ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวม
(Gross Domestic Happiness Index, GDHI) ของประชาชนภายในประเทศประจำเดือนตุลาคม: กรณีศึกษาประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติ
ใน 21 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,951 คน จำแนกเป็นคนไทย 4,520 คน และชาวต่างชาติ 431 คน ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่
29 ตุลาคม — 4 พฤศจิกายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
ผลวิจัยพบว่า ความสุขมวลรวมของคนไทยลดลงอย่างมากจาก 6.30 ในเดือนกันยายน มาอยู่ที่ 4.86 ในเดือนตุลาคม ถือว่าต่ำสุดใน
รอบ 10 เดือนที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญอยู่ที่ปัญหาความเดือดร้อนที่ได้รับจากภัยพิบัติน้ำท่วมในหลายจังหวัด สภาพแวดล้อมที่พักอาศัยที่เสียหายและทรุด
โทรม ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจสินค้าราคาสูงขึ้นแต่รายได้ลดลง อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มประชาชนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริงที่
บอกว่ามีความสุขมีจำนวนที่มากกว่าถึงสามเท่าของจำนวนประชาชนที่ไม่ได้ใช้ชีวิตแบบพอเพียง แต่มีประชาชนเพียงร้อยละ 17.1 ของประชาชนทั้งหมด
ในประเทศที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ในขณะเดียวกัน ความสุขมวลรวมของชาวต่างชาติที่มาพักอาศัยในประเทศไทยลดลงเช่นกันจาก 7.23 ในเดือน
กันยายนมาอยู่ที่ 6.79 ในเดือนตุลาคม อย่างไรก็ตามความสุขมวลรวมของชาวต่างชาติยังคงสูงกว่าคนไทย ปัจจัยสำคัญยังคงเป็นเรื่องของความสุขที่มี
ต่อวัฒนธรรมประเพณีไทย วิถีชีวิตของคนไทย เห็นคนไทยช่วยเหลือกัน ชอบเทศกาลรื่นเริงของคนไทย เห็นคนไทยรักสามัคคีกัน เห็นอกเห็นใจกัน เป็น
ต้น แต่ที่เป็นปัจจัยลบทำให้ความสุขลดลงคือ ภัยน้ำท่วม สภาพแวดล้อมที่เสียหายจากภัยน้ำท่วมเกิดความไม่สะดวกในการเดินทางสัญจรและปัญหา
เศรษฐกิจสินค้าราคาสูงเช่นกัน
ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลสำรวจความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศประจำเดือนตุลาคม พบว่ากลุ่มปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อความสุขมวล
รวมของประชาชนคนไทยมีหลายประการที่ได้คะแนนต่ำกว่า 5 จากเต็ม 10 ได้แก่ ความสุขต่อระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ (4.19) สภาพ
แวดล้อม (4.26) หลักธรรมาภิบาล การเมืองรัฐบาลและองค์กรอิสระ (4.35) และกระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคมที่ได้เพียง
4.99 คะแนน
“อย่างไรก็ตามเมื่อจำแนกความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยออกตามพื้นที่ภูมิภาคพบว่า ประชาชนในภาคใต้ที่เคยมีความสุขมวลรวมใน
อันดับท้ายๆ กลับสูงขึ้นเป็นอันดับที่หนึ่งในการสำรวจล่าสุดคือ 6.35 รองลงมาคือประชาชนในภาคกลางได้ 6.11 ถึงแม้ว่าประสบภัยน้ำท่วมแต่มีความ
ปลื้มปิติต่อพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ที่ทรงให้ความช่วยเหลือและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ของประชาชนภายในชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ทำให้ประชาชนยังคงมีความสุขมวลรวมสูงเป็นอันดับที่สอง อันดับที่สามได้แก่ประชาชนในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือได้ 5.74 ซึ่งคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเคยมีความสุขมวลรวมสูงเป็นอันดับหนึ่งทุกครั้ง อันดับสี่คือ ประชาชนในภาคเหนือได้ 5.56 และ
อันดับสุดท้ายคือ ประชาชนในกรุงเทพมหานครได้ 5.35 ที่น่าสังเกตคือคนกรุงเทพมหานครเคยมีความสุขมวลรวมสูงเป็นอันดับสองในเดือนกันยายนหลัง
จากปัญหาการเมืองได้ข้อยุติ แต่กลับตกมาอยู่อันดับสุดท้ายเหมือนการสำรวจหลายครั้งที่ผ่านมาแต่ครั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อความสุขมวลรวมของคนไทย
มากที่สุดคือปัญหาภัยน้ำท่วม สภาพแวดล้อม ปัญหาเศรษฐกิจ และบรรยากาศทางการเมืองที่กำลังเข้าสู่ความอึมครึมและอึดอัดในหมู่ประชาชนขณะนี้” ดร.
