสุขของคนภายในครอบครัว ท่ามกลางสถานการณ์ขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองของสังคมไทย

ข่าวผลสำรวจ Tuesday November 4, 2008 10:49 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) (Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ศึกษาปัจจัยที่มี ผลต่อความสุขของคนภายในครอบครัว ท่ามกลางสถานการณ์ขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองของสังคมไทย กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน เขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,855 ราย ดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม — 3 พฤศจิกายน 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ที่ถูกศึกษาหรือประมาณร้อยละ 90 ติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำทุกสัปดาห์

เมื่อถามถึงระดับความสุขต่อบรรยากาศภายในครอบครัวท่ามกลางสถานการณ์ขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองของสังคมไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.5 ยังคงมีความสุขต่อบรรยากาศของคนภายในครอบครัวระดับมาก ถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 13.8 มีความสุขระดับ ปานกลาง และเพียงร้อยละ 13.7 มีความสุขระดับน้อยถึงไม่มีความสุขเลย และเมื่อพิจารณาค่าความสุขของประชาชนต่อบรรยากาศภายในครอบครัว พบว่ามีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ 6.92 จากคะแนนเต็ม 10 ซึ่งแปลความได้ว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ยังคงมีความสุขค่อนข้างมากต่อบรรยากาศ ของคนภายในครอบครัว ท่ามกลางสถานการณ์ขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองของสังคมไทยเวลานี้

เมื่อจำแนกออกตาม เพศ พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้หญิงมีสัดส่วนของผู้ที่มีความสุขต่อบรรยากาศภายในครอบครัวระดับมาก ถึง มากที่สุด อยู่ ร้อยละ 75.0 ซึ่งมากกว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ชายที่มีอยู่ร้อยละ 69.5 และเมื่อจำแนกออกตามช่วงอายุ พบว่า คนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีมีความสุขต่อ บรรยากาศภายในครอบครัวอยู่ร้อยละ 67.0 ซึ่งมีสัดส่วนต่ำกว่า คนในทุกกลุ่มช่วงอายุที่สูงกว่า โดยเห็นได้ชัดเจนว่า คนที่อายุ 50 ปีขึ้นไปและมีความ สุขต่อบรรยากาศภายในครอบครัวมีสูงถึงร้อยละ 74.2 เลยทีเดียว

ที่น่าสนใจคือ เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า คนที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีและมีความสุขต่อบรรยากาศภายในครอบครัวของตน สูงถึงร้อยละ 86.4 ซึ่งสูงกว่ากลุ่มคนที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีอยู่ร้อยละ 78.2 และผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีอยู่ร้อยละ 70.0 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อจำแนกกลุ่มตัวอย่างออกตามพรรคการเมืองที่เคยเลือกในการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ผ่านมา พบว่า คนที่ เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์มีสัดส่วนของผู้ที่มีความสุขต่อบรรยากาศภายในครอบครัวสูงสุด คือร้อยละ 76.1 รองลงมาคือ คนเคยเลือกพรรคพลัง ประชาชนมีอยู่ร้อยละ 71.1 และคนเคยเลือกพรรคอื่นๆ มีอยู่ร้อยละ 70.0 ตามลำดับ

ที่น่าเป็นห่วงคือ ขณะนี้ ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.0 พบเห็นการที่คนไทยในสังคมไทยกำลังใช้ความรุนแรงในการแก้ ปัญหา และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 7.59 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งหมายความว่ามีการใช้ความรุนแรงระดับมาก อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า มี ตัวอย่างร้อยละ 36.2 ที่พบเห็นคนในชุมชนมีการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา และค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.54 และที่น่าสนใจคือ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อย ละ 75.9 พบเห็นสมาชิกในครอบครัวใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาระดับน้อยถึงไม่มีเลย แต่มีอยู่ร้อยละ 13.3 ที่ใช้ความรุนแรงระดับมาก ถึง มากที่ สุดภายในครอบครัวของตนเอง และค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.44 เท่านั้น

