ที่มาของโครงการ
ประเทศไทยเป็นประเทศแห่งพระพุทธศาสนา ที่ประกอบไปด้วยพุทธศาสนิกชนมากถึง ร้อยละ 95 ของประชากร ทั่วประเทศทั้งหมดกว่า
60 ล้านคน วันมาฆบูชาที่กำลังจะมาถึงนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง เพราะถือได้ว่าเป็นวันเกิดแห่ง
พระธรรม เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประกาศหลักธรรม คำสั่งสอนที่ชื่อว่า “โอวาทปาฏิโมกข์” ให้แก่พระอรหันต์เพื่อนำไปเผยแพร่
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวันมาฆบูชา จึงทำการศึกษาวิจัยเพื่อสะท้อนระดับความรู้ ความ
เข้าใจ รวมทั้งความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ในวันมาฆบูชา เพื่อนำเสนอต่อสังคมโดยรวม โดยทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จาก
นักเรียน/นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ในสถานศึกษาที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยการจัดส่งอาจารย์
เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้ ความเข้าใจของนักเรียน/นักศึกษา เรื่องวันมาฆบูชา
2. เพื่อสำรวจความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ของนักเรียน/นักศึกษาในวันมาฆบูชา
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ทดสอบความรู้ ความเข้าใจของเด็ก-เยาวชนไทย
เกี่ยวกับวันมาฆบูชา และความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ในวันมาฆบูชา: กรณีศึกษานักเรียน/นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจ ระหว่างวันที่ 1-9 กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ นักเรียน/นักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 14-25 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดม
ศึกษา ในสถานศึกษาที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิหลายขั้น (Stratified Multi-stage Sampling) และกำหนดลักษณะ
ของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมาย
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,569 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ +/- ร้อยละ 3
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 40.4 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 59.6 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 38.2 กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา
ร้อยละ 11.3 กำลังศึกษาอยู่ในระดับอาชีวศึกษา
และร้อยละ 50.5 กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา
โดยร้อยละ 65.4 กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาสังกัดรัฐบาล
ในขณะที่อีกร้อยละ 34.6 กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาสังกัดเอกชน
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “ทดสอบความรู้
ความเข้าใจของเด็ก-เยาวชนไทยเกี่ยวกับวันมาฆบูชา และความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ในวันมาฆบูชา: กรณีศึกษานักเรียน/นักศึกษาใน
เขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน/นักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 14-25 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา
อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ในสถานศึกษาที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,569 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 1-9 กุมภาพันธ์ 2549 ประเด็น
สำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
จากประเด็นการสำรวจความรู้ ความเข้าใจของนักเรียน/นักศึกษาที่มีต่อวันมาฆบูชานั้น ผลการสำรวจล่าสุดพบว่า นักเรียน/นักศึกษาส่วน
ใหญ่หรือร้อยละ 70 ทราบว่าวันมาฆบูชาที่กำลังจะมาถึงนี้ตรงกับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2549 ในขณะที่ร้อยละ 30.0 ระบุว่าไม่ทราบว่าตรงกับวันและ
เดือนอะไร
เมื่อสอบถามเชิงทดสอบความรู้ของเด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับวันมาฆบูชา ผลสำรวจพบว่าคะแนนโดยรวมเด็กและ
เยาวชนไทยสอบผ่านได้คะแนน 6.99 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามทีละประเด็นเกี่ยวกับวันมาฆบูชา พบว่าเด็กและเยาวชนบางส่วนยังต้องได้รับความรู้เกี่ยวกับวันมาฆบูชาให้ถูก
ต้อง ดังรายละเอียดผลสำรวจต่อไปนี้
- นักเรียน/นักศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.1 ระบุได้อย่างถูกต้องว่า “วันมาฆบูชาตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3” ในขณะที่เพียง
ร้อยละ 9.9 ตอบไม่ถูก ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.8 ของนักเรียนนักศึกษา สามารถตอบได้อย่างถูกต้องว่า “พระพุทธเจ้าประกาศ