นพดลกล่าว
ดร.นพดลกล่าวต่อว่า จากผลวิจัยครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยที่น่าจะเกี่ยวข้องทำให้ความสุขของประชาชนเพิ่มขึ้นได้แก่ ประการแรก : การ
ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง
ประการทีสอง :การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และการช่วยลดรายจ่ายของประชาชนระดับรากฐานของสังคม
ประการที่สาม :การสะสางปัญหาการเมืองให้คลี่คลายลดความอึดอัดในหมู่ประชาชน
ประการทีสี่ : เร่งฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมอย่างเร่งด่วนและทำให้ประชาชนเห็นเป็นรูปธรรมว่ารัฐบาลที่ซื่อสัตย์สุจริตทำให้ประชาชนมี
คุณภาพชีวิตที่ดีกว่ารัฐบาลที่ถูกมองว่าไม่ซื่อสัตย์สุจริต
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนตุลาคม
2. เพื่อค้นหาศึกษาปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่กระทบต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชน
ภายในประเทศประจำเดือนตุลาคม: กรณีศึกษาประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติใน 21 จังหวัดของประเทศ ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 29
ตุลาคม — 4 พฤศจิกายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 21 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา
ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครพนม ชัยภูมิ กระบี่ ตรัง และสงขลา และชาวต่างชาติที่พักอาศัยหรือทำงานในประเทศไทย
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการ
กำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 44.5 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 20.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 18.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 13.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 79.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 18.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 19.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 19.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 8.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 4.7 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ/ว่างงาน
นอกจากนี้ ตัวอย่าง ร้อยละ 39.6 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 26.5 ระบุ 5,001 — 10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 4.7 ระบุ 10,001 — 20,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 3.6 ระบุ 20,001 — 30,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 25.6 ระบุ มากกกว่า 30,000 บาทต่อเดือน
เมื่อพิจารณาถึงแหล่งที่พักอาศัยพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.1 อยู่นอกเขตเทศบาล ในขณะที่ร้อยละ 36.9 พักอาศัยในเขตเทศบาล
หรือเขตเมือง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนตุลาคมเปรียบเทียบกับ
ช่วง 3 เดือนแรกของปี(มกราคม-มีนาคม) เดือนเมษายน เดือนพฤษภาคม เดือนมิถุนายน เดือนกรกฎาคม
เดือนสิงหาคม และเดือนกันยายน เมื่อคะแนนเต็ม 10
ม.ค.-มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค.
