ความเป็นมาของโครงการ
เทศกาลตรุษจีนเป็นช่วงเวลาที่สังคมไทยโดยส่วนใหญ่รับทราบมาโดยตลอดว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่มีเชื้อสาย
จีนหรือปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณีของจีนสำหรับการก้าวเข้าสู่ปีใหม่ด้วยการเซ่นไหว้ มอบอาหาร ผลไม้แก่ผู้ใหญ่และการแจกอั่งเปาแก่ผู้ที่มีรายได้น้อย
กว่าหรือยังไม่มีรายได้จากการประกอบอาชีพการงาน ช่วงเวลานี้จึงมีเงินสะพัดมากกว่าช่วงเวลาปกติของแต่ละปี อย่างไรก็ตาม การจับจ่ายใช้สอยและ
วงเงินสะพัดขึ้นอยู่กับการรับรู้ต่อสถานะความมั่นคงทางการเงินของครัวเรือนว่าประชาชนในครัวเรือนที่ยึดธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติของชาวจีนจะ
สามารถเพิ่มอำนาจการจับจ่ายใช้สอยในเทศกาลนี้มากน้อยเพียงไร นอกจากนี้ในสถานการณ์ทางการเมืองที่กำลังร้อนแรงอยู่พอสมควร การสอบถามถึง
นโยบายรัฐบาลต่อความมั่นคงทางการเงินของครัวเรือนและความนิยมต่อพรรคการเมืองจึงเป็นประเด็นที่ถูกสนใจศึกษา
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์จึงประสงค์ที่จะทำการสำรวจความมั่นคงทางการเงินของครัวเรือน ความตั้งใจในการจับจ่ายใช้สอยในช่วงตรุษจีน
และความนิยมต่อพรรคการเมืองขึ้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องตามระเบียบวิธีวิจัยทาง
สังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อทราบสถานะความมั่นคงทางการเงินของครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อทราบพฤติกรรรมการจับจ่ายใช้สอยและปริมาณเงินที่คาดว่าจะมีการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนในปี 2549
3. เพื่อสำรวจความนิยมของหัวหน้าครัวเรือนต่อพรรคการเมือง
4. เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์หรือศึกษาเรื่องนี้ อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สถานะทางการเงินของครัวเรือน ความตั้งใจใน
การจับจ่ายใช้สอยช่วงเทศกาลตรุษจีน และความนิยมต่อพรรคการเมือง: กรณีศึกษาหัวหน้าครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ
ในวันที่ 21 - 25 มกราคม 2549 มีระเบียบวิธีการทำวิจัยดังนี้
ประเภทของการทำวิจัย คือ การวิจัยเชิงสำรวจ
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ หัวหน้าครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร
วิธีการสุ่มตัวอย่าง คือ แผนการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิชนิดหลายขั้น (Stratified Multi-Stage Sampling)
ขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 1,263 ตัวอย่าง
เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบ
ถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 44.8 เป็นชาย
ร้อยละ 55.2 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 25.7 มีอายุอยู่ระหว่าง 25-34 ปี
ร้อยละ 29.4 อยู่ระหว่าง 35-44 ปี
ร้อยละ 26.4 มีอายุอยู่ระหว่าง 45-54 ปี
และ ร้อยละ 18.5 มีอายุ 55 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 43.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 16.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 15.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 8.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปวส./อนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 14.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.9 ระบุอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 11.6 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 45.2 อาชีพค้าขาย/กิจการส่วนตัว
ร้อยละ 24.4 อาชีพรับจ้าง
ร้อยละ 11.7 อาชีพแม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 1.1 อาชีพว่างงาน
