เอแบคโพลล์: จุดยืนที่แตกต่างทางการเมืองกับอารมณ์ความรู้สึกที่หลากหลายต่อสถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบัน และนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของประเทศ

ข่าวผลสำรวจ Monday December 15, 2008 07:27 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง จุดยืนที่แตกต่างทางการเมืองกับ อารมณ์ความรู้สึกที่หลากหลายต่อสถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบัน และนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของประเทศ กรณีศึกษาประชาชนที่ติดตามข่าวการเมืองเป็น ประจำในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 3,231 ตัวอย่าง มีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 7 - 13 ธันวาคม 2551

ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อพิจารณาถึง จุดยืนทางการเมืองของประชาชนที่ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำล่าสุด พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อย ละ 57.7 ขออยู่ตรงกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (พลังเงียบ) ในขณะที่ ร้อยละ 30.1 สนับสนุนรัฐบาล (อดีตพรรคพลังประชาชน) และร้อยละ 12.2 ไม่ สนับสนุนรัฐบาล

เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกอยากให้ทุกฝ่ายยอมรับคำวินิจฉัยของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พบว่า ภาพรวมส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 มี ความรู้สึกมาก ถึงมากที่สุดที่อยากให้ทุกฝ่ายยอมรับคำวินิจฉัยของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และเมื่อจำแนกตามจุดยืนทางการเมืองพบว่า ในกลุ่มคนที่ สนับสนุนรัฐบาล (อดีต พปช.) ประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.6 มีความรู้สึกยอมรับระดับน้อยถึงไม่มีเลย แต่ร้อยละ 9.4 ยอมรับระดับปานกลาง และร้อยละ 41.0 ยอมรับระดับมาก ถึงมากที่สุด นอกจากนี้ กลุ่มคนไม่สนับสนุนรัฐบาล และกลุ่มที่ขออยู่ตรงกลางเป็นพลังเงียบ ส่วนใหญ่ร้อยละ 96.4 และร้อยละ 73.0 ต่างก็อยากให้ทุกฝ่ายยอมรับคำวินิจฉัยของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญระดับมาก ถึง มากที่สุด

เมื่อถามถึง ระดับความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ และกฎแห่งกรรม หลังมองสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน พบว่า ภาพรวมส่วนใหญ่หรือร้อย ละ 83.6 มีความเชื่อระดับ มาก ถึง มากที่สุด และเมื่อจำแนกตามจุดยืนทางการเมือง พบว่า ทุกกลุ่มคือ กลุ่มสนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 78.5 กลุ่มไม่ สนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 89.5 และกลุ่มพลังเงียบร้อยละ 84.9 ต่างก็มีความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ และกฎแห่งกรรม ระดับมากถึงมากที่สุดเช่นเดียว กัน

แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.7 มีความเครียดต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบันระดับมากถึงมากที่สุด และเมื่อ จำแนกตามจุดยืนทางการเมืองแต่ละกลุ่ม พบว่า ประชาชนที่มีจุดยืนทางการเมืองทุกกลุ่มส่วนใหญ่กำลังเครียดต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน โดยกลุ่มที่มี จำนวนคนที่เครียดมากที่สุดคือ กลุ่มสนับสนุนรัฐบาล อดีต พปช. คือมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 72.6 รองลงมาคือ กลุ่มพลังเงียบมีสัดส่วนร้อยละ 69.3 และ กลุ่มที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลมีสัดส่วนร้อยละ 64.4 ที่ระบุความเครียดต่อสถานการณ์การเมืองระดับมาก ถึง มากที่สุด

เมื่อถามถึงความอยากให้จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ พบว่า โดยภาพรวม เกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.4 มีความอยากให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติระดับ มากถึงมากที่สุด โดยได้เสียงสนับสนุนแนวคิดนี้จากกลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่คือร้อยละ 74.3 และกลุ่มที่เป็นพลังเงียบ ร้อยละ 51.2 ส่วนกลุ่ม ที่สนับสนุนรัฐบาล (อดีต พปช.) ร้อยละ 32.7

