เอแบคโพลล์: ความตั้งใจของประชาชนในการจะซื้อของขวัญ ของฝากช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2552 และคำอวยพร

ข่าวผลสำรวจ Tuesday December 23, 2008 15:14 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า และสำนัก งานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินการสำรวจวิจัยเรื่อง ความตั้งใจของประชาชนในการจะซื้อของขวัญ ของฝาก ช่วงเทศกาล ปีใหม่ พ.ศ. 2552 และคำอวยพร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 12 — 60 ปีใน 12 จังหวัดของประเทศ (ประกอบด้วยจังหวัดที่มีการทำกิจกรรม รณรงค์มาก 6 จังหวัด และจังหวัดที่มีการทำกิจกรรมรณรงค์น้อย 6 จังหวัดตามเกณฑ์ของคณะทำงาน) ทั้งในและนอกเขตเทศบาล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ราชบุรี อยุธยา จันทบุรี เชียงใหม่ สุโขทัย ขอนแก่น อุบลราชธานี สุรินทร์ อุดรธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา จำนวน 2,303 ตัวอย่าง ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลโครงการระหว่างวันที่ 5 - 22 ธันวาคม 2551

ประเด็นสำคัญที่ค้นพบ คือ ประชาชนที่ถูกศึกษาเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 54.5 ตั้งใจจะให้ของขวัญ ของฝากแก่ผู้อื่น ในขณะที่ร้อยละ 28.2 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 17.3 ไม่ให้ แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของสัดส่วนประชาชนที่ตั้งใจจะให้ของขวัญ ของ ฝากประเภทต่างๆ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ระหว่างปี พ.ศ. 2549 กับ ปี พ.ศ. 2552 พบว่า สัดส่วนคนที่ตั้งใจจะให้การ์ดอวยพรในปีใหม่ 2549 อยู่ที่ ร้อยละ 46.9 แต่ในปีใหม่ 2552 อยู่ที่ร้อยละ 41.7 แต่เมื่อพิจารณากระเช้าของขวัญ พบว่า ในปีใหม่ 2549 อยู่ที่ร้อยละ 31.1 แต่ในปีใหม่ที่จะมาถึง นี้ มีประชาชนร้อยละ 36.7 ตั้งใจจะซื้อกระเช้าของขวัญ นอกจากนี้ คนที่ตั้งใจจะซื้อขนม ของหวาน ผลไม้ ในปีใหม่ 2549 อยู่ที่ร้อยละ 22.2 แต่ค้น พบในปีใหม่ 2552 อยู่ที่ร้อยละ 32.6 ที่น่าสนใจคือ ในปีใหม่ 2549 ไม่พบข้อมูลคนที่ตั้งใจจะซื้ออาหารเพื่อสุขภาพเป็นของขวัญ ของฝาก แต่ในปีใหม่ที่ จะมาถึงนี้กลับพบว่า มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 31.4

อย่างไรก็ตาม ยอดวงเงินเฉลี่ยค่าของขวัญ ของฝากในปีพ.ศ. 2549 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เคยพบอยู่ที่ 1,665 บาทต่อคน ลดลงมา อยู่ที่เฉลี่ย 1,212.41 บาทต่อคน หรือลดลงเฉลี่ยประมาณ 453 บาทต่อคน แต่เมื่อคำนวณค่าเฉลี่ยจำนวนเงินที่จะซื้อของขวัญของฝากในปีใหม่ 2552 ใน 12 จังหวัดของประเทศ พบว่าอยู่ที่ 968.13 บาทต่อคน โดยมีผลวงเงินประมาณการสะพัดในการซื้อของขวัญ ของฝาก ช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2552 เท่ากับ 13,026,383,740 บาท (หนึ่งหมื่นสามพันล้านบาท)

โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.7 จะซื้อของขวัญ ของฝากให้ พ่อแม่ รองลงมาคือร้อยละ 40.5 ซื้อให้ลูกหลาน ร้อยละ 36.6 ซื้อให้ เพื่อนสนิท ร้อยละ 26.8 ซื้อให้ปู่ย่า ตายาย ร้อยละ 21.6 ซื้อให้ลุงป้าน้าอา ร้อยละ 17.5 ซื้อให้เพื่อนร่วมงาน ร้อยละ 16.4 ซื้อให้สามี ภรรยา ร้อยละ 15.2 ซื้อให้คนรักที่ยังไม่ได้แต่งงาน และร้อยละ 13.2 ซื้อให้ครู อาจารย์ เป็นต้น

แต่เมื่อถามผู้ตอบแบบสอบถาม ถึงประเภทของขวัญปีใหม่ที่ต้องการอยากจะได้บ้าง พบว่า ร้อยละ 43.2 อยากได้ของขวัญที่เป็นประโยชน์ ต่อสุขภาพ รองลงมาคือ ร้อยละ 37.1 ของที่มีคุณค่าต่อความรู้สึก ร้อยละ 33.6 ระบุของขวัญที่ใช้ประโยชน์ในการทำงานได้ เป็นต้น

ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.6 เห็นว่าการจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นของขวัญปีใหม่ เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย เป็นการส่งเสริมให้คนดื่มเหล้า และดื่มแล้วเกิดปัญหาตามมามากมาย โดยผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.0 ไม่ต้องการรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นของขวัญปีใหม่ แต่เมื่อจำแนกกลุ่มคนที่ถูกศึกษาออกตามช่วงอายุ พบว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่อายุระหว่าง 12 — 18 ปีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.2 ไม่ต้องการรับของขวัญที่เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นสัดส่วนที่พอๆ กับกลุ่มคนอายุระหว่าง 46 — 60 ปี แต่กลุ่มคน ช่วงอายุระหว่าง 19 — 25 ปี และช่วงอายุระหว่าง 26 — 35 ปี เป็นกลุ่มคนที่มีสัดส่วนที่ระบุไม่ต้องการรับของขวัญที่เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์น้อยที่ สุด คือร้อยละ 56.2 และร้อยละ 58.5 ตามลำดับ และเมื่อจำแนกตามพื้นที่การรณรงค์ พบว่า กลุ่มพื้นที่ที่มีการรณรงค์น้อยมีสัดส่วนที่ระบุไม่ต้องการรับ ของขวัญที่เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าในพื้นที่ที่มีการรณรงค์มาก คิดเป็นร้อยละ 68.6 ต่อร้อยละ 62.4 อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.1 คิดว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นการทำลายสุขภาพ โดยกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 70.5 เห็นด้วยที่หน่วยงานรัฐจะควบคุม ดูแลการจัดสินค้าของขวัญปีใหม่ที่ทำลายสุขภาพ

ส่วนคำอวยพรที่ประชาชนต้องการจะกล่าวมากที่สุดในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2552 นี้ อันดับแรกหรือร้อยละ 34.7 ระบุ “ขอให้มีความสุข ตลอดปี 2552 ขอให้ทุกคนมีความสุข” รองลงมาคือร้อยละ 32.9 ระบุขอให้สุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ และร้อยละ 6.7 ระบุ สวัสดีปีใหม่ Happy New Year และร้อยละ 4.3 ขอให้ประเทศชาติสงบสุข ร่มเย็น ตามลำดับ

นอกจากนี้ กลุ่มคนที่ประชาชนอยากจะกล่าวคำอวยพรให้มากที่สุด พบว่า อันดับแรก หรือ ร้อยละ 38.3 ระบุพ่อ และแม่ รองลงมาคือ ร้อยละ 25.6 ระบุ คนไทยทุกคน และร้อยละ 9.7 ระบุครอบครัว คนในครอบครัว เป็นต้น ในขณะที่ กลุ่มคนที่เป็นนักการเมือง กลับไม่ติดในอันดับ ต้นๆ ที่ประชาชนอยากกล่าวคำอวยพรให้