ร้อยละ 0.1 อาชีพอื่น ๆ เกษตรกร
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลการสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับ นางสาวภัทรพร คุณาวุฒิ เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในโครงการ
แลกเปลี่ยนความรู้และวิชาการกับสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สถานะทางการเงินของครัวเรือน ความ
ตั้งใจในการจับจ่ายใช้สอยช่วงเทศกาลตรุษจีน และความนิยมต่อพรรคการเมือง: กรณีศึกษาหัวหน้าครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร” โดยสอบถามหัว
หน้าครัวเรือน (ผู้ที่มีรายได้หลักในครอบครัว หรือผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ของครอบครัว) ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน
ตัวอย่างทั้งสิ้น 1,263 ตัวอย่าง ทั้งนี้ได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21 — 25 มกราคม 2549 โดยมีประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
หัวหน้าครัวเรือนที่ถูกศึกษาร้อยละ 43.2 ระบุว่ามีสมาชิกที่มีรายได้ในครอบครัวอยู่สองคน รองลงมาคือร้อยละ 25.1 ระบุว่ามีสมาชิกที่มี
รายได้อยู่หนึ่งคน ในขณะที่ร้อยละ 16.4 ระบุว่ามีสมาชิกที่มีรายได้อยู่สามคน และร้อยละ 15.3 ระบุว่ามีสมาชิกที่มีรายได้อยู่ตั้งแต่สี่คนขึ้นไป เมื่อสอบ
ถามรายได้เฉลี่ยของทุกคนรวมกันในครอบครัวพบว่าเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 57.2 ระบุว่ามีรายได้ครอบครัวรวมกันระหว่าง 10,001 — 50,000
บาทต่อเดือน ในขณะที่ร้อยละ 36.5 มีรายได้ครอบครัวรวมกันไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน และร้อยละ 6.3 มีรายได้ครอบครัวมากกว่า 50,000
บาทต่อเดือนขึ้นไป
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า หัวหน้าครัวเรือนเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 56.6 ระบุมีการออมเงิน ในขณะที่จำนวนมากหรือร้อยละ 43.4 ไม่
มีการออมเงินเลย ประเด็นที่น่าสนใจคือหน่วยงานของรัฐบาลบางแห่งมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเก็บออม 1 ส่วนหรือร้อยละ 25 และใช้
3 ส่วนหรือร้อยละ 75 แต่จากการวิจัยครั้งนี้พบว่าหัวหน้าครัวเรือนมีการเก็บออมเพียงร้อยละ 11.81 เท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นหัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 59.0 กลับมีภาระหนี้สิน ในขณะที่ร้อยละ 41.0 ไม่มีหนี้สิน
“ในกลุ่มที่มีหนี้สินนั้น ผลวิจัยพบว่าหัวหน้าครัวเรือนเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 54.7 ระบุจำนวนเงินที่เป็นหนี้สูงมากกว่า 40,000 บาท
ขึ้นไป ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของเงินที่เก็บออมได้ทั้งปีจำนวน 35,352 บาทของครัวเรือนทั้งหมดในเขตกรุงเทพมหานคร” ดร.นพดล
กล่าว
นางสาวภัทรพร คุณาวุฒิ เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในโครงการแลกเปลี่ยนความรู้กับสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า อย่างไรก็
ตาม หัวหน้าครัวเรือนเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 54.8 ยังคงคาดการณ์เกี่ยวกับสถานะการเงินของครอบครัวไปในทิศทางที่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับที่ผ่าน
มา ในขณะที่ร้อยละ 32.6 หรือประมาณ 1 ใน 3 ระบุสถานะทางการเงินของครอบครัวไปในทิศทางที่แย่และร้อยละ 12.6 ยังไม่สามารถระบุ
สถานการณ์ได้ชัดเจนและไม่มีความเห็น ซึ่งผลสำรวจเป็นไปในลักษณะที่ค่อนข้างสอดคล้องกับความคิดเห็นต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีต่อความ
เป็นอยู่ของครอบครัวซึ่งผลสำรวจพบว่าหัวหน้าครัวเรือนจำนวนมากหรือร้อยละ 46.9 คิดว่านโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบันมีผลดีต่อชีวิต