ดร.นพดล กล่าวว่า มีประเด็นที่น่าสนใจ แต่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นจริงได้หรือไม่ คือผลสำรวจพบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.6 เลยทีเดียวที่อยากเห็น แกนนำ กลุ่ม นปช. และกลุ่มพันธมิตรฯ จับมือกันช่วยกันแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ และเมื่อจำแนกออกตามจุดยืนทางการ เมือง ก็พบว่า ส่วนใหญ่ของทุกกลุ่มที่มีจุดยืนทางการเมืองแตกต่างกัน ต่างก็ต้องการให้ แกนนำกลุ่ม นปช. และกลุ่มพันธมิตร จับมือกันช่วยกันแก้ปัญหา วิกฤตของประเทศ โดยพบว่า กลุ่มพลังเงียบร้อยละ 85.0 กลุ่มสนับสนุนรัฐบาล (อดีต พปช.) ร้อยละ 78.9 และกลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 72.2 ที่อยากเห็นแกนนำกลุ่มต่างๆ จับมือกันช่วยกันแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ

และที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.3 อยากให้มีการยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งใหม่ ระดับมากถึงมากที่สุด โดย จำแนกออกตามกลุ่มสนับสนุนรัฐบาล อดีต พปช. ร้อยละ 53.3 กลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลร้อยละ 84.7 และกลุ่มพลังเงียบร้อยละ 70.8 ที่อยากให้ยุบ สภา เลือกตั้งใหม่ระดับมากถึงมากที่สุด

นอกจากนี้ ส่วนใหญ่เช่นกันหรือร้อยละ 65.9 อยากให้มีคนกลางเป็นนายกรัฐมนตรี จัดการเลือกตั้งใหม่ แต่เมื่อจำแนกตามกลุ่มจุดยืนทาง การเมือง กลับพบว่า กลุ่มสนับสนุนรัฐบาลอดีต พปช. ร้อยละ 46.5 ที่มีความอยากให้มีคนกลางเป็นนายกรัฐมนตรี จัดการเลือกตั้งใหม่ระดับมากถึงมาก ที่สุด ตรงกันข้ามกับกลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาล และกลุ่มพลังเงียบส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.5 กับร้อยละ 71.4 ที่มีความอยากให้มีนายกรัฐมนตรีคนกลาง ดูแลการเลือกตั้งใหม่ระดับมากถึงมากที่สุด

และที่น่าสนใจคือ ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.8 อยากให้คนไทยรักกัน และเมื่อจำแนกออกตามกลุ่มจุดยืนทางการเมือง พบว่า ทุกกลุ่มส่วนใหญ่มีความต้องการไปในทิศทางเดียวกัน คือ กลุ่มสนับสนุนรัฐบาลร้อยละ 94.8 กลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลร้อยละ 97.7 และกลุ่มพลัง เงียบ ร้อยละ 95.9 มีความอยากให้คนไทยรักกันระดับมาก ถึง มากที่สุด

ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยที่ค้นพบประเด็นสุดท้ายนี้เป็นข้อมูลที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะไม่ว่าคนไทยจะมีจุดยืนทางการเมืองแตกต่างกัน และ มีความหลากหลายของอารมณ์ความรู้สึกต่อสถานการณ์ทางการเมืองแตกต่างกันมากเพียงไร แต่จุดศูนย์รวมและความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยส่วนใหญ่ ถึงแม้ไม่ใช่ทั้งหมด คือ การที่อยากเห็นคนไทยรักกัน และถ้าหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและทุกกลุ่มที่กำลังเคลื่อนไหวขณะนี้ นำความรู้สึกนึก คิดของประชาชนส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งอย่างแท้จริงแบบไม่มัวเมาไปกับการแย่งชิงอำนาจกันแล้ว สังคมไทยน่าจะเข้าสู่สภาวะสงบสุขและประชาชนดำเนินชีวิต ประจำวันได้อย่างปกติสุขโดยเร็ว แต่ถ้าไม่สามารถทำได้เพราะกลุ่มแกนนำและฝ่ายการเมืองต้องการช่วงชิงอำนาจ ผลประโยชน์กันต่อไป โดยไม่สนอง ตอบต่อความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ มีข้อเสนอแนะให้พิจารณาอยู่อย่างน้อยสามประการ คือ

ประการแรก หน่วยงานที่เป็นกลไกของรัฐและไม่ตกเป็นเครื่องมือที่ต้องคอยจับตาดูทิศทางลมทางการเมือง ต้องประสานกันแบบบูรณาการ เพื่อรักษา ความสมดุลในจุดยืนทางการเมืองของประชาชนไว้ ป้องกันไม่ให้เกิดการสร้างเงื่อนไขทางการเมืองผลักดันให้ประชาชนเลือกข้าง เพราะ เมื่อประชาชนเลือกข้างแล้ว มันมักจะมีสัดส่วนที่มาก พอๆ กัน และสังคมไทยจะรับไม่ไหว