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย

1. เพื่อสำรวจความตั้งใจของประชาชนที่จะซื้อของขวัญ ของฝาก ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2552 และคำอวยพร

2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ครั้งนี้ เรื่อง ความตั้งใจของประชาชนที่จะซื้อของขวัญ ของ ฝากช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2552 และคำอวยพร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุระหว่าง 12 — 60 ปี ใน 12 จังหวัดของประเทศ (ประกอบด้วย จังหวัดที่มีการทำกิจกรรมรณรงค์มาก 6 จังหวัด และจังหวัดที่มีการทำกิจกรรมรณรงค์น้อย 6 จังหวัดตามเกณฑ์ของคณะทำงาน) ทั้งในและนอก เขตเทศบาล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ราชบุรี อยุธยา จันทบุรี เชียงใหม่ สุโขทัย ขอนแก่น อุบลราชธานี สุรินทร์ อุดรธานี นครศรีธรรมราช และ สงขลา จำนวน 2,303 ตัวอย่าง ระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5 — 22 ธันวาคม 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลาย ชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น ของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น 158 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 54.4 เป็นหญิง

ร้อยละ 45.6 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 18.9 อายุระหว่าง 12 — 18 ปี

ร้อยละ 16.9 อายุระหว่าง 19 — 25 ปี

ร้อยละ 23.8 อายุระหว่าง 26 — 35 ปี

ร้อยละ 20.5 อายุระหว่าง 36 -45 ปี

และร้อยละ 19.9 อายุระหว่าง 46 — 60 ปี

นอกจากนี้ ร้อยละ 49.9 สมรสแล้ว

ร้อยละ 45.7 เป็นโสด

และร้อยละ 4.4 เป็นม่าย หย่า แยกกันอยู่ ตามลำดับ

ผลสำรวจพบด้วยว่า ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 80.1 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 18.5 ระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 1.4 สูงกว่าปริญญาตรี

สำหรับอาชีพ พบว่า ร้อยละ 32.9 เป็นลูกจ้าง บริษัทเอกชน

ร้อยละ 19.4 รับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 18.4 รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป

ร้อยละ 7.8 ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 6.9 เป็นนักเรียน นักศึกษา

ร้อยละ 9.4 ระบุแม่บ้าน พ่อบ้าน เกษียณอายุ

และร้อยละ 5.2 ระบุว่างงาน

ตัวอย่าง ร้อยละ 58.8 มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท

ในขณะที่ร้อยละ 41.2 มีรายได้เกิน 10,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป

เมื่อจำแนกตามพื้นที่ พบว่า ร้อยละ 67.5 อยู่นอกเขตเทศบาล

ร้อยละ 22.9 อยู่ในเขตเทศบาล

และร้อยละ 9.6 อยู่ในกรุงเทพมหานคร

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจที่จะให้ของขวัญ/ของฝากปีใหม่แก่บุคคลอื่นในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2552
ลำดับที่          ความตั้งใจที่จะให้ของขวัญ/ของฝากปีใหม่แก่บุคคลอื่นในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2552     ร้อยละ
1          ตั้งใจให้ของขวัญ/ของฝากแก่ผู้อื่น                                            54.5
2          ไม่แน่ใจ                                                              28.2
3          ไม่ให้                                                                17.3
          รวมทั้งสิ้น                                                             100.0

ตารางที่  2   แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง 10 อันดับแรกที่ระบุ  ของขวัญ/ของฝากปีใหม่ที่ตั้งใจจะให้