ความเป็นอยู่ของครอบครัว ในขณะที่ร้อยละ 37.3 หรือเกินกว่า 1 ใน 3 คิดว่านโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่ได้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของครอบ
ครัวดีขึ้นและร้อยละ 15.8 ไม่มีความเห็น
“เมื่อสอบถามถึงความตั้งใจจะจับจ่ายใช้สอยของหัวหน้าครัวเรือนในช่วงตรุษจีน ผลสำรวจพบว่า ครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.4 ตั้งใจจะใช้
จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีนปีนี้ ในขณะที่ร้อยละ 49.6 ไม่คิดว่าจะใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีนปีนี้ ซึ่งในกลุ่มที่ตั้งใจจะใช้จ่ายส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 65.3 ตั้งใจจะมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าอั่งเปาเท่าเดิมเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 20.6 ระบุว่าจะใช้จ่ายด้านนี้ลดลง และร้อยละ
14.1 จะใช้จ่ายด้านนี้มากขึ้น ส่วนเรื่องของการใช้จ่ายด้านของเซ่นไหว้กับการท่องเที่ยวตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 54.9 และร้อยละ
52.5 ระบุว่าจะใช้จ่ายเท่าเดิมเหมือนกับปีที่ผ่านมา” นางสาวภัทรพร กล่าว
ดร.นพดล กล่าวเสริมว่า เมื่อทำการประมาณการวงเงินที่คาดว่าจะสะพัดช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ จากครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งสิ้น 2,050,411 ครัวเรือน พบว่าประมาณหนึ่งล้านครัวเรือนตั้งใจจะใช้จ่ายเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีนโดยมีวงเงินประมาณการรวมทั้งสิ้น
6,288,292,894 บาท
นอกจากนี้ ดร.นพดล กล่าวในตอนท้ายว่า ปัจจัยสำคัญด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนคงแยกกันไม่ออกจาก
สถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันที่กำลังเข้มข้นอยู่ขณะนี้ เอแบคโพลล์จึงได้สอบถามถึงความนิยมของหัวหน้าครัวเรือนต่อพรรคการเมือง ซึ่งพบประเด็นที่
ฝ่ายการเมืองคงต้องค้นหาสาเหตุที่แท้จริงกันต่อไปเพราะร้อยละ 43.2 นิยมพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 16.8 นิยมพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 12.1 ไม่
นิยมทั้งสองพรรค ในขณะที่เกินกว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 27.9 ไม่มีความเห็น
“ผลสำรวจความนิยมต่อพรรคการเมืองครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ในสถานการณ์การเมืองที่พรรคใหญ่ทั้งสองพรรคกำลังประสบปัญหากระแสวิกฤต
ศรัทธาของสังคมทั้งในเรื่องความไม่โปร่งใสในการประมูลโครงการขนาดใหญ่ของกรุงเทพมหานครและกระแสข่าวในทางลบต่อภาพลักษณ์ของนายก
รัฐมนตรีด้านต่างๆ หลายด้านคงส่งผลทำให้หัวหน้าครัวเรือนไม่นิยมทั้งพรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์สูงถึงร้อยละ 40 ในการสำรวจครั้ง
นี้” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนสมาชิกที่มีรายได้ในครอบครัว
ลำดับที่ จำนวนสมาชิกที่มีรายได้ในครอบครัว ค่าร้อยละ
1 1 คน 25.1
2 2 คน 43.2
3 3 คน 16.4
4 ตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป 15.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน
ลำดับที่ รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 10,000 บาท 36.5
2 ระหว่าง 10,001 — 50,000 บาท 57.2
3 มากกว่า 50,000 บาท 6.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการออมเงินของครอบครัว
ลำดับที่ การออมเงินของครอบครัว ค่าร้อยละ
1 ออมเงิน 56.6
2 ไม่ออมเงิน 43.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของประมาณการอัตราการออมต่อรายได้โดยเฉลี่ยต่อปีของครัวเรือนใน กทม.