- หลักธรรม คำสั่งสอนให้แก่พระอรหันต์ในวันมาฆบูชา เพื่อนำไปเผยแพร่” ในขณะที่ร้อยละ 20.2 ตอบไม่ถูก
- นักเรียน/นักศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.6 สามารถระบุได้อย่างถูกต้องว่า “การมาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมายของพระภิกษุจำนวน
1,250 รูป เกิดขึ้นในวันมาฆบูชา” ในขณะที่ร้อยละ 15.4 ตอบไม่ถูก
- นักเรียน/นักศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.6 ตอบได้อย่างถูกต้องว่า “พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา
และเวียนเทียนในวันมาฆบูชา” ในขณะที่เพียงร้อยละ 8.4 เท่านั้นที่ตอบไม่ถูกต้อง
เมื่อสอบถามถึงหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชา ตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 48.2 ระบุว่าหลักธรรม
นั้น คือ โอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งเป็นคำตอบที่ถูกต้อง ในขณะที่ร้อยละ 30.7 ระบุชื่อหลักธรรมผิด อาทิ จาตุรงคสันนิบาต มัชฌิมาปฏิปทา
ธรรมจักกัปปวัตนสูตร และร้อยละ 21.1 ระบุไม่ทราบ หลังจากนั้นได้สอบถามต่อเฉพาะผู้ที่ตอบชื่อหลักธรรมถูกว่าใจความสำคัญของ โอวาทปาฏิโมกข์
คืออะไร พบว่า ร้อยละ 44.4 สรุปใจความสำคัญได้ถูก นั่นคือ การทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ในขณะที่ร้อยละ 11.1 สรุปใจความ
สำคัญผิดได้ว่า การเดินทางสายกลางบ้าง การดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาทบ้าง ความละอายและเกรงกลัวต่อบาปบ้าง เป็นต้น นอกจากนี้ ตัวอย่าง
ถึง 1 ใน 3 หรือร้อยละ 38.1 ระบุว่าถูกทุกข้อ และร้อยละ 6.4 ระบุว่าไม่ทราบ
ประเด็นที่น่าสนใจ คือ กิจกรรมที่นักเรียน/นักศึกษาตั้งใจจะทำในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ พบว่า
1) กิจกรรมทางศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 82.9 ระบุจะทำบุญ ตักบาตร ร้อยละ 81.3 ระบุจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุคคลที่ล่วงลับไป
แล้ว ร้อยละ 59.1 ระบุจะไปเวียนเทียน และร้อยละ 40.2 ระบุจะไปฟังเทศน์ ฟังธรรม
2) กิจกรรมกับครอบครัว ตัวอย่างร้อยละ 90.1 ระบุจะอยู่บ้าน พักผ่อนกับครอบครัว ร้อยละ 87.3 ระบุจะรับประทานอาหารร่วมกันกับ
ครอบครัว ร้อยละ 80.2 ระบุจะช่วยพ่อแม่/ผู้ปกครองทำความสะอาดที่พักอาศัย ร้อยละ 68.3 ระบุจะทำกิจกรรมร่วมกันกับครอบครัว เช่น เลี้ยงสัตว์
ปลูกต้นไม้ เล่นกีฬา และร้อยละ 35.1 ระบุจะไปพักผ่อนต่างจังหวัดกับครอบครัว
3) กิจกรรมสันทนาการ ตัวอย่างร้อยละ 67.0 ระบุจะซื้อของ/เที่ยวห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 63.6 ระบุจะออกไปเที่ยวหรือใช้เวลาอยู่
กับแฟน/คนรัก ร้อยละ 54.9 ระบุจะดูหนัง/ดูภาพยนตร์ ร้อยละ 39.2 ระบุจะร้องเพลง/ร้องคาราโอเกะ ร้อยละ 36.2 ระบุจะเล่นดนตรี ร้อยละ
34.7 ระบุจะเล่นกีฬา/ออกกำลังกาย และร้อยละ 33.6 ระบุจะเล่นเกมออนไลน์
4) กิจกรรมอื่นๆ ตัวอย่างร้อยละ 92.8 ระบุจะนอนหลับ พักผ่อน ร้อยละ 76.4 ระบุจะอ่านหนังสือเรียน/ทบทวนบทเรียน/ทำการบ้าน
ร้อยละ 46.6 ระบุจะทำกิจกรรมเพื่อสังคม เช่น เลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า ชมรมค่ายอาสาสมัคร บริจาคเงิน/สิ่งของ ร้อยละ 25.3 ระบุจะไปเสริม
สวย เช่น ทำผม ทำเล็บ ทำหน้า ทำสปา ร้อยละ 21.8 ระบุจะรับจ้างทำงานหารายได้พิเศษ ร้อยละ 13.1 ระบุจะไปเที่ยวสถานบันเทิง เช่น ผับ
ดิสโก้ เธค และร้อยละ 12.2 ระบุจะเล่นการพนัน เช่น ไพ่ ทายผลพนันบอล สลากหรือหวย ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาถึงภาพรวมของกิจกรรมที่นักเรียน/นักศึกษาตั้งใจจะทำในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ พบว่า กิจกรรมที่ตัวอย่างตั้งใจจะทำมากที่สุด
3 อันดับแรก ได้แก่ นอนหลับพักผ่อน (ร้อยละ 92.8) อยู่บ้านพักผ่อนกับครอบครัว (ร้อยละ 90.1) และรับประทานอาหารร่วมกันกับครอบครัว
(87.3) ตามลำดับ
ที่น่าเป็นห่วง คือ ยังมีนักเรียน/นักศึกษาส่วนหนึ่งตั้งใจจะทำกิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ต่างๆ ต่อไปนี้ อาทิ เล่นเกมออนไลน์ ร้อยละ 33.6
เที่ยวสถานบันเทิง เช่น ผับ ดิสโก้ เธค ร้อยละ 13.1 และเล่นการพนัน เช่น ไพ่ ทายผลพนันบอล สลากหรือหวย ร้อยละ 12.2 ตามลำดับ
สำหรับพฤติกรรมที่นักเรียน/นักศึกษาตั้งใจจะลด-ละ-เลิกในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ ได้แก่ สิ่งเสพติด เช่น สุรา บุหรี่ ความขี้เกียจ เช่น ขี้
เกียจอ่านหนังสือ ขี้เกียจทำการบ้าน นิสัยการพูดไม่ดี เช่น พูดปด พูดโกหก พูดนินทา พูดส่อเสียด พูดไร้สาระ พฤติกรรมที่ไม่ดีในห้อง
เรียน เช่น พูดคุยในห้องเรียน นอนหลับในห้องเรียน โดดเรียน หนีเรียน มาโรงเรียนสาย อบายมุข เช่น การพนัน วีซีดีโป๊ การกินเนื้อสัตว์/การฆ่า