(เฉพาะคนที่ตั้งใจจะให้ของขวัญ/ ของฝากและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          ของขวัญ/ของฝากปีใหม่ที่ตั้งใจจะให้             ปีใหม่ พ.ศ. 2549          ปีใหม่ พ.ศ. 2552
1          การ์ดอวยพร                                         46.9                   41.7
2          กระเช้าของขวัญ                                      31.1                   36.7
3          ขนม/ของหวาน/ผลไม้                                  22.2                   32.6
4          อาหารเพื่อสุขภาพ                                     -                      31.4
5          เครื่องแต่งกาย (เสื้อผ้า/รองเท้า/กระเป๋า/เข็มขัด ฯลฯ)       24.2                   21.4
6          เงิน                                               24.3                   19.2
7          ของเล่น/ตุ๊กตา                                       13.7                   18.4
8          หนังสือ/สื่อเพื่อความรู้                                  10.0                   10.2
9          ไดอารี่/ปฏิทิน/สมุดบันทึก                                 8.3                    9.1
10          เครื่องประดับ                                        8.1                    6.0

ตารางที่  3  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จำนวนเงินที่จะใช้ซื้อของขวัญ/ของฝากปีใหม่ 2552
ลำดับที่          จำนวนเงินที่จะใช้ซื้อของขวัญ/ของฝากปีใหม่ 2552               ร้อยละ
1          ไม่เกิน 500 บาท                                            43.8
2          501-1,000 บาท                                            19.7
3          1,001-2,000 บาท                                          11.9
4          2,001-3,000 บาท                                           3.9
5          มากกว่า 3,000 บาท                                         20.7
          รวมทั้งสิ้น                                                  100.0

หมายเหตุ

1) จำนวนเงินเฉลี่ยในการที่จะซื้อของขวัญ ของฝากช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2549 เฉลี่ยในพื้นที่กรุงเทพมหานครเท่ากับ 1,665 บาทต่อคน

2) จำนวนเงินเฉลี่ยที่จะซื้อของขวัญ ของฝาก เทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2552 เฉลี่ยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เท่ากับ 1,212.42 บาท ลดลง 452.59 บาท ต่อคน

3) จำนวนเงินที่จะใช้ซื้อของขวัญ/ของฝากปีใหม่ 2552 เฉลี่ยใน 12 จังหวัดของประเทศเท่ากับ 968.13 บาท

4) วงเงินประมาณการสะพัดในการซื้อของขวัญ ของฝากช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2552 เท่ากับ 13,026,383,740 บาท (หนึ่งหมื่นสามพันล้านบาท)

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลที่ตั้งใจจะให้ของขวัญ/ของฝากในปีใหม่ 2552

(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          บุคคลที่ตั้งใจจะให้ของขวัญ/ของฝากในปีใหม่ 2552             ร้อยละ
1          พ่อแม่                                                   78.7
2          ลูก/หลาน                                                40.5
3          เพื่อนสนิท                                                36.6
4          ปู่ย่า/ตายาย                                              26.8
5          ลุงป้า/น้าอา                                              21.6
6          เพื่อนร่วมงาน                                             17.5
7          สามี/ภรรยา                                              16.4
8          คนรัก(ยังไม่ได้แต่งงานกัน)                                   15.2
9          ครู/อาจารย์                                              13.2
10          เพื่อนบ้าน                                               12.3
11          ผู้ยากไร้/ผู้ด้อยโอกาส                                      10.4
12          ลูกค้า/ผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจ                                   9.7
13          เจ้านาย/ผู้บังคับบัญชา                                       9.2
14          ตำรวจ/ข้าราชการที่ให้บริการประชาชน                          2.4
15          อื่น ๆ อาทิ ผู้ใหญ่ที่นับถือ พี่ น้อง นักเรียน ฯลฯ                    2.9

ตารางที่  5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเภทของขวัญปีใหม่ที่ต้องการอยากจะได้

