ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง สังคมไทย รัฐบาล และคุณสมบัติ นายกรัฐมนตรีที่เด็กและเยาวชนไทยอยากเห็น กรณีศึกษาเยาวชนที่มีอายุ 15-18 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล สาเหตุสำคัญที่เลือก ศึกษาเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ เนื่องจากเล็งเห็นว่าเด็กและเยาวชนเหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาสังคมไทยในอนาคต จำนวน ตัวอย่างทั้งสิ้น 1,925 ตัวอย่าง มีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3 - 4 ธันวาคม 2551 พบว่าตัวอย่างเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ ติดตามข่าวการเมืองไม่แตกต่างไปจากกลุ่มผู้ใหญ่คือ กว่าร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำทุกสัปดาห์
เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่เด็กและเยาวชนอยากเห็นในสังคมไทย พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.2 อยากเห็นประชาชนคนไทย ร่วมแสดงความ จงรักภักดี ทำให้ในหลวงมีความสุข รองลงมาคือ ร้อยละ 88.4 อยากเห็นผู้ใหญ่ “เลิก” ทะเลาะกัน ร้อยละ 87.5 อยากเห็นคนไทยรักกัน ตลอด ไป ร้อยละ 84.5 อยากเห็นความสงบสุขเกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างถาวร ร้อยละ 81.4 อยากเห็นรัฐบาลที่ซื่อสัตย์ สุจริต นอกจากนี้แล้วผลสำรวจยัง พบว่ายังมีอีกหลายประการที่เยาวชนกว่าร้อยละ 70 อยากให้เกิดในสังคมไทย อาทิ ให้ทุกๆ ฝ่ายยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยไม่ใช้ความรุนแรง อยากเห็นปัญหาการเมืองได้ข้อยุติโดยเร็ว อยากเห็นนักการเมืองที่ทำผิดถูกลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม อยากเห็นการเมืองใหม่ การเมืองภาค ประชาชนที่เข้มแข็ง ด้วยสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง และอยากเห็นนักการเมืองมีจิตสำนึก เสียสละลาออกง่ายๆ เมื่อสังคมเห็นชัดแจ้งว่า ทำผิด
ส่วนคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่เยาวชนต้องการนั้น ดร.นพดล กล่าวว่า เยาวชนเกือบร้อยละร้อย คือร้อยละ 98.5 ระบุนายก รัฐมนตรีคนใหม่ต้องมีความจงรักภักดีต่อสถาบันด้วยความจริงใจ ในขณะที่มีจำนวนมากเช่นกันคือร้อยละ 97.7 ระบุต้องมีความรับผิดชอบ และต้องกล้า ตัดสินใจ ร้อยละ 97.6 ระบุต้องมีความอดทน อดกลั้น ร้อยละ 97.5 ระบุมีจิตสำนึก จริยธรรมทางการเมือง และนอกจากนี้ยังพบว่าเยาวชน มากกว่าร้อยละ 90 เรียกร้องว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรู้ความสามารถ มีความเสียสละ รู้จักให้อภัย มีความรวดเร็วฉับ ไวในการแก้ปัญหาประชาชน ในขณะที่ประมาณร้อยละ 80 ระบุต้องมีการศึกษาสูงตามลำดับ
และเมื่อสอบถามถึงความเหมาะสมของบุคคลต่างๆที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่นั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.4 ระบุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีความเหมาะสม ในขณะที่ร้อยละ 33.5 ระบุนายอานันท์ ปันยารชุน มีความเหมาะสม ร้อยละ 32.4 ระบุนาย ชวน หลีกภัย มีความเหมาะสม ร้อยละ 27.9 ระบุนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ มีความเหมาะสม และร้อยละ 27.3 ระบุพล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร มี ความเหมาะสม นอกจากนี้เมื่อสอบถามถึงความเหมาะสมของบุคคลอื่นๆ อาทิ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ นายเตช บุนนาค ร.ต.อ.เฉลิม อยู่ บำรุง นายชัย ชิดชอบ พบว่าประมาณร้อยละ 25 ที่ระบุว่าบุคคลเหล่านี้มีความเหมาะสม
ดร.นพดลกล่าวต่อว่า เมื่อสอบถามความคิดเห็นกรณีการความเคลื่อนไหวทางการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น ร้อยละ 67.1 ระบุเห็นด้วยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ควรหยุดเคลื่อนไหวทางการเมืองได้แล้ว ในขณะที่ร้อยละ 32.9 ระบุไม่เห็นด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความเชื่อมั่นของเยาวชนกรณีการปกครองแบบประชาธิปไตยยังเป็นการปกครองที่เหมาะสมกับประเทศไทยอยู่ แม้ว่าจะมีวิกฤตต่างๆ เกิดขึ้นนั้น พบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งคือ ร้อยละ 61.9 ระบุยังมีความเชื่อมั่นว่าเป็นเช่นนั้นอยู่ ในขณะที่ร้อยละ 19.6 ระบุไม่เชื่อ มั่น และร้อยละ 18.5 ระบุไม่มีความคิดเห็น และเมื่อสอบถามความคิดเห็นกรณี ถ้าหากมีสิทธิเลือกตั้งได้ พรรคการเมืองหรือกลุ่ม ส.ส.ที่อยากให้เป็น แกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่นั้น พบว่า ร้อยละ 24.7 ระบุอยากให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ ในขณะที่ร้อยละ 19.1 ระบุอยากให้พรรคเพื่อ ไทย (กลุ่มส.ส.เก่าจากพรรคพลังประชาชน) เป็นแกนนำ ร้อยละ 4.1 ระบุพรรคอื่นๆ ทั้งนี้กว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 52.1 ยังไม่ระบุพรรคการ เมืองที่อยากให้เห็นเป็นแกนนำ
รายละเอียดงานวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนที่มีต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนเกี่ยวกับคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่เยาวชนต้องการ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง สังคมไทย รัฐบาล และคุณสมบัตินายก รัฐมนตรีที่เด็กและเยาวชนไทยอยากเห็น กรณีศึกษาเยาวชนที่มีอายุ 15-18 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,925 ตัวอย่าง มีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3 - 4 ธันวาคม 2551 เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่ง กลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธี การเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบ ประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 147 คน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 44.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 55.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 22.2 อายุ 15 ปี
ร้อยละ 25.7 อายุ 16 ปี
ร้อยละ 31.9 อายุ 17 ปี
และร้อยละ 20.7 อายุ 18 ปี
ร้อยละ 72.4 ระบุพักอาศัยอยู่กับพ่อ/แม่/พี่/น้อง
ร้อยละ 6.9 ระบุพักอาศัยอยู่กับ ปู่ย่าตายาย
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 57.3 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 25.7 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 13.3 4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 2.5 5 ไม่ได้ติดตามเลย 1.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่อยากเห็นในสังคมไทย ลำดับที่ สิ่งที่อยากเห็นในสังคมไทย ร้อยละ 1 ประชาชนคนไทย ร่วมแสดงความจงรักภักดี ทำให้ในหลวงมีความสุข 89.2 2 อยากเห็นผู้ใหญ่ “เลิก” ทะเลาะกัน 88.4 3 คนไทยรักกัน ตลอดไป 87.5 4 ความสงบสุขเกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างถาวร 84.5 5 รัฐบาลที่ซื่อสัตย์ สุจริต 81.4 6 ทุกๆ ฝ่ายยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยไม่ใช้ความรุนแรง 78.3 7 ปัญหาการเมืองได้ข้อยุติโดยเร็ว 78.3 8 นักการเมืองที่ทำผิดถูกลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม 77.9 9 การเมืองใหม่ การเมืองภาคประชาชนที่เข้มแข็ง ด้วยสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง 77.2 10 นักการเมืองมีจิตสำนึก เสียสละลาออกง่ายๆ เมื่อสังคมเห็นชัดแจ้งว่า ทำผิด 70.2 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ต้องการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ คุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ต้องการ ร้อยละ 1 จงรักภักดีต่อสถาบันด้วยความจริงใจ 98.5 2 มีความรับผิดชอบ 97.7 3 กล้าตัดสินใจ 97.7 4 มีความอดทน อดกลั้น 97.6 5 มีจิตสำนึก จริยธรรมทางการเมือง 97.5 6 มีความซื่อสัตย์สุจริต 97.5 7 มีความรู้ความสามารถ 97.4 8 มีความเสียสละ 97.2 9 รู้จักให้อภัย 96.9 10 มีความรวดเร็วฉับไวแก้ปัญหาประชาชน 95.8 11 มีการศึกษาสูง 78.9 12 ร่ำรวย 29.3 13 โอ้อวด ชอบออกมาข่มขู่ แสดงความ กร่าง 8.8 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเหมาะสมของบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ลำดับที่ บุคคลที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของประเทศ เหมาะสม ไม่เหมาะสม 1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 47.4 52.6 2 นายอานันท์ ปันยารชุน 33.5 66.5 3 นายชวน หลีกภัย 32.4 67.6 4 นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ 27.9 72.1 5 พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร 27.3 72.7 6 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 26.4 73.6 7 นายเตช บุนนาค 25.8 74.2 8 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง 25.6 74.4 9 นายชัย ชิดชอบ 22.7 77.3 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่าควรหยุดความเคลื่อนไหวทางการเมือง ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่าควรหยุดความเคลื่อนไหวทางการเมือง ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย 67.1 2 ไม่เห็นด้วย 32.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยยังเป็นการปกครองที่เหมาะสมกับประเทศไทยอยู่
แม้ว่าจะมีวิกฤตต่างๆ เกิดขึ้น
ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ 1 เชื่อมั่น 61.9 2 ไม่เชื่อมั่น 19.6 3 ไม่มีความเห็น 18.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมือง/กลุ่ม ส.ส.ที่อยากให้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ (ถ้ามีสิทธิเลือกตั้งได้) ลำดับที่ พรรคการเมือง/กลุ่ม ส.ส.ที่อยากให้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่(ถ้ามีสิทธิเลือกตั้งได้) ค่าร้อยละ 1 พรรคประชาธิปัตย์ 24.7 2 พรรคเพื่อไทย (กลุ่มส.ส.เก่าจากพรรคพลังประชาชน) 19.1 3 อื่นๆ อาทิ กลุ่ม ส.ส. เก่าจากพรรคชาติไทย /พรรคเพื่อแผ่นดิน/พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 4.1 4 ไม่ระบุพรรคการเมืองที่ต้องการ 52.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-