ประการที่สอง คือ องค์กรภาคธุรกิจ และสถาบันสื่อสารมวลชน ต้องหากลยุทธ ขับเคลื่อนให้คนไทยมีความรัก ความสามัคคีกัน ใครผิดใคร ถูกให้เป็นไปตามกฎแห่งกรรมในกระบวนการยุติธรรมของสังคมไทย เพราะลักษณะของคนไทยเรื่องความรักความสามัคคีและระบบกระบวนการยุติธรรม เปรียบเสมือนแกนและเสาหลักของสังคม

ประการที่สาม ประชาชนคนไทยต้องเตรียมตัวเตรียมใจยอมรับกับการเปลี่ยนแปลง เมื่อสภาพแห่งความรักและความสามัคคีไม่สามารถย้อน กลับมาเหมือนเดิมได้ ก็จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ โดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องน่าจะเป็นกลไกสำคัญในการเหนี่ยวรั้งให้สถานการณ์การ เปลี่ยนแปลงเป็นไปแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ให้ประชาชนคนไทยในสังคมตื่นตระหนกกับเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองแบบสองขั้ว และนำเข้าสู่ ระบอบประชาธิปไตยที่เป็นของปวงชนชาวไทย แทนระบอบประชาธิปไตยเพื่อคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงกลุ่มเดียว

รายละเอียดงานวิจัย วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย

1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน

2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่

3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง จุดยืนที่แตกต่างทางการเมืองกับอารมณ์ความ รู้สึกที่หลากหลายต่อสถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบัน และนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของประเทศไทย กรณีศึกษาประชาชนที่ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำใน เขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 3,231 ตัวอย่าง มีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 7 - 13 ธันวาคม 2551 เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงผู้ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำอย่างใกล้ชิด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบ รวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุด ก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 122 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างร้อยละ 52.9 เป็นเพศหญิง

ร้อยละ 47.1 เป็นเพศชาย

ร้อยละ 7.8 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 25.6 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 28.6 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และ ร้อยละ 15.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 69.9 การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 27.6 การศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.5 การศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 9.6 อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 16.6 เป็นพนักงานเอกชน/ลูกจ้างเอกชน

ร้อยละ 40.7 มีธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ/ค้าขาย

ร้อยละ 20.6 เกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงาน

ร้อยละ 8.1 เป็นนักเรียน นักศึกษา

และร้อยละ 8.4 เป็นพ่อบ้าน/เกษียณอายุ /ว่างงาน/ไม่มีรายได้/ไม่ประกอบอาชีพ/ตกงาน

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จุดยืนทางการเมืองปัจจุบัน
ลำดับที่          จุดยืนทางการเมือง                              ร้อยละ
1          สนับสนุนรัฐบาล (อดีตพลังประชาชน /เพื่อไทยใหม่)          30.1
2          ไม่สนับสนุนรัฐบาล                                   12.2
3          ขออยู่ตรงกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (พลังเงียบ)               57.7
          รวมทั้งสิ้น                                         100.0

ตารางที่ 2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความรู้สึกอยากที่ให้ทุกฝ่ายยอมรับคำวินิจฉัยของคณะตุลาการศาล

รัฐธรรมนูญ

ลำดับที่          ระดับความรู้สึก   สนับสนุนรัฐบาล(อดีต พปช)     ไม่สนับสนุนรัฐบาล    ขออยู่ตรงกลางไม่ฝักใฝ่   รวมทั้งสิ้น
1          มาก ถึง มากที่สุด            41.0                   96.4               73.0          66.3
2          ปานกลาง                   9.4                    1.0                8.7           8.0
3          น้อย ถึง ไม่มีเลย            49.6                    2.6               18.3          25.7
          รวมทั้งสิ้น                  100.0                  100.0              100.0         100.0

ตารางที่ 3  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความเชื่อเรื่องบาป บุญ คุณโทษ และกฎแห่งกรรม เมื่อมองสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
ลำดับที่          ระดับความเชื่อ   สนับสนุนรัฐบาล(อดีต พปช)   ไม่สนับสนุนรัฐบาล   ขออยู่ตรงกลางไม่ฝักใฝ่  รวมทั้งสิ้น
1          มาก ถึง มากที่สุด             78.5               89.5               84.9          83.6
2          ปานกลาง                    7.0                7.2                7.2           7.1
3          น้อย ถึง ไม่มีเลย             14.5                3.3                7.9           9.3
          รวมทั้งสิ้น                   100.0              100.0              100.0         100.0