ลำดับที่ การออมเฉลี่ย (บาท) รายได้เฉลี่ย (บาท) อัตราการออมต่อรายได้เฉลี่ยต่อปี*
1 35,351.58 299,304.03 11.81
* ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีภาระหนี้สินของครอบครัว
ลำดับที่ การมีภาระหนี้สินของครอบครัว ค่าร้อยละ
1 มีภาระหนี้สิน 59.0
2 ไม่มีภาระหนี้สิน 41.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปริมาณหนี้สินของครัวเรือน (เฉพาะครัวเรือนที่มีหนี้สิน)
ลำดับที่ ปริมาณหนี้สินของครัวเรือน ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 10,000 บาท 18.7
2 ระหว่าง 10,001 — 40,000 บาท 26.6
3 มากกว่า 40,000 บาทขึ้นไป 54.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดการณ์ต่อสถานะทางการเงินของครอบครัว
ในปี 2549 เปรียบเทียบกับปี 2548
ลำดับที่ ความคาดการณ์ต่อสถานะทางการเงินของครอบครัว ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้นกว่าเดิม 23.3
2 ดีเหมือนเดิม 31.5
3 แย่เหมือนเดิม 12.6
4 แย่ลง 20.0
5 ไม่ทราบ/ไม่มีความเห็น 12.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่มีต่อความเป็นอยู่ของครอบครัว
ลำดับที่ ความเป็นอยู่ของครอบครัว ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้นกว่าเดิม 23.4
2 ดีเหมือนเดิม 23.5
3 แย่เหมือนเดิม 15.4
4 แย่ลง 21.9
5 ไม่ทราบ/ไม่มีความเห็น 15.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน
ลำดับที่ การใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน 50.4
2 ไม่คิดว่าจะใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน 49.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุมีการใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน
ในหมวดต่าง ๆ ในปี 2549 เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
ลำดับที่ การใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีนในหมวดต่าง ๆ ค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้น
เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง
1 ของเซ่นไหว้ 25.4 54.9 19.7 100.0
2 อั่งเปา 14.1 65.3 20.6 100.0
3 ท่องเที่ยว 20.5 52.5 27.0 100.0
4 อื่น ๆ (ไปศาลเจ้า ไปทำบุญ) 16.7 66.6 16.7 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าประมาณการจำนวนเงินที่จะต้องใช้จ่ายของครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร
ที่มีการจับจ่ายในช่วงตรุษจีน
ลำดับที่ การใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน จำนวน (บาท)
วงเงินที่ตั้งใจจะใช้จ่ายช่วงตรุษจีน เช่น ของเซ่นไหว้/ อั่งเปา/ ท่องเที่ยว และอื่นๆ 6,288,292,894
ประมาณการจากครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานครรวมทั้งสิ้น 2,050,411 ครัวเรือน
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมพรรคการเมืองระหว่างพรรคไทยรักไทย และพรรคประชาธิปัตย์
ลำดับที่ ความนิยมพรรคการเมือง ค่าร้อยละ
1 พรรคไทยรักไทย 43.2
2 พรรคประชาธิปัตย์ 16.8
3 ไม่นิยมทั้งสองพรรค 12.1
4 ไม่มีความเห็น 27.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เทศกาลตรุษจีนเป็นช่วงเวลาที่สังคมไทยโดยส่วนใหญ่รับทราบมาโดยตลอดว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่มีเชื้อสาย
จีนหรือปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณีของจีนสำหรับการก้าวเข้าสู่ปีใหม่ด้วยการเซ่นไหว้ มอบอาหาร ผลไม้แก่ผู้ใหญ่และการแจกอั่งเปาแก่ผู้ที่มีรายได้น้อย
กว่าหรือยังไม่มีรายได้จากการประกอบอาชีพการงาน ช่วงเวลานี้จึงมีเงินสะพัดมากกว่าช่วงเวลาปกติของแต่ละปี อย่างไรก็ตาม การจับจ่ายใช้สอยและ
วงเงินสะพัดขึ้นอยู่กับการรับรู้ต่อสถานะความมั่นคงทางการเงินของครัวเรือนว่าประชาชนในครัวเรือนที่ยึดธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติของชาวจีนจะ
สามารถเพิ่มอำนาจการจับจ่ายใช้สอยในเทศกาลนี้มากน้อยเพียงไร นอกจากนี้ในสถานการณ์ทางการเมืองที่กำลังร้อนแรงอยู่พอสมควร การสอบถามถึง
นโยบายรัฐบาลต่อความมั่นคงทางการเงินของครัวเรือนและความนิยมต่อพรรคการเมืองจึงเป็นประเด็นที่ถูกสนใจศึกษา
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์จึงประสงค์ที่จะทำการสำรวจความมั่นคงทางการเงินของครัวเรือน ความตั้งใจในการจับจ่ายใช้สอยในช่วงตรุษจีน
และความนิยมต่อพรรคการเมืองขึ้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องตามระเบียบวิธีวิจัยทาง
สังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อทราบสถานะความมั่นคงทางการเงินของครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อทราบพฤติกรรรมการจับจ่ายใช้สอยและปริมาณเงินที่คาดว่าจะมีการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนในปี 2549
