ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความพยายามของรัฐบาลในการ สร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ กรณีศึกษาเปรียบเทียบตัวอย่างประชาชนผู้ติดตามข่าวการเมืองในอินเทอร์เน็ตกับประชาชนผู้ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตใน เขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,487 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 — 6 พฤศจิกายน 2551 ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 30.4 ใช้อินเทอร์เน็ตติดตามข่าวการเมืองระดับมาก ในขณะที่ร้อยละ 21.1 ใช้อินเทอร์เน็ตบ้างในการติดตามข่าวการเมือง และร้อยละ 48.5 ไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ตเลย
ดร.นพดล กล่าวว่า สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศและการเติบโตของร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ กำลังทำให้ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าตัวเลขที่เคยค้นพบในช่วงที่สถานการณ์การเมืองไม่รุนแรงเข้มข้นเหมือน ปัจจุบันที่เคยพบอยู่ประมาณร้อยละ 15 เท่านั้น แต่ปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มถึงประมาณร้อยละ 50 เลยทีเดียวโดยเฉพาะในการ ติดตามข่าวทางการเมือง ซึ่งขณะนี้สำนักวิจัยฯ กำลังทำการสำรวจพฤติกรรมการรับข่าวสารทางโทรศัพท์มือถือและจะรายงานผลวิจัยให้สาธารณชนทราบ ในโอกาสต่อไป
แต่ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ความพยายามของรัฐบาลในการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติในความรู้สึกของสาธารณชนที่ถูกศึกษาครั้ง นี้ พบว่า เกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.3 รู้สึกว่ารัฐบาลมีความพยายามเพียงเล็กน้อยถึงไม่มีเลยในการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ ในขณะที่ร้อย ละ 15.5 ระบุรัฐบาลมีความพยายามระดับปานกลาง และร้อยละ 36.2 ระบุรัฐบาลมีความพยายามระดับมาก ถึงมากที่สุด และเมื่อวิเคราะห์ด้วยค่า คะแนนเฉลี่ยของความพยายามของรัฐบาลในการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติเมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.40
นอกจากนี้ ดร.นพดล ยังกล่าวด้วยว่า ความคิดเห็นและท่าทีสนับสนุนของประชาชนที่ถูกศึกษาต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร และกลุ่มผู้ไม่ สนับสนุนพันธมิตร ลดลง จากร้อยละ 47.7 และร้อยละ 42.9 ในการสำรวจช่วงหลังเกิดเหตุ 7 ตุลาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 26.3 และร้อยละ 29.6 ใน การสำรวจครั้งล่าสุด แต่กลุ่มประชาชนส่วนมากกลับไปอยู่จุดยืนทางการเมืองจุดเดิมคือ ขออยู่ตรงกลางร้อยละ 44.1 ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีและเป็นสัญญาณ เตือนรัฐบาลด้วยว่า รัฐบาลต้องระวังไม่เป็นผู้สร้างเงื่อนไขทางการเมืองเพื่อหวังผลอะไรบางอย่างโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์และชีวิตของ ประชาชน เพราะที่ผ่านมาเงื่อนไขทางการเมืองมักจะทำให้เกิดการเผชิญหน้าและการใช้ความรุนแรงของประชาชนสองฝักสองฝ่ายในสัดส่วนพอๆ กัน และจะเกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติ โดยประชาชนทั่วไปก็น่าจะคิดได้ด้วยว่า หากเกิดความเสียหายขึ้น แกนนำผู้ตัดสินใจของการ เคลื่อนไหวทางการเมืองเหล่านั้นมักจะเอาตัวรอด แต่ประชาชนผู้ไปร่วมขบวนการด้วยความบริสุทธิ์ใจเลือกข้างเหล่านั้นมักจะตกเป็น “เหยื่อของความ ขัดแย้งรุนแรงทางการเมือง และสูญเสีย”
ที่น่าสนใจคือ ความรู้สึกของประชาชนต่อความพยายามของรัฐบาลในการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ เมื่อจำแนกออกระหว่างกลุ่มผู้ ใช้อินเทอร์เน็ตติดตามข่าวการเมือง กับผู้ไม่ใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า กลุ่มประชาชนที่ใช้อินเทอร์เน็ตติดตามข่าวการเมืองเกินครึ่งหรือร้อยละ 52.6 เห็น ว่ารัฐบาลมีความพยายามน้อยถึงไม่มีเลยในการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ ซึ่งมากกว่ากลุ่มคนที่ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตและคิดเช่นนั้นที่มีอยู่ร้อยละ 46.7
อย่างไรก็ตาม ที่น่าดีใจสำหรับประชาชนทั่วไปของคนทั้งประเทศคือ เมื่อถามถึงทางออกที่ดีที่สุดของปัญหาการเมืองขณะนี้ พบว่า อันดับแรก หรือร้อยละ 46.6 ระบุความรักความสามัคคีของคนในชาติ รองลงมาคือร้อยละ 37.8 ให้ยึดมั่นในกระบวนการยุติธรรม ใครถูกใครผิดว่าไปตาม กระบวนการยุติธรรม และที่เหลือร้อยละ 15.6 ระบุอื่นๆ ที่หลากหลายกันไปแต่ตัวเลขน้อยมากที่จะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการสำรวจครั้งนี้ เช่น ยุบสภา เลือกตั้งใหม่ ยุติการชุมนุม ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ให้โอกาสรัฐบาลทำงานก่อน ไม่ยึดมั่นยึดติด ลดอคติต่อกัน เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ถ้าฝ่ายการเมืองและกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ ต้องการเสียงสนับสนุนจากสาธารณชนอย่างแท้จริง โดยไม่คำนึงถึงผล ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ควรแสดงวิสัยทัศน์ให้สาธารณชนทราบว่า ทางออกของปัญหาการเมืองที่ดีที่สุด และจับต้องได้เป็นรูปธรรมแท้จริงคืออะไร เพื่อหนุนเสริมขวัญกำลังใจของประชาชนให้มีแรงที่จะเดินก้าวต่อไปข้างหน้า โดยช่วยลดสภาวะความตึงเครียด ความกดดัน และอึดอัดกับบรรยากาศทาง การเมืองในเวลานี้
รายละเอียดงานวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้ติดตามข่าวการเมืองในอินเทอร์เน็ต กับผู้ไม่ใช้อินเทอร์เน็ต ต่อความพยายามของรัฐบาลใน การสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง ความพยายามของรัฐบาลในการสร้างความ สมานฉันท์ของคนในชาติ กรณีศึกษาเปรียบเทียบตัวอย่างประชาชนผู้ติดตามข่าวการเมืองในอินเทอร์เน็ตกับประชาชนผู้ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตในเขตกรุงเทพ มหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,487 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ ระหว่างวันที่ 1 — 6 พฤศจิกายน 2551 ประเภทของ การสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มิสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร เป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อย ละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูก ต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น 124 คน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.0 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.0 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 30.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 26.2 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และ ร้อยละ 13.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 69.8 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 27.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.9 อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 15.6 เป็นพนักงานเอกชน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 36.1 มีธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ/ค้าขาย
ร้อยละ 7.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 20.2 รับจ้างทั่วไป/รับจ้างใช้แรงงาน
ร้อยละ 7.6 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.8 ว่างงาน/ไม่มีรายได้/ไม่ประกอบอาชีพ/ตกงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ การใช้อินเทอร์เน็ต ค่าร้อยละ 1 ใช้อินเทอร์เน็ตติดตามข่าวการเมืองระดับมาก 30.4 2 ใช้อินเทอร์เน็ตบ้าง 21.1 3 ไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ตเลย 48.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพยายามของรัฐบาลในการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ ลำดับที่ ความรู้สึกของประชาชนต่อความพยายามของรัฐบาล ค่าร้อยละ 1 มาก ถึง มากที่สุด 36.2 2 ปานกลาง 15.5 3 น้อย ถึง ไม่มีเลย 48.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ค่าคะแนนเฉลี่ย จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน 4.40 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นและท่าทีของตนต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ 10 ตุลาคม 7 พฤศจิกายน 1 สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ 47.7 26.3 2 ไม่สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ 42.9 29.6 3 ขออยู่ตรงกลาง 9.4 44.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพยายามของรัฐบาลในการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ จำแนกออก
ระหว่าง กลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ต กับ ผู้ไม่ใช้อินเทอร์เน็ต
ลำดับที่ ความรู้สึกของประชาชนต่อความพยายามของรัฐบาล ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ผู้ไม่ใช้อินเทอร์เน็ต 1 คิดว่ารัฐบาลมีความพยายามมาก ถึง มากที่สุด ในการสร้างความสมานฉันท์ 35.0 36.3 2 ปานกลาง 12.4 17.0 3 น้อย ถึง ไม่มีเลย 52.6 46.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ค่าคะแนนเฉลี่ย จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน 4.13 4.52 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แนวทางการแก้ไขปัญหาการเมืองที่ดีที่สุดในขณะนี้คือ ลำดับที่ แนวทางการแก้ไขปัญหาการเมืองที่ดีที่สุดขณะนี้ ค่าร้อยละ 1 ความรักความสามัคคีและเกื้อกูลกันของคนในชาติ 46.6 2 ยึดมั่นในกระบวนการยุติธรรม ใครถูกใครผิดว่าไปตามกระบวนการยุติธรรม 37.8 3 อื่นๆ เช่น ยุบสภา เลือกตั้งใหม่ ยุติการชุมนุม ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ให้โอกาสรัฐบาลทำงานก่อน ไม่ยึดมั่นยึดติด ลดอคติต่อกัน เป็นต้น 15.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-