ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวม
(Gross Domestic Happiness Index, GDHI) ของประชาชนภายในประเทศประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2549 : กรณีศึกษาประชาชนคน
ไทยและชาวต่างชาติใน 21 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 5,013 คน จำแนกเป็นคนไทย 4,571 คน และชาวต่างชาติ 442 คน ซึ่งดำเนิน
โครงการ ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน — 23 ธันวาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
ผลวิจัยพบว่า ความสุขมวลรวมของคนไทยเพิ่มขึ้นจาก 4.86 ในเดือนตุลาคมมาอยู่ที่ 5.74 ในการสำรวจเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
2549 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนไทยมีความสุขมากขึ้นแม้ประสบปัญหาความเดือดร้อนต่างๆ มากมายคือ ความจงรักภักดีของประชาชนต่อสถาบันพระมหา
กษัตริย์ การระลึกถึงพระเมตตาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพสกนิกรของพระองค์ทุกหมู่เหล่า และความปลื้มปิติในโครงการพระราชดำริของ
ในหลวง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลและกลไกต่างๆ ของรัฐและประชาชนทุกคนในสังคมจำเป็นต้องช่วยกันสร้างระบบทำให้ความสุขมวลรวมของคนภายใน
ประเทศในปีหน้าอยู่ในระดับสูงและมีเสถียรภาพไม่แกว่งตัวขึ้นลงอย่างรวดเร็วโดยอาศัยหลักธรรมาภิบาล วัฒนธรรมประเพณี เศรษฐกิจพอเพียง และ
ทางสายกลางในการดำเนินชีวิต
เมื่อพิจารณาความสุขมวลรวมของชาวต่างชาติที่มาพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย พบว่า ความสุขล่าสุดในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมอยู่ที่
7.14 สูงขึ้นเล็กน้อยโดยมีปัจจัยสำคัญเช่นเดียวกับคนไทยคือ ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ การรับรู้ถึงพระเมตตาของพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวที่มีต่อประชาชนทุกคนทุกชาติที่อยู่ในประเทศไทย วัฒนธรรมประเพณีไทย วิถีชีวิตของคนไทย และการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
เมื่อวิเคราะห์ความสุขของประชาชนในรายละเอียดพบว่า ความสุขของประชาชนต่อสุขภาพกายประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม อยู่ที่
7.34 เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน ความสุขต่อวัฒนธรรมประเพณีและเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทยอยู่ที่ 6.97 ความสุขต่อสุขภาพจิตอยู่ที่ 6.67 ความ
สุขต่อครอบครัว เด็กและเยาวชนอยู่ที่ 6.28 ความสุขต่อหลักการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ที่ 6.14 ความสุขพึงพอใจในงานอยู่ที่ 5.74
ความสุขต่อสถานการณ์ปัจจุบันอยู่ที่ 5.63 ความสุขต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตอยู่ที่ 5.63 เท่ากัน ความสุขต่อบรรยากาศภายในชุมชนอยู่ที่ 5.54 ความสุข
ต่อทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรมอยู่ที่ 5.29 และความสุขต่อระบบการศึกษาไทยอยู่ที่ 5.19
สำหรับปัจจัยสำคัญที่พบความสุขของประชาชนอยู่ในขั้นวิกฤต ได้แก่ กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคมได้เพียง 4.78 ด้าน
สภาพแวดล้อมที่พักอาศัยได้ 4.33 ด้านหลักธรรมาภิบาล การเมืองรัฐบาลและองค์กรอิสระได้เพียง 4.16 และระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ได้
เพียง 4.02 เท่านั้น
เมื่อจำแนกกลุ่มประชาชนออกตามภูมิภาคต่างๆ พบว่า ในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมปี 2549 นี้ ประชาชนในภาคกลางมีระดับความสุขมวล
รวมต่ำสุดคือ 5.32 ถัดขึ้นมาเป็นคนกรุงเทพมหานครได้ 5.36 คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ 5.71 คนภาคใต้ได้ 6.00 และคนภาคเหนือมีความสุข
มวลรวมเทียบกับภาคอื่นๆ แล้วสูงสุดคือได้ 6.15 ปัจจัยสำคัญน่าจะมาจากการจัดงานพืชสวนโลก (สอบถามในหัวข้อสถานการณ์ปัจจุบัน) สุขภาพกาย
