เอแบคโพลล์: ศึกษาผลกระทบทางการเมืองต่ออารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชน ภายหลัง อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ทำการโฟนอินในวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา

ข่าวผลสำรวจ Monday November 10, 2008 07:33 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ศึกษาผลกระทบทางการเมืองต่อ อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชน ภายหลังอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ทำการโฟนอินในวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา กรณีศึกษา ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่ ลำพูน นครสวรรค์ ปราจีนบุรี ระยอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครพนม สกลนคร ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี กระบี่ และสุราษฎร์ธานี จำนวน ตัวอย่างทั้งสิ้น 5,416 ตัวอย่าง มีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 2 — 8 พฤศจิกายน 2551 ยังคงพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือ ประมาณร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์

แต่ที่น่าพิจารณาคือ ภายหลังการโฟนอินของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร แล้ว พบว่า แนวโน้มค่าเฉลี่ยคะแนนความสง่า งามและความชอบธรรมของรัฐบาลชุดปัจจุบันลดลง เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน จาก 4.31 ในผลสำรวจวันที่ 18 ตุลาคม ลดลงเหลือ 3.97 ในการ สำรวจล่าสุด แต่ความสงสัยต่อความเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มนายทุน กลุ่มการเมือง พรรคพวกญาติพี่น้องสูงขึ้น จาก 4.79 มาอยู่ที่ 5.17 สำหรับความ เครียดของประชาชนต่อเรื่องการเมืองยังคงสูงเหมือนเดิม คือ 5.89 ในครั้งก่อน ยังคงอยู่ที่ 5.88 ในการสำรวจล่าสุด อย่างไรก็ตาม แนวโน้มความ อยากได้รัฐบาลแห่งชาติ และแนวคิดการเมืองใหม่ การเมืองภาคประชาชน เพิ่มขึ้นจาก 5.08 มาอยู่ที่ 6.02 และ 5.42 มาอยู่ที่ 5.58 ตามลำดับ

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลกระทบที่ตามมาของการโฟนอินโดยอดีตนายกรัฐมนตรีในวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา ส่งผลทำให้เห็นภาพความเข้ม ข้นของฐานประชาชนที่นิยมศรัทธาและไม่นิยมศรัทธาต่ออดีตนายกรัฐมนตรีอย่างชัดเจน โดยพบว่า คนที่นิยมศรัทธาต่ออดีตนายกรัฐมนตรี ถึงแม้จะถูกตัดสิน จำคุก 2 ปี และมีการโฟนอินในภายหลัง ก็พบว่ามีเพียงประมาณร้อยละ 5 ถึงร้อยละ 10 เท่านั้นที่นิยมศรัทธาต่ออดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้เพิ่มขึ้น แต่กว่า ร้อยละ 30 ที่ยิ่งทำให้ไม่นิยมศรัทธาในตัวอดีตนายกรัฐมนตรีเลย

อย่างไรก็ตามเมื่อรวมกลุ่มคนที่นิยมศรัทธาเหมือนเดิม กับกลุ่มคนที่นิยมศรัทธาเพิ่มขึ้น พบว่ามีอยู่ประมาณร้อยละ 47 และกลุ่มคนที่ไม่นิยม ศรัทธาและยิ่งไม่นิยมศรัทธาเลยมีอยู่ประมาณร้อยละ 53 ซึ่งโดยภาพรวมแล้วการจัดกิจกรรมโฟนอินที่ผ่านมา มีผลดีต่อตัวของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เอง กล่าวคือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ สามารถรักษาฐานสนับสนุนที่มั่นของตนเองไว้ได้ แต่ไม่เป็นผลดีต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เพราะเมื่อตรวจสอบ ไปที่ความรู้สึกนึกคิดของสาธารณชนทั่วไป กลับพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.7 คิดว่าการโฟนอินของอดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้กลับจะทำให้สถานการณ์การ เมืองแย่ลง ซึ่งความคิดเช่นนี้เกิดขึ้นแม้ในกลุ่มคนที่นิยมต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ด้วย