สัตว์/ทารุณสัตว์ การนอนดึก ตื่นสาย การเที่ยวสถานบันเทิงยามค่ำคืน เช่น ผับ ดิสโก้ เธค การพูดหยาบคาย และเกมออนไลน์ เป็นต้น
สำหรับการให้ความสำคัญระหว่างวันมาฆบูชาและวันวาเลนไทน์ ผลสำรวจ พบว่า ตัวอย่างเกือบครึ่ง หรือร้อยละ 48.7 ให้ความสำคัญกับ
วันมาฆบูชามากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 13.8 ให้ความสำคัญกับวันวาเลนไทน์มากกว่า และร้อยละ 37.5 ระบุให้ความสำคัญทั้ง 2 วันเท่ากัน
ดร.นพดล ผอ.สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้น่าจะเป็นการยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า เด็กและเยาวชนไทยส่วนใหญ่มีคุณภาพที่
ดีเป็นกลุ่มคนที่มีความรู้ความเข้าใจต่อหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา นอกจากนี้นักเรียน/นักศึกษา ยังให้ความสำคัญกับวันมาฆบูชามากกว่าวันวา
เลนไทน์ และมีความตั้งใจจะทำความดีและลด-ละ-เลิกพฤติกรรมที่ผิดศีลธรรม
“ความตั้งใจที่จะทำสิ่งดีๆ เหล่านี้ของเด็กและเยาวชนไทยกำลังรอว่าผู้ใหญ่ในสังคมจะให้ความสำคัญกับความตั้งใจดีๆ ของพวกเขาหรือ
ไม่ กลุ่มบุคคลนัยสำคัญของพวกเขาเช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ทั้งหลายควรใช้โอกาสวันมาฆบูชานี้ทำให้ความตั้งใจของเด็กและเยาวชนบรรลุถึง
กิจกรรมที่ดีได้ โรงเรียนและชุมชนควรจัดสร้างบรรยากาศของการทำความดีให้เกิดขึ้นโดยมีกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นกำลังสำคัญในการทำกิจกรรม
ต่างๆ เช่นการทำบุญตักบาตรร่วมกัน การทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์เพื่อโรงเรียนและชุมชน การเดินทางไปมอบอาหารและสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น
แก่ผู้ยากไร้หรือคนป่วยตามสถานที่สงเคราะห์ต่างๆ เป็นต้น” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สื่อมวลชนเป็นสถาบันที่สำคัญและมีผลชี้นำชี้แนะที่สร้างสรรค์ให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชนได้อย่างมาก สถาบันสื่อมวล
ชนจึงน่าที่จะช่วยกันรณรงค์ให้เด็กและเยาวชนหันมาสนใจวันสำคัญทางศาสนา และแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่ดีไม่ใช่มีแต่เพียงความตั้งใจเท่านั้น นอกจากนี้
รัฐบาลก็ควรให้กระทรวงวัฒนธรรมเป็นเจ้าภาพในการกำหนดยุทธศาสตร์ขยายโอกาสและสร้างบรรยากาศแห่งการทำความดีให้กับเด็กและเยาวชน
จำกัดพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการทำผิดศีลธรรมให้อยู่ในวงจำกัดของสังคม ผลที่ตามมาก็คือ เด็กและเยาวชนของสังคมน่าจะสามารถบรรลุถึงความสำเร็จในการ
ทำกิจกรรมที่ดีตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาได้อย่างยั่งยืนต่อไป
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ว่าวันมาฆบูชาที่กำลังจะมาถึงนี้ตรงกับวันและเดือนอะไร
ลำดับที่ การรับรู้ว่าวันมาฆบูชาที่กำลังจะมาถึงนี้ตรงกับวันและเดือนอะไร ค่าร้อยละ
1 ทราบว่าตรงกับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 70.0
2 ไม่ทราบ 30.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้ ความเข้าใจเรื่องวันมาฆบูชา
ลำดับที่ ความรู้ ความเข้าใจเรื่องวันมาฆบูชา ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น
1 วันมาฆบูชา คือ วันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน 30.4 69.6 *** 100.0
2 วันมาฆบูชาตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 90.1 *** 9.9 100.0
3 พระพุทธเจ้าประกาศหลักธรรม คำสั่งสอนให้แก่พระอรหันต์ในวันมาฆบูชา เพื่อนำไปเผยแพร่ 79.8 *** 20.2 100.0
4 การมาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมายของพระภิกษุจำนวน 1250 รูป เกิดขึ้นในวันมาฆบูชา 84.6 *** 15.4 100.0
5 พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา และเวียนเทียนในวันมาฆบูชา 91.6 *** 8.4 100.0
6 ประเพณีตักบาตรเทโว จัดขึ้นในวันมาฆบูชา 26.9 73.1 *** 100.0
7 วันมาฆบูชาเป็นวันหยุดราชการ 90.6 *** 9.4 100.0
8 พระรัตนตรัย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา 24.0 76.0 *** 100.0
9 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญของโลก 55.9 44.1 *** 100.0
10 จุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนา คือ ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ 92.4 7.6 *** 100.0
คะแนนรวมเฉลี่ย 6.99 คะแนน (จากคะแนนเต็มรวม 10 คะแนน) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 1.59
หมายเหตุ *** เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชา
ลำดับที่ หลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชา ค่าร้อยละ
1 โอวาทปาฏิโมกข์ *** 48.2
2 ธรรมจักกัปปวัตนสูตร 19.1
3 จาตุรงคสันนิบาต 9.2
4 มัชฌิมาปฏิปทา 2.4