สุขภาพใจ บรรยากาศภายในครอบครัว ชุมชนและวัฒนธรรมประเพณีทำให้ประชาชนในภาคเหนือมีความสุขสูงสุดในการสำรวจครั้งนี้
เมื่อวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้คนไทยมีความสุขมวลรวมในระดับต่ำ พบกลุ่มปัญหา 3 กลุ่มได้แก่ เรื่องหลักธรรมาภิบาล การเมืองรัฐบาลและ
องค์กรอิสระ เรื่องระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ และเรื่องสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย ซึ่งผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.9 ระบุความ
ไม่ไว้วางใจต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 90.8 ระบุประชาชนไม่สามารถตรวจสอบรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ ร้อยละ 89.7
ระบุประชาชนไม่มีส่วนร่วมแก้ปัญหาประเทศได้แท้จริง ร้อยละ 87.7 ระบุเป็นช่องว่าระหว่างรัฐบาล ส่วนราชการและประชาชน และร้อยละ 83.0
ระบุเป็นการไม่ตื่นตัวของประชาชนในการเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคม
สำหรับปัญหาวิกฤตของระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.4 ระบุความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน ร้อย
ละ 73.6 ระบุการมุ่งแสวงหากำไรมากเกินไป ร้อยละ 72.4 ระบุความไม่เชื่อมั่นต่อความเป็นธรรมในสัญญาทางธุรกิจ ร้อยละ 70.8 ระบุการเอารัด
เอาเปรียบผู้มีทุนการค้าน้อยกว่า และร้อยละ 68.1 ระบุการมุ่งกอบโกยผลประโยชน์มากกว่าการช่วยเหลือกันและกัน ตามลำดับ
เมื่อวิเคราะห์สาเหตุของการทำลายความสุขของประชาชนที่เกิดจากกระบวนการที่ไม่ยุติธรรมและความไม่เป็นธรรมในสังคม พบว่า ส่วน
ใหญ่หรือร้อยละ 84.9 ระบุเป็นปัญหาวิกฤตภาพลักษณ์การทำงานของตำรวจ รองลงมาคือร้อยละ 82.1 ระบุปัญหาวิกฤตภาพลักษณ์การทำงานของเจ้า
หน้าที่รัฐอื่นๆ ในกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 79.3 เป็นเรื่องของความไม่เสมอภาคเท่าเทียมในหมู่ประชาชนจากการทำงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวน
การยุติธรรม ร้อยละ 66.2 ประชาชนไม่มีช่องทางขอความช่วยเหลือได้อย่างแท้จริง และร้อยละ 61.4 ตัวบทกฎหมายเปิดช่องให้เกิดการเลือกปฏิบัติ
ในกระบวนการยุติธรรม
สำหรับปัญหาวิกฤตของสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.9 ระบุเป็นสภาพดิน น้ำ อากาศ ร้อยละ 73.4 ระบุสภาพ
ถนนและความไม่เคร่งครัดต่อกฎจราจร ร้อยละ 72.8 ระบุไฟฟ้าตก ดับบ่อย ร้อยละ 70.9 ระบุแหล่งน้ำกินน้ำใช้ น้ำประปาไม่ทั่วถึงไม่มีคุณภาพ และ
ร้อยละ 68.5 ระบุไม่มีความสะดวกในการใช้โทรศัพท์พื้นฐาน (ไม่มีโทรศัพท์บ้าน) ตามลำดับ
สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวต่างชาติมีความสุข พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.8 รับรู้ถึงพระเมตตา ความห่วงใยและช่วยเหลือของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อประชาชนทุกคนในประเทศ ร้อยละ 83.6 ระบุเป็นเรื่องวัฒนธรรมประเพณีไทย ร้อยละ 71.2 ระบุสุขภาพกาย ร้อย
ละ 70.4 ระบุสุขภาพใจ ร้อยละ 63.2 ระบุหลักเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 62.7 ระบุความพอใจในงาน ร้อยละ 58.8 ระบุรูปแบบการดำเนินชีวิต
คนไทย ร้อยละ 56.3 ระบุระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ ร้อยละ 55.9 ระบุบรรยากาศภายในชุมชน และร้อยละ 53.0 ระบุสถานการณ์
ปัจจุบันภายในประเทศ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยความสุขครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยที่ทำให้คนไทยและชาวต่างชาติภายในประเทศมีความสุขตรงกันคือการรับรู้ถึง
พระเมตตาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ต่อประชาชนทุกคน วัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตแห่งความเป็นคนไทย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รัฐบาล กลไกต่างๆ ของรัฐและประชาชนทุกคนต้องตระหนักใส่ใจในปีหน้าคือ หลักธรรมาภิบาล ระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒ
