เอแบคโพลล์: สัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจ กรณีศึกษาสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดหัวเมืองใหญ่

ข่าวผลสำรวจ Wednesday November 19, 2008 10:24 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิง สำรวจ สัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจ กรณีศึกษาสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดหัวเมืองใหญ่ของประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ ชลบุรี อุบลราชธานี และ นครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 3,147 ตัวอย่างซึ่งดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 7 ตุลาคม — 18 พฤศจิกายน 2551 พบว่า ส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 90 กำลังติดตามข่าวเศรษฐกิจผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำทุกสัปดาห์

เมื่อสอบถามแนวโน้มของรายได้และรายจ่ายของครอบครัวในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาก่อนการสำรวจ พบว่า เกินกว่าครึ่งเล็กน้อยหรือร้อย ละ 51.8 ระบุรายได้ของครอบครัวลดลง ในขณะที่ร้อยละ 41.7 ระบุเท่าเดิม และเพียงร้อยละ 6.5 เท่านั้นที่บอกว่ารายได้ของครอบครัวเพิ่มขึ้น ที่ น่าเป็นห่วงคือ หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.6 ระบุรายจ่ายของครอบครัวเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 26.2 ระบุเท่าเดิม และร้อยละ 12.2 ระบุรายจ่ายลดลง

ที่ต้องพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.8 มองว่า แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา แย่ ลง ในขณะที่ร้อยละ 23.2 มองว่าทรงตัว และเพียงร้อยละ 2.0 เท่านั้นที่มองว่าสภาวะเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น

เมื่อถามถึงสภาวะเศรษฐกิจแนวโน้มของรายได้ครอบครัวในอีก 3 เดือนข้างหน้า ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 33.6 ระบุเท่าเดิม ร้อยละ 25.1 ระบุลดลง และร้อยละ 28.7 ยังไม่แน่ใจ มีเพียงร้อยละ 12.6 ที่เชื่อว่า รายได้ของครอบครัวจะเพิ่มขึ้นในอีก 3 เดือนข้างหน้า

นอกจากนี้ เมื่อถามถึงแนวโน้มความรู้สึกมั่นคงในหน้าที่การงาน ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 41.2 ยังรู้สึกมั่นคงเหมือนเดิม และร้อยละ 9.7 รู้สึกมั่นคงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 32.8 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 16.3 รู้สึกความมั่นคงในหน้าที่การงานลดน้อยลง

เมื่อถามถึงความเพียงพอของเงินเพื่อใช้จ่ายสำหรับตัวเองและครอบครัวในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า หัวหน้าครัวเรือนจำนวนมากหรือ ร้อยละ 41.3 ระบุว่าไม่พอใช้จ่าย และยิ่งไปกว่านั้น เกินกว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 27.1 ยังไม่ได้คิดถึงอนาคตของการใช้จ่ายทางการเงิน ในขณะ ที่ ร้อยละ 31.6 คิดว่าเพียงพอต่อค่าใช้จ่าย

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงพฤติกรรมการเก็บออมของหัวหน้าครัวเรือนพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.5 ระบุไม่มีการเก็บออม ในขณะที่ ร้อยละ 39.5 มีการเก็บออม และเมื่อถามในกลุ่มที่มีการเก็บออม พบว่า ร้อยละ 57.7 เก็บออมในรูปแบบของการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยเฉลี่ยใน กลุ่มนี้เท่ากับกว่าหนึ่งแสนบาทหรือเท่ากับ 137,438.67 บาท รองลงมาคือร้อยละ 28.4 เก็บออมในรูปแบบของการซื้อประกันชีวิต อันดับที่สามหรือร้อย ละ 17.8 เก็บเงินสดไว้ที่บ้านโดยเฉลี่ยประมาณสามหมื่นบาท หรือเท่ากับ 31,102.55 บาท และร้อยละ 15.8 เก็บออมโดยการซื้อทอง และร้อยละ 10.6 เก็บออมในรูปของฝากกับหน่วยงานหรือบริษัทที่ทำงานอยู่ เช่น สหกรณ์ เป็นต้น

ที่น่าเป็นห่วงคือ หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.1 มีหนี้สิน ในขณะที่ร้อยละ 23.9 ไม่มีหนี้สิน และที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ค่า เฉลี่ยของหนี้สิน เปรียบเทียบกับรายได้ของครอบครัวพบว่า มีค่าเฉลี่ยของหนี้สินสูงกว่ารายได้ของครอบครัวในทุกระดับรายได้ ซึ่งพบว่า ในครัวเรือนที่มี รายได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือนแต่มีหนี้สินสูงถึงเกือบสองแสนบาท หรือเท่ากับ หนี้สินเฉลี่ย 172,195.84 บาท ในครัวเรือนที่มีรายได้ 10,001 — 30,000 บาทต่อเดือน มีหนี้สินเฉลี่ย 289,533.62 บาท ในครัวเรือนที่มีรายได้ระหว่าง 30,001 — 50,000 บาท มีหนี้สินเฉลี่ย 493,864.47 บาท ในครัวเรือนที่มีรายได้ มากกว่า 50,000 บาทต่อเดือนขึ้นไปมีหนี้สินเฉลี่ยสูงถึงประมาณ 2.5 ล้านบาทต่อครัวเรือน หรือ 2,559,434.00 บาท