ประเด็นสำคัญคือ ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ต่อความสุขของประชาชนต่อบรรยากาศภายในครอบครัว พบว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดคือ สุขภาพใจ (.302) นั่นคือ ถ้าคนในครอบครัวมีสุขภาพใจดี ปลอดจากสภาวะกดดัน ตึงเครียด ไม่กังวล คือมีสุขภาพจิตดีมาก เพียงไรจะทำให้มีความสุขต่อบรรยากาศภายในครอบครัวมากขึ้นตามไปด้วย รองลงมาคือ สุขภาพกาย (.163) แต่ปัจจัยสำคัญอันดับที่สาม คือ การใช้ ความรุนแรงภายในครอบครัว (-.160) ซึ่งผลวิจัยพบว่า ยิ่งคนพบเห็นการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว ด้วยวาจาและกาย การกระทำต่างๆ จะยิ่ง ทำให้ความสุขภายในครอบครัวลดลง

นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญประการที่สี่และรองๆ ลงไป คือ การเห็นคนไทยแสดงความจงรักภักดี (.155) บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนใน ชุมชน (.147) การศึกษา (.156) และความพอใจในหน้าที่การงาน ( .065) ซึ่งปัจจัยสำคัญเหล่านี้ยิ่งมีมากเพียงไรจะทำให้ประชาชนคนไทยมีความ สุขต่อบรรยากาศภายในครอบครัวสูงขึ้นตามไปด้วย โดยปัจจัยเหล่านี้มีความสัมพันธ์ต่อความสุขของประชาชนต่อบรรยากาศภายในครอบครัวสูงถึง .598 มีความหมายว่า มีความสัมพันธ์ค่อนข้างมาก และถ้านำปัจจัยเหล่านี้รวมกันทั้งหมดสามารถอธิบายความสุขต่อบรรยากาศภายในครอบครัวได้ร้อยละ 35.5

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย

1. เพื่อสำรวจระดับความสุขของประชาชนภายในครอบครัว

2. เพื่อค้นหาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อระดับความสุขของประชาชนภายในครอบครัว

3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR (แองเคอร์) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสุขของคนภาย ในครอบครัว ท่ามกลางสถานการณ์ขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองของสังคมไทย กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัด ปริมณฑล จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,855 ราย ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม — 3 พฤศจิกายน 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิค วิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำ สำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบ สอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น 119 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 54.8 เป็นหญิง

ร้อยละ 45.2 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 9.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 30.6 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 26.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และ ร้อยละ 13.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 71.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 26.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 3.6 อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 15.0 เป็นพนักงานเอกชน/ลูกจ้างเอกชน

ร้อยละ 34.6 มีธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ/ค้าขาย

ร้อยละ 7.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ร้อยละ 20.7 รับจ้างทั่วไป/รับจ้างใช้แรงงาน

ร้อยละ 10.8 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 7.5 ว่างงาน/ไม่มีรายได้/ไม่ประกอบอาชีพ/ตกงาน

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชน ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชน ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา          ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน                                        62.1
2          3-4 วันต่อสัปดาห์                                        16.8
3          1-2 วันต่อสัปดาห์                                         9.1
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์                                     10.0
5          ไม่ได้ติดตามเลย                                          2.0
          รวมทั้งสิ้น                                              100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขที่มีต่อบรรยากาศภายในครอบครัว ท่ามกลางสถานการณ์
ขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองของสังคมไทย
ลำดับที่          ระดับความสุขของประชาชนต่อบรรยากาศภายในครอบครัว                          ค่าร้อยละ
1          มีความสุขมาก ถึง มากที่สุด                                                      72.5
2          ปานกลาง                                                                   13.8
3          น้อย ถึง ไม่มีความสุขเลย                                                       13.7
          รวมทั้งสิ้น                                                                   100.0
        ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขของประชาชนต่อบรรยากาศภายในครอบครัว เมื่อคะแนนเต็ม 10             6.92

