เอแบคโพลล์: ทัศนคติของประชาชนต่อการทุจริตคอรัปชั่นและ กรณีคดีทุจริตจัดซื้อรถดับเพลิง เรือดับเพลิง ของกรุงเทพมหานคร

ข่าวผลสำรวจ Thursday November 13, 2008 10:57 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ทัศนคติของประชาชนต่อการทุจริต คอรัปชั่นและ กรณีคดีทุจริตจัดซื้อรถดับเพลิง เรือดับเพลิงของ กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้ว่า กทม. จำนวนทั้งสิ้น 1,314 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการวันที่ 11- 12 พฤศจิกายน 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการ เมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์

สิ่งที่น่าพิจารณาคือ ทัศนคติของประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.1 จะแจ้งความเอาผิดกลุ่มข้าราชการที่ทุจริต คอรัปชั่น ถ้าพบ ว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้น และร้อยละ 89.1 จะแจ้งความเอาผิดกลุ่มนักการเมือง ร้อยละ 88.0 จะแจ้งความเอาผิดกลุ่มแกนนำชุมชน ร้อยละ 75.4 จะแจ้งความเอาผิดเพื่อนบ้าน ร้อยละ 60.0 จะแจ้งความเอาผิดญาติพี่น้องของตนเอง อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 53.7 เท่านั้นที่จะแจ้งความเอาผิด พ่อ แม่ หรือลูกของตน ในเรื่องทุจริตคอรัปชั่น

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อถามว่า ถ้าพบว่า ตนเองทุจริตคอรัปชั่น จะแจ้งความเอาผิด หรือมีจิตสำนึกที่จะพิจารณาเอาผิดตนเองหรือไม่นั้น ผล สำรวจพบว่า ก้ำกึ่งกัน คือเกินครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 51.8 ระบุว่าจะแจ้งความเอาผิด หรือพิจารณาเอาผิดตนเอง แต่ร้อยละ 48.2 จะไม่เอาผิดตน เอง

และในประเด็นนี้เองเมื่อจำแนกออกตาม เพศ พบว่า กลุ่มผู้ถูกศึกษาที่เป็นชาย และที่เป็นหญิงมีสัดส่วนไม่แตกต่างกันในการวิจัยครั้งนี้ คือ พบว่า ร้อยละ 51.8 ในกลุ่มผู้ชาย และร้อยละ 51.8 ในกลุ่มผู้หญิงที่จะแจ้งความเอาผิดตนเอง และเมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่าในกลุ่มคนที่อายุต่ำ กว่า 20 ปีร้อยละ 50.4 จะเอาผิดตนเอง แต่ร้อยละ 49.6 จะไม่เอาผิดตนเอง ในขณะที่กลุ่มคนอายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 51.4 จะแจ้งความเอาผิด ตนเอง แต่ร้อยละ 48.6 จะไม่เอาผิดตนเอง

เมื่อจำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า ทุกกลุ่มอาชีพน่าเป็นห่วง แต่มีอยู่สองกลุ่มน่าเป็นห่วงมาก คือ กลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อย ละ 49.2 จะแจ้งความเอาผิดตนเอง แต่ร้อยละ 50.8 จะไม่เอาผิดตนเอง เช่นเดียวกับกลุ่มนักเรียน นักศึกษาพบว่า ร้อยละ 49.1 จะเอาผิดตน เอง แต่ร้อยละ 50.9 จะไม่เอาผิดตนเอง

ที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มคนที่มีรายได้น้อยคือไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 51.5 จะแจ้งความเอาผิดตนเอง แต่ร้อยละ 48.5 ไม่ แจ้ง แต่ในกลุ่มคนที่มีรายได้มากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป กลับพบว่า ร้อยละ 46.0 จะแจ้งความเอาผิดตนเอง แต่ร้อยละ 54.0 ไม่แจ้ง นอกจากนี้ ยังพบความน่าเป็นห่วงในกลุ่มคนที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.9 จะไม่เอาผิดตนเองถ้าพบว่า ตนเองทุจริตคอรัปชั่น มีเพียง ร้อยละ 37.1 เท่านั้นที่จะเอาผิดตนเอง ในขณะที่กลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 53.7 จะเอาผิดตนเอง แต่ร้อยละ 46.3 จะไม่แจ้ง ความเอาผิดตนเอง