5 ไม่ทราบ 21.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ *** เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่สรุปใจความสำคัญของหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชา
(เฉพาะผู้ที่ตอบหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชาถูกต้อง คือ โอวาทปาฏิโมกข์)
ลำดับที่ สรุปใจความสำคัญของหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชา ค่าร้อยละ
1 การทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ *** 44.4
2 การเดินทางสายกลาง 5.7
3 การดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท 3.9
4 ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป 1.5
5 ถูกทุกข้อ 38.1
6 ไม่ทราบ 6.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ *** เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับศาสนาในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้
ลำดับที่ ความตั้งใจที่จะกิจกรรมที่เกี่ยวกับศาสนาในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ ทำ ไม่ทำ รวมทั้งสิ้น
1 ทำบุญตักบาตร 82.9 17.1 100.0
2 ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว 81.3 18.7 100.0
3 เวียนเทียน 59.1 40.9 100.0
4 ฟังเทศน์ ฟังธรรม 40.2 59.8 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับครอบครัวในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้
ลำดับที่ ความตั้งใจที่จะกิจกรรมที่เกี่ยวกับครอบครัวในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ ทำ ไม่ทำ รวมทั้งสิ้น
1 อยู่บ้าน พักผ่อนกับครอบครัว 90.1 9.9 100.0
2 รับประทานอาหารร่วมกันกับครอบครัว 87.3 12.7 100.0
3 ช่วยพ่อแม่ / ผู้ปกครองทำความสะอาดที่พักอาศัย 80.2 19.8 100.0
4 ทำกิจกรรมร่วมกันกับครอบครัว เช่น เลี้ยงสัตว์ ปลูกต้นไม้เล่นกีฬา 68.3 31.7 100.0
5 ไปพักผ่อนต่างจังหวัดกับครอบครัว 35.1 64.9 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับสันทนาการในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้
ลำดับที่ ความตั้งใจที่จะกิจกรรมที่เกี่ยวกับสันทนาการในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ ทำ ไม่ทำ รวมทั้งสิ้น
1 ซื้อของ / เที่ยวห้างสรรพสินค้า 67.0 33.0 100.0
2 ออกไปเที่ยวหรือใช้เวลาอยู่กับ แฟน / คนรัก 63.6 36.4 100.0
3 ดูหนัง / ดูภาพยนตร์ 54.9 45.1 100.0
4 ร้องเพลง / ร้องคาราโอเกะ 39.2 60.8 100.0
5 เล่นดนตรี 36.2 63.8 100.0
6 เล่นกีฬา / ออกกำลังกาย 34.7 65.3 100.0
7 เล่นเกมออนไลน์ 33.6 66.4 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมอื่นๆ ในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้
ลำดับที่ ความตั้งใจที่จะกิจกรรมอื่นๆ ในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ ทำ ไม่ทำ รวมทั้งสิ้น
1 นอนหลับพักผ่อน 92.8 7.2 100.0
2 อ่านหนังสือเรียน / ทบทวนบทเรียน / ทำการบ้าน 76.4 23.6 100.0
3 ทำกิจกรรมเพื่อสังคม เช่น เลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า ชมรมค่ายอาสาสมัคร บริจาคเงิน/สิ่งของ 46.6 53.4 100.0
4 เสริมสวย เช่น ทำผม ทำเล็บ ทำหน้า ทำสปา 25.3 74.7 100.0
5 รับจ้างทำงานหารายได้พิเศษ 21.8 78.2 100.0
6 เที่ยวสถานบันเทิง เช่น ผับ ดิสโก้ เธค 13.1 86.9 100.0
7 เล่นการพนัน เช่น ไพ่ ทายผลพนันบอล สลากหรือหวย 12.2 87.8 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมที่ตั้งใจจะ “ลด-ละ-เลิก” ในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พฤติกรรมที่ตั้งใจจะ “ลด-ละ-เลิก” ในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ ค่าร้อยละ
1 ลด-ละ-เลิกสิ่งเสพติด เช่น สุรา บุหรี่ 24.7
2 ลด-ละ-เลิกขี้เกียจ เช่น ขี้เกียจอ่านหนังสือ ขี้เกียจทำการบ้าน 22.0
3 ลด-ละ-เลิกนิสัยการพูดไม่ดี เช่น พูดปด พูดโกหก พูดนินทา พูดส่อเสียด พูดไร้สาระ 19.6
4 ลด-ละ-เลิกพฤติกรรมที่ไม่ดีในห้องเรียน เช่น พูดคุยในห้องเรียน นอนหลับในห้องเรียน-
โดดเรียน หนีเรียน มาโรงเรียนสาย 11.5
5 ลด-ละ-เลิกอบายมุข เช่น การพนัน วีซีดีโป๊ 11.4
6 ลด-ละ-เลิกการกินเนื้อสัตว์/การฆ่าสัตว์/ทารุณสัตว์ 10.5
7 ลด-ละ-เลิกการนอนดึก ตื่นสาย 10.2
8 ลด-ละ-เลิกการเที่ยวสถานบันเทิงยามค่ำคืน เช่น ผับ ดิสโก้ เธค 10.1
9 ลด-ละ-เลิกนิสัยการพูดหยาบคาย 8.9
10 ลด-ละ-เลิกการเล่นเกมออนไลน์ 8.5
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้ความสำคัญระหว่าง “วันมาฆบูชา” และ “วันวาเลนไทน์”
ลำดับที่ การให้ความสำคัญระหว่าง “วันมาฆบูชา” และ “วันวาเลนไทน์” ค่าร้อยละ
1 ให้ความสำคัญ “วันมาฆบูชา” มากกว่า 48.7
2 ให้ความสำคัญ “วันวาเลนไทน์” มากกว่า 13.8