น์ กระบวนการยุติธรรมความเป็นธรรมในสังคม และสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย โดยในปีหน้าน่าจะเป็นปีที่รัฐบาลกำหนดยุทธศาสตร์เน้นปัญหาวิกฤตในปัจจัย
เหล่านี้และรักษาระดับคุณภาพปัจจัยอื่นๆ ควบคู่กันไป
แนวทางที่น่าพิจารณาคือ
ประการแรก นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันน่าจะเน้นสร้างช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นในการแก้ปัญหาประเทศและดูแลสังคมให้อยู่เย็น
เป็นสุขร่วมกัน เพราะการกล่าวเชิญชวนประชาชนเพียงอย่างเดียวไม่สามารถเกิดผลได้แน่
ประการที่สอง มีกฎหมายรองรับให้ประชาชนสามารถตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเอาผิดเจ้าหน้าที่ปกครองได้เมื่อพบเห็น
พฤติการณ์ที่ประพฤติมิชอบโดยไม่ต้องมีใบเสร็จ
ประการที่สาม ควรสร้างหลักประกันให้ประชาชนมั่นใจว่าระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีและไม่ถูกเอารัด
เอาเปรียบ
ประการที่สี่ กระบวนการยุติธรรมสามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนทุกระดับชั้นในสังคมได้อย่างแท้จริง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้เป็นประตูสู่
กระบวนการยุติธรรมได้รับความเป็นธรรมและมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริงก่อนไปอำนวยความยุติธรรมและบริการคุ้มครองประชาชน
ประการที่ห้า รัฐบาลควรเน้นสร้างสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยน่าอยู่และสะดวกสบายแก่ประชาชนอย่างเห็นได้ชัดเจนว่ารัฐบาลที่มีภาพของ
ความซื่อสัตย์สุจริตสามารถให้สภาพแวดล้อมที่ดีแก่ประชาชนมากกว่ารัฐบาลที่มีภาพของการทุจริตคอรัปชั่นเพราะประชาชนคาดหวังสูงว่าต่อไปนี้ประชาชน
จะมีสภาพถนนหนทางที่ดีไม่มีการกินหินกินทราย โทรศัพท์ ไฟฟ้า น้ำประปาเข้าถึงได้โดยไม่ต้องอาศัยบารมีนักการเมืองหรือต้องจ่ายเงินพิเศษให้กับเจ้า
หน้าที่ของรัฐเพิ่มเติม
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
2. เพื่อค้นหาศึกษาปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่กระทบต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง รายงานดัชนี
ความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม: กรณีศึกษาประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติ
ใน 21 จังหวัดของประเทศ ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน — 23 ธันวาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 21 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์
นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครพนม ชัยภูมิ กระบี่ ตรัง และสงขลา และชาวต่างชาติที่พักอาศัยหรือทำงานในประเทศไทย
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้อง
กับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่
ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณ
เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 21.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 19.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 23.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 11.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.5 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.4 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ/ว่างงาน
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.3 อยู่นอกเขตเทศบาล
ในขณะที่ร้อยละ 27.7 พักอาศัยในเขตเทศบาลหรือเขตเมือง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
เปรียบเทียบกับ ช่วง 3 เดือนแรกของปี(มกราคม-มีนาคม) เมื่อคะแนนเต็ม 10
ม.ค.-มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย.-ธ.ค.