แต่ที่เห็นชัดเจนคือ ผลกระทบในทางลบที่เกิดขึ้นกลับไปกระทบต่อความนิยมฐานสนับสนุนของประชาชนต่อ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ใน ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันผู้เป็นญาติของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่เคยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในช่วงปลายเดือน ตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 56.3 ซึ่งในหลักการสำรวจความนิยมถือว่าอยู่ในแดน B- แต่ผลสำรวจล่าสุด พบว่าฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อตัวเขาลดลง 7 จุดมาอยู่ที่ร้อยละ 49.0 ซึ่งอยู่ในแดน C หมายความว่า การจะทำอะไรหรือพูดอะไรจะได้รับแรงเสียดทานเพิ่มมากขึ้น โดยคะแนนนิยมที่ตกลงมาครั้งนี้ อาจสืบเนื่องมาจากหลายสาเหตุประกอบกัน

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อตรวจสอบความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดของ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันกับรัฐบาล ที่จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและ การตั้ง สสร. 3 ในช่วงเวลานี้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.9 เห็นว่าไม่เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในขณะนี้ ขณะที่ร้อยละ 37.1 เห็นว่า เหมาะสมแล้ว และที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.2 คิดว่าความพยายามจะแก้ไขรัฐธรรมนูญจะกลายเป็นเรื่องที่นำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรง บานปลายอีกด้วย

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าพิจารณาคือ ถ้าวันนี้มีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้น ประชาชนร้อยละ 40.6 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ รองลงมาที่ ใกล้เคียงกันคือร้อยละ 39.0 จะเลือกพรรคพลังประชาชน หรือพรรคที่มีอดีต ส.ส. ของพรรคไทยรักไทย และร้อยละ 20.4 จะเลือกพรรคอื่นๆ เช่น พรรคชาติไทย พรรครวมใจฯ เป็นต้น ตัวเลขที่ค้นพบนี้ ยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่า ถ้าเลือกตั้งใหม่ อำนาจทางการเมืองก็ไม่น่าจะแตกต่างไปจากปัจจุบัน คือ รัฐบาลก็จะยังคงเป็นรัฐบาลพรรคร่วมเหมือนปัจจุบัน เพราะถ้างบประมาณต่างๆ ตามนโยบายรัฐบาลปัจจุบันเกิดดอกออกผล ก็น่าจะทำให้พรรคพลัง ประชาชนชนะการเลือกตั้งกลับเข้ามาอีกได้ไม่ยากนัก

แต่ที่สำคัญคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.4 ที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องปัญหาการเมือง ขณะที่ร้อยละ 19.6 ไม่ต้อง การความเปลี่ยนแปลง แต่สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง กลับพบว่า อันดับแรก หรือร้อยละ 45.5 คืออยากให้เลิกทะเลาะกัน หันหน้ามารัก ใคร่ปรองดองกัน รองลงมาคือ ร้อยละ 42.1 ต้องการให้เปลี่ยนรัฐบาลใหม่ เปลี่ยนคณะรัฐบาลใหม่ การเมืองใหม่ ร้อยละ 11.4 อยากให้เลิกการ ชุมนุมของทุกฝ่าย และร้อยละ 10.5 อยากให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น ตามลำดับ

ดร.นพดล กล่าวอีกว่า สถานการณ์บ้านเมืองและอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนภายหลังการโฟนอินของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้เสนอทางออกเพื่อทำให้สถานการณ์บ้านเมืองสงบเรียบร้อยมากขึ้น เพราะข้อมูลข่าวสารที่สาธารณชนรับทราบไม่ได้ทำให้ประชาชน ส่วนใหญ่ของประเทศเห็นพ้องไปในทิศทางเดียวกับสิ่งที่อดีตนายกรัฐมนตรีได้สื่อสารออกมา แต่กลับทำให้คนที่ไม่นิยมศรัทธา ยิ่งไม่นิยมศรัทธามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลดีกลับตกอยู่กับตัว พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และแกนนำที่สนับสนุน เนื่องจากตัวเลขรวมๆ ประมาณร้อยละ 40 กว่า ถือว่าเป็นตัวเลขจำนวน มากที่ยังให้การสนับสนุนอยู่