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า ค่าเฉลี่ยความพอใจของหัวหน้าครัวเรือนต่อนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาลอยู่ที่ 5.28 จาก คะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งถือว่าสอบผ่านเกินครึ่งมาเล็กน้อยในมุมมองของหัวหน้าครัวเรือนจากการวิจัยครั้งนี้

ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ถือเป็นสัญญาณเตือนภัยสภาวะเศรษฐกิจเนื่องจาก สิ่งที่ค้นพบสะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนคนไทยโดย เฉพาะหัวหน้าครัวเรือนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่ไม่มีการเก็บออม และส่วนใหญ่มีหนี้สินล้นพ้นตัวเกินกว่าระดับรายได้ของครอบครัวที่มีอยู่ นโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือนอาจเป็นเพียงความช่วยเหลือระยะสั้นเท่านั้น น่าเสียดายตรงที่ รัฐบาลน่าจะชูธงรณรงค์เรื่องหลักการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงควบคู่ไป ด้วย เพื่อให้ประชาชนปรับตัวปรับฐานของสภาวะเศรษฐกิจให้สอดคล้องและรองรับวิกฤตการณ์ต่างๆ ของสังคมที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้และอนาคตอันใกล้

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประชาชนคนไทยได้รอคอยมายาวนานที่จะได้รัฐบาลที่ดี เป็นรัฐบาลที่สามารถลดสภาวะเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงทาง การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม แต่พวกเราก็ยังคงได้รัฐบาลแบบเดิมๆ มีแต่ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ขาดหลักธรรมาภิบาล และจิตสำนึกทางการเมืองไม่ เพียงพอ วงจรแห่งความเลวร้ายต่อประเทศชาติและประชาชนจึงยังคงเกิดขึ้นซ้ำซาก ดังนั้นจึงอยากให้สังคมลองนึกถึงรูปแบบการเมืองใหม่ เป็น “การเมืองภาคประชาชนที่เข้มแข็ง” เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันเสถียรภาพของสังคมไทย และรัฐบาลเป็น “รัฐบาลแบบสามัญชน” มากกว่าที่จะเป็นรัฐบาล ขนาดใหญ่ด้วยการแบ่งสรรโควต้าตำแหน่งทางการเมืองเช่นปัจจุบัน แต่ประเทศไทยน่าจะมีรัฐบาลแบบที่มีขนาดเล็กไม่ใหญ่โต เทอะทะ ยึดหลักธรรมาภิ บาล ต้นทุนต่ำ แต่ทำงานได้ดี รวดเร็วฉับไวในการแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ปรับปรุงคุณภาพของประชาชนด้วยการศึกษาทั้งในและนอกระบบ ลด ปัญหาอาชญากรรมได้ ปกป้องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปฏิรูปความเป็นธรรมในสังคม และหนุนเสริมให้ประชาชนมีโอกาสมากขึ้นที่จะทำให้พวกเขา ประสบความสำเร็จสู่เป้าหมายของชีวิตแต่ละคน และกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจทุกระดับชั้น โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมควรได้รับคำแนะนำ ปรึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและมีมาตรการสนับสนุนจากรัฐบาลเพิ่มมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย

1. เพื่อสำรวจสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนของประชาชนหัวหน้าครัวเรือนในกรุงเทพมหานครและจังหวัดหัวเมืองใหญ่

2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง สัญญาณ เตือนภัยทางเศรษฐกิจ กรณีศึกษาสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ของประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ ชลบุรี อุบลราชธานี และ นครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 3,147 ตัวอย่างซึ่งดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 7 ตุลาคม — 18 พฤศจิกายน 2551 การสุ่ม ตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ใน ระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบ สอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 139 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 61.3 เป็นหญิง

ร้อยละ 38.7 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 21.9 อายุต่ำกว่า 29 ปี

ร้อยละ 29.7 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 26.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

ร้อยละ 21.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 73.8 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 24.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 1.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 41.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 28.9 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป

ร้อยละ 13.2 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 7.3 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 9.0 ไม่ได้ประกอบอาชีพ