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย 5.47 6.08 6.59 9.21 7.29 6.34 6.30 4.86 5.74
ภายในประเทศ(Gross Domestic Happiness)
ตารางที่ 2 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมที่มีต่อกลุ่มปัจจัยต่างๆ ของประชาชนประจำเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าดะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย(เต็ม 10)
1 สุขภาพกาย 7.34
2 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย 6.97
3 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 6.67
4 ด้านครอบครัว เด็กและเยาวชน 6.28
5 ด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 6.14
6 ด้านความพึงพอใจในงาน 5.74
7 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 5.63
8 รูปแบบการดำเนินชีวิต 5.63
9 ด้านบรรยากาศภายในชุมชน 5.54
10 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 5.29
11 ด้านการศึกษา 5.19
12 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 4.78
13 ด้านสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 4.33
14 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 4.16
15 ความสุขต่อระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 4.02
16 ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 5.74
ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมที่มีต่อกลุ่มปัจจัยต่างๆ ของประชาชน
จำแนกตามพื้นที่
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 สุขภาพกาย 7.87 6.82 7.26 7.56 7.19
2 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย 7.37 6.51 6.91 7.39 6.65
3 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 7.17 6.31 6.56 6.94 6.38
4 ด้านครอบครัว เด็กและเยาวชน 6.95 5.75 6.20 6.75 5.58
5 ด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 6.35 5.98 6.02 6.39 6.16
6 ด้านความพึงพอใจในงาน 6.01 5.54 5.62 6.14 5.39
7 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 6.01 5.47 5.43 5.94 5.41
8 รูปแบบการดำเนินชีวิต 6.05 6.29 5.60 5.86 5.23
9 ด้านบรรยากาศภายในชุมชน 6.07 4.85 5.66 5.86 4.87
10 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 5.79 4.80 5.27 5.53 4.95
11 ด้านการศึกษา 5.61 4.69 5.23 5.51 4.72
12 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 5.18 4.34 5.01 4.82 3.90
13 ด้านสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 4.87 3.56 4.46 4.57 3.88
14 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 4.61 3.79 4.16 4.41 3.63
15 ความสุขต่อระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 4.25 3.80 4.04 3.98 3.97
16 ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 6.15 5.32 5.71 6.00 5.36
ตารางที่ 4 แสดง 5 อันดับปัญหาวิกฤตของหลักธรรมาภิบาล การเมืองรัฐบาลและองค์กรอิสระ
ลำดับที่ ปัญหาวิกฤตในหลักธรรมาภิบาล ร้อยละ
1 ความไม่เป็นที่ไว้วางใจต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 91.9
2 ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบรัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง 90.8
3 ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาประเทศได้อย่างแท้จริง 89.7
4 ช่องว่างระหว่างรัฐบาล ส่วนราชการ และประชาชน 87.7
5 การไม่ตื่นตัวของประชาชนในการเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคม 83.0
ตารางที่ 5 แสดง 5 อันดับปัญหาวิกฤตของระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์
ลำดับที่ ปัญหาวิกฤตของระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ ร้อยละ
1 ความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน 83.4
2 การมุ่งแสวงหากำไรมากเกินไป 73.6
3 ความไม่เชื่อมั่นต่อความเป็นธรรมในสัญญาทางธุรกิจ 72.4
4 การเอารัดเอาเปรียบผู้ที่มีทุนการค้าน้อยกว่า 70.8
5 การมุ่งกอบโกยผลประโยชน์มากกว่าการช่วยเหลือกันและกัน 68.1
ตารางที่ 6 แสดง 5 อันดับปัญหาวิกฤตของกระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม
ลำดับที่ ปัญหาวิกฤตของกระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม ร้อยละ
1 ปัญหาวิกฤตภาพลักษณ์การทำงานของตำรวจ 84.9
2 วิกฤตภาพลักษณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐอื่นๆ ในกระบวนการยุติธรรม 82.1
3 ความไม่เสอมภาคเท่าเทียมกันในหมู่ประชาชนจากการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ 79.3
4 ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงช่องทางขอความช่วยเหลือได้ 66.2
5 ตัวบทกฎหมายที่เปิดช่องให้มีการเลือกปฏิบัติ 61.4
ตารางที่ 7 แสดง 5 อันดับปัญหาวิกฤตของสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย
ลำดับที่ ปัญหาวิกฤตของสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย ร้อยละ
1 สภาพดิน น้ำ อากาศ 76.9
2 สภาพถนน และความไม่เคร่งครัดต่อกฎจราจร 73.4
3 ไฟฟ้าตก ดับบ่อย 72.8
4 แหล่งน้ำกินน้ำใช้ น้ำประปาไม่ทั่วถึง ไม่มีคุณภาพ 70.9
5 ไม่มีความสะดวกในการใช้โทรศัพท์พื้นฐาน (ไม่มีโทรศัพท์บ้าน) 68.5
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างชาวต่างชาติที่ระบุ ปัจจัยที่ทำให้มีความสุขเมื่อพักอาศัยหรือทำงานในประเทศไทย
ลำดับที่ ปัจจัยสำคัญ ร้อยละ
1 รับรู้ถึงพระเมตตา ความห่วงใยช่วยเหลือของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อประชาชนทุกคนในประเทศ 92.8
2 วัฒนธรรมประเพณีไทย 83.6
3 สุขภาพกาย 71.2
4 สุขภาพใจ 70.4
5 หลักเศรษฐกิจพอเพียง 63.2
6 ความพึงพอใจในงาน 62.7
7 รูปแบบการดำเนินชีวิตคนไทย 58.8
8 ระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 56.3
9 บรรยากาศภายในชุมชน 55.9
10 สถานการณ์ปัจจุบันภายในประเทศ 53.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
(Gross Domestic Happiness Index, GDHI) ของประชาชนภายในประเทศประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2549 : กรณีศึกษาประชาชนคน
ไทยและชาวต่างชาติใน 21 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 5,013 คน จำแนกเป็นคนไทย 4,571 คน และชาวต่างชาติ 442 คน ซึ่งดำเนิน
โครงการ ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน — 23 ธันวาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
ผลวิจัยพบว่า ความสุขมวลรวมของคนไทยเพิ่มขึ้นจาก 4.86 ในเดือนตุลาคมมาอยู่ที่ 5.74 ในการสำรวจเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
2549 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนไทยมีความสุขมากขึ้นแม้ประสบปัญหาความเดือดร้อนต่างๆ มากมายคือ ความจงรักภักดีของประชาชนต่อสถาบันพระมหา
กษัตริย์ การระลึกถึงพระเมตตาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพสกนิกรของพระองค์ทุกหมู่เหล่า และความปลื้มปิติในโครงการพระราชดำริของ
ในหลวง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลและกลไกต่างๆ ของรัฐและประชาชนทุกคนในสังคมจำเป็นต้องช่วยกันสร้างระบบทำให้ความสุขมวลรวมของคนภายใน
ประเทศในปีหน้าอยู่ในระดับสูงและมีเสถียรภาพไม่แกว่งตัวขึ้นลงอย่างรวดเร็วโดยอาศัยหลักธรรมาภิบาล วัฒนธรรมประเพณี เศรษฐกิจพอเพียง และ
ทางสายกลางในการดำเนินชีวิต
เมื่อพิจารณาความสุขมวลรวมของชาวต่างชาติที่มาพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย พบว่า ความสุขล่าสุดในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมอยู่ที่
7.14 สูงขึ้นเล็กน้อยโดยมีปัจจัยสำคัญเช่นเดียวกับคนไทยคือ ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ การรับรู้ถึงพระเมตตาของพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวที่มีต่อประชาชนทุกคนทุกชาติที่อยู่ในประเทศไทย วัฒนธรรมประเพณีไทย วิถีชีวิตของคนไทย และการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
เมื่อวิเคราะห์ความสุขของประชาชนในรายละเอียดพบว่า ความสุขของประชาชนต่อสุขภาพกายประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม อยู่ที่
7.34 เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน ความสุขต่อวัฒนธรรมประเพณีและเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทยอยู่ที่ 6.97 ความสุขต่อสุขภาพจิตอยู่ที่ 6.67 ความ
สุขต่อครอบครัว เด็กและเยาวชนอยู่ที่ 6.28 ความสุขต่อหลักการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ที่ 6.14 ความสุขพึงพอใจในงานอยู่ที่ 5.74
ความสุขต่อสถานการณ์ปัจจุบันอยู่ที่ 5.63 ความสุขต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตอยู่ที่ 5.63 เท่ากัน ความสุขต่อบรรยากาศภายในชุมชนอยู่ที่ 5.54 ความสุข