โดยสรุป การกล่าวอ้างชูประเด็นประชาธิปไตยของอดีตนายกรัฐมนตรีในการโฟนอินดังกล่าวอาจถูกมองว่าเป็น “ประชาธิปไตยเพื่อ ประโยชน์ของคนใดคนหนึ่ง” คือ เน้นที่ความนิยมศรัทธาต่อตัวบุคคลในผลงานประชานิยมที่ผ่านมา คล้ายๆ กับการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดในการโฆษณา สินค้า เพื่อไม่ให้ลูกค้าผู้บริโภคลืมคุณภาพยี่ห้อของบริษัทและสินค้าในเครือ ดังนั้น ทางออกของสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในระยะยาว จึงไม่ ใช่การยึดอำนาจเพราะจะไป “เข้าทาง” ของฝ่ายการเมือง ยุทธศาสตร์ที่จะครองใจประชาชนส่วนใหญ่ได้คือ ต้องทำให้เกิดความรักความสามัคคีกันใน ชาติ ใครถูกใครผิดให้ว่าไปตามกระบวนการยุติธรรม และทำให้การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็งบนพื้นฐานของประชาธิปไตยของปวงชนชาวไทยไม่ใช่ ประชาธิปไตยที่ความนิยมต่อตัวบุคคล ด้วยเหตุนี้ การต่อสู้ต้องต่อสู้แย่งชิงมวลชนจึงต้องเป็นการต่อสู้ระหว่างประชาธิปไตย กับประชาธิปไตย ที่ไม่ใช้ ความรุนแรง เท่านั้น

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย

1. เพื่อสำรวจอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน ภายหลังการโฟนอินของอดีตนายกรัฐมนตรี

2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อทางออกของสถานการณ์การเมืองในขณะนี้

3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง ศึกษาผลกระทบทางการเมืองต่ออารมณ์ความ รู้สึกของสาธารณชน ภายหลังอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ทำการโฟนอินในวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิ เลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่ ลำพูน นครสวรรค์ ปราจีนบุรี ระยอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครพนม สกลนคร ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี กระบี่ และสุราษฎร์ธานี จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 5,416 ตัวอย่าง มีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 2 — 8 พฤศจิกายน 2551 เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบ แบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อย ละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและ งบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 158 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 50.8 เป็นหญิง

ร้อยละ 49.2 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 7.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 26.5 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 27.8 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 20.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และ ร้อยละ 17.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 71.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือ ร้อยละ 26.7 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 38.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 29.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 12.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 8.0 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 4.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 5.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 1.2 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การติดตามข่าวการเมืองผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา          ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน                                          55.7
2          3-4 วันต่อสัปดาห์                                          22.2
3          1-2 วันต่อสัปดาห์                                          11.0
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์                                        9.2
5          ไม่ได้ติดตามเลย                                            1.9
          รวมทั้งสิ้น                                                100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง และค่าคะแนนเฉลี่ย ความรู้สึกต่อสถานการณ์เมืองในขณะนี้

   ลำดับที่              ความรู้สึกต่อ                   น้อย-ไม่รู้สึกเลย   ปานกลาง   มาก-มากที่สุด    แนวโน้มค่าเฉลี่ย
                สถานการณ์การเมืองในขณะนี้                ค่าร้อยละ     ค่าร้อยละ     ค่าร้อยละ     เต็ม 10 คะแนน
1   รู้สึกว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันยังมีความสง่างามและความชอบธรรม      56.9        12.2        30.9       4.31 (18 ต.ค.)

3.97 (9 พ.ย.) 2 สงสัยต่อความเกี่ยวข้อง เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มนายทุน และกลุ่มการเมือง

    พรรคพวกญาติพี่น้องของตนเอง                            42.4        12.7        44.9       4.79 (18 ต.ค.)

5.17 (9 พ.ย.)

3   เครียดต่อเรื่องการเมือง                                32.2        11.3        56.5       5.89 (18 ต.ค.)

5.88 (9 พ.ย.)

4   อยากให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ที่เอาคนดี คนเก่งจากทุกพรรค        30.6        10.7        58.7       5.08 (18 ต.ค.)

6.02 (9 พ.ย.)

5   เห็นด้วยกับแนวคิด การเมืองใหม่ การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็ง  34.3        12.3        53.4       5.42 (18 ต.ค.)

5.58 (9 พ.ย.)