(ถ้าหากจะได้รับของขวัญและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          ประเภทของขวัญปีใหม่ที่ต้องการอยากจะได้                    ร้อยละ
1          เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ                                      43.2
2          มีคุณค่าต่อความรู้สึก                                         37.1
3          ใช้ประโยชน์ในการทำงานได้                                  33.6
4          ต้องการสิ่งที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน (เช่น อาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค)      23.6
5          ความทนทาน/เก็บไว้ได้นาน                                   23.1
6          ให้ความรู้/มีสาระ                                          16.7
7          มีความสวยงาม/น่ารัก                                       14.6
8          ให้ความบันเทิง/เพลิดเพลิน                                   11.1
9          มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี                                  7.8
10          มีความทันสมัย/ตามแฟชั่น                                     6.8
11          มีราคาแพง/หรูหรา                                         2.4
12          อื่นๆ อาทิ ต้นไม้ ตุ๊กตาหมีพู เงิน เครื่องสำอาง เครื่องดนตรี ฯลฯ      4.7

ตารางที่  6  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเหมาะสมของการจัด “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์”(เช่น เหล้า เบียร์

ไวน์) เป็นของขวัญปีใหม่

ลำดับที่      ความเหมาะสมของการจัด“เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” (เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์) เป็นของขวัญปีใหม่             ร้อยละ
1          เหมาะสม      เหตุผล เพราะ...........................................................12.5
                    - เป็นเทศกาล / เทศกาลมีปีละครั้ง                                ร้อยละ  46.0
                    - คนเราต้องสังสรรค์ / ต้องอยู่ในสังคม                             ร้อยละ  27.6
                    - ให้ตามกระแสนิยม                                            ร้อยละ  12.2
                    - คนให้เป็นคนชอบดื่ม                                           ร้อยละ   6.6
                    - หาซื้อง่าย สะดวกซื้อ                                          ร้อยละ   4.6
                    - เป็นการตอบแทนความมีน้ำใจ                                    ร้อยละ   3.0
2          ไม่เหมาะสม   เหตุผล เพราะ ...........................................................59.6
                    - เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย/ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย                ร้อยละ  40.1
                    - เป็นการส่งเสริมให้คนดื่มเหล้า / ส่งเสริมสิ่งไม่ดี                     ร้อยละ  23.9
  • กินเข้าไปแล้วทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น
                      เกิดอุบัติเหตุ เกิดการทะเลาะวิวาท ทำให้เสียงานเสียการ              ร้อยละ  20.0
                    - ฟุ่มเฟือย / สิ้นเปลือง / ราคาของขวัญแพงเกินไป                    ร้อยละ   5.0
                    - กินเข้าไปแล้วทำให้ขาดสติ                                      ร้อยละ   4.9
  • อื่นๆ อาทิ เลิกเหล้า เลิกจน / ไม่ชอบดื่ม ผิดศีล อายุยังน้อย ยังเด็กอยู่-

เป็นสิ่งจูงใจในปีต่อไป เป็นตัวอย่างไม่ดีกับเยาวชน นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6.1

3          ไม่แน่ใจ............................................................................27.9

รวมทั้งสิ้น.......................................................................... 100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การต้องการรับ “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” (เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์)

เป็นของขวัญปีใหม่

ลำดับที่          การต้องการรับ “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” (เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์) เป็นของขวัญปีใหม่          ร้อยละ
1          ต้องการรับ                                                                      14.5
2          ไม่ต้องการรับ                                                                    65.0
3          ไม่แน่ใจ                                                                        20.5
          รวมทั้งสิ้น                                                                       100.0

ตารางที่  8  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การต้องการรับ “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” (เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์)

เป็นของขวัญปีใหม่ จำแนกตามช่วงอายุ

ลำดับที่         การต้องการรับ “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์”-                ช่วงอายุ (ปี)

(เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์) เป็นของขวัญปีใหม่ 12-18 19-25 26-35 36-45 46-60

1          ต้องการรับ                              9.0    19.8    19.0    14.3    10.2
2          ไม่ต้องการรับ                           71.2    56.2    58.5    66.0    73.2
3          ไม่แน่ใจ                               19.8    24.0    22.5    19.7    16.6
          รวมทั้งสิ้น                              100.0   100.0   100.0   100.0   100.0

ตารางที่  9  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การต้องการรับ “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” (เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์)