ต่อทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรมอยู่ที่ 5.29 และความสุขต่อระบบการศึกษาไทยอยู่ที่ 5.19
สำหรับปัจจัยสำคัญที่พบความสุขของประชาชนอยู่ในขั้นวิกฤต ได้แก่ กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคมได้เพียง 4.78 ด้าน
สภาพแวดล้อมที่พักอาศัยได้ 4.33 ด้านหลักธรรมาภิบาล การเมืองรัฐบาลและองค์กรอิสระได้เพียง 4.16 และระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ได้
เพียง 4.02 เท่านั้น
เมื่อจำแนกกลุ่มประชาชนออกตามภูมิภาคต่างๆ พบว่า ในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมปี 2549 นี้ ประชาชนในภาคกลางมีระดับความสุขมวล
รวมต่ำสุดคือ 5.32 ถัดขึ้นมาเป็นคนกรุงเทพมหานครได้ 5.36 คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ 5.71 คนภาคใต้ได้ 6.00 และคนภาคเหนือมีความสุข
มวลรวมเทียบกับภาคอื่นๆ แล้วสูงสุดคือได้ 6.15 ปัจจัยสำคัญน่าจะมาจากการจัดงานพืชสวนโลก (สอบถามในหัวข้อสถานการณ์ปัจจุบัน) สุขภาพกาย
สุขภาพใจ บรรยากาศภายในครอบครัว ชุมชนและวัฒนธรรมประเพณีทำให้ประชาชนในภาคเหนือมีความสุขสูงสุดในการสำรวจครั้งนี้
เมื่อวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้คนไทยมีความสุขมวลรวมในระดับต่ำ พบกลุ่มปัญหา 3 กลุ่มได้แก่ เรื่องหลักธรรมาภิบาล การเมืองรัฐบาลและ
องค์กรอิสระ เรื่องระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ และเรื่องสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย ซึ่งผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.9 ระบุความ
ไม่ไว้วางใจต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 90.8 ระบุประชาชนไม่สามารถตรวจสอบรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ ร้อยละ 89.7
ระบุประชาชนไม่มีส่วนร่วมแก้ปัญหาประเทศได้แท้จริง ร้อยละ 87.7 ระบุเป็นช่องว่าระหว่างรัฐบาล ส่วนราชการและประชาชน และร้อยละ 83.0
ระบุเป็นการไม่ตื่นตัวของประชาชนในการเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคม
สำหรับปัญหาวิกฤตของระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.4 ระบุความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน ร้อย
ละ 73.6 ระบุการมุ่งแสวงหากำไรมากเกินไป ร้อยละ 72.4 ระบุความไม่เชื่อมั่นต่อความเป็นธรรมในสัญญาทางธุรกิจ ร้อยละ 70.8 ระบุการเอารัด
เอาเปรียบผู้มีทุนการค้าน้อยกว่า และร้อยละ 68.1 ระบุการมุ่งกอบโกยผลประโยชน์มากกว่าการช่วยเหลือกันและกัน ตามลำดับ
เมื่อวิเคราะห์สาเหตุของการทำลายความสุขของประชาชนที่เกิดจากกระบวนการที่ไม่ยุติธรรมและความไม่เป็นธรรมในสังคม พบว่า ส่วน
ใหญ่หรือร้อยละ 84.9 ระบุเป็นปัญหาวิกฤตภาพลักษณ์การทำงานของตำรวจ รองลงมาคือร้อยละ 82.1 ระบุปัญหาวิกฤตภาพลักษณ์การทำงานของเจ้า
หน้าที่รัฐอื่นๆ ในกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 79.3 เป็นเรื่องของความไม่เสมอภาคเท่าเทียมในหมู่ประชาชนจากการทำงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวน
การยุติธรรม ร้อยละ 66.2 ประชาชนไม่มีช่องทางขอความช่วยเหลือได้อย่างแท้จริง และร้อยละ 61.4 ตัวบทกฎหมายเปิดช่องให้เกิดการเลือกปฏิบัติ
ในกระบวนการยุติธรรม
สำหรับปัญหาวิกฤตของสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.9 ระบุเป็นสภาพดิน น้ำ อากาศ ร้อยละ 73.4 ระบุสภาพ
ถนนและความไม่เคร่งครัดต่อกฎจราจร ร้อยละ 72.8 ระบุไฟฟ้าตก ดับบ่อย ร้อยละ 70.9 ระบุแหล่งน้ำกินน้ำใช้ น้ำประปาไม่ทั่วถึงไม่มีคุณภาพ และ
ร้อยละ 68.5 ระบุไม่มีความสะดวกในการใช้โทรศัพท์พื้นฐาน (ไม่มีโทรศัพท์บ้าน) ตามลำดับ
สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวต่างชาติมีความสุข พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.8 รับรู้ถึงพระเมตตา ความห่วงใยและช่วยเหลือของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อประชาชนทุกคนในประเทศ ร้อยละ 83.6 ระบุเป็นเรื่องวัฒนธรรมประเพณีไทย ร้อยละ 71.2 ระบุสุขภาพกาย ร้อย
ละ 70.4 ระบุสุขภาพใจ ร้อยละ 63.2 ระบุหลักเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 62.7 ระบุความพอใจในงาน ร้อยละ 58.8 ระบุรูปแบบการดำเนินชีวิต
คนไทย ร้อยละ 56.3 ระบุระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ ร้อยละ 55.9 ระบุบรรยากาศภายในชุมชน และร้อยละ 53.0 ระบุสถานการณ์