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ภายหลังถูกศาลตัดสินพิพากษาความผิดให้จำคุก

2 ปี ในคดีที่ดินรัชดา

ลำดับที่          ความรู้สึกต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ภายหลังถูกศาลตัดสินพิพากษาความผิดให้จำคุก 2 ปีในคดีที่ดินรัชดา   ค่าร้อยละ
1          นิยมศรัทธาต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณเพิ่มมากขึ้น                                                       6.8
2          ยังคงนิยมศรัทธาเหมือนเดิม                                                                  40.4
3          ไม่นิยมศรัทธาเหมือนเดิม                                                                    21.3
4          ยิ่งไม่นิยมศรัทธามากขึ้น                                                                     31.5
          รวมทั้งสิ้น                                                                               100.0

ตารางที่ 4  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ภายหลังการโฟนอิน (Phone -in)ที่สนามกีฬารัชมัง

คลาฯ เมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา

ลำดับที่          ความรู้สึกต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ภายหลังการโฟนอิน (Phone -in)         ค่าร้อยละ

ที่สนามกีฬารัชมังคลาฯ เมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา

1          นิยมศรัทธาต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณเพิ่มมากขึ้น                                        8.4
2          ยังคงนิยมศรัทธาเหมือนเดิม                                                   38.8
3          ไม่นิยมศรัทธาเหมือนเดิม                                                     20.2
4          ยิ่งไม่นิยมศรัทธามากขึ้น                                                      32.6
          รวมทั้งสิ้น                                                                100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ภายหลังการโฟนอิน
(Phone -in)ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่สนามกีฬารัชมังคลาฯ เมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองภายหลังการโฟนอิน (Phone -in)     ค่าร้อยละ

ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่สนามกีฬารัชมังคลาฯ เมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา

1          คิดว่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น                                                                 33.3
2          คิดว่าจะทำให้สถานการณ์แย่ลง                                                                66.7
          รวมทั้งสิ้น                                                                               100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่          การสนับสนุนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี        27 ต.ค. 2551         9 พ.ย. 2551
1          สนับสนุน                                                  56.3                49.0
2          ไม่สนับสนุน                                                43.7                51.0
          รวมทั้งสิ้น                                                 100.0               100.0

ตารางที่7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีความเหมาะสมของเวลาที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดย สสร. 3 ในขณะนี้
ลำดับที่          ความคิดเห็นกรณีความเหมาะสมของเวลาที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดย สสร. 3 ในขณะนี้          ค่าร้อยละ
1          เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม                                                            37.1
2          ไม่เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม                                                          62.9
          รวมทั้งสิ้น                                                                       100.0

ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะกลายเป็นเรื่องที่นำไปสู่ความขัดแย้ง รุนแรงบานปลายในขณะนี้
ลำดับที่          ความคิดเห็นกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะกลาย
เป็นเรื่องที่นำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงบานปลายในขณะนี้          ค่าร้อยละ
1          คิดว่าจะทำให้รุนแรงบานปลาย                  65.2
2          ไม่รุนแรงบานปลาย                          34.8
          รวมทั้งสิ้น                                 100.0

ตารางที่ 9  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
ลำดับที่          พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง          ค่าร้อยละ
1          พรรคประชาธิปัตย์                                          40.6
2          พรรคพลังประชาชน/พรรคที่มีอดีต ส.ส.ของพรรคไทยรักไทย           39.0
3          พรรคอื่นๆ เช่น ชาติไทย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา เป็นต้น           20.4
          รวมทั้งสิ้น                                                100.0

ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องปัญหาการเมืองภายในประเทศในขณะนี้
ลำดับที่          ความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องปัญหาการเมืองภายในประเทศในขณะนี้   ค่าร้อยละ
1          ต้องการการเปลี่ยนแปลง                                                  80.4
2          ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง                                                19.6
          รวมทั้งสิ้น                                                             100.0

ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          สิ่งที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง                                          ค่าร้อยละ
1          เลิกทะเลาะกัน / หันหน้ามารักใคร่ปรองดองกัน                                       45.5
2          เปลี่ยนรัฐบาลใหม่/ เปลี่ยนคณะรัฐบาลใหม่/ การเมืองใหม่                               42.1
3          เลิกการชุมนุมของทุกฝ่าย                                                        11.4
4          อยากให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น                                                 10.5
5          อื่นๆ อาทิ  การเสียสละของนักการเมือง/มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างมีความชอบธรรม/
           บ้านเมืองพัฒนามากขึ้น/อยากเห็นการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ                                  19.7

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