สำหรับ กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดคดีทุจริตจัดซื้อรถดับเพลิง เรือดับเพลิง ของกรุงเทพมหานคร ผลสำรวจพบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.9 ทราบข่าวเกี่ยวกับที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดคดีทุจริตจัดซื้อรถดับเพลิง เรือดับเพลิงของกรุงเทพมหานครโดยมี นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน มีรายชื่อติดเข้าไป ในกลุ่มผู้กระทำความผิดด้วย ในขณะที่ร้อยละ 17.1 ยังไม่ทราบข่าวดังกล่าว

ที่น่าพิจารณาและสอดคล้องกับข่าวการประกาศลาออกไปแล้วของ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน คือ การตัดสินใจของนายอภิรักษ์ สอดคล้องกับ ความรู้สึกของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คือส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.6 ระบุว่านายอภิรักษ์ ควรลาออก อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 30.4 ระบุว่าไม่ต้องลาออก

แต่เมื่อจำแนกออกตามกลุ่มคนที่เคยเลือกนายอภิรักษ์ กลุ่มคนเคยเลือกนายประภัสร์ และกลุ่มคนที่เคยเลือกผู้สมัครไม่สังกัดพรรคในการ เลือกตั้งผู้ว่า กทม. ครั้งล่าสุด พบว่า กลุ่มคนที่เคยเลือกนายอภิรักษ์มีสัดส่วนก้ำกึ่งกันคือ ร้อยละ 50.7 บอกว่าควรลาออก แต่ร้อยละ 49.3 บอกว่าไม่ ต้องลาออก ตรงกันข้ามกับ ความเห็นของกลุ่มคนที่เคยเลือกนายประภัสร์ จงสงวน และกลุ่มคนที่เคยเลือกผู้สมัครไม่สังกัดพรรค ที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.3 และร้อยละ 83.3 ที่บอกว่าควรลาออก

และเมื่อพิจารณาความนิยมศรัทธาต่อพรรคประชาธิปัตย์ ถ้านายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ลาออก (ซึ่งขณะนี้ลาออกไปแล้ว) ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 10.8 ทำให้นิยมศรัทธาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 49.9 ทำให้รักษาความนิยมศรัทธาต่อพรรคประชาธิปัตย์ได้เหมือนเดิม แต่ร้อยละ 27.9 ไม่นิยมศรัทธา เหมือนเดิม และร้อยละ 11.4 ยิ่งไม่นิยมศรัทธาเลย

ที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.2 เห็นว่า นักการเมืองทุกๆ คนที่ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ควรลาออกทั้งหมด ในขณะที่ ร้อยละ 26.8 ระบุไม่ต้องลาออก

และถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 37.0 จะเลือกผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 29.3 จะเลือกผู้สมัครของพรรคพลังประชาชน และร้อยละ 33.7 จะเลือกผู้สมัครไม่สังกัดพรรคที่กระจายไปอยู่ในหลายคน ได้แก่ นายชูวิทย์ กมลวิ ศิษฐ์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ และนางลีนา จังจรรจา เป็นต้น

ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงในสังคมไทยเรื่องทัศนคติของประชาชนต่อปัญหาทุจริตคอรัปชั่นว่า คนที่มี รายได้สูงและการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี กลับมีจำนวนหรือสัดส่วนน้อยกว่าคนที่มีรายได้น้อยและการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีที่มีจิตสำนึกจะเอาผิดตนเอง ถ้าพบว่าตนเองทุจริต คอรัปชั่น อย่างไรก็ตาม ผลจากการประกาศลาออกของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ทำให้พรรคประชาธิปัตย์สามารถรักษาฐานนิยม ศรัทธาในกลุ่มประชาชนคนกรุงเทพมหานครได้ และถ้ามีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเกิดขึ้นวันนี้ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ตั้งใจจะเลือก ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้งหนึ่งในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย

1. เพื่อสำรวจทัศนคติของประชาชนต่อการทุจริตคอรัปชั่น และคดีทุจริตจัดซื้อรถดับเพลิง เรือดับเพลิง ของกรุงเทพมหานคร

2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง ทัศนคติของประชาชนต่อการทุจริตคอรัปชั่น และ กรณีคดีทุจริตจัดซื้อรถดับเพลิง เรือดับเพลิงของ กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้ว่า กทม. จำนวนทั้งสิ้น 1,314 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการวันที่ 11- 12 พฤศจิกายน 2551

ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือก ตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอด คล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาด ตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้ วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 98 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 53.7 เป็นหญิง