ปัจจุบันภายในประเทศ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยความสุขครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยที่ทำให้คนไทยและชาวต่างชาติภายในประเทศมีความสุขตรงกันคือการรับรู้ถึง
พระเมตตาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ต่อประชาชนทุกคน วัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตแห่งความเป็นคนไทย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รัฐบาล กลไกต่างๆ ของรัฐและประชาชนทุกคนต้องตระหนักใส่ใจในปีหน้าคือ หลักธรรมาภิบาล ระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒ
น์ กระบวนการยุติธรรมความเป็นธรรมในสังคม และสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย โดยในปีหน้าน่าจะเป็นปีที่รัฐบาลกำหนดยุทธศาสตร์เน้นปัญหาวิกฤตในปัจจัย
เหล่านี้และรักษาระดับคุณภาพปัจจัยอื่นๆ ควบคู่กันไป
แนวทางที่น่าพิจารณาคือ
ประการแรก นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันน่าจะเน้นสร้างช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นในการแก้ปัญหาประเทศและดูแลสังคมให้อยู่เย็น
เป็นสุขร่วมกัน เพราะการกล่าวเชิญชวนประชาชนเพียงอย่างเดียวไม่สามารถเกิดผลได้แน่
ประการที่สอง มีกฎหมายรองรับให้ประชาชนสามารถตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเอาผิดเจ้าหน้าที่ปกครองได้เมื่อพบเห็น
พฤติการณ์ที่ประพฤติมิชอบโดยไม่ต้องมีใบเสร็จ
ประการที่สาม ควรสร้างหลักประกันให้ประชาชนมั่นใจว่าระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีและไม่ถูกเอารัด
เอาเปรียบ
ประการที่สี่ กระบวนการยุติธรรมสามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนทุกระดับชั้นในสังคมได้อย่างแท้จริง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้เป็นประตูสู่
กระบวนการยุติธรรมได้รับความเป็นธรรมและมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริงก่อนไปอำนวยความยุติธรรมและบริการคุ้มครองประชาชน
ประการที่ห้า รัฐบาลควรเน้นสร้างสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยน่าอยู่และสะดวกสบายแก่ประชาชนอย่างเห็นได้ชัดเจนว่ารัฐบาลที่มีภาพของ
ความซื่อสัตย์สุจริตสามารถให้สภาพแวดล้อมที่ดีแก่ประชาชนมากกว่ารัฐบาลที่มีภาพของการทุจริตคอรัปชั่นเพราะประชาชนคาดหวังสูงว่าต่อไปนี้ประชาชน
จะมีสภาพถนนหนทางที่ดีไม่มีการกินหินกินทราย โทรศัพท์ ไฟฟ้า น้ำประปาเข้าถึงได้โดยไม่ต้องอาศัยบารมีนักการเมืองหรือต้องจ่ายเงินพิเศษให้กับเจ้า
หน้าที่ของรัฐเพิ่มเติม
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
2. เพื่อค้นหาศึกษาปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่กระทบต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง รายงานดัชนี
ความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม: กรณีศึกษาประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติ
ใน 21 จังหวัดของประเทศ ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน — 23 ธันวาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 21 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์
นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครพนม ชัยภูมิ กระบี่ ตรัง และสงขลา และชาวต่างชาติที่พักอาศัยหรือทำงานในประเทศไทย
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้อง
กับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่
ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณ
เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 21.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 19.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 23.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 11.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.5 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.4 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ/ว่างงาน
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.3 อยู่นอกเขตเทศบาล
ในขณะที่ร้อยละ 27.7 พักอาศัยในเขตเทศบาลหรือเขตเมือง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
เปรียบเทียบกับ ช่วง 3 เดือนแรกของปี(มกราคม-มีนาคม) เมื่อคะแนนเต็ม 10
ม.ค.-มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย.-ธ.ค.