3 ให้ความสำคัญเท่ากัน 37.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ประเทศไทยเป็นประเทศแห่งพระพุทธศาสนา ที่ประกอบไปด้วยพุทธศาสนิกชนมากถึง ร้อยละ 95 ของประชากร ทั่วประเทศทั้งหมดกว่า
60 ล้านคน วันมาฆบูชาที่กำลังจะมาถึงนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง เพราะถือได้ว่าเป็นวันเกิดแห่ง
พระธรรม เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประกาศหลักธรรม คำสั่งสอนที่ชื่อว่า “โอวาทปาฏิโมกข์” ให้แก่พระอรหันต์เพื่อนำไปเผยแพร่
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวันมาฆบูชา จึงทำการศึกษาวิจัยเพื่อสะท้อนระดับความรู้ ความ
เข้าใจ รวมทั้งความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ในวันมาฆบูชา เพื่อนำเสนอต่อสังคมโดยรวม โดยทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จาก
นักเรียน/นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ในสถานศึกษาที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยการจัดส่งอาจารย์
เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้ ความเข้าใจของนักเรียน/นักศึกษา เรื่องวันมาฆบูชา
2. เพื่อสำรวจความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ของนักเรียน/นักศึกษาในวันมาฆบูชา
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ทดสอบความรู้ ความเข้าใจของเด็ก-เยาวชนไทย
เกี่ยวกับวันมาฆบูชา และความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ในวันมาฆบูชา: กรณีศึกษานักเรียน/นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจ ระหว่างวันที่ 1-9 กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ นักเรียน/นักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 14-25 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดม
ศึกษา ในสถานศึกษาที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิหลายขั้น (Stratified Multi-stage Sampling) และกำหนดลักษณะ
ของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมาย
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,569 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ +/- ร้อยละ 3
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 40.4 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 59.6 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 38.2 กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา
ร้อยละ 11.3 กำลังศึกษาอยู่ในระดับอาชีวศึกษา
และร้อยละ 50.5 กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา
โดยร้อยละ 65.4 กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาสังกัดรัฐบาล
ในขณะที่อีกร้อยละ 34.6 กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาสังกัดเอกชน
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “ทดสอบความรู้
ความเข้าใจของเด็ก-เยาวชนไทยเกี่ยวกับวันมาฆบูชา และความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ในวันมาฆบูชา: กรณีศึกษานักเรียน/นักศึกษาใน
เขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน/นักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 14-25 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา
อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ในสถานศึกษาที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,569 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 1-9 กุมภาพันธ์ 2549 ประเด็น
สำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
จากประเด็นการสำรวจความรู้ ความเข้าใจของนักเรียน/นักศึกษาที่มีต่อวันมาฆบูชานั้น ผลการสำรวจล่าสุดพบว่า นักเรียน/นักศึกษาส่วน
ใหญ่หรือร้อยละ 70 ทราบว่าวันมาฆบูชาที่กำลังจะมาถึงนี้ตรงกับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2549 ในขณะที่ร้อยละ 30.0 ระบุว่าไม่ทราบว่าตรงกับวันและ
เดือนอะไร
เมื่อสอบถามเชิงทดสอบความรู้ของเด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับวันมาฆบูชา ผลสำรวจพบว่าคะแนนโดยรวมเด็กและ
เยาวชนไทยสอบผ่านได้คะแนน 6.99 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามทีละประเด็นเกี่ยวกับวันมาฆบูชา พบว่าเด็กและเยาวชนบางส่วนยังต้องได้รับความรู้เกี่ยวกับวันมาฆบูชาให้ถูก
ต้อง ดังรายละเอียดผลสำรวจต่อไปนี้
- นักเรียน/นักศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.1 ระบุได้อย่างถูกต้องว่า “วันมาฆบูชาตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3” ในขณะที่เพียง
ร้อยละ 9.9 ตอบไม่ถูก ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.8 ของนักเรียนนักศึกษา สามารถตอบได้อย่างถูกต้องว่า “พระพุทธเจ้าประกาศ