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม
ของคนไทยภายในประเทศ
(Gross Domestic Happiness) 5.47 6.08 6.59 9.21 7.29 6.34 6.30 4.86
ตารางที่ 2 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมที่มีต่อกลุ่มปัจจัยต่างๆ ของประชาชนประจำเดือนตุลาคม
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ประจำเดือนตุลาคม ค่าดะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย (เต็ม 10)
1 สุขภาพกาย 7.14
2 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย 6.89
3 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 6.58
4 ด้านครอบครัว เด็กและเยาวชน 6.19
5 ด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 6.04
6 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนตุลาคม 5.85
7 ด้านความพึงพอใจในงาน 5.68
8 ด้านบรรยากาศภายในชุมชน 5.49
9 ด้านการศึกษา 5.32
10 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 5.26
11 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 4.99
12 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 4.35
13 ด้านสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 4.26
14 ความสุขต่อระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 4.19
15 ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศประจำเดือนตุลาคม 4.86
ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมประจำเดือนตุลาคมที่มีต่อกลุ่มปัจจัยต่างๆ ของประชาชนจำแนกตามพื้นที่
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ประจำเดือนตุลาคม เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 สุขภาพกาย 7.09 7.28 7.16 7.39 6.44
2 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย 6.74 7.10 6.94 7.16 6.09
3 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 6.44 6.76 6.56 6.86 5.94
4 ด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 5.90 6.20 5.98 6.25 5.74
5 ด้านครอบครัว เด็กและเยาวชน 6.23 6.30 6.24 6.24 5.54
6 ด้านความพึงพอใจในงาน 5.60 5.81 5.61 5.86 5.41
7 ด้านการศึกษา 5.35 5.47 5.39 5.22 4.68
8 ด้านบรรยากาศภายในชุมชน 5.53 5.37 5.83 5.48 4.63
9 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 5.30 5.35 5.39 5.17 4.56
10 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 5.06 5.00 5.05 5.14 4.41
11 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 4.38 4.40 4.28 4.73 3.88
12 ความสุขต่อระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 4.04 4.36 4.16 4.37 3.85
13 ด้านสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 4.27 4.29 4.55 4.14 3.37
14 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนตุลาคม 5.56 6.11 5.74 6.35 5.35
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสุขต่อสภาพแวดล้อม เปรียบเทียบเดือนมิถุนายน — ตุลาคม 2549
ความสุขต่อสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย มิถุนายนค่าร้อยละ กรกฎาคมค่าร้อยละ สิงหาคมค่าร้อยละ กันยายนค่าร้อยละ ตุลาคมค่าร้อยละ
1.การคมนาคม ถนนหนทาง 54.2 47.6 25.7 22.5 21.8
2.ความสะดวกในการใช้โทรศัพท์บ้านในครัวเรือน 40.4 38.6 32.0 35.5 19.2
3.สิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ อากาศ ดิน 63.1 53.4 31.9 21.6 20.6