ร้อยละ 46.3 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 27.2 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 27.8 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และ ร้อยละ 15.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 69.8 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 27.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 3.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 44.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 20.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 14.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 8.4 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา

ร้อยละ 6.8 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 5.3 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ในขณะที่ร้อยละ 0.6 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 16.0 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน

ร้อยละ 42.1 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท

ร้อยละ 14.8 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท

ร้อยละ 11.0 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท

ร้อยละ 16.1 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การติดตามข่าวการเมืองผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา     ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน                                          57.8
2          3-4 วันต่อสัปดาห์                                          17.5
3          1-2 วันต่อสัปดาห์                                          10.4
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์                                       11.2
5          ไม่ได้ติดตามเลย                                            3.1
          รวมทั้งสิ้น                                                100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อการกระทำความผิดทุจริต คอรัปชั่นของบุคคลกลุ่มต่างๆ
ลำดับที่          บุคคลที่กระทำความผิดทุจริต คอรัปชั่น    แจ้งความเอาผิดค่าร้อยละ  ไม่แจ้งความค่าร้อยละ  รวมทั้งสิ้น
1          ข้าราชการที่ทุจริตคอรัปชั่น                       90.1                9.9          100.0
2          นักการเมืองที่ทุจริตคอรัปชั่น                      89.1               10.9          100.0
3          แกนนำชุมชนที่พักอาศัยอยู่ด้วยทุจริตคอรัปชั่น           88.0               12.0          100.0
4          เพื่อนบ้านที่พักอยู่ใกล้บ้านของตนทุจริต คอรัปชั่น        75.4               24.6          100.0
5          ญาติพี่น้องที่อยู่ในบ้านเดียวกันทุจริตคอรัปชั่น           60.0               40.0          100.0
6          ถ้าพบว่า พ่อ แม่ หรือลูกของตนทุจริตคอรัปชั่น         53.7               46.3          100.0
7          ถ้าพบว่า ตนเองทุจริตคอรัปชั่น                    51.8               48.2          100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะแจ้งความเอาผิดตนเอง ถ้าพบว่าตนเองทุจริต คอรัปชั่น  จำแนกตาม เพศ
ลำดับที่          ความตั้งใจของตัวอย่าง ถ้าพบว่า ตนเองทุจริตคอรัปชั่น    ชาย            หญิง
1          แจ้งความเอาผิด ตนเอง                              51.8          51.8
2          ไม่แจ้ง                                           48.2          48.2
          รวมทั้งสิ้น                                         100.0         100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะแจ้งความเอาผิดตนเอง ถ้าพบว่าตนเองทุจริต คอรัปชั่น
จำแนกตาม ช่วงอายุ
ลำดับที่          ความตั้งใจของตัวอย่าง ถ้าพบว่า   ต่ำกว่า 20 ปี    20 - 29 ปี    30 - 39 ปี   40 - 49 ปี    50 ปีขึ้นไป

ตนเองทุจริตคอรัปชั่น

1          แจ้งความเอาผิด ตนเอง                50.4          51.3         54.0        51.4        51.4
2          ไม่แจ้ง                             49.6          48.7         46.0        48.6        48.6
          รวมทั้งสิ้น                           100.0         100.0        100.0       100.0       100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะแจ้งความเอาผิดตนเอง ถ้าพบว่าตนเองทุจริต คอรัปชั่น
จำแนกตาม กลุ่มอาชีพ
ลำดับที่          ความตั้งใจของตัวอย่าง      ข้าราชการ   พนักงาน   ค้าขายอิสระ   นักเรียน    แม่บ้าน       รับจ้าง
            ถ้าพบว่า ตนเองทุจริตคอรัปชั่น    รัฐวิสาหกิจ   เอกชน                นักศึกษา  เกษียณอายุ   ใช้แรงงานทั่วไป
1          แจ้งความเอาผิด ตนเอง           49.2      52.0      51.8       49.1      54.9        51.4
2          ไม่แจ้ง                        50.8      48.0      48.2       50.9      45.1        48.6
          รวมทั้งสิ้น                      100.0     100.0     100.0      100.0     100.0       100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะแจ้งความเอาผิดตนเอง ถ้าพบว่าตนเองทุจริต คอรัปชั่น
จำแนกตาม ระดับรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
ลำดับที่          ความตั้งใจของตัวอย่าง       ไม่เกิน        5001—       10001—      15001—      มากกว่า
             ถ้าพบว่า ตนเองทุจริตคอรัปชั่น   5,000 บ.    10,000 บ.    15,000 บ.   20,000 บ.   20,000 บ.
1          แจ้งความเอาผิด ตนเอง           51.5        54.1         51.6        54.5        46.0
2          ไม่แจ้ง                        48.5        45.9         48.4        45.5        54.0
          รวมทั้งสิ้น                      100.0       100.0        100.0       100.0       100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะแจ้งความเอาผิดตนเอง ถ้าพบว่าตนเองทุจริต คอรัปชั่น
จำแนกตาม ระดับการศึกษา
ลำดับที่          ความตั้งใจของตัวอย่าง ถ้าพบว่าตนเองทุจริตคอรัปชั่น    ต่ำกว่าปริญญาตรี    ปริญญาตรี    สูงกว่าปริญญาตรี
1          แจ้งความเอาผิด ตนเอง                                 53.7          49.2         37.1
2          ไม่แจ้ง                                              46.3          50.8         62.9
          รวมทั้งสิ้น                                            100.0         100.0        100.0