- หลักธรรม คำสั่งสอนให้แก่พระอรหันต์ในวันมาฆบูชา เพื่อนำไปเผยแพร่” ในขณะที่ร้อยละ 20.2 ตอบไม่ถูก
- นักเรียน/นักศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.6 สามารถระบุได้อย่างถูกต้องว่า “การมาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมายของพระภิกษุจำนวน
1,250 รูป เกิดขึ้นในวันมาฆบูชา” ในขณะที่ร้อยละ 15.4 ตอบไม่ถูก
- นักเรียน/นักศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.6 ตอบได้อย่างถูกต้องว่า “พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา
และเวียนเทียนในวันมาฆบูชา” ในขณะที่เพียงร้อยละ 8.4 เท่านั้นที่ตอบไม่ถูกต้อง
เมื่อสอบถามถึงหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชา ตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 48.2 ระบุว่าหลักธรรม
นั้น คือ โอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งเป็นคำตอบที่ถูกต้อง ในขณะที่ร้อยละ 30.7 ระบุชื่อหลักธรรมผิด อาทิ จาตุรงคสันนิบาต มัชฌิมาปฏิปทา
ธรรมจักกัปปวัตนสูตร และร้อยละ 21.1 ระบุไม่ทราบ หลังจากนั้นได้สอบถามต่อเฉพาะผู้ที่ตอบชื่อหลักธรรมถูกว่าใจความสำคัญของ โอวาทปาฏิโมกข์
คืออะไร พบว่า ร้อยละ 44.4 สรุปใจความสำคัญได้ถูก นั่นคือ การทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ในขณะที่ร้อยละ 11.1 สรุปใจความ
สำคัญผิดได้ว่า การเดินทางสายกลางบ้าง การดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาทบ้าง ความละอายและเกรงกลัวต่อบาปบ้าง เป็นต้น นอกจากนี้ ตัวอย่าง
ถึง 1 ใน 3 หรือร้อยละ 38.1 ระบุว่าถูกทุกข้อ และร้อยละ 6.4 ระบุว่าไม่ทราบ
ประเด็นที่น่าสนใจ คือ กิจกรรมที่นักเรียน/นักศึกษาตั้งใจจะทำในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ พบว่า
1) กิจกรรมทางศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 82.9 ระบุจะทำบุญ ตักบาตร ร้อยละ 81.3 ระบุจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุคคลที่ล่วงลับไป
แล้ว ร้อยละ 59.1 ระบุจะไปเวียนเทียน และร้อยละ 40.2 ระบุจะไปฟังเทศน์ ฟังธรรม
2) กิจกรรมกับครอบครัว ตัวอย่างร้อยละ 90.1 ระบุจะอยู่บ้าน พักผ่อนกับครอบครัว ร้อยละ 87.3 ระบุจะรับประทานอาหารร่วมกันกับ
ครอบครัว ร้อยละ 80.2 ระบุจะช่วยพ่อแม่/ผู้ปกครองทำความสะอาดที่พักอาศัย ร้อยละ 68.3 ระบุจะทำกิจกรรมร่วมกันกับครอบครัว เช่น เลี้ยงสัตว์
ปลูกต้นไม้ เล่นกีฬา และร้อยละ 35.1 ระบุจะไปพักผ่อนต่างจังหวัดกับครอบครัว
3) กิจกรรมสันทนาการ ตัวอย่างร้อยละ 67.0 ระบุจะซื้อของ/เที่ยวห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 63.6 ระบุจะออกไปเที่ยวหรือใช้เวลาอยู่
กับแฟน/คนรัก ร้อยละ 54.9 ระบุจะดูหนัง/ดูภาพยนตร์ ร้อยละ 39.2 ระบุจะร้องเพลง/ร้องคาราโอเกะ ร้อยละ 36.2 ระบุจะเล่นดนตรี ร้อยละ
34.7 ระบุจะเล่นกีฬา/ออกกำลังกาย และร้อยละ 33.6 ระบุจะเล่นเกมออนไลน์
4) กิจกรรมอื่นๆ ตัวอย่างร้อยละ 92.8 ระบุจะนอนหลับ พักผ่อน ร้อยละ 76.4 ระบุจะอ่านหนังสือเรียน/ทบทวนบทเรียน/ทำการบ้าน
ร้อยละ 46.6 ระบุจะทำกิจกรรมเพื่อสังคม เช่น เลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า ชมรมค่ายอาสาสมัคร บริจาคเงิน/สิ่งของ ร้อยละ 25.3 ระบุจะไปเสริม
สวย เช่น ทำผม ทำเล็บ ทำหน้า ทำสปา ร้อยละ 21.8 ระบุจะรับจ้างทำงานหารายได้พิเศษ ร้อยละ 13.1 ระบุจะไปเที่ยวสถานบันเทิง เช่น ผับ
ดิสโก้ เธค และร้อยละ 12.2 ระบุจะเล่นการพนัน เช่น ไพ่ ทายผลพนันบอล สลากหรือหวย ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาถึงภาพรวมของกิจกรรมที่นักเรียน/นักศึกษาตั้งใจจะทำในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ พบว่า กิจกรรมที่ตัวอย่างตั้งใจจะทำมากที่สุด
3 อันดับแรก ได้แก่ นอนหลับพักผ่อน (ร้อยละ 92.8) อยู่บ้านพักผ่อนกับครอบครัว (ร้อยละ 90.1) และรับประทานอาหารร่วมกันกับครอบครัว
(87.3) ตามลำดับ
ที่น่าเป็นห่วง คือ ยังมีนักเรียน/นักศึกษาส่วนหนึ่งตั้งใจจะทำกิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ต่างๆ ต่อไปนี้ อาทิ เล่นเกมออนไลน์ ร้อยละ 33.6
เที่ยวสถานบันเทิง เช่น ผับ ดิสโก้ เธค ร้อยละ 13.1 และเล่นการพนัน เช่น ไพ่ ทายผลพนันบอล สลากหรือหวย ร้อยละ 12.2 ตามลำดับ
สำหรับพฤติกรรมที่นักเรียน/นักศึกษาตั้งใจจะลด-ละ-เลิกในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ ได้แก่ สิ่งเสพติด เช่น สุรา บุหรี่ ความขี้เกียจ เช่น ขี้
เกียจอ่านหนังสือ ขี้เกียจทำการบ้าน นิสัยการพูดไม่ดี เช่น พูดปด พูดโกหก พูดนินทา พูดส่อเสียด พูดไร้สาระ พฤติกรรมที่ไม่ดีในห้อง
เรียน เช่น พูดคุยในห้องเรียน นอนหลับในห้องเรียน โดดเรียน หนีเรียน มาโรงเรียนสาย อบายมุข เช่น การพนัน วีซีดีโป๊ การกินเนื้อสัตว์/การฆ่า