4.การบริการด้านไฟฟ้า 57.1 43.4 42.6 39.4 26.3
5.น้ำประปา แหล่งน้ำกินน้ำใช้ 34.3 37.4 38.1 36.2 22.1
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของประชาชนที่มีความสุขต่อการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ จำแนกตามพื้นที่
ลำดับที่ การจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม. ภาพรวม
1 ความรู้สึกปลอดภัยจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ 25.7 22.2 25.3 19.9 15.6 22.9
2 ความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการครอบครองเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ 24.7 20.6 23.2 20.2 13.2 21.5
3 โอกาสที่เท่าเทียมกันในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติรอบชุมชน 25.2 19.7 19.7 20.2 11.8 20.0
4 โอกาสที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติรอบๆ ชุมชน 24.9 18.0 19.6 22.7 12.7 19.9
ตารางที่ 6 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้และรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจำแนกตามพื้นที่
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ประจำเดือนตุลาคม เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม. ภาพรวม
1 ความรุนแรงของปัญหาอาชญากรรม 7.88 8.20 8.07 7.92 7.53 8.01
2 ความกังวลต่อผลกระทบของภัยน้ำท่วม 7.57 7.98 7.37 7.38 7.09 7.56
3 ความสุขต่อบรรยากาศการเมืองปัจจุบัน 5.78 6.47 5.87 7.00 5.72 6.15
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างชาวต่างชาติที่ระบุ ปัจจัยที่ทำให้มีความสุขเมื่อพักอาศัยหรือทำงานในประเทศไทย
ลำดับที่ ปัจจัยสำคัญ ร้อยละ
1 ความสุขกับวัฒนธรรมประเพณีไทย 72.8
2 ชอบชีวิตความเป็นอยู่แบบไทย เช่น อาหารไทย การใช้ชีวิตพอเพียง เป็นต้น 68.9
3 เห็นคนไทยช่วยเหลือกัน 64.1
4 ชอบเทศกาลรื่นเริงของคนไทย 63.2
5 เห็นคนไทยรักสามัคคีกัน 60.6
6 เห็นอกเห็นใจกันของคนไทย 57.3
7 เห็นคนไทยรักเสรีภาพ 56.4
8 เห็นคนไทยร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน 54.8
9 เห็นคนไทยเสียสละ 52.9
10 เห็นคนไทยมีความรับผิดชอบ 50.7
ตารางที่ 8 เปรียบเทียบกลุ่มประชาชนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับระดับความสุขมวลรวมของประชาชน
ลำดับที่ ระดับความสุขมวลรวมของประชาชน ใช้ชีวิตพอเพียงอย่างแท้จริง ใช้ชีวิตค่อนข้างพอเพียง ไม่ค่อยพอเพียง ไม่พอเพียง
1 มีความสุขมาก 30.4 8.3 5.2 9.1
2 ค่อนข้างมีความสุข 56.3 61.4 34.2 21.2
3 ปานกลาง 10.4 26.8 44.1 36.4
4 ไม่ค่อยมีความสุข 1.9 2.6 15.2 12.1
5 ไม่มีความสุขเลย 1.0 0.9 1.3 21.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน
ลำดับที่ การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน ร้อยละ
1 ไม่พอเพียง 1.8
2 ไม่ค่อยพอเพียง 12.8
3 ค่อนข้างพอเพียง 68.3
4 พอเพียงอย่างแท้จริง 17.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
(Gross Domestic Happiness Index, GDHI) ของประชาชนภายในประเทศประจำเดือนตุลาคม: กรณีศึกษาประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติ
ใน 21 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,951 คน จำแนกเป็นคนไทย 4,520 คน และชาวต่างชาติ 431 คน ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่
29 ตุลาคม — 4 พฤศจิกายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