เป็นของขวัญปีใหม่ จำแนกตามพื้นที่การรณรงค์

ลำดับที่         การต้องการรับ “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์”-             พื้นที่การรณรงค์

(เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์) เป็นของขวัญปีใหม่ พื้นที่รณรงค์มาก พื้นที่รณรงค์น้อย

1          ต้องการรับ                                    16.1          12.2
2          ไม่ต้องการรับ                                  62.4          68.6
3          ไม่แน่ใจ                                      21.5          19.2
          รวมทั้งสิ้น                                     100.0          100.0

ตารางที่ 10  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้ “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” เป็นของขวัญปีใหม่

เป็นการทำลายสุขภาพ

ลำดับที่      ความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้ “เครื่องดื่มแอลกฮอล์”-        ร้อยละ

เป็นของขวัญปีใหม่ เป็นการทำลายสุขภาพ

1          เป็นการทำลายสุขภาพ                               81.1
2          ไม่ใช่                                            9.2
3          ไม่แน่ใจ                                          9.7
          รวมทั้งสิ้น                                        100.0

ตารางที่  11  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับหน่วยงานรัฐจะควบคุมดูแลการจัดสินค้าของขวัญ

ปีใหม่ที่ทำลายสุขภาพ

ลำดับที่      ความคิดเห็นเกี่ยวกับหน่วยงานรัฐจะควบคุมดูแล -          ร้อยละ

การจัดสินค้าของขวัญปีใหม่ที่ทำลายสุขภาพ

1          เห็นด้วย                                        70.5
2          ไม่เห็นด้วย                                      16.4
3          ไม่แน่ใจ                                        13.1
          รวมทั้งสิ้น                                       100.0

ตารางที่  12  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำอวยพรที่อยากจะกล่าวมากที่สุดเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2552
ลำดับที่          คำอวยพรที่อยากจะกล่าวมากที่สุดเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2552                          ร้อยละ
1          ขอให้มีความสุขตลอดปี 2552 / ขอให้ทุกคนมีความสุข                                        34.7
2          ขอให้สุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ / ขอให้พลามัยแข็งแรง สมบูรณ์                                  32.9
3          สวัสดีปีใหม่ / happy new year                                                       6.7
4          ขอให้ประเทศชาติสงบสุข ร่มเย็น                                                        4.3
5          ขอให้อายุมั่น ขวัญยืน                                                                 3.3
6          ขอให้ร่ำ ขอให้รวย                                                                  3.1
7          ขอให้ประเทศชาติมีความสามัคคี                                                         2.0
8          อื่นๆ อาทิ  ขอให้คนไทยรักกัน ขอให้ประสบความเจริญ ก้าวหน้า เป็นเจ้าคน นายคน -
           ขอจงทรงพระเจริญ ขอให้สมหวังทุกประการ ขอให้บุญรักษา พระคุ้มครอง ขอให้ขายของดีขึ้น ฯลฯ        13.0
          รวมทั้งสิ้น                                                                        100.0

ตารางที่  13  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลที่อยากจะกล่าวคำอวยพรให้มากที่สุดเนื่องในโอกาสวันขึ้น

ปีใหม่ 2552

ลำดับที่          บุคคลที่อยากจะกล่าวคำอวยพรให้มากที่สุดเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2552                         ร้อยละ
1          พ่อ / แม่                                                                            38.3
2          คนไทยทุกคน                                                                          25.6
3          ครอบครัว / คนในครอบครัวที่นับถือ                                                          9.7
4          ลูกหลาน                                                                              6.9
5          ญาติสนิท มิตรสหาย                                                                      5.5
6          เพื่อน                                                                                4.3
7          อื่นๆ อาทิ แฟน คนรัก ผู้มีพระคุณ/บุคคลที่เคารพ รัฐบาล/พันธมิตร ส.ส. ทุกท่าน ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ ฯลฯ   9.7
          รวมทั้งสิ้น                                                                            100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