สัตว์/ทารุณสัตว์ การนอนดึก ตื่นสาย การเที่ยวสถานบันเทิงยามค่ำคืน เช่น ผับ ดิสโก้ เธค การพูดหยาบคาย และเกมออนไลน์ เป็นต้น
สำหรับการให้ความสำคัญระหว่างวันมาฆบูชาและวันวาเลนไทน์ ผลสำรวจ พบว่า ตัวอย่างเกือบครึ่ง หรือร้อยละ 48.7 ให้ความสำคัญกับ
วันมาฆบูชามากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 13.8 ให้ความสำคัญกับวันวาเลนไทน์มากกว่า และร้อยละ 37.5 ระบุให้ความสำคัญทั้ง 2 วันเท่ากัน
ดร.นพดล ผอ.สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้น่าจะเป็นการยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า เด็กและเยาวชนไทยส่วนใหญ่มีคุณภาพที่
ดีเป็นกลุ่มคนที่มีความรู้ความเข้าใจต่อหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา นอกจากนี้นักเรียน/นักศึกษา ยังให้ความสำคัญกับวันมาฆบูชามากกว่าวันวา
เลนไทน์ และมีความตั้งใจจะทำความดีและลด-ละ-เลิกพฤติกรรมที่ผิดศีลธรรม
“ความตั้งใจที่จะทำสิ่งดีๆ เหล่านี้ของเด็กและเยาวชนไทยกำลังรอว่าผู้ใหญ่ในสังคมจะให้ความสำคัญกับความตั้งใจดีๆ ของพวกเขาหรือ
ไม่ กลุ่มบุคคลนัยสำคัญของพวกเขาเช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ทั้งหลายควรใช้โอกาสวันมาฆบูชานี้ทำให้ความตั้งใจของเด็กและเยาวชนบรรลุถึง
กิจกรรมที่ดีได้ โรงเรียนและชุมชนควรจัดสร้างบรรยากาศของการทำความดีให้เกิดขึ้นโดยมีกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นกำลังสำคัญในการทำกิจกรรม
ต่างๆ เช่นการทำบุญตักบาตรร่วมกัน การทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์เพื่อโรงเรียนและชุมชน การเดินทางไปมอบอาหารและสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น
แก่ผู้ยากไร้หรือคนป่วยตามสถานที่สงเคราะห์ต่างๆ เป็นต้น” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สื่อมวลชนเป็นสถาบันที่สำคัญและมีผลชี้นำชี้แนะที่สร้างสรรค์ให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชนได้อย่างมาก สถาบันสื่อมวล
ชนจึงน่าที่จะช่วยกันรณรงค์ให้เด็กและเยาวชนหันมาสนใจวันสำคัญทางศาสนา และแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่ดีไม่ใช่มีแต่เพียงความตั้งใจเท่านั้น นอกจากนี้
รัฐบาลก็ควรให้กระทรวงวัฒนธรรมเป็นเจ้าภาพในการกำหนดยุทธศาสตร์ขยายโอกาสและสร้างบรรยากาศแห่งการทำความดีให้กับเด็กและเยาวชน
จำกัดพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการทำผิดศีลธรรมให้อยู่ในวงจำกัดของสังคม ผลที่ตามมาก็คือ เด็กและเยาวชนของสังคมน่าจะสามารถบรรลุถึงความสำเร็จในการ
ทำกิจกรรมที่ดีตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาได้อย่างยั่งยืนต่อไป
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ว่าวันมาฆบูชาที่กำลังจะมาถึงนี้ตรงกับวันและเดือนอะไร
ลำดับที่ การรับรู้ว่าวันมาฆบูชาที่กำลังจะมาถึงนี้ตรงกับวันและเดือนอะไร ค่าร้อยละ
1 ทราบว่าตรงกับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 70.0
2 ไม่ทราบ 30.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้ ความเข้าใจเรื่องวันมาฆบูชา
ลำดับที่ ความรู้ ความเข้าใจเรื่องวันมาฆบูชา ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น
1 วันมาฆบูชา คือ วันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน 30.4 69.6 *** 100.0
2 วันมาฆบูชาตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 90.1 *** 9.9 100.0
3 พระพุทธเจ้าประกาศหลักธรรม คำสั่งสอนให้แก่พระอรหันต์ในวันมาฆบูชา เพื่อนำไปเผยแพร่ 79.8 *** 20.2 100.0
4 การมาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมายของพระภิกษุจำนวน 1250 รูป เกิดขึ้นในวันมาฆบูชา 84.6 *** 15.4 100.0
5 พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา และเวียนเทียนในวันมาฆบูชา 91.6 *** 8.4 100.0
6 ประเพณีตักบาตรเทโว จัดขึ้นในวันมาฆบูชา 26.9 73.1 *** 100.0
7 วันมาฆบูชาเป็นวันหยุดราชการ 90.6 *** 9.4 100.0
8 พระรัตนตรัย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา 24.0 76.0 *** 100.0
9 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญของโลก 55.9 44.1 *** 100.0
10 จุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนา คือ ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ 92.4 7.6 *** 100.0
คะแนนรวมเฉลี่ย 6.99 คะแนน (จากคะแนนเต็มรวม 10 คะแนน) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 1.59
หมายเหตุ *** เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชา
ลำดับที่ หลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชา ค่าร้อยละ
1 โอวาทปาฏิโมกข์ *** 48.2
2 ธรรมจักกัปปวัตนสูตร 19.1
3 จาตุรงคสันนิบาต 9.2
4 มัชฌิมาปฏิปทา 2.4