ผลวิจัยพบว่า ความสุขมวลรวมของคนไทยลดลงอย่างมากจาก 6.30 ในเดือนกันยายน มาอยู่ที่ 4.86 ในเดือนตุลาคม ถือว่าต่ำสุดใน
รอบ 10 เดือนที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญอยู่ที่ปัญหาความเดือดร้อนที่ได้รับจากภัยพิบัติน้ำท่วมในหลายจังหวัด สภาพแวดล้อมที่พักอาศัยที่เสียหายและทรุด
โทรม ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจสินค้าราคาสูงขึ้นแต่รายได้ลดลง อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มประชาชนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริงที่
บอกว่ามีความสุขมีจำนวนที่มากกว่าถึงสามเท่าของจำนวนประชาชนที่ไม่ได้ใช้ชีวิตแบบพอเพียง แต่มีประชาชนเพียงร้อยละ 17.1 ของประชาชนทั้งหมด
ในประเทศที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ในขณะเดียวกัน ความสุขมวลรวมของชาวต่างชาติที่มาพักอาศัยในประเทศไทยลดลงเช่นกันจาก 7.23 ในเดือน
กันยายนมาอยู่ที่ 6.79 ในเดือนตุลาคม อย่างไรก็ตามความสุขมวลรวมของชาวต่างชาติยังคงสูงกว่าคนไทย ปัจจัยสำคัญยังคงเป็นเรื่องของความสุขที่มี
ต่อวัฒนธรรมประเพณีไทย วิถีชีวิตของคนไทย เห็นคนไทยช่วยเหลือกัน ชอบเทศกาลรื่นเริงของคนไทย เห็นคนไทยรักสามัคคีกัน เห็นอกเห็นใจกัน เป็น
ต้น แต่ที่เป็นปัจจัยลบทำให้ความสุขลดลงคือ ภัยน้ำท่วม สภาพแวดล้อมที่เสียหายจากภัยน้ำท่วมเกิดความไม่สะดวกในการเดินทางสัญจรและปัญหา
เศรษฐกิจสินค้าราคาสูงเช่นกัน
ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลสำรวจความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศประจำเดือนตุลาคม พบว่ากลุ่มปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อความสุขมวล
รวมของประชาชนคนไทยมีหลายประการที่ได้คะแนนต่ำกว่า 5 จากเต็ม 10 ได้แก่ ความสุขต่อระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ (4.19) สภาพ
แวดล้อม (4.26) หลักธรรมาภิบาล การเมืองรัฐบาลและองค์กรอิสระ (4.35) และกระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคมที่ได้เพียง
4.99 คะแนน
“อย่างไรก็ตามเมื่อจำแนกความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยออกตามพื้นที่ภูมิภาคพบว่า ประชาชนในภาคใต้ที่เคยมีความสุขมวลรวมใน
อันดับท้ายๆ กลับสูงขึ้นเป็นอันดับที่หนึ่งในการสำรวจล่าสุดคือ 6.35 รองลงมาคือประชาชนในภาคกลางได้ 6.11 ถึงแม้ว่าประสบภัยน้ำท่วมแต่มีความ
ปลื้มปิติต่อพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ที่ทรงให้ความช่วยเหลือและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ของประชาชนภายในชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ทำให้ประชาชนยังคงมีความสุขมวลรวมสูงเป็นอันดับที่สอง อันดับที่สามได้แก่ประชาชนในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือได้ 5.74 ซึ่งคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเคยมีความสุขมวลรวมสูงเป็นอันดับหนึ่งทุกครั้ง อันดับสี่คือ ประชาชนในภาคเหนือได้ 5.56 และ
อันดับสุดท้ายคือ ประชาชนในกรุงเทพมหานครได้ 5.35 ที่น่าสังเกตคือคนกรุงเทพมหานครเคยมีความสุขมวลรวมสูงเป็นอันดับสองในเดือนกันยายนหลัง
จากปัญหาการเมืองได้ข้อยุติ แต่กลับตกมาอยู่อันดับสุดท้ายเหมือนการสำรวจหลายครั้งที่ผ่านมาแต่ครั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อความสุขมวลรวมของคนไทย
มากที่สุดคือปัญหาภัยน้ำท่วม สภาพแวดล้อม ปัญหาเศรษฐกิจ และบรรยากาศทางการเมืองที่กำลังเข้าสู่ความอึมครึมและอึดอัดในหมู่ประชาชนขณะนี้” ดร.