3. เพื่อสำรวจความนิยมของหัวหน้าครัวเรือนต่อพรรคการเมือง
4. เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์หรือศึกษาเรื่องนี้ อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สถานะทางการเงินของครัวเรือน ความตั้งใจใน
การจับจ่ายใช้สอยช่วงเทศกาลตรุษจีน และความนิยมต่อพรรคการเมือง: กรณีศึกษาหัวหน้าครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ
ในวันที่ 21 - 25 มกราคม 2549 มีระเบียบวิธีการทำวิจัยดังนี้
ประเภทของการทำวิจัย คือ การวิจัยเชิงสำรวจ
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ หัวหน้าครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร
วิธีการสุ่มตัวอย่าง คือ แผนการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิชนิดหลายขั้น (Stratified Multi-Stage Sampling)
ขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 1,263 ตัวอย่าง
เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบ
ถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 44.8 เป็นชาย
ร้อยละ 55.2 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 25.7 มีอายุอยู่ระหว่าง 25-34 ปี
ร้อยละ 29.4 อยู่ระหว่าง 35-44 ปี
ร้อยละ 26.4 มีอายุอยู่ระหว่าง 45-54 ปี
และ ร้อยละ 18.5 มีอายุ 55 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 43.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 16.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 15.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 8.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปวส./อนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 14.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.9 ระบุอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 11.6 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 45.2 อาชีพค้าขาย/กิจการส่วนตัว
ร้อยละ 24.4 อาชีพรับจ้าง
ร้อยละ 11.7 อาชีพแม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 1.1 อาชีพว่างงาน
ร้อยละ 0.1 อาชีพอื่น ๆ เกษตรกร
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลการสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับ นางสาวภัทรพร คุณาวุฒิ เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในโครงการ
แลกเปลี่ยนความรู้และวิชาการกับสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สถานะทางการเงินของครัวเรือน ความ
ตั้งใจในการจับจ่ายใช้สอยช่วงเทศกาลตรุษจีน และความนิยมต่อพรรคการเมือง: กรณีศึกษาหัวหน้าครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร” โดยสอบถามหัว
หน้าครัวเรือน (ผู้ที่มีรายได้หลักในครอบครัว หรือผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ของครอบครัว) ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน
ตัวอย่างทั้งสิ้น 1,263 ตัวอย่าง ทั้งนี้ได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21 — 25 มกราคม 2549 โดยมีประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
หัวหน้าครัวเรือนที่ถูกศึกษาร้อยละ 43.2 ระบุว่ามีสมาชิกที่มีรายได้ในครอบครัวอยู่สองคน รองลงมาคือร้อยละ 25.1 ระบุว่ามีสมาชิกที่มี
รายได้อยู่หนึ่งคน ในขณะที่ร้อยละ 16.4 ระบุว่ามีสมาชิกที่มีรายได้อยู่สามคน และร้อยละ 15.3 ระบุว่ามีสมาชิกที่มีรายได้อยู่ตั้งแต่สี่คนขึ้นไป เมื่อสอบ
ถามรายได้เฉลี่ยของทุกคนรวมกันในครอบครัวพบว่าเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 57.2 ระบุว่ามีรายได้ครอบครัวรวมกันระหว่าง 10,001 — 50,000
บาทต่อเดือน ในขณะที่ร้อยละ 36.5 มีรายได้ครอบครัวรวมกันไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน และร้อยละ 6.3 มีรายได้ครอบครัวมากกว่า 50,000
บาทต่อเดือนขึ้นไป
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า หัวหน้าครัวเรือนเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 56.6 ระบุมีการออมเงิน ในขณะที่จำนวนมากหรือร้อยละ 43.4 ไม่
มีการออมเงินเลย ประเด็นที่น่าสนใจคือหน่วยงานของรัฐบาลบางแห่งมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเก็บออม 1 ส่วนหรือร้อยละ 25 และใช้
3 ส่วนหรือร้อยละ 75 แต่จากการวิจัยครั้งนี้พบว่าหัวหน้าครัวเรือนมีการเก็บออมเพียงร้อยละ 11.81 เท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นหัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 59.0 กลับมีภาระหนี้สิน ในขณะที่ร้อยละ 41.0 ไม่มีหนี้สิน
“ในกลุ่มที่มีหนี้สินนั้น ผลวิจัยพบว่าหัวหน้าครัวเรือนเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 54.7 ระบุจำนวนเงินที่เป็นหนี้สูงมากกว่า 40,000 บาท