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวเศรษฐกิจผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การติดตามข่าวการเมืองผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา     ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน                                           49.5
2          3-4 วันต่อสัปดาห์                                           21.3
3          1-2 วันต่อสัปดาห์                                           18.6
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์                                         6.2
5          ไม่ได้ติดตามเลย                                             4.4
          รวมทั้งสิ้น                                                 100.0

ตารางที่ 2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแนวโน้มของรายได้และรายจ่ายของครอบครัวในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ก่อนการสำรวจ
ลำดับที่          แนวโน้มของรายได้และรายจ่ายของครอบครัวในช่วง 3 เดือน    เพิ่มขึ้น       เท่าเดิม        ลดลง
1          รายได้ของครอบครัว                                        6.5         41.7        51.8
2          รายจ่ายของครอบครัว                                      61.6         26.2        12.2

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเปรียบเทียบกับช่วงเวลาขณะนี้
ลำดับที่          แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ         ค่าร้อยละ
1          ดีขึ้น                                        2.0
2          ทรงตัว                                     23.2
3          แย่ลง                                      74.8
          รวมทั้งสิ้น                                   100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แนวโน้มของรายได้ของครอบครัวในอีก 3 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่          แนวโน้มของรายได้ของครอบครัวในอีก 3 เดือนข้างหน้า   ค่าร้อยละ
1          เพิ่มขึ้น                                            12.6
2          เท่าเดิม                                           33.6
3          ลดลง                                             25.1
4          ไม่แน่ใจ                                           28.7
          รวมทั้งสิ้น                                          100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แนวโน้มความมั่นคงในหน้าที่การงาน
ลำดับที่          แนวโน้มความรู้สึกมั่นคงในหน้าที่การงานของหัวหน้าครอบครัว       ค่าร้อยละ
1          เพิ่มขึ้น                                                     9.7
2          เท่าเดิม                                                   41.2
3          ลดลง                                                     16.3
4          ไม่แน่ใจ                                                   32.8
          รวมทั้งสิ้น                                                  100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเพียงพอของเงินเพื่อใช้จ่ายสำหรับตัวเองและครอบครัวในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่          ความเพียงพอของค่าใช้จ่ายในอีก 6 เดือนข้างหน้า             ค่าร้อยละ
1          เพียงพอ                                                   31.6
2          ไม่พอ                                                     41.3
3          ยังไม่ได้คิดถึงอนาคตของการใช้จ่ายทางการเงิน                      27.1
          รวมทั้งสิ้น                                                  100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมการเก็บออม
ลำดับที่          พฤติกรรมการเก็บออม               ค่าร้อยละ
1          มีเก็บออม                               39.5
2          ไม่มีการเก็บออม                          60.5
          รวมทั้งสิ้น                               100.0

ตารางที่ 8  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรูปแบบการออมเงินสำหรับครอบครัว  (เฉพาะกลุ่มที่มีการเก็บออมและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          รูปแบบการออมเงินของกลุ่มคนที่มีการเก็บออม              ร้อยละ
1          ฝากเงินกับธนาคาร   โดยเฉลี่ย ...137,438.67 บาท          57.7
2          ซื้อประกันชีวิต                                          28.4
3          เก็บเงินสดไว้ที่บ้าน โดยเฉลี่ย... 31,102.55 บาท             17.8
4          ซื้อทอง                                               15.8
5          ฝากกับหน่วยงานหรือบริษัทที่ทำงานอยู่ (เช่น สหกรณ์)             10.6
6          ซื้ออสังหาริมทรัพย์                                        8.2
7          ซื้อพันธบัตร                                             5.8
8          ซื้อกองทุนรวม                                           4.6
9          ซื้อหุ้น                                                 1.8

ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การมี/ไม่มีหนี้สิน
ลำดับที่          การมี/ไม่มีหนี้สิน         ค่าร้อยละ
1          มีหนี้สิน                      76.1
2          ไม่มีหนี้สิน                    23.9
          รวมทั้งสิ้น                    100.0

ตารางที่ 10 แสดงค่าเฉลี่ยของหนี้สินจำแนกตามกลุ่มรายได้ครอบครัว  (ค่าเฉลี่ยหนี้สินเฉพาะตัวอย่างที่ระบุมีหนี้สิน)
ลำดับที่          รายได้ของครอบครัว             ค่าเฉลี่ยของหนี้สิน
1             ไม่เกิน 10,000 บาท           172,195.84  บาท
2          10,001 — 30,000 บาท           289,533.62  บาท
4          30,001 — 50,000 บาท           493,864.47  บาท
6            มากกว่า 50,000 บาท          2,559,434.00 บาท

ตารางที่ 11 แสดงค่าเฉลี่ยความพอใจของหัวหน้าครัวเรือนต่อนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล
ค่าเฉลี่ยความพอใจของหัวหน้าครัวเรือนต่อนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน          ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                    5.28                                             2.60

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