นพดลกล่าว
ดร.นพดลกล่าวต่อว่า จากผลวิจัยครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยที่น่าจะเกี่ยวข้องทำให้ความสุขของประชาชนเพิ่มขึ้นได้แก่ ประการแรก : การ
ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง
ประการทีสอง :การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และการช่วยลดรายจ่ายของประชาชนระดับรากฐานของสังคม
ประการที่สาม :การสะสางปัญหาการเมืองให้คลี่คลายลดความอึดอัดในหมู่ประชาชน
ประการทีสี่ : เร่งฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมอย่างเร่งด่วนและทำให้ประชาชนเห็นเป็นรูปธรรมว่ารัฐบาลที่ซื่อสัตย์สุจริตทำให้ประชาชนมี
คุณภาพชีวิตที่ดีกว่ารัฐบาลที่ถูกมองว่าไม่ซื่อสัตย์สุจริต
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนตุลาคม
2. เพื่อค้นหาศึกษาปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่กระทบต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชน
ภายในประเทศประจำเดือนตุลาคม: กรณีศึกษาประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติใน 21 จังหวัดของประเทศ ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 29
ตุลาคม — 4 พฤศจิกายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 21 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา
ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครพนม ชัยภูมิ กระบี่ ตรัง และสงขลา และชาวต่างชาติที่พักอาศัยหรือทำงานในประเทศไทย
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการ
กำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 44.5 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 20.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 18.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 13.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 79.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 18.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 19.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 19.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 8.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 4.7 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ/ว่างงาน
นอกจากนี้ ตัวอย่าง ร้อยละ 39.6 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 26.5 ระบุ 5,001 — 10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 4.7 ระบุ 10,001 — 20,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 3.6 ระบุ 20,001 — 30,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 25.6 ระบุ มากกกว่า 30,000 บาทต่อเดือน
เมื่อพิจารณาถึงแหล่งที่พักอาศัยพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.1 อยู่นอกเขตเทศบาล ในขณะที่ร้อยละ 36.9 พักอาศัยในเขตเทศบาล
หรือเขตเมือง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนตุลาคมเปรียบเทียบกับ
ช่วง 3 เดือนแรกของปี(มกราคม-มีนาคม) เดือนเมษายน เดือนพฤษภาคม เดือนมิถุนายน เดือนกรกฎาคม
เดือนสิงหาคม และเดือนกันยายน เมื่อคะแนนเต็ม 10
ม.ค.-มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค.
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม
ของคนไทยภายในประเทศ
(Gross Domestic Happiness) 5.47 6.08 6.59 9.21 7.29 6.34 6.30 4.86
ตารางที่ 2 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมที่มีต่อกลุ่มปัจจัยต่างๆ ของประชาชนประจำเดือนตุลาคม
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ประจำเดือนตุลาคม ค่าดะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย (เต็ม 10)
1 สุขภาพกาย 7.14
2 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย 6.89
3 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 6.58
4 ด้านครอบครัว เด็กและเยาวชน 6.19
5 ด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 6.04
6 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนตุลาคม 5.85
7 ด้านความพึงพอใจในงาน 5.68
8 ด้านบรรยากาศภายในชุมชน 5.49
9 ด้านการศึกษา 5.32
10 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 5.26
11 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 4.99
12 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 4.35
13 ด้านสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 4.26
14 ความสุขต่อระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 4.19
15 ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศประจำเดือนตุลาคม 4.86
ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมประจำเดือนตุลาคมที่มีต่อกลุ่มปัจจัยต่างๆ ของประชาชนจำแนกตามพื้นที่