5 ไม่ทราบ 21.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ *** เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่สรุปใจความสำคัญของหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชา
(เฉพาะผู้ที่ตอบหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชาถูกต้อง คือ โอวาทปาฏิโมกข์)
ลำดับที่ สรุปใจความสำคัญของหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชา ค่าร้อยละ
1 การทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ *** 44.4
2 การเดินทางสายกลาง 5.7
3 การดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท 3.9
4 ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป 1.5
5 ถูกทุกข้อ 38.1
6 ไม่ทราบ 6.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ *** เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับศาสนาในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้
ลำดับที่ ความตั้งใจที่จะกิจกรรมที่เกี่ยวกับศาสนาในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ ทำ ไม่ทำ รวมทั้งสิ้น
1 ทำบุญตักบาตร 82.9 17.1 100.0
2 ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว 81.3 18.7 100.0
3 เวียนเทียน 59.1 40.9 100.0
4 ฟังเทศน์ ฟังธรรม 40.2 59.8 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับครอบครัวในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้
ลำดับที่ ความตั้งใจที่จะกิจกรรมที่เกี่ยวกับครอบครัวในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ ทำ ไม่ทำ รวมทั้งสิ้น
1 อยู่บ้าน พักผ่อนกับครอบครัว 90.1 9.9 100.0
2 รับประทานอาหารร่วมกันกับครอบครัว 87.3 12.7 100.0
3 ช่วยพ่อแม่ / ผู้ปกครองทำความสะอาดที่พักอาศัย 80.2 19.8 100.0
4 ทำกิจกรรมร่วมกันกับครอบครัว เช่น เลี้ยงสัตว์ ปลูกต้นไม้เล่นกีฬา 68.3 31.7 100.0
5 ไปพักผ่อนต่างจังหวัดกับครอบครัว 35.1 64.9 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับสันทนาการในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้
ลำดับที่ ความตั้งใจที่จะกิจกรรมที่เกี่ยวกับสันทนาการในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ ทำ ไม่ทำ รวมทั้งสิ้น
1 ซื้อของ / เที่ยวห้างสรรพสินค้า 67.0 33.0 100.0
2 ออกไปเที่ยวหรือใช้เวลาอยู่กับ แฟน / คนรัก 63.6 36.4 100.0
3 ดูหนัง / ดูภาพยนตร์ 54.9 45.1 100.0
4 ร้องเพลง / ร้องคาราโอเกะ 39.2 60.8 100.0
5 เล่นดนตรี 36.2 63.8 100.0
6 เล่นกีฬา / ออกกำลังกาย 34.7 65.3 100.0
7 เล่นเกมออนไลน์ 33.6 66.4 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมอื่นๆ ในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้
ลำดับที่ ความตั้งใจที่จะกิจกรรมอื่นๆ ในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ ทำ ไม่ทำ รวมทั้งสิ้น
1 นอนหลับพักผ่อน 92.8 7.2 100.0
2 อ่านหนังสือเรียน / ทบทวนบทเรียน / ทำการบ้าน 76.4 23.6 100.0
3 ทำกิจกรรมเพื่อสังคม เช่น เลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า ชมรมค่ายอาสาสมัคร บริจาคเงิน/สิ่งของ 46.6 53.4 100.0
4 เสริมสวย เช่น ทำผม ทำเล็บ ทำหน้า ทำสปา 25.3 74.7 100.0
5 รับจ้างทำงานหารายได้พิเศษ 21.8 78.2 100.0
6 เที่ยวสถานบันเทิง เช่น ผับ ดิสโก้ เธค 13.1 86.9 100.0
7 เล่นการพนัน เช่น ไพ่ ทายผลพนันบอล สลากหรือหวย 12.2 87.8 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมที่ตั้งใจจะ “ลด-ละ-เลิก” ในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พฤติกรรมที่ตั้งใจจะ “ลด-ละ-เลิก” ในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ ค่าร้อยละ
1 ลด-ละ-เลิกสิ่งเสพติด เช่น สุรา บุหรี่ 24.7
2 ลด-ละ-เลิกขี้เกียจ เช่น ขี้เกียจอ่านหนังสือ ขี้เกียจทำการบ้าน 22.0
3 ลด-ละ-เลิกนิสัยการพูดไม่ดี เช่น พูดปด พูดโกหก พูดนินทา พูดส่อเสียด พูดไร้สาระ 19.6
4 ลด-ละ-เลิกพฤติกรรมที่ไม่ดีในห้องเรียน เช่น พูดคุยในห้องเรียน นอนหลับในห้องเรียน-
โดดเรียน หนีเรียน มาโรงเรียนสาย 11.5
5 ลด-ละ-เลิกอบายมุข เช่น การพนัน วีซีดีโป๊ 11.4
6 ลด-ละ-เลิกการกินเนื้อสัตว์/การฆ่าสัตว์/ทารุณสัตว์ 10.5
7 ลด-ละ-เลิกการนอนดึก ตื่นสาย 10.2
8 ลด-ละ-เลิกการเที่ยวสถานบันเทิงยามค่ำคืน เช่น ผับ ดิสโก้ เธค 10.1
9 ลด-ละ-เลิกนิสัยการพูดหยาบคาย 8.9
10 ลด-ละ-เลิกการเล่นเกมออนไลน์ 8.5
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้ความสำคัญระหว่าง “วันมาฆบูชา” และ “วันวาเลนไทน์”
ลำดับที่ การให้ความสำคัญระหว่าง “วันมาฆบูชา” และ “วันวาเลนไทน์” ค่าร้อยละ
1 ให้ความสำคัญ “วันมาฆบูชา” มากกว่า 48.7
2 ให้ความสำคัญ “วันวาเลนไทน์” มากกว่า 13.8
3 ให้ความสำคัญเท่ากัน 37.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-