ขึ้นไป ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของเงินที่เก็บออมได้ทั้งปีจำนวน 35,352 บาทของครัวเรือนทั้งหมดในเขตกรุงเทพมหานคร” ดร.นพดล
กล่าว
นางสาวภัทรพร คุณาวุฒิ เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในโครงการแลกเปลี่ยนความรู้กับสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า อย่างไรก็
ตาม หัวหน้าครัวเรือนเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 54.8 ยังคงคาดการณ์เกี่ยวกับสถานะการเงินของครอบครัวไปในทิศทางที่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับที่ผ่าน
มา ในขณะที่ร้อยละ 32.6 หรือประมาณ 1 ใน 3 ระบุสถานะทางการเงินของครอบครัวไปในทิศทางที่แย่และร้อยละ 12.6 ยังไม่สามารถระบุ
สถานการณ์ได้ชัดเจนและไม่มีความเห็น ซึ่งผลสำรวจเป็นไปในลักษณะที่ค่อนข้างสอดคล้องกับความคิดเห็นต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีต่อความ
เป็นอยู่ของครอบครัวซึ่งผลสำรวจพบว่าหัวหน้าครัวเรือนจำนวนมากหรือร้อยละ 46.9 คิดว่านโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบันมีผลดีต่อชีวิต
ความเป็นอยู่ของครอบครัว ในขณะที่ร้อยละ 37.3 หรือเกินกว่า 1 ใน 3 คิดว่านโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่ได้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของครอบ
ครัวดีขึ้นและร้อยละ 15.8 ไม่มีความเห็น
“เมื่อสอบถามถึงความตั้งใจจะจับจ่ายใช้สอยของหัวหน้าครัวเรือนในช่วงตรุษจีน ผลสำรวจพบว่า ครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.4 ตั้งใจจะใช้
จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีนปีนี้ ในขณะที่ร้อยละ 49.6 ไม่คิดว่าจะใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีนปีนี้ ซึ่งในกลุ่มที่ตั้งใจจะใช้จ่ายส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 65.3 ตั้งใจจะมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าอั่งเปาเท่าเดิมเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 20.6 ระบุว่าจะใช้จ่ายด้านนี้ลดลง และร้อยละ
14.1 จะใช้จ่ายด้านนี้มากขึ้น ส่วนเรื่องของการใช้จ่ายด้านของเซ่นไหว้กับการท่องเที่ยวตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 54.9 และร้อยละ
52.5 ระบุว่าจะใช้จ่ายเท่าเดิมเหมือนกับปีที่ผ่านมา” นางสาวภัทรพร กล่าว
ดร.นพดล กล่าวเสริมว่า เมื่อทำการประมาณการวงเงินที่คาดว่าจะสะพัดช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ จากครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งสิ้น 2,050,411 ครัวเรือน พบว่าประมาณหนึ่งล้านครัวเรือนตั้งใจจะใช้จ่ายเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีนโดยมีวงเงินประมาณการรวมทั้งสิ้น
6,288,292,894 บาท
นอกจากนี้ ดร.นพดล กล่าวในตอนท้ายว่า ปัจจัยสำคัญด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนคงแยกกันไม่ออกจาก
สถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันที่กำลังเข้มข้นอยู่ขณะนี้ เอแบคโพลล์จึงได้สอบถามถึงความนิยมของหัวหน้าครัวเรือนต่อพรรคการเมือง ซึ่งพบประเด็นที่
ฝ่ายการเมืองคงต้องค้นหาสาเหตุที่แท้จริงกันต่อไปเพราะร้อยละ 43.2 นิยมพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 16.8 นิยมพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 12.1 ไม่
นิยมทั้งสองพรรค ในขณะที่เกินกว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 27.9 ไม่มีความเห็น
“ผลสำรวจความนิยมต่อพรรคการเมืองครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ในสถานการณ์การเมืองที่พรรคใหญ่ทั้งสองพรรคกำลังประสบปัญหากระแสวิกฤต
ศรัทธาของสังคมทั้งในเรื่องความไม่โปร่งใสในการประมูลโครงการขนาดใหญ่ของกรุงเทพมหานครและกระแสข่าวในทางลบต่อภาพลักษณ์ของนายก
รัฐมนตรีด้านต่างๆ หลายด้านคงส่งผลทำให้หัวหน้าครัวเรือนไม่นิยมทั้งพรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์สูงถึงร้อยละ 40 ในการสำรวจครั้ง
นี้” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนสมาชิกที่มีรายได้ในครอบครัว
ลำดับที่ จำนวนสมาชิกที่มีรายได้ในครอบครัว ค่าร้อยละ
1 1 คน 25.1
2 2 คน 43.2
3 3 คน 16.4
4 ตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป 15.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน
ลำดับที่ รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 10,000 บาท 36.5
2 ระหว่าง 10,001 — 50,000 บาท 57.2
3 มากกว่า 50,000 บาท 6.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการออมเงินของครอบครัว
ลำดับที่ การออมเงินของครอบครัว ค่าร้อยละ
1 ออมเงิน 56.6
2 ไม่ออมเงิน 43.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของประมาณการอัตราการออมต่อรายได้โดยเฉลี่ยต่อปีของครัวเรือนใน กทม.