ตารางที่ 4  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความเครียดต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
ลำดับที่          ระดับความเครียด   สนับสนุนรัฐบาล(อดีต พปช)    ไม่สนับสนุนรัฐบาล   ขออยู่ตรงกลางไม่ฝักใฝ่   รวมทั้งสิ้น
1          มาก ถึง มากที่สุด             72.6                    64.4           69.3            69.7
2          ปานกลาง                   10.8                    13.8           11.4            11.5
3          น้อย ถึง ไม่มีเลย             16.6                    21.8           19.3            18.8
          รวมทั้งสิ้น                   100.0                   100.0          100.0           100.0

ตารางที่ 5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความรู้สึกที่อยากให้จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
ลำดับที่          ระดับความรู้สึก   สนับสนุนรัฐบาล(อดีต พปช)   ไม่สนับสนุนรัฐบาล   ขออยู่ตรงกลางไม่ฝักใฝ่  รวมทั้งสิ้น
1          มาก ถึง มากที่สุด             32.7               74.3               51.2          48.4
2          ปานกลาง                    8.7               11.0               16.7          13.6
3          น้อย ถึง ไม่มีเลย             58.6               14.7               32.1          38.0
          รวมทั้งสิ้น                   100.0              100.0              100.0         100.0

ตารางที่ 6  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความรู้สึกที่อยากเห็นแกนนำกลุ่ม นปช. และ พันธมิตร จับมือกันช่วยกัน

แก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ

ลำดับที่          ระดับความรู้สึก   สนับสนุนรัฐบาล(อดีต พปช)    ไม่สนับสนุนรัฐบาล   ขออยู่ตรงกลางไม่ฝักใฝ่  รวมทั้งสิ้น
1          มาก ถึง มากที่สุด            78.9                  72.2             85.0           81.6
2          ปานกลาง                   4.7                   9.0              4.6            5.1
3          น้อย ถึง ไม่มีเลย            16.4                  18.8             10.4           13.3
          รวมทั้งสิ้น                  100.0                 100.0            100.0          100.0

ตารางที่ 7  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความรู้สึกที่อยากให้มีการยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งใหม่
ลำดับที่          ระดับความรู้สึก   สนับสนุนรัฐบาล(อดีต พปช)   ไม่สนับสนุนรัฐบาล   ขออยู่ตรงกลางไม่ฝักใฝ่   รวมทั้งสิ้น
1          มาก ถึง มากที่สุด            53.3                  84.7           70.8            67.3
2          ปานกลาง                   8.2                   6.2           11.2             9.7
3          น้อย ถึง ไม่มีเลย            38.5                   9.1           18.0            23.0
          รวมทั้งสิ้น                  100.0                 100.0          100.0           100.0

ตารางที่ 8  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความรู้สึกที่อยากให้มีคนกลางมาเป็นนายกรัฐมนตรี  จัดการเลือกตั้งใหม่
ลำดับที่          ระดับความรู้สึก   สนับสนุนรัฐบาล(อดีต พปช)   ไม่สนับสนุนรัฐบาล   ขออยู่ตรงกลางไม่ฝักใฝ่   รวมทั้งสิ้น
1          มาก ถึง มากที่สุด            46.5                  87.5           71.4            65.9
2          ปานกลาง                   9.1                   5.5           10.7             9.6
3          น้อย ถึง ไม่มีเลย            44.4                   7.0           17.9            24.5
          รวมทั้งสิ้น                  100.0                 100.0          100.0           100.0

ตารางที่ 9  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความรู้สึกที่อยากให้คนไทยรักกัน
ลำดับที่          ระดับความรู้สึก   สนับสนุนรัฐบาล(อดีต พปช)  ไม่สนับสนุนรัฐบาล    ขออยู่ตรงกลางไม่ฝักใฝ่  รวมทั้งสิ้น
1          มาก ถึง มากที่สุด            94.8                  97.7           95.9            95.8
2          ปานกลาง                   1.1                   1.0            1.2             1.1
3          น้อย ถึง ไม่มีเลย             4.1                   1.3            2.9             3.1
          รวมทั้งสิ้น                  100.0                 100.0          100.0           100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