ตารางที่ 8  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุการทราบข่าวเกี่ยวกับที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม

การทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)ชี้มูลความผิดคดีทุจริตจัดซื้อรถดับเพลิง เรือดับเพลิงของกรุงเทพมหานครโดยมีชื่อ

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครร่วมอยู่ในกลุ่มผู้ถูกชี้มูลความผิดด้วย

ลำดับที่          การทราบข่าวของประชาชน        ค่าร้อยละ
1          ทราบ                              82.9
2          ยังไม่ทราบ                          17.1
          รวมทั้งสิ้น                           100.0

ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อการตัดสินใจของนายอภิรักษ์  โกษะโยธิน ภายหลัง
ปปช.ชี้ขาดคดีว่ามีความผิด
ลำดับที่          ความรู้สึกต่อการตัดสินใจของนายอภิรักษ์  โกษะโยธิน ภายหลัง ปปช.ชี้ขาดคดีว่ามีความผิด     ค่าร้อยละ
1          ควรลาออก                                                                      69.6
2          ไม่ต้องลาออก                                                                    30.4
          รวมทั้งสิ้น                                                                       100.0

ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อการตัดสินใจของนายอภิรักษ์  โกษะโยธิน ภายหลัง

ปปช.ชี้ขาดคดีว่ามีความผิด

ลำดับที่          ความรู้สึกต่อการตัดสินใจของอนายภิรักษ์    คนเคยเลือกนายอภิรักษ์    คนเคยเลือกนายประภัสร์   คนเคยเลือกผู้สมัครอิสระ

ภายหลัง ปปช.ชี้ขาดคดีว่ามีความผิด

1          ควรลาออก                                   50.7                    84.3              83.3
2          ไม่ต้องลาออก                                 49.3                    15.7              16.7
          รวมทั้งสิ้น                                    100.0                   100.0             100.0

ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมศรัทธาต่อพรรคประชาธิปัตย์

ถ้านายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ลาออก

ลำดับที่          ความนิยมศรัทธาต่อพรรคประชาธิปัตย์ ถ้านายอภิรักษ์  โกษะโยธิน ลาออก      ค่าร้อยละ
1          นิยมศรัทธามากเพิ่มขึ้น                                                  10.8
2          นิยมศรัทธาเหมือนเดิม                                                  49.9
3          ไม่นิยมศรัทธาเหมือนเดิม                                                27.9
4          ยิ่งไม่นิยมศรัทธาเลย                                                   11.4
          รวมทั้งสิ้น                                                           100.0

ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การตัดสินใจของนักการเมืองทุกๆ คนที่ถูก ปปช.ชี้มูลความผิด
ลำดับที่          ความคิดเห็นของประชาชน          ค่าร้อยละ
1          ควรลาออก                          73.2
2          ไม่ต้องลาออก                        26.8
          รวมทั้งสิ้น                           100.0

ตารางที่ 13  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกให้เป็นผู้ว่าราชการ

กรุงเทพมหานครคนใหม่ ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง

ลำดับที่          พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง             ค่าร้อยละ
1          ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์                                                                    37.0
2          ผู้สมัครของพรรคพลังประชาชน                                                                   29.3
3          ผู้สมัครไม่สังกัดพรรค เช่น นายชูวิทย์  กมลวิศิษฐ์ ดร.เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์ และนางลีนา  จังจรรจา เป็นต้น    33.7
          รวมทั้งสิ้น                                                                                  100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