ลำดับที่ การออมเฉลี่ย (บาท) รายได้เฉลี่ย (บาท) อัตราการออมต่อรายได้เฉลี่ยต่อปี*
1 35,351.58 299,304.03 11.81
* ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีภาระหนี้สินของครอบครัว
ลำดับที่ การมีภาระหนี้สินของครอบครัว ค่าร้อยละ
1 มีภาระหนี้สิน 59.0
2 ไม่มีภาระหนี้สิน 41.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปริมาณหนี้สินของครัวเรือน (เฉพาะครัวเรือนที่มีหนี้สิน)
ลำดับที่ ปริมาณหนี้สินของครัวเรือน ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 10,000 บาท 18.7
2 ระหว่าง 10,001 — 40,000 บาท 26.6
3 มากกว่า 40,000 บาทขึ้นไป 54.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดการณ์ต่อสถานะทางการเงินของครอบครัว
ในปี 2549 เปรียบเทียบกับปี 2548
ลำดับที่ ความคาดการณ์ต่อสถานะทางการเงินของครอบครัว ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้นกว่าเดิม 23.3
2 ดีเหมือนเดิม 31.5
3 แย่เหมือนเดิม 12.6
4 แย่ลง 20.0
5 ไม่ทราบ/ไม่มีความเห็น 12.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่มีต่อความเป็นอยู่ของครอบครัว
ลำดับที่ ความเป็นอยู่ของครอบครัว ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้นกว่าเดิม 23.4
2 ดีเหมือนเดิม 23.5
3 แย่เหมือนเดิม 15.4
4 แย่ลง 21.9
5 ไม่ทราบ/ไม่มีความเห็น 15.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน
ลำดับที่ การใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน 50.4
2 ไม่คิดว่าจะใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน 49.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุมีการใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน
ในหมวดต่าง ๆ ในปี 2549 เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
ลำดับที่ การใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีนในหมวดต่าง ๆ ค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้น
เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง
1 ของเซ่นไหว้ 25.4 54.9 19.7 100.0
2 อั่งเปา 14.1 65.3 20.6 100.0
3 ท่องเที่ยว 20.5 52.5 27.0 100.0
4 อื่น ๆ (ไปศาลเจ้า ไปทำบุญ) 16.7 66.6 16.7 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าประมาณการจำนวนเงินที่จะต้องใช้จ่ายของครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร
ที่มีการจับจ่ายในช่วงตรุษจีน
ลำดับที่ การใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน จำนวน (บาท)
วงเงินที่ตั้งใจจะใช้จ่ายช่วงตรุษจีน เช่น ของเซ่นไหว้/ อั่งเปา/ ท่องเที่ยว และอื่นๆ 6,288,292,894
ประมาณการจากครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานครรวมทั้งสิ้น 2,050,411 ครัวเรือน
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมพรรคการเมืองระหว่างพรรคไทยรักไทย และพรรคประชาธิปัตย์
ลำดับที่ ความนิยมพรรคการเมือง ค่าร้อยละ
1 พรรคไทยรักไทย 43.2
2 พรรคประชาธิปัตย์ 16.8
3 ไม่นิยมทั้งสองพรรค 12.1
4 ไม่มีความเห็น 27.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-