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย 5.47 6.08 6.59 9.21 7.29 6.34 6.30 4.86 5.74
ภายในประเทศ(Gross Domestic Happiness)
ตารางที่ 2 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมที่มีต่อกลุ่มปัจจัยต่างๆ ของประชาชนประจำเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าดะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย(เต็ม 10)
1 สุขภาพกาย 7.34
2 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย 6.97
3 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 6.67
4 ด้านครอบครัว เด็กและเยาวชน 6.28
5 ด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 6.14
6 ด้านความพึงพอใจในงาน 5.74
7 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 5.63
8 รูปแบบการดำเนินชีวิต 5.63
9 ด้านบรรยากาศภายในชุมชน 5.54
10 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 5.29
11 ด้านการศึกษา 5.19
12 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 4.78
13 ด้านสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 4.33
14 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 4.16
15 ความสุขต่อระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 4.02
16 ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 5.74
ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมที่มีต่อกลุ่มปัจจัยต่างๆ ของประชาชน
จำแนกตามพื้นที่
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 สุขภาพกาย 7.87 6.82 7.26 7.56 7.19
2 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย 7.37 6.51 6.91 7.39 6.65
3 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 7.17 6.31 6.56 6.94 6.38
4 ด้านครอบครัว เด็กและเยาวชน 6.95 5.75 6.20 6.75 5.58
5 ด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 6.35 5.98 6.02 6.39 6.16
6 ด้านความพึงพอใจในงาน 6.01 5.54 5.62 6.14 5.39
7 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 6.01 5.47 5.43 5.94 5.41
8 รูปแบบการดำเนินชีวิต 6.05 6.29 5.60 5.86 5.23
9 ด้านบรรยากาศภายในชุมชน 6.07 4.85 5.66 5.86 4.87
10 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 5.79 4.80 5.27 5.53 4.95
11 ด้านการศึกษา 5.61 4.69 5.23 5.51 4.72
12 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 5.18 4.34 5.01 4.82 3.90
13 ด้านสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 4.87 3.56 4.46 4.57 3.88
14 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 4.61 3.79 4.16 4.41 3.63
15 ความสุขต่อระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 4.25 3.80 4.04 3.98 3.97
16 ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 6.15 5.32 5.71 6.00 5.36
ตารางที่ 4 แสดง 5 อันดับปัญหาวิกฤตของหลักธรรมาภิบาล การเมืองรัฐบาลและองค์กรอิสระ
ลำดับที่ ปัญหาวิกฤตในหลักธรรมาภิบาล ร้อยละ
1 ความไม่เป็นที่ไว้วางใจต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 91.9
2 ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบรัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง 90.8
3 ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาประเทศได้อย่างแท้จริง 89.7
4 ช่องว่างระหว่างรัฐบาล ส่วนราชการ และประชาชน 87.7
5 การไม่ตื่นตัวของประชาชนในการเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคม 83.0
ตารางที่ 5 แสดง 5 อันดับปัญหาวิกฤตของระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์
ลำดับที่ ปัญหาวิกฤตของระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ ร้อยละ
1 ความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน 83.4
2 การมุ่งแสวงหากำไรมากเกินไป 73.6
3 ความไม่เชื่อมั่นต่อความเป็นธรรมในสัญญาทางธุรกิจ 72.4
4 การเอารัดเอาเปรียบผู้ที่มีทุนการค้าน้อยกว่า 70.8
5 การมุ่งกอบโกยผลประโยชน์มากกว่าการช่วยเหลือกันและกัน 68.1
ตารางที่ 6 แสดง 5 อันดับปัญหาวิกฤตของกระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม
ลำดับที่ ปัญหาวิกฤตของกระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม ร้อยละ
1 ปัญหาวิกฤตภาพลักษณ์การทำงานของตำรวจ 84.9
2 วิกฤตภาพลักษณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐอื่นๆ ในกระบวนการยุติธรรม 82.1
3 ความไม่เสอมภาคเท่าเทียมกันในหมู่ประชาชนจากการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ 79.3
4 ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงช่องทางขอความช่วยเหลือได้ 66.2
5 ตัวบทกฎหมายที่เปิดช่องให้มีการเลือกปฏิบัติ 61.4
ตารางที่ 7 แสดง 5 อันดับปัญหาวิกฤตของสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย
ลำดับที่ ปัญหาวิกฤตของสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย ร้อยละ
1 สภาพดิน น้ำ อากาศ 76.9
2 สภาพถนน และความไม่เคร่งครัดต่อกฎจราจร 73.4
3 ไฟฟ้าตก ดับบ่อย 72.8
4 แหล่งน้ำกินน้ำใช้ น้ำประปาไม่ทั่วถึง ไม่มีคุณภาพ 70.9
5 ไม่มีความสะดวกในการใช้โทรศัพท์พื้นฐาน (ไม่มีโทรศัพท์บ้าน) 68.5
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างชาวต่างชาติที่ระบุ ปัจจัยที่ทำให้มีความสุขเมื่อพักอาศัยหรือทำงานในประเทศไทย
ลำดับที่ ปัจจัยสำคัญ ร้อยละ
1 รับรู้ถึงพระเมตตา ความห่วงใยช่วยเหลือของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อประชาชนทุกคนในประเทศ 92.8
2 วัฒนธรรมประเพณีไทย 83.6
3 สุขภาพกาย 71.2
4 สุขภาพใจ 70.4
5 หลักเศรษฐกิจพอเพียง 63.2
6 ความพึงพอใจในงาน 62.7
7 รูปแบบการดำเนินชีวิตคนไทย 58.8
8 ระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 56.3
9 บรรยากาศภายในชุมชน 55.9
10 สถานการณ์ปัจจุบันภายในประเทศ 53.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-