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขที่มีต่อบรรยากาศภายในครอบครัว ท่ามกลางสถานการณ์
ขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองของสังคมไทย  จำแนกตาม เพศ
ลำดับที่          ระดับความสุขของประชาชนต่อบรรยากาศภายในครอบครัว    ชาย           หญิง
1          มีความสุขมาก ถึง มากที่สุด                              69.5          75.0
2          ปานกลาง                                           16.2          11.9
3          น้อย ถึง ไม่มีความสุขเลย                               14.3          13.1
          รวมทั้งสิ้น                                           100.0         100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขที่มีต่อบรรยากาศภายในครอบครัว ท่ามกลางสถานการณ์
ขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองของสังคมไทย  จำแนกตาม ช่วงอายุ
ลำดับที่          ความสุขต่อบรรยากาศในครอบครัว   ต่ำกว่า 20 ปี   20 — 29 ปี    30 — 39 ปี   40 — 49 ปี   50 ปีขึ้นไป
1          มีความสุขมาก ถึง มากที่สุด               67.0        71.0          75.7        72.1       74.2
2          ปานกลาง                            12.7        14.9          12.0        13.7       15.8
3          น้อย ถึง ไม่มีความสุขเลย                20.3        14.1          12.3        14.2       10.0
          รวมทั้งสิ้น                            100.0       100.0         100.0       100.0      100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขที่มีต่อบรรยากาศภายในครอบครัว ท่ามกลางสถานการณ์ขัดแย้ง
รุนแรงทางการเมืองของสังคมไทย  จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่          ระดับความสุขของประชาชนต่อบรรยากาศภายในครอบครัว  ต่ำกว่าปริญญาตรี   ปริญญาตรี    สูงกว่าปริญญาตรี
1          มีความสุขมาก ถึง มากที่สุด                                 70.0        78.2         86.4
2          ปานกลาง                                              14.7        11.7          8.5
3          น้อย ถึง ไม่มีความสุขเลย                                  15.3        10.1          5.1
          รวมทั้งสิ้น                                              100.0       100.0        100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขที่มีต่อบรรยากาศภายในครอบครัว ท่ามกลางสถานการณ์ขัดแย้ง
รุนแรงทางการเมืองของสังคมไทย  จำแนกตามพรรคการเมืองที่เคยเลือก
ลำดับที่          ระดับความสุขของประชาชนต่อบรรยากาศภายในครอบครัว   ประชาธิปัตย์   พลังประชาชน    พรรคอื่นๆ
1          มีความสุขมาก ถึง มากที่สุด                                76.1        71.1         70.0
2          ปานกลาง                                             11.7        14.3         15.7
3          น้อย ถึง ไม่มีความสุขเลย                                 12.2        14.6         14.3
          รวมทั้งสิ้น                                             100.0       100.0        100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการใช้ความรุนแรงของคนไทยในปัจจุบัน
ลำดับที่          การพบเห็นการใช้ความรุนแรงของคนไทยในปัจจุบัน    น้อย-ไม่มีเลย   ปานกลาง   มาก-มากที่สุด  ค่าเฉลี่ยจากคะแนน
                                                         ค่าร้อยละ     ค่าร้อยละ    ค่าร้อยละ     เต็ม 10 คะแนน
1          คนไทยในสังคมกำลังใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา         8.2         9.8        82.0          7.59
2          คนในชุมชนมีการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา             44.9        18.9        36.2          4.54
3          สมาชิกในครอบครัวมีการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา       75.9        10.8        13.3          2.44

ตารางที่ 8 แสดงค่าสถิติวิจัยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อความสุขของประชาชนต่อบรรยากาศภายในครอบครัว
ลำดับที่          ปัจจัยสำคัญ                                  ค่าสัมประสิทธิ์
1          สุขภาพใจ                                         .302
2          สุขภาพกาย                                        .163
3          การใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว                     -.160
4          การเห็นคนไทยแสดงความจงรักภักดี                      .155
5          บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน                    .147
6          การศึกษา                                         .156
7          ความพอใจในหน้าที่การงาน                            .065

ค่า R = .598 ; ค่า Adjusted R Square = .355

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