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ประจำเดือนตุลาคม เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 สุขภาพกาย 7.09 7.28 7.16 7.39 6.44
2 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย 6.74 7.10 6.94 7.16 6.09
3 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 6.44 6.76 6.56 6.86 5.94
4 ด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 5.90 6.20 5.98 6.25 5.74
5 ด้านครอบครัว เด็กและเยาวชน 6.23 6.30 6.24 6.24 5.54
6 ด้านความพึงพอใจในงาน 5.60 5.81 5.61 5.86 5.41
7 ด้านการศึกษา 5.35 5.47 5.39 5.22 4.68
8 ด้านบรรยากาศภายในชุมชน 5.53 5.37 5.83 5.48 4.63
9 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 5.30 5.35 5.39 5.17 4.56
10 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 5.06 5.00 5.05 5.14 4.41
11 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 4.38 4.40 4.28 4.73 3.88
12 ความสุขต่อระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 4.04 4.36 4.16 4.37 3.85
13 ด้านสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 4.27 4.29 4.55 4.14 3.37
14 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนตุลาคม 5.56 6.11 5.74 6.35 5.35
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสุขต่อสภาพแวดล้อม เปรียบเทียบเดือนมิถุนายน — ตุลาคม 2549
ความสุขต่อสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย มิถุนายนค่าร้อยละ กรกฎาคมค่าร้อยละ สิงหาคมค่าร้อยละ กันยายนค่าร้อยละ ตุลาคมค่าร้อยละ
1.การคมนาคม ถนนหนทาง 54.2 47.6 25.7 22.5 21.8
2.ความสะดวกในการใช้โทรศัพท์บ้านในครัวเรือน 40.4 38.6 32.0 35.5 19.2
3.สิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ อากาศ ดิน 63.1 53.4 31.9 21.6 20.6
4.การบริการด้านไฟฟ้า 57.1 43.4 42.6 39.4 26.3
5.น้ำประปา แหล่งน้ำกินน้ำใช้ 34.3 37.4 38.1 36.2 22.1
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของประชาชนที่มีความสุขต่อการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ จำแนกตามพื้นที่
ลำดับที่ การจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม. ภาพรวม
1 ความรู้สึกปลอดภัยจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ 25.7 22.2 25.3 19.9 15.6 22.9
2 ความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการครอบครองเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ 24.7 20.6 23.2 20.2 13.2 21.5
3 โอกาสที่เท่าเทียมกันในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติรอบชุมชน 25.2 19.7 19.7 20.2 11.8 20.0
4 โอกาสที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติรอบๆ ชุมชน 24.9 18.0 19.6 22.7 12.7 19.9
ตารางที่ 6 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้และรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจำแนกตามพื้นที่
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ประจำเดือนตุลาคม เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม. ภาพรวม
1 ความรุนแรงของปัญหาอาชญากรรม 7.88 8.20 8.07 7.92 7.53 8.01
2 ความกังวลต่อผลกระทบของภัยน้ำท่วม 7.57 7.98 7.37 7.38 7.09 7.56
3 ความสุขต่อบรรยากาศการเมืองปัจจุบัน 5.78 6.47 5.87 7.00 5.72 6.15
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างชาวต่างชาติที่ระบุ ปัจจัยที่ทำให้มีความสุขเมื่อพักอาศัยหรือทำงานในประเทศไทย
ลำดับที่ ปัจจัยสำคัญ ร้อยละ
1 ความสุขกับวัฒนธรรมประเพณีไทย 72.8
2 ชอบชีวิตความเป็นอยู่แบบไทย เช่น อาหารไทย การใช้ชีวิตพอเพียง เป็นต้น 68.9
3 เห็นคนไทยช่วยเหลือกัน 64.1
4 ชอบเทศกาลรื่นเริงของคนไทย 63.2
5 เห็นคนไทยรักสามัคคีกัน 60.6
6 เห็นอกเห็นใจกันของคนไทย 57.3
7 เห็นคนไทยรักเสรีภาพ 56.4
8 เห็นคนไทยร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน 54.8
9 เห็นคนไทยเสียสละ 52.9
10 เห็นคนไทยมีความรับผิดชอบ 50.7
ตารางที่ 8 เปรียบเทียบกลุ่มประชาชนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับระดับความสุขมวลรวมของประชาชน
ลำดับที่ ระดับความสุขมวลรวมของประชาชน ใช้ชีวิตพอเพียงอย่างแท้จริง ใช้ชีวิตค่อนข้างพอเพียง ไม่ค่อยพอเพียง ไม่พอเพียง
1 มีความสุขมาก 30.4 8.3 5.2 9.1
2 ค่อนข้างมีความสุข 56.3 61.4 34.2 21.2
3 ปานกลาง 10.4 26.8 44.1 36.4
4 ไม่ค่อยมีความสุข 1.9 2.6 15.2 12.1
5 ไม่มีความสุขเลย 1.0 0.9 1.3 21.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน
ลำดับที่ การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน ร้อยละ
1 ไม่พอเพียง 1.8
2 ไม่ค่อยพอเพียง 12.8
3 ค่อนข้างพอเพียง 68.3
4 พอเพียงอย่างแท้จริง 